๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
เมษายน 20, 2024, 02:24:41 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ระยะลูกตก และแรงปะทะ ในการยิงปืนอัดลมขึ้นฟ้า  (อ่าน 25775 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผณิศวร เกิดในรัชกาลที่ ๙
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 1437
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6038



« ตอบ #15 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2009, 08:49:10 AM »

เทียบกับกระสุนลูกซองเป้าบิน  ยิงข้ามบ่อน้ำไป ระยะสัก 200 เมตร ไม่ทะลุเสื้อผ้าครับ
แต่ต้องเป็นกระสุนเบอร์เม็ดเล็กๆ เท่านั้น
ปืนลมเบอร์ 2 แต่ละเม็ดใหญ่กว่าลูกปรายมาก  แต่ก็ยิงออกมาด้วยพลังงานต่ำกว่า  ระยะอันตรายไม่ควรเกินสองสามร้อยเมตรครับ  ง่ายสุดคือลองกันดู  ถ้ายิงหนังสือพิมพ์ 4 ชั้นไม่ทะลุก็น่าจะถือได้ว่าปลอดภัย

แต่โดยมารยาท ก็ไม่ควรยิงไปในทิศทางที่อาจเกิดอันตรายครับ

ยิงขึ้นในแนวตรง  ลองหาวีดิทัศน์รายการ Mythbuster มาดูครับ  ลูก 9 มม. ตกถึงพื้น ลึกจากผิวดิน 1 นิ้ว  ถ้าเป็นลูก .30 ก็ไม่ถึง 2 นิ้ว  คำนวณความเร็วโดยใช้อุโมงค์ลมพ่นลมให้กระสุนลอยตัวในสภาพสมดุลย์ ประมาณ 150 ฟุต/วินาทีครับ นั่นคือ terminal velocity ของหัวกระสุน

ที่พบว่าตกลงมาถูกคนตายไปจริงๆ น่าจะเป็นการยิงแนวเฉียง  ไม่ใช่ขึ้นไปตรงๆ แล้วตกลงมาครับ เขาสรุปอย่างนั้น
บันทึกการเข้า

ผมเป็นลูกหลานจีนอพยพ  ทวดแซ่อิ๊ว ตาแซ่เล้า ปู่แซ่อึ๊ง   
เมืองไทยให้โอกาสทุกอย่าง  ไม่มีข้ออ้างเรื่องชนชั้น
ผมได้กราบแทบพระบาทในหลวงเป็นมงคลสูงสุดของชีวิต
sitta.
Hero Member
*****

คะแนน 488
ออฟไลน์

กระทู้: 7275


« ตอบ #16 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2009, 09:22:29 AM »

หลายสิบปีมาแล้ว ประเทศเพื่อนบ้านของเรากองกำลังเขาแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายแดงรบชนะ
ค่ำคืนหนึ่งจึงจัดงานเลี้ยงประกาศชัยชนะ ทหารก็ไชโยโห่หิ้วยิงปืนขึ้นฟ้าไปตรง ๆ  สักพักก็มีหัวกระสุน
ตกลงมาจากฟ้าทำให้มีคนตายและบาดเจ็บหลายคน บาดแผลผู้ตายพบว่าเป็นรูกระสุนเข้าไปแต่
ไม่ฉกรรจ เหวะหวะเหมือนโดนยิงระยะใกล้ หรือระยะสังหาร  พอสรุปคร่าว ๆ ได้ว่าความเร็วกระสุน
ตอนตกลงดิ่งมาถึงพื้นดินมีความเร็วต่ำกว่าตอนออกจากรูลำกล้อง

ผมไม่ทราบว่า ความเร็วกระสุนเมื่อเรายิงขึ้นฟ้าตรง กับยิงลงดินตรง ๆ  ความเร็วกระสุนปากลำกล้องเท่ากันหรือเปล่า

หากเท่ากัน ลองทดสอบดูก็ได้ ยิงปืนระยะเผาขนลงบนดิน กับยิงขึ้นฟ้าตรง ๆ แล้วให้กระสุนตกลงดินด้วยแรงดึงดูดโลกดูว่ามุดดินเท่ากันหรือเปล่า  ถ้ามุดดินเท่ากันก็พออนุมานได้ว่าความเร็วขึ้นกับลงเท่ากัน
บันทึกการเข้า
Rapin paiwan
Sr. Member
****

คะแนน 21
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 583



เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2009, 11:54:15 AM »

ขอบคุณพี่ๆที่ให้ความรู้ครับ ไหว้
ปกติแล้วถ้าเป้าหมายอยู่ที่เสาไฟฟ้า ที่ระยะยิงXซึ่งโอกาสโดนเป้าประมาร50% ข้างหลังเป็นบ้านขึ้นไม่หนาแน่นนัก พี่ๆยิงกันหรือป่าวครับ ผมอ่านเจอบางท่านไม่ยิงปืนหากไม่มีจุดดักลูกกระสุนหลังเป้าหมาย
    เมื่อก่อนผมยิงไปเรื่อยครับ เพราะคิดว่าแรงที่ตกลง+น้ำหนักลูกปืนอัดลมไม่น่าจะเป็นอันตราย แต่พอไปอ่านเจอว่าประเทศแถวตะวันออกกลางแข่งบอลชนะยิงปืนขึ้นฟ้ากันทั่วเมือง น่าจะเป็นปืนAKผมเดาเอา แล้วเกิดว่ามีกระสุนตกมาโดนคนตายและเจ็บเป็นจำนวนมาก ผมจึงเริ่มกลัว เเละสงสัยกับความจริงเรื่องนี้ ซึ่งเป็นหลักทางวิทยาศาสคร์พิสูจน์ได้ แต่ด้วยปัญญาอันน้อยนิดของผมคงจะคิดไม่ออกครับ Huh
บันทึกการเข้า

สุดท้ายมนุษย์ก็เป็นเพียงแค่ละอองดาว
www.silacarborundum.com
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265



« ตอบ #18 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2009, 02:19:39 PM »

ขอบคุณพี่ๆที่ให้ความรู้ครับ ไหว้
ปกติแล้วถ้าเป้าหมายอยู่ที่เสาไฟฟ้า ที่ระยะยิงXซึ่งโอกาสโดนเป้าประมาร50% ข้างหลังเป็นบ้านขึ้นไม่หนาแน่นนัก พี่ๆยิงกันหรือป่าวครับ ผมอ่านเจอบางท่านไม่ยิงปืนหากไม่มีจุดดักลูกกระสุนหลังเป้าหมาย
    เมื่อก่อนผมยิงไปเรื่อยครับ เพราะคิดว่าแรงที่ตกลง+น้ำหนักลูกปืนอัดลมไม่น่าจะเป็นอันตราย แต่พอไปอ่านเจอว่าประเทศแถวตะวันออกกลางแข่งบอลชนะยิงปืนขึ้นฟ้ากันทั่วเมือง น่าจะเป็นปืนAKผมเดาเอา แล้วเกิดว่ามีกระสุนตกมาโดนคนตายและเจ็บเป็นจำนวนมาก ผมจึงเริ่มกลัว เเละสงสัยกับความจริงเรื่องนี้ ซึ่งเป็นหลักทางวิทยาศาสคร์พิสูจน์ได้ แต่ด้วยปัญญาอันน้อยนิดของผมคงจะคิดไม่ออกครับ Huh
ลองจับหัวกระสุนที่คุณสงสัยว่าอาจจะไม่เป็นอันตรายใส่หนังสติ๊กแล้วยิงดูสิครับ ความเร็วร่วงหล่นไม่น้อยกว่าความเร็วที่ยิงหนังสติ๊กหรอกครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 08, 2009, 05:43:13 PM โดย ArjunA » บันทึกการเข้า
PRIVACY
I don't want to survive, I want to live
Full Member
***

คะแนน 36
ออฟไลน์

กระทู้: 400


"Knowledge speaks, but wisdom listens."


« ตอบ #19 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2009, 05:06:11 PM »

ถ้าตามหลักการนี้แล้ว ขอเปลื่ยนจากลูกปืนลมมาเป็น ลูกปืน BB ที่กำลังนิยมกัน จะได้ผลตามหลักการนี้หรือไม่ครับ?

น่าทดลองดูเหมือนกันเพราะมันอันตรายน้อยกว่า..
บันทึกการเข้า
Terk Tark
คนดีถือปืนเป็นศรีแก่ตัว คนไม่ดีถือปืนเป็นภัยต่อคนอื่น
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 188
ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1836



« ตอบ #20 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2009, 02:35:08 PM »

ถ้าตามหลักการนี้แล้ว ขอเปลื่ยนจากลูกปืนลมมาเป็น ลูกปืน BB ที่กำลังนิยมกัน จะได้ผลตามหลักการนี้หรือไม่ครับ?

น่าทดลองดูเหมือนกันเพราะมันอันตรายน้อยกว่า..
กระสุนตกลงมาโดนแทบจะไม่รู้สึกเลยนะครับ กระสุน BB หนัก 0.20 กรัม ยิงใส่กันโดยตรงยังจะมีความแรงมากกว่าหล่นลงมาหลายเท่าเลยครับ เพราะมวลน้ำหนักกระสุนน้อยเเละเบามาก
บันทึกการเข้า
sitta.
Hero Member
*****

คะแนน 488
ออฟไลน์

กระทู้: 7275


« ตอบ #21 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2009, 02:44:56 PM »

ยิงปืนจากท้องฟ้าสูง ๆ    สูงแบบนักโดดร่ม  แล้วก็ยิงปืนแนวดิ่งลงพื้นโลก
ความเร็วกระสุนตอนกระทบดินจะ  เร็วกว่า  ความเร็วกระสุนปากลำกล้องหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
komatsu
Hero Member
*****

คะแนน 319
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4139


How far is near??


« ตอบ #22 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2009, 03:03:28 PM »

555พี่สิทธาเข้าใจถามนำร่องเพื่อเป็นแนวทางนะครับ
แต่ว่ามันเห็นภาพความแตกต่างกันจริงๆ เยี่ยม
บันทึกการเข้า

Terk Tark
คนดีถือปืนเป็นศรีแก่ตัว คนไม่ดีถือปืนเป็นภัยต่อคนอื่น
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 188
ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1836



« ตอบ #23 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2009, 04:01:51 PM »

ยิงปืนจากท้องฟ้าสูง ๆ    สูงแบบนักโดดร่ม  แล้วก็ยิงปืนแนวดิ่งลงพื้นโลก
ความเร็วกระสุนตอนกระทบดินจะ  เร็วกว่า  ความเร็วกระสุนปากลำกล้องหรือเปล่า

ส่วนตัวผมคิดว่าความความเร็วเท่ากันนะครับ แต่ปืนที่ยิงดิ่งลงมาอย่างกับนักโดดร่มนี้ความเร็วของกระสุนจะลดลงน้อยกว่าการที่เรายิงในแนวขนาน เนื่องจากมีแรงดึงดูดช่วย
บันทึกการเข้า
Rapin paiwan
Sr. Member
****

คะแนน 21
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 583



เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2009, 04:27:05 PM »

ผมยิ่งคิดก็ยิ่งงงครับ เหตุผมมันก็มีสนับสนุนว่าเป็นไปได้ทั้ง2แบบ ผมก็ไม่กล้าสรุปแบบฟันธงครับได้แต่ระวังในการยิงให้มากขึ้นเพราะลูกปืนไว้ไปแล้วมันทำไรไม่ได้แล้วครับ ขอโทษกันก็คงไม่จบง่ายๆครับ
                           มีเรื่อง1ที่น่าคิดคือ เวลาเราดูหนังย้อนยุคในฉากสงคราม หน่วยแรกคือพลธนู เวลาเขายิงยิงในองศาประมาณ45องศา เพื่อให้ได้ระยะดีที่สุด และความแรงในเวลากระทบเป้าก็ทำให้ตายได้ แต่ในเรื่องความเร็วผมว่ายังไงก็น่าจะลดลงจากเวลาที่พึ่งปล่อยลูกออกจากสายครับ ทีนี้ก็มาเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักของลูกปืนอัดลมกับลูกธนูอีก  ก็ไม่แน่ใจอีกว่าน้ำหนักเบาสุดกี่กรัมในความเร็วที่ช้าสุดกี่f/sที่จะทำให้เกิดอันตรายได้  Huh Huh Huh ไหว้
บันทึกการเข้า

สุดท้ายมนุษย์ก็เป็นเพียงแค่ละอองดาว
www.silacarborundum.com
Rapin paiwan
Sr. Member
****

คะแนน 21
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 583



เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2009, 04:42:32 PM »

ถ้าตามหลักการนี้แล้ว ขอเปลื่ยนจากลูกปืนลมมาเป็น ลูกปืน BB ที่กำลังนิยมกัน จะได้ผลตามหลักการนี้หรือไม่ครับ?

น่าทดลองดูเหมือนกันเพราะมันอันตรายน้อยกว่า..
กระสุนตกลงมาโดนแทบจะไม่รู้สึกเลยนะครับ กระสุน BB หนัก 0.20 กรัม ยิงใส่กันโดยตรงยังจะมีความแรงมากกว่าหล่นลงมาหลายเท่าเลยครับ เพราะมวลน้ำหนักกระสุนน้อยเเละเบามาก
จริงครับอันนี้ผมก็มีประสบการตรงครับ เมื่อหลายเดือนก่อนผมเป็นหน่วยจู่โจมประจำสนามเลยหละครับ หลังๆเบื่อครับไม่ค่อยท้าทายแล้ว แต่พี่ๆทานไดยังไม่เคยลงสนามbbผมขอแนะนำเลยครับ คนชอบปืน ชอบล่า(ล่าคนมันที่สุดครับ) เหมือนสงครามจริง แต่แค่เราไม่ตาย อาจมีเลือดบ้างมีแผลบ้างแต่ก็ไม่ถึงสาหัดครับ
                     ครั้งแรกที่ผมเล่นเพื่อนชวนไป ลงสนามครั้งแรกชดอุปกรณไม่ครบมีแต่หน้ากากไม่มีหมวก ผมโดนยิงเข้าหัวแตกครับพี่น้องปูดเลยครับแตกและปูดครับ และลูกbbออกจากลำกล้อง จำนวน14นัดต่อวินาที ด้วยความเร็ว350-420f/s ผมโดนเข้าไปหลายเม็ดในชุดนั้น ก้เลยติดใจครับ บอกกับเก็บกดด้วยเพราะเพื่อนเล่นกันมาหลายเดือนแล้วเรามันเด็กใหม่ก็เลยโดนรับน้อง bbเป็นกิจกรรมที่อาจมองดูว่าไม่น่าจะยาก แต่ถ้าพี่ไปเล่นกับพวกที่เล่นบ่อยๆจะเห็นถึงความแตกต่างในการเข้าจู่โจม เข้าที่กำบังการอ้อมยิง ซุ่มยิง ดักยิง เป็นอะไรที่น่าสนใจครับ แต่พอเราเริ่มแก่วิชาเราก็จะเริ่มเบื่อเนื่องจากเราจะรู้แล้วว่าที่เรายิงออกไปโดนหรือไม่โดนคู่ต่อสู้ พวกโดนแล้วไม่ออกเราจะเรียกว่าพวก เหนียว ครับ พอเจอพวกนี้มากๆก็จะเบื่อ ซึ่งพวกเหนียวจะทำให้เสียเกมกีฬาครับ
บันทึกการเข้า

สุดท้ายมนุษย์ก็เป็นเพียงแค่ละอองดาว
www.silacarborundum.com
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16168


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2009, 04:46:55 PM »

ลูกธนูมี นน. มากกว่ากระสุนปืนลมมากนะครับ และแรงเหนี่ยวที่ใช้เหนี่ยวธนูศึกทีโบราณใช้ในการรบนั้นสูงมากครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/Longbow

".....Worldwide the average power for bows of all designs is about 220 newtons (50 pounds) at 70 cm (28 inches) of draw which is suitable for most hunting applications. Bows for warfare tend to be much more powerful, with the most powerful bows being the English longbow and the African elephant bow, both of which topped the 900 N (200-pound) at 80 cm (32 inches) mark. Many men in medieval England were capable of shooting bows from 670–900 N (150–200 pounds) — skeletons of archers have been studied, revealing spur like projections on the bones where their over-developed muscles pulled....."

ธนูยาวเป็นธนูที่แรงที่สุดของฝรั่ง ผลิตยาก ต้องคัดเลือกไม้อย่างดีและมีกระบวนการวุ่นวาย ในหนังสือ Armies and Warfare in the Middle Ages: The English Experience บอกว่า ราคาแพง 2 เท่าของดาบมือเดียวครับ ธนูยาวของยุโรปยุคกลาง ยิงโดยผู้ที่ฝึกฝนมาโดยเฉพาะ มีระยะหลังผลได้ถึง 200 หลา อังกฤษมีมาตรฐานว่าต้องยิงให้ถูกเป้าได้ 12 ดอก ใน 1 นาที
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265



« ตอบ #27 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2009, 05:16:59 PM »

ความเร็วร่วงหล่นมันมีปัจจัยมากมายครับ ทั้งน้ำหนัก และรูปร่าง น้ำหนักน้อยความเร็วร่วงหล่นก็น้อยไปตามสัดส่วน อย่างเช่นลูก BB ที่เป็นไฟเบอร์
ลองเปลี่ยนเป็นลูกปืนเหล็ก หรือเม็ดตะกั่วกลมแทน ความเร็วร่วงหล่นก็จะเพิ่มมากขึ้นตามน้ำหนักของวัตถุ
มาถึงเรื่องรูปทรงของวัตถุมีผลในส่วนของค่า Cd.(Coefficient of Drag หรือสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานอากาศ) โดยทรงกลมมีค่า Cd 0.47
ย่อมมีแรงต้านมากกว่าวัตถุที่มีค่า Cd. ต่ำกว่า ยกตัวอย่างเช่นหากนำตะกั่ว2ชิ้นที่น้ำหนักเท่ากัน เม็ดหนึ่งเป็นทรงกลม อีกเม็ดหนึ่งทำเป็นทรงยาว
แล้วยิงออกไปด้วยความเร็วเท่าๆกัน เม็ดที่เป็นทรงยาวค่า Cd. น้อยกว่าก็จะไปได้ไกลกว่าเพราะได้รับผลจากแรงต้านอากาศน้อยกว่า
แต่ไม่ใช่ยาวอย่างเดียวแล้วจะไปไกลมันก็ต้องมีปัจจัยที่เพิ่มเข้ามาคือการหมุนวัตถุทรงยาวจะทรงตัวอยู่ได้ต้องมีการหมุน เช่นลูกกระสุนปืน 

ตัวอย่างค่า Cd. ของวัตถุรูปทรงต่างๆ



http://en.wikipedia.org/wiki/Drag_coefficient
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 11, 2009, 05:19:33 PM โดย ArjunA » บันทึกการเข้า
sitta.
Hero Member
*****

คะแนน 488
ออฟไลน์

กระทู้: 7275


« ตอบ #28 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2009, 05:35:13 PM »

เวลาทดลองก็ต้องเอาเม็ดกลม ๆ เท่ากันเลยครับ

หากเข้าใจว่ากระสุนพ้นลำกล้องขึ้นฟ้า มีความเร็วเท่ากับ
ตอนกระสุนตกลงมาถึงระดับปากลำกล้อง  ตำราว่าไว้อย่างนั้นหรือเปล่าจำไม่ได้

แต่การทดสอบเอาความเจ็บปวดเป็นตัววัดก็แล้วกัน
วิธีทดสอบทำได้โดย
ครั้งแรก ใช้ปืนบีบียิงขึ้นฟ้า เอามือบังปากกระบอกไว้ 
ครั้งที่สอง ยิงขึ้นฟ้าเหมือนเดิม พอกระสุนตกแบมือรับกระสุน

แบบไหนเจ็บกว่ากันครับ
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265



« ตอบ #29 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2009, 05:48:08 PM »

เวลาทดลองก็ต้องเอาเม็ดกลม ๆ เท่ากันเลยครับ

หากเข้าใจว่ากระสุนพ้นลำกล้องขึ้นฟ้า มีความเร็วเท่ากับ
ตอนกระสุนตกลงมาถึงระดับปากลำกล้อง  ตำราว่าไว้อย่างนั้นหรือเปล่าจำไม่ได้

แต่การทดสอบเอาความเจ็บปวดเป็นตัววัดก็แล้วกัน
วิธีทดสอบทำได้โดย
ครั้งแรก ใช้ปืนบีบียิงขึ้นฟ้า เอามือบังปากกระบอกไว้ 
ครั้งที่สอง ยิงขึ้นฟ้าเหมือนเดิม พอกระสุนตกแบมือรับกระสุน

แบบไหนเจ็บกว่ากันครับ
ถ้าทดลองแบบนี้ เอามือบังลำกล้องเจ็บกว่าแน่นอนครับ ลูกปืน BB ขาลงความเร็วต่ำกว่าตอนยิงออกไปแน่นอน
การทดลองที่บอกว่าวัตถุทุกชนิดในโลกจะตกลงสู่พื้นด้วยความเร็วเท่าๆกันนั้น เป็นการทดสอบในท่อสูญญากาศครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 24 คำสั่ง