๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
เมษายน 20, 2024, 04:47:33 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 39 40 41 [42] 43 44 45 ... 166
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้เรื่องเรือรบและอาวุธทางน้ำ  (อ่าน 496182 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หนานมา
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 246
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1324



« ตอบ #615 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2014, 04:11:06 PM »

ช่วงนี ฟิลิปปินส์ จัดซี้อจัง กำลังคิดอะไรอยู่นะ Grin

ลักษณะอาวุธที่จัดซื้อ เหมือนจะเอาไว้ปราบปราม ก๊กแก๊ง ต่างๆภายในมากกว่าป้องกันประเทศนะครับ  ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า

ใคร่หื้อเปิ้นฮักยากนัก จักหวัง ใคร่หื้อเปิ้นจังกำเดียวก็ได้
ใช้ของที่มี  มีของที่ใช้
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #616 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2014, 06:17:57 PM »

เวียดนามโน่นครับ   จัดซื้อแต่ละอย่าง  น่ากลัวจริง ๆ  ตกใจ
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #617 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2014, 10:27:50 PM »

สหรัฐอเมริกาและอังกฤษกำลังถูกคุกคามโดย"สัตว์จากใต้ทะเลลึก"ของรัสเซีย

    ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าอังกฤษและสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับการคุกคามของสุดยอด เรือดำน้ำรุ่นใหม่ของรัสเซียที่มีนามว่า "สัตว์จากใต้ทะเลลึก." (Beast from the depths)

กองทัพเรือรัสเซีย ได้ลงทุนกว่า 54 ล้านรูเบิลในการออกแบบเรือดำน้ำ K-329 "Severodvinsk" ซึ่งได้มีการส่งมอบเข้าประจำการเมื่อวันที่ 30 ธันวาคมที่ผ่านมา โดย K-329 ได้เริ่มโครงการเมื่อปี 1993 และวางแผนจะนำเข้าประจำการในปี 1998 แต่โครงการก็เกิดความล่าช้าเนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณ

เรือลำที่ได้รับเป็นลำแรกใน 8 ลำของเรือรุ่นใหม่ชั้น Yasen ซึ่งในแต่ละลำบรรจุอาวุธปล่อยโจมตีเรือติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ขาด 200 กิโลตันจำนวน 24 ลูก รวมทั้งขีปนาวุธโจมตีเป้าหมายบนฝั่ง,ทุ่นระเบิดและตอร์ปิโด

K-329 มีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่าดำเรือดำน้ำของราชนาวีอังกฤษและอเมริกันโดยเรือ ถูกสร้างให้มีความคล่องแคล่วว่องไวและยากแก่การค้นหา ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ สร้างด้วยวัสดุดูดซับเสียง สามารถดำน้ำได้ลึก 600 เมตร เดินทางด้วยความเร็ว 30-35 นอต (50-60 กม/ ชม.) ประจำการด้วยอาวุธหลากชนิด

ผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศกล่าวว่าการปรากฏตัวของเรือรุ่นนี้ได้สร้างปัญหา ให้กับสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาซึ่งครองความเป็นมหาอำนาจทางทะเลมาแต่ ไหนแต่ไร

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า: "การแข่งขันครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ไม่มีข้อมูลของผู้ชนะ เราอาจจะรู้เพียงประมาณครึ่งหนึ่งของ K-329 ขนาดกองทัพเรือสหรัฐยังเชื่อว่าเรือดำน้ำลำนี้ของพวกรัสเซียมีเทคโนโลยีสูง ที่สุดในโลก"

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องดำน้ำสงคราม Ian Ballantyne กล่าวว่า "กองเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของรัสเซียขณะนี้ถือว่ายอดเยี่ยมและเป็นความภาคภูมิ ใจของเครมลิน ซึ่งคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายลำละพันล้านที่ได้จากการขายน้ำมันและก๊าซ."

ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ปูตินได้มีความความตั้งใจที่จะสร้างกองทัพเรือรัสเซีย ให้กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้งรวมทั้งต้องการปฏิรูปการเมืองและการทหารให้กลับ มามีอิทธิพลเหมือนยุคโซเวียตในอดีต.



http://ordnancefighter.blogspot.com/2014/01/blog-post_14.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 11, 2014, 11:30:30 PM โดย ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ » บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265



« ตอบ #618 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2014, 10:53:42 PM »

ปวดหัวมาตั้งแต่ยุค Alfa-class
บันทึกการเข้า
SOAP47 รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 333
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5792



« ตอบ #619 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2014, 11:23:09 PM »



บริษัท Marsun ลงนามสัญญาจัดซื้อเรือตรวจการณ์ M58 กับกองทัพเรือไทยสำหรับปี 57

- เมื่อ 24 ม.ค. 57 สำนักข่าว Jane’s รายงานว่า บริษัท Marsun ผู้ผลิตเรือลาดตระเวนที่มีชื่อเสียง ได้ลงนามสัญญาระยะยาว

ในการจัดหาเรือลาดตระเวนขนาดใหญ่ M58 ให้กับกองทัพเรือไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปลายปีพ.ศ. 2556 ซึ่งจะส่งมอบภายใน 700 วัน

หลังจากลงนามสัญญา โดยจะมีการต่อเรือที่อู่ทหารเรือธนบุรีของกองทัพเรือ และทางบริษัท Marsun จะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ

ด้านเทคนิค แบบแปลนเรือ และวัสดุต่าง ๆ เรือตรวจการณ์ M58 มีความยาว 58 ม. ความกว้าง 9.3 ม. และระวางขับน้ำเต็มที่ 520 ตัน

นับว่าเป็นเรือตรวจการณ์ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยจัดซื้อจากบริษัท Marsun ขับเคลื่อนโดยใช้เครื่องยนต์ดีเซล Caterpillar 3516C

จำนวน 3 เครื่อง สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 24 น็อต มีพิสัยทำการ 2,500 ไมล์ทะเล ติดตั้งปืนกลหนักขนาด 0.50 calibre

จำนวน 2 กระบอก พร้อมระบบควบคุมการยิง Thales Mirador electro-optic director/Jane’s

http://dtad.dti.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=485:defence-news-around-the-world-3-7-feb2014&catid=3:defense-news&Itemid=3


ยินดีกับกองทัพเรือด้วยครับ  จะได้เรือลำใหม่   หลงรัก
www.youtube.com/watch?v=VK64UnD3bvM
น่าเอามาติดเป็นปืนท้ายเรือจริง
กราบเรือเอา 30 มม กับ .50 ติดแทน
บันทึกการเข้า

THIS IS MY STEYR.
THERE ARE MANY LIKE IT, BUT THIS ONE IS MINE.
WITHOUT MY STEYR,I AM NOTHING.
WITHOUT ME, MY STEYR IS NOTHING.
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #620 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2014, 11:41:38 PM »



บริษัท Marsun ลงนามสัญญาจัดซื้อเรือตรวจการณ์ M58 กับกองทัพเรือไทยสำหรับปี 57

- เมื่อ 24 ม.ค. 57 สำนักข่าว Jane’s รายงานว่า บริษัท Marsun ผู้ผลิตเรือลาดตระเวนที่มีชื่อเสียง ได้ลงนามสัญญาระยะยาว

ในการจัดหาเรือลาดตระเวนขนาดใหญ่ M58 ให้กับกองทัพเรือไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปลายปีพ.ศ. 2556 ซึ่งจะส่งมอบภายใน 700 วัน

หลังจากลงนามสัญญา โดยจะมีการต่อเรือที่อู่ทหารเรือธนบุรีของกองทัพเรือ และทางบริษัท Marsun จะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ

ด้านเทคนิค แบบแปลนเรือ และวัสดุต่าง ๆ เรือตรวจการณ์ M58 มีความยาว 58 ม. ความกว้าง 9.3 ม. และระวางขับน้ำเต็มที่ 520 ตัน

นับว่าเป็นเรือตรวจการณ์ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยจัดซื้อจากบริษัท Marsun ขับเคลื่อนโดยใช้เครื่องยนต์ดีเซล Caterpillar 3516C

จำนวน 3 เครื่อง สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 24 น็อต มีพิสัยทำการ 2,500 ไมล์ทะเล ติดตั้งปืนกลหนักขนาด 0.50 calibre

จำนวน 2 กระบอก พร้อมระบบควบคุมการยิง Thales Mirador electro-optic director/Jane’s

http://dtad.dti.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=485:defence-news-around-the-world-3-7-feb2014&catid=3:defense-news&Itemid=3


ยินดีกับกองทัพเรือด้วยครับ  จะได้เรือลำใหม่   หลงรัก
www.youtube.com/watch?v=VK64UnD3bvM
น่าเอามาติดเป็นปืนท้ายเรือจริง
กราบเรือเอา 30 มม กับ .50 ติดแทน



อยากให้ติดอาวุธปล่อยนำวิถีเหมือนของพม่าครับ  ลำเล็กแต่แบกของหนัก

ด้านหัวเรือติดปืน AK-230 ขนาด 30 มม.  และด้านหลังเป็นอาวุธปล่อยนำวิถี C-802

ระยะยิง  ๑๒๐ กิโลเมตร   Grin
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #621 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2014, 03:27:45 PM »



Military Technology Lover Forum
กองทัพเรือจีน"พีแอลเอ"ปฏิบัติการซ้อมรบจริงเชิงยุทธวิธีในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก กองเรือเล็กสามลำประกอบด้วย เรือท้องแบนสะเทินน้ำสะเทินบกฉางไป่ซาน และเรือพิฆาตเล็กหวู่ฮั่นและไห่เก๋า(Changbaishan–China’s largest amphibious landing ship–and two destroyers–the Wuhan and Haikou) เริ่มเดินทางมุ่งหน้าไปยังน่านน้ำที่ต้องปฏิบัติภารกิจเมื่อเวลา 7.50 น.ตามเวลาท้องถิ่น เรือฉางไป่ซานยิงปืนใหญ่ลูกแรกไปยังเป้าหมายที่ลอยอยู่ห่างออกไปสามไมล์ทะเล เมื่อเวลา 8.30 น. ขณะเดียวกันเรือพิฆาตเล็กหวู่ฮั่นและไห่เก๋าเข้าประจำที่และร่วมยิงไปยังเป้าหมายด้วย ผลการตรวจหาระบุว่า เรือทั้งสามลำยิงถูกเป้าหมาย

เรือเอกเฉิน หยู่ไช่ ผู้ควบคุมกองเรือเล็กแห่งกองเรือทะเลจีนใต้ เปิดเผยว่า แม้จะเป็นการซ้อมยิงปืนใหญ่ แต่กองเรือได้ทดสอบผลการยิงปืนใหญ่โดยเดินเรืออย่างต่อเนื่องไม่หยุด และเพิ่มศักยภาพกองเรือเล็กในการปฏิบัติการร่วมภายใต้สถานการณ์ที่ซับซ้อนด้วย

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/world/20140209/562032/กองทัพเรือจีนซ้อมปืนใหญ่ในแปซิฟิกตะวันตก.html

http://2.bp.blogspot.com/-0IMMQgQzN20/Tg6bW02Q96I/AAAAAAAALZk/ayD4MoZ4_vo/s1600/ddg169_2574983ee7f0c8f6e543bnj5.jpg
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #622 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2014, 07:29:29 PM »



ออสเตรเลียจะมอบเรือตรวจการณ์ที่ปลดประจำการ จำนวน 2 ลำ ให้แก่มาเลเซียกลางปี 58

- เมื่อ 5 ก.พ.57 ที่ผ่านมาสื่อออนไลน์ต่างประเทศรายงานว่า ออสเตรเลียตั้งใจที่จะมอบเรือตรวจการณ์ ชั้น BAY

ที่ปลดประจำการจากหน่วย Australian Customs and Border Protection แก่มาเลเซียในกลางปีหน้า โดยจะเข้า

ประจำการในหน่วยงาน Malaysian Maritime Enforcement Agency (MMEA) เพื่อใช้ในภารกิจการป้องกันการค้ามนุษย์

และการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ทั้งนี้ออสเตรเลียจะดำเนินการฝึกการปฎิบัติการบนเรือดังกล่าวให้แก่มาเลเซียด้วย

เรือตรวจการณ์ลำดังกล่าวมีระยะปฎิบัติการ 1,000 ไมล์ทะเล ที่ความเร็ว 20 น็อต กำลังพลประจำเรือ 12 นาย

และมีอุปกรณ์ที่ช่วยให้ปล่อยเรือลงน้ำได้จากเรือตรวจการณ์ขนาดใหญ่/bernama.com

http://dtad.dti.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=486:defence-news-around-the-world-10-14-feb2014&catid=3:defense-news&Itemid=3
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #623 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2014, 10:14:43 PM »

ฟิลิปปินส์เสริมกองทัพรับภัยคุกคามจากจีน

     ฟิลิปปินส์เผยต้องการเรือรบจากสหรัฐ อีก2ลำ เพื่อนำมาเสริมเขี้ยวเล็บในการปกป้องเขตแดนทางทะเลท่ามกลางการถูกคุกคามจาก จีน เสนาธิการทหารของกองทัพฟิลิปปินส์ "พลเอกเอ็ดมันด์ เบาติสต้า" เปิดเผยว่า ฟิลิปปินส์ต้องการเรือรบจากสหรัฐ อีก 2 ลำ เพื่อนำมาเสริมเขี้ยวเล็บในการปกป้องเขตแดนทางทะเล ท่ามกลางการถูกคุกคามจากจีน

การขอเรือรบของฟิลิปปินส์อยู่ภายใต้ความช่วยเหลือล่าสุดของกองทัพสหรัฐที่ ประกาศโดยนายจอห์น เคอร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศ ในช่วงที่เขาไปเยือนฟิลิปปินส์เมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากที่ฟิลิปปินส์เล็งเห็นว่า เมื่อเดือนที่แล้ว มีภัยคุกคามอย่างแท้จริงในเงื่อนไขด้านความมั่นคง ทำให้ฟิลิปปินส์จำเป็นต้องปกป้องดินแดน...เสนาธิการทหารฟิลิปปินส์ บอกด้วยว่า ตามความคิดของเขา ยังจำเป็นต้องมีเรือฟรีเกตอีก 6 ลำเพื่้อรักษาความปลอดภัยบริเวณชายฝั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ตอนนี้ ต้องการ 2 ลำ ตามความจำเป็นเร่วด่วน และหวังว่าจะได้รับมอบภายใน 2 ปี ส่วนเรื่องงบประมาณที่จะใช้ในการปกป้องน่านน้ำอาจจะมาจากความช่วยเหลือ มูลค่า 40 ล้านดอลลาร์ ตามที่นายเคอร์รี่รับปากไว้เมื่อเดือนธันวาคม

ฟิลิปปินส์ ได้รับเรือฟรีเกต 2 ลำ ที่ผ่านการปรับปรุงมาจากสหรัฐก่อนหน้านี้แล้ว 2 ลำ เมื่อ 2 ปีก่อน และตอนนี้ถูกใช้ในการลาดตระเวณในทะเลจีนใต้...ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นพันธมิตรทางทหารอย่างยาวนานของสหรัฐ กำลังมีข้อพิพาทกับจีนเรื่องแนวประการังและหมู่เกาะในบริเวณที่ฟิลิปปินส์ เรียกว่า ทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก และเมื่อปี 2555 เรือบีอาร์พี เกรกอริโอ เดล พิลาร์ ซึ่งเป็นเรือฟรีเกตลำแรกที่ได้จากสหรัฐ ได้เผชิญหน้ากับเรือจีนที่บริเวณหมู่เกาะปะการัง สการ์บอรอฟ โชล ที่อยู่ไม่ไกลจากเกาะลูซอน ซึ่งเป็นเกาะหลักของฟิลิปปินส์ และจีนได้เข้าไปสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ที่ฟิลิปปินส์พยายามเรียกร้องให้สหประชาชาติเข้าไปแก้ไขข้อพิพาทนี้ แต่จีนปฏิเสธ

ปัจจุบัน ฟิลิปปินส์พยายามขอความช่วยเหลือจากสหรัฐมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีการเจรจาที่ทำให้ทหารอเมริกัน เข้าไปประจำการในฟิลิปปินส์ ภายใต้แผนการเข้าไปแย่งอิทธิพลในเอเชียจากจีน



http://ordnancefighter.blogspot.com/2014/01/blog-post_18.html
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #624 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2014, 03:23:52 PM »

กองทัพเรือได้รับอนุมัติคณะรัฐมนตรีในการจัดซื้อเรือฟริเกตุ 2 ลำ

    กองทัพเรือได้ขออนุมัติคณะรัฐมนตรีในการจัดซื้อ เรือฟริเกตุ 2 ลำ ในงบประมาณผูกพัน 4 ปี วงเงิน 30,000 ล้านบาท โดยกองทัพเรือจะได้ดำเนินการคัดเลือกแบบเรือฟริเกตุแบบใหม่ต่อไป รวมถึงอนุมัติโครงการปรับปรุงเรือหลวงนเรศวรและเรือหลวงตากสินในเฟสที่ 2 อีกด้วย

ปัจจุบันกองทัพเรือมีเรือฟริเกตุเข้าประจำการในสองกองเรือ คือกองเรือฟริเกตุที่ 1 และกองเรือฟริเกตุที่ 2 ประกอบไปด้วยเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน เรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงบางปะกง เรือหลวงกระบุรี เรือหลวงสายบุรี เรือหลวงมกุฎราชกุมาร เรือหลวงตาปี เรือหลวงคีรีรัฐ และเรือหลวงปิ่นเกล้า โดยเรือฟริเกตุที่มีอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำมีอยู่คือเรือหลวง พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน ซึ่งติดตั้งจรวดแบบ AGM-84 Harpoon เรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงบางปะกง ติดตั้งจรวดแบบ C-801 และเรือหลวงกระบุรี เรือหลวงสายบุรีติดตั้งจรวดแบบ C-802A

ในจำนวนเรือฟริเกตุที่กล่าวถึงนี้ มีเพียงเรือหลวงนเรศวรและเรือหลวงตากสินที่ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้ อากาศยานเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันเรือหลวงนเรศวรและเรือหลวงตากสินกำลังทำการปรับปรุงเพิ่มประ สิทธิภาพในเฟสที่ 1 คือ การติดตั้งระบบอำนวยการรบ 9LV เรดาร์ควบคุมการยิง CEROS 200 แท่นยิงอาวุธปล่อยทางดิ่ง Mk.41 และจรวดต่อสู้อากาศยาน RIM-162 Evolved Sea Sparrow Missile ทำให้กองทัพเรือมีความเสี่ยงสูงในการปฏิบัติการสงครามตามแบบในกรณีที่กอง เรือของไทยถูกอากาศยานข้าศึกเข้าโจมตี ซึ่งในอาเซียนมีเครื่องบินรบที่มีจรวดต่อต้านเรือรบที่ติดตั้งกับเครื่องบิน ขับไล่ใช้งานเช่น AGM-84 Harpoon ติดตั้งกับ F/A-18D และ Kh-31 ติดตั้งกับ Su-27 และ Su-30 อาจทำให้กองเรือไม่มีอาวุธที่จะป้องกันตัวเองจากจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำได้

ในเฟสที่ 2 เรือหลวงนเรศวรอาจจะทำการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ระบบต่อต้านเรือดำน้ำ ระบบเป้าลวง รวมถึงอาจจัดซื้อจรวดต่อสู้อากาศยานเพิ่มเติม โดยแท่นยิง Mk.41 จำนวน 8 ท่อยิงที่ติดตั้งบนเรือหลวงนเรศวรและเรือหลวงตากสิน จะสามารถติดตั้งจรวดต่อสู้อากาศยานได้ลำละ 32 นัด ในส่วนของเรือฟริเกตุที่กำลังจะจัดหาใหม่นั้น คาดว่าจะมีการติดตั้งจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำพิสัยกลาง จรวดต่อสู้อากาศยาน รวมถึงระบบอาวุธและระบบอำนวยการรบที่ทันสมัย ทั้งนี้ ยังไม่มีรายงานข่าวว่ากองทัพเรือจะจัดหาเรือจากประเทศใด



http://ordnancefighter.blogspot.com/2014/01/2.html
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #625 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2014, 09:53:47 PM »

จีนซุ่มสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่

    รัฐบาลจีนซุ่มสร้างเรือบรรทุกลำที่ 2 หลังจากประสบความสำเร็จในการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรก "เหลียวหนิง" ส่วนลำที่ 2 จะใช้เวลาสร้างประมาณ 6 ปี
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวัน ที่ 19 ม . ค . ว่า สื่อมวลชนจีนและฮ่องกง รายงานวันนี้ว่า จีนกำลังสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลา 6 ปี และจีนตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินให้ได้อย่างน้อย 4 ลำ หลังจากรัฐบาลจีนทุ่มงบประมาณด้านการทหารเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าในช่วง 20 ปี แผนการของกองทัพเรือจีนในการพัฒนากองทัพเรือให้มีความสามารถในการป้องกันผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัว และกรณีพิพาทเรื่องดินแดนในทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออก

เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน คือ “เหลียวหนิง” เรือรบในยุคโซเวียตจากยูเครน ในปี 2541 และเอามาซ่อมแซมที่อู่ต่อเรือของจีน ถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของการเสริมเขี้ยวเล็บของกองทัพเรือจีน ความสำเร็จของเรือบรรทุกเครื่องบิน “เหลียวหนิง” น้ำหนัก 60,000 ตัน ถือเป็นก้าวแรกในสิ่งที่สื่อมวลชนของรัฐและบรรดาผู้เชี่ยวชาญทางทหารบางคน เชื่อว่า จะเข้าประจำการภายในปี 2573

ในการแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์ข่าวของจีน นายหวัง หมิน ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ของมณฑลเหลียวหนิง ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นที่เก็บเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรก กล่าวว่า เรือบรรทุกเครื่องบินลำที่ 2 กำลังถูกสร้างอยู่ในเมืองท่า “ต้าเหลียน” โดยการก่อสร้างจะต้องใช้เวลาประมาณ 6 ปี และในอนาคต จีนจะมีเรือบรรทุกเครื่องบินอย่างน้อย 4 ลำ นายหวังได้แจ้งต่อสมาชิกของสภานิติบัญญัติในมณฑลเหลียวหนิงเมื่อวันเสาร์ที่ ผ่านมา

 http://www.dailynews.co.th/Content/foreign/209920/จีนซุ่มสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่

  BEIJING, -- China is reportedly building a second aircraft carrier, estimated to be completed by 2018, on its way to expanding its fleet to four of the massive ships.

Media reports - later deleted from the internet - stated Liaoning party chief Wang Min told a panel of the provincial people's congress that the second carrier was being built in the city of Dalian. The reports also quoted Wang as saying the port city was building two advanced 052D destroyers.

Wang told delegates from Dalian yesterday that the shipyard had started building China's second carrier after the first one, Liaoning, was delivered to the navy. The shipyard was responsible for refitting Liaoning, formerly a Ukrainian carrier.

Wang said construction of the new carrier would take six years and China's navy would eventually have four.

While the report did not specify the exact completion date, the new carrier is expected to be completed in 2018, based on the delivery date of Liaoning to the navy in September 2012.

It was the first confirmation by a senior official that China was building a second carrier, as well as the location and the timetable of its construction. The Defence Ministry has been tight-lipped about the progress of the plan.

The South China Morning Post reported in November that China would build four medium carriers by 2020. A country needs three to four carrier battlegroups for combat capability. The United States, by comparison, has 10 active carriers.

The carriers are part of China's push to develop a so-called blue water navy at a time when tension is running high with neighbours including Japan and the Philippines. In December, the USS Cowpens had to change course to avoid a near collision with one of the ships in the Liaoning squadron conducting tests in the South China Sea.

Military experts yesterday were divided about why the report was removed from the internet.

"I am sure Wang Min did say that in the panel meeting. But it seems that it is not proper for him to make the news public," a senior naval colonel said, requesting anonymity.

One retired PLA general said: "There is only one reason for such an important piece of news to come out in this way: the central authorities want to keep it low profile."

Macau-based military expert Wang Dong yesterday said it made sense that Dalian shipyard was responsible for the construction of the new carrier.

"However, it is worth keeping an eye if Dalian also gets the orders to build type 052D destroyers as they are usually built by Shanghai shipyard. If Dalian is building both, it may exceed their capacity,' he said.



http://ordnancefighter.blogspot.com/2014/01/blog-post_20.html


และแล้วลำที่ ๒ ก็มา   Grin
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #626 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2014, 09:01:25 PM »

เรือพิฆาตชั้น คองโง๊ะ เรือพิฆาต AEGIS แห่งบูรพา

    เรือพิฆาตชั้นนี้ คือเรือพิฆาตชั้น Arleigh Burke ของสหรัฐ ที่ได้รับการปรับปรุง/ดัดแปลง ให้ตรงตามภัยคุกคามและตามความต้องการของ กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น (JMSDF)

ตัวเรือถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท Mitsubishi Heavy Industries บริษัทอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่แห่งประเทศญี่ปุ่น
เรือพิฆาตติดระบบอำนวยการรบ AEGIS แบบ Lockheed Martin สหรัฐอเมริกา รูปแบบของเรือพัฒนามาจากต้นตำหรับอย่างชั้น Arleigh Burke ของสหรัฐ

สำหรับเครืองยนต์ของเรือนั้น ใช้เครืองยนต์กังหันก๊าส(gas turbines) Ishikawajima-Harima LM2500 ของมิซูบิชิ (ซึ่งได้รับสิทธิบัตรการผลิตของ General Electric LM2500 ซึ่งเป็นเครืองยนต์ ตัวเดียวกับที่ติดตั้งใน เรือพิฆาตชั้น Arleigh Burke ของสหรัฐ Type 052 Luhu-class ของกองทัพเรือปลอปล่อยประชาชนจีน และ เรือจักรีนฤเบศร ของไทย รวมถึงเรือบรรทุกเครืองบิน Vikrant ของอินเดีย) โดยเรือชั้นคองโง๊ะ ติดตั้ง Ishikawajima-Harima LM2500 ถึง 4 ระบบ ทำให้เรือชั้นนี้ ขับเคลื่อนได้ที่ความเร็ว 30 นอต (56 km/h) ด้วยกำลัง 100,000 แรงม้า(75 MW)

ระบบอาวุธของเรือ

ติดอาวุปล่อยนำวิถี RGM-84 Harpoon SSM

มีระบบปล่อยอาวุธทางดิ่ง (Vertical Launching System:VLS) แบบ Mk 41 จำนวน 90 ท่อยิง(29 cells at the bow, 61 cell at the aft) สามารถยิงจรวดปราบเรือดำน้ำ ASROC และ Standard Missile 2 (SM-2) ได้ (เห็นว่าซื้อ SM-3 แล้วด้วย)

มีระบบป้องกันระยะประชิด (close-in weapon systems CIWS) แบบ 20 mm. Mk.15 Phalanx 2 ระบบ

ปืนใหญ่เรือขนาด 127mm / 54-calibre Oto-Breda compact gun 1 กระบอก

พร้อมท่อยิงตอร์ปิโดแฝดสามแบบ Mk 32

มีลาดจอดฮ.ลิคอปเตอร์ และโรงเก็บ 1 โรง

ตัวเรือมีระวางขับน้ำประมาณ 7,500 tons และระวางขับน้ำเต็มที่ 9,500 tons

เรือพิฆาต Kongo Class มีความยาวทั้งสิ้น 161เมตร, ความกว้าง 21เมตรมีความสูง 6.2m.ใช้ลูกเรือจำนวน 300นาย

เรือชั้นนี้ถูกสร้างมาทั้งหมด 4 ลำคือ JDS Kongo (173), JDS Kirishima (174), JDS Myoko (175), และ JDS Chokai (176)



http://ordnancefighter.blogspot.com/2014/01/aegis.html
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #627 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2014, 10:57:01 PM »

อาเซียนเข้าสู่ยุคแข่งขันอาวุธ เวียดนามได้เรือดำน้ำ เพื่อนบ้านซื้อเรือรบ-เครื่องบิน

     ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ไม่เคยมียุคใดที่กลุ่มสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะทุ่มงบประมาณซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์มากมาย ขนาดนี้มาก่อน เวียดนามกำลังจะเป็นมหาอำนาจเรือดำน้ำ อินโดนีเซียทุ่มเงินมหาศาลเพื่อซื้อเรือรบ เรือดำน้ำอีก 2 ลำ เครื่องบินรบอีก 16 ลำ รถถังรุ่นใหม่ ยานลำเลียงพลหุ้มเกราะ ปืนใหญ่อัตตาจร และอื่นๆ ไทยกำลังมองหาเรือฟรีเกตรุ่นใหม่อีก 2 ลำ มาเลเซียกำลังพิจารณาคัดเลือกเครื่องบินรบยุคที่ 4 อีก 18 ลำ

ไปไกลที่สุดคือ สิงคโปร์ซึ่งจองเอฟ-35 เครื่องบินรบยุคที่ 5 ของสหรัฐฯ อันจะทำให้ประเทศเกาะเล็กๆ แห่งนี้กลายเป็นมหาอำนาจทางอากาศภายในกลุ่ม

การรุกลงใต้ของจีน กับการกล่าวอ้างทะเลจีนใต้เป็นของตนแต่ผู้เดียว ทำให้อาเซียนตื่นกลัว ประกอบกับสถานการณ์ใหม่ที่สหรัฐฯ หมุนเวียนกำลังเข้าสู่ภูมิภาคนี้ถึง 60% ทำให้ประเทศต่างๆ ในย่านนี้มองว่าอาวุธทันสมัยมีความจำเป็นมากขึ้น

แม้แต่ฟิลิปปินส์ที่อยู่เงียบๆ มาหลายทศวรรษภายใต้ร่มเงาของสหรัฐฯ ในฐานะประเทศพันธมิตรนอกกลุ่มนาโต้ ก็ยังต้องซื้อหาอาวุธเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปี

ปี 2556 ดุลอำนาจภายในกลุ่มที่มีสมาชิก 10 ชาติกำลังจะเปลี่ยนไป แต่ละประเทศต้องหาอาวุธเพื่อป้องกัน และป้องปรามเพื่อตัวเอง ถึงแม้ว่าทั้งหมดจะรวมตัวเข้าเป็นประชาคมใหญ่ภายในปี 2558 นี้ก็ตาม

หากทุกอย่างเป็นไปตามกำหนด เวียดนามจะได้รับเรือดำน้ำชั้นคิโล (Kilo-class) สองลำแรกในช่วงปลายปีนี้ และนี่คือเรือสำหรับสงครามใต้น้ำที่ทันสมัยที่สุดอีกรุ่นหนึ่งของรัสเซียที่ ผ่านการพัฒนามายาวนานตั้งแต่ยุคที่เป็นสหภาพโซเวียต ซึ่งจะทำให้เวียดนามมีเขี้ยวเล็บที่น่าเกรงขามยิ่งขึ้น ขณะที่ต้องเผชิญหน้ากับ “การคุกคาม” จากจีน ในกรณีพิพาทหมู่เกาะพาราเซลทางตอนเหนือ กับหมู่เกาะสแปร็ตลีย์ที่อยู่ใต้ลงไป

ไม่เฉพาะเวียดนามเท่านั้นที่เป็นคู่พิพาทในเรื่องเขตน่านน้ำแดนดินในทะเลจีน ใต้กับจีน ยังมีอาเซียนอีก 3 ประเทศที่เป็นคู่กรณีด้วย ได้แก่ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน กับอีกฝ่ายหนึ่งที่อยู่ไกลออกไปคือ จีนไต้หวัน

มาเลเซียประกาศระหว่างงานแสดงนิทรรศการการอวกาศและท้องทะเล ที่เกาะลังกาวี หรือ LIMA 2513 ในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับแผนการจัดซื้อเครื่องบินรบอีก 18 ลำ ซึ่งได้คัดเอาไว้พิจารณา 5 รุ่น คือ JAS-39 กริพเพน จากสวีเดน ยูโรไต้ฝุ่น จากอังกฤษ ราฟาล จากฝรั่งเศส เอฟ-18อี/เอฟ “ซูเปอร์ฮอร์เน็ต” ของสหรัฐฯ และซูคอย Su-30 ของรัสเซีย

มาเลเซียเป็นชาติที่ 3 ในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำ ถัดจากสิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งทั้ง 3 ชาตินี้ล้วนมีแผนการจัดซื้อเพิ่มเติม

กองทัพอากาศไทยเพิ่งได้รับมอบกริพเพน อีก 3 ลำ รวมเป็น 9 จากทั้งหมด 12 ลำ ที่จัดซื้อ ขณะที่อินโดนีเซียประกาศในเดือน มี.ค.ว่า ได้ตัดสินใจซื้อ Su-30 จากรัสเซียอีก 16 ลำ และกำลังรอส่งมอบเอฟ-16 ที่ใช้แล้วจากสหรัฐฯ เพื่อทำการอัปเกรด ซึ่งว่ากันว่ามีจำนวนถึง 24 ลำ

ฟิลิปปินส์ที่ไม่เคยซื้ออาวุธมานาน กำลังมองหาเรือฟรีเกตติดระบบจรวดทันสมัย เพื่อลาดตระเวนน่านน้ำ จำนวน 2 ลำ นอกจากนั้น ในเดือน มี.ค.ยังได้เซ็นสัญญาซื้อเฮลิคอปเตอร์จากค่ายยุโรป จำนวน 3 ลำ ติดอุปกรณ์เตือนภัยล่วงหน้าสำหรับภารกิจบินลาดตระเวนน่านน้ำ

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ในภูมิภาคนี้ แต่แผนการจัดซื้อจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ภายในกลุ่มอาเซียนมานานแล้ว รวมทั้งราชนาวีของไทยที่กำลังมองหาเรือฟรีเกตรุ่นใหม่อีก 2 ลำ ซึ่งอาจจะเป็นเรือที่ผลิตในเยอรมนี เกาหลี หรือเป็นเรือฟรีเกตที่สหรัฐฯ ปลดประจำการ และจะมอบให้ฟรีๆ จำนวน 2 ลำ แต่ไทยจะต้องจ่ายหลายร้อยล้านดอลลาร์เป็นค่าใช้จ่ายในการอัปเกรดให้ทันสมัย

ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า การที่จีนเพิ่มงบประมาณด้านกลาโหมกว่า 10% ในปีนี้ ยิ่งทำให้ประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มอาเซียนพากันตื่นตัว กระตือรือร้นจัดซื้อจัดหาอาวุธมากยิ่งขึ้น หลังจากช่วงปีที่ผ่านมา สิงคโปร์ได้กลายเป็นประเทศซื้ออาวุธมากที่สุด จนกระทั่งติดในอันดับต้นๆ ของโลก

การปรากฏตัวของเรือรบจีนในเขตหมู่เกาะพิพาท กับการส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศเข้าสู่ทะเลจีนใต้ เป็นครั้งแรก ได้ทำให้อาเซียนตื่นตระหนกถึงภัยอันตรายจากประเทศคอมมิวนิสต์ อาเซียนเห็นความจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังเขตน่านน้ำแดนดินของตนมากกว่าครั้ง ไหนๆ

ถึงแม้ว่าสถิติปี 2555-2556 จะยังไม่มีออกมา แต่สถาบันวิจัยสันติภาพในกรุงสตอกโฮล์ม หรือ (SIPRI) ได้พบว่า ในปี 2554-2555 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้งบประมาณกลาโหมเพิ่มขึ้นถึง 42% มากที่สุดคือ ซื้อเรือรบ เรือตรวจการณ์ ระบบเรดาร์ เครื่องบินรบ เรือดำน้ำ และพวกระบบจรวดต่อต้านเรือรบ

เชื่อกันว่าปีนี้ค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมของอาเซียนจะเพิ่มสูงขึ้นอีกมาก

มาเลเซียซื้อเรือดำน้ำสกอร์ปีน (Scorpene) จากฝรั่งเศส และทำการอัปเกรดให้ทันสมัย ไทยยังคงแผนการจัดซื้อเรือดำน้ำไม่เปลี่ยนแปลง หลังพลาดเรือดำน้ำเก่าที่ผลิตในเยอรมนี ขณะที่อินโดนีเซีย ซื้อเรือดำน้ำเก่าจากเยอรมนีอีกรุ่นหนึ่ง และให้กลุ่มแดวูของเกาหลีอัปเกรด

ปัจจุบัน อินโดนีเซียกำลังรอรับมอบเรือดำน้ำที่ผลิตจากเกาหลีโดยเทคโนโลยีเยอรมนีอีก 2 ลำ

สิงคโปร์ได้สร้างฝูงเรือดำน้ำ “แชลเลนเจอร์ทีม” ขึ้นมา โดยซื้อเรือดำน้ำเก่าจากสวีเดน 4 ลำ และทำการอัปเกรด ในขณะที่มีกองเรือรบทันสมัยที่สุดอีกกองหนึ่ง นอกจากนั้น สิงคโปร์ยังจัดซื้อเครื่องบินรบเอฟ-15 เอสจี อีก 1 ฝูง แต่ที่กำลังถูกจับตามองที่สุดก็คือ การตัดสินใจซื้อ F-35 เครื่องบินรบล้ำยุคสมัยจากสหรัฐฯ

นักสังเกตการณ์หลายรายไม่ยอมเรียกว่านี่คือ การแข่งขันอาวุธ แต่อธิบายว่าเป็นเพียงการเพิ่มการจัดซื้อจัดหาแบบตัวใครตัวมันโดยรู้สึกถึง ภัยใหญ่ที่อยู่ห่างออกไป แต่เริ่มเคลื่อนเข้าใกล้ตัว มากกว่าจะเกิดจากการระแวงสงสัยประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งทั้ง 10 ประเทศกำลังจะรวมเป็นประชาคมคล้ายๆ กับสหภาพยุโรปในอีก 2 ปีข้างหน้า

หากมองว่าสหรัฐฯ เป็นมิตรของอาเซียน ศัตรูสำคัญที่สุดของสมาชิกส่วนใหญ่ในกลุ่มก็จะไม่ใช่ใครอื่นหากเป็นจีน ในขณะที่ 2 มหาอำนาจกำลังพันตูกันในทะเลจีนใต้ ซึ่งสหรัฐฯ กับชาติพันธมิตรในย่านเอเชียแปซิฟิกถือว่าเป็นทะเลหลวง และเป็นเส้นทางเดินเรือเสรี

หลายปีมานี้ จีนไม่เพียงแต่ทุ่มเทให้การวิจัยทดลองจนเกิดมีเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรก เท่านั้น จีนยังพัฒนาเรือรบอีกหลายขนาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรือพิฆาต กับ เรือฟรีเกตที่มีอยู่หลายชั้น กับกองเรือดำน้ำที่เข้มแข็งที่สุดในย่านนี้

กองทัพอากาศจีนได้วิจัยทดลองสร้างเครื่องบิน J-20 ซึ่งเป็นเครื่องบินรบยุคที่ 5 “สเตลธ์” ออกมาเป็นลำแรก และยังสร้าง J-31 ขึ้นมาอีกรุ่น

ถึงแม้ว่าเมื่อเทียบกับอาวุธของโลกตะวันตกแล้ว จีนจะยังไม่มีอะไรไปเทียบเคียงได้ก็ตาม แต่ไม่กี่ปีมานี้ จีนได้พิสูจน์ให้ชาวโลกได้เห็นเป็นครั้งแรกว่า มีตัวตนอยู่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งไม่เพียงแต่ด้านเศรษฐกิจเท่านั้น หากยังด้านการทหารอีกด้วย

เป็นครั้งแรกอีกเช่นกันที่เรือรบของจีนสามารถแล่นออกสู่ทะเลหลวง ทั้งในแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย ไปจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ทั้งหมดนี้ย่อมเพียงพอที่กลุ่มอาเซียนซึ่งเคยเผชิญหน้ากับการคุกคามจากค่าย คอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็น จะรู้สึกหวาดกลัวการรุกทางการทหารจีนมากกว่าครั้งไหนๆ.

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000046178

รูปภาพ : เรือนครฮานอย กับนครโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นเรือดำน้ำชั้นคิโล (Kilo-class) 2 ลำแรก ในจำนวน 6 ลำที่ซื้อจากรัสเซีย ออกจากอู่ต่อในนครเซ็นปีเอร์สเบิร์ก เพื่อทำ การทดสอบในทะเลในช่วงต้นปีนี้ รัสเซียจะส่งมอบทั้งสองลำให้เวียดนามปลายปีนี้



http://ordnancefighter.blogspot.com/2014/01/blog-post_4574.html
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #628 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2014, 10:39:43 AM »

เรือดำน้ำ ดีเซลไฟฟ้า แห่งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลแห่งญี่ปุ่น Japan Maritime Self-Defense Force (JMSDF)

  โดยได้รับการจัดสร้างโดย Kawasaki Shipbuilding Corporation และ Mitsubishi Heavy Industries โดยเริ่มวางกระดูกงูครั้งแรก ในเดือน มกราคม ปี1994 และ ได้เผยโฉมต่อสาธารณะชนในปีตุลาคมปี 1996 โดยเรือดำน้ำชั้น Oyashio ถือเป็นเรือดำน้ำที่ใหญ่ที่สุด และเดินเครืองได้เงียบที่สุดในยุคนั้น โดยทางญี่ปุ่นได้ทำการพัฒนาระบบเรด้าและเครืองยนต์ด้วยตนเอง โดยภารกิจหลัก ที่ทาง JMSDF มอบหมายให้มันคือ การล่าทำลายเรือรบผิวน้ำ และต่อต้านเรือดำน้ำ

ระบบอาวุธของเรือ
เรือดำน้ำชั้น Oyashio มีท่อยิงตอปิโดขนาด 533mm แบบ HU-605 6ท่อ ตัวเรือดำน้ำมีพื้นที่สำหรับบรรทุก ตอปิโดแบบ Type 89 ได้ถึง 20 หน่วย ซึ่งตอปิโดชนิดนี้ บรรจุหัวรบขนาด 267kg และเคลื่อนที่ใต้น้ำด้วยความเร็ว 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีระยะทำการถึง 50 กิโลเมตร(จากเรือดำน้ำ) เรียกได้ว่าเป็นอาวุธที่น่ากลัวจริงๆ

นอกจากนี้ท่อตอปิดโดยังสามารถทำการยิง ขีปนาวุธต่อต้านเรือรบแบบ UGM-84D Harpoon ได้ที่ความเร้ว 864km/h ได้ด้วย
ขุมกำลังของ Oyashio อยุ่ที่เครืองยนต์ Kawasaki 12V25S diesel engines จำนวน 2 เครืองยนต์ และ มอเตอร์ขับเคลื่อนของ Toshiba สองระบบ โดยระบบเครืองยนต์ สามารถให้กำลังเครืองยนต์หากวัดเป็นแรงม้าถึง 7,700hp. และ ความเร้วในขณะที่อยู่ใต้น้ำถึง 20 นอต

นอกจากนี้ตัวเรือยังติดตั้งระบบ AIP ที่พัฒนาโดยญี่ปุ่นเอง
ระบบโซน่า Hughes/Oki ZQQ-6 hull-mounted sonar
ระบบเรด้า JRC ZPS 6 I-band search radar.
เรือดำน้ำชั้นนี้ ได้รับการสร้างเข้าประจำการใน กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลแห่งญี่ปุ่น ปัจจุบันมีทั้งหมด 11 ลำ
จนถึงปัจจุบันทางญี่ปุ่นกำลังสร้างเตรียมเข้าประจำการ เรือดำนำชั้น Sōryū-class ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า อีกด้วย

ข้อมูลพื้นฐาน Oyashio class

ตัวเรือมีระวางขับน้ำ 2,854 ตัน
ความยาว 81.7 เมตร
ความกว้าง : 8.9 เมตร
ความสูง 7.4 เมตร





http://ordnancefighter.blogspot.com/2014/01/japan-maritime-self-defense-force-jmsdf.html
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #629 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2014, 11:42:00 PM »

รัสเซียจะวางกระดูกงูเรือดำน้ำ 9 ลำภายใน 2 ปีนี้

     ในปี นี้จนถึงปี 2015 อู่ต่อเรือ "Sevmash" จะเริ่มสร้างดำน้ำใหม่จำนวน 9 ลำ ได้แก่เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์
จำนวน 5 ลำ และเรือดำน้ำเชิงกลยุทธ์อีก 4 ลำ "-เกี่ยวกับเรื่องนี้ RIA Novosti ได้รายงานในระหว่างการจัดแสดง
นิทรรศการ Defexpo-2014 ที่อินเดียโดยอ้างคำกล่าวของซีอีโอ "Sevmash" นาย Micle Budnichenko
Budnichenko กล่าวว่า ในปี 2014 บริษัท ฯ จะลงมือต่อเรือดำน้ำนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์ของ Project 955
"Borei Class" จำนวน 2 ลำ และเรือดำน้ำนิวเคลียร์อเนกประสงค์ Project 885 "Yasen Class" จำนวน 3 ลำ
รวมทั้งเรือดำน้ำเชิงกลยุทธอีกจำนวน 4 ลำ การก่อสร้างของเรือดำน้ำได้ดำเนินการตามโครงการพัฒนากองทัพ
ในช่วงปี 2020 ซึ่งจากนี้ไปจนถึงปี 2020 จะมีการสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ Project 885 เข้าประจำการเพิ่มอีก
7 ลำ และ Project 955 อีก 8 ลำ
     
เรือดำน้ำ Project 885 ลำแรกได้ถูกส่งมอบเข้าประจำการในกองทัพเรือรัสเซียเมื่อเดือนธันวาคม 2013 ที่ผ่านมา
ส่วน Project 955 ลำแรกได้ถูกนำเข้าประจำการเมื่อเดือนมกราคมปี 2013 และลำที่สองได้เข้าประจำการในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน




http://ordnancefighter.blogspot.com/2014/02/9-2.html
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
หน้า: 1 ... 39 40 41 [42] 43 44 45 ... 166
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.125 วินาที กับ 22 คำสั่ง