๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
เมษายน 29, 2024, 12:28:13 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 8 9 10 [11] 12 13 14 ... 30
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย  (อ่าน 235289 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3987



« ตอบ #150 เมื่อ: กันยายน 25, 2005, 06:03:17 PM »

ระหว่าง B-29 Superfortress กับ Tu-4 BULL เป็นการลอกการออกแบบจากต้นแบบแล้ว ต้องคู่กัดคู่นี้ครับ สะใจกว่า เพราะ เป็นการออกแบบที่เหมือนกันมาก (แต่ขนาดต่างกัน)

ระหว่าง B-1B Lancer กับ Tu-160 BLACKJACK




[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3987



« ตอบ #151 เมื่อ: กันยายน 25, 2005, 06:17:17 PM »

อีกชุดครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3987



« ตอบ #152 เมื่อ: กันยายน 25, 2005, 06:23:44 PM »

อีกชุดครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3987



« ตอบ #153 เมื่อ: กันยายน 25, 2005, 06:53:19 PM »

ทั้ง B-1 และ Tu-160 ต่างก็เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ เพราะสามารถบินข้ามทวีปโดยไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงระหว่างทาง

Tu-160 ใหญ่กว่า B-1B ประมาณ 25% แต่เครื่องยนต์ ไม่มีประสิทธิ์ภาพเท่ากับ B-1B  (เพราะเครื่องยนต์ B-1B ให้แรงขับน้อยกว่า เกือบครึ่ง)

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3987



« ตอบ #154 เมื่อ: กันยายน 25, 2005, 07:11:54 PM »

ตัวนี้เป็น B-1A เพียงแค่ 2 ลำในโลก (ตกไป 2 ลำ) ที่ห้องนักบินจะดีดออกทั้งห้อง

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3987



« ตอบ #155 เมื่อ: กันยายน 25, 2005, 07:48:02 PM »

Sukhoi T4/S100 กับ B-70 Valkyrie

เป็นอีกคู่ครับ ที่ลอกกันมา แต่คราวนี้ อเมริกาใหญ่กว่าครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3987



« ตอบ #156 เมื่อ: กันยายน 25, 2005, 07:55:30 PM »

B-70 Valkyrie เริ่มพัฒนาในปี 1955 เพื่อเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดข้ามทวีป ความเร็ว 3 เท่าเสียง ส่วนปลายปีกของ B-70 Valkyrie จะหักลงเพื่อการทรงตัวในความเร็วสูง

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3987



« ตอบ #157 เมื่อ: กันยายน 25, 2005, 08:03:26 PM »

Sukhoi T4/S100 ได้พัฒนามาเป็น TU-144 เครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียง ของสหภาพโซเวียต (ก่อนล่มสลาย) ส่วน B-70 Valkyrie ไม่ได้มีการพัฒนาต่อ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3987



« ตอบ #158 เมื่อ: กันยายน 25, 2005, 08:32:18 PM »

Nasa ได้ไปเช่า Tu 144 เพื่อเป็นเครื่องบินทดลองความเร็วเหนือเสียง A Supersonic Flying Laboratory

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
ชายjirata
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 32
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 570



« ตอบ #159 เมื่อ: กันยายน 25, 2005, 09:51:07 PM »

น่าจะเอาอย่างยิวบ้างน่ะ Grin เป็นคนที่หัวดี ช่างคิด ช่างลอก ช่างปรับปรุง Grin เค้าทำทุกวิถีทางที่จะทำให้ประเทศเขาอยู่รอดปลอดภัย
ปัจจุบันเครื่องบินและ ฮ.ของเราก็อาศัยอิสราเอลนี่แหละปรับปรุง ทั้ง เบลล์ 212 และ เอฟ-5 (กองบิน 21) ผมกำลังคอยดูเห็นว่าจะใช้อาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง+เรดาร์+ระบบการยิงติดหมวกนักบิน ฯลฯ ที่สำคัญโครงการปรับปรุง เอฟ-16 เอ
ก็มีแววว่าจะให้อิสราเอลนี่แหละปรับปรุง (ปรับปรุงเสร็จแล้วน่าจะมีประสิทธิภาพประมาณ 70-80% ของบล็อก 80)
การปรับปรุงโครงการต่าง ๆ นี้ เพื่อรอระยะเวลาที่จะนำเครื่อง JSF เข้าประจำการคงอีกประมาณ สิบกว่าปี Grin

เรื่อง JSF นี่ประเทศออสเตรเลียก็มาเชิญไทยเราเข้าร่วมพัฒนานะครับ Grin ถือว่าเขาเห็นความสำคัญของเราและให้เกียรติเรามาก ในอนาคตเราจะได้พัฒนาวิศวกรรมการบินของเราเองบ้าง Grin ไม่ใช่รอให้เขาพัฒนาเสร็จแล้วไปรอเข้าแถวซื้อลำดับท้าย ๆ เหมือนโครงการเอฟ-16 Grin

จบข่าวสั้นเหมือนกัน Grin
ช่วยให้ความกระจ่างเรื่องโครงการ JSF หน่อยครบไทยเราได้มีส่วนร่วมแบบไหน แล้วเจ้า เอฟ- 16 ซี/ดี/เอส นี่มันเป็นบล๊อคไหนครับใช่รุ่นที่มีปีกใหญ่ขึ้นรึปล่าว
บันทึกการเข้า
น้าเสก คนเดิม
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 712
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 14502


รับแขก...แจกเหล้า...เฝ้าสำนักงาน


« ตอบ #160 เมื่อ: กันยายน 26, 2005, 09:13:59 AM »

ครับ คงต้องให้คุณเอ็ม686 มาช่วยตอบน่ะครับ เนื่องจากท่านคงจะมีรูปให้พวกเราได้ชมด้วยเพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น  Grin
เบื้องต้นน่ะครับ  Grin
 เอฟ-16 จะมีเรื่องบล๊อคเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เครื่องเอฟ-16 เอ ของเราก็เป็นบล็อค 15 แต่ล่ะบล็อคออกมาก็จะมีการปรับปรุงส่วนนั้นส่วนนี่เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและเพื่อเหมาะสมกับแต่ล่ะภารกิจ เช่น ภารกิจขับไล่,สกัดกั้น,โจมตี(ระยะไกล)หรือว่าเป็นเครื่องบินภารกิจเอนกประสงค์ เป็นการปรับปรุงระบบเรดาร์ อาวุธ ระบบเชื้อเพลิง ขยายลำตัว ปีก เป็นต้น   ส่วนเรื่องรุ่นนั้นพอจะแบ่งคร่าว ๆ ได้ดังนี้
รุ่น เอ หมายถึง เครื่องบินแบบที่นั่งเดี่ยว (ในรุ่นก็จะแบ่งเป็นย่อย ๆ อีก เช่น รุ่น เอดีเอฟของไทย)
รุ่น บี หมายถึง เครื่องบินแบบสองที่นั่ง ใช้สำหรับฝึกนักบินขับไล่เพื่อไปบินกับรุ่นที่นั่งเดี่ยว แต่ก็ใช้งานจริงได้ด้วย
รุ่น ซี หมายถึง รุ่นที่นั่งเดี่ยวที่ปรับปรุงให้ทันสมัยสุด ๆ (ก็จะมีเรื่องบล็อคเข้ามาจำแนกย่อย ๆ อีกมาก)
รุ่น ดี ก็คือรุ่น ซี แต่เป็นเครื่องสองที่นั่งสำหรับฝึกนักบินที่จะไปขับเครื่องรุ่นซี
แต่ในรุ่นที่นั่งเดียวกับสองที่นั่งก็จะมีความแตกต่างกันในเรื่องอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์บ้างน่ะครับ คือรุ่นเดี่ยวจะครบทุกเรื่อง ส่วนรุ่นใช้ฝึกอาจจะตัดบางสิ่งบางอย่างออกไปบ้าง

ส่วนเรื่องเครื่อง JSF ก็เป็นความพยายามที่จะนำเครื่องบินในยุคที่ 5 เข้าประจำการ เนื่องจากปัจจุบันเครื่องบินส่วนมากตัวเครื่องเป็นเครื่องในยุคที่ 4 แต่ติดระบบอิเล็คทรอนิกศ์และเรดาร์+อาวุธยุคที่ 5 เช่นเครื่องเอฟ-16 บล็อคล่าสุด เป็นต้น  แต่เครื่อง JSF ยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนายังไม่สามารถเข้าประจำการได้ พันธมิตรบางประเทศจึงนำไปพัฒนาเอง เช่น ออสเตรเลียในอดีตก็นำเครื่อง เอฟ-18 ไปพัฒนาเอง แต่ก็จำกัดเฉพาะรุ่น (น่าจะมีเรื่องการซื้อลิขสิทธิ์เข้ามาเกี่ยวข้อง)
มาคราวนี้ออสเตรเลียจะนำเครื่อง JSF เข้ามาประจำการ(เอฟ-18 ล้าสมัยแล้ว) แต่อยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา ลำพังประเทศเขาเองก็ไม่ต้องง้อประเทศอื่นก็ได้ แต่ผลพวงจากการที่เราเข้าสู่ระบบสากลมากขึ้น เช่น การส่งทหารฯ ,เปิดระบบการค้าเสรี เป็นต้น เขาก็เลยมาชวนเราเข้าร่วมในโครงการพัฒนาดังกล่าว (ที่ผมกล่าวว่าเขาให้เกียรติเราและเห็นความสำคัญของเรานั่นแหละ) พอพัฒนาเสร็จก็อีกราว ๆ สิบกว่าปี ก็จะนำเข้าประจำการแทนเครื่องรุ่นเก่าน่ะครับ

 Grin นี่คือเหตุผลสำคัญว่าทำไมเราจึงจำเป็นต้องปรับปรุงเครื่องเก่าของเรา ก็เพื่อจะยืดอายุการใช้งานออกไปให้ถึงเวลาที่จะนำเครื่อง JSF เข้าประจำการนั่นแหละครับ Grin เครื่องเก่าสมัยสงครามเวียดนามบางส่วนยังต้องนำปรับปรุงอยู่เลย เพื่อจะรักษาจำนวนฝูงบินไว้นั่นเอง ขนาดนั้นปัจจุบันยังขาดอยู่เลย  Grin

เป็นเรื่องที่รับรู้มาส่วนตัวน่ะครับอาจจะไม่ถูกบ้างต้องขออภัย  Grin รอท่านอื่นมาตอบบ้างน่ะครับ  Grin
บันทึกการเข้า

อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265



« ตอบ #161 เมื่อ: กันยายน 26, 2005, 01:20:50 PM »

เมื่อยิวขโมยแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจ
...หลังสงครามคลองสุเอช  ประเทศอาหรับรอบๆ อิสราเอลได้ซื้ออาวุธที่ทันสมัยจากเชคโกสโลวาเกีย  และรัสเซีย  ซึ่งรวมถึงเครื่องบินมิก  
ส่วนอิสราเอลได้ซื้อเครื่องบินมิราจจากฝรั่งเศส  และได้ทำการดัดแปลงปรับปรุงเครื่องบินมิราจให้เหมาะกับภูมิอากาศของตะวันออกกลาง
รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอาวุธที่ทันสมัยมีกำลังในการทำลายสูง  จึงทำให้มิราจมีสมรรถนะและอำนาจการทำลายสูงกว่ามิกของรัสเซียมาก


...ในทันทีที่สงคราม 6 วันสิ้นสุดลง  ประธานาธิบดีเดอ โกลล์ ได้สั่งให้งดขายอาวุธต่างๆรวมทั้งเครื่องบินมิราจ 3-s จำนวน 15 เครื่องให้อิสราเอล
ซึ่งอิสราเอลได้จ่ายเงินให้ไปแล้ว โดยความจริงแล้วกองทัพอากาศอิสราเอลได้ติดแน่นอยู่กับระบบต่างๆ ของเครื่องบินมิราจ
แม้ว่าอเมริกาได้ยื่นเสนอจะขายอาวุธให้ โดยจะจัดส่งเครื่องบินแฟนธอมมาให้ทันที แต่มันก็ไม่ได้แก้ปัญหาใดๆเลย
เพราะอิสราเอลได้พัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ ไว้สำหรับเครื่องบินมิราจแล้ว อิสราเอลได้ลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง
ที่มุ่งจะใช้กับระบบของมิราจไปเป็นจำนวนมหาศาล และไม่ได้พัฒนาระบบอื่นเลย


...นี่เป็นปัญหาระยะสั้นที่ทำให้รัฐบาลและกองทัพอิสราเอลต้องคิดหาทางออกอย่างหนัก  และปัญหาระยะยาวที่จะตามมาอีกเล่า  
นั่นคือการซ่อมบำรุงเครื่องบินมิราจที่มีอยู่แล้วจะทำอย่างไร ความสามารถในการป้องกันประเทศของอิสราเอล
ขึ้นอยู่กับอาวุธที่ได้รับจากประเทศเดียวเท่านั้น ถ้าประเทศนั้นเกิดเปลี่ยนใจไม่ส่งอาวุธมาให้โดยไปเข้ากับศัตรูในขณะวิกฤต
อิสราเอลจะทำอย่างไร เหมือนยืมจมูกคนอื่นหายใจฉะนั้น


...คณะรัฐมนตรีได้มีมติด่วนให้จัดหางบประมาณให้แก่อุตสาหกรรมเครื่องบินของอิสราเอลเพื่อสร้างเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด
ที่สามารถต่อกรกับเครื่องบินชั้นเยี่ยมของชาติอื่นๆ มีการตั้งคระกรรมการขึ้นมาพิจารณาปัญหาต่างๆ ที่เผชิญหน้าอยู่
...คณะกรรมการได้รายงานว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี ในการสร้างเครื่องบินสัญชาติอิสราเอลให้ขึ้นยินได้ทั้งนี้
เพราะอิสราเอลจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ ก ไก่ ขึ้นไป  นอกจากนั้นยังไม่อาจประกันได้ว่าเครื่องบินที่ผลิตออกมานั้น
จะสามารถเทียบชั้นกับเครื่องบินของรัสเซีย อังกฤษ อเมริกา หรือฝรั่งเศสได้


...วิธีแก้ปัญหานี้ให้ได้รวดเร็วคือสร้างเครื่องบินที่ลอกแบบจากมิราจซึ่งวิศวกรและเทคนิเชียนของอิสราเอลมีความชำนาญและคุ้นเคยอยู่แล้ว
แต่วิธีนี้ก็ยังมีปัญหาและอุปสรรคอยู่ดี เนื่องจากเครื่องบินขับไล่สมัยใหม่แต่ละเครื่องมีชิ้นส่วนประมาณ 1 ล้านกว่าชิ้น
และทุกชิ้นส่วนได้รับการทดสอบมาแล้วเป็นอย่างดี ถ้าจะลอกแบบจากเครื่องบินจริงย่อมไม่ได้คุณภาพเท่าของแท้
นอกเสียจากจะมีพิมพ์เขียวของวิศวกรผู้สร้างมิราจเอง ตัวอย่างที่อิสราเอลรู้ดีก็คือ สวิตเซอร์แลนด์ได้ผลิตเครื่องบินมิราจภายใต้สิทธิบัตร
ที่ได้รับอนุญาตจากฝรั่งเศส ซึ่งสามารถใช้แบบพิมพ์เขียนและเทคนิคเชียนของฝรั่งเศสอีกด้วย แม้กระนั้นยังต้องใช้เวลาถึง 6 ปี
เครื่องบินมิราจที่สร้างในสวิตเซอร์แลนด์จึงขึ้นบินได้


...เดือนธันวาคม 1967 ฝรั่งเศสได้จัดให้มีการประชุมผู้ถือสิทธิบัตรในการผลิตเครื่องบินมิราขทั้งลำหรือบางส่วนขึ้นในปารีส
โดยปกติแล้วเครื่องบินหรือเครื่องยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับเครื่องบินจะไม่ค่อยเป็นไปตามรายการประกอบแบบ (Specifications)
ที่เขียนขึ้นโดยยืนยันสมรรถนะหรือเพื่อประกันความปลอดภัยเครื่องบินมิราจมิได้มีข้อยกเว้น บริษัท ดาสโซลท์
ผู้ผลิตลำตัวเครื่องบินและบริษัทเซนิกามา ผู้ผลิตเครื่องยนต์ ATA-9 ทั้งสองบริษัทเป็นเจ้าภาพร่วมกัน
จัดให้มีการประชุมสำหรับผู้ใช้งานเครื่องบินมิราจทั้งหลายในครั้งนี้


ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจากรัฐบาลและอุตสาหกรรมสร้างเครื่องบินของชาติต่างๆ ที่เป็นลูกค้า
วัตถุประสงค์ก็เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ โดยออสเตรเลียและสวิตเซอร์แลนด์เป็นผู้ผลิตมิราจทั้งตัวเครื่องบินและเครื่องยนต์
ส่วนอิสราเอลและเบลเยี่ยมนั้น นำชิ้นส่วนไปประกอบและผลิตชิ้นส่วนบางชิ้นขึ้นเอง ทั้งหมดภายใต้สิทธิบัตรที่ได้รับอนุญาต
นอกจากนั้นก็ยังมีแอฟริกาใต้ เลบานอน และเปรู ซึ่งซื้อเครื่องบินมิราจที่ประกอบสำเร็จรูปไปใช้
ในการประชุมครั้งนี้อิสราเอลได้ส่งพลจัตวาโดฟ ไซเยี่ย (Dov Syion) แห่งกองทัพอากาศอิสราเอลเข้าร่วมประชุม  
ไซเยี่ยนไม่ได้ออกความเห็นอะไรมากนัก เพราะเขานั่งติดกับผู้แทนจากเลบานอนซึ่งถือเป็นศัตรู
และอิสราเอลยังไม่พอใจฝรั่งเศสที่ไม่ยอมส่งอาวุธให้อิสราเอล ดังนั้น ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการใช้เครื่องบินมิราจในสงคราม 6 วัน
ที่เตรียมมาจึงไม่ได้เสนอในที่ประชุมแต่อย่างใด....(ยังไม่จบนะ...ติดตามต่อในครั้งหน้า)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2012, 04:47:40 PM โดย อรชุน-รักในหลวง » บันทึกการเข้า
สีอำพัน-รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 258
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4433



« ตอบ #162 เมื่อ: กันยายน 26, 2005, 01:38:42 PM »

ดึงครับ
บันทึกการเข้า

อันวันใดไม่สำคัญเท่าวันนี้ เป็นวันที่สำคัญกว่าวันไหน
อันวันนี้สำคัญกว่าวันใด  วันไหนไหนไม่สำคัญเท่าวันนี้
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265



« ตอบ #163 เมื่อ: กันยายน 26, 2005, 01:55:26 PM »

เมื่อยิวขโมยแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจ (ตอน 2)
...ในการประชุมนั้นผู้ผลิตเครื่อยนต์ ATA-9 บริษัท เซนิกามา ได้รับความกดดันจากลูกค้าที่ใช้มิราขเป็นอันมากเพราะต่างผิดหวังกับเครื่องยนต์ ATA-9
ที่ติดตั้งอยู่ในมิราจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัลเฟรด ฟรอเอนค์เนคท์ (Alfred Frauenknecht) ผู้แทนจากบริษัทโซลเซอร์ บราเดอร์ส์ (Solzer Brothers)
แห่งสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งได้สิทธิบัตรในการสร้างมิราจ ได้วิจารณ์เครื่องยนต์ ATA-9 อย่างหนัก
สำหรับโดฟ ไซเยี่ยนแล้วทุกสิ่งที่ฟรอเอนค์เนคท์พูดนั้นได้เกิดขึ้นกับเครื่องบินมิราจของอิสราเอลเช่นเดียวกัน
หลังการประชุมไซเยี่ยนได้หาโอกาสพบและรับประทานอาหารกับฟรอเอนค์เนคท์
และได้บอกกับผู้แทนบริษัทสวิสว่าเขาจงใจที่จะไม่เสนอข้อมูลในการใช้งานมิราจของอิสราเอลเข้าที่ประชุม

...โดฟ ไซเยียน กลับอิสราเอลพร้อมกับข่าวดี ฟรอเอนค์เนคท์ได้เปิดเผยกับเขาว่ารัฐบาลสวิสได้สังชิ้นส่วนมิราจ III  จำนวน 100 เครื่อง
แต่เนื่องจากราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลสวิสขึงตัดสินใจสร้างเพียง53 เครื่อง ชิ้นส่วนที่เหลือนั้นจึงพอที่จะสร้างอีก 47 เครื่องได้อย่างสบาย
แถมยังมีแบบพิมพ์เขียวและรายการอย่างละเอียดที่อยุ่ในสวิสเซอร์แลนด์อีกด้วย ถ้าอิสราเอลได้เป็นเจ้าของชิ้นส่วนและแบบพิมพ์เขียวเหล่านั้น
ก็สามารถสร้างเครื่องบินมิราจได้อีกประมาณ 50 เครื่อง เพื่อทดแทนจำนวนที่สั่งจากฝรั่งเศส แต่ถูกรัฐบาลฝรั่งเศสกักเอาไว้

...มิตรใหม่ทั้งสองติดต่อกันทางจดหมายเรื่อยมาก แม้ว่าฟลอเอนค์เนคท์ จะไม่ใช่คนยิว แต่ก็มีความเห็นอกเห็นใจยิวอยู่เป็นอันมาก
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยิวได้หนีตายจากฮิตเลอร์เข้ามาพึงสวิตเซอร์แลนด์เหมือนหนีร้อนมาพึ่งเย็น
แต่สวิตเซอร์แลนด์กลับขับไล่ไสส่งชาวยิวเหล่านั้นให้ไปพบกับความตาย ซึ่งฟรอเอนค์เนทค์ถือว่าเป็นความผิดของสวิตเซอร์แลนด์ที่ไม่อาจล้างบาปได้
ฟรอเอนค์เนทค์เป็นวิศวกรฝ่ายพัฒนา อายุเพียง 40 ปี เขาได้ไต่เต้าขึ้นมาอยู่ในระดับสูงของบริษัทโซลเซอร์ บราเดอส์แล้ว

...อิสราเอลได้พบช่องโหว่ของการรักษาความปลอดภัยที่หนาแน่นของฝรั่งเศสเข้าแล้ว ต่อไปนี้ต้องหาทางทะลุทะลวงช่องโหว่นี้ให้กว้างขึ้น
สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือทำให้ฟรอเอนค์เนคท์จงรักภักดีให้ได้เสียก่อน โดย โดฟ ไซเยี่ยน และนายทหารอิสราเอลอื่นๆ
ได้ส่งข้อมูลในการปรับแต่งเครื่องยนต์ ATA-9 ให้ฟรอเอนค์เนทค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ฟรอเอนค์เนคท์มีความต้องการเป็นอย่างมากอยู่แล้ว
ในที่สุดการติดต่อกันทางจดหมายระหว่างฟรอเอนค์เนทค์ กับเพื่อนทหารอิสราเอลทำให้มิตรภาพแน่นแฟ้นขึ้น

...คณะกรรมการชุดหนึ่งได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อควบคุมและติดตามกรณีของอัลเฟรด ฟรอเอนค์เนคท์ โดยมี นายพลอาฮารอน ยาริฟ
หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับอิสราเอลเป็นประธาน ประกอบไปด้วยคนของกองทัพอากาศและอุตสาหกรสร้างเครื่องบินเป็นกรรมการ
ผู้ที่สมควรกล่าวถึงอีกสองคนคือ เมียร์ อมิท อดีตหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับ และ อัลชวิมเม (Al Schwimme)
อเมริกันยิวผู้ซึ่งได้วางรากฐานของอุตสาหกรรมเครื่องบินในอิสราเอลตั้งแต่ 1947 ร่วมกันรับผิดชอบในด้านปฏิบัติการ

...ตอนแรกคณะกรรมการตกลงว่าจะติดต่อกับรัฐบาลสวิสอย่างเปิดเผยผ่านทางฟรอเอนค์เนคท์ก่อน โดยอัลสวิมเม ได้เสนอกับรัฐบาลสวิสว่า
อิสราเอลจะขอซื้อส่วนประกอบของมิราจจำนวน 47 เครื่อง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนที่ทางอิสราเอลจะมอบความลับอันสำคัญ
ในการปรับแต่งเครื่องยนต์ ATA-9 ให้แก่รัฐบาลสวิสเป็นการตอบแทน
...รัฐบาลสวิสได้ติดต่อกับฝรั่งเศสและคำตอบจากฝรั่งเศสนั้นทำให้อิสราเอลผิดหวัง คือไม่ให้สวิสขายชิ้นส่วนให้กับอิสราเอล
แต่คณะกรรมการเดาว่าคำตอบน่าจะออกมาในด้านลบอยู่ก่อนแล้ว จึงได้เตรียมแผนสองเอาไว้

...ในปี 1958 ฟรอเอนค์เนทค์ ได้รับจดหมายขออนุญาตให้พันเอกซูฮาน นายทหารอิสราเอล เข้าชมโรงงานของบริษัทโซลเซอร์ บราเดอร์ส์
เพื่อนำไปดัดแปลงใช้กับโรงงานของอิสราเอล หลังจากได้รับอนุมัติจากผู้บริหารระดับสูงของบริษัทแล้ว
ฟรอเอนค์เนทค์ได้แจ้งให้ทางอิสราเอลทราบ หลังจากนั้นไม่นานสถานฑูตอิสราเอลในกรุงโรมก็ได้ติดต่อไปยังฟรอเอนค์เนทค์
แนะให้มีการพบกันก่อนเพื่อจัดเตรียมการมาเยือนของพันเอกซูซาน

...ที่ซูริค ฟรอเอนค์เนคท์ ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับชาวอิสราเอล 2 คน คือ พันเอก อเบล แห่งกองทัพอากาศอิสราเอล และนายบาเดอร์
ซึ่งเป็นตัวแทนของคณะกรรมการจัดซื้ออาวุธของกระทรวงกลาโหมอิสราเอล ซึ่งความจริงแล้วบุคคลทั้งสองก็คือ อัลชวิมเม
ที่แสดงตัวเป็นนายบาเดอร์ และพันเอกอเบลก็คือพันเอกเคน (Cain) ซึ่งเป็นสายลับที่ทำงานในยุโรปและมีฐานอยู่ที่สถานฑูตอิสราเอล ณ กรุงโรม

...บุคคลทั้งสองได้พูดตรงจุดทันที อิสราเอลจำเป็นต้องมีเครื่องบินขับไล่เพื่อป้องกันประเทศ จะมีทางใดบ้างหรือไม่ที่อิสราเอลจะติดต่อโดยตรง
กับบริษัทโซลเซอร์ บราเดอร์ส์ โดยไม่ต้องผ่านรัฐบาลสวิส? ฟรอเอนค์เนทค์แนะนำว่า เรื่องนี้อาจเป็นไปได้ ถ้าหากว่าอิสราเอลจะซื้อแบบพิมพ์เขียว
ในราคา 150 ล้านฟรังสวิส แล้วสั่งซื้อสิ่งอื่นๆ ผสมเข้าไป อาจเป็นเทอร์ไบน์หรืออะไรทำนองนั้นอีก 100 ล้านฟรังสวิส
บุคคลทั้งสองได้ขอร้องให้ฟรอเอนค์เนทค์ช่วยติดต่อบริษัทให้ด้วย

...บริษัทได้ยืนตามมติของรัฐบาล ที่จะไม่ขายชิ้นส่วนและแบบพิมพ์เขียวของเครื่องบินมิราจให้กับอิสราเอล
...อย่างไรก็ดี อัล ชวิมเม รู้ดีว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์แท้ๆ ก็เพื่อจะรู่ว่าวิศวกรสวิสผู้นี้เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
คำตอบก็คือแบบพิมพ์เขียวทุกแผ่นจะต้องผ่านสำนักงานของเขานั่นคือฟรอเอนค์เนทค์อยู่ในตำแหน่งที่จัดหาข่าวสารที่จำเป็นสำหรับอิสราเอล
ในการสร้างมิราจภายในระบะเวลาเพียง 5 ปีได้อย่างแน่นอน แทนที่จะต้องใช้เวลานานถึง 10 ปี

...ปัญหาที่บุคคลทั้งสองเผชิญอยู่ในขณะนั้นคือ แม้ว่าฟรอเอนค์เนคท์จะให้ความเป็นมิตรแก่พวกเขา
แต่คงไม่ง่ายเลยที่จะให้ฟรอเอนค์เนทค์ทรยศต่อประเทศ และบริษัทที่เขาเป็นลูกจ้างอยู่ จนกระทั่งมีการพบกันครั้งที่สาม
ภายใต้แสงสีแดงของบาร์แห่งหนึ่งในซูริค อัล ชวิมเม ได้พยายามเกลี้ยกล่อมให้ฟรอเอนค์เนทค์ช่วย เรื่องจึงได้ขมวดเกลียวสู่ความสำเร็จ

...เบื้องหลังความสำเร็จของ อัล ชวิมเม......(ติดตามต่อในตอน 3)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2012, 04:50:49 PM โดย อรชุน-รักในหลวง » บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265



« ตอบ #164 เมื่อ: กันยายน 26, 2005, 02:26:21 PM »

เมื่อยิวขโมยแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจ (ตอน 3)
...เบื้องหลังความสำเร็จของอัล ชวิมเม ในครั้งนี้มีบุคคลที่อยู่เบื้องหลังพวกเขาก็คือ เมียร์ อมิท และอาฮารอน ยาริฟ
ซึ่งได้จัดหานักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งช่วยวางแผนในการโน้มน้าววิศวกรสวิสให้ร่วมมือด้วย
ในที่สุดฟรอเอนค์เนทค์ก็ตกอยู่ในภาวะที่รู้สึกว่าภาระทั้งหมดนั้นเป็นของตน และสำคัญต่อตนในการที่จะช่วยให้กองทัพอากาศอิสราเอล
มีมิราจไว้ป้องกันประเทศแน่นอนเรื่องนี้มีเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ฟรอเอนค์เนทค์รู้ว่าเขาจะได้เงินก้อนใหญ่จากการทำสำเนาของแบบพิมพ์เขียว
และส่งให้อิสราเอล ซึ่งทุกอย่างดูไม่ยากเย็นอะไร และแบบพิมพ์เขียวนั้นอยู่ในความดูแลของเขาอยู่แล้ว เพื่อเป็นการประกันกับฟรอเอนค์เนทค์
ทางอิสราเอลจะจ่ายให้ล่วงหน้า 2 แสนคอลลาห์แก่เขา

...เท่านั้นเองวิศวกรสวิส ฟรอเอนค์เนทค์ ก็เสมือนปลางับเหยื่อเข้าแล้ว  
แบบพิมพ์เขียวสำหรับการผลิตชิ้นส่วนด้วนเครื่องจักรกลมีจำนวน 45,000 แผ่น และอีก 150,000 แผ่นสำหรับเครื่องบิน
มีน้ำหนักรวมกันประมาณ 2 ตัน ฟรอเอนค์เนทค์คิดว่าเขาต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งปีจึงจะทำทุกอย่างสำเร็จ
ดังนั้น เจาจึงรายงานผุ้บังคับบัญชาว่า แบบจำนวนมากนี้สมควรถ่ายเข้าไมโครฟิล์มไว้แล้วทำลายแบบพิมพ์เขียวเสีย
จะทำให้เก็บรักษาง่ายไม่เปลืองที่และปลอดภัยกว่า เจ้านายอนุมัติตามเสนอทันที เมื่อมีแบบถึงสองชุด-แบบพิมพ์เขียวและไมโครฟิลม์
ชุดพิมพ์เขียวก็จะถูกส่งไปอิสราเอล แต่ปัญหาก็คือจะส่งอย่างไร?

...โรงงานของบริษัทโซลเซอร์ บราเดอรส์ เป็นของเอกชนก็จริง แต่การผลิตเครื่องบินมิราจภายใต้สิทธิบัตรจากฝรั่งเศสถือว่าเป็นความลับสุดยอด
ทางการสวิสจึงได้ส่งทหารมารักษาความปลอดภัย ทุกๆ การเคลื่อนไหวมีเจ้าหน้าที่คอยติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดเสมอ
การนำพิมพ์เขียวมาถ่ายลงในไมโครฟิล์มก็เช่นเดียวกัน จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำก๊อปปี้พิเศษจากการถ่ายไมโครฟิล์มสำหรับส่งให้อิสราเอล

...ภายใต้กฎหมานของสวิตเซอร์แลนด์ แบบพิมพ์เขียวที่ได้สิทธิบัตราจะต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลา 50 ปีจึงจะนำออกมาขายได้  
ฟรอเอนค์เนทค์จึงได้ใช้หลายชายที่ชื่อว่า โจเซฟ ฟรอเอนค์เนทค์ ไปติดต่อสำนักงานทะเบียนสิทธิบัตรซึ่งเก็บรักษาพิมพ์เขียวเก่าเอาไว้  
และขอซื้อพิมพ์เขียวที่อายุเกิน 50 ปีเหล่านั้น

...ฟรอเอนค์เนทค์ได้จัดการให้ตนเองเป็นผู้รับผิดชอบในการถ่ายไมโครฟิล์ม เมื่อถ่ายเสร็จแล้วเขาจะนำพิมพ์เขียวใส่กล่องกระดาษ
ทุกการเคลื่อนไหวอยู่ในสายตาของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทั้งสิ้น ต่อจากนั้นกล่องกระดาษจะถูกขนไปขึ้นรถโฟล์คตู้
ซึ่งเขาซื้อในนามของหลานชายเพื่อใช้ในการขนกล่องกระดาษเอาไปเผาที่เตาเผาเศษขยะกลางของเมือง
และจะมีเจ้าหน้าที่จดบันทึกทุกครั้งที่กล่องกระดาษที่เผานั้นบรรจุไว้ด้วยพิมพ์เขียว ฟรอเอนค์เนทค์ได้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
เพื่อความปลอดภัยของแบบพิมพ์เขียวมิให้ตกอยู่ในมือของผู้อื่น เขาจะต้องทำหน้าที่ควบคุมการขนย้ายแบบพิมพ์เขียวเพื่อนำไปเผาด้วยตนเอง  
เขาได้เช่าโกดังไว้แห่งหนึ่งระหว่างทางจากบริษัทไปยังเตาเผาที่อยู่กลางเมือง กล่องกระดาษซึ่งบรรจะไว้ด้วยพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจ
ได้ถูกนำไปไว้ที่โกดังนั้น และเขาก็คว้ากล่องกระดาษที่บรรจุพิมพ์เขียวเก่าเกิน 50 ปี ซึ่งหลานชายได้ซื่อมาจากสำนักงานทะเบียนสิทธิบัตร
และนำไปขึ้นรถตู้เพื่อนำไปเผาต่อไป กล่องที่ใช้บรรจุพิมพ์เขียวที่เก่าเกิน 50 ปีนั้นเหมือนกับกล่องที่ใช้อยู่ในบริษัททุกประการ
เมื่อกล่องถูกตรวจก่อนที่จะโยนเข้าเตาเผาจึงไม่มีใครสงสังอะไรเลย

...ฟรอเอนค์เนทค์จะนำกล่องบรรจุแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจไปให้กับเจ้าหน้าที่อิสราเอลซึ่งนัดพบกันในที่ต่างๆ
เช่นที่โฮเต็ล ร้านอาหาร หรือที่จอดรถ ซึ่งไม่ซ้ำกัน เพื่อไม่ให้เป้นที่สังเกตของคนทั่วไป
...แต่ปัญหาก็งไม่หมดไป นันคือการนำแบบพิมพ์เขียวออกจากสวิตเซอร์แลนด์ ถ้าฟรอเอนค์เนทค์จะส่งทางเครื่องบิน
ครั้งแรกๆ คงไม่เป็นที่สงสัยของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสวิส แต่ถ้าจัดส่งโดยวิธีนี้นานๆ เข้าก็อาจเป็นที่สงสัย
และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสวิสนั้นเป็นหน่วยที่มีประสิทธิภาพสูงเสียด้วย

...ในที่สุด ยาริฟก็ตกลงใจว่าแทนที่จะส่งแบบพิมพ์เขียวออกทางฝรั่งเศส เขาได้สั่งให้ส่งแบบพิมพ์เขียวผ่านชายแดนสวิสออกทางเยอรมัน
สายลับอิสราเอลสี่คนถูกส่งไปยังสะพานข้ามแม่น้ำไรน์ เพื่อคอยดูว่าเมื่อไรการจราจรจะน้อยลง กิจกรรมของเจ้าหน้าที่ศุลกากรเป็นอย่างไร
เฉพาะอย่างยิ่งจะสามารถติดสินบนเจ้าหน้าที่ได้หรือไม่ เพื่อทำให้การส่งออกง่ายขึ้น

...ยาริฟได้รับรายชื่อของผู้ที่น่าจะถูกเลือกให้ทำหน้าที่ขนแบบพิมพ์เขียวผ่านชายแดนสวิสออกไปยังเยอรมันและคนหนึ่งดูเหมือนจะเหมาะกว่าคนอื่นๆ
เขาคือ ฮานส์ สเตรคเกอร์ ซึ่งเป็นคนเยอรมันและขณะนั้นเขาทำงานอยู่กับบริษัทขนส่งสวิสขื่อบริษัท รอทซิงเจอร์ (Rotzinger)
หน้าที่ของสเตรคเกอร์คือ นำสินค้าผ่านกระบวการศุลกากร อันว่าบริษัทรอทซิงเจอร์นั้น แม้จะเป็นบริษัทขนส่งเล็กๆ
แต่ก็ได้รับความเชื่อถือมานานแล้ว จึงเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2012, 04:53:35 PM โดย อรชุน-รักในหลวง » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 10 [11] 12 13 14 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.125 วินาที กับ 21 คำสั่ง