๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
มีนาคม 29, 2024, 05:29:13 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 12 13 14 [15] 16 17 18 ... 166
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้เรื่องเรือรบและอาวุธทางน้ำ  (อ่าน 458294 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Southlander
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 5711
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 48210



« ตอบ #210 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2013, 10:15:49 PM »

ไทยน่าจะมีเรือรบแบบมนุษย์ต่างดาวในหนังแบทเทิลชิพบ้างนะครับ..เห็นอาวุธที่ใช้ดูดุเดือดดีครับผม.. Cheesy Grin ไหว้

 


เรือรบเอเลี่ยนที่โดน .50ยิงกระตกแตกน่ะเหรอครับ แถมอาวุธก็มีแต่ปืนครก แถมมืดแล้วก็มองอะไรไม่เห็น ถ้ากระจอกขนาดนี้ขอไม่มีได้มั้ยครับ   คิก คิก คิก คิก

แซวหนังขำๆนะครับพี่  ไหว้ ไหว้
แถมโดนเรือปลดระวางถล่มสะเละด้วย ขำก๊าก
แต่ผมชอบอาวุธระเบิดลูกข่างอวกาศมันนะ หมุนไปทางไหน แหกเป็นทางไปเลย

พี่จอยทำให้ผมเล่นสักลูกนึงซิ นะ นะ
บันทึกการเข้า

๏ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง  แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง   จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
                      
                             โดย:นภาลัย สุวรรณธาดา พศ.๒๕๑๐
nueng111
Newbie
*

คะแนน 3
ออฟไลน์

กระทู้: 4


« ตอบ #211 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2013, 10:30:17 PM »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

Post by Special Best OneSBO
D.Thanakorn +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 951
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2122



« ตอบ #212 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2013, 06:41:48 PM »


เรือรบเอเลี่ยนที่โดน .50ยิงกระตกแตกน่ะเหรอครับ แถมอาวุธก็มีแต่ปืนครก แถมมืดแล้วก็มองอะไรไม่เห็น ถ้ากระจอกขนาดนี้ขอไม่มีได้มั้ยครับ   คิก คิก คิก คิก

แซวหนังขำๆนะครับพี่  ไหว้ ไหว้

 ไหว้ ผมก็คิดแบบสนุกๆครับพี่.. Cheesy Grin  ไหว้
บันทึกการเข้า

จงมีน้ำใจต่อกัน
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265



« ตอบ #213 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2013, 11:47:19 AM »

พอดีผมประหลาดใจนิดหนึ่งครับน้าจ้าว ในเรื่องวัตถุดิบเหล็กที่จะเอามาทำเรือ ส่วนฝีมือการออกแบบผลิตและทำเรือผมก็เชื่อแบบน้าจ้าวว่าคนไทย
ทำได้ และทำมาแล้ว

 คือตามที่คุณ Yut64 พูดถึงว่าเราทำไม่ได้ เพราะเราถลุงเหล็กเองไม่ได้ ผมอ่านแล้วสับสนตัวเองอยู่นิดหนึ่งกับคำสองคำคือ

ถลุงเหล็ก หรือ หลอมเหล็ก

ถลุงเหล็ก ในความรับรู้และเข้าใจของผมนะ มันหมายถึง กระบวนการผลิตเหล็กขั้นต้นน้ำ แรกสุดเลย คือ ประมาณว่าขุดเอาแร่เหล็กจากเหมือง
มาก็ต้องเข้าโรงถลุงก่อน แล้วจะได้เหล็กกึ่งวัตถุดิบที่จะเอาไปทำอะไรต่อก็ตามใจ
 ถ้าเป็นตามที่ผมเข้าใจดังนี้ก็แปลกใจว่าจะทำไปทำไมเพราะเท่าที่รู้บ้านเราเหมืองแร่เหล็ก ปิดไปแล้ว ไม่มีแล้ว (เหมือนที่เขาศูนย์ นครศรีธรรมราชที่ปิดไปแล้ว)
เพราะเราต้องเอาสินแร่เหล็กมาจากที่อื่นมาถลุงเอง ไหนจะค่าสินแร่ ค่าขนส่ง ค่าต้นทุนโรงงานการผลิต มันก็ไม่คุ้มแล้ว เพราะเจอเหล็กที่ถลุงมาพร้อมแปรรูปแล้ว
จากรัสเซีย จากจีนมากมาย

การหลอมเหล็ก ก็คือการเอาเหล็กที่ถลุงมาแล้ว มาหลอมเหลวอีกที (รวมถึงรับซื้อเศษเหล็กมาหลอมรวมไปด้วยกัน) แล้วเติมสารที่ให้เหมาะกับการใช้งานแต่ละประเภทลงไปเพื่อให้ได้คุณภาพซึ่งโรงเหล็กเมืองไทย ก็มีโรงหลอมที่ว่านี้แล้ว แบบที่เรียกว่า คอนคาสท์ คือหลอมออกมาเป็นเหล็กที่พร้อมการแปรรูปขึ้นต่อไปแล้วเข้าลูกกลิ้งการผลิตต่อไปได้เลย

  ซึ่งในความเข้าใจของผมก็เลยสงสัยว่า เราจะตั้งโรงถลุงเหล็กไปทำไมเพราะเราไม่มีสินแร่ แล้วตั้งโรงหลอมดีกว่า แล้วเติมวัสดุปรับปรุงคุณภาพให้ได้ตามสเปคของเหล็กผลิตเรือรบ
จากนั้นออกมาก็เข้าแท่นรีดเป็นม้วน เอามาสลิทต่อเป็นแผ่น หรือ การขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีไหนก็ตามเพื่อเอาไปทำเรือรบอีกที

ที่นี้มี Metallurgy Engineer หรือเปล่า มาช่วยผมหน่อย ว่าผมเข้าใจถูกหรือเปล่า Grin คิก คิก

อ้าว เพิ่งจะเห็นครับ

พี่ดุลย์เข้าใจถูกแล้วครับ  การถลุงเหล็กคือกระบวนการขั้นต้นในการผลิตเหล็กดิบซึ่งเป็นวัตถุดิบในการนำไปผลิตเหล็กกล้าชนิดอื่นอีกที

การบรรจุวัตถุดิบในเตา
    การบรรจุวัตถุดิบในเตานั้น จะใส่ผสมรวมๆกันไปด้วยกันไม่ได้ จะต้องใส่เป็นชั้นๆตามชนิดของวัตถุดิบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของปฏิกริยาในการหลอมละลายมากที่สุด
ชั้นของวัตถุดิบที่ใส่ลงในเตา
เรียงลำดับจากก้นเตาขึ้นมาถึงส่วนบนของเตา
    ชั้นที่ 1 ถ่านโค้ก ตอนที่เริ่มจุดเตาเพื่อถลุงเหล็กนั้น ต้องใสถ่านโค้กก่อนเพื่อให้เป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดปฏิกริยาภายในเตา
    ชั้นที่ 2 หินปูน เมื่อถ่านโค้กติดไฟแล้วจะเกิดความร้อน ซึ่งจะทำให้หินปูนสลายตัวรอผสมกับสิ่งสกปรกที่จะเกิดขึ้นภายในเตา
    ชั้นที่ 3 เศษเหล็ก สำหรับชั้นนี้ในบางเตาอาจไม่ใช้ ถ้าเป็นเช้านี้ให้ใส่ชั้นต่อไปได้เลย
    ชั้นที่ 4 สินแร่เหล็ก จะต้องผ่านการเตรียมให้มีขนาดตามต้องการ คือก้อนโตประมาณ 10 – 15 มม.

ผลผลิตที่ได้จากเตาสูง
1.เหล็กดิบ (Pig lron)
    ผลผลิตที่สำคัญซึ่งได้จากการถลุงแร่ในเตาสูง ได้แก่เหล็กดิบ แต่เหล็กดิบที่ได้จากเตานั้นมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับชนิดของแร่เหล็กและวัตถุดิบที่ใส่เข้าไป

ชนิดของเหล็กดิบ มีดังนี้
    1.1 เหล็กดิบสีเทา (Grey Pig lron) เป็นเหล็กดิบที่มีซิลิกอนผสมอยู่มาก ซิลิกอนเป็นตัวช่วยแยกคาร์บอนในเหล็กดิบออกมาอยู่ในรูปการาไฟด์ (Garphite) หรือ คาร์บอน
ดังนั้นถ้านำเหล็กดิบสีเทามาหักดูเนื้อในจะเห็นรอยหักเป็นเม็ดเล็กๆสีเทา เหล็กดิบสีเทานิยมเอาไปถลุงอีกครั้งเพื่อให้ได้เป็นเหล็กหล่อสีเทา (Grey Cast lron) ต่อไป

    2.2 เหล็กดิบสีขาว (White Pig lron) เป็นเหล็กดิบที่ส่วนประกอบของแมงกานีสอยู่มาก คาร์บอนจะรวมตัวกับเหล็กในรูปของซีเมนไตท์ (Cementite)
เมื่อสังเกตดูรอยหักจะเป็นเนื้อละเอียดขาว เหล็กดิบสีขาวนี้นิยมนำไปถลุงและผ่านกรรมวิธีต่างๆเพื่อให้ได้เป็นเหล็กกล้าที่จะนำมาใช้งานต่อไป

2. ขี้ตะกรัน (Slag)
    เป็นสิ่งสกปรกที่อยู่ในสินแร่เหล็ก ซึ่งถูกกำจัดโดยหินปูน ขี้ตะกรันที่ได้จากเตาสูงจะมีเนื้อละเอียด ใช้เป็นส่วนผสมในการทำปูนซีเมนต์ และเป็นวัตถุดิบอย่างหนึ่งสำหรับผลิตใยหิน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นฉนวนป้องกันความร้อน และเป็นกันความร้อน และเป็นฉนวนป้องกันเสียงได้ดี

เหล็กดิบที่ผลิตได้จากการถลุงสินแร่เหล็ก จะมีธาตุต่างๆประสมอยู่โดยประมาณดังนี้
คาร์บอน (Carbon : C) 3-4%
ซิลิคอน (Silicon: Si) 1-3%
แมงกานีส (Manganese : Mn) 1%
ฟอสฟอรัส (Phosphorus : P) 0.1-1%
กำมะถัน (Sulphur: S) 0.05-0.1%

ปริมาณคาร์บอนในเหล็กดิบจะสูงมาก ทำให้แข็งแต่เปราะยังไม่เหมาะแก่การนำมาใช้งาน จึงต้องมีกระบวนการปรับปรุงคุณสมบัติให้เหมาะสมกับงานแต่ล่ะประเภท
โดยการหลอมและใส่ธาตุหรือสารปรับปรุงคุณสมบัติลงในในเหล็กดิบหลอมเหลว  ผลผลิตที่ได้เรียกว่า "เหล็กกล้า"




เหล็กกล้า(steel) คือเหล็กดิบที่ผ่านกรรมวิธีเพิ่มสารอื่นๆเข้าไปเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของเหล็กให้ดีขึ้น

เหล็กกล้าเป็นเหล็กที่ถูกนำไปใช้ในงานต่างๆมากมาย ทั้งนี้เนื่องจากเหล็กกล้านั้น มีคุณสมบัติในการรับแรงต่างๆได้ดี
เช่น แรงกระแทก (Impact Strength) แรงดึง (Tensile Strength) แรงอัด (Compressive Strength) และ แรงเฉือน (Shear Strength)
ซึ่งธาตุผสมส่วนใหญ่จะเป็นทั้งโลหะและอโลหะ เช่น โมลิบดินั่ม ทังสเตน วาเนเดียม เป็นต้น โดยเหล็กกล้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

 เหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon steels)
หมายถึง เหล็กกล้าที่มีส่วนผสมของธาตุคาร์บอนเป็นธาตุหลักที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อ
คุณสมบัติทางกลของเหล็ก และยังมีธาตุอื่นผสมอยู่อีก ซึ่งแบ่งเหล็กกล้าคาร์บอนออก
เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Steel)

เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนไม่เกิน 0.25% นอกจากคาร์บอนแล้ว ยังมีธาตุอื่นผสม- อยู่ด้วย เช่น แมงกานีส ซิลิคอน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน
แต่มีปริมาณน้อยเนื่องจาก หลงเหลือมาจากกระบวนการผลิต เหล็กประเภทนี้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรม และใน ชีวิตประจำวันไม่ต่ำกว่า 90%
เนื่องจากขึ้นรูปง่าย เชื่อมง่าย และราคาไม่แพง โดยเฉพาะเหล็กแผ่นมีการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น ตัวถังรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ
กระป๋องบรรจุอาหาร สังกะสีมุงหลังคา เครื่องใช้ในครัวเรือน และในสำนักงาน

2. เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง (Medium Carbon Steel)
เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอน 0.2-0.5% มีความแข็งแรงและความเค้นแรงดึงมากกว่า เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ แต่จะมีความเหนียวน้อยกว่า
สามารถนำไปชุบแข็งได้ เหมาะกับ งานทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกล รางรถไฟ เฟือง ก้านสูบ ท่อเหล็ก ไขควง เป็นต้น

3. เหล็กกล้าคาร์บอนสูง (High Carbon Steel)
เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอน 0.5 - 1.5% มีความแข็งความแข็งแรงและความเค้น- แรงดึงสูง เมื่อชุบแข็งแล้วจะเปราะ เหมาะสำหรับงานที่ทนต่อการสึกหรอ
ใช้ในการทำ เครื่องมือ สปริงแหนบ ลูกปืน เป็นต้น




เหล็กกล้าประสม (Alloys Steel)
หมายถึง เหล็กที่มีธาตุอื่นนอกจากคาร์บอน ผสมอยู่ในเหล็ก ธาตุบางชนิดที่ผสมอยู่ อาจมีปริมาณมากกว่าคาร์บอน คิดเป็นเปอร์เซนต์
โดยน้ำหนักในเหล็กก็ได้ธาตุที่ผสม ลงไปได้แก่ โมลิบดินั่ม แมงกานีส ซิลิคอน โครเมียม อลูมิเนียม นิกเกิล และวาเนเดียมเป็นต้น
จุดประสงค์ที่ต้องเพิ่มธาตุต่างๆเข้าไปในเนื้อเหล็ก ก็เพื่อการทำให้คุณสมบัติของเหล็ก เปลี่ยนไปนั่นเองที่สำคัญก็คือ
1. เพิ่มความแข็ง
2. เพิ่มความแข็งแรงที่อุณหภูมิปกติและอุณหภูมิสูง
3. เพิ่มคุณสมบัติทางฟิสิกส์
4. เพิ่มความต้านทานการสึกหรอ
5. เพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน
6. เพิ่มคุณสมบัติทางแม่เหล็ก
7. เพิ่มความเหนียวแน่นทนต่อแรงกระแทก

เหล็กกล้าประสม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. เหล็กกล้าประสมต่ำ (Low Alloy Steels)
เป็นเหล็กกล้าที่มีธาตุประสมรวมกันน้อยกว่า 8% ธาตุที่ผสมอยู่คือ โครเมี่ยม นิกเกิล โมลิบดินั่ม และแมงกานีส ปริมาณของธาตุที่ใช้ผสมแต่ละตัวจะไม่มากประมาณ 1 – 2%
ผลจากการผสมทำให้เหล็กสามารถชุบแข็งได้ มีความแข็งแรงสูง เหมาะสำหรับใช้ ในการทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เช่น เฟือง เพลาข้อเหวี่ยง
จนบางครั้งมีชื่อว่าเหล็กกล้า เครื่องจักรกล (Machine Steels) เหล็กกล้ากลุ่มนี้จะต้องใช้งานในสภาพชุบแข็งและอบก่อนเสมอจึงจะมีค่าความแข็งแรงสูง

2. เหล็กกล้าประสมสูง (High alloy steels)
เหล็กกล้าประเภทนี้จะถูกปรับปรุงคุณสมบัติ สำหรับการใช้งานเฉพาะอย่าง ซึ่งก็จะมีธาตุประสมรวมกันมากกว่า 8% เช่น เหล็กกล้าทนความร้อน
เหล็กกล้าทนการเสียดสี และเหล็กกล้าทนการกัดกร่อน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2013, 12:00:15 PM โดย อรชุน-รักในหลวง » บันทึกการเข้า
Southlander
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 5711
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 48210



« ตอบ #214 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2013, 12:08:06 PM »

+ขอบคุณครับคุณอรชุนสำหรับความรู้เรื่องโลหะวิทยา

ซึ่งความคิดแบบเมื่อเราจะลงทุนทำอะไร เราไม่จำเป็นต้องลงทุนตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำหรอกครับ
เหมือนคำกล่าวที่ว่า จะกินนมใยต้องเลี้ยงฟาร์มโคนม
หรือจะแกงกะทิก็ไม่ต้องถึงกะปลูกสวนมะพร้าวเอง สอยเอง คั้งกะทิเองหรอก
เพราะบางทีมันไม่คุ้ม
แต่ไม่ได้หมายถึงว่าอย่าไปทำมันเลยนะครับ คือถ้าคุ้มก็ทำ ถ้าไม่คุ้มในขั้นตอนไหน เราก็ซื้อเขามาจากขั้นตอนนั้นแล้วเอามาทำของเราต่อไป
บันทึกการเข้า

๏ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง  แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง   จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
                      
                             โดย:นภาลัย สุวรรณธาดา พศ.๒๕๑๐
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10196
ออฟไลน์

กระทู้: 47075


M85.ss


« ตอบ #215 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2013, 12:14:49 PM »

ไทยน่าจะมีเรือรบแบบมนุษย์ต่างดาวในหนังแบทเทิลชิพบ้างนะครับ..เห็นอาวุธที่ใช้ดูดุเดือดดีครับผม.. Cheesy Grin ไหว้

 


เรือรบเอเลี่ยนที่โดน .50ยิงกระตกแตกน่ะเหรอครับ แถมอาวุธก็มีแต่ปืนครก แถมมืดแล้วก็มองอะไรไม่เห็น ถ้ากระจอกขนาดนี้ขอไม่มีได้มั้ยครับ   คิก คิก คิก คิก

แซวหนังขำๆนะครับพี่  ไหว้ ไหว้
แถมโดนเรือปลดระวางถล่มสะเละด้วย ขำก๊าก
แต่ผมชอบอาวุธระเบิดลูกข่างอวกาศมันนะ หมุนไปทางไหน แหกเป็นทางไปเลย

พี่จอยทำให้ผมเล่นสักลูกนึงซิ นะ นะ
มองในแง่เทคโนโลยี่ อุตส่าห์มาจากนอกโลก อาวุธมันน่าจะรุนแรงกว่านี้นะครับ ประเภทแบบแสงเลเซอร์ คิก คิก
บันทึกการเข้า

686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3987



« ตอบ #216 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2013, 06:49:39 AM »

+ขอบคุณครับคุณอรชุนสำหรับความรู้เรื่องโลหะวิทยา

ซึ่งความคิดแบบเมื่อเราจะลงทุนทำอะไร เราไม่จำเป็นต้องลงทุนตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำหรอกครับ
เหมือนคำกล่าวที่ว่า จะกินนมใยต้องเลี้ยงฟาร์มโคนม
หรือจะแกงกะทิก็ไม่ต้องถึงกะปลูกสวนมะพร้าวเอง สอยเอง คั้งกะทิเองหรอก
เพราะบางทีมันไม่คุ้ม
แต่ไม่ได้หมายถึงว่าอย่าไปทำมันเลยนะครับ คือถ้าคุ้มก็ทำ ถ้าไม่คุ้มในขั้นตอนไหน เราก็ซื้อเขามาจากขั้นตอนนั้นแล้วเอามาทำของเราต่อไป

เรือรบ ขนาด เล็ก และ ขนาด กลาง ไทย ต่อเองได้ครับ เพราะ สั่งโรงงานเหล็กจาก ต่างประเทศ ให้ ส่งเหล็ก คุณภาพ ที่ต้องการ ให้ได้ แล้ว นำมาตัด เชื่อมต่อ ให้มีรูปร่างอย่างที่ ต้องการได้ แต่ เรือรบ ขนาดใหญ่ ขนาด เรือ ฟรีเกต หรือ คอนเวตต์ ไทย ยังต้องสั่งซื้อ จากต่างประเทศ ขนาด ร.ล. กระบี่ ที่เป็นเรือตรวจการ ไกลฝั่ง ที่เราต่อเอง ยังใช้เวลา กว่า 3 ปี ในการ สั่งชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้ามาประกอบ หาก ต่อเรือใหญ่กว่านี้ ไม่ต้องรอถึง 10 ปีหรอกหรือครับ กว่าจะต่อเสร็จ



ร.ล กระบี่



เรือ ฟรีเกต



เรือ คอนเวตต์
บันทึกการเข้า
Udomkd
รักษ์ธรรมชาติ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3701
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 41046



« ตอบ #217 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2013, 01:08:53 PM »

หากันแต่เรือดำน้ำครับ พี่ๆทหารเรือ อาวุธไม่ต้อง เราผลิตเองได้ หนาวละ ฮุนซวย


ภาพจากลุงกู๋http://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&source=images&cd=&cad=rja&docid=wEkrA604B-ZAlM&tbnid=hj6iTQGEBaMhVM:&ved=0CAQQjB0&url=http%3A%2F%2Fwww.dailynews.co.th%2Fthailand%2F117873&ei=U_eiUc_zDYHRrQfHxoDgAg&bvm=bv.47008514,d.bmk&psig=AFQjCNEG-kwiJ_dY3RH0gNNIgqZaLehoXQ&ust=1369721028103193
บันทึกการเข้า

รักมิตร รักเพื่อนรักผอง ดั่งขวานทอง ต้องมีด้ามขวาน
   รักมิตรรักเพื่อนรักผอง ดั่งขวานทอง ต้องมีคมขวาน
   รักมิตร รักเพื่อน
D.Thanakorn +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 951
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2122



« ตอบ #218 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2013, 07:27:47 PM »

 ไหว้ ครับผม.. Cheesy Grin
บันทึกการเข้า

จงมีน้ำใจต่อกัน
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #219 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2013, 08:26:12 PM »



เรือรบ ขนาด เล็ก และ ขนาด กลาง ไทย ต่อเองได้ครับ เพราะ สั่งโรงงานเหล็กจาก ต่างประเทศ ให้ ส่งเหล็ก คุณภาพ ที่ต้องการ ให้ได้ แล้ว นำมาตัด เชื่อมต่อ ให้มีรูปร่างอย่างที่ ต้องการได้ แต่ เรือรบ ขนาดใหญ่ ขนาด เรือ ฟรีเกต หรือ คอนเวตต์ ไทย ยังต้องสั่งซื้อ จากต่างประเทศ ขนาด ร.ล. กระบี่ ที่เป็นเรือตรวจการ ไกลฝั่ง ที่เราต่อเอง ยังใช้เวลา กว่า 3 ปี ในการ สั่งชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้ามาประกอบ หาก ต่อเรือใหญ่กว่านี้ ไม่ต้องรอถึง 10 ปีหรอกหรือครับ กว่าจะต่อเสร็จ



ผมกลับมองว่ารล.กระบี่เป็นพัฒนาการก้าวที่ยาวมากของทร.ไทยครับ ลำแรกใช้เวลา3ปีเพราะยังต้องลองผิดลองถูก ยังขาดประสบการณ์ทั้งทางทร.และอู่

รล.กระบี่ถึงจะใช้โครงสร้างเบาของเรือพานิชย์ไม่สามารถติดเกราะเต็มเหนี่ยวได้แต่สมรรถนะของเรือก็เป็นฟริเกตขนาดย่อมๆไปแล้ว ตัวเรือออกแบบมาให้ติดตั้งจรวดปล่อยได้

ลำต่อๆไปในกองเรือน่าจะต่อได้เร็วขึ้นมากครับ ต่อให้อัพเกรดเครื่องยนต์ให้แรงขึ้น ติดตั้งจรวดมาเลยฯลฯตามที่เขาคาดกันไว้ ความยาวตัวเรือก็คาดกันว่าจะเพิ่มอีกแน่ๆ....ต่อให้เพิ่มกันจนครบก็น่าจะต่อได้เร็วขึ้นอีกเกินสิบเดือน คือเต็มที่ก็ไม่น่าคลาด2ปีต่อลำ และจะดีขึ้นเรื่อยๆ
บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3987



« ตอบ #220 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2013, 09:55:49 PM »

ผมกลับมองว่ารล.กระบี่เป็นพัฒนาการก้าวที่ยาวมากของทร.ไทยครับ ลำแรกใช้เวลา3ปีเพราะยังต้องลองผิดลองถูก ยังขาดประสบการณ์ทั้งทางทร.และอู่

รล.กระบี่ถึงจะใช้โครงสร้างเบาของเรือพานิชย์ไม่สามารถติดเกราะเต็มเหนี่ยวได้แต่สมรรถนะของเรือก็เป็นฟริเกตขนาดย่อมๆไปแล้ว ตัวเรือออกแบบมาให้ติดตั้งจรวดปล่อยได้

ลำต่อๆไปในกองเรือน่าจะต่อได้เร็วขึ้นมากครับ ต่อให้อัพเกรดเครื่องยนต์ให้แรงขึ้น ติดตั้งจรวดมาเลยฯลฯตามที่เขาคาดกันไว้ ความยาวตัวเรือก็คาดกันว่าจะเพิ่มอีกแน่ๆ....ต่อให้เพิ่มกันจนครบก็น่าจะต่อได้เร็วขึ้นอีกเกินสิบเดือน คือเต็มที่ก็ไม่น่าคลาด2ปีต่อลำ และจะดีขึ้นเรื่อยๆ

ที่จริง อู่ต่อเรือ รบ มักต่อเรือ ครั้งละ หลาย ๆ ลำ ครับ ไม่ได้ต่อครั้งละ 1 ลำ คือ อู่ต่อเรือ แห้ง จะ ต่อเรือ พอ เริ่มลำที่ 1 ถึงจุดหนึ่ง ก็จะเริ่มลำที่ 2, 3 ..... ไปเรื่อย ๆ จนเต็มกำลังของ อู่แห้ง นั้น ๆ อาจถึง 8 หรือ 10 ลำ การสั่้งชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้ามายังอู่ ก็จะสั่งตามระยะเวลาที่เหมาะสม ตามตารางเวลาโดยใช้ CPM (Critical path method) เพื่อให้เวลาในการประกอบเรือ สั้นที่สุด และ มีระยะเวลา ว่างงาน น้อยที่สุด การจัดส่ง ชิ้นส่วน ก็จะจัดส่งตามตารางเวลางาน ที่กำหนดใว้ เพื่อลดต้นทุน

การผลิตเรือเพียง 1 ลำ ถ้าเป็นเรือต้นแบบ สร้างเพื่อหาข้อบกพร่อง ก่อนลงมือผลิตจริง มีความคุ้มค่า ในการผลิต เพราะ หากผลิตเต็มกำลัง หากเกิดผิดพลาดในการออกแบบ แล้ว ไม่สามารถกลับไปแก้แบบได้ ต้อง ทดลองจนแน่ใจว่า ไม่มีข้อบกพร่องในการออกแบบแล้ว ถึงสามารถผลิตเต็มกำลังได้

แต่หากผลิตเพื่อเข้าประจำการ เพียง รุ่นละ 1 ลำ เพื่อ พัฒนา เทคโนโลยี่ การออกแบบ และ ต่อเรือ ก็ยังถือว่า คุ้มค่า แต่ถ้าบอกว่า ผลิตเพียง 1 ลำ เพื่อ ประหยัดงบประมาณ และ เวลา หล่ะ ผม ยังเห็นว่า ไม่คุ้มค่า ครับ ซื้อเรือจาก ต่างประเทศ ถูกกว่า เร็วกว่า ด้วย

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 27, 2013, 10:01:06 PM โดย 686 » บันทึกการเข้า
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #221 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2013, 09:58:46 PM »

ลำที่กำลังจะขึ้นระวางประจำการ มีค่าใช้จ่ายสรุปแค่เกือบครึ่งของOPVของที่มาเลเซียสั่งซื้อ ในขนาด/สเปคใกล้เคียงกันครับ  หลงรัก
บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7670
ออฟไลน์

กระทู้: 10057



« ตอบ #222 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2013, 10:04:10 AM »

ผมกลับมองว่ารล.กระบี่เป็นพัฒนาการก้าวที่ยาวมากของทร.ไทยครับ ลำแรกใช้เวลา3ปีเพราะยังต้องลองผิดลองถูก ยังขาดประสบการณ์ทั้งทางทร.และอู่

รล.กระบี่ถึงจะใช้โครงสร้างเบาของเรือพานิชย์ไม่สามารถติดเกราะเต็มเหนี่ยวได้แต่สมรรถนะของเรือก็เป็นฟริเกตขนาดย่อมๆไปแล้ว ตัวเรือออกแบบมาให้ติดตั้งจรวดปล่อยได้

ลำต่อๆไปในกองเรือน่าจะต่อได้เร็วขึ้นมากครับ ต่อให้อัพเกรดเครื่องยนต์ให้แรงขึ้น ติดตั้งจรวดมาเลยฯลฯตามที่เขาคาดกันไว้ ความยาวตัวเรือก็คาดกันว่าจะเพิ่มอีกแน่ๆ....ต่อให้เพิ่มกันจนครบก็น่าจะต่อได้เร็วขึ้นอีกเกินสิบเดือน คือเต็มที่ก็ไม่น่าคลาด2ปีต่อลำ และจะดีขึ้นเรื่อยๆ

ที่จริง อู่ต่อเรือ รบ มักต่อเรือ ครั้งละ หลาย ๆ ลำ ครับ ไม่ได้ต่อครั้งละ 1 ลำ คือ อู่ต่อเรือ แห้ง จะ ต่อเรือ พอ เริ่มลำที่ 1 ถึงจุดหนึ่ง ก็จะเริ่มลำที่ 2, 3 ..... ไปเรื่อย ๆ จนเต็มกำลังของ อู่แห้ง นั้น ๆ อาจถึง 8 หรือ 10 ลำ การสั่้งชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้ามายังอู่ ก็จะสั่งตามระยะเวลาที่เหมาะสม ตามตารางเวลาโดยใช้ CPM (Critical path method) เพื่อให้เวลาในการประกอบเรือ สั้นที่สุด และ มีระยะเวลา ว่างงาน น้อยที่สุด การจัดส่ง ชิ้นส่วน ก็จะจัดส่งตามตารางเวลางาน ที่กำหนดใว้ เพื่อลดต้นทุน

การผลิตเรือเพียง 1 ลำ ถ้าเป็นเรือต้นแบบ สร้างเพื่อหาข้อบกพร่อง ก่อนลงมือผลิตจริง มีความคุ้มค่า ในการผลิต เพราะ หากผลิตเต็มกำลัง หากเกิดผิดพลาดในการออกแบบ แล้ว ไม่สามารถกลับไปแก้แบบได้ ต้อง ทดลองจนแน่ใจว่า ไม่มีข้อบกพร่องในการออกแบบแล้ว ถึงสามารถผลิตเต็มกำลังได้

แต่หากผลิตเพื่อเข้าประจำการ เพียง รุ่นละ 1 ลำ เพื่อ พัฒนา เทคโนโลยี่ การออกแบบ และ ต่อเรือ ก็ยังถือว่า คุ้มค่า แต่ถ้าบอกว่า ผลิตเพียง 1 ลำ เพื่อ ประหยัดงบประมาณ และ เวลา หล่ะ ผม ยังเห็นว่า ไม่คุ้มค่า ครับ ซื้อเรือจาก ต่างประเทศ ถูกกว่า เร็วกว่า ด้วย



ตอนนี้ถ้าดูในด้าน CP capacity planning เรามีอู่แห้งใหญ่ๆอู่เดียวพวกเครนก็ยังใหญ่ไม่พออีก สำคัญที่สุด คิวเรือเข้าซ่อมทำยาวลองแว๊ปไปดูซิ
บันทึกการเข้า
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #223 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2013, 10:37:45 AM »

อันนี้ก็เป็นความจริงที่น่าเศร้าครับ ฮือๆๆๆๆ  หัวเราะร่าน้ำตาริน
บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
D.Thanakorn +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 951
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2122



« ตอบ #224 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2013, 12:56:47 PM »


ตอนนี้ถ้าดูในด้าน CP capacity planning เรามีอู่แห้งใหญ่ๆอู่เดียวพวกเครนก็ยังใหญ่ไม่พออีก สำคัญที่สุด คิวเรือเข้าซ่อมทำยาวลองแว๊ปไปดูซิ

 เศร้า เศร้า เศร้า ไหว้
บันทึกการเข้า

จงมีน้ำใจต่อกัน
หน้า: 1 ... 12 13 14 [15] 16 17 18 ... 166
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.527 วินาที กับ 22 คำสั่ง