๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
เมษายน 30, 2024, 12:20:19 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 1345 1346 1347 [1348] 1349 1350 1351 ... 1487
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เครื่องบินขับไล่ใหม่ กองทัพอากาศไทย  (อ่าน 3965855 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 9 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1870
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10361



« ตอบ #20205 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2015, 09:42:14 PM »

กลางเดือนที่ผ่านมา(22 เม.ย.2558)เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์แบบTu-95 ของรัสเซียจำนวน2ลำ ได้บินรุกล้ำน่านฟ้าเขตป้องกันภัยทางอากาศของสหรัฐฯที่อยู่ใกล้มลรัฐอลาสก้า แต่ไม่มีเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐฯขึ้นบินสกัดกั้นแม้แต่ลำเดียว//หุหุ เล่นกันมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น นักบินไอ้กันคงรู้ทัน ขึ้นบินสกัดกั้นก็เท่านั้น นายไม่ให้ยิงอยู่ดี เปลื้องเชื้อเพลิง ไม่ได้อะไร(นอกจากชั่วโมงบินนิดหน่อย)เสียเวลาตีดั๊มมี่ Grin คิก คิก

อ้างอิง (ข้อมูลหายไปแล้ว ขออภัย) ไหว้ Smiley
บันทึกการเข้า

..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing..
"สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
rute - รักในหลวง
Forgive , But not Forget .
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1990
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 22741


"ผลิดอกงามแตกกิ่งใบ..."


« ตอบ #20206 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2015, 10:45:00 PM »

ก็ต้องปรับแต่งเครื่องวัดหรือประเมินได้ด้วย เรื่องเครื่องวัดความสูงนีมันมีอุณหภูมิของอากาศมาเกี่ยวด้วยอากาศร้อนความกดดันต่ำอากาศเย็นความกดสูงคือว่านักบินต้องเก็บข้อมูลมาประเมินด้วยว่าตัวเลขที่เห็นเชื่อได้หรือไม่ หรือมันเจ๊งไปแล้ว(เคยมีนะ)
อาจจะมีส่วนครับพี่ เพราะวันนั้นเมฆคลึ้มและมีฝน เครื่่องมุดลงใต้เมฆก็ถึงสนามินเลย คิก คิก

ทะลุมิติ
ภูเก็ตผลเจอทะลุมิติมาสองครั้ง เรื่องคำณวนความสูงผิดพลาดนี่แหละ วันนั้นเครื่องลงทางฝั่งตะวันออกของภูเก็ต ริเวณแหลมทราย นักบินลดความสูงอย่างเร็ว จนผู้โดยสารที่เป็นผู้หญิงหวีดร้องเลย ช่วงนั้นผมนึกว่าเครื่องตก คิดถึงลูกคนเล็กเลย คิก คิก

ลูกคนเล็ก กับ แฟนคนไหน ครับพี่จอย...  คิก คิก
บันทึกการเข้า
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10196
ออฟไลน์

กระทู้: 47075


M85.ss


« ตอบ #20207 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2015, 09:08:29 AM »

นั่นไงโดนจนได้ งอน
บันทึกการเข้า

พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1870
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10361



« ตอบ #20208 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2015, 05:00:10 PM »

เครื่องบินขับไล่แบบ Jaguar ที่ว่าแปลก เพราะติด AIM-9 Sidewinder บนปีก แต่ถ้าเป็นเครื่อง Lightning ยิ่งจะแปลกเข้าไปใหญ่ เพราะขานี้ติดถังน้ำมันแบบปลดทิ้งไว้บนปีกเลย หุหุ//ตามสเป็คพื้นฐานแล้ว จากัวร์มีแต่อันเดอร์วิงไพลอนเหมือนเครื่องบินขับไล่ทั่วๆไป แต่ในช่วงปฏิบัติการแกรนบี้สมัยสงครามอ่าว ทอ.อังกฤษปรับแต่งจากัวร์ให้มีโอเวอร์วิงไพลอนไว้ติดมิสไซล์ เพื่อให้ประหยัดไพลอนใต้ปีกไว้ติดอย่างอื่น ซึ่งจากัวร์ของฝรั่งเศษไและอินเดียไม่มีการปรับแต่งแบบนี้ อ้างอิง: http://en.wikipedia.org/wiki/SEPECAT_Jaguar และ คุณ Julthep Nandakwang

เครื่อง Lightning ติดถังน้ำมันแบบปลดทิ้งไว้บนปีก

ปัจจุบันเครื่องทั้ว2ชนิด ได้ปลดประจำการจาก ทอ อังกฤษไแล้ว Grin

บันทึกการเข้า

..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing..
"สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7670
ออฟไลน์

กระทู้: 10061



« ตอบ #20209 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2015, 05:10:07 PM »

อดีตอันยิ่งใหญ่ของอังกฤษสร้างเครื่องบินรบได้ดีแต่จู่ๆยกเลิกไปเฉยๆรอซื้อเขา
บันทึกการเข้า
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1870
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10361



« ตอบ #20210 เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2015, 10:21:05 AM »

วันนี้(8 พค 2558)สำนักข่าว Reuters ได้รายงานว่า Kuwait และ Boeing จะลงนามในข้อตกลงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F/A-18E/F"Super Hornet"จำนวน 28 ลำ มูลค่า 3 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งสัญญาดังกล่าวจะช่วยให้สายการผลิต F/A-18E/F"Super Hornet" ยาวไปจนถึงปี 2019 ซึ่งถ้าคูเวตจัดหาจริงๆก็จะเป็นลูกค้าต่างชาติรายที่สองที่จัดหาเครื่องรุ่นนี้เข้าประจำการต่อจากออสเตรเลีย แต่ทางการสหรัฐฯยังไม่ออกมาให้ข้อมูลเรื่องนี้
อ้างอิง http://www.airrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=1740%20

เสียอย่างเดียวสำหรับเครื่องรุ่นนี้สำหรับผมคือไม่น่านำมาเข้าฉากในหนังเรื่อง Behind Enemy Lines เสียราคาหมดเลย หุหุ Grin คิก คิก

บันทึกการเข้า

..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing..
"สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1870
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10361



« ตอบ #20211 เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2015, 10:48:17 AM »

ส่วนขานี้ของขายยากซะเหลือเกิน(หรือว่าเล่นตัว)สุดท้ายต้องมาใช้โปรนี้//ฝรั่งเศสระบุว่าจะมีส่วนลด 25% ให้กับอินเดียในการจัดซื้อ บ Rafale จำนวน 36 ลำ//กำลังหาอ้างอิงของข่าวนี้อยู่ เห็นว่าลูกค้าตะวันออกกลางรายล่าสุดคือการ์ต้าเพิ่งเซ็นต์สัญญาซื้อไปจำนวน24ลำเมื่อเดือนที่แล้ว ส่วน UAE น่าจะแห้วไปแล้ว เพะราขานี้ถือว่าตัวเองกระเป๋าหนัก สั่งแบบเอาแต่ใจตัวเอง ฝรั่งเศสเอาใจไม่ทันเลยยกเลิกสัญญาซะดื้อๆ อย่างไรก็ตาม บ Rafale เมื่อรวมกับดีลที่อียิปต์ 24 ลำและอินเดีย 36 ลำก่อนหน้านี้ จะเท่ากับมียอดสั่งจองส่งออก 84 ลำแล้ว ไล่กริพเพนขึ้นมาแบบหายใจรดต้นคอ Grin
บันทึกการเข้า

..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing..
"สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
Nero Angel01
Hero Member
*****

คะแนน 275
ออฟไลน์

กระทู้: 3048


« ตอบ #20212 เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2015, 10:58:41 AM »

ทำไมไม่ลดให้เร็วกว่านี้ผมชอบราฟาลมากกว่าน้องยาส
บันทึกการเข้า
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7670
ออฟไลน์

กระทู้: 10061



« ตอบ #20213 เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2015, 02:42:03 PM »

ประเทศไทยมีรากฐานการบินจากฝรั่งเศสตอนไปสงครามโลกก็ได้เครื่องบินและนักบินที่ได้รับการฝึกมาอย่างดี แต่ภายหลังกลับไปต้องไปรบกับฝรั่งเศส
ในอดีตเกือบได้ Mrage F1 มาเป็น บข. 18 ค ง อยู่แล้วโดน F-5E แซงเข้าโค้งสุดท้าย ที่ได้ใช้ของฝรั่งเศสก็คงเป็นแค่เครื่องยนต์ SMECMA ที่ติดมากับ Alfa jet
บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #20214 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2015, 08:31:32 PM »


โอกาสของเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีรัสเซียในกองทัพอากาศไทย



A model of the IL-112 concept at the MAKS in 2009.


A model of the UAC/HAL IL-214 Multi-role Transport Aircraft (MTA) at the Aero India exhibition in 2009.

อย่างที่ทราบว่า บ.ล.๘ C-130H และ C-130H-30 ซึ่งประจำการในฝูงบิน๖๐๑ กองทัพอากาศไทยตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๓

นั้นแม้จะได้รับการปรับปรุงระบบ Avionic และยืดอายุการใช้งานแล้วก็ตาม  แต่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าก็จะต้องฉลอง

ครบรอบการเข้าประจำการเป็นปีที่ ๔๐ แล้ว ซึ่งถือว่านานทีเดียวสำหรับเครื่องบินลำเลียงที่เป็นม้าใช้ของกองทัพ

แบบหนึ่ง  ถ้าดูจากผลปฏิบัติการล่าสุดในการขนส่งเจ้าหน้าที่และสิ่งของไปช่วยเหลือเหตุแผ่นดินไหวในเนปาล

ปี ๒๕๕๘ นี้ล่าสุด แม้ว่า C-130H ของกองทัพอากาศไทยจะยังทำหน้าที่ได้ดีอยู่  แต่ถ้าเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่นำ

เครื่องบินลำเลียงทางทหารที่มีขนาดใหญ่บรรทุกได้มากและพิสัยบินไกลกว่าเข้าปฏิบัติการแล้ว กองทัพอากาศไทย

ก็คงทราบข้อจำกัดของ C-130H อยู่  และน่าจะมีความต้องการเครื่องบินลำเลียงที่มีพิสัยบินไกลกว่าและมีน้ำหนัก

บรรทุกมากกว่า ถ้าจะมีการจัดตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงแบบใหม่ทดแทน บ.ล.๘ ในอนาคตอันใกล้  ประกอบกับ

โครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลางที่จะมาแทน บ.ล.๑๔ G222 ที่ปลดประจำการไปหลายปีแล้วก็ยัง

ไม่มีความคืบหน้านักในขณะนี้


ก็เคยมีการแสดงความเห็นอยู่ว่าทำไมกองทัพอากาศไทยจึงไม่สนใจที่จะจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีจากรัสเซีย

มีราคาไม่แพงนักถ้าเทียบกับเครื่องบินลำเลียงจากค่ายตะวันตกและมีสมรรถนะดี  ซึ่งทางรัฐบาลรัสเซียเองก็ให้ความสนใจ

และพร้อมที่จะเสนอขายยุทโธปกรณ์แบบต่างๆที่ตนพัฒนาและผลิตเองในประเทศให้กองทัพไทย  แต่ทั้งนี้ก็มีผู้ให้ความเห็น

ว่าอากาศยานของรัสเซียมีโอกาสที่จะถูกจัดหาโดยกองทัพอากาศไทยได้ยาก เนื่องจากนักบินและช่างอากาศยานของ

กองทัพอากาศไทยฝึกและศึกษาการใช้งานระบบอากาศยานมาตรฐานตะวันตกในกลุ่ม NATO มาตลอด การเปลี่ยนไปใช้งาน

ระบบอากาศยานรัสเซียซึ่งมีเครื่องยนต์ ระบบเครื่องวัด Avionic อุปกรณ์สนับสนุนใหญ่เล็ก จนถึงระบบอาวุธที่เป็นคนละแบบ

โดยสิ้นเชิงกับระบบพื้นฐานที่กองทัพอากาศใช้งานอยู่เดิมนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากไม่ค่อยคุ้มค่าในทางปฏิบัติ ซึ่งในกลุ่ม

ASEAN เองก็มีตัวอย่างกองทัพอากาศมิตรประเทศหลายประเทศที่มีปัญหาความพร้อมรบเมื่อต้องใช้อากาศยานต่างค่ายร่วมกัน

ในกองทัพอากาศตนจนความพร้อมรบต่ำกว่าที่ควรจะเป็น  ดังนั้นสำหรับประเทศที่มีงบประมาณด้านความมั่นคงที่จำกัดเช่น

ไทยแล้ว การจัดหาอากาศยานที่ใช้ระบบต่างค่ายกันโดยสิ้นเชิงจึงไม่น่าจะใช้แนวคิดที่ดีนักในด้านการจัดการบริหารทรัพยากร

ของกองทัพอากาศ



อย่างไรก็ตามจากข่าวที่ออกมาเมื่อปีที่แล้วว่ากองทัพอากาศมีแผนจะจัดหาเครื่องบินโดยสาร Sukhoi Superjets 100 จำนวน

๓ เครื่องจากรัสเซีย สำหรับภารกิจรับส่งบุคคลสำคัญ  ซึ่ง SSJ-100 เป็นเครื่องบินโดยสารที่รัสเซียออกแบบตามมาตรฐาน

การบินตะวันตก และเริ่มกระแสข่าวการที่กองทัพอากาศไทยอาจพิจารณาการให้ความสนใจเครื่องบินลำเลียงจากรัสเซียด้วย

แล้วทำให้มีคำถามเกิดตามมาว่าจะมีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่กองทัพอากาศไทยสนใจจะจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี

จากรัสเซีย ?  คำตอบที่ได้จากการหาข้อมูลคือเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีของรัสเซียส่วนใหญ่ยังเป็นโครงการในอนาคตครับ


กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานหลักของรัสเซียคือเครือ United Aircraft Corporation(UAC) ที่ประกอบด้วยบริษัทหลายๆย่อย เช่น

Ilyushin และ Tupolev ซึ่งเป็นผู้ออกแบบพัฒนาและสร้างเครื่องบินลำเลียงและเครื่องบินโดยสารหลักของรัสเซียนั้น ปัจจุบัน

กองทัพอากาศรัสเซียกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีหลายขนาดเพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียงรุ่นเก่า

ที่ใช้งานมาตั้งแต่สมัยอดีตสหภาพโซเวียต  โดยเฉพาะเครื่องของ Antonov ที่ปัจจุบันเป็นของยูเครน ซึ่งกองทัพรัสเซียตัดสินใจ

ที่จะไม่ดำเนินโครงการทางทหารใด ๆ ร่วมกับยูเครนแล้ว เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองที่เลวร้ายลงจาก

วิกฤตการณ์ใน Crimea และ Donbass ตั้งแต่ปี 2014



ตัวอย่างเช่นเครื่องบินลำเลียง IL-112 นั้นกองทัพอากาศรัสเซียตั้งใจจะพัฒนาขึ้นเพื่อนำมาทดแทนเครื่องบินลำเลียง An-26

ที่มีใช้งานเป็นจำนวนมากในรัสเซียและหลายประเทศทั่วโลกตั้งแต่ช่วงปี 1970s IL-112 นั้นเป็นเครื่องบินลำเลียงขนาดเบา

ใช้เครื่องยนต์ turboprops แบบ  Klimov TV7-117ST กำลังเครื่องละ 2,800 hp สองเครื่อง สามารถบรรทุกสิ่งของได้หนักสุด

6 tons ทำความเร็วได้สูงสุด 550-580 km/h(297-313knots) มีพิสัยทำการไกลสุด 1,000 km(540nmi) เมื่อบรรทุกเต็มอัตรา

และ 5,000 km(2,700nmi) เมื่อบรรทุกหนัก 2 tons  ซึ่งกองทัพอากาศรัสเซียเคยสั่งยกเลิกโครงการ IL-112 ในปี 2011 เพื่อ

จัดหา An-140 จากยูเครน ๗เครื่องสำหรับเป็นเครื่องบินลำเลียงสินค้า  แต่กองทัพอากาศรัสเซียได้อนุมัติให้ Ilyushin ดำเนิน

การพัฒนาต่อในปี 2013 และยกเลิกการจัดหา An-140 คาดว่าเครื่องต้นแบบจะมีกำหนดบินขึ้นได้ในราวปี 2017 โดยแผนการ

ดังเดิมรัสเซียต้องการจัดหา IL-112 รุ่นเครื่องบินลำเลียงทางทหารราว ๗๐ เครื่อง


ถ้าอ้างอิงจากแผนพัฒนากองทัพของกระทรวงกลาโหมเก่าซึ่งกำหนดความต้องการโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี

ขนาดกลางที่มีรายละเอียดดังนี้แล้ว

บันทึก 14 โครงการจัดหา บ.ลำเลียง ทดแทน (ระยะที่ 1)

จัดหา บ.ลำเลียง (จำนวนผู้โดยสารไม่ต่ำกว่า 40 คน น้ำหนักบรรทุกไม่ต่ำกว่า 4,000 กก.

ความเร็วเดินทางไม่ต่ำกว่า 240 นอต และพิสัยบินไม่ต่ำกว่า 1,000 ไมล์ทะเล )

จำนวน 6 เครื่อง พร้อมเครื่องมือ อุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม และเอกสารเทคนิค


IL-112 อาจจะเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ไม่น่าสนใจนักถ้าเทียบกับเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางสองเครื่องยนต์ของตะวันตก

ที่มีสมรรถนะสูงกว่า เช่น




C-27J Spartan ที่ใช้ ย.turboprops Rolls-Royce AE2100-D2A กำลังเครื่องละ 3,400 hp ทำความเร็วได้สูงสุด

325 knots บรรทุกได้หนักสุด 11.5 tons มีพิสัยทำการไกลสุด 1,000 nmi เมื่อบรรทุกหนัก 10 tons




หรือ C-295M ที่ใช้ ย.turboprops Pratt & Whitney Canada PW127G กำลังเครื่องละ 2,645 hp ทำความเร็วได้สูงสุด

311 knots บรรทุกได้หนักสุด 9.25 tons มีพิสัยทำการไกลสุด 1,000 nmi เมื่อบรรทุกเต็มอัตรา จะเห็นได้ว่าในกลุ่ม

เครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีที่มีขนาดใกล้เคียงกันนั้น IL-112 ของรัสเซียมีสมรรถนะต่ำที่สุด ดังนั้นกองทัพอากาศ

จึงอาจจะไม่สนใจ IL-112 ซึ่งยังไม่เปิดสายการผลิตในขณะนี้ครับ




ส่วนเครื่องบินลำเลียงทดแทน C-130H นั้นโครงการหนึ่งของที่น่าสนใจคือ IL-214 ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาเครื่องบิน

ลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลางร่วมระหว่าง UAC รัสเซีย และ Hindustan Aeronautics Limited(HAL)  IL-214 เป็น

เครื่องลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลางใช้เครื่องยนต์ไอพ่น turbofan แบบ Aviadvigatel PD-14M สองเครื่อง

กำลังเครื่องละ 34,392 lbf ทำความเร็วได้สูงสุด 470 knots บรรทุกได้หนักสุด 20 tons มีพิสัยทำการไกลสุด 1,755nmi

เมื่อบรรทุกเต็มอัตรา  กองทัพอากาศอินเดียต้องการนำเครื่อง IL-214 เข้าประจำการแทน An-32 ราว ๖๐ เครื่อง ซึ่งมี

กำหนดเข้าประจำการในราวปี 2018 หลังจากที่เครื่องต้นแบบเริ่มทำการบินครั้งแรกในปี 2017 เช่นเดียวกับ IL-112

แต่ก็เช่นเดียวกับ IL-112 ว่ากลุ่มเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลางสองเครื่องยนต์ไอพ่นแบบอื่นๆที่เปิดสายการ

ผลิตหรือมีเครื่องต้นแบบแล้ว เช่น

<a href="http://www.youtube.com/v/rxRDSB7rPnQ" target="_blank">http://www.youtube.com/v/rxRDSB7rPnQ</a>

Embraer KC-390 ที่ใช้ ย.turbofan แบบ IAE V2500-E5 กำลัง 31,330 lbf สองเครื่อง ทำความเร็วสูงสุด 0.8MACH

บรรทุกได้หนักสุด 23.6 tons มีพิสัยทำการไกลสุด 1,400 nmi เมื่อบรรทุกเต็มอัตรา ที่เพิ่งทำการบินครั้งแรกไปเมื่อ

๓ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น ก็เป็นเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีมาตรฐานตะวันตกที่มีหลายประเทศให้ความสนใจจัดหา

ไปประจำการเป็นจำนวนมาก  ตามที่เคยรายงานไปแล้วว่ามียอดสั่งจัดหารวมไม่ต่ำกว่า ๖๐เครื่องแล้วในขณะนี้จาก

ประเทศในกลุ่มอเมริกาใต้และยุโรป



<a href="http://www.youtube.com/v/Pbz_E02RcNQ" target="_blank">http://www.youtube.com/v/Pbz_E02RcNQ</a>

<a href="http://www.youtube.com/v/RIk_civvY7c" target="_blank">http://www.youtube.com/v/RIk_civvY7c</a>

หรือ Antonov An-178 ซึ่งเป็นเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีแบบล่าสุดของยูเครนซึ่งเพิ่งเปิดตัวจากโรงงานให้สาธาณชน

ชมเมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ที่ผ่านมาและจะมีกำหนดทำการบินครั้งแรกในราวเดือนพฤษภาคมนี้ โดย An-178 ใช้ ย.turbofan

แบบ Progress D-436-148FM กำลัง 7,880 kgf(17,372lbf) สองเครื่อง มีพิสัยทำการไกลสุด 1,000 km(540nmi)

เมื่อบรรทุกหนัก 18 tons แม้ว่าจะมีสมรรถนะน้อยกว่า IL-214 แต่ An-178 ก็ดูจะมีข้อได้เปรียบกว่าที่มีเครื่องต้นแบบจริงแล้ว

ซึ่งทาง Antonov ตั้งเป้าที่จะขาย An-178 ได้ ๒๐๐ เครื่อง ทั่วโลก (ความเห็นส่วนตัวอาจจะยากเพราะ KC-390 ดูจะมีข้อ

ได้เปรียบด้านสมรรถนะถ้าเทียบกับ An-178 และ Embraer มีโอกาสในการทำการตลาดทั่วโลกที่ดีกว่า Antonov

ซึ่งอุตสาหกรรมทางทหารเพื่อส่งออกของยูเครนได้รับผลกระทบในภาพรวมจากสงครามกับกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซีย)



และคงไม่ต้องกล่าวถึงเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์อย่าง IL-76MD-90A หรือ IL-476 อันเป็นรุ่นปรับปรุงล่าสุดของ

IL-76 ที่ออกแบบผลิตมาตั้งแต่ปี 1970s  โดยกองทัพอากาศรัสเซียสั่งจัดหาเครื่องใหม่ ๓๙เครื่อง และจะทำการปรับปรุง

IL-76MD ที่มีอยู่เดิมโดยใช้เครื่องยนต์ใหม่แบบ PS-90A-76 ระบบ Avionic ระบบควบคุมการบินใหม่ และ glass cockpit

อีกจำนวนหนึ่ง เพราะก็เหมือนกับ Boeing C-17 Globemaster III ที่ใหญ่และแพงเกินความจำเป็นสำหรับกองทัพอากาศไทย

ไปหน่อย



<a href="http://www.youtube.com/v/sh3rHL2RPYM" target="_blank">http://www.youtube.com/v/sh3rHL2RPYM</a>

ถ้ากองทัพอากาศไทยจะสนใจเครื่องบินลำเลียงขนาดหนักที่ใหญ่กว่า C-130 แล้ว Airbus A400M Atlas อย่างที่กองทัพ

อากาศมาเลเซียจัดหาไป ๔ เครื่อง ซึ่งเพิ่งได้รับมอบชุดแรกไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า โดย

A400M นั้นใช้ ย.turboprops สี่เครื่องแบบ Europrop TP400-D6 กำลังเครื่องละ 11,060 hp ทำความเร็วสูงสุด 420 knots

บรรทุกได้หนักสุด 37 tons มีพิสัยทำการไกลสุด 1,780 nmi เมื่อบรรทุกเต็มอัตรา  และตามที่เคยรายงานไปว่ากองทัพ

อากาศเยอรมนีและกองทัพอากาศสเปนต้องการจะขายเครื่องส่วนเกินที่ลดจากจำนวนที่ตนต้องการจำนวนหนึ่ง ถ้าลูกค้า

หลักของเครื่องส่วนเกินนี้ไม่ใช่เฉพาะสมาชิกในกลุ่ม NATO หรือสหภาพยุโรปก็น่าสนใจอยู่ถ้าไม่ติดขัดปัญหาอะไรกับไทย



<a href="http://www.youtube.com/v/fBsU5z7ItlI" target="_blank">http://www.youtube.com/v/fBsU5z7ItlI</a>

หรือ An-70 ของยูเครน ซึ่งใช้เครื่องยนต์ propfans แบบ Progress D-27 สี่เครื่อง กำลังเครื่องละ 13,880 hp ทำความเร็ว

ได้สูงสุด 421 knots บรรทุกได้หนักสุด 47 tons มีพิสัยทำการ 5,000 km(2,700nmi)เมื่อบรรทุกหนัก 35 tons ที่มีต้นแบบ

แล้ว ๒ เครื่อง ซึ่งกองทัพอากาศรัสเซียได้ยกเลิกการจัดหา An-70 จำนวน ๖๐ เครื่อง เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านจากปัญหาความ

สัมพันธ์ทางทหารกับยูเครนที่ได้กล่าวในข้างต้น  ตามที่เคยรายงานไปเช่นกันว่า Antonov กำลังปรับปรุงระบบอากาศยาน

ของตนให้เข้าสู่มาตรฐาน NATO เพื่อมองหาลูกค้ารายใหม่ๆในกลุ่มประเทศตะวันตกแทนรัสเซียที่ยกเลิกการจัดหาเครื่องบิน

ลำเลียงของ Antonov หลายโครงการ  (ถ้าเทียบกันแล้ว An-70 มีสมรรถนะบางด้านที่สูงกว่า A400M แต่เช่นเดียวกับการ

เปรีบเทียบระหว่าง An-178 กับ KC-390 ที่ Airbus ที่มีโอกาสในการทำการตลาดมากกว่า Antonov)


สรุปได้ในภาพรวมครับว่า ณ ขณะนี้โครงการพัฒนาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีใหม่ๆของรัสเซียเองที่พอจะน่าสนใจ

สำหรับกองทัพอากาศไทยนั้น ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาไม่มีเครื่องต้นแบบทำการบินจริงเลย  ซึ่งตรงนี้เป็นผลมาจาก

การที่รัสเซียยกเลิกโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงของ Antonov กับยูเครนเป็นจำนวนมาก เช่น An-70 และ An-140

ทำให้การพัฒนาเครื่องใหม่ทดแทนเครื่องรุ่นเก่าที่ใช้มาตั้งแต่สมัยอดีสหภาพโซเวียตเกิดความล่าช้า  ถ้ากองทัพอากาศ

ไทยจะเริ่มตั้งโครงการจัดหาเครื่อบินลำเลียงขนาดกลางใหม่หรือทดแทน C-130H ในเร็วๆนี้แล้ว  จะเห็นว่ายังมีเครื่องบิน

ลำเลียงทางยุทธวิธีแบบต่าง ๆ มีมีสายการผลิตพร้อมแล้ว รวมถึงมีความเข้ากันได้กับระบบพื้นฐานของกองทัพอากาศไทย

เป็นจำนวนมากให้สนใจเลือกพิจารณามากกว่าเครื่องบินลำเลียงของรัสเซีย  ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของท่านผู้บัญชาการ

ทหารอากาศคนปัจจุบันคือ พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ซึ่งเติบโตมาในสายนักบินเครื่องบินลำเลียงด้วยว่าจะเป็นไปใน

ทิศทางใดครับ

http://aagth1.blogspot.com/2015/05/blog-post_5.html
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
rambo1th
Hero Member
*****

คะแนน 142
ออฟไลน์

กระทู้: 1349


« ตอบ #20215 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2015, 08:52:31 PM »

ของสเปนที่เพิ่งร่วงไปนั่นรุ่นไหนนะครับ
บันทึกการเข้า
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1870
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10361



« ตอบ #20216 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2015, 02:24:57 PM »

Today is a special day of recognition for all our Mothers out there and I'd like to take this time to leave you with this thought.Happy Mother's Day!
10 พ.ค.เป็นวันแม่ของสหรัฐอเมริกา หรืออาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม  Grin

บันทึกการเข้า

..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing..
"สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #20217 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2015, 10:43:05 PM »


สหรัฐฯอนุมัติการขาย V-22 ให้ญี่ปุ่น

US approves V-22 sale to Japan



An MV-22 lands on JS Hyuga in June 2013. The US State Department has approved the possible sale of
17 of the aircraft to Tokyo. Source: US Navy
http://www.janes.com/article/51194/us-approves-v-22-sale-to-japan

ตามประกาศของสำนักงานความร่วมมือด้านความปลอดภัยความมั่นคงสหรัฐฯ (DCSA: Defense Security Cooperation

Agency) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมนั้นรายงานว่า  กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายเครื่องบิน

ลำเลียงใบพัดกระดก Bell-Boeing V-22B Block C Osprey จำนวน 17 เครื่อง วงเงิน $3 billion ซึ่งเป็นรุ่นพื้นฐานเดียวกับ

MV-22B Block C ที่ประจำการในนาวิกโยธินสหรัฐฯ โดย MV-22B Block C นั้นได้รับการติดตั้ง Radar ตรวจการณ์อากาศ,

ปรับปรุงระบบควบคุมสภาวะแวดล้อม, ระบบสงคราม electronic รุ่นใหม่ซึ่งรวมเป้าลวง Chaff Flare และปรับปรุงจอแสดงผล

ในห้องนักบินและห้อง Cabin ด้านท้ายเครื่อง  ก่อนหน้านี้กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้ประกาศเลือกแบบ V-22B Osprey ให้

กองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น(JGSDF: Japan Ground Self-Defense Force) สำหรับภารกิจช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

บรรเทาภัยพิบัติ และสนับสนุนปฏิบัติการยกพลขึ้นบก ซึ่งกองกำลังป้องกันตนเองทางบกกำลังจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการยกพล

ขึ้นบกใหม่จำนวนสองกองพลปฏิบัติการนอกประเทศขึ้นไปและสองกองพลน้อย รองรับภารกิจการบุกยึดพื้นที่คืนจากการถูก

บุกยึดเกาะที่ห่างไกลในเขตอธิปไตยของญี่ปุ่น  แม้ว่ายังไม่มีความชัดเจนว่ากองกำลังป้องกันตนเองจะนำ V-22 เข้าประจำการ

ในหน่วยใด แต่รายงานของสื่อท้องถิ่นญี่ปุ่นอ้างว่าทางกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นน่าจะนำไปประจำการที่สนามบินซางะบนเกาะคิวชู

ซึ่งใกล้กับหมู่เกาะโอกินาวะที่เป็นที่ตั้งของหน่วยยกพลขึ้นบกใหม่ของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกครับ

http://aagth1.blogspot.com/2015/05/v-22.html
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7670
ออฟไลน์

กระทู้: 10061



« ตอบ #20218 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2015, 08:00:57 AM »

55 ญี่ปุ่นมีเรือบรรทุกแล้วนี่
บันทึกการเข้า
นายฉาบฉวย
หนูจะเอา Baer
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 72
ออฟไลน์

กระทู้: 1148



เว็บไซต์
« ตอบ #20219 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2015, 08:22:35 AM »

ไม่มีครับ .... มีแต่เรือพิฆาตดาดฟ้าเรียบ ... Grin
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 ... 1345 1346 1347 [1348] 1349 1350 1351 ... 1487
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.158 วินาที กับ 21 คำสั่ง