เครื่องบินขับไล่ใหม่ กองทัพอากาศไทย

<< < (3799/4459) > >>

อรชุน-รักในหลวง:
อ้างจาก: babara. ที่ สิงหาคม 29, 2014, 08:35:32 PM

55555  ไอ้เรื่องน้ำมัน  " รั่ว " หรือมีร่องรอย  ซึมรั่ว เนี่ยะ ฮา 5555

มันเป็นความจำเป็นอันดับแรก  ที่ต้อง  " จัดการ แก้ไข " เลยอ่ะ ฮา

ถ้าน้ำมันรั่ว  ก็หมายความว่า  มันสูญเสีย ความสามารถ  ระดับหนึ่งแล้วอ่ะ ฮา

ยายไม่เชื่อว่าเขา  "ปล่อย"  ให้เป็นปัญหา อ่ะ ฮา  5555

5555 การนำเครื่อง  ขึ้นบินครั้งต่อไป  ปัญหานี้  ต้องถูกจัดการ ให้ได้ก่อน อ่ะ ฮา5555


อ้างจาก: babara. ที่ สิงหาคม 29, 2014, 08:49:23 PM

55555  ข่าวมันบอกว่า   " ซีล " ที่ใช้สำหรับ ถังบรรจุ JP 7  มันรั่ว อ่ะ ฮา

มันไม่ได้เกี่ยวกับ  ชิ้นส่วน ที่ต้องมี  gap  ให้ยืดหยุ่น เวลาบิน นั่นหรอก อ่ะ ฮา

การปล่อยให้  " เชื้อเพลิง รั่ว "  มันก็คือ  โศรกนาฎกรรม  ดีดี นั่นเอง อ่ะ ฮา

แล้วการนำเครื่อง  "ลับสุดยอด " มาแสดง  โดยปล่อยให้ พื้นใต้ท้องเครื่อง ฮา
เปรอะ เปื้อน  เจิ่งนอง  ไปด้วย  น้ำมัน JP 7   ฮา

5555  ยายว่าเขา  ไม่ทำ  หรือ ปล่อยให้เป็น อย่างนั้น หรอก อ่ะ ฮา 5555   ::007:: ::007:: ::007::



ไม่มีความรู้แล้วโพสเขาเรียกว่า "มั่ว"  มีคนโพสข้อความให้แล้วไม่อ่านเรียกว่า "โง่"  เดี๋ยวจะเน้นให้อ่านชัดๆ


http://en.wikipedia.org/wiki/Lockheed_SR-71_Blackbird#Airframe

the aircraft leaked JP-7 fuel on the ground. After takeoff, the aircraft would perform a short sprint to warm up the airframe,
then refuel before heading to its destination.
........................................................... ..............

http://www.sr-71.org/blackbird/sr-71/

The component parts of the Blackbird fit very loosely together to allow for expansion at high temperatures.
At rest on the ground, fuel leaks out constantly, since the tanks in the fuselage and wings only seal at operating temperatures.
There is little danger of fire since the JP-7 fuel is very stable with an extremely high flash point.
........................................................... .............

ถ้าอ่านไม่ออกจะบอกเหตุผลเป็นภาษาไทยให้ SR-71 Blackbird ใช้โครงสร้างเป็นโลหะทั้งหมดหลักๆเป็นอลูมิเนียมและไทเทเนียมเพื่อความแข็งแรง
ขณะที่ Blackbird บินด้วยความเร็ว3เท่าของเสียงขึ้นไป อุณหภูมิพื้นผิวเครื่องบินจะสูงมากกว่า300เซลเซียส ช่องรับอากาศจะอยู่ที่ราวๆ400เซลเซียส
และช่วงใกล้ท่อท้ายจะสูงมากกว่า 500เซลเซียส "เป็นผลจากการเสียดสีกับอากาศ"

โลหะทุกชนิดจะมีสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวจากความร้อน ถ้าไม่ออกแบบเผื่อให้ชิ้นส่วนขยายตัวได้แล้วยังทะลึ่งบินด้วยความเร็วสูงขนาดนั้น
เบาะๆก็โครงสร้างคด ,เบี้ยว ถ้าหนักหน่อยก็แตกหักเสียหาย ไม่ต้องบินไปถึงน่านฟ้าข้าศึกหรอกน่านฟ้าตัวเองก็บินไม่พ้นแล้วเพราะโครงแตกร่วงมาเป็นซากซะก่อน

นี่คือเหตุผลที่วิศวกรเขาจงใจออกแบบเพื่อแก้ปัญหาการขยายตัวเพราะความร้อน หวังว่าอ่านแล้วคงไม่ต้องให้โพสซ้ำอีกนะ

Yut64:
เอาแบบง่ายๆก็แล้ว เติมเชื้อเพลิงพอขึ้นได้แล้วบินขึ้นไปทำความเร็วสูงให้โลหะขยายตัวจนมาชนกันสนิทแล้วค่อยเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศก่อนบินไปที่หมาย
ผมเข้าใจถูกไหม

อรชุน-รักในหลวง:
อ้างจาก: Yut64 ที่ สิงหาคม 30, 2014, 09:50:52 AM

เอาแบบง่ายๆก็แล้ว เติมเชื้อเพลิงพอขึ้นได้แล้วบินขึ้นไปทำความเร็วสูงให้โลหะขยายตัวจนมาชนกันสนิทแล้วค่อยเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศก่อนบินไปที่หมาย
ผมเข้าใจถูกไหม


ใช่ครับ

สุพินท์ - รักในหลวง:
อ้างจาก: Yut64 ที่ สิงหาคม 30, 2014, 09:50:52 AM

เอาแบบง่ายๆก็แล้ว เติมเชื้อเพลิงพอขึ้นได้แล้วบินขึ้นไปทำความเร็วสูงให้โลหะขยายตัวจนมาชนกันสนิทแล้วค่อยเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศก่อนบินไปที่หมาย
ผมเข้าใจถูกไหม


คงเป็นแบบนั้น
เรื่องนี้แทบจะกลายเป็นสัญญาลักษณ์ของ SR-71  ขนาดจอดอยู่ในพิพิธภัณฑ์  ไม่มีน้ำมันในถัง พวกยังเอาถาดมารองใต้เครื่อง มีคำอธิบายไว้ด้วยว่ารองไว้ทำไม
ผมไม่ได้อ่านละเอียด  แต่จำได้ว่าเครื่องรุ่นนี้ผลิตน้อยมาก แค่ 32 ลำ  และเดิมก็ไม่ใช่เครื่องบินตรวจการณ์  แต่สร้างมาเป็นเครื่องบินรบ คู่กับ XB-70 เครื่องบินทิ้งระเบิด 6 เครื่องยนต์ ความเร็วเกิน 3 เท่าเสียง   ทำให้โซเวียตต้องตาเหลือกสร้าง MiG 25 ขึ้นมารับมือ  แล้วอเมริกันก็ทิ้ง XB-70 รวมทั้งเปลี่ยน YF-12 ไปเป็น SR-71
มีเรื่องน่าสงสัยว่า MiG 25 ก็ความเร็วพอ ๆ กับ SR-71  แล้วน้ำมันรั่วเหมือนกันหรือเปล่า

อรชุน-รักในหลวง:
เสริมจากอาผู้การสุพินท์ครับ

เริ่มต้นโครงการจาก Lockheed A-12 High-altitude reconnaissance aircraft ซึ่งเป็นโครงการเครื่องบินสอดแนมของ CIA
ขึ้นบินครั้งแรก เมษายน 1962  เข้าสายการผลิตปี 1967 ทั้งสิ้น 15เครื่อง // สูญเสีย 6เครื่อง // ปลดประจำการปี 1968

YF-12 High-altitude Interceptor aircraft และ SR-71 High-altitude Strategic reconnaissance aircraft  ทั้งสองรุ่นพัฒนาจากพื้นฐานของ Lockheed A-12
YF-12 ขึ้นบินครั้งแรก สิงหาคม 1963 ผลิตขึ้นมา3เครื่อง พร้อมระบบอาวุธ Hughes AIM-47 Falcon air-to-air missiles (ต้นแบบในการพัฒนา AIM-54 Phoenix)
แต่โดนยกเลิกโครงการทั้งหมด ไปพัฒนาเป็น SR-71 แทน ขึ้นบินครั้งแรก ธันวาคม 1964 ผลิตออกมาทั้งหมด 32เครื่อง และปลดประจำการหมดในปี 1999

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว