นักธรรมตรี

<< < (2/3) > >>

วัฒน์:
ประวัดนักธรรมโดยสังเขป
 
          การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม หรือที่เรียกกันว่า นักธรรม เกิดขึ้นตามพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นการศึกษาพระธรรมวินัยในภาษาไทย เพื่อให้ภิกษุสามเณรผู้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนาสามารถศึกษาพระธรรมวินัยได้สะดวกและทั่วถึง อันจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่สัมมาปฏิบัติ ตลอดจนเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างไกลออกไป

         การศึกษาพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยแต่โบราณมา นิยมศึกษาเป็นภาษาบาลี ที่เรียกว่า การศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ยากสำหรับภิกษุสามเณรทั่วไป จึงปรากฏว่า ภิกษุสามเณรที่มีความรู้ในพระธรรมวินัยอย่างทั่วถึงมีจำนวนน้อย เป็นเหตุให้สังฆมณฑลขาดแคลนพระภิกษุผู้มีความรู้ความสามารถที่จะช่วยกิจการพระศาสนาทั้งในด้านการศึกษา การปครอง และการแนะนำสั่งสอนประชาชน ดังนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงได้ทรงพระดำริวิธีการเล่าเรียนพระธรรมวินัยในภาษาไทยขึ้น สำหรับสอนภิกษุสามเณรวัดบวรนิเวศวิหารเป็นครั้งแรก นับแต่ทรงรับหน้าที่ปกครองวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ เป็นต้นมา โดยทรงกำหนดหลักสูตรการสอนให้ภิกษุสามเณรได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา ทั้งด้านหลักธรรม พุทธประวัติ และพระวินัย ตลอดถึงหัดแต่งแก้กระทู้ธรรม

         เมื่อทรงเห็นว่า การเรียนการสอนพระธรรมวินัยเป็นภาษาไทยดังนี้ได้ผล ทำให้ภิกษุสามเณรมีความรู้กว้างขวางขึ้น เพราะเรียนรู้ได้ไม่ยาก จึงทรงดำริที่จะขยายแนวทางนี้ไปยังภิกษุสามเณรทั่วไปด้วย ประกอบกับใน พ.ศ. ๒๔๔๘ ประเทศไทยเริ่มมีพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ซึ่งภิกษุทั้งหมดจะได้รับการยกเว้น ส่วนสามเณร จะยกเว้นให้เฉพาะสามเณรผู้รู้ธรรม ทางราชการได้ขอให้คณะสงฆ์ช่วยกำหนดเกณฑ์ของสามเณรผู้รู้ธรรม สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงทรงกำหนดหลักสูตรองค์สามเณรรู้ธรรมขึ้น ต่อมาได้ทรงปรับปรุงหลักสูตรองค์สามเณรรู้ธรรมนั้นเป็น “องค์นักธรรม” สำหรับภิกษุสามเณรชั้นนวกะ (คือผู้บวชใหม่) ทั่วไป ได้รับพระบรมราชานุมัติ เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ และโปรดให้จัดการสอบในส่วนกลางขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน โดยใช้วัดบวรนิเวศวิหาร วัดมหาธาตุ และวัดเบญจมบพิตร เป็นสถานที่สอบ การสอบครั้งแรกนี้ มี ๓ วิชา คือ ธรรมวิภาคในนวโกวาท แต่งความแก้กระทู้ธรรม และแปลภาษามคธเฉพาะท้องนิทานในอรรถกถาธรรมบท

         พ.ศ. ๒๔๕๕ ทรงปรับปรุงหลักสูตรองค์นักธรรมให้เหมาะสมสำหรับภิกษุสามเณรทั่วไปจะเรียนรู้ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยแบ่งหลักสูตรเป็น ๒ อย่างคือ อย่างสามัญ เรียนวิชาธรรมวิภาค พุทธประวัติ และเรียงความแก้กระทู้ธรรม และ อย่างวิสามัญ เพิ่มแปลอรรถกถาธรรมบทมีแก้อรรถ บาลีไวยากรณ์และสัมพันธ์ และวินัยบัญญัติที่ต้องสอบทั้งผู้ที่เรียนอย่างสามัญและวิสามัญ

         พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงปรับปรุงหลักสูตรองค์นักธรรมอีกครั้งหนึ่ง โดยเพิ่มหลักธรรมหมวดคิหิปฏิบัติเข้าในส่วนของธรรมวิภาคด้วย เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการครองชีวิตฆราวาส หากภิกษุสามเณรรูปนั้นๆ มีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกไปด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง เรียกว่า นักธรรมชั้นตรี การศึกษาพระธรรมวินัยแบบใหม่นี้ ได้รับความนิยมจากหมู่ภิกษุสามเณรอย่างกว้างขวาง และแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว เพียง ๒ ปีแรกก็มีภิกษุสามเณรสมัครเข้าสอบสนามหลวงเกือบพันรูป เมื่อทรงเห็นว่าการศึกษานักธรรมอำนวยคุณประโยชน์แก่พระศาสนาและภิกษุสามเณรทั่วไป ในเวลาต่อมา จึงทรงพระดำริขยายการศึกษานักธรรมให้ทั่วถึงแก่ภิกษุทุกระดับ คือ ทรงตั้งหลักสูตรนักธรรมชั้นโท สำหรับภิกษุชั้นมัชฌิมะ คือ มีพรรษาเกิน ๕ แต่ไม่ถึง ๑๐ และนักธรรมชั้นเอก สำหรับภิกษุชั้นเถระ คือมีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป ดังที่เป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของคณะสงฆ์สืบมาตราบถึงทุกวันนี้

         ต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธฯ ทรงพิจารณาเห็นว่า การศึกษานักธรรมมิได้เป็นประโยชน์ต่อภิกษุสามเณรเท่านั้น แม้ผู้ที่ยังครองฆราวาสวิสัยก็จะได้รับประโยชน์จากการศึกษานักธรรมด้วย โดยเฉพาะสำหรับเหล่าข้าราชการครู จึงทรงตั้งหลักสูตรนักธรรมสำหรับฆราวาสขึ้น เรียกว่า “ธรรมศึกษา” มีครบทั้ง ๓ ชั้น คือ ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก ซึ่งมีเนื้อหาเช่นเดียวกันกับหลักสูตรนักธรรมของภิกษุสามเณร เว้นแต่วินัยบัญญัติที่ทรงกำหนดใช้เบญจศีลเบญจธรรมและอุโบสถศีลแทน ได้เปิดสอบธรรมศึกษาตรีครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ และเปิดสอบครบทุกชั้นในเวลาต่อมา มีฆราวาสทั้งหญิงและชายเข้าสอบเป็นจำนวนมาก นับเป็นการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

         ปัจจุบัน การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมนี้ มี พระพรหมมุนี (พฺรหฺมคุตฺตเถร) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นแม่กองธรรมสนามหลวง เน้นการพัฒนาศาสนทายาทให้มีคุณภาพสามารถดำรงพระศาสนาไว้ได้ด้วยดี ทั้งถือว่าเป็นกิจการของคณะสงฆ์ส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยมาตั้งแต่ครั้งอดีตถึงปัจจุบัน
 

นักธรรมชั้นตรี
 
         จากพระดำริที่จะส่งเสริมการศึกษาธรรมวินัยให้แพร่หลายไปสู่ภิกษุสามเณรอย่างทั่งถึงทุกระดับชั้นดังกล่าวแล้ว พ.ศ. ๒๔๕๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงทรงปรับปรุงหลักสูตรองค์นักธรรมอีกครั้งหนึ่ง โดยรวมองค์นักธรรมประโยค ๑ และประโยค ๒ เข้าด้วยกันเป็น “นักธรรมชั้นตรี” และกำหนดหลักสูตรสอบความรู้ภิกษุสามเณรเป็น ๔ อย่างคือ

                   - เรียงความแก้กระทู้ธรรม
                   - ธรรมวิภาค
                   - ตำนาน (พุทธประวัติ)
                   - วินัยบัญญัติ

         สำหรับสามเณร เว้นวินัยบัญญัติไว้ก่อนจนกว่าอุปสมบทแล้วจึงสอบวินัยบัญญัติ และการสอบไม่มีการพักเป็นประโยค ๑ ประโยค ๒ ดังแต่ก่อน สอบพร้อมกันทั้ง ๒ ประโยค ได้ตกพร้อมกันทั้ง ๒ ประโยค (แถลงการณ์คณะสงฆ์เล่ม ๑, หน้า ๕๒๙.)

         และในศกเดียวกันนี้ ทรงจัดหลักสูตรเปรียญบาลี ๓ ประโยคเข้ากับองค์นักธรรมประโยค ๒ เป็นเปรียญธรรมชั้นตรี ทั้งนี้โดยทรงมีพระปรารภว่า “การสอบความรู้บาลีเป็นเปรียญ ๓ ประโยค ให้แปลธัมมปทัฏฐกถาเป็นความไทยอย่างเดียวกันทั้ง ๓ ประโยคไม่ค่อยจะได้เปรียญมีความรู้ดี เพราะผู้เข้าสอบโดยมากด้วยกันจะไม่รู้จักสัมพันธ์และไม่แตกฉานในทางไวยากรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ การเรียนบาลีจึงตกต่ำ” (เล่มเดียวกัน, หน้า๕๓๑.)

         จากพระปรารภดังกล่าวแล้ว “จึงทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตแก้ไขหลักสูตรเปรียญบาลี ๓ ประโยค “ให้คงแปลธัมมปทัฏฐกถา เพียงประโยคเดียวอีก ๒ ประโยคนั้น เปลี่ยนเป็นสอบความรู้สัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้จักชักศัพท์เชื่อมถึงกัน ประโยค ๑ สอบความรู้บาลีไวยากรณ์ ส่วนวจีวิภาคเพื่อเข้าใจยกศัพท์ ประโยค ๑ วิธีสอบสัมพันธ์ จักวางแบบให้ไว้ ส่วนวิธีการสอบไวยากรณ์เคยกันมาแล้วฯ ทั้ง ๓ นี้ รวมเป็นหลักสูตรบาลี เป็นองค์อันหนึ่งของเปรียญธรรมชั้นตรีฯ” (เล่มเดียวกัน, หน้าเดียวกัน) และ

         “ภิกษุสามเณรที่จะสอบบาลีเป็นเปรียญ ๓ ประโยค ต้องสอบได้องค์นักธรรมประโยค ๒ สามัญมาก่อนแล้ว เมื่อสอบบาลีได้อีกองค์หนึ่ง จักเป็นเปรียญชั้นตรี ได้แก่ นวกภูมิ หรือเรียกนับประโยคว่า เปรียญธรรม ๓ ประโยค ก็ได้ฯ”

         เปรียญธรรมชั้นตรี หรือเปรียญธรรม ๓ ประโยคนี้เรียกย่อว่า “ป.ธ. ๓“ หลักสูตรนักธรรมชั้นตรีและเปรียญธรรมชั้นตรี ที่ทรงปรับปรุงใหม่นี้ เริ่มสอบตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นต้นมา

         หลักสูตรนักธรรม ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงจัดขึ้นนั้น ได้รับความนิยมจากภิกษุสามเณรอย่างรวดเร็วและแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง เพียง ๒ ปีแรกที่จัดสอบ ก็มีภิกษุสามเณรสมัครเข้าสอบในสนามหลวงเกือบพันรูป ในปีต่อๆมา จึงโปรดให้มีการจัดสอบขึ้นในสนามมณฑลต่างๆด้วย เพื่อบรรเทาความแออัดในการสอบ ภิกษุสามเณรที่สอบได้ในสนามวัดหรือสนามมณฑลมีความรู้เข้าเกณฑ์ของสนามหลวง สนามหลวงก็รับโอนเป็นนักธรรมของสนามหลวง ต่อมาทรงกำหนดให้มีการสอบสนามวัดก่อนที่จะส่งเข้าสอบสนามหลวงต่อเมื่อสอบผ่านสนามวัดนั้นๆ ได้แล้ว จึงทรงอนุญาติให้ส่งเข้าสอบในสนามหลวง ทั้งนี้เพื่อกันไม่ให้ผู้มีความรู้ไม่ถึงขั้นเข้าสอบในสนามหลวง อันเป็นการเพิ่มภาระให้แก่สนามหลวงโดยไม่จำเป็น

         การสอบองค์นักธรรมและนักธรรมตรีในระยะแรกนั้นสามเณรต้องมีอายุ ๑๙ ปีขึ้นไป จึงอนุญาติให้เข้าสอบได้

         สำหรับการสอบนักธรรมชั้นตรี สอบโดยวิธีเขียน (ขณะนั้นการสอบพระปริยัติธรรม หรือสอบบาลีสนามหลวงยังใช้วิธีแปลปากอยู่) ข้อสอบแต่ละวิชามี ๒๑ ข้อ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๗ จึงลดลงมาเป็น ๑๔ ข้อ (ประวัติการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. คณาจารย์มหามกุฏราชวิทยาลัย (เอกสารโรเนียวเย็บเล่ม), หน้า ๑๓๙.) ส่วนกำหนดเวลาสอบในระยะแรกยังไม่มีการกำหนดเวลาเป็นชั่วโมง แต่กำหนดว่า ถ้ายังมีผู้นั่งสอบอยู่ด้วยกัน ๖ รูป ยังไม่หมดเวลา ต่อมาแก้ไขเป็น ถ้ายังมีผู้สอบเหลืออยู่ด้วยกัน ๓ รูป ถือว่ายังไม่หมดเวลา (แต่ไม่พบหลักฐานว่าแก้ไขเมื่อปีใด) (แถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๒ พ.ศ. ๒๔๕๗ หน้า ๕๒๘.) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นต้นมา จึงมีการกำหนดเวลาสอบเป็นชั่วโมง คือ ๓ ชั่วโมงครึ่ง (ประวัติการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. หน้า ๑๓๙.)
 
 ::014:: คัดลอกบางส่วนจาก การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถเข้าชมรายละเอียดส่วนอื่นได้จาก http://www.gongtham.org/my_data/history_gongtham/index.php

PU45™:
อ้างจาก: ..GlockGlack.. ที่ กรกฎาคม 03, 2009, 10:10:58 AM

แบบนี้เวลาที่ลูกกล่าวธรรม พี่จอยฯ ต้องฟังอย่างนอบน้อม ;D


                                       

พราน:
น้องเขาเก่งนะครับพี่จอยฯโดยวิชาที่แต่งกระทู้ธรรมนี่ยากมากครับ ต้องยกคติธรรมหรือพุทธวจนมาเป็นตัวตั้งและบรรยายเหตุหรือข้อความประกอบเป็นความเรียง เหมือนเราตอบข้อสอบกฏหมายที่ต้องยกทั้งตัวบท และเหตุผลประกอบนั่นแหละครับ ผมก็จบนักธรรมตรีเหมือนน้องเขาเลยตอนบวชเป็น นวโกวาท บวชตั้ง 140 วันอยู่เป็นลูกศิษย์หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ที่หนองสูงมุกดาหารครับ แต่สอบได้แค่นักธรรมตรีเท่าน้องเขานี่แหละครับ ::007::

SA-KE:
"นักธรรมตรี"สำหรับสามเณรหรือพระภิกษุกับนักเรียนที่เรียนในโรงเรียน ความเข็มข้นและความยากง่ายน่าจะต่างกัน  ผมเองก็ยังเคยเรียน ตอนเรียนมัธยมฯต้น โดนบังคับให้เรียนทุกวันศุกร์ จะมีพระในจังหวัดมาสอนที่โรงเรียน พอจบหลักสูตร ก็จะมีการสอบรวมกันทั้งจังหวัด แรกเริ่มเดิมทีมีการห้ามนำตำราที่สอนเข้าห้องสอบ แต่สุดท้ายแล้วไม่ค่อยมีใครทำได้ ถามแต่พระที่คุมสอบ สุดท้ายก็สอบกันแบบเปิดตำราลอกคำตอบ แต่ก็ตอบกันได้ไม่หมดอยู่ดี หมดเวลาเสียก่อน เพราะหาคำตอบในตำราที่สอนไม่เจอ  ส่วนที่เรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ส่วนใหญ่เป็นภาคสมัครใจ  วิชาที่สอนหลักๆ สำหรับนักเรียนประกอบด้วย
  - พุทธประวัติ
  - ศาสนพิธี
  - หลักธรรม ต่างๆ
  - เรียงความแก้กระทู้ธรรม     

แปลก!! ผมกลับชอบวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมมากที่สุด โจทย์จะให้เลือกหลักธรรม มาเพียงหนึ่งประโยค หลังจากนั่นพวกเราก็เขียนเพ้อฝันไปเรื่อย จะยกตัวอย่างจะยกธรรมบทอื่นมาเทียบเคียงอย่างไร? ก็เขียนไป แต่ต้องอยู่ในธรรมที่เป็นหัวข้อโจทย์ ตอนนั่นเราแข่งกันว่าใคร?จะเขียน มากหน้ามากกว่ากัน  ส่วนสาระ..ไม่รู้.. ไม่ต้องพูดถึง ... ::011:: ::011::

พระรูปไหนที่มีสมณศักดิ์ หรือพระรูปไหน? ที่เทศน์เก่งๆ โดยเฉพาะเทศน์สดๆได้เก่ง ร้อยทั้งร้อยพระรูปนั่นจะมีพื้นฐานเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมได้เก่งมากๆ
 
แต่เดี๋ยวนี้ไม่รู้หลักสูตรเป็นอย่างไร? ถ้าลูกชาย ของ "คุณจอย" สามารถสอบได้และไม่เปิดตำราเหมือนรุ่นผมต้องนับถือครับว่า เก่งและก็เก่งมากๆเลยครับ.. ::002::
 

จอยฮันเตอร์:
ขอบคุณทุกท่านทีให้ความกระจ่างครับ เผอิญไปต่างจังหวัดเลยไม่ได้เข้ามาอ่าน ::014::
อ้างจาก: ..GlockGlack.. ที่ กรกฎาคม 03, 2009, 10:10:58 AM

แบบนี้เวลาที่ลูกกล่าวธรรม พี่จอยฯ ต้องฟังอย่างนอบน้อม ;D

::012:: ::012:: ::012::
อ้างจาก: พราน ที่ กรกฎาคม 04, 2009, 06:34:31 AM

น้องเขาเก่งนะครับพี่จอยฯโดยวิชาที่แต่งกระทู้ธรรมนี่ยากมากครับ ต้องยกคติธรรมหรือพุทธวจนมาเป็นตัวตั้งและบรรยายเหตุหรือข้อความประกอบเป็นความเรียง เหมือนเราตอบข้อสอบกฏหมายที่ต้องยกทั้งตัวบท และเหตุผลประกอบนั่นแหละครับ ผมก็จบนักธรรมตรีเหมือนน้องเขาเลยตอนบวชเป็น นวโกวาท บวชตั้ง 140 วันอยู่เป็นลูกศิษย์หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ที่หนองสูงมุกดาหารครับ แต่สอบได้แค่นักธรรมตรีเท่าน้องเขานี่แหละครับ ::007::

เขาก็บอกว่ายากตอนเรียงความหรือแปลความตามกระทู้ธรรมนี้แหละครับ ;D

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว