๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
มีนาคม 28, 2024, 09:37:50 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบหลักวิธีการใช้คำนำหน้าชื่อคำว่า "ฯพณฯ"  (อ่าน 14615 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
CT_Pro4
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 537
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4869



« เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 08:14:47 PM »

...เมื่อซักครู่ผมดูข่าวโทรทัศน์ช่องหนึ่ง มีรายงานข่าวที่หัวหน้าพรรคการเมืองพรรคหนึ่งไปร่วมงาน ผมสังเกตว่าที่ผนังห้องมีการติดข้อความต้อนรับหัวหน้าพรรคท่านนี้ แต่แทนที่จะใช้คำนำหน้าชื่อว่า "นาย" หรือ "คุณ" กลับใช้คำว่า "ฯพณฯ" ซึ่งผมรู้สึกแปลกๆ และไม่แน่ใจว่าเป็นการใช้ที่ถูกต้องหรือไม่ และที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง หัวหน้าพรรคการเมืองท่านนี้ดูมีความสุขยิ้มแย้มกับการต้อนรับของคณะบุคคลกลุ่มนี้ (สงสัยท่านหัวหน้าพรรค คงคิดว่าจะได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้นกระมัง เพราะตัวท่านเองยังมีชื่อตามข่าวของสำนักต่างๆ ว่ามีโอกาสที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีในอันดับต้นๆ อีกด้วย) ...

...ผมเลยอยากสอบถามท่านที่มีความรู้ทางหลักภาษาศาสตร์การใช้คำนำหน้าชื่อ "ฯพณฯ" มีหลักการใช้อย่างไรครับ เพราะเท่าที่ผมเข้าใจและลองศึกษาดู การใช้ "ฯพณฯ" ในกรณีนี้เป็นการใช้ที่ไม่ถูกหลักการใช้งาน...

 Smiley Smiley Smiley
บันทึกการเข้า

Every problem contains the seeds of its own solution.- Stanley Arnold
RUGER
ความเกรงใจเป็นสมบัติของผู้ดี ตรองดูซีทุกคนก็มีหัวใจ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1262
ออฟไลน์

กระทู้: 23342


ฟ้าลิขิตชีวิตข้า ให้ค้าขาย


« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 08:37:30 PM »

ฯพณฯ  [พะนะท่าน] น. คํานําหน้าชื่อหรือตําแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ชั้น
 รัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น. (ย่อมาจากคํา พณหัว พณหัวเจ้า 
 พณหัวเจ้าท่าน).
บันทึกการเข้า

http://www.youtube.com/watch?v=Ci3YXN93QEs
เนื้อร้าย  ต้องตัดทิ้ง  ... 555
RUGER
ความเกรงใจเป็นสมบัติของผู้ดี ตรองดูซีทุกคนก็มีหัวใจ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1262
ออฟไลน์

กระทู้: 23342


ฟ้าลิขิตชีวิตข้า ให้ค้าขาย


« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 08:39:17 PM »

 ในปัจจุบัน การเขียนและใช้ภาษาไทยของคนไทย ยังมีข้อบกพร่องและลักลั่นกันอยู่มาก คำไทยคำหนึ่งที่มีผู้ใช้ลักลั่นอยู่คือคำว่า ฯพณฯ ซึ่งทางราชการกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เคยแจ้งทุกกระทรวงว่าคณะรัฐมนตรียกเลิกการใช้คำว่า ฯพณฯ ในหนังสือราชการ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๗ และวันที่ ๑๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๘ ก็มีหนังสือแจ้งอีกครั้งหนึ่งว่า

            “ให้ยกเลิกใช้คำว่า ฯพณฯ นำหน้านามของรัฐมนตรีหรือผู้มีเกียรติเว้นแต่ในกรณีพิเศษที่จำเป็นจริงๆ อันเกี่ยวกับการต่างประเทศ  หรือใช้เฉพาะที่เป็นคำแปลมาจากภาษาต่างประเทศเท่านั้น”

            แต่ปรากฏว่า ทุกวันนี้ ก็ยังมีหน่วยราชการ และหน่วยงานต่างๆคงใช้คำว่า ฯพณฯ นำหน้านามบุคคลอยู่

            ดังนั้น  จึงขอเสนอข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับคำว่า ฯพณฯ ดังนี้

            ๑.๑ คำว่า ฯพณฯ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หน้า ๕๗๔ อธิบายว่า ฯพณฯ (พะนะท่าน) น. คำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ชั้นรัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น (ย่อมาจากคำว่า พณหัว พณหัวเจ้า พณหัวเจ้าท่าน)

            ๑.๒ พจนานุกรมลำดับและแปลศัพท์ที่ใช้ในหนังสือไทย รศ.๑๑๐ (พ.ศ.๒๔๓๔) ฉบับกรมศึกษาธิการ นิยามคำ “พะณะ” ไว้ว่า “เป็นคำเรียกท่านเสนาบดีว่า “พะนะหัวเจ้าท่าน”

            พจนานุกรมฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ รศ.๑๒๐ นิยามคำ  ฯพณฯ  พณหัวเจ้าท่าน  ว่า เจ้า  ท่านผู้เหนือหัว

            ปทานุกรม พ.ศ.๒๔๗๐ ของกรมตำรา กระทรวงธรรมการ นิยามคำ “พณหัว” “พณหัวเจ้า” ไว้ว่า “น.พระณหัว พ่อเหนือหัวเป็นคำเรียกคนเป็นใหญ่ พณหัวเจ้าท่าน น. เป็นคำเรียกขุนนางผู้ใหญ่ชั้นเสนาบดี ให้เขียนละดังนี้ “ฯพณฯ”

            มีหลักฐานตามเอกสารเก่าที่ใช้คำว่า ฯพณฯ เช่น ในประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา ภาคที่ ๑ คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์ ๒๕๑๐ และในจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เล่ม ๔ กล่าวว่า

            “พณะหัวเจ้าท่านเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราชชาติเตโชชัย...” ซึ่งจะเห็นได้ว่าใช้คำนี้กับเสนาบดี หรือใช้นำหน้าข้าราชการระดับสูง ซึ่งมีราชทินนาม หรือมีตำแหน่งสูง

            ๑.๓ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๖ กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอให้ใช้คำว่า พณะท่าน แสดงถึงวัฒนธรรมในการใช้ภาษาไทยในลักษณะเดียวกับภาษาต่างประเทศ คือ His/Her Excelleney อักษรย่อ H.E. และคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้แจ้งกระทรวงถือปฏิบัติ (แต่ไม่ปรากฏว่าได้กำหนดว่าตำแหน่งใดจะใช้คำว่า พณะท่าน เพียงแต่มีกำหนดให้ใช้คำ ๒ คำ คือ พณะท่าน กับท่าน)

            ครั้นเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๘๗ กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือที่ นว.๑๘๒/๒๔๘๗ แจ้งทุกกระทรวงว่าคณะรัฐมนตรีมีมติยกเลิกระเบียบการใช้คำ ฯพณฯ ในหนังสือราชการและมีหนังสือที่ นว.๑๐๘/๒๕๘๘ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๘๘ แจ้งรัฐมนตรีทุกกระทรวงอีกครั้งหนึ่ง ว่า

            “ให้ยกเลิกใช้คำ ฯพณฯ นำหน้านามของรัฐมนตรี หรือผู้มีเกียรติเว้นแต่ในกรณีพิเศษที่จำเป็นจริงๆ อันเกี่ยวกับการต่างประเทศ หรือใช้เฉพาะที่เป็นคำแปลมาจากภาษาต่างประเทศเท่านั้น”

            ๑.๔ ในหนังสือ ประมวลข้อหาหรือเกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.๒๕๒๖ รวบรวมโดยสวัสดิการสำนักนายกรัฐมนตรี หน้า ๔ ตอบคำถามเกี่ยวกับการใช้คำ ฯพณฯ ว่า

            “เนื่องจากระเบียบกำหนดให้เขียนคำขึ้นต้นแล้วลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือมีไปถึง โดยให้มีคำนำหน้าตำแหน่ง จึงไม่จำเป็นต้องใช้คำขึ้นต้นต่อด้วยคำว่า “ท่าน” หรือ “ฯพณฯ” เช่น กราบเรียน นายกรัฐมนตรี เรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

            อย่างไรก็ตาม แม้มีหนังสือเวียนตามข้อ ๑.๓ และคำตอบในข้อ ๑.๘ แล้ว แต่ปรากฏว่า ในทางปฏิบัติยังมีหน่วยราชการใช้คำว่า ฯพณฯ นำหน้านามและตำแหน่งในหนังสือราชการ และในภาษาพูด เช่น คำกล่าวรายงานดังปรากฏตามข้อมูลที่ได้จากการที่สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตรวจสอบพบว่า

            ก. สำนักราชเลขาธิการ กองการในพระองค์ยังใช้คำว่า ฯพณฯ นำหน้าชื่อหรือตำแหน่ง โดยใช้เฉพาะกับประธานองคมนตรีและนายกรัฐมนตรี เนื่องจากใช้มาโดยตลอด แม้จะทราบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยระเบียบงานสารบรรณ ๒๕๒๖ ว่าไม่กำหนดให้ใช้ก็ตาม ก็ยังใช้เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการลดฐานะและถือว่าเป็นการให้เกียรติ

            ข. สำนักพระราชวัง กองพระราชพิธี (นางสาววิลาวรรณ ธันวานนท์ ผู้ยกร่างกำหนดการและหมายกำหนดการ) แจ้งว่าได้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยระเบียบงานสารบรรณ ๒๕๒๖ โดย ไม่ใช้ คำ ฯพณฯ นำหน้าชื่อหรือตำแหน่งประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี องคมนตรี หรือ รัฐมนตรี

            ค. กองกิจการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการเขียนกำหนดการ มีทั้งใช้คำว่า ฯพณฯ และไม่มี

            ง. กระทรวงการต่างประเทศ (นางทรงทรัพย์ คเชนกรชัย เจ้าหน้าที่การทูต ๗ กองแบบพิธี กรมพิธีการทูต (เป็นผู้ให้ข้อมูล) แจ้งว่า กองแบบพิธีใช้คำว่า ฯพณฯ กับเอกอัครราชทูตต่างประเทศ รัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี และบุคคลระดับสูง เช่น ประธานองคมนตรี ประธานรัฐสภา รวมทั้งข้าราชการที่เกษียณอายุของกระทรวงการต่างประเทศที่โดยดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป โดยใช้ในหนังสือราชการและบัตรเชิญ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กองแบบพิธีไม่ทราบว่า เคยมีหนังสือเวียนยกเลิกการใช้ คำว่า ฯพณฯ และไม่ได้ตรวจสอบระเบียบงานสารบรรณ

            จ. สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ยึดถือปฏิบัติตามหนังสือเวียน นว.๑๐๘/๒๔๘๘ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๘๘ ให้ยกเลิกการใช้คำว่า ฯพณฯ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ๒๕๔๖ ที่ไม่กำหนดให้ใช้คำว่า ฯพณฯ จึงไม่ใช่คำว่า ฯพณฯ นำหน้าชื่อหรือตำแหน่งใดๆ และหากมีหนังสือมาจากหน่วยราชการและใช้คำว่า ฯพณฯ สำนักอาลักษณ์ฯก็จะตัดออกเสมอ

            เมื่อมีความลักลั่นในการใช้คำว่า ฯพณฯ และประชาชนพบว่าหน่วยราชการสำคัญหลายแห่งยังคงใช้คำว่า ฯพณฯ นำหน้าตำแหน่ง ทั้งๆที่คณะรัฐมนตรีได้ประกาศยกเลิกการใช้คำว่า ฯพณฯ แล้ว ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๘๗-๒๔๘๘ จึงมีผู้สงสัยโทรศัพท์และมีหนังสือสอบถามไปยังราชบัณฑิตยสถานอยู่เสมอ ซึ่งราชบัณฑิตยสถาน ได้นำปัญหาดังกล่าวเข้าพิจารณาในคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับใช้ภาษาไทย แล้วมีมติให้ตอบผู้ถามดังนี้

            “เมื่อสำนักนายกรัฐมนตรีได้วางระเบียบงานสารบรรณให้ถือปฏิบัติในการโต้ตอบหนังสือราชการ โดยกำหนดให้เขียนคำขึ้นต้น แล้วลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือมีไปถึง โดยไม่ต้องมีคำว่า “ท่าน” หรือ ฯพณฯ ต่อท้ายคำขึ้นต้น ดังนั้น ในหนังสือราชการจึงควรถือปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว”

            ซึ่งสรุปได้ว่า ไม่ใช้คำว่า ฯพณฯ นำหน้าชื่อหรือตำแหน่ง

            ต่อมา เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๗ ในการประชุมคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ได้มอบหมายให้ คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ กรรมการ ตรวจสอบและเสนอความเห็นเกี่ยวกับคำว่า ฯพณฯ หากมีความเหมาะสมที่จะนำคำว่า ฯพณฯ กลับมาใช้ ก็จะได้ดำเนินการให้เป็นการถูกต้องต่อไป คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ ได้นำเรื่องเสนอคณะทำงานศูนย์ส่งเสริมและเผยแพร่การใช้ภาษาไทยของราชบัณฑิตยสถานแล้ว และได้พิจารณาเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กับเอกสารที่ราชบัณฑิตยสถาน ได้ประมวลไว้จากการตรวจสอบมาก่อนแล้ว และได้สรุปความเห็นเสนอรองนายกรัฐมนตรี ดังนี้

            “เนื่องจากมีหนังสือเวียนและมีระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดว่า ไม่ต้องใช้คำว่า ฯพณฯ นำหน้าชื่อและตำแหน่ง ซึ่งหน่วยราชการและหน่วยงานต่างๆพึงยึดถือปฏิบัติตาม โดยงดใช้คำว่า ฯพณฯ

            คำว่า ฯพณฯ ย่อมาจากคำว่า พณะหัวเจ้าท่าน ซึ่งแปลว่า ท่านผู้เหนือหัว ใช้เขียนนำชื่อหรือตำแหน่งเสนาบดี หรือข้าราชการระดับสูง ซึ่งในอดีตคงใช้ได้โดยเหมาะสม เพราะประเทศไทยยังปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เสนาบดี ขุนนางระดับสูงครองอำนาจยิ่งใหญ่ จึงยกย่องว่าเป็นท่านผู้อยู่เหนือหัว แต่ในปัจจุบันประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ วัฒนธรรมประเพณีมีมาแต่โบราณกาลว่า ทรงเป็น เจ้าชีวิต เพราะพระมหากษัตริย์ทรงสร้างบ้านแปลงเมือง นำความสุขความเจริญอุดมสมบูรณ์และความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ประเทศ ทั้งยังทรงขจัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ตลอดมา จึงทรงอยู่ในฐานะ “เหนือหัว” โดยชอบธรรมและเหมาะสม ส่วนคนสามัญ เมื่อบ้านเมืองปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญกำหนดให้บุคคลมีความเท่าเทียมกัน ไม่มีบุคคลใดสมควรที่จะเป็น ผู้อยู่เหนือหัวบุคคลอื่น จึงไม่ควรใช้คำว่า ฯพณฯ ซึ่งแปลว่า ท่านผู้เหนือหัว หรือพ่อเหนือหัวของบุคคลอื่น นำหน้าชื่อหรือตำแหน่งบุคคลสามัญไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด

            อนึ่ง คำว่า ฯพณฯ เป็นคำที่เขียนยากอ่านยาก ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การเขียนและการอ่านคำไทย คำเดิมที่ถูกต้องคือ พณะหัวเจ้าท่าน ต่อมา ย่อคำลงเหลือ ฯพณฯ เขียนไปยาลน้อยไว้หน้าและหลังคำว่า พณ ซึ่งเป็นการเขียนรูปศัพท์ไม่ถูกต้อง และในความเป็นจริงทั้งผู้เขียน ผู้อ่าน และผู้ถูกเรียกก็ไม่ทราบว่า หมายความว่าอย่างไร จึงเป็นการใช้คำนี้โดยไม่มีเหตุผล เพราะไม่สื่อความหมายหรือความเข้าใจที่ถูกต้อง ทั้งไม่เหมาะสมกับสภาวะสังคมในปัจจุบันด้วย

            ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติในสังคม และการใช้ถ้อยคำในภาษาทั้งภาษาราชการและภาษาพูดไม่สับสน เห็นควรยกเลิกการใช้คำว่า ฯพณฯ

            สรุป ในปัจจุบัน หากคณะรัฐมนตรี มิได้มีมติเปลี่ยนแปลงมติตามหนังสือที่ นว.๑๘๒/๒๔๘๗ ลงวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๘๗ และหนังสือที่ นว.๑๐๘/๒๔๘๘ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๘๘ ซึ่งให้ยกเลิกการใช้คำว่า ฯพณฯนำหน้าชื่อและตำแหน่ง  ก็ไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า ฯพณฯ นำหน้าชื่อและตำแหน่งทั้งในภาษาเขียนและภาษาพูด

บันทึกการเข้า

http://www.youtube.com/watch?v=Ci3YXN93QEs
เนื้อร้าย  ต้องตัดทิ้ง  ... 555
RUGER
ความเกรงใจเป็นสมบัติของผู้ดี ตรองดูซีทุกคนก็มีหัวใจ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1262
ออฟไลน์

กระทู้: 23342


ฟ้าลิขิตชีวิตข้า ให้ค้าขาย


« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 08:39:45 PM »

จากที่นี่ครับ .....  http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=3873&stissueid=2641&stcolcatid=9&stauthorid=10
บันทึกการเข้า

http://www.youtube.com/watch?v=Ci3YXN93QEs
เนื้อร้าย  ต้องตัดทิ้ง  ... 555
51
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 08:46:52 PM »

...ภาษาเขียนของหนังสือราชการ รวมถึงภาษาพูด....
คำว่า ฯพณฯ (พะ-นะ-ท่าน) ย่อมาจากคำว่า พณหัว พณหัวเจ้า พณหัวเจ้าท่าน นั้น
ได้ถูกยกเลิกการใช้คำดังกล่าว 
ตามหนังสือที่ นว.108/2488 ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2488 แล้วครับ

เว้นแต่ ในกรณีพิเศษที่จำเป็นจริง ๆ อันเกี่ยวกับการต่างประเทศ
หรือใช้เฉพาะที่เป็นคำแปลมาจากภาษาต่างประเทศเท่านั้น
เช่น   His/Her Excellency (Full name)




จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2007, 08:50:34 PM โดย 51 » บันทึกการเข้า
แจ็ค
"กำบ่มีอย่าไปอู้...กำบ่ฮู้อย่าได้จ๋า"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 461
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 7529


« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 08:53:38 PM »



พณฯ  [พะนะท่าน] น. คํานําหน้าชื่อหรือตําแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ชั้น
 รัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น. (ย่อมาจากคํา พณหัว พณหัวเจ้า 
 พณหัวเจ้าท่าน).

........................................................... ........................................................... ........................................................... .

....... ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว  ในกรณี่ที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ก็ไม่สามารถใช้คำนำหน้านี้ได้ซีครับผม ...... ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือเปล่า ........
บันทึกการเข้า

... เมื่อความกลัวถึงขีดสุด  มันจะเกิดเป็นความกล้าที่บ้าบิ่น ...
51
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 08:56:54 PM »


 ๑.๓ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๖ กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอให้ใช้คำว่า พณะท่าน
แสดงถึงวัฒนธรรมในการใช้ภาษาไทยในลักษณะเดียวกับภาษาต่างประเทศ คือ His/Her Excelleney อักษรย่อ H.E.
และคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้แจ้งกระทรวงถือปฏิบัติ
(แต่ไม่ปรากฏว่าได้กำหนดว่าตำแหน่งใดจะใช้คำว่า พณะท่าน เพียงแต่มีกำหนดให้ใช้คำ ๒ คำ คือ พณะท่าน กับท่าน)

 ครั้นเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๘๗ กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือที่ นว.๑๘๒/๒๔๘๗
แจ้งทุกกระทรวงว่าคณะรัฐมนตรีมีมติยกเลิกระเบียบการใช้คำ ฯพณฯ
ในหนังสือราชการและมีหนังสือที่ นว.๑๐๘/๒๕๘๘
ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๘๘ แจ้งรัฐมนตรีทุกกระทรวงอีกครั้งหนึ่ง ว่า

 “ให้ยกเลิกใช้คำ ฯพณฯ นำหน้านามของรัฐมนตรี หรือผู้มีเกียรติเว้นแต่ในกรณีพิเศษที่จำเป็นจริง ๆ
อันเกี่ยวกับการต่างประเทศ หรือใช้เฉพาะที่เป็นคำแปลมาจากภาษาต่างประเทศเท่านั้น”


เค้าเรียกว่า  "จับผิด" คริ คริ

บันทึกการเข้า
51
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 09:00:21 PM »



พณฯ [พะนะท่าน] น. คํานําหน้าชื่อหรือตําแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ชั้น
 รัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น. (ย่อมาจากคํา พณหัว พณหัวเจ้า
 พณหัวเจ้าท่าน).

........................................................... .............................................

....... ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว
ในกรณี่ที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ก็ไม่สามารถใช้คำนำหน้านี้ได้ซีครับผม ......
ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือเปล่า ........



 ง. กระทรวงการต่างประเทศ
(นางทรงทรัพย์ คเชนกรชัย เจ้าหน้าที่การทูต ๗ กองแบบพิธี กรมพิธีการทูต ในขณะนั้น)
เป็นผู้ให้ข้อมูล    แจ้งว่า

กองแบบพิธีใช้คำว่า ฯพณฯ กับเอกอัครราชทูตต่างประเทศ รัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี
และบุคคลระดับสูง เช่น ประธานองคมนตรี ประธานรัฐสภา
รวมทั้งข้าราชการที่เกษียณอายุของกระทรวงการต่างประเทศที่โดยดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป
โดยใช้ในหนังสือราชการและบัตรเชิญ

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กองแบบพิธีไม่ทราบว่า
เคยมีหนังสือเวียนยกเลิกการใช้ คำว่า ฯพณฯ
และไม่ได้ตรวจสอบระเบียบงานสารบรรณ


จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2007, 09:02:16 PM โดย 51 » บันทึกการเข้า
rockguns
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 09:23:10 PM »

        เดี๋ยวนี้ใช้ศัพท์กันมั่วไปหมด  เมื่อวันเสาร์ที่ 8 เวลาตี 4  ข่าวเช้าช่อง 3 ผู้ประกาศข่าวหญิงสองท่านอ่านข่าวเกี่ยวการค้นหาพี่น้องของช้างเผือก "พระเศวตคชรักษ์" ในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนย  เรียกลักษณะนามของช้างว่า "ตัว " ครับไม่รู้สอบเป็นผู้ประกาศข่าวได้อย่างไร ช้างมีลักษณะนาม เรียกว่า "เชือก"  ใช้อ่านไปได้อย่างไร ทั้งภาพข่าวทีมีทั้งพระเจ้าอยู่หัวประกอบหัวข้อข่าวใหญ่  ชุ่ยมาก ไม่รู้จะติงได้อย่างไรให้ออกมาอ่านไหมดีไหม ใครทราบวิธีแจ้งข่าวนี้ทางช่อง 3 บ้างครับ จรรโลงภาษาไทยให้ถูกต้องด้วย ช้างเผือกถือเป็นช้างคู่บารมีของพระมหากษัตรย์เชียวนะให้สำคัญกันด้วย
บันทึกการเข้า
word
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 3
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 266


« ตอบ #9 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 09:24:59 PM »

 Smiley Smiley Smileyสวัสดีครับ เห็นใช้กันมากครับได้รับทราบข้อมูลแบบนี้ผมคงไม่กล้าใช้ครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
มะขิ่น
Hero Member
*****

คะแนน 2453
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17813


"ทหารแก่ไม่มีวันตาย แต่จะค่อยๆเลือนหายไป"


« ตอบ #10 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 09:43:38 PM »

ลักษณะนามของช้าง ที่คล้องมาแล้วได้รับการฝึกใช้งานแล้ว เรียกว่า "เชือก".............

ส่วนช้างป่า เรียกว่า"ตัว" ................เหมือนสัตว์อื่นๆครับ
บันทึกการเข้า

อย่าดึงฟ้าต่ำ  อย่าทำหินแตก  อย่าแยกแผ่นดิน
วัฒน์
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4114
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17223


เนรเทศยกโคตรดีกว่านิรโทษยกเข่ง


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 09:54:03 PM »

เดี๋ยวนี้ใช้ศัพท์กันมั่วไปหมด เมื่อวันเสาร์ที่ 8 เวลาตี 4 ข่าวเช้าช่อง 3 ผู้ประกาศข่าวหญิงสองท่านอ่านข่าวเกี่ยวการค้นหาพี่น้องของช้างเผือก "พระเศวตคชรักษ์" ในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนย เรียกลักษณะนามของช้างว่า "ตัว " ครับไม่รู้สอบเป็นผู้ประกาศข่าวได้อย่างไร ช้างมีลักษณะนาม เรียกว่า "เชือก" ใช้อ่านไปได้อย่างไร ทั้งภาพข่าวทีมีทั้งพระเจ้าอยู่หัวประกอบหัวข้อข่าวใหญ่ ชุ่ยมาก ไม่รู้จะติงได้อย่างไรให้ออกมาอ่านไหมดีไหม ใครทราบวิธีแจ้งข่าวนี้ทางช่อง 3 บ้างครับ จรรโลงภาษาไทยให้ถูกต้องด้วย ช้างเผือกถือเป็นช้างคู่บารมีของพระมหากษัตรย์เชียวนะให้สำคัญกันด้วย

 Smiley เข้าใจผิดแล้วครับ คุณ.rockguns ที่ถูกต้องตามนี้ครับ

ที่ถูกต้อง การเรียกขานช้างนั้น
- ช้างเผือกหรือช้างต้น เรียกว่า “ช้าง”
- ช้างเลี้ยง เรียกว่า “เชือก”
- ช้างป่า เรียกว่า “ตัว”

 ช้างเผือกตามตำราคชลักษณ์


                   ช้างเผือกตามตำราคชลักษณ์นั้นแบ่งออกเป็น  3  ประเภท  และมีลักษณะอันเป็นมงคล  7  ประการ    คือ  มีตาขาว  เพดานขาว  เล็บขาว  ผิวหนังสีขาวหรือสีหม้อใหม่  ขนขาว  ขนหางยาว  และอัณฑโกศสีขาวหรือสีหม้อใหม่  คือ

                       1.  ช้างเผือกเอก  เรียกว่า  สารเศวตร  หรือ  สารเศวตพรรณ  เป็นช้างเผือกที่มีลักษณะถูกต้องสมบูรณ์ตามตำราคชลักษณ์และมีลักษณะพิเศษ  คือ  ร่างใหญ่  ผิวขาวบริสุทธิ์  สีดุจสีสังข์  เป็นช้างมงคลคู่บ้านคู่เมือง

                       2.  ช้างเผือกโท  เรียกว่า  ปทุมหัตถี  มีผิวสีชมพูดูคล้ายสีกลีบดอกบัวแดงแห้ง  เป็นช้างมงคลเหมาะแก่การศึก

                       3.  ช้างเผือกตรี  เรียกว่า    เศวตรคชลักษณ์  มีสีดุจใบตองอ่อนตากแห้ง  เป็นช้างมงคล

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2007, 10:05:48 PM โดย วัฒน์ » บันทึกการเข้า

ฟ้าและดินไม่เห็นไม่เป็นไร ไม่ได้หวังให้ใครจดจำ
แม้ยากเย็นแค่ไหน ไม่เคยบ่นสักคำ ไม่มีใครจดจำ แต่เราก็ยังภูมิใจ

จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา จะยอมรับโชคชะตาไม่ว่าดีร้าย
ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ถึงเวลาก็ต้องไป เหลือไว้แต่คุณงามความดี
SD282
Full Member
***

คะแนน 22
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 261



« ตอบ #12 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 10:41:27 PM »

กระทู้น้เนื้อหาแน่นจริงๆ ขอเก็บข้อมูลด้วยครับ Wink
บันทึกการเข้า
FUFUFUFU
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 10:41:51 PM »

   คุณวัฒน์ ครับ พอจะหารูปให้ชมได้ไหมครับทั้งช้าง เอก โท ตรี อยากเห็นเป็นบุญตาหน่อยครับ
บันทึกการเข้า
e.k.1911
ถ้าคนดีอยู่ในหมู่บ้านของชนเหล่าใด ความสุขและผลจักมีแก่ชนเหล่านั้น
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 251
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2809


Still Loving COLT


« ตอบ #14 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 10:45:08 PM »

เข้ามาเก็บความรู้เต็มๆครับ
ขอบคุณมากๆครับ
บันทึกการเข้า

โปรดจงเอาดอกไม้เสียบไว้ที่ปลายปืน  แล้วหยิบยื่นไมตรีมิตรให้แก่กัน
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.108 วินาที กับ 21 คำสั่ง