๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
เมษายน 29, 2024, 10:07:26 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 3 4 5 [6]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รมต.อุตสาหกรรม อย่ากินสะเดาน้ำปลาหวาน ปรุงอาหารอย่าใส่ พริก ข่า ตะไคร้ มันมีพิษ  (อ่าน 11177 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
bigbang
จงใช้สติก่อนใช้ปืน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1018
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6602


รูปจากเวปผู้จัดการครับ


« ตอบ #75 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2009, 07:47:32 AM »

อ่อนประชาสัมพันธ์ไม่อธิบายผลดีผลเสียเป็นขั้นตอน กับ ตีโพยตีพายไม่ฟังให้ชัดเจนก่อน
เป็นของคู่กันสำหรับคนไทยตลอดมา ครับ
บันทึกการเข้า

อเสวนา จะ พาลานัง
SDH2th
Hero Member
*****

คะแนน 37
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2203

การให้สบายใจกว่าการรับ


« ตอบ #76 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2009, 09:10:31 PM »

 Cool...บางที...ของที่มีส่วนดี...ก็เลยเสียไปเลยเพราะ...เอาอคติ...เข้ามาตัดสิน...

...เข้าทำนอง...ไอ้ฟัก...ถูกสังคมตัดสินว่า..เอาเมียพ่อมาทำเมีย...ไปแล้ว... ตกใจ

...สังคมแห่งการเรียนรู้...สังคมแห่งปัญญา...จึงเป็นสังคมในอุดมคติของมนุษยชาติ... ไหว้
บันทึกการเข้า

เข้าเถื่อนอย่าหมิ่นพร้า  มีไป
เข้าศึกอย่านอนใจ       เฉื่อยช้า
อาวุธอย่าวางไกล        ขุกค่ำ  คืนแฮ
นอนแต่ยามหนึ่งอ้า      อาจป้องภัยพาล
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4087
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20181


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #77 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2009, 10:19:13 AM »

คนมันชั่ว คิืดถึงผลประโยชน์ตน ยังมาหน้าด้าน ให้ความเห็นใน TV ประมาณมันสุจริตใจ.

การกระทำ คือเครืองชี้เจตนา.   ผลประโยชน์ในที่ลับตกได้แก่ใคร มันนั่นแหละ คืออีแอบตัวนั้น.  เยี่ยม

ยังมาบิดเบือน อ้างว่ากระทำตามกฎหมาย  แลบลิ้น
บันทึกการเข้า

bkt
Jr. Member
**

คะแนน 8
ออฟไลน์

กระทู้: 64


« ตอบ #78 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2009, 11:19:56 AM »

ด้วยความเคารพนะครับพีๆ แม่ง รมต.มันเอาส้น.................................คิดครับ
บันทึกการเข้า
sig_surath7171
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #79 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2009, 05:24:02 PM »

อ๊ากส์....ในอาหารมีพิษ ...เจ้าวางยาพิษข้า... Cry
 Grinฮ่าๆ ฮ่า ฮ่า.. Grin.เจ้าเสียรู้ข้าจนได้ เซี่ยงเส้าหลง... เจ้าโดนพิษ ลีปลี ข่า ตะไคร้ ละลายกระดูกของข้าแล้ว เจ้าจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกินครึ่งชั่วยาม ..เจ้า เด๊ดสะมอเร่ แน่ ฮ่า ฮ่า ฮ่า 555  Grin

มีเพียงราชาพิษปัจฉิมเท่านั้นที่มียาถอนพิษช่วยเจ้าได้ เขาคือ ร.ม.ต.อุจจาหกรรม ไทยแลนด์ เท่านั้น 55555 Grin
บันทึกการเข้า
^-^ภูพาน~รักพ่อหลวง^-^
มีภัย มีเรา biw199
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 224
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3412



« ตอบ #80 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2009, 06:36:12 PM »

ทำไปได้ คิก คิก
บันทึกการเข้า





พายุยิ่งพัดอื้อ....................ราวป่าหรือราบทั้งแดน
อิศานนับแสนแสน..............สิจะพ่ายผู้ใดเหนอ?
พลปืน
Newbie
*

คะแนน 0
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16



« ตอบ #81 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2009, 06:44:40 PM »

มีอย่างงี้ด้วยหรือนั่น ของพวกนี้กินมาแต่เล็กแต่น้อยไม่เห็นเป็นไรเลย
บันทึกการเข้า

click to comment" title="click to comment
โทน73 -รักในหลวง-
มือปืนกาวช้าง
Hero Member
*****

คะแนน 586
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8575


« ตอบ #82 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2009, 09:24:26 PM »

ส่วนตัวแล้วไม่เชื่อว่า ระดับผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายการเมือง จะด้อยประชาสัมพันธ์เช่นนี้   แต่เหมือนจงใจให้ข่าวที่อึมครึมมากกว่า  โดยมีนัยแฝง  ....  ถ้าไม่มีแรงต้านก็ถือโอกาสตีกินยาวๆไปเลย 
บันทึกการเข้า

....ตามล่า...อีตอแหล
MP 436
Hero Member
*****

คะแนน 186
ออฟไลน์

กระทู้: 1766



« ตอบ #83 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2009, 09:54:24 PM »

ทำไมมันเป็นอย่างงี้ไปได้  Huh
บันทึกการเข้า
STeelShoTS
Mossy Oak Duck Blind
Hero Member
*****

คะแนน 534
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6303


If you heard my shot. You were not the target.


« ตอบ #84 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2009, 05:33:38 PM »

  ไม่ทราบว่าเท็จจริงอย่างไร.... ฟังหูไว้หู
 


http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9520000017320


เบื้องหลังคำประกาศอัปยศ ประหารอนาคตสมุนไพร - ทำลายเกษตรวิถีธรรมชาติ
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 กุมภาพันธ์ 2552 15:00 น.
 
 
   
สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
 
 
       ****พลันที่ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมภายใต้พระราชบัญญัติวัตถุอันตรายปี 2535 ตีพิมพ์เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 โดยประกาศให้พืชสมุนไพรจำนวน 13 ชนิดกลายเป็นวัตถุอันตราย คนไทยทุกคนที่ชื่นชอบต้มยำกุ้ง หลงใหลรสชาติของยอดสะเดาน้ำปลาหวาน และชงใบชุมเห็ดเทศดื่มแทนน้ำชาเพื่อบรรเทาโรคเบาหวานและลดไขมันในเส้นเลือด ล้วนแล้วแต่ตั้งคำถามว่า กฎหมายที่มุ่งควบคุมการใช้เคมีเกษตรซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพของคนไทย และสะสมพิษภัยในสิ่งแวดล้อมจนถึงขั้นวิกฤตินั้น ได้ถูกนำมาใช้อย่างฉ้อฉลเพื่อประหัตประหารอนาคตของสมุนไพรไทยซึ่งมีคุณอนันต์อย่างเลือดเย็นได้อย่างไร ?
       
       ที่มาและเบื้องหลังของประกาศฉบับอัปยศนี้ ต้องไม่ใช่มาจากบรรดานักวิชาการที่ขลุกอยู่ในห้องแล็บซึ่งผู้บริหารบางคนโยนบาปไปให้อย่างแน่นอน เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่กว่านั้น
       
       1. เงามืดในกรมวิชาการเกษตร
       
       ผู้ที่สามารถทำเรื่องใหญ่และแยบยลขนาดนี้ได้มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้น คนแรกคือนักการเมืองใหญ่ที่วนเวียนยึดกุมอำนาจในกระทรวงเกษตรฯมาอย่างช้านานจนสามารถวางโครงข่ายคนของตัวเองยึดกุมหน่วยงานในกระทรวงนี้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ
       
       อีกคนคืออดีตข้าราชการใหญ่ที่ผันตัวเองมาเป็นนักการเมือง ทั้งสองคนนี้มีสายสัมพันธ์ล้ำลึกกับบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ที่ควบคุมการค้าเมล็ดพันธุ์และเคมีการเกษตรของโลก ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ผู้บริหารในกรมสำคัญของกระทรวงแห่งนี้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของนักการเมืองและอดีตข้าราชการที่แสวงหาประโยชน์ทำงานใกล้ชิดกับบรรษัทข้ามชาติและบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศ มาโดยตลอด
       
       ***นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตรคนปัจจุบัน ตระหนักดีว่า ตนเองก้าวข้ามหัวข้าราชการดีๆ นับสิบนับร้อยคนมาดำรงตำแหน่งนี้ได้เพราะใคร? ทั้งๆ ที่ ถูกสอบสวนในคดีกล้ายาง 90 ล้านต้น และนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในขณะนั้น เตรียมชื่อคนอื่นเพื่อมาดำรงตำแหน่งนี้อยู่แล้ว แต่อิทธิพลของนักการเมืองผู้ใกล้ชิด “นายใหญ่” อีกคนมีพลังมากพอที่จะทำให้นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ยอมเกลี้ยกล่อมให้นายสมศักดิ์ เปลี่ยนใจ เพื่อลงนามในคำสั่งแต่งตั้งที่ตนเองลำบากใจในที่สุด
       
       ทำไมกรมวิชาการเกษตรจึงมีความสำคัญมากมายถึงขนาดนั้น ?
       
       เมื่อสองทศวรรษที่แล้ว ผู้ที่สามารถดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้ ต้องเป็นคนในกรมและเป็นนักวิชาการแท้ๆ ที่มีความสามารถและมีภาพลักษณ์ทางวิชาการ กระทรวงทบวงกรมที่มีผลประโยชน์มากและยั่วน้ำลายนักการเมืองทุจริตและข้าราชการจอมโกงคือตำแหน่งผู้บริหารในกรมชลประทาน และกรมส่งเสริมการเกษตร เสียมากกว่า เพราะสองหน่วยงานที่ว่าเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างด้วยเม็ดเงินมหาศาล แต่ขณะนี้สภาพการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วโดยสิ้นเชิง
       
       นักการเมืองและข้าราชการจอมโกงได้ทำให้กรมวิชาการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่มีนักวิชาการที่ซื่อสัตย์ต้องมีภาพพจน์ที่แปดเปื้อนเพราะมีโครงการฉาวโฉ่เต็มไปด้วยผลประโยชน์มหาศาลผุดขึ้นมาเป็นระยะๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการเซ็ลทรัลเล็บ โครงการกล้ายาง 90 ล้านต้น โครงการพืชสวนโลก รวมทั้งการผลักดันฝ้ายและมะละกอจีเอ็มโอ จนมาถึงการประหารอนาคตของสมุนไพรไทยอย่างเลือดเย็น เพื่อประโยชน์ของบรรษัทข้ามชาติ
       
       กรมวิชาการเกษตร กลายเป็นกรมเกรดเอ เพราะกลายเป็นกรมที่จะกำหนดทิศทางและวางกติกาในการใช้เมล็ดพันธุ์และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบรรษัทเคมีเกษตรข้ามชาติ (Multinational Agro-Industries) สามารถพัฒนาพืชจีเอ็มโอที่กำหนดทางพันธุกรรมได้ว่า เมื่อปลูกเมล็ดพันธุ์ของตนแล้วจะต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตัวเองกำหนดได้
       
       กรมนี้เป็นผู้ดูแล พ.ร.บ.กักพืช ซึ่งเป็นผู้วินิจฉัยว่าจะให้พืชจีเอ็มโอปลูกได้ในเชิงพาณิชย์หรือไม่ และกรมนี้ยังเป็นผู้ควบคุมการอนุมัติสารเคมีกำจัดพืชทุกชนิดว่าจะให้นำมาขายได้หรือไม่ ภายใต้หลักเกณฑ์อะไร ซึ่งแน่นอนว่าต้องเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาล
       
       2. เงาทะมึนของบรรษัทข้ามชาติ
       
       รายงานการวิจัยของกลุ่มเฝ้าระวังบรรษัทเมื่อปี 2007 ระบุว่า มอนซานโต้ และซินเจนต้า คือสองยักษ์ใหญ่ด้านเคมีเกษตรที่ได้ผลประโยชน์มหาศาลจากกิจการด้านเคมีเกษตรและเมล็ดพันธุ์ของโลกมอนซานโต้ ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งด้านเมล็ดพันธุ์นั้น ครอบครองตลาดเมล็ดพันธุ์คิดเป็นรายได้ประมาณ 160,000 ล้านบาท/ปี และเป็นยักษ์ใหญ่เคมีเกษตรอันดับ 5 ครอบครองตลาด 120,000 ล้านบาท/ปี
       
       ในขณะที่คู่แข่งของพวกเขาคือซินเจนตานั้น เป็นยักษ์ใหญ่ด้านเมล็ดพันธุ์อันดับ 3 มีรายได้จากการขายเมล็ดพันธ์ 65,000 ล้านบาท/ปี แต่เป็นยักษ์ใหญ่ด้านเคมีเกษตรอันดับ 2 ครอบครองสัดส่วนการตลาดสูงถึง 230,000 ล้านบาท/ปี ใกล้เคียงกับไบเออร์ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่หมายเลขหนึ่ง
       
       ***บรรษัทเหล่านี้ได้รวมตัวกันจัดตั้งสมาคมที่เกี่ยวกับสารเคมี และเทคโนโลยีชีวภาพ โดยดึงเอาอดีตข้าราชการใหญ่ที่มีอิทธิพลทางนโยบายมาเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ หรือเป็นที่ปรึกษา เพื่อผลักดันนโยบายที่ตนประสงค์ทั้งที่ทำอย่างเปิดเผยและไม่เปิดเผย
       
       ****สำหรับในประเทศไทย ข้อมูลปี 2551 ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่า ผลประโยชน์จากเคมีเกษตรนั้นมีมูลค่าสูงนับแสนล้านบาทเช่นเดียวกัน โดยแบ่งเป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 18,566 ล้านบาท และปุ๋ยเคมี 78,944 ล้านบาท
       
       สำหรับตลาดเมล็ดพันธุ์พืชในเมืองไทยนั้น ถ้าหากบริษัทข้ามชาติเหล่านี้สามารถผลักดันเมล็ดพันธุ์ลูกผสมหรือพันธุ์พืชจีเอ็มโอเข้ามาเปิดตลาดได้เป็นผลสำเร็จ นักวิชาการจากกลุ่มเอฟทีเอว็อทช์คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าตลาดสูงมากกว่า 100,000 ล้านบาท นั่นหมายความว่าผลประโยชน์จากสารเคมีการเกษตรและเมล็ดพันธุ์จะมียอดขายรวมกันหลายแสนล้านบาท นี่คือผลประโยชน์มหาศาลที่บริษัทเหล่านี้จะได้รับ !
       
       ผลประโยชน์มหาศาลนี้ย่อมเกาะเกี่ยวกับอำนาจทางการเมือง ดังนั้นจึงมีเรื่องร่ำลือกล่าวหากันว่า ในระหว่างการเลือกตั้งซ่อมวุฒิสมาชิกวุฒิสภาเมื่อปี 2544 นั้น มีรายงานข่าวว่า ผู้สมัครเลือกตั้งเป็นวุฒิสมาชิกคนหนึ่งได้รับเงินสนับสนุนเป็นจำนวนเงินสูงเป็นหลักสิบล้านบาทจากบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ ทั้งนี้เพื่อตอบแทนที่ได้ผลักดันนโยบายปลูกพืชจีเอ็มโอและเป็นกระบอกเสียงในการปกป้องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างเปิดเผยทั้งๆ ที่กระแสสังคมเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม
       
       ในอนาคตอันใกล้ บรรดาบรรษัทข้ามชาติ และบริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศจะกระโจนเข้ามาสู่การลงทุนเพื่อปลูกพืชพลังงานและพืชอาหารในพื้นที่มหาศาล เม็ดเงินจำนวนหลายหมื่นล้านบาทจนถึงหลายแสนล้านบาท จากตะวันออกกลาง จีน และประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ จะหลั่งไหลเข้ามายังประเทศไทยและภูมิภาคนี้ กรมวิชาการเกษตร ในอนาคตจะมีบทบาทในการกำหนดพื้นที่ ชนิดของพืช และมาตรฐานของพันธุ์พืช สำหรับรองรับการลงทุนมหาศาลดังกล่าว
       
       แค่กล้ายาง 90 ล้านต้นยังทำให้ข้าราชการขี้โกงและนักการเมืองขี้ฉ้ออิ่มเอมได้ขนาดนี้ แล้วการลงทุนหลายหมื่นล้านบาทจนถึงหลักแสนล้านบาทในอนาคตจะหอมหวลขนาดไหน ? นี่คือเหตุผลเบื้องหลังที่ต้องผลักดันคนของตัวเองเพื่อกุมอำนาจ สืบทอดอิทธิพล กลบเกลื่อนบาดแผลในอดีต และวางแผนโครงการใหญ่ๆ ในอนาคต
       
       3. ขจัดนักเกษตรกรรมยั่งยืนให้พ้นทางเอานักส่งเสริมจีเอ็มโอเข้ามาแทน
       
       ย้อนกลับไปเมื่อปี 2542 ขณะที่นายชนวน รัตนวราหะ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ผู้เขียนตำรา ”เกษตรกรรมยั่งยืน” และศรัทธาในวิถีเกษตรกรรมที่ไม่ใช้สารเคมี คือผู้ได้รับคาดหมายว่าจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เนื่องจากอาวุโสสูงสุดและมีความเหมาะสมในทุกด้าน แต่ทุกอย่างก็ไม่ได้เป็นไปตามที่หลายคนคาดการณ์
       
       **** การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมคณะเพื่อไปดูงานพืชจีเอ็มโอที่ประเทศออสเตรเลีย พร้อมกับคณะผู้บริหารของบริษัทข้ามชาติ และข้าราชการคนสำคัญคนหนึ่งในกระทรวงเกษตรก่อนหน้าการแต่งตั้งอธิบดีคนใหม่ได้ไม่นาน
       
       อธิบดีกรมวิชาการเกษตรคนใหม่พลิกผันกลายเป็นชื่อของ “นายอนันต์ ดาโลดม” สมใจ “นายธีรยุทธ กันตรัตนากุล” เพื่อนสนิทของเขาซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บริหารคนสำคัญของบริษัทมอนซานโต้ ประเทศไทย และกำลังผลักดันให้มีการปลูกทดลองฝ้ายจีเอ็มโอ นายธีรยุทธ เสนอให้กระทรวงเกษตรจัดตั้งกองทุนฝ้ายมูลค่า 1,800 ล้านบาท เพื่อใช้เงินภาษีของประชาชนซื้อเมล็ดพันธุ์ฝ้ายจีเอ็มโอจากบริษัทแจกจ่ายแก่เกษตรกร
       
       แต่แผนการดังกล่าวล้มเหลวลง เมื่อถูกองค์กรภาคประชาชนร้องเรียนว่า การแต่งตั้งกรรมการทดสอบและส่งเสริมฝ้ายจีเอ็มโอเป็นไปโดยไม่ชอบเพราะมีการแต่งตั้งนายธีรยุทธ และพนักงานของมอนซานโต้รวม 3 คนเป็นคณะกรรมการด้วย
       
       มิหนำซ้ำยังพบว่าฝ้ายจีเอ็มโอซึ่งอยู่ระหว่างการทดสอบว่ามีพิษภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ หลุดลอดออกไปปลูกในพื้นที่เกษตรกรรม นายเนวิน ชิดชอบ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในขณะนั้นไหวตัวทัน รีบชิงแต่ตั้งกรรมการขึ้นมาสอบสวน ประกาศขึงขังว่าจะเอาคนผิดมาลงโทษ แต่เรื่องราวทั้งหลายแหล่กลับเงียบหายไปเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง
       
       ***มิหนำซ้ำ ชื่อของ “ธีรยุทธ กันตรัตนากุล” ผู้บริหารยักษ์ใหญ่ของบรรษัทข้ามชาติ อดีตผู้อำนวยการองค์การสวนยาง ซึ่งถูก ป.ป.ช. ตั้งกรรมการสอบสวนในข้อหาแทรกแซงเรื่องราคายาง กลับได้ดิบได้ดีเมื่อนายเนวิน ชิดชอบ ผลักดันให้กลายเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทห้องปฏิบัติการกลางตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร จำกัด (เซ็นทรัลแล็บ) ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวฉาวโฉ่เช่นเดียวกัน และเป็นหนึ่งในคดีที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เข้ามาตรวจสอบและส่งเรื่องต่อให้ ป.ป.ช.สอบสวนต่อหลังจาก คตส.หมดวาระลง
       
       ในขณะที่กระทรวงเกษตรฯ ของไทย ไม่อาจหาหลักฐานเอาผิดกับการทุจริตเกี่ยวกับเรื่องฝ้ายจีเอ็มโอได้ แต่กรณีเดียวกันที่เกิดในประเทศอินโดนีเซียนั้น กระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกาและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง (Securities and Exchange Commission) พบหลักฐานว่า บริษัทมอนซานโต้ได้ติดสินบนเจ้าหน้าที่ระดับสูงอินโดนีเซียระหว่างปี 2540-2545 เพื่อให้มีการอนุญาตปลูกฝ้ายจีเอ็มโอในประเทศดังกล่าว บริษัทมอนซานโต้ต้องจ่ายค่าปรับเป็นจำนวนเงิน 1.5 ล้านบาทแก่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเพื่อแลกกับการไม่ดำเนินคดีในข้อหาสนับสนุนคอรัปชั่น
       
       ***ในขณะที่ในประเทศไทย กลุ่มคนสีเทาในแวดวงเกษตรยังคงโลดเล่นในสนามทางการเมือง หมุนเวียนสับเปลี่ยนเข้าไปเป็นบอร์ดบริหารของคณะกรรมการชุดต่างๆ ภายในกระทรวงเกษตรฯ และข้ามไปยังรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงอื่นๆ ทั้งที่มีประวัติถูกสอบสวนในเรื่องทุจริต บางคนได้รับการยกย่องให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อันเก่าแก่ นี่เป็นความอ่อนแอของสังคมไทยโดยแท้
       
       4. ล้ม พ.ร.บ.เกษตรกรรมยั่งยืน ฟื้นนโยบายปลูกพืชจีเอ็มโอ
       
       ในช่วงรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ จุลลานนท์ เป็นช่วงเวลาการต่อสู้อย่างถึงพริกถึงขิงระหว่างบรรษัทข้ามชาติ กับขบวนการเกษตรกรรมตามวิถีธรรมชาติ และแน่นอนว่าฝ่ายขบวนการเกษตรกรรมยั่งยืนและผู้ผลักดันให้เกิดระบบอาหารที่ปลอดภัยกลายเป็นฝ่ายตั้งรับ
       
       เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ร่วมกับเครือข่ายอโศก และขบวนการเกษตรกรรมอินทรีย์ ภายใต้การสนับสนุนทางวิชาการของ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ผลักดัน พ.ร.บ.เกษตรกรรมยั่งยืน โดยให้มีการจัดเก็บภาษีจากสารเคมีการเกษตรที่ทำให้เกิดอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภคเพื่อนำมาสนับสนุนเกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมที่คำนึงถึงสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
       
       แต่นายอานันต์ ดาโลดม อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตรและวุฒิสมาชิกจากสุราษฎร์ธานี ที่มีนายสมชาย ชาญณรงค์กุลเป็นลูกน้องคนสนิท รวบรวมบริษัทค้าปุ๋ยและสารเคมีการเกษตรทั่วประเทศ เดินหน้าออกมาคัดค้านการผลักดันกฎหมายดังกล่าวอย่างเต็มสูบ โดยอ้างว่าเกษตรกรจะเป็นผู้เดือนร้อนจากมาตรการดังกล่าว
       
       จนในที่สุด นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งไม่นิยมผักอินทรีย์แต่ชอบพืชจีเอ็มโอมากกว่าสบโอกาสแช่เข็งร่างกฎหมายดังกล่าว จนรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หมดวาระไปในที่สุด
       
       *** ในระยะเวลาเดียวกันนั้น นายอนันต์ ดาโลดม ยังเป็นหัวเรือใหญ่ในฐานะที่ปรึกษาสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ ซึ่งมีคณะกรรมการบริหารประกอบไปด้วยบริษัทเคมีเกษตรและจีเอ็มโอ เช่น มอนซานโต้ ดูปองต์ และซินเจนต้า ร่วมกับนายธีระ สูตะบุตร ผลักดันให้รัฐบาลสุรยุทธ์ เดินหน้าให้มีการอนุญาตปลูกทดลองพืชจีเอ็มโอในระดับไร่นาอย่างแข็งขัน พวกเขาทำสำเร็จไปชั้นหนึ่ง โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2551 ประกาศให้สามารถทดลองพืชจีเอ็มโอได้
       
       แต่ด้วยแรงต่อต้านจากนายแพทย์มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้หาญกล้าประกาศใช้ซีแอลยา และแรงสนับสนุนจากเครือข่ายวิชาการและภาคประชาชน ทำให้มติคณะรัฐมนตรีครั้งนั้น มีข้อความต่อท้ายว่า การขออนุญาตปลูกทดลองพืชจีเอ็มโอสามารถทำได้ในสถานที่ราชการเท่านั้น อีกทั้งก่อนหน้าการทดลอง จะต้องมีรายงานผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เปิดให้มีการประชาพิจารณ์ และต้องรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ องค์กรสาธารณประโยชน์ และภาควิชาการ
       
       แต่อย่างไรก็ตาม ความพยายามของบรรษัทข้ามชาติไม่มีทางหมดสิ้นง่ายๆ คาดการณ์ว่า กลุ่มบรรษัทข้ามชาติจะอาศัยโอกาสที่มีอธิบดีกรมวิชาการเกษตรคนใหม่ ผลักดันให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโออีกครั้งในเร็วๆ นี้
       
       5. ทำลายอนาคตสมุนไพรไทย เพื่อผลประโยชน์ของบรรษัทข้ามชาติ
       
       คำประกาศที่ระบุให้พืชสมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย ซึ่งหากใครนำไปใช้ผลิตเพื่อขายเป็นสารกำจัดศัตรูพืช และควบคุมการเจริญเติบโตของพืช โดยหากไม่ไปจดแจ้งจะมีความผิดถึงขึ้นติดคุก 6 เดือน ปรับ 50,000 บาท นั้น สร้างผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อภาพลักษณ์ของสมุนไพร และต่อขบวนการเกษตรกรรมอินทรีย์ ซึ่งขณะนี้กำลังขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง และมีแนวโน้มจะสร้างผลกระทบแก่บรรดาอุตสาหกรรมเคมีข้ามชาติในอนาคตอันใกล้
       
       นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ปฏิเสธว่า เขาไม่ได้รู้ต้นสายปลายเหตุมาก่อน ที่กรมวิชาการเกษตรระบุให้พืช 13 ชนิด ได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยาก เป็นวัตถุอันตราย เพราะเขาเพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้ไม่นาน มีเหตุให้ควรตั้งคำถามกับบทบาทของเขาหลายประการ
       
       ประการแรก เขาไม่ทราบเลยหรือว่า ประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้นตีพิมพ์เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 ในขณะที่ข้อคัดค้านของตัวแทนกระทรวงสาธารณสุขนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 ในขณะที่เขาเข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551
       
       ***ประการที่สอง เขาไม่ทราบเลยหรือว่า การชงเรื่องของกรมวิชาการเกษตรนั้นเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกสมัยนายธีรชัย แสนแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นักการเมืองที่มาจากกลุ่มการเมืองที่ผลักดันให้เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดี
       
       ***ประการที่สาม เขาลืมไปแล้วหรือว่าในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2551 สมาคมผู้ประกอบธุรกิจสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่มีนายอานันต์ ดาโลดม อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เจ้านายเก่าของเขา ผู้ซึ่ง เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสมาคมดังกล่าว ได้เข้าพบและมีการประชุมเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย การแก้ไขปัญหาสารกำจัดศัตรูพืชด้อยคุณภาพ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกาศควบคุมสารสมุนไพร 13 ชนิด ที่เขาอ้างว่าประกาศเพื่อมิให้เกษตรกรถูกหลอกลวงจากสารกำจัดศัตรูพืชด้อยคุณภาพ ?
       
       ประการที่สี่ เขาตอบคำถามได้หรือไม่ว่าทำไมต้องเร่งประกาศอย่างรวบรัด โดยใช้จดหมายเวียนขอความเห็นชอบแทนที่จะนัดประชุมตามขั้นตอนที่ควรจะเป็น ?
       
       ***ประมาณการว่าหนึ่งในสี่ของเกษตรเริ่มหันมาใช้สมุนไพรเพื่อควบคุมแมลงเพื่อลดต้นทุนการผลิต และเหตุผลความปลอดภัย แนวโน้มนี้กำลังสร้างผลกระทบต่อตลาดสารเคมีการเกษตร สังคมไทยต้องจับตากระบวนการประหารอนาคตของสมุนไพรและเกษตรกรรมตามวิถีธรรมชาติครั้งนี้อย่างใกล้ชิด เพราะพวกเราไม่ได้ต่อสู้กับกลุ่มข้าราชการและนักการเมืองสีเทาเท่านั้น แต่เรากำลังต่อสู้กับบรรษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติที่ยืนทมึนอยู่เบื้องหลังพวกเขาด้วย
 
 
 
 
บันทึกการเข้า

Natural resources is sufficient for human's need,but not for human's greed
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4087
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20181


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #85 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2009, 06:13:12 PM »

ขอบคุณมากครับ คุณ STeelShoTS..

เพราะ ข้าราชการบางคนที่ชั่ว และนักการเมืองบางคนที่เลว  มันถึงได้่บังอาจ เร่งกระทำ โดยอาศัยช่องทางกฎหมาย

บทความ ที่เป็นการสืบค้น และชี้ให้เห็นพฤติการณ์เลวทราม.. จะส่งผลให้มีการ เร่งจี้ไปทาง ปปช.
เพื่อจะลากตัวมันออกมา.. จัดการมันตามกฎหมาย. ให้สมกับการกระทำเลวของมัน  เยี่ยม
บันทึกการเข้า

ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป
มืออ่อน หมัดแข็ง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 857
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6568


เตสาหัง สิรสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตเม


« ตอบ #86 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2009, 06:42:17 PM »

มีอีกหนึ่งมุมมองครับ.....

ความน่าสนใจอยู่ที่ ประกาศบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2546  มีการระบุเรื่องนี้ไว้แต่ใช้คำว่า "เช่น" แต่ฉบับ 2552 ใช้คำว่า "ได้แก่"

และมีการเปลี่ยนแปลงชั้นจาก ชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่ 1

จึงต้องกลับมาดูแต่ต้นว่า ตอน 2546 นั้น ประกาศฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ใด

และเมื่อเปลี่ยนแปลงข้อความตอน 2552 มีจุดประสงค์ใด....

คงต้องตีความจุดมุ่งหมายของประกาศก่อน....

ส่วนจะมีสิ่งใดแอบแฝงหรือไม่   คงต้องดูว่า ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์



"ความคิดเห็นที่ 37

อืม เป็นข่าวที่น่าสนใจดี เพิ่งได้เห็นหลังจากที่ไปต่างจังหวัดหลายวัน
เราคงต้องอ้างหลักการเดิมที่ว่า มีคนเคยกล่าวไว้ว่า
"ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตังค์"
"อยากดูว่าคนในชาตินั้นเป็นอย่างไร ให้ดูจากหนังสือพิมพ์ที่ขายดีที่สุด"

อย่าลืมตั้งสติทุกครั้งที่ได้รับข่าว เดี๋ยวนี้ข่าวเดียวกันต้องพยายามหาข้อมูลจากหลายแห่ง สื่อไม่ได้ลงรายละเอียดทุกประเด็น
มักเขียนแต่ประเด็นที่ตนเองสนใจ และเข้าใจเท่านั้น
จนบางครั้งสิ่งที่เข้าใจ อาจทำให้เป็นข่าวที่คลาดเคลื่อนได้

ประกาศที่เป็นปัญหา มีชื่อว่า ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 18 ง ราชกิจจานุเบกษา 3กุมภาพันธ์ 2552 หน้า 4 โดยมีนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552 จากบางข่าวที่ออกว่า ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551 นั้น จึงน่าสงสัยว่าคืออะไร เป็นวันที่เริ่มมีการหารือหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ ประกาศนี้ออกเมื่อ 29 มกราคม 2552 แน่นอน (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 3 กุมภาพันธ์ 2552 มีผลบังคับใช้ 4 กุมภาพันธ์ 2552) ดู http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/018/4.PDF


และในประกาศดังกล่าวที่หน้าสุดท้าย เขียนว่า ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเฉพาะที่นำไปใช้ป้องกันกำจัด ทำลาย ควบคุม แมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก คื่นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยาก จะเห็นว่าเฉพาะที่มีวัตถุประสงค์ “ป้องกันกำจัด ทำลาย ควบคุม แมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืช” โดยมีเงื่อนไข คือ มีคุณสมบัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด (กำลังรอประกาศและตรวจสอบข้อมูล)

ดังนั้น หากผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นอาหาร ก็จะไม่เข้าข่ายวัตถุอันตรายซึ่งจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 แต่อย่างใด แต่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 แทน

ผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่มีความก้ำกึ่งที่อาจอยู่ในความดูแลตามกฎหมายหลายฉบับ ก็ต้องดูวัตถุประสงค์ของผลิตภัณฑ์นั้นว่าใช้เพื่ออะไร และมีการปฏิบัติเพื่อให้เข้ากับหลักเกณฑ์ตามกฎหมายใดด้วย ยกตัวอย่างเช่น
1. วิตามิน อาจจะจัดเป็นยา (เข้าข่าย พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) อาหารโดยเป็นรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522) เครื่องสำอาง (พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2535) เป็นต้น
2. warfarin (วาร์ฟาริน) หากมีวัตถุประสงค์เพื่อกินป้องกันลิ่มเลือดอุดตัน ก็จะจัดเป็นยาอันตราย ตาม พ.ร.บ.ยา แต่ถ้าใช้เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดสัตว์กัดแทะ ก็จะเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 (ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)

ด้วยเหตุนี้ประเด็นเรื่องที่ใช้เป็นอาหารจึงหมดไป คงเหลือแต่ประเด็นที่ใช้เพื่อกำจัดศัตรูพืช ซึ่งรอความชัดเจนต่อไป
แก้ไขเมื่อ 11 ก.พ. 52 22:30:08

จากคุณ : ผู้สังเกตการณ์  - [ 11 ก.พ. 52 22:12:19 ]"


"ความคิดเห็นที่ 38   

เมื่อตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า เดิมประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2546 นั้นใช้คำว่า สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม เพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกัน กำจัดแมลง ศัตรูพืชและสัตว์ และเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547 มีการตัดข้อความ (ไม่แน่ใจว่าจงใจหรือเปล่า แต่คิดว่าคงจะจงใจ เพราะว่าในฉบับที่ 3-5 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อความแต่อย่างใด) เป็น “เพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกัน กำจัดแมลง ศัตรูพืช” โดยยังคงเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 เหมือนเดิม  แต่ปัจจุบันจัดให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1

ต้องตอบคำถามให้ได้ว่าวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 กับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 นั้น อันไหนมีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดกว่ากัน
ก็ต้องตอบว่า วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 นั้นเข้มงวดน้อยกว่า เพราะ วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 เป็นวัตถุอันตรายที่ผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือไว้ในครอบครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด โดยไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนและขออนุญาต ส่วนวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 นั้น เข้มงวดมากที่สุด เพราะอันตรายที่ห้ามมิให้ผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง (พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 มาตรา 43)

โดยความเห็นส่วนตัวแล้ว หากพิจารณาถึงประวัติศาสตร์ของประกาศก่อนหน้านั้นให้ดีมีข้อสังเกตคือ
1. เพิ่มความชัดเจนจากประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2546 ที่กำหนดสารสกัดจากพืชไว้อย่างกว้าง ๆ โดยใช้คำว่า “เช่น” แต่ประกาศในปัจจุบันเป็นการกำหนดพืชทั้ง 13 ชนิดแทน ซึ่งจะมีขอบเขตแคบกว่า
2. เดิมในปี พ.ศ.2546 กำหนดเพียงสารสกัดจากพืชเท่านั้น แต่ประกาศปัจจุบันให้รวมถึงผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ซึ่งกินความหมายกว้างกว่า (ซึ่งต้องพิจารณาข้อดีข้อเสียต่อไป)
3. เดิมเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ปัจจุบันเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ความเข้มงวดน้อยกว่า อาจจะขัดกับความรู้สึกของคนทั่วไป ว่าเลข 1 นี่มันต้องสุดยอดนะ แต่กฎหมายอ่านแล้วตีความได้อย่างนั้นจริง ๆ ไม่เชื่อดูคำอธิบายเพิ่มเติมของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก็ได้ (ดู http://www.fda.moph.go.th/psiond/newweb/psiond-web/)
4. เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องที่เคยมีประกาศตั้งแต่ พ.ศ.2546 แล้ว แต่ว่าจะมีใครรู้เรื่องนี้หรือมองเห็นข้อมูลนี้หรือเปล่า

จากคุณ : ผู้สังเกตการณ์  - [ 11 ก.พ. 52 23:50:36 ] "


"ความคิดเห็นที่ 39   

ประเด็นซึ่งเกี่ยวข้องกับพืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด จากที่ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ดังนี้
1. เพิ่มความชัดเจนจากประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2546 ที่กำหนดสารสกัดจากพืชไว้อย่างกว้าง ๆ โดยใช้คำว่า “เช่น” ซึ่งหมายความว่าสามารถเป็นพืชชนิดใดก็ได้โดยไม่จำกัดชนิด แต่ประกาศในปัจจุบัน ใช้คำว่า “ได้แก่” และกำหนดพืชทั้ง 13 ชนิดแทน ซึ่งจะมีขอบเขตแคบกว่า
2. เดิมในปี พ.ศ.2546 กำหนดเพียงสารสกัดจากพืชเท่านั้น แต่ประกาศปัจจุบันให้รวมถึงผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ซึ่งกินความหมายกว้างกว่า (ซึ่งต้องพิจารณาข้อดีข้อเสียต่อไป)
3. เดิมเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ปัจจุบันเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ความเข้มงวดน้อยกว่า
4. เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องที่เคยมีประกาศตั้งแต่ พ.ศ.2546 แล้ว ซึ่งความเป็นจริงแล้วต้องเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2538 เสียด้วยซ้ำ แต่ประกาศใน พ.ศ.2538 ได้ยกเลิกไป และใช้ฉบับ พ.ศ. 2546 แทนในปัจจุบัน แต่ว่าจะมีใครรู้เรื่องนี้หรือมองเห็นข้อมูลนี้หรือเปล่า

ประเด็นที่ต้องพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสีย มีดังนี้

เดิมประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2546 กำหนดเพียง สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม เพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกัน กำจัดแมลง ศัตรูพืชและสัตว์ และเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 แต่ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 กำหนดเป็นผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเฉพาะที่นำไปใช้ป้องกันกำจัด ทำลาย ควบคุม แมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก คื่นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยาก ปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไปคือ ประกาศฉบับใหม่นี้มีความเข้มงวดมากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องแยกเป็น 2 กรณี คือ

กรณีที่ 1 การนำสารสกัดจากพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันกำจัด ทำลาย ควบคุม แมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช ผลจากประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ฉบับนี้ส่งผลให้สารสกัดจากพืชซึ่งมิได้มีการปลี่ยนแลงทางเคมี เปลี่ยนสถานะซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ซึ่งมีความเข้มงวดน้อยกว่ามาก

กรณีที่ 2 การนำผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืช ซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันกำจัด ทำลาย ควบคุม แมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช ผลจากประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ส่งผลให้ชิ้นส่วนพืชซึ่งเดิมไม่ถูกกำหนดเป็นวัตถุอันตราย กลายเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ซึ่งจะมีความเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีความยุ่งยากในการนำมาใช้งานมากขึ้น เป็นการเพิ่มภาระของเกษตรกร และอาจเพิ่มค่าใช้จ่ายของเกษตรกรได้

การจะต่อสู้หรือถกเถียงในกรณีที่อาจจะเกิดขึ้น ต้องถกเถียงในกรณีที่ 2 จะมีความเหมาะสมมากกว่าการถกเถียงในประเด็นอื่น

แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น อาจทำได้ดังต่อไปนี้
1. ยกเลิกข้อความในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ซึ่งเกี่ยวข้องกับพืชสมุนไพรนี้เสียทั้งหมด เนื่องจากทำความเข้าใจได้ยาก หรือมีขั้นตอนที่อาจเกิดความยุ่งยาก แต่ทั้งนี้การยกเลิกต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในระยะยาวด้วย
2. ปรับแก้ข้อความจาก “ชิ้นส่วนของพืช” เป็น “สารสกัดจากพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเฉพาะที่นำไปใช้ป้องกันกำจัด ทำลาย ควบคุม แมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก คื่นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยาก” เพราะว่าการใช้ข้อความ “ชิ้นส่วนจากพืช” นั้นมีความหมายกว้างมาก ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากในการนำมาใช้ แต่หากแก้ไขเป็น “สารสกัดจากพืช” จะมีขอบเขตแคบกว่า ทั้งนี้อาจปรับลดจำนวนชื่อพืชดังกล่าวได้ตามความเหมาะสม และการใช้คำว่า “ได้แก” จะทำให้ขอบเขตของพืชที่ใช้แคบลงกว่าการใช้คำว่า “เช่น” ด้วย ส่วนการกำหนดจากวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 นั้นเป็นการลดความเข้มงวดลงมาแล้ว จึงไม่น่าจะเกิดปัญหาในทางปฏิบัติมากนัก และยังช่วยในการติดตามปัญหาในระยะยาวได้ด้วย

ส่วนประเด็นที่ว่ามีความไม่ชอบมาพากลหรือไม่นั้น หากมองในแง่ดี ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ประกาศที่ออกมาอาจเกิดจากการมองไม่รอบด้านเสียมากกว่า

จากคุณ : ผู้สังเกตการณ์  - [ 13 ก.พ. 52 13:52:20 ]"



บันทึกการเข้า

บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป
      
ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย
อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
หินเหล็กไฟ
ถึงตายไปก็ช่างมัน...ขอให้ชีวิตยังอยู่ก็พอ..
Hero Member
*****

คะแนน 1319
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12900



« ตอบ #87 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2009, 09:04:26 PM »

อ่านจนตาลายเลยครับ แบร่ แบร่
บันทึกการเข้า

[img]http://i7.tinypic.com/333hiqw.jpg[/img
หน้า: 1 ... 3 4 5 [6]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.245 วินาที กับ 22 คำสั่ง