๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
มีนาคม 29, 2024, 12:21:48 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?  (อ่าน 7598 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ban.cha
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 11:57:13 AM »

สวัสดีครับ
               สงสัยเรื่องเหล็กน้ำพี้โบราณของไทย ที่ใช้ทำดาบ หอก  แหลน  เหลา
กับเหล็กปัจจุบันที่ใช้ทำอาวุธดังกล่าว  มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร
                ขอท่านผู้รู้ ช่วยตอบให้หายสงสัยด้วยครับ
                                        ขอขอบคุณครับ ไหว้
บันทึกการเข้า
meethai
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 55
ออฟไลน์

กระทู้: 906


« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 12:24:32 PM »

เหล็กปัจจุบันแข็งกว่าครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเบอร์เหล็กด้วยนะครับ เหล็กปัจจุบันที่แข็งจริงๆ จะไม่บิ่นหรือยุบง่าย ลองดูแค่บันไดจักรยานก็ได้ (เสือภูเขา) หรือไม่ก็ดูจอบตราจรเข้ก็ได้
บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 12:46:08 PM »

ผมว่าเหล็กปัจจุบันนี้แข็งมากนะ  ขนาดลูกกระสุน .๕๐ bmg ยังยิงไม่หักเลย  (นัดเดียว)   Cheesy

http://atcloud.com/stories/17015
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
ไก่เฮง รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 169
ออฟไลน์

กระทู้: 1826


รักเธอประเทศไทย


« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 12:58:39 PM »

...อันนี้ไม่ทราบจริงๆๆครับคุณบัญชา..แต่ว่าผมเคยซื้อดาบที่ทำจากเหล็กน้ำพี้
เอาแบบไปให้เขาทำให้ที่อุตรดิตถ์ครับ..สวยมาก..มีคุณค่าทางจิตใจครับ
บันทึกการเข้า

...ชีวิตทุกชีวิตมีคุณค่า    ใช่รอชะตาวาสนานำไป
ความรู้ทุกคนเรียนทันกันได้  สุดแต่สนใจ  ทุนทรัพย์ สติปัญญา
LadySmith
DVC
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 66
ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 240


Be Still & Know


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 02:03:12 PM »

สวัสดีครับ
               สงสัยเรื่องเหล็กน้ำพี้โบราณของไทย ที่ใช้ทำดาบ หอก  แหลน  เหลา
กับเหล็กปัจจุบันที่ใช้ทำอาวุธดังกล่าว  มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร
                ขอท่านผู้รู้ ช่วยตอบให้หายสงสัยด้วยครับ
                                        ขอขอบคุณครับ ไหว้


อ้างถึง
บทความของ  เด็กอยากเล่นมีด  (โทรไปขออนุญาตผู้เขียนแล้ว)

ข้อสรุปผลงานวิจัยการศึกษาเหล็กน้ำพี้ ของ วท.
1.เหล็กน้ำพี้ที่มีความแข็งเหนียว ไม่ได้มีผลมาจากธาตุคาร์บอนเพียงธาตุเดียวเหมือนอย่างเหล็กกล้าคาร์บอนที่รู้จักกันในปัจจุบัน
2.โครงสร้างที่ทำให้ความแข็งแรงสูง จะมาจากผลของธาตุแมงกานีส เพราะพบแมงกานีสในเหล็กน้ำพี้ทุกตัวอย่าง
3.การตกผลึก(precipitation) ทั้งในสภาพขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ที่ปรากฏเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เหล็กน้ำพี้มีความแข็ง อยู่ในเกณฑ์สูง
4.ความแข็งคมของดาบเหล็กน้ำพี้ น่าจะเป็นไปในลักษณะการชุบแข็งผิว อันเกิดจากการเผาด้วยถ่านไม้ และนำออกมาตีซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยธาตุคาร์บอนจะแพร่ซึมเข้าตามบริเวณผิว และมีผลทำให้เหล็กน้ำพี้มีความแข็ง ภายหลังการอบชุบความร้อน
5.ผลของธาตุบางตัว เช่น โบรอน และไททาเนียม เชื่อว่ามีบทบาทในการทำให้เหล็กมีความแข็งแรงสูง แต่เนื่องจากการศึกษาในด้านนี้ยังก้าวไปไม่ถึง เพราะขาดข้อมูลทางวิชาการ จึงไม่สามารถกล่าวยืนยันในที่นี้ได้
6.คุณสมบัติไม่เป็นสนิมของเหล็กน้ำพี้ และมีสีเขียวเหมือนปีกแมลงทับ เชื่อว่ามาจากการเกิดออกไซด์ของเหล็ก และธาตุบางตัวในเหล็กในขณะเผาแล้วตี เกิดผิวออกไซด์ที่หนาและป้องกันไม่ให้เกิดสนิมต่อไปได้อีก เช่น อะลูมิเนียมออกไซด์ และโครเมียมออกไซด์ เป็นต้น
7.ธาตุโครเมียม ทองแดง และนิเกิล ไม่ปรากฏพบในแร่เหล็กตัวอย่าง แต่ปรากฏพบในเหล็กน้ำพี้ตัวอย่าง อาจเป็นไปได้ที่การเก็บตัวอย่างแร่เหล็ก กระทำในขอบเขตไม่กว้างขวางเพียงพอ หรือไม่ก็อาจเป็นไปได้ที่การถลุงแร่เหล็กน้ำพี้โบราณ ได้มีการนำเอาแร่เหล็กจากบริเวณอื่นมาผสมรวมกันก็เป็นไปได้
8.ข้อสรุปอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวกับวิชาการ เรื่องของ Composite steel ที่กล่าวว่าเป็นเหล็กที่ประกอบด้วยโครงสร้างของเหล็กอ่อน ร่วมกับโครงสร้างของเหล็กแข็ง แทรกตัวอยู่ร่วมกันมีผลทำให้เหล็กมีคุณสมบัติแข็งแรง และมีความเหนียว ซึ่งในปัจจุบันนี้ ได้อาศัยหลักการที่กล่าวมานี้ ผลิตเหล็กกล้าที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยกรรมวิธีโลหะผง ( powder metallurgy technique ) เช่นที่ปรากฏชื่อทางการค้าว่า Ferro-Titanit จากบริษัท ไทเซ่น ของเยอรมันตะวันตก โดยเอาผงเหล็กกล้าผสมกับผงไททาเนียมคาร์ไบด์ มาอัดด้วยแรงยึดเหนี่ยวระหว่างผงโลหะเหล้กกล้ากับผงไททาเนียมคาร์ไบด์เป็นการเสริมความแข็งแรง ลักษณะเช่นนี้ อาจกล่าวได้ว่า เหล็กน้ำพี้โบราณของไทย ก็เป็น Composite steel ได้เช่นเดียวกัน เพราะประกอบไปด้วย เนื้อเหล็กอ่อน ผสมกับ ผงผลึกเล็กๆ ของ อินคลัสชัน ที่ประกอบด้วย แมงกานีส กับโครเมียม ดังปรากฏในตัวอย่างเหล้กน้ำพี้ที่หนึ่งกับที่สามและสี่
9.จากคุณลักษณะของดาบเหล็กน้ำพี้ ปรากฏมีลวดลายกระจัดกระจายอยู่ตามบริเวณผิวและภายในเนื้อเหล็ก ซึ่งปรากฏร่องรอยฝังอยู่ แม้จะขัดเนื้อเหล็กให้ลึกลงไป ที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็นผลมาจากการมีอินคลัสชันขนาดโตแทรกอยู่ในเนื้อเหล็ก ซึ่งอินคลัสชันนี้ มาจากกรรมวิธีในการถลุงเหล็กแบบโบราณ


ข้อมูลเกี่ยวกับตังอย่างชิ้นงานที่ศึกษาจากงานวิจัย
"สำหรับตัวอย่างเหล็กน้ำพี้ ได้เสาะแสวงหาจากบุคคลที่เก็บเศษเหล็กน้ำพี้โบราณไว้ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเก็บรักษาไว้ในลักษณะวัตถุมงคล ตามความเชื่อถือแบบโบราณ มีความหวงแหน ยิ่งอยู่ในลักษณะเป็นดาบแล้ว ยิ่งไม่ยอมให้คณะผู้ศึกษาเหล็กน้ำพี้ขอยืมมาได้โดยง่าย แต่อย่างไรก็ตาม คณะผู้ทำงาน สามารถเก็บตัวอย่างได้ไม่มากนัก ประมาณ 4 ตัวอย่าง ที่ได้รับการคัดเลือกมาว่าเชื่อถือได้"

ผลการวิเคราะทางเคมี
"จากตัวอย่างหมายเลข 1 เป็นเหล็กที่มีคาร์บอนต่ำ 0.13 % ซิลิกอน 0.63% แมงกานีส 0.175% ฟอสฟอรัส 0.136% นอกจากนั้น มีธาตุทังสเตน ติดมาด้วย 0.275%
ตัวอย่างหมายเลข 2 เป็นเหล็กมีคาร์บอนสูง 0.83% แต่มีซิลิกอนสูงถึง 6.329% ธาตุอื่นๆปริมาณต่ำ นอกจากธาตุโบรอน ซึ่งมี 0.0156% ซึ่งถือได้ว่ามีผลในด้านคุณสมบัติเชิงกลเป็นอันมาก
ตัวอย่างหมายเลข 3 เป็นเหล็กคาร์บอนต่ำ 0.08% แต่มีแมงกานีสสูง 2.678% นอกจากนั้นยังมีทองแดง 0.32% และนิเกิล 0.15% ส่วนธาตุอื่นๆนั้นอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ซึ่งทั้งทองแดงและนิเกิล จะไม่พบในแร่เหล็กน้ำพี้เลย
ตัวอย่างหมายเลข 4 เป็นเหล็กกล้าคาร์บอน 0.105% แมงกานีส 0.58% ทองแดง 0.26% นิเกิล 0.13% นอกจากนั้น ยังมีธาตุอื่นๆอีกมากแต่มีปริมาณต่ำ"

จะเห็นว่า ในแง่ทางสถิติถือว่าจำนวนตัวอย่างน้อยเกินไป ไม่น่าจะถือเป็นตัวแทนของกลู่มข้อมูลของเหล็กน้ำพี้ทั้งหมดได้ แต่ก็ถือว่าเป็นงานวิจัยที่ทรงคุณค่าและเป็นการศึกษาเหล็กน้ำพี้ในแง่วิชาการที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ส่วนตัวอยากเห็นการวิจัยและอนุรักษณ์ภูมิปัญญาเรื่องการาผลืตเหล็กน้ำพี้ให้มากกว่านี้ ท้ายนี้ขอขอบพระคุณ คุณกุ้งที่นำงานวิจัยมาเผยแพร่ให้ได้ทราบกันครับ อยากให้เราสนใจเหล็กน้ำพี้ในแง่โลหะกรรมพื้นบ้านที่เป็นปรีชาญาณของบรรพบุรุษไทย(เหล็กคาร์บอนต่ำยังสร้างให้มีความเนียวความแข็งเหมาะสมกับการใช้งานได้ น่าทึ่งๆจริงครับ ยิ่งเทคโนโลยีบางอย่างเพิ่งได้รับการศึกษาไม่ถึง100ปีมานี้เอง แต่ช่างพื้นบ้านเราสามารถทำได้ตั้งหลายร้อยปีก่อนหน้าประเทศตะวันตกเสียอีก)ไม่อยากให้สนใจในแง่วัตถุมงคลมากจนเกินไป



บัญชา 
- ในความเห็นผม เหล็กน้ำพี้ ก็คือแร่เหล็กที่มีคุณสมบัติที่ดีโดยธรรมชาติในการทำอาวุธมาตั้งแต่โบราณ(อยุธยาก็นิยมแล้ว)ในสมัยที่วิทยาการโลหะยังไม่ก้าวหน้านัก มีคุณค่าทางภูมิปัญญาไทย ไม่ใช่ว่าทำดาบแล้วจะดีกว่าเหล็กฝรั่งหรืออะไรทำนองนั้น
- ปัจจุบันทราบว่า ภายในปีนี้เขาจะตั้งสหกรณ์ขายเหล็กกันแล้ว ดีที่จะมีการรับรองว่าแท้ อีกหน่อยเตรียมค่าเหล็กประมาณ 2xxx ก็ได้ของแล้ว พวกหลอกลวงคงโดนระบบที่ดีกันออกไปเอง

- เหล็กน้ำพี้ ในความรู้ความเข้าใจของผม แร่เหล็กตามสายแร่ใกล้ลำน้ำพี้ ใน อ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ มีคุณสมบัติที่ดีในการทำอาวุธ คือ เหนียว  ชุบแข็งได้ น้ำหนักเบา

- สมัยก่อนเหล็กดีๆหาไม่ง่าย เทคโนโลยีที่จะปรับปรุงคุณภาพให้ได้ตามต้องการ ยังไม่ดีเท่าไร เมื่อมีของดีตามธรรมชาติก็นิยมกัน
แต่ก่อนเหล็กน้ำพี้ส่งมาขายที่อยุธยา มีบันทึกในคำให้การชาวกรุงเก่าด้วย ดังนี้ครับ
"พ่อค้าแม่ค้าเมืองตาก เพชรบูรณ์ บรรทุกสินค้าพวกครั่ง เหล็กหางกุ้ง เหล็กน้ำพี้ ไต้ หวาย นำมันยาง ยาสูบ เขาหนัง หนังงา มาขายแถวปากคลองสวนพลูและหน้าวัดพนัญเชิง"

- ส่วนเหล็กอ้างว่าเป็นเหล็กน้ำพี้ โดยใช้กระบวนการเป่าไฟ(ทำกันมากว่า 10 ปีแล้ว)หรืออื่นๆมันเยอะมากเหมือนพวกทำพระปลอมน่ะ ถ้าไม่สร้างเรื่องของก็ขายไม่ได้ แต่ไม่ได้ชุบแข็งนี่แย่จัง

อ้างอิงจากบทความที่อาจารย์บัญชาแห่งเว็บคนรักมีดได้ลงไว้ค่ะ ไหว้
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=3955&hl=\เหล็กน้ำพี้
บันทึกการเข้า

Forging iron is a physically demanding process,
but controlled movement is much more important than brute strength.
Glock Jumper
... ศาสตร์และศิลป์แห่งอาวุธ ...
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 100
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1202


... ข้าพเจ้ารักในหลวงที่สุดในจักรวาล ...


« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 02:09:12 PM »

ความแข็งผมไม่แน่ใจครับแต่ที่แน่ๆผมได้ยินว่าข้อดีของเหล็กน้ำพี้คือเป็นเหล็กที่เหนียวครับ
บันทึกการเข้า

... ศาสตร์และศิลป์แห่งอาวุธ ... จงมีสติ จงมีสมาธิ จงมีความถูกต้องก่อนที่จะครอบครองศาสตร์และศิลป์แห่งอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างเช่นนี้ "จงอย่าคิดว่ามีปืนแล้วเราคือพระเจ้า" จงจำไว้ว่า... มีสติ มีสมาธิ มีความถูกต้อง สำคัญเสมอ! ... จงรักผู้อื่นก่อนแล้วผู้อื่นก็จะรักเรา จงรักษ์ปืน แล้ว ปืนก็จะรักษ์เรา ...
jane1
Full Member
***

คะแนน 42
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 406



« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 03:39:29 PM »

มีดหรือดาบที่ดี มีความเหนียวและความแข็งต่างกันนะครับ
ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้
ถ้าแข็งมากเกินไปก็ใช่ว่าจะดีเสมอไปนะครับ( เพราะทำให้มีดเปราะเกินไป)
ช่างมีดปัจจุบัน ก็เลยคิดค้น นำเหล็ก 2 ชนิดที่มีคุณสมบัติต่างกัน (เหนียวกับแข็ง)
นำเหล็กมาตีรวมกันเป็นภูมิปัญญา ของช่างทำมีดครับ(เหมือนกับ มีดฝรั่ง ดามัสกัส
และซามูไรญี่ปุ่น  ไงครับ)
ส่วนเหล็กนำ้พี้ ตามข้อสัณนิษฐานของผม เหล็กที่มาจากบ่อนี้ น่าจะมีคุณสมบัติ
ที่ลงตัวของแร่ ธาตุต่างๆ ที่เหมาะสมแก่การนำมาตีดาบครับ เสียดายที่มีผู้สืบทอด
การตีดาบ เหล็กน้ำพี้ น้อยมากทำให้เราเพิ่มมูลค่าทางทรัพยากร  และภูมิปัญญาได้ไม่เต็มที่ครับ
ดาบเหล็กนำ้พี้ ไม่เป็นรองซามูไร เลยนะจะบอกให้  เยี่ยม (แต่ผมก็ยังไม่มีกะเขาสักเล่ม  คิก คิก)
บันทึกการเข้า

ตึกยังรู้พัง
สตางค์ยังรู้หมด
แต่ไมตรีอันสวยสด
ไม่มีหมดเหมือนสตางค์
คนซ่อมทางรถไฟ--->trackmam 52
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 34
ออฟไลน์

กระทู้: 211


« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 07:16:56 PM »

 เยี่ยม เยี่ยม

ต้องไปเที่ยวดูเองเลยครับ มีตีดาบโชว์ด้วย ออกตัวเมืองไป 10 กว่าโลเอง Grin Grin
บันทึกการเข้า
ban.cha
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 07:54:22 PM »

Lady Smith ขอบคุณมากครับที่นำบทความมาเผยแพร่เป็นวิทยาทาน
               + ให้ทุกท่านแทนคำขอบคุณ  ไหว้
                         และรักทุกๆคน ครับ หลงรัก
บันทึกการเข้า
super x
Sr. Member
****

คะแนน 60
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 751


เฮฮา


« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 08:20:50 PM »

ไม่มีข้อมูลครับแต่ก็อยากได้ดาบที่ตีจากเหล็กน้ำพี้ไว้สะสมเหมือนกัน น้ำลายหก  ไปไม่ถูกครับ
บันทึกการเข้า

คิดก่อนเล็ง
quick-รักในหลวง
ตึงไปก็ขาด ย่อนไปก็ยาน คงความเป็นกลางไว้
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 48
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2043



« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 08:46:54 PM »

ได้ความรู้เรื่องธาตุของเหล็กน้ำพี้อีกเยอะเลยครับ

ผมมีดาบเหล็กน้ำพี้ แต่เป็นเล่มเล็กๆ นะครับซื้อมาจากสหกรณ์ที่อุตรดิตถ์  มีสีปีกแมลงทับสวยมากครับ

ดาบซามูไรผมก็มีแต่ถึงแม้จะไม่ใช่ของแท้ๆ แต่ก็คล้ายๆ ครับ

ดาบของโกเนี๊ยวก็มีครับ

ผมว่าดาบแต่ละชนิดแต่ละสำนักต่างมีจุดดี จุดเด่นกันไปคนละอย่างนะครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า
ban.cha
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 09:41:41 PM »

ได้ความรู้เรื่องธาตุของเหล็กน้ำพี้อีกเยอะเลยครับ

ผมมีดาบเหล็กน้ำพี้ แต่เป็นเล่มเล็กๆ นะครับซื้อมาจากสหกรณ์ที่อุตรดิตถ์  มีสีปีกแมลงทับสวยมากครับ

ดาบซามูไรผมก็มีแต่ถึงแม้จะไม่ใช่ของแท้ๆ แต่ก็คล้ายๆ ครับ

ดาบของโกเนี๊ยวก็มีครับ

ผมว่าดาบแต่ละชนิดแต่ละสำนักต่างมีจุดดี จุดเด่นกันไปคนละอย่างนะครับ  ไหว้
ดาบที่ตีจากเหล็กน้ำพี้ มีจุดเด่นด้านไสยศาสตร์ ตามคำเล่าลือว่า
ป้องกันภูตผี ปีศาจ ได้ เพราะแต่ละเล่มจะลงอักขระ คาถา อาคม กำกับไว้ครับ

บันทึกการเข้า
Nikoboy
Jr. Member
**

คะแนน 3
ออฟไลน์

กระทู้: 56


« ตอบ #12 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 09:45:05 PM »

แล้วทำไมพระยาพิชัยดาบหัก Huh
บันทึกการเข้า
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7670
ออฟไลน์

กระทู้: 10057



« ตอบ #13 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2010, 12:42:31 AM »

มีหน่วยงานหนึ่งวิจัยและทำสูตรไว้แล้วทำสารเจือในเนื้อได้เหมือนเลยรอผู้สนใจซื้อไปผลิตทำพวกเครื่องมือน่ะจำได้ว่าเป็น วท. นะเขาเผยแพร่ออกทีวีเมื่อหลายปีมาแล้ว
ลองไปซื้อเหล็กเบอร์ D8 แถวโอเดียนไปให้เข้าตีก็ได้เคยมีคนนำไปให้ช่างแถวอุทัยทำมีดมาแล้ว
บันทึกการเข้า
spada702
นักรบอาลาดิน 34 ลูกพระปิ่นฯ
Full Member
***

คะแนน 12
ออฟไลน์

กระทู้: 114



« ตอบ #14 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2010, 07:48:18 AM »

เหล็ก ยิ่งแข็ง ยิ่งแกร่ง ก็เปาะง่ายครับ  เช่น เหล็กไฮคาร์บอน  ใบมีดกลึงเหล็กที่ใช้ในเครื่องกลึง 
เหล็กที่เหนียว มีการอ่อนตัว มัน จะมีการยืดยุ่น เช่นเหล็กเส้น  เคเบิลสะพานแขวน   เหล็กโคงสร้างอาคาร   
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.626 วินาที กับ 21 คำสั่ง