๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
มีนาคม 29, 2024, 10:41:05 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 6 7 8 [9] 10 11 12 ... 21
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รวมคำพิพากษาฎีกาที่มีประโยชน์  (อ่าน 267412 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Giant.
ชาว อวป.
Jr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 34



« ตอบ #120 เมื่อ: มีนาคม 29, 2008, 11:47:08 AM »

 Angry Angry Angry
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 14, 2008, 08:11:48 PM โดย Giant. » บันทึกการเข้า

                                                                              
CZ17
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #121 เมื่อ: เมษายน 02, 2008, 08:19:46 AM »

ผมได้ความรู้มากเลยครับ....
บันทึกการเข้า
fu5503
Jr. Member
**

คะแนน 3
ออฟไลน์

กระทู้: 78


« ตอบ #122 เมื่อ: เมษายน 07, 2008, 10:39:39 PM »

 Cheesy Cheesy Cheesyความรู้ดีครับ
บันทึกการเข้า
glocky
Jr. Member
**

คะแนน 7
ออฟไลน์

กระทู้: 53


« ตอบ #123 เมื่อ: เมษายน 22, 2008, 12:15:12 PM »

รบกวนถามหน่อยค่ะ ว่าถ้ามีปลอกกระสุนที่ขัดแล้ว 1000 ปลอก ในขนาดเดียวกับที่ใช้ในปืนที่เป็นของเราโดยไม่มีปืนหรืออื่นๆด้วยในกระเป๋านี่ผิดอะไรไหมคะ และสมมติว่าเราอ้างจะเอาไปปลุกเสกหรือทำงานศิลปะล่ะคะได้ไหม
บันทึกการเข้า
countrypolice
Full Member
***

คะแนน 4
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 111


« ตอบ #124 เมื่อ: เมษายน 28, 2008, 06:36:01 PM »

รบกวนถามหน่อยค่ะ ว่าถ้ามีปลอกกระสุนที่ขัดแล้ว 1000 ปลอก ในขนาดเดียวกับที่ใช้ในปืนที่เป็นของเราโดยไม่มีปืนหรืออื่นๆด้วยในกระเป๋านี่ผิดอะไรไหมคะ และสมมติว่าเราอ้างจะเอาไปปลุกเสกหรือทำงานศิลปะล่ะคะได้ไหม
ปลอกกระสุนโดยสภาพแล้วไม่สามารถนำไปใช้งานได้และไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด มีได้ครับไม่มีปัญหา ฉีกธง ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

เรารักพระเจ้าอยู่หัว
glocky
Jr. Member
**

คะแนน 7
ออฟไลน์

กระทู้: 53


« ตอบ #125 เมื่อ: เมษายน 29, 2008, 04:10:05 AM »

แล้วอย่างนี้ขนมาจากเมืองนอกใส่กระเป๋าเดินทางมา ถ้าโดนเรียกตรวจจะเถียงว่าไงคะ เพราะเขาอาจอ้างว่าเช่นลำกล้องเฉยๆก็ไม่มีสภาพเป็นอันตรายแต่ถือว่าเป็นส่วนของปืนเช่นเดียวกับที่ปลอกเป็นส่วนของเครื่องกระสุนได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
ธำรง
Hero Member
*****

คะแนน 1734
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8577


.....รักในหลวง.....


« ตอบ #126 เมื่อ: เมษายน 29, 2008, 07:59:19 AM »

แล้วอย่างนี้ขนมาจากเมืองนอกใส่กระเป๋าเดินทางมา ถ้าโดนเรียกตรวจจะเถียงว่าไงคะ เพราะเขาอาจอ้างว่าเช่นลำกล้องเฉยๆก็ไม่มีสภาพเป็นอันตรายแต่ถือว่าเป็นส่วนของปืนเช่นเดียวกับที่ปลอกเป็นส่วนของเครื่องกระสุนได้ไหมคะ

ตั้งโจทย์ตุ๊กตา...ถ้า..........ถามเล่นๆหรือคิดจะทำจริงๆ Wink
ขนปลอกกระสุน1000ปลอกมาจากเมืองนอกใส่กระเป๋าเดินทางมา ภาษิตไทยเรียกว่า แกว่งเท้าหาเสี้ยน จะได้ออกจากต้นทางมารึเปล่า  Shocked
ถ้าอยากทำก็เตรียมหลักฐานให้พร้อม.....ทั้งสิทธิการครอบครองและเจตนาในการครอบครอง......
มาถึงบ้านเรา....จะเถียงอย่างไร จนท.ก็ตั้งข้อกล่าวหาไว้ก่อนได้....เตรียมหลักทรัพย์เผื่อต้องประกันตัวไว้ด้วยก็ดีครับ.... Grin




บันทึกการเข้า
countrypolice
Full Member
***

คะแนน 4
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 111


« ตอบ #127 เมื่อ: เมษายน 29, 2008, 07:06:39 PM »

แล้วอย่างนี้ขนมาจากเมืองนอกใส่กระเป๋าเดินทางมา ถ้าโดนเรียกตรวจจะเถียงว่าไงคะ เพราะเขาอาจอ้างว่าเช่นลำกล้องเฉยๆก็ไม่มีสภาพเป็นอันตรายแต่ถือว่าเป็นส่วนของปืนเช่นเดียวกับที่ปลอกเป็นส่วนของเครื่องกระสุนได้ไหมคะ
ผมก็นึกว่ามีไว้กับตัวตามปกติหรือไม่ก็เอาไปเสกเป็นตะกรุดหรือทำเครื่องประดับอะไรทำนองนั้น ไม่ทราบว่าจะขนมาจากเมืองนอก ถ้าอย่างนั้นล่ะก็เตรียมจ้างทนายรอไว้ดีกว่า
เหมือนที่คุณธำรงว่า แกว่งเท้าหาเสี้ยน ครับ อ๋อย
บันทึกการเข้า

เรารักพระเจ้าอยู่หัว
พญายอง
Full Member
***

คะแนน 9
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 265



« ตอบ #128 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2008, 04:51:00 PM »

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๙๔๒/๒๕๕๐
           พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา ๘ ทวิ วรรคหนึ่ง และ ป.อ. มาตรา ๓๗๑ มิได้กำหนดองค์ประกอบในการกระทำความผิดว่าอาวุธปืน หรือ
อาวุธที่พาไปต้องเป็นอาวุธที่สามารถใช้ได้ทันที ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะพาอาวุธปืนของกลางไปโดยมีกระสุนปืนอยู่ในรังเพลิงหรือไหม่ก็ตาม
ก็ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา ๘ ทวิ และ ป.อ. มาตรา ๓๗๑ แล้ว
                                                                                                                                                                เล่มที่ ๖หน้า ๑๓๗
บันทึกการเข้า
ธำรง
Hero Member
*****

คะแนน 1734
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8577


.....รักในหลวง.....


« ตอบ #129 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2008, 08:57:21 PM »

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๙๔๒/๒๕๕๐
           พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา ๘ ทวิ วรรคหนึ่ง และ ป.อ. มาตรา ๓๗๑ มิได้กำหนดองค์ประกอบในการกระทำความผิดว่าอาวุธปืน หรือ
อาวุธที่พาไปต้องเป็นอาวุธที่สามารถใช้ได้ทันที ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะพาอาวุธปืนของกลางไปโดยมีกระสุนปืนอยู่ในรังเพลิงหรือไหม่ก็ตาม
ก็ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา ๘ ทวิ และ ป.อ. มาตรา ๓๗๑ แล้ว
                                                                                                                                                                เล่มที่ ๖หน้า ๑๓๗


ขออนุญาตคุณพญายอง คัดลอกข้อความที่คุณพญายองโพสไว้ในอีกกระทู้.....เพราะเห็นว่ามีรายละเอียดเพิ่มเติมใส่ในวงเล็บ ให้ทราบข้อเท็จจริงแห่งคดีไว้ด้วย  ไหว้

ลองดูคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๙๔๒/๒๕๕๐ ว่าไว้ดังนี้ครับ
         
           พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา ๘ ทิว วรรคหนึ่ง และ ป.อ. มาตรา ๓๗๑ มิได้กำหนดองค์ประกอบในการกระทำความผิดว่าอาวุธปืน หรือ
อาวุธที่พาไปต้องเป็นอาวุธปืนหรืออาวุธที่สามารถใช้ได้ทันที ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะพาอาวุธปืนของกลางไปโดยมีกระสุนปืนอยู่ในรังเพลิง
หรือไม่ก็ตาม ก็ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา ๘ ทวิ และ ป.อ. มาตรา ๓๗๑ แล้ว
(ในคดีนี้ ศาลชั้นต้นลงโทษ ฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก ๑ ปี และฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้ใบอนุญาต เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯอันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก ๖ เดือน รวมจำคุก ๑ ปี ๖ เดือน จำเลยอุทธรณ์ และฎีกา ขอให้รอการลงโทษ อ้างว่า
อาวุธปืนของกลางไม่มีกระสุนอยู่ในรังเพลิง ไม่สามารถใช้อาวุธปืนของกลางได้ทันที ศาลฎีกาพิพากษายืน)

ผมยังสอบค้นรายละเอียด ฎีกาที่ ๔๙๔๒/๒๕๕๐ ไม่ได้ อยากเห็นทั้งบทคัดย่อและตัวเต็มครับ  Smiley
บันทึกการเข้า
big_2520
Newbie
*

คะแนน 0
ออฟไลน์

กระทู้: 1


« ตอบ #130 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2008, 11:38:22 PM »

ขอบคุณมากๆ ครับ
บันทึกการเข้า
พญายอง
Full Member
***

คะแนน 9
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 265



« ตอบ #131 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2008, 11:24:29 AM »

ท่านธำรงครับ ผมค้นคำพิพากษาศาลฎีกา ฉบับเต็มได้ดังนี้ครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๙๔๒/๒๕๕๐
          พนักงานอัยการจังหวัดนครปฐม                        โจทก์
          นายวรพจน์ หรือเบิร์ด  กัลยาพิเชษฐ์                  จำเลย
อาญา พกพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะ (มาตรา ๓๗๑)
พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ (มาตรา ๘ ทวิ วรรคหนึ่ง)
         
          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
พ.ศ. ๒๔๙๐ มาตรา ๗ , ๘ ทิว , ๗๒ , ๗๒ ทวิ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๓๒ , ๓๓ , ๙๑ , ๓๗๑ และริบของกลาง
          จำเลยให้การปฏิเสธ
          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและ
สิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ มาตรา ๗,๘ ทวิ วรรคหนึ่ง,๗๒ วรรคหนึ่ง,๗๒ ทวิ วรรคสอง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๗๑
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก ๑ ปี และฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ
โดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
อันเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษหนักที่สุด จำคุก ๖ เดือน รวมจำคุก ๑ ปี ๖ เดือน คำให้การสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๗๘ คงจำคุก ๑ ปี ริบของกลาง
          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ ภาค ๗ พิพากษายืน
          จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในองค์คณะในคำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
          ศาลฎีการวินิจฉัยว่า "...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง เจ้าพนักงาน
ตำรวจจับกุมจำเลยพร้อมยึดได้อาวุธปืนสั้นออโตเมติกขนาด .๔๕ ไม่มีเครื่องหมายทะเบียน กระสุนปืน ๗ นัด และซองกระสุนปืน
๑ ซองเป็นของกลาง มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่า จำเลยกระทำความผิดตามที่ศาลล่างทั้งสองศาลพิพากษา
ลงโทษหรือไม่ โจทก์มีจ่าสิบตำรวจสนิท  ดอนทองแดง และจ่าสิบตำรวจสัญญา  ลิบไพรวัลย์ ผู้ร่วมจับกุมเป็นพยานเบิกความว่า
วันเกิดเหตุจ่าสิบตำรวจสัญญาได้รับแจ้งทางโทรศัพท์จากผู้หญิงคนหนึ่งว่า จำเลยจะขับรถจักรยานยนต์ไปเอายาเสพติดให้โทษ
โดยจำเลยพกพาอาวุธปืนไปด้วยให้ไปดักจับที่บ้านจำเลยในซอยข้างปั๊มน้ำมันสุนทรีออยล์ พยานทั้งสองกับพวกจึงไปยังบริเวณ
บ้านจำเลย พบจำเลยขับรถจักรยานยนต์มาจอดหน้าบ้าน พยานทั้งสองแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยวิ่งหลบหนีโดยวิ่งวน
รอบบ้าน ระหว่างวิ่งจำเลยชักอาวุธปืนสั้นออกจากเอวโยนทิ้งไปที่พงหญ้าข้างบ้าน จ่าสิบตำรวจสัญญาหยิบอาวุธปืนดังกล่าวขึ้นมา
ต่อมาจ่าสิบตำรวจสนิทจับกุมจำเลยได้ชั้นจับกุมจำเลยให้การรับสารภาพ เห็นว่า พยานโจทก์ทั้งสองไปบ้านเกิดเหตุเพื่อจับกุมจำเลย
ตามที่ได้รับแจ้งจากพลเมืองดีว่า จำเลยไปเอายาเสพติดให้โทษโดยพกอาวุธปืนไปด้วย เชื่อได้ว่าพยานโจทก์ทั้งสองไปเพื่อตรวจค้น
จำเลยจับกุมจำเลยตามอำนาจหน้าที่ พยานโจทก์ทั้งสองต่างเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ โดยไม่ปรากฏว่าเคยรู้จักหรือมีสาเหตุโกรธเคือง
กับจำเลยมาก่อน จึงไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำจำเลย เมื่อจำเลยเห็นพยานโจทก์ทั้งสอง จำเลยวิ่งหลบหนีอันเป็นพิรุธ
ส่อให้เห็นว่าจำเลยมีสิ่งของผิดกฎหมายอยู่ในครอบครอง ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน พยานโจทก์ทั้งสองวิ่งไล่ตามจำเลยระยะห่างประมาณ ๑๐ เมตร เชื่อว่าพยานโจทก์ทั้งสองเห็นจำเลยโยนอาวุธปืนของกลางทิ้งไปที่พงหญ้า เมื่อจำเลยโยนอาวุธปืนดังกล่าวทิ้ง
จ่าสิบตำรวจสัญญาเก็บอาวุธปืนของกลางทันที ทั้งชั้นจับกุมจำเลยก็ให้การรับสารภาพตามบันทึกการจับกุม นอกจากนี้โจทก์ยังมี
พันตำรวจตรีพัฒนา  ฉายาวัฒน์ พนักงานสอบสวนเบิกความว่า ชั้นสอบสวน จำเลยให้การรับสารภาพตามบันทึกคำให้การ
เมื่อรับฟังประกอบคำเบิกความของจ่าสิบตำรวจสนิทและจ่าสิบตำรวจสัญญาแล้ว พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคง ที่จำเลยฎีกาว่า บริเวณหน้าบ้านเกิดเหตุมีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จ่าสิบตำรวจสนิทและจ่าสิบตำรวจสัญญาต้องวิ่งติดตามจำเลยและกระโดด
ข้ามสิ่งกีดขวาง ไม่น่าเชื่อว่าจะเห็นจำเลยโยนอาวุธปืนของกลางทิ้งนั้น เห็นว่า พยานโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานตำรวจวิ่งติดตาม
จับกุมจำเลยไปในระยะใกล้ ย่อมต้องสังเกตุการกระทำของจำเลยเพื่อจะได้สามารถติดตามจับกุมจำเลยได้ทัน แม้บริเวณที่เกิดเหตุ
ทีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดใหญ่กับพยานโจทก์ต้องกระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง ก็ไม่เป็นเหตุให้คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองรับฟัง
ไม่ได้ ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่นำหญิงพลเมืองดีผู้แจ้งเหตุมาเบิกความเป็นพยานและไม่นำอาวุธปืนของกลางอ้างส่งต่อศาลเพื่อให้จำเลยรับรองว่าเป็นอาวุธของกลางจริง กับพนักงานสอบสวนไม่ได้ตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือบนอาวุธปืนของกลาง เพื่อยืนยันว่าเป็นอาวุธของกลางจำเลยจริงนั้น เห็นว่า โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลใดหรืออ้างส่งวัตถุของกลางใดต่อศาล กับพนักงานสอบสวนจะตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือ
บนอาวุธปืนของกลางหรือไม่ เป็นดุลพินิจของโจทก์และพนักงานสอบสวน การที่โจทก์และพนักงานสอบสวนไม่ดำเนินการดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามที่พยานผู้จับกุมเบิกความ ทั้งคดีนี้มีจ่าสิบตำรวจสนิทและจ่าสิบตำรวจสัญญาผู้ร่วมจับกุมเป็น
ประจักษ์พยานเห็นจำเลยโยนอาวุธปืนของกลางทิ้ง จึงรับฟังคำเบิกความของพยานผู้จบกุมได้ ที่จำเลยฎีกาว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยคดีนี้ตามบันทึกการจับกุม และจับกุมจำเลยในข้อหาร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามคำร้องขอฝากขัง
ผู้ต้องหาครั้งที่ ๑ เวลาเดียวกัน เป็นพิรุธนั้น เห็นว่า เวลาจับกุมจำเลยตามบันทึกการจับกุม และตามคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ ๑
เป็นเพียงระยะเวลาที่ผู้จับกุม และพนักงานสอบสวนประมาณคร่าว ๆ เท่านั้น ทั้งจำเลยเบิกความรับว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยก่อนแล้วจึงพาไปบ้านนายโอดำ ตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีน จึงไม่เป็นพิรุธถึงกับทำให้คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองเสียไปจนรับฟัง
ไม่ได้ ที่จำเลยฎีกาว่า จ่าสิบตำรวจสนิทและจ่าสิบตำรวจสัญญาเบิกความแตกต่างกันเกี่ยวกับการวิ่งหลบหนีของจำเลยและอาวุธปืน
ของกลางนั้น เห็นว่าข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดมิใช่สาระสำคัญจนถึงกับทำให้คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองไม่มี
น้ำหนักรับฟัง ที่จำเลยฎีกาว่า พยานโจทก์ได้รับแจ้งเรื่องอาวุธปืน ไม่ได้รับแจ้งเรื่องยาเสพติดให้โทษ แต่มีการสอบถามจำเลยเรื่อง
ยาเสพติดให้โทษเป็นพิรุธนั้น เห็นว่า จ่าสิบตำรวจสัญญาซึ่งเป็นผู้รับแจ้งจากหญิงพลเมืองดีเบิกความว่า ได้รับแจ้งว่าจำเลยจะขับรถจักรยานยนต์ไปเอายาเสพติดให้โทษโดยพกอาวุธปืนไปด้วย ทั้งบันทึกการจับกุมก็ระบุว่านำตัวจำเลยส่งสถานีตำรวจภูธรตำบล
สามควายเผือก เพื่อดำเนินคดีในข้อหามียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายสอดคล้องกับคำเบิกความของจ่าสิบตำรวจ
สัญญา พยานโจทก์จึงไม่เป็นพิรุธ และที่จำเลยฎีกาว่า เจ้าพนักงานตำรวจพบอาวุธปืนของกลางโดยกระสุนปืนของกลางไม่อยู่ในรังเพลิง
ไม่สามารถใช้อาวุธปืนของกลางได้ทันที จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา ๘ ทวิ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๗๑ นั้น เห็นว่า พระราบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา ๘ ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง
หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว" และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๗๑ บัญญัติว่า "ผู้ใดพา
อาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผย หรือโดยไม่มีเหตุสมควร...ต้องระวางโทษ..." โดยมิได้กำหนดองค์ประกอบ
ในการกระทำความผิดว่าอาวุธปืนหรืออาวุธที่พาไปต้องเป็นอาวุธปืนหรืออาวุธที่สามารถใช้ได้ทันที ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะพาอาวุธปืน
ของกลางไปโดยมีกระสุนปืนอยู่ในรังเพลิงหรือไม่ก็ตาม ก็ครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา ๘ ทวิ และ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๗๑ แล้ว สำหรับฎีกาข้ออื่นของจำเลยเกี่ยวกับการกระทำความผิดไม่ใช่ข้อสาระสำคัญที่จะทำให้ผล
ของคำพิพากษาเปลี่ยนแปลง จึงไม่จำต้องยกขึ้นวินิจฉัยให้ พยานหลักฐานจำเลยไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ ที่ศาลล่าง
ทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
          มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปว่า สมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่ เห็นว่า จำเลยมีและ
อาวุธปืนของกลางติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายและเป็นอันตรายต่อผู้อื่นอย่างยิ่ง ทั้งหากจำเลย
ใช้อาวุธปืนดังกล่าว ก่อเหตุใด ๆ ขึ้น ย่อมยากแก่การตรวจสอบหาตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริง พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรง
แม้จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและมีภาระต้องอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวก็ยังไม่เป็นเหตุอันควรให้ความปราณีแก่จำเลย
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๗ ไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นเช่นกัน"
          พิพากษายืน

(คำพิพากษาฎีกา พ.ศ. ๒๕๕๐ เล่มที่ ๖ หน้า ๑๓๗ ของบริการสำนักงานศาลยุติธรรม บริการสวัสดิการศาลฎีกา)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 13, 2008, 06:44:11 PM โดย พญายอง » บันทึกการเข้า
ธำรง
Hero Member
*****

คะแนน 1734
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8577


.....รักในหลวง.....


« ตอบ #132 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2008, 12:19:38 PM »

 
ปืนเถื่อนแม้จะโยนทิ้งให้พ้นตัว....จะดิ้น จะตะแบงอย่างไร ก็ไม่พ้นผิด

ไหว้ขอบคุณท่านพญายองที่กรุณานำรายละเอียดมาให้ได้ทราบครับ ไหว้

ตอนแรกที่ผมวิตกว่า จะไปหักล้างคำพิพากษาฯที่ ๓๙๔๕/๒๕๔๐ ที่เคยวินิจฉัยเป็นคุณแก่ผู้สุจริต   Smiley

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 10, 2008, 12:22:07 PM โดย ธำรง » บันทึกการเข้า
POM_II
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 34
ออฟไลน์

กระทู้: 468


« ตอบ #133 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 07:40:15 PM »

ขอบคุณทุกๆ ท่านเลยครับเป็นประโยนช์และความรู้มากๆ เลย  เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม
บันทึกการเข้า
C.J. - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 314
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5380


ขอ...นัดเดียว


เว็บไซต์
« ตอบ #134 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2008, 02:40:48 PM »

น่าจะพอมีประโยชน์...กรณีเพื่อนยืมปืนไปเที่ยวป่า.... Grin

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2677/2521
ป.อ. มาตรา 33, 36

           พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 29 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 มาตรา 47ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 228 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2515 ข้อ 18 บัญญัติในทำนองเดียวกันว่า "บรรดาอาวุธเครื่องมือ เครื่องใช้ ฯลฯ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้นโดยมิต้องคำนึงว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือไม่" นั้น แม้จะบัญญัติให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้ด้วยก็ตาม แต่มิได้บัญญัติมีข้อความระบุถึงกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จะตีความว่าบทบัญญัติดังกล่าวมีความมุ่งหมายให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดด้วยหาได้ไม่ กรณีจึงตกอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงมีสิทธิร้องขออาวุธปืนของกลางคืนได้

______________________________

           คดีนี้สืบเนื่องจากศาลพิพากษาลงโทษจำเลยและริบอาวุธปืนของกลางในความผิดฐานนำอาวุธปืนเข้าไปภายในเขตอุทยานแห่งชาติ แล้วใช้อาวุธปืนนั้นล่าสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลว่าอาวุธปืนเดี่ยวลูกซองยาวขนาด 12 หมายเลขทะเบียน 1980951 ของกลางที่ศาลสั่งริบเป็นของผู้ร้องตามภาพถ่ายใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนท้ายคำร้องผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการที่จำเลยกระทำความผิดจึงขอคืน

          โจทก์คัดค้านว่า อาวุธปืนของกลางดังกล่าวเป็นของต้องริบตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 29 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 มาตรา 47 แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 228 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2515 ข้อ 18 แม้จะเป็นของผู้ร้องและผู้ร้องไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดก็ตาม

          ผู้ร้องและโจทก์ต่างไม่สืบพยาน โดยโจทก์แถลงยอมรับข้อเท็จจริงว่าอาวุธปืนของกลางที่ผู้ร้องขอคืนเป็นของผู้ร้อง และผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย แต่ขอต่อสู้ในข้อกฎหมายตามที่กล่าวข้างต้น


          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว มีคำสั่งคืนอาวุธปืนของกลางให้แก่ผู้ร้อง


          โจทก์อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

          โจทก์ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504มาตรา 29 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 มาตรา 47แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 228 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2515 ข้อ 18บัญญัติในเรื่องริบทรัพย์สินในทำนองเดียวกันว่า "บรรดาอาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้น โดยมิต้องคำนึงว่าเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือไม่" พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้แม้จะบัญญัติให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้ด้วยก็ตาม แต่มิได้บัญญัติมีข้อความระบุถึงกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ฉะนั้น จะตีความว่าบทบัญญัติให้ริบทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีความมุ่งหมายให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดด้วยหาได้ไม่ กรณีจึงตกอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงมีสิทธิร้องขออาวุธปืนของกลางคืนได้
          พิพากษายืน
บันทึกการเข้า

ธรรมของสัตบุรุษ

๑. ธัมมัญญุตา - รู้จักเหตุ ๒. อัตตัญญุตา - รู้จักผล ๓. อัตตัญญุตา - รู้จักตน ๔. มัตตัญญุตา - รู้ประมาณ ๕. กาลัญญุตา - รู้จักกาล ๖. ปริสัญญญุตา - รู้จักประชุมชน ๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา - รู้จักเลือกบุคคล

http://www.dopaservice.com/eservice/content.do?ctm_id=gun&function=document&gro
หน้า: 1 ... 6 7 8 [9] 10 11 12 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.572 วินาที กับ 22 คำสั่ง