๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
มีนาคม 29, 2024, 07:45:28 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 18 19 20 [21] 22 23 24 ... 28
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สะกดผิดกันบ่อยจังเลย  (อ่าน 201796 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
npnett
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 51
ออฟไลน์

กระทู้: 626



« ตอบ #300 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2009, 11:06:17 AM »

หลังจากพิมพ์ข้อความแล้ว    ผมจะทวนคำผิดอีกครั้งหนึ่ง   แล้วจึงกดตั้งกระทู้

บางครั้งพบว่าสะกดผิด  หลังจากที่ตั้งกระทู้ไปแล้ว  ก็จะรีบแก้ไข

ไม่อยากปล่อยคำผิด ทิ้งไว้     เพราะ ผม อาย ครับ   

อาย ไม่อยากให้ใครทราบว่า เรียนมาน้อย  ครับ    ไหว้
บันทึกการเข้า
JOKER48111 **รักเมืองไทย_รักในหลวง**
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 92
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1977



« ตอบ #301 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2009, 11:45:10 PM »

หลังจากพิมพ์ข้อความแล้ว    ผมจะทวนคำผิดอีกครั้งหนึ่ง   แล้วจึงกดตั้งกระทู้

บางครั้งพบว่าสะกดผิด  หลังจากที่ตั้งกระทู้ไปแล้ว  ก็จะรีบแก้ไข

ไม่อยากปล่อยคำผิด ทิ้งไว้     เพราะ ผม อาย ครับ   

อาย ไม่อยากให้ใครทราบว่า เรียนมาน้อย  ครับ    ไหว้

 เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม
บันทึกการเข้า

ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
    เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
    อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล
    ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี

    ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด
    เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
    สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
    เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย
sopom
Jr. Member
**

คะแนน 2
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 33


มือไหม่ ขอความกรุณาด้วยครับ


« ตอบ #302 เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2009, 07:35:01 AM »

ขอบคุณครับที่แนะนำจะทำตามครับผม
ขอบคุณพี่ๆที่แนะนำครับ
บันทึกการเข้า

>ไม่เสียสละ< >ชัยชนะ< >ก็ไม่เกิด<
>>>>ผมยังเด็กนักครับ<<<<
>>>ได้โปรดชี้แนะผมด้วยครับ<<<
ทำทุกอย่าอย่าคตโกงจะเจริญเอง
ดิ โอลดิ์ สยาม
ขวานทื่อ ต้องฟันให้หนัก
Hero Member
*****

คะแนน 206
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2346



« ตอบ #303 เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2009, 08:54:11 AM »

 ยิ้มีเลศนัย ยิ้มีเลศนัย ยิ้มีเลศนัย แอบยิ้มเย้ยตัวเอง...ทำอะไรๆผิดมาตลอดชีวิต..จะนั่งกอดอกไม่ทำอะไรเลยกลัวผิด ก็จะถูกตบกะโหลก หาว่าขี้เกียจ
ต้องมานั่งท่องคำถูกตอนแก่..แต่ก็ดี..สมองจะได้ไม่ฝ่อ....โดนซะมั่งก็ดี ขำก๊าก ขำก๊าก ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

อย่าอยู่อย่างอยาก...ถ้าสนองตัณหาไม่ได้ ก็ให้รีบปล่อยวาง
Tืa์M๊ ┇รัnใuxaวJ
T็a๋kํk็y็l๊i็v์e์
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 64
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 721


2341E51F


« ตอบ #304 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2009, 06:12:37 PM »

ขอบคุณค(รั)บ
บันทึกการเข้า


www.gunsandgames.com

-๊S็a๊F๋e์T๋Y์   A๋c๊c๋u๊r๋aํt๋Eื   S๊m์o๊o่TัH์   F๊a๋s๋T๊-๊
SA-KE
เมื่อเดินผิด ย่อมมิใช่มนุษย์
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 702
ออฟไลน์

กระทู้: 3612


เรารักในหลวง


« ตอบ #305 เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2009, 10:00:17 AM »

 ลองมาทบทวนกันครับ สำหรับปีนี้และวันนี้  " วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒  วันภาษาไทยแห่งชาติ "   
                                                                               
   
" ในหนังสือ “วันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๔๗” ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ได้กล่าวถึงความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ พอสรุปได้ว่า.. ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ และเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาติ  ซึ่งสมควรจะได้รับการทำนุบำรุงส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้ให้ยั่งยืนตลอดไป อย่างไรก็ตาม  ในยุคปัจจุบันวิชาการและเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเทคนิคใหม่ๆในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งเน้นความสะดวกและรวดเร็วเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ  ภาษาไทยซึ่งเป็นสื่อกลางในการติดต่อและผูกพันกับการดำรงชีวิตประจำวันของคนไทยก็ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลความเจริญก้าวหน้าดังกล่าวด้วย  ทำให้ภาษาไทยที่ใช้ในปัจจุบันทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างน่าวิตกยิ่ง  สภาพการณ์เช่นนี้ หากไม่เร่งหาทางแก้ไข ป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ  นับวันภาษาไทยก็จะยิ่งเสื่อมลง เป็นผลเสียต่อเอกลักษณ์และคุณค่าของภาษาไทยเป็นอย่างมาก

 ดังนั้น  คณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้เสนอให้รัฐบาลไทยจัดตั้ง “วันภาษาไทย” ขึ้น เพื่อช่วยกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่า   และความสำคัญของภาษาไทยตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์เอกลักษณ์ของภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป โดยเห็นควรกำหนดให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคมของทุกปี เป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ” เนื่องด้วยตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงเสด็จฯไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย  คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕    ทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ “การใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน”  ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปรายอย่างดีเยี่ยม  แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทยเป็นที่ประทับใจผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง  และนับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว

 ดังนั้น  คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ  กำหนดให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคมของทุกปีเป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ” ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านในด้านภาษาไทย  รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้สถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานต่างทั้งภาครัฐ  เอกชนและประชาชนชาวไทย ได้ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมใจกันใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง  และรักษาภาษาไทยอันเป็นภาษาประจำชาติไว้ให้งดงามยั่งยืนตลอดไป

กระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับภาษาไทยในครั้งนั้น มีความบางส่วนว่า “ ภาษาไทยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ  ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือมนุษย์ชนิดหนึ่ง คือ เป็นทางสำหรับแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง  เป็นสิ่งที่สวยงามอย่างหนึ่ง เช่น ในทางวรรณคดี เป็นต้น  ฉะนั้น  จึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ไห้ดี...............เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองมาแต่โบราณกาล  จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้  ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ  อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน  อีกอย่างต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบเป็นประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย  ซึ่งพวกเรา นึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติใหม่มาใช้.....สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่ใช่น้อย  แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี  ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว  ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก...”... ไหว้ 


ที่มา  :   http://www.culture.go.th/study.php?&YY=2548&MM=7&DD=2
บันทึกการเข้า

คนต่างกับสัตว์ที่ "ความคิด"  ,  คนต่างกับมนุษย์ที่ "ศีลธรรม"
มะขิ่น
Hero Member
*****

คะแนน 2453
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17813


"ทหารแก่ไม่มีวันตาย แต่จะค่อยๆเลือนหายไป"


« ตอบ #306 เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2009, 07:42:55 PM »

ขอขอบคุณ คุณสาเกครับ ................  ไหว้
บันทึกการเข้า

อย่าดึงฟ้าต่ำ  อย่าทำหินแตก  อย่าแยกแผ่นดิน
ธำรง
Hero Member
*****

คะแนน 1734
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8577


.....รักในหลวง.....


« ตอบ #307 เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2009, 08:10:33 PM »

ขอบคุณครับคุณSA-KE  Smiley
บันทึกการเข้า
นิ น น า ท
ชัดเจนและจริงใจครับ
Full Member
***

คะแนน 72
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 182


« ตอบ #308 เมื่อ: กันยายน 07, 2009, 02:59:33 PM »


ผมขออนุญาตเถิดนะครับ.. อยู่ในใจมานานแล้ว..


ยังมี"คำไทยเกิดใหม่"อยู่คำหนึ่ง ซึ่งค้างคาใจผมมาตลอดหลายปีนี้..

คือคำว่า..รากหญ้า ครับ  ยี๊  ได้อ่านได้ยินคราใด พาลให้นึกถึง..


  อาการหรือบุคคลที่กินหญ้าเข้าไปมากๆ..แล้วอาเจียนออกมา..   อ๋อย



ผู้ที่คิดคำนี้ขึ้นมาเพื่อใช้เรียกผู้อื่น.. ผมว่าฟังแล้วเหมือน"ดูถูก" มากกว่าจะยกย่องกัน..อย่างที่ควรนะครับ  ยี๊



ซึ่ง..ถ้ามีความจริงใจ..จะเรียกโดยยกย่องเพื่อให้เกียรติกัน..ไม่แฝงนัยยะอื่นอย่างที่ผมคาใจแล้ว

อาจเรียกว่า "รากข้าว" คงจะเข้าท่า เหมาะสมดีกว่ามาก..กระมัง


 คง..เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผมเองเท่านั้นครับ ..  ไหว้





บันทึกการเข้า

หัวดี หัวเก่ง หัวก้าวหน้า
มือเยี่ยม มือกล้า มือขยัน
ใจกว้าง ใจสู้ ใจแบ่งปัน
รู้ทัน รู้ชอบ รู้ตอบแทน...

...ขอแค่นี้เอง..เกินพอ
ko_kloy212
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 148
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1164


คนพ่นไฟ


« ตอบ #309 เมื่อ: กันยายน 07, 2009, 10:49:40 PM »


ผมขออนุญาตเถิดนะครับ.. อยู่ในใจมานานแล้ว..


ยังมี"คำไทยเกิดใหม่"อยู่คำหนึ่ง ซึ่งค้างคาใจผมมาตลอดหลายปีนี้..

คือคำว่า..รากหญ้า ครับ  ยี๊  ได้อ่านได้ยินคราใด พาลให้นึกถึง..


  อาการหรือบุคคลที่กินหญ้าเข้าไปมากๆ..แล้วอาเจียนออกมา..   อ๋อย



ผู้ที่คิดคำนี้ขึ้นมาเพื่อใช้เรียกผู้อื่น.. ผมว่าฟังแล้วเหมือน"ดูถูก" มากกว่าจะยกย่องกัน..อย่างที่ควรนะครับ  ยี๊



ซึ่ง..ถ้ามีความจริงใจ..จะเรียกโดยยกย่องเพื่อให้เกียรติกัน..ไม่แฝงนัยยะอื่นอย่างที่ผมคาใจแล้ว

อาจเรียกว่า "รากข้าว" คงจะเข้าท่า เหมาะสมดีกว่ามาก..กระมัง


 คง..เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผมเองเท่านั้นครับ ..  ไหว้







โอ้โฮ้ ตกใจ ท่านประธานหายไปไหนมา  Huhไม่เข้าเวบเลย Grin
บันทึกการเข้า

flyingkob-รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 361
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2395


"สุวิชาโน ภวัง โหติ" ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ


« ตอบ #310 เมื่อ: กันยายน 18, 2009, 07:21:20 AM »

1. สำอาง
 
แปลว่า เครื่องแป้งหอม งามสะอาด ที่ทำให้สะอาด
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "สำอางค์" ...ควายการันต์(ค์) มาจากไหน?

 
2. พากย์
แปลว่า คำพูด คำกล่าวเรื่องราว ภาษา
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "พากษ์" ที่เขียนกันผิดประจำนี่ คงติดภาพมาจากคำว่า วิพากษ์(วิจารณ์)

 
3. เท่
แปลว่า เอียงน้อยๆ โก้เก๋
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "เท่ห์" ...ติดมาจากคำว่า "สนเท่ห์" รึไงนะ?

 
4.โล่
แปลว่า เครื่องปิดป้องศัตราวุธ ชื่อแพรเส้นไหมโปร่ง
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "โล่ห์" สงสัยอยู่ในกรณีเดียวกับคำว่า "เท่"

 
5. ผูกพัน
แปลว่า ติดพัน เอาใจใส่ รักใคร่
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "ผูกพันธ์" ไม่ใช่คำว่า "สัมพันธ์" นะเว้ย

 
6. ลายเซ็น
แปลว่า ลายมือชื่อ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "ลายเซ็นต์" ติดมาจาก "เปอร์เซ็นต์" รึเปล่า?

 
7. อีเมล
แปลว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
มักเขียนผิดเป็นคำว่า ''อีเมล์" คำนี้ผมก็เขียนผิดบ่อยๆ -*- มันติดอ่ะ

 
8. แก๊ง
แปลว่า กลุ่มคนที่ตั้งเป็นพวก(ในทางไม่ดี)
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "แก๊งค์" หรือไม่ก็ "แกงค์" เอ่อ...มันมาจากภาษาอังกฤษคำว่า gang นะ ควายการันต์มาจากไหน?

 
9. อนุญาต
แปลว่า ยินยอม ยอมให้ ตกลง
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "อนุญาต" ผิดกันเยอะจริงๆ สับสนกับคำว่า "ญาติ" รึไง?รู้สึกเหมือนเราเคยอธิบายเกี่ยวกับคำนี้มาก่อนนะในกระทู้นี้

 
10. สังเกต
แปลว่า กำหนดไว้ หมายไว้ ดูอย่างถ้วนถี่
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "สังเกตุ" นี่ก็ผิดเยอะพอๆกับคำว่า "อนุญาต" คงติดมาจากคำว่า "สาเหตุ" ล่ะมั้ง?

 
11. ออฟฟิศ
แปลว่าสำนักงาน ที่ทำการ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "ออฟฟิส" ไม่ก็ "ออฟฟิต" คำนี้มาจากภาษาอังกฤษคำว่า "office" แต่พอมาเป็นภาษาไทยอุตส่าห์ใช้ตัวอักษร "ศ" ให้เท่ๆแล้วเชียว แต่ทำไมกลับสู่สามัญเป็น "ส" ล่ะ หรือไม่ก็เอาคำว่า "ฟิตเนส" มาปนมั่วไปหมด

 
12. อุตส่าห์
แปลว่า บากบั่น ขยัน อดทน
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "อุดส่า" คำนี้พบไม่บ่อยมากนัก แต่บางคนสะกดด้วย ต เต่า ถูกแล้วแต่ลืมใส่ บการันต์(ห์)

 
13. โคตร
แปลว่า วงศ์สกุล เผ่าพันธุ์ ต้นตระกูล
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "โครต" คำยอดฮิตของวัยรุ่น ไม่รู้เพราะสับสนกับคำว่า "เปรต" หรือเพราะในเกมออนไลน์บางเกมมันเซ็นเซอร์คำนี้ก็ไม่รู้ เลยดัดแปลงคำซะเลยจะได้พิมพ์ได้ แล้วก็ติดตามาเป็น "โครต" ในปัจจุบัน

 
14. ค่ะ
แปลว่า คำรับที่ผู้หญิงใช้
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "คะ" คำนี้ไม่ได้เขียนผิดอะไรหรอก แต่ใช้เสียงสูงเสียงต่ำผิด ถ้าจะพูดให้เสียงยาวก็เป็น "คะ" ใช้ต่อท้ายประโยคคำถาม แต่บางทีก็ใช้ "ค่ะ" ยัดลงไปเลย

 
15. เว็บไซต์
แปลว่า (ไม่รู้อ่ะ แต่มาจากภาษาอังกฤษคำว่า "web" แปลว่า ใยแมงมุม ตาข่าย และ "site" แปลว่า กำหนดสถานที่ตั้ง ตั้งอยู่)
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "เวปไซด์" คำว่า "เวป" อาจติดมาจาก "WAP" ซึ่งแปลว่าอะไรผมก็ไม่รู้ -*- แต่คำว่า "ไซด์" ที่เขียนผิดอาจมาจากคำว่า "side" ที่แปลว่า ด้านข้าง เห็นด้วย (เกี่ยวอะไรกัน?)

 
16.โอกาส
แปลว่า ช่อง จังหวะ เวลาที่เหมาะ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "โอกาศ" สงสัยติดมาจากคำว่า "อากาศ"

 
17.เกม
แปลว่า การแข่งขันการละเล่นเพื่อนความสนุก ลักษณะนามเรียกการแข่งขันจบลงคราวหนึ่งๆ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "เกมส์"อันนี้เราไม่แน่ใจนะ แต่ถ้าจะให้มีความหมายในภาษาไทยต้องใช้ "เกม" เพราะมันมาจากคำว่า "game" ในภาษาอังกฤษ

 
18.ไหม
แปลว่า ชื่อแมลงชนิดหนึ่งมีใยใช้ทอผ้า เป็นคำถาม
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "มั้ย" ที่เปลี่ยนไปอาจเป็นเพราะเพื่อให้เสียงสูงขึ้น เพราะถ้าใช้คำว่า ไม้ มันจะกลายเป็นอีกคำถ้าใช้ ไม๊ นี่อ่านไม่ออกเลย -*-

 
สุดท้ายนี้
 
การเขียนภาษาไทยผิดๆ ถือเป็นคนละประเด็นกับการ(ตั้งใจ?)ใช้ภาษาไทยแบบวิบัติๆ นะครับ
เพราะการเขียนคำผิดนี่เกิดจากความเข้าใจผิด หรือรับรู้มาผิดๆ เท่านั้นเอง แก้ไขได้ไม่ยาก
โดยวิธีแก้ก็แค่หัดเขียนบ่อยๆ ให้มันถูก เดี๋ยวก็หายครับ
ส่วนการแก้อาการภาษาวิบัติ อันนี้ให้ไปแก้ที่ "สันดาน" นะ

 

 
**คำเตือน**
บทความเรื่องนี้ได้ถูกใช้กระกอบการเรียนการสอนลูกลิงอุรังอุตังอายุสามเดือน
มนุษย์ปุถุชนโปรดพิจารณาอย่างรอบคอบเมื่ออ่านและควรนำไปใช้ได้ดีกว่าลิง

 
เรื่องของภาษาวิบัตินั้นถูกนำมาถกเถียงในหมู่นักภาษาศาสตร์มากมาย
ทั้งการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้กันโดยไม่ผ่านราชบัณฑิตยสถาน
รวมถึงการให้กำเนิดภาษาสื่อสารแนวใหม่ที่เรียกกันว่า "Emotical"
ภาษาวิบัตินั้น จะเรียกได้ว่าเป็นพัฒนาการของภาษาจริงหรือ?
นับเป็นเรื่องที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในการสำรวจโดยรวมแล้วนั้น
ภาษาวิบัติที่ผิดเพี้ยนจากหลักภาษาไทยที่ถูกต้อง ถูกนำมาใช้ในวงกว้างขึ้น
และเฉลี่ยอายุของผู้ใช้ภาษาวิบัติก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
พูดง่ายๆก็คือ คนที่มีดีกรีปริญญาตรี หรือเรียนในระดับอุดมศึกษานั้น
ใช้ภาษาไทยคำง่ายๆแบบผิดๆกันมากขึ้น ไม่ได้จำกัดอยู่ในวงของเด็กอีกต่อไป
จากการสำรวจขององค์กรนาซ่าและกูเก้ง ทางเราได้พบว่าคำที่ใช้ผิดอยู่บ่อยๆ

 
อาทิเช่น
"อารัย" =อะไร ไม่ใช่ อาลัย
"ที่นั้น" =ที่นั่น เป็นการผันวรรณยุกต์ที่ผิด
"นะค่ะ" =นะคะ ผันวรรณยุกต์ผิดเช่นกัน
"คับผม" =ครับผม อาจเกิดจากการรีบพิมพ์ ขอให้ออกเสียงได้เป็นพอ
"หรอ" =เหรอ ไม่ใช่ หรอจาก "ร่อยหรอ"
"แร้ว" =แล้ว ไม่ใช่ "แร้ว" ที่แปลว่ากับดักนก
"งัย" =ไง
"ครัย" =ใคร
"เกมส์" =เกม ไม่ต้องเติม ส์
"เดล" =เป็นคำภาษาอังกฤษจากคำว่า "Deal" อ่านว่า "ดีล"
"สาด" =สัตว์ เป็นศัพท์วัยรุ่น ลากเสียงให้ยาวขึ้นเพื่อเลี่ยงระบบกรองคำหยาบ
"กวย" =เช่นเดียวกับคำด้านบน เปลี่ยนพยัญชนะเพื่อเลี่ยงระบบ
"ไฟใหม้" =ไฟไหม้
"หวัดดี" =สวัสดี ไม่ใช่ การเป็นหวัดเป็นเรื่องที่ดี
"สำคัน" =สำคัญ บางทีอาจจำสลับกับ "สังคัง" ที่เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง
"หน้ารัก" =น่ารัก ไม่ใช่ รักเพราะหน้า
"ฆ้อน" =ค้อน ผู้ใช้อาจสับสนกับ "ฆ้อง" ที่เป็นเครื่องดนตรี
"สัสดี" =ทหารยศหนึ่ง เข้าใจว่าพิมพ์ผิดจากคำว่า "สวัสดี"
"555" =เสียงหัวเราะ มาจาก"ฮ่าๆๆ" ดัดแปลงมาเป็น"ห้าห้าห้า"
เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของการใช้คำไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย
ซึ่งสาบานได้ ให้ตายเถอะ...
ผมเคยเห็นคนเขียนคำเหล่านี้ลงในวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
และเป็นที่น่าเป็นห่วงว่า คำเหล่านี้ได้ถูกนนำมาใช้ในแวดวงวรรณกรรม
นับเป็นฝันร้ายของวงการน้ำหมึกอย่างแท้จริง
Emotical คือพัฒนาการจริงหรือ?
เป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอย่างจริงจังในวงวรรณกรรมไทย
กับภาษาสื่อสารยุคใหม่ที่เรียกกันว่า "Emotical"
ต้นกำเนิดของมัน มาจากสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงอารมณ์แทนผู้พูด
สามารถหาได้ตามเวปบอร์ด แชทรูม และเอมเอสเอน

 
ตัวอย่างเช่น
: ) =ยิ้ม
Cheesy =ยิ้มอ้าปากกว้าง
XD =ยิ้มดีใจสุดๆ
; ) =ยิ้มขยิบตา
-_- =ทำหน้าตาเบื่อโลก
-_-; =ทำหน้าตาเบื่อโลกและเหงื่อตก
-_-; ,,|,, =ทำหน้าตาเบื่อโลก เหงื่อตกและชูนิ้วกลาง
OTL =ลงไปนั่งคุกเข่าอย่างท้อแท้
orz =เหมือนข้างบน แต่ตัวจะเล็กกว่า
/gg =giggle หรือหัวเราะขำขัน
olo =อวัยวะเพศชาย
[๐ ๐]=C =เมก้าซาวะ

 
เหล่านั้นคือตัวอย่างของภาษา Emotical ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยของวัยรุ่น
เราสามารถพบเห็นมันได้ในฟอร์เวิร์ด เกมออนไลน์ แมสเสจมือถือ
หรือแม้กระทั่งวรรณกรรมที่ขายตามร้านหนังสือ
ปัจจุบันนั้นยังคงมีการถกเถียงและยอมรับภาษา Emoticalกันอยู่
ว่าสมควรแล้วหรือยังที่จะนำมาใช้ในวรรณกรรมให้คนทั่วไปอ่าน
ถ้าหากมองในแง่ของวัฒนธรรมแล้ว
Emotical ก็นับเป็นมิติใหม่ของภาษาที่ถูกใช้ไปทั่วโลก
หากจะว่ากันตามจริงแล้วมันถือเป็นวัฒนธรรมของโลกยุคใหม่เลยทีเดียว
แต่หากมองในแง่ของความผิดเพี้ยนแล้วนั้น
ก็ย่อมเป็นเรื่องใหญ่ที่สั่นคลอนรากฐานภาษาดั้งเดิมของประเทศ
ภาษา เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงออกถึงความเป็นเอกราชของประเทศนั้นๆ
หากการรับเอาภาษาอื่นมาใช้งานนั้นทำให้คนขาดจิตสำนึกในภาษาแม่แล้ว
มันอาจจะกลายเป็นความหายนะของภาษาในเร็ววัน
ดั่งหลักการ "เปลี่ยนแปลงแต่ไม่เปลี่ยนไป"
การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องแย่ แต่การเปลี่ยนไป เป็นเรื่องที่น่ากลัว
ภาษาไทยไม่ใช่ภาษาที่ตายแล้ว
หากแต่เป็นภาษาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สวยงามได้เสมอ
หากการรับนำข้อดีของ Emotical มาใช้ให้ถูกที่ถูกกาลเป็นเรื่องที่สมควร
การใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหลักภาษาก็ย่อมเป็นเรื่องที่ต้องกระทำ
ตั้งแต่ตอนนี้
บันทึกการเข้า

ตึกยาวหลังนี้ สอนให้เรารู้สำนึกถึงบุญคุณของแผ่นดิน
เสธ.ดำ
Newbie
*

คะแนน 5
ออฟไลน์

กระทู้: 16


« ตอบ #311 เมื่อ: กันยายน 21, 2009, 01:24:57 AM »

ไม่วิบัติหรอกครับ เชื่อผมเหอะ  มันเป็นเพียงค่านิยมของคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยครับ
เด็กบ้านนอกทั้งหลาย เค้าไม่นิยมใช้กันหรอก   
บันทึกการเข้า
Tืa์M๊ ┇รัnใuxaวJ
T็a๋kํk็y็l๊i็v์e์
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 64
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 721


2341E51F


« ตอบ #312 เมื่อ: กันยายน 21, 2009, 01:33:53 AM »

คำ "เท่" ไม่มี "ห์" นะครับทุกท่าน

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

  เท่  ว. เอียงน้อย ๆ (มักใช้แก่การสวมหมวก); โก้เก๋ เช่น แต่งตัวเท่.

  เทห-, เทห์, เท่ห์ [เทหะ-] น. ตัว. (ป., ส. เทห ว่า ร่างกาย).

 
 

 
บันทึกการเข้า


www.gunsandgames.com

-๊S็a๊F๋e์T๋Y์   A๋c๊c๋u๊r๋aํt๋Eื   S๊m์o๊o่TัH์   F๊a๋s๋T๊-๊
aodth
Newbie
*

คะแนน 1
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2



« ตอบ #313 เมื่อ: กันยายน 27, 2009, 09:46:41 AM »

รับทราบครับผม
บันทึกการเข้า
pui121
Jr. Member
**

คะแนน 45
ออฟไลน์

กระทู้: 35



« ตอบ #314 เมื่อ: ตุลาคม 22, 2009, 12:16:56 PM »

ขอยกกระทู้นี้นะครับ เพื่อสมาชิกที่ยังไม่เห็น ไหว้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 20 [21] 22 23 24 ... 28
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.611 วินาที กับ 22 คำสั่ง