๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
เมษายน 20, 2024, 12:29:53 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 ... 8
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รวมคำถาม – คำตอบ ปืนผิดมือ ปืนผิดบ้าน รับจำนำปืน ฯลฯ ผิด - ไม่ผิด  (อ่าน 188697 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Choro - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 214
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3853



« ตอบ #30 เมื่อ: มีนาคม 15, 2011, 06:19:10 PM »

 ขอบคุณมากครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า

สุดท้ายชีวิตไม่ขอรวย ขอแค่ไม่ป่วยก็พอแล้ว
dignitua-รักในหลวง
เราจะสู้เพื่อในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1414
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8341


จะมีพรุ่งนี้ ได้อีกกี่วัน...


« ตอบ #31 เมื่อ: มีนาคม 15, 2011, 07:49:52 PM »

เรียนถามคุณโยชิกิครับ...

ในกรณีที่ภรรยากำลังเดินทางมาหาเราซึึ่งอยู่ต่างจังหวัด พร้อมเบิกเงินสดมาแสนนึง(มาจ่ายค่าแรงงาน)+ลูกๆ และปืนซึ่งเป็นชื่อผม(ซื้อแต่เก็บไว้ให้ภรรยาใช้ที่ กทม. ส่วนผมทำงานอยู่ต่างจังหวัด...) และที่สำคัญผมกับภรรยาได้หย่ากันไปแล้ว(เป็นเพราะอารมณ์ชั่ววูบ และยังไม่มีเวลากลับไปจดทะเบียนกันใหม่..)

ถ้าสมมุติภรรยา(ทางพฤตินัย) โดนเจ้าหน้าที่ตรวจค้นเจอ จะโดนข้อหาอะไรบ้างครับ...

          เท่าที่อ่านแล้วผมเข้าใจคำถามว่าถ้าฝากปืนไว้ที่บ้านของภริยา  ( ทางพฤตินัย )  จะมีความผิดหรือไม่ใช่ไหมครับ

          กรณี่เช่นนี้ก็เหมือนกับการฝากปืนมีทะเบียนไว้ที่บ้านของคนรู้จักตามที่ผมได้อธิบายไว้ตอนต้นครับ  ซึ่งไม่มีความ

ผิดแต่อย่างใดครับ  ตามนี้เลยครับ

          ถาม  หากมีญาติ  หรือคนรู้จัก  นำอาวุธปืนมีทะเบียนพร้อมเครื่องกระสุนมาฝากไว้ที่บ้าน

ของเรา  เนื่องจากเดินทางไปต่างจังหวัด  หรือด้วยความจำเป็นอย่างอื่น  หรือมีคนนำอาวุธปืน

มาให้เราทำความสะอาด  ( ไม่ใช่นำมาให้ซ่อมนะครับ )  อย่างนี้คนรับฝากจะมีความผิดหรือไม่

          ตอบ  ประเด็นนี้มันก็จะย้อนไปตามหลักกฎหมายข้างต้นแหละครับ  โดยในกรณีเช่นนี้เรา

ถือว่าคนรับฝากเพียงแต่ครอบครองอาวุธปืนไว้แทนเจ้าของที่แท้จริงเท่านั้น  ยังไม่ถือว่ามีเจตนา

จะยึดถือเพื่อตน  ทั้งพอจะถือได้ว่าเป็นการครอบครองอาวุธปืนดังกล่าวเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษามิ

ให้สูญหาย  ตาม  พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ  มาตรา  ๔  (๖)  ดังนั้นผู้รับฝากจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธ

ปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตครับ  ซึ่งมีคำพิพากษาฎีกาที่พอเทียบเคียงได้คือ


          คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๔๒๘ / ๒๕๔๘  จำเลยได้รับฝากอาวุธปืน เหล็กพานท้ายปืน

และด้ามปืนของกลางไว้จาก ภ. เพื่อทำความสะอาด การที่จำเลยครอบครองอาวุธปืนของกลาง

ในลักษณะเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยยึดถืออาวุธปืนไว้แทน ภ. เท่านั้น ไม่ได้มีเจตนายึดถือ เพื่อตน

จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครอง ตามความหมายแห่ง พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ

มาตรา ๔ (๖)

         
         คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๒๒๖๔ / ๒๕๒๑  ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ คำว่า มี หมาย

ความว่า มีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครอง และคำว่า ครอบครอง นั้น มิได้บัญญัติให้มีความหมาย

เป็นพิเศษ จึงต้องถือว่าต้องมีเจตนายึดถือเพื่อตน ทั้งนี้ตามหลักกฎหมายทั่วไป

         การที่ปืนของกลางอยู่ที่บ้านจำเลยโดยเจ้าของปืนนำมาฝากบุตรภรรยาจำเลยไว้ชั่วคราว

และลืมทิ้งไว้โดยเจ้าของยังมิได้มารับคืนไป จำเลยเป็นแต่เพียงยึดถือไว้แทนเจ้าของเท่านั้น มิ

ได้ยึดถือเพื่อตน แม้การยึดถือปืนจะมีระยะเวลา  ๓ – ๔  วัน มิใช่เพียงชั่วขณะหนึ่ง แต่เมื่อไม่มี

พฤติการณ์พิเศษที่จะแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนายึดถือเพื่อตน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบ

ครองปืนของกลางอันเป็นความผิดตามฟ้อง


        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๒๕๐๘ / ๒๕๒๕  การที่กระสุนปืนของกลางอยู่ที่บ้านจำเลยโดย

เจ้าของนำมาฝาก ธ.ไว้พร้อมด้วยถุงทะเลที่บรรจุสิ่งของต่าง ๆ และ ธ. ได้นำมาฝากจำเลยไว้อีก

ทอดหนึ่งเพราะ ธ. จะไปเที่ยวกลัวของจะหาย กระสุนปืนของกลางตั้งอยู่ที่โต๊ะจำเลยมิได้แตะต้อง

เคลื่อนย้ายเหตุที่ของกลางถูกเจ้าพนักงานพบเห็นเพราะ ธ. เที่ยวงานดึกแล้วไม่ได้มารับคืน พฤติ

การณ์ดังกล่าวไม่พอ ที่จะถือว่าจำเลยมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง

     
        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๘๒๔ / ๒๔๙๙  ปืนของกลางเป็นของผู้มีชื่อฝากจำเลยถือไว้ชั่ว

ขณะที่ผู้มีชื่อไปซื้อบุหรี่ห่างจากที่จำเลยยืนคอยเพียง ๑๐ วา ไม่ทำให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ

ครอบครองในปืนนั้น เพราะจำเลยมิได้ยึดถือไว้เพื่อตน สิทธิครอบครองยังอยู่แก่เจ้าของทั้งไม่เรียก

ว่าจำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต




         

ขอบคุณมากครับ... ไหว้ แสดงว่าส่วนที่เน้นสีแดงผิดหมดใช่หรือเปล่าครับ.. Smiley
บันทึกการเข้า

aod-aod
Newbie
*

คะแนน 2
ออฟไลน์

กระทู้: 6



« ตอบ #32 เมื่อ: มีนาคม 16, 2011, 07:30:27 PM »

ขอบคุณเป็นที่สุดครับมีประโยชน์มากๆๆ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า
นายกระจง
Cement For Life.....
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2938
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 31463


ช่างมันเถอะ


« ตอบ #33 เมื่อ: มีนาคม 16, 2011, 08:38:50 PM »

ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นคนต้องอดทน ไม่อดทนก็อดตาย
 
Yoshiki_Silencer - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 278
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 597


ลูกศิษย์ครูหมู (ด้วยอีกคน)


« ตอบ #34 เมื่อ: มีนาคม 16, 2011, 11:44:50 PM »

          ต้องขอโทษท่าน  dinigtua  ด้วยครับที่ตอบไม่ตรงประเด็นเพราะงงกับคำถามครับ

เพราะมาอ่านอีกรอบถึงพอเข้าใจ  ดังนั้นผมต้องขอทวนคำถามเพื่อความแน่ใจอีกรอบนึ่งนะ

ครับ  คำถามก็คือว่าถ้าภริยาของท่านเดินทางมาจากต่างจังหวัดพร้อมกับเบิกเงินสดมาด้วย

หนึ่งแสนบาท  พร้อมกับนำอาวุธปืนที่มีทะเบียนของท่านติดตัวมาด้วย  ถ้าหากถูกตรวจพบ

ระหว่างทางจะมีความผิดหรือไม่  ผมเข้าใจคำถามถูกต้องนะครับ

         ในกรณีเช่นนี้โดยความเห็นส่วนตัวของผมเห็นว่าการที่ภริยาของท่านนำอาวุธปืนติด

ตัวมาในลักษณะดังกล่าวนั้นจะเห็นได้ว่าไม่ใช่ในลักษณะของการยึดถือไว้แทนเจ้าของเพียง

ชั่วครั้งชั่วคราว  ( เช่นกรณีตามฎีกาที่  ๑๘๒๔ / ๒๔๙๙  ซึ่งเจ้าของปืนฝากปืนไว้เพื่อไปซื้อ

บุหรี่ที่ร้านซึ่งอยู่ห่างไปสิบวา )  หรือการเก็บรักษาอาวุธปืนไว้แทนเจ้าของที่แท้จริงเพื่อมิให้

สูญหายไว้ภายในเคหสถาน  แต่กรณีของภริยาท่านนั้นจะเห็นเจตนาได้ชัดว่านำอาวุธปืนติด

ตัวมาด้วยก็เพื่อจะถือเอาประโยชน์จากอาวุธปืนดังกล่าวเพื่อป้องกันทรัพย์สิน  ( เงินสด ) และ

ระยะทางที่นำอาวุธปืนข้ามจังหวัดมาก็พอจะถือได้ว่าภริยาท่านเป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาอาวุธ

ปืนดังกล่าวแล้ว  ดังนั้นจึงน่าจะเป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับ

อนุญาตครับ

         ส่วนจะเป็นความผิดฐานพกพาอาวุธปืนหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าการพาอาวุธปืนดังกล่าวออก

มามีเหตุอันสมควรหรือไม่ครับ  เพราะบางกรณีแม้จะมีความผิดฐานครอบครองอาวุธปืน  แต่อาจ

ไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนก็ได้ครับ  ผมขอยกตัวอย่างจากคำพิพากษาฎีกาเรื่องหนึ่งนะครับ

คือมีตำรวจนายนึงพกพาอาวุธปืน  ( จำไม่ได้ว่าเป็นปืนผิดมือหรือปืนเถื่อน )  ออกไปปฏิบัติหน้าที่

ซึ่งตาม  พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ ได้บัญญัติห้ามมิให้นำมาตรา  ๘  ทวิ  มาใช้บังคับแก่เจ้าพนักงานตำรวจ

ซึ่งอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่  ( มาตรา  ๘ ทวิ  เป็นบทบัญญัติห้ามมิให้พกพาอาวุธปืนไปในเมือง 

หมู่บ้าน  หรือทางสาธารณะ  เว้นแต่มีเหตุจำเป็น )  ผลก็คือตำรวจนายนั้นถูกตัดสินว่ามีความผิด

ฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต  แต่ไม่มีความผิดฐานพกพาอาวุธปืนครับ  ซึ่ง

หากภริยาของท่านพกพาอาวุธปืนออกมาโดยมีเหตุสมควรก็อาจไม่มีความผิดฐานพกพาอาวุธปืน

โดยเทียบนัยฏีกาข้างต้นครับ  แต่ก็มีความผิดฐานครอบครองอาวุธปืนอยู่ดีครับ 

บันทึกการเข้า

ไม่ว่าจะเกลียดขี้หน้าใครขนาดไหน... แต่ตราบใดที่เขายังถูกต้องตามหลักการ ก็จะต้องปกป้องเขา เพราะสิ่งที่ปกป้องมันมากกว่า บุคคล แต่มันคือหลักการที่จะทำให้ระบบดำเนินต่อไปได้
rin25
คิดดี ทำดี แล้วทุกอย่างจะดีเอง
ชาว อวป.
Jr. Member
****

คะแนน 5
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 21



« ตอบ #35 เมื่อ: มีนาคม 19, 2011, 03:20:24 PM »

ได้ความรู้เพิ่มเยอะเลยครับ
บันทึกการเข้า
Nikornp
Newbie
*

คะแนน 0
ออฟไลน์

กระทู้: 4


« ตอบ #36 เมื่อ: มีนาคม 19, 2011, 08:46:54 PM »

xxxxxx................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 11, 2011, 05:29:07 AM โดย RO 05 » บันทึกการเข้า
NewShot
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 22
ออฟไลน์

กระทู้: 212


« ตอบ #37 เมื่อ: มีนาคม 27, 2011, 10:24:30 PM »

ขอบคุณครับชัดเลย ชัดเจนมากนะครับพี่ Grin
บันทึกการเข้า

รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ช่วยกันต้าน...
PREECHA SANGANAT
ชาว อวป.
Jr. Member
****

คะแนน 2
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 42



« ตอบ #38 เมื่อ: มีนาคม 28, 2011, 12:01:22 PM »

+++ขอบคุณครับใด้ความรูัดี
บันทึกการเข้า

ตุ้มเขาน้อย
mouse
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 14
ออฟไลน์

กระทู้: 100



« ตอบ #39 เมื่อ: เมษายน 01, 2011, 09:35:14 AM »

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า
KKnD
Jr. Member
**

คะแนน 1
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 39



« ตอบ #40 เมื่อ: เมษายน 09, 2011, 11:22:47 AM »

          ถาม  ในใบ ป.๔ ระบุเป็นบ้านเลขที่แห่งหนึ่ง  แต่เจ้าของปืนสามารถนำปืนไปใช้หรือนำ

ไปเก็บไว้ที่บ้านหลังอื่นนอกจากที่ระบุในบ้าน ป.๔  ได้หรือไม่  หรือหากนำไปฝากไว้ที่บ้านผู้อื่น 

คนรับฝากหรือเจ้าของปืนจะมีความผิดหรือไม่

          ตอบ  หากนำไปฝากที่บ้านของผู้อื่นย่อมไม่มีความผิดดังที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น

          ส่วนกรณีที่ใบ ป.๔  ระบุบ้านเลขที่แห่งหนึ่ง  แต่เจ้าของปืนนำไปใช้หรือนำไปเก็บไว้ที่

บ้านหลังอื่นนอกจากที่ระบุในใบ ป.๔  นั้น  ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ไม่ได้บัญญัติห้ามไว้แต่อย่างใด 

ซึ่งหลักทั่วไปในกฎหมายอาญานั้นเมื่อกฎหมายไม่ห้ามย่อมสามารถทำได้  ดังนั้นในกรณีจึงไม่มี

ความผิดตามกฎหมายแต่อย่างใด 

         แต่หากเป็นกรณีที่เจ้าของปืนย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านตามใบ ป.๔  เจ้าของปืนมีหน้า

ที่ต้องแจ้งการย้ายแก่นายทะเบียนท้องที่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันย้าย และถ้าเป็นการย้ายไปอยู่

ต่างท้องที่กันก็มีหน้าที่ต้องแจ้งการย้ายแก่นายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันย้าย

ไปถึงอีกด้วย  ซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทเท่านั้น  ( พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ  มาตรา  ๖๒

 , ๘๓ )


ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลดีๆ
ขอรบกวนท่าน Yoshiki_Silencer - รักในหลวง ในเรื่องนี้อีกซักนิดครับ ไม่ทราบว่าพอจะมีฏีกามาให้ดูบ้างหรือไม่ครับ เผื่อจะได้นำไปอ้างอิงเวลาถูกท่านตำรวจตรวจพบครับ ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
wut-lekรักในหลวง
ชาว อวป.
Jr. Member
****

คะแนน 4
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 40


คนเราเกิดมาแค่สัมผัส


« ตอบ #41 เมื่อ: เมษายน 10, 2011, 12:34:02 PM »

 ไหว้ ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ + ครับ  เยี่ยม
บันทึกการเข้า

สุขหรือทุกข์   เรารู้   อยู่ที่จิต
    ถูกหรือผิด      เรารู้   อยู่ที่ผล
        ดีหรือชั่ว        เรารู้   อยู่ที่ตน
            มีหรือจน        เรารู้   อยู่ที่ใจ
                ( ไม่ต้องเข้าใจ...ตามใจก็พอ )
tre
Jr. Member
**

คะแนน 2
ออฟไลน์

กระทู้: 27



« ตอบ #42 เมื่อ: เมษายน 11, 2011, 12:58:56 AM »

ขอบคุณมากๆครับ ไหว้ เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม
บันทึกการเข้า
saengsakul-รักในหลวง
Full Member
***

คะแนน 111
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 360


« ตอบ #43 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2011, 09:32:06 PM »

    ขอบคุณครับ ท่าน Yoshiki_Silencer- รักในหลวง + ๑ ด้วยความขอบคุณครับ ไหว้
บันทึกการเข้า
KKnD
Jr. Member
**

คะแนน 1
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 39



« ตอบ #44 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2011, 05:21:51 PM »

          ถาม  ในใบ ป.๔ ระบุเป็นบ้านเลขที่แห่งหนึ่ง  แต่เจ้าของปืนสามารถนำปืนไปใช้หรือนำ

ไปเก็บไว้ที่บ้านหลังอื่นนอกจากที่ระบุในบ้าน ป.๔  ได้หรือไม่  หรือหากนำไปฝากไว้ที่บ้านผู้อื่น 

คนรับฝากหรือเจ้าของปืนจะมีความผิดหรือไม่

          ตอบ  หากนำไปฝากที่บ้านของผู้อื่นย่อมไม่มีความผิดดังที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น

          ส่วนกรณีที่ใบ ป.๔  ระบุบ้านเลขที่แห่งหนึ่ง  แต่เจ้าของปืนนำไปใช้หรือนำไปเก็บไว้ที่

บ้านหลังอื่นนอกจากที่ระบุในใบ ป.๔  นั้น  ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ไม่ได้บัญญัติห้ามไว้แต่อย่างใด 

ซึ่งหลักทั่วไปในกฎหมายอาญานั้นเมื่อกฎหมายไม่ห้ามย่อมสามารถทำได้  ดังนั้นในกรณีจึงไม่มี

ความผิดตามกฎหมายแต่อย่างใด 

         แต่หากเป็นกรณีที่เจ้าของปืนย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านตามใบ ป.๔  เจ้าของปืนมีหน้า

ที่ต้องแจ้งการย้ายแก่นายทะเบียนท้องที่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันย้าย และถ้าเป็นการย้ายไปอยู่

ต่างท้องที่กันก็มีหน้าที่ต้องแจ้งการย้ายแก่นายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันย้าย

ไปถึงอีกด้วย  ซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทเท่านั้น  ( พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ  มาตรา  ๖๒

 , ๘๓ )


ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลดีๆ
ขอรบกวนท่าน Yoshiki_Silencer - รักในหลวง ในเรื่องนี้อีกซักนิดครับ ไม่ทราบว่าพอจะมีฏีกามาให้ดูบ้างหรือไม่ครับ เผื่อจะได้นำไปอ้างอิงเวลาถูกท่านตำรวจตรวจพบครับ ขอบคุณมากครับ
ด้วยความเคารพครับท่าน Yoshiki_Silencer - รักในหลวง เนื่องจากผมได้ลองไปดูใน พรบ.อาวุธปืนฯ แล้ว มาตรา 62 ระบุว่า ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนคนใดย้ายถิ่นที่อยู่ ให้แจ้งการย้ายแก่นายทะเบียน..... ซึ่งตามกฎหมายใช้คำว่าถิ่นที่อยู่ ผมจึงสงสัยว่าหากผมได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ แต่ต่อมาผมได้ไปทำงานที่กรุงเทพ โดยพักอยู่ที่บ้านของแฟนและอยู่ที่บ้านแฟนเป็นประจำ เดือนหนึ่งจะกลับไปที่อำเภอเมืองเชียงใหม่สัก 1-2 วัน (แต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้าน) แบบนี้ถือว่าผมย้ายถิ่นที่อยู่ไหมครับ แล้วผมจะต้องแจ้งการย้ายแก่นายทะเบียนหรือไม่ครับ และหากผมนำอาวุธปืนไปใช้ที่บ้านของแฟน ผมจะมีความผิดไหมครับ ถามยาวไปหน่อย ต้องรบกวนท่าน Yoshiki_Silencer - รักในหลวง ด้วยครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.089 วินาที กับ 21 คำสั่ง