ขออนุญาตถาม ข้อมูลเกี่ยวกับการทำบ่อเลี้ยงปลา

<< < (2/4) > >>

ธำรง:
ถ้าลองทำวิเคราะห์ต้นทุนจากเริ่มจนจับขาย.....จะพบว่าถ้าใช้อาหารซื้อสำเร็จจะทำได้แค่เสมอตัว
ต้องมีแหล่งที่มาของอาหารที่ผลิตเองโดยต้นทุนต่ำ...เทียบอัตราอาหารแลกเนื้อแล้วมีกำไร....จึงจะทำได้

อีกอย่างคือ แพปลา/คนกลาง......เขี้ยว(ยาว)สุดๆครับ... ;D

submachine -รักในหลวง-:

เลี้ยงปลาดุก

เงินลงทุน : ครั้งแรกประมาณ 20,000 บาท
(ค่าพันธุ์ปลาขนาด 3-5 เซนติเมตรราคา 0.20 บาท/ตัว)เครื่องสูบน้ำ ราคา 7,000 บาท

รายได้ : ประมาณ 30,000 บาท/รุ่น

วัสดุ/อุปกรณ์ : บ่อดิน พันธุ์ปลา เครื่องสูบน้ำ อวน สวิง



แหล่งจำหน่ายพันธุ์ปลา : ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาทั่วไป สถานีประมงน้ำจืดจังหวัด (กรมประมง)


วิธีการเพาะปลาดุก :

1. การเตรียมสถานที่ ควรทำสถานที่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาพธรรมชาติที่ปลาดุกวางไข่ ใช้บ่อซึ่งมีขนาดกว้างประมาณ 5 เมตร ยาว 10 เมตร ลึก 75 เซนติเมตร ทั้งนี้เพื่อการดูแลได้สะดวกบริเวณของบ่อเพาะพันธุ์ควรตั้งอยู่ในทำเลที่เงียบสงัดห่างไกลจากการรบกวน

2. เตรียมที่วางไข่ ธรรมชาติของปลาดุก เป็นปลาที่ชอบวางไข่ตามโพรงริมตลิ่ง บ่อที่ใช้ในการเพาะปลาดุกจึงควรขุดโพรงที่ริมบ่อ หรือคูให้มีระดับต่ำกว่าระดับน้ำประมาณ 20 เซนติเมตร ให้ปากโพรงกว้างประมาณ 30 เซนติเมตร ลึกประมาณ 35 เซนติเมตร ที่ก้นโพรงควรทำให้เป็นแอ่งกว้างกว่าที่ปากโพรงเล็กน้อย

3. อัตราส่วนการปล่อยพ่อแม่ปลา ควรใช้พ่อแม่พันธุ์ขนาดใหญ่ประมาณ 10 คู่ต่อเนื้อที่บ่อ 200 เมตร

4. การวางไข่และการผสมพันธุ์หลังจากที่ได้ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ไว้ประมาณ3-7 วันปลาดุกสามารถวางไข่ได้ประมาณ 2 ครั้ง/ฤดูปลาดุกคู่หนึ่งสามารถให้กำเนิดลูกปลาได้ประมาณ 2,000-5,000 ตัว


การอนุบาลลูกปลาในบ่อดิน

บ่อควรมีขนาด 2-3 ตารางเมตร ลึกประมาณ 60 เซนติเมตร และควรปล่อย ลูกปลาขนาดเล็กลงเลี้ยงประมาณ 10,000 - 30,000 ตัว

การเลี้ยงปลาดุกขนาดใหญ่

1. การเตรียมบ่อสำหรับเลี้ยงปลาดุก ควรจะได้พิจารณาเป็นพิเศษ ทั้งนี้ เนื่องจากปลาดุกมีนิสัยชอบหนีออกจากบ่อเลี้ยง โดยทั่ว ๆ ไปผู้เลี้ยงปลาดุกมักนิยมล้อมขอบบ่อด้วย รั้วไม้รวก หรือเฝือก ซึ่งมีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร

2. อัตราการปล่อยปลาลงเลี้ยง ในเนื้อที่ 1 ตารางเมตร ควรปล่อยปลาที่มีขนาดยาว 5-7 เซนติเมตร ประมาณ 60 ตัว ถ้าปลามีขนาดเล็กกว่านี้ควรปล่อยประมาณตารางเมตรละ 70 ตัว ไม่ควรปล่อยให้มากเกินไปจนแน่น จะทำให้ปลาเติบโตช้า และทำอันตรายกันเอง

อาหารและการให้อาหาร

ก. อาหารลูกปลา ลูกปลาซึ่งมีถุงไข่แดงยุบหมดแล้ว ควรจะให้อาหารจำพวกไรน้ำต่อไปประมาณ 5-7 วัน ในเวลาเช้าและเย็น ต่อจากนั้นก็ให้อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ได้แก่

1.  อาหารจำพวกแมลง เช่น ปลวก ลูกน้ำ ไรน้ำ ฯลฯ

2.  เนื้อสัตว์ เช่น เศษเนื้อวัว ควาย ปลา ไส้เป็ด ไส้ไก่ เลือดและเครื่องใน ฯลฯ

3.  เนื้อกุ้ง หอย และปูต่าง ๆ

4.  เนื้อสัตว์จำพวกกบ เขียด และอื่น ๆ

ข. อาหารปลาใหญ่ ปลาดุกเป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งเนื้อและผัก ซึ่งแบ่งได้ ดังนี้

1.  อาหารจำพวกเนื้อ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ที่เหมาะสม ตามแต่จะหาได้ หรือเครื่องใน เช่น เครื่องในของโคและสุกร ตลอดจนเลือดสัตว์ และพวกแมลง เช่น ปลวก หนอน ตัวไหม และไส้เดือน ฯลฯ

2.  อาหารจำพวกพืช ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว กากมัน แป้ง แป้งข้าว โพด แป้งมัน และผักต่างๆ
เพื่อเป็นการเพิ่มอาหารหรืออาจจะให้มูลสัตว์ เช่น มูลไก่ มูลหมู มูลแพะ ฯลฯ โดยจัดตั้งคอกเลี้ยงสัตว์นั้น ๆ
ให้อยู่ใกล้กับบ่อปลา

การจับปลา

ปลาดุกที่นิยมซื้อขายกันในท้องตลาดนั้นเป็นปลาขนาดพองาม ประมาณ 3-5 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม ปลาดุกขนาดดังกล่าวนี้ มีอายุประมาณ 6 เดือน ถึง 8 เดือน

ตลาด/แหล่งจำหน่าย : ตลาดสดทั่วไป องค์การสะพานปลา โรงงานแปรรูป และร้านอาหารต่าง ๆ

สถานที่ให้คำปรึกษาแนะนำ

1. กองประมงน้ำจืด กรมประมง โทร 5798561

2. สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดทุกจังหวัด และศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืด

ข้อแนะนำ

วิธีการป้องกันรักษาไม่ให้ปลาดุกเป็นโรค ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องพยายามทำให้ปลาอยู่ในสภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ
โดยวิธีปฏิบัติดังนี้

1. พยายามถ่ายน้ำบ่อย ๆ เพื่อป้องกันน้ำเสียและเป็นการรักษาสภาพความเป็นกรดด่างของน้ำ

2. กำจัดโรคพยาธิที่เกาะตามตัวปลา โดยใช้ฟอร์มาลินและดิพเทอร์เร็กซ์ ใส่ลงในน้ำ

3. ควรบดอาหารให้ละเอียดและเหนียว จะทำให้อาหารที่เหลือลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ ไม่จมลงไปเน่าอยู่ที่ก้นบ่อ

--------------------------------------

ที่มา
ส่งเสริมการมีงานทำ , กอง กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม,"เลี้ยงปลาดุก,"
150 อาชีพเส้นทางประกอบอาชีพอิสระ. กรุงเทพฯ ,2544 , หน้า 220-221.

คำไข

การดำเนินธุรกิจ เลี้ยงปลาดุก


จาก
http://www.ismed.or.th/knowledge/showcontent.php?id=162

submachine -รักในหลวง-:
ชื่ออาชีพ เลี้ยงปลานิล

เงินลงทุน ครั้งแรกประมาณ 20,000 บาท/ไร่/รุ่น (ค่าพันธุ์ปลาขนาด 3 – 5
เซนติเมตร ราคา 0.20 บาท/ตัว เครื่องสูบน้ำ ราคา 7,000 บาท ค่าปุ๋ย ราคา 8,000 บาท/ไร่/รุ่น)
รายได้ ครั้งแรกประมาณ 50,000 บาท/ไร่/รุ่น (1 ปีแรก) (รุ่นต่อ ๆ ไปจะมีรายได้ ต่อรุ่นไม่ถึง 1 ปี เนื่องจากปลาที่เลี้ยง
รุ่นแรกมีการขยายพันธุ์ต่อเนื่อง) 
วัสดุ/อุปกรณ์  บ่อดิน พันธุ์ปลา ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อาหารเสริม เครื่องสูบน้ำ อวน สวิง 
 
แหล่งจำหน่ายพันธุ์ปลา  ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาทั่วไป สถานีประมงน้ำจืดจังหวัด (กรมประมง)
วิธีดำเนินการ       1. ขุดบ่อดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื้อที่ขนาด 1 ไร่ ลึกประมาณ 1.5 เมตร และขอบบ่อมีเชิงลาดเทตื้นๆ
กว้าง 1-2 เมตร สำหรับให้แม่ปลาวางไข่ จากนั้นโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ ในอัตรา 1 กิโลกรัม/ เนื้อที่ 10 ตารางเมตร
เพื่อปรับสภาพดิน ตากบ่อทิ้งไว้ 2-3 วัน จึงสูบน้ำเข้าบ่อให้มีระดับสูง 1 เมตร

      2. ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักลงในบ่อเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติ เช่น พืช และไรน้ำ เป็นต้น โดยในระยะแรกควรใส่
ประมาณ 250-300 กิโลกรัม/ไร่/เดือน ส่วนในระยะหลังควรลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง (หากเป็นปุ๋ยคอก ควรตากให้แห้งก่อน
แล้วหว่านให้ละลายไปทั่วบ่อ ส่วนปุ๋ยหมัก ควรเทกองไว้ตามมุมบ่อ 2 - 3 แห่ง โดยมีไม้ปักล้อมไว้รอบกองปุ๋ย เพื่อป้องกัน
ส่วนที่ยังไม่สลายตัวลอยกระจัดกระจาย) 

      3. ปล่อยลูกปลาขนาด 3–5 เซนติเมตร ในอัตรา 1-3 ตัว/ตารางเมตร หรือประมาณ 2,000–5,000 ตัว/ ไร่ ลงในบ่อ

      4. นอกจากอาหารธรรมชาติแล้ว ควรให้อาหารเสริม เช่น รำ ปลายข้าว ปลาป่น กากถั่วเหลือง และกากมะพร้าว เป็นต้น
โดยให้วันละครั้ง ปริมาณที่ให้ไม่ควรเกิน 4% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง หรือสังเกตจากความต้องการอาหารของปลา
ที่มารอกินอาหารจากจุดที่ให้เป็นประจำ ควรระวังอย่าให้อาหารมากเกินไป เพราะปลากินไม่หมดจะทำให้น้ำเน่าเสีย
เป็นอันตรายต่อปลาได้ จึงควรหมั่นเปลี่ยนน้ำ หากน้ำในบ่อเสีย

      5. เมื่อเลี้ยงครบ 1 ปี ปลานิลจะมีน้ำหนักประมาณ 1/2 กิโลกรัม/ตัว จึงจับจำหน่ายได้ โดยการใช้อวนจับปลา
หรือสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อย แล้วนำสวิงตักปลาใส่เข่ง เพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป 
 
ตลาด/แหล่งจำหน่าย ตลาดสดทั่วไป องค์การสะพานปลา โรงงานแปรรูป และร้านอาหารต่าง ๆ
 
สถานที่ให้คำปรึกษา 1. กองประมงน้ำจืด กรมประมง โทร. 579-8561
2. สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดทุกจังหวัด และศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืด
 
ข้อแนะนำ       
1. บ่อเลี้ยงปลานิล ควรมีเนื้อที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตร ขึ้นไป เพราะปลานิลแพร่ขยายพันธุ์เร็ว หาก
เนื้อที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป เพราะปลานิลแพร่ขยายพันธุ์เร็ว หากเนื้อที่น้อยจะทำให้บ่อหนาแน่นมากและปลา
ไม่เจริญเติบโต

      2. หากบ่อเลี้ยงปลาอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ควรสร้างท่อระบายน้ำที่พื้นบ่อแล้วกรุด้วยตะแกรงตาถี่ โดยจัดระบบน้ำเข้า
ออกคนละทาง เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำ 

      3. เมื่อมีลูกปลาเกิดขึ้นมาใหม่ในบ่อที่เลี้ยง ควรแยกมาเลี้ยงอีกบ่อหนึ่ง เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณ และป้องกันมิให้ถูก
ปลาตัวใหญ่กินเป็นอาหาร 

      4. สามารถนำปลานิลไปแปรรูป เช่น ทำปลาเค็มตากแห้ง ปลากรอบ ปลาร้า ปลาเจ่า ปลาส้ม เพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง 
 

submachine -รักในหลวง-:
เลี้ยงปลานิล

เงินลงทุน : ครั้งแรกประมาณ 20,000 บาท/ไร่/รุ่น (ค่าพันธุ์ปลาขนาด 3 – 5 เซนติเมตร ราคา 0.20 บาท/ตัว
เครื่องสูบน้ำ ราคา 7,000 บาท ค่าปุ๋ย ราคา 8,000 บาท/ไร่/รุ่น)
รายได้ : ครั้งแรกประมาณ 50,000 บาท/ไร่/รุ่น (1 ปีแรก) (รุ่นต่อ ๆ ไปจะมีรายได้ ต่อรุ่นไม่ถึง 1 ปี เนื่องจากปลาที่เลี้ยงรุ่นแรกมีการขยายพันธุ์ต่อเนื่อง) 
วัสดุ/อุปกรณ์  : บ่อดิน พันธุ์ปลา ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อาหารเสริม เครื่องสูบน้ำ อวน สวิง 
 
แหล่งจำหน่ายพันธุ์ปลา : ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาทั่วไป สถานีประมงน้ำจืดจังหวัด (กรมประมง)

วิธีดำเนินการ       
1. ขุดบ่อดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื้อที่ขนาด 1 ไร่ ลึกประมาณ 1.5 เมตร และขอบบ่อมีเชิงลาดเทตื้นๆ กว้าง 1-2 เมตร
สำหรับให้แม่ปลาวางไข่ จากนั้นโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ ในอัตรา 1 กิโลกรัม/ เนื้อที่ 10 ตารางเมตร เพื่อปรับสภาพดิน ตากบ่อทิ้งไว้ 2-3 วัน จึงสูบน้ำเข้าบ่อให้มีระดับสูง 1 เมตร

2. ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักลงในบ่อเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติ เช่น พืช และไรน้ำ เป็นต้น
โดยในระยะแรกควรใส่ประมาณ 250-300 กิโลกรัม/ไร่/เดือน ส่วนในระยะหลังควรลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง
(หากเป็นปุ๋ยคอก ควรตากให้แห้งก่อน แล้วหว่านให้ละลายไปทั่วบ่อ ส่วนปุ๋ยหมัก ควรเทกองไว้ตามมุมบ่อ 2 - 3 แห่ง
โดยมีไม้ปักล้อมไว้รอบกองปุ๋ย เพื่อป้องกันส่วนที่ยังไม่สลายตัวลอยกระจัดกระจาย) 

3. ปล่อยลูกปลาขนาด 3–5 เซนติเมตร ในอัตรา 1-3 ตัว/ตารางเมตร หรือประมาณ 2,000–5,000 ตัว/ ไร่ ลงในบ่อ
4. นอกจากอาหารธรรมชาติแล้ว ควรให้อาหารเสริม เช่น รำ ปลายข้าว ปลาป่น กากถั่วเหลือง และกากมะพร้าว เป็นต้น
โดยให้วันละครั้ง ปริมาณที่ให้ไม่ควรเกิน 4% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง หรือสังเกตจากความต้องการอาหารของปลา
ที่มารอกินอาหารจากจุดที่ให้เป็นประจำ ควรระวังอย่าให้อาหารมากเกินไป เพราะปลากินไม่หมดจะทำให้น้ำเน่าเสีย
เป็นอันตรายต่อปลาได้ จึงควรหมั่นเปลี่ยนน้ำ หากน้ำในบ่อเสีย

5. เมื่อเลี้ยงครบ 1 ปี ปลานิลจะมีน้ำหนักประมาณ 1/2 กิโลกรัม/ตัว จึงจับจำหน่ายได้ โดยการใช้อวนจับปลา
หรือสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อย แล้วนำสวิงตักปลาใส่เข่ง เพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป 
 
ตลาด/แหล่งจำหน่าย ตลาดสดทั่วไป องค์การสะพานปลา โรงงานแปรรูป และร้านอาหารต่าง ๆ
 
สถานที่ให้คำปรึกษา 1. กองประมงน้ำจืด กรมประมง โทร. 579-8561
2. สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดทุกจังหวัด และศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืด
 
ข้อแนะนำ       

1. บ่อเลี้ยงปลานิล ควรมีเนื้อที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตร ขึ้นไป เพราะปลานิลแพร่ขยายพันธุ์เร็ว
หากเนื้อที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป เพราะปลานิลแพร่ขยายพันธุ์เร็ว หากเนื้อที่น้อยจะทำให้บ่อหนาแน่นมาก
และปลาไม่เจริญเติบโต

      2. หากบ่อเลี้ยงปลาอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ควรสร้างท่อระบายน้ำที่พื้นบ่อแล้วกรุด้วยตะแกรงตาถี่ โดยจัดระบบน้ำเข้าออกคนละทาง เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำ 

      3. เมื่อมีลูกปลาเกิดขึ้นมาใหม่ในบ่อที่เลี้ยง ควรแยกมาเลี้ยงอีกบ่อหนึ่ง เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณ และป้องกันมิให้ถูกปลาตัวใหญ่กินเป็นอาหาร 

      4. สามารถนำปลานิลไปแปรรูป เช่น ทำปลาเค็มตากแห้ง ปลากรอบ ปลาร้า ปลาเจ่า ปลาส้ม เพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง 
 

submachine -รักในหลวง-:
เลี้ยงปลากัดสร้างรายได้

การเลี้ยงปลากัดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เพาะเลี้ยง เนื่องจากปลากัดเลี้ยงง่าย ลงทุนน้อย
เป็นที่ต้องการของตลาด จากสถิติแล้วในแต่ละปี ปลากัดสามารถทำรายได้เข้าประเทศมากกว่า 20 ล้านบาท
สำหรับผู้ที่จะเริ่มต้นอาชีพนี้ ควรมีใจรัก และทำการศึกษาเกี่ยวกับวิธีเลี้ยงให้เข้าใจ

วิธีเลี้ยงปลายอดนักสู้

เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ชอบการต่อสู้ จึงจำเป็นต้องแยกเลี้ยง การแยกปลากัดนั้น
ควรแยกเมื่อปลามีอายุได้ประมาณ 1 เดือน วิธีเลี้ยงปลากัด สามารถทำตามขั้นตอนได้ ดังนี้

เตรียมภาชนะที่ใช้เลี้ยง

จำพวกขวดใส กลม หรือ แบน ก็ได้ ขนาดพอเหมาะไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ทำความสะอาด ผึ่งแดดให้แห้ง
บรรจุน้ำลงไปครึ่งขวด นำปลากัดลงเลี้ยง

น้ำที่ใช้ต้องเป็นน้ำสะอาด

น้ำประปา ต้องไม่มีกลิ่นคลอรีนเจือปนอยู่ โดยพักน้ำทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์

น้ำบาดาล ทำเช่นเดียวกับน้ำประปาคือ พักน้ำทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ และเติมออกซิเจนตลอด
เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ

จากนั้นวัดค่าความเป็นกรด ด่าง (pH) โดยใช้กระดาษทดสอบค่า pH ที่มีขายตามร้านขายอุปกรณ์นำมาจุ่มในน้ำ
แล้วนำสีที่ได้มาเทียบค่า ให้มีค่าประมาณ 6.5 – 7.5

อาหารที่ใช้เลี้ยงปลากัด มี 2 ชนิดคือ

อาหารสด จำพวก ลูกน้ำ ไรแดง ไรสีน้ำตาล ไรทะเล ที่มีชีวิต ก่อนให้อาหารต้องฆ่าเชื้อโรคที่อาจติดมากับอาหารสด
โดยแช่ในน้ำด่างทับทิม วิธีการคือละลายด่างทับทิมประมาณหยิบมือกับน้ำ แช่ทิ้งไว้ประมาณ 10-20 วินาที
แล้วล้างน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง จึงใช้ได้ อาหารสดที่กล่าวมา สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายปลาสวยงามทั่วไป
หรือที่ตลาดนัดสวนจตุจักร

อาหารปลาสำเร็จรูป

การให้อาหารปลาควรให้วันละ 1 ครั้ง ปริมาณพอให้ปลากินอิ่ม โดยค่อย ๆ ให้อาหาร หากอาหารหมดไว ควรเติมให้อีกนิดหนึ่ง
อย่าให้อาหารเหลือ แล้วจำว่าปริมาณเท่าใดที่พอดี

การทำความสะอาด แต่ละสัปดาห์ ผู้เลี้ยงควรดูดน้ำก้นขวดเพื่อเอาขยะออก ให้เหลือน้ำเก่าประมาณครึ่งขวด
แล้วจึงเติมน้ำใหม่ลงไป สาเหตุที่ไม่เทออกทั้งหมด เพื่อให้ปลาปรับตัวได้ และในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน
ให้ล้างทำความสะอาดขวดและเปลี่ยนน้ำใหม่

คัดสุดยอดพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์

ปลาที่เหมาะสม ควรมีอายุประมาณ 5-6 เดือนขึ้นไป ฤดูที่เหมาะสำหรับการผสมพันธุ์คือช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง กันยายน
โดยเลือกเพศผู้ที่มีลักษณะแข็งแรง สีสันสวยงาม และมีการก่อหวอด ซึ่งแสดงถึงความพร้อมที่จะเป็นพ่อพันธุ์
โดยสังเกตว่ามีฟองน้ำลายก่อตัวขึ้นมาในขวดที่เลี้ยง สำหรับเพศเมีย ก็เช่นเดียวกัน ดูที่มีลักษณะแข็งแรง ท้องมีลักษณะอูม
เป่ง และมีตุ่มสีขาวใต้ท้อง ที่เรียกว่า ไข่น้ำ ซึ่งจะอยู่บริเวณใกล้กับรูก้น สำหรับวิธีการผสมพันธุ์ปลากัด สามารถทำได้โดย

การเทียบคู่ โดยนำขวดที่ได้เลือกปลากัดไว้แล้ว มาวางไว้ใกล้กัน ทิ้งไว้ ประมาณ 3-10 วัน

หลังจากนั้น เตรียมภาชนะเพื่อนำปลาออกมาให้อยู่รวมกัน ซึ่งอาจเป็น อ่างดิน หรือขันน้ำที่มีพืชน้ำใส่ไว้ เช่น
พวกสาหร่ายพุงชะโด สาหร่ายหางกระรอก จอก หรือผักตบชวา ก็ได้ ทิ้งไว้ 2-3 วัน


เมื่อสังเกตว่าตัวผู้สร้างหวอดขึ้นมามาก ๆ ก็แสดงถึงความพร้อมของตัวเมียที่จะวางไข่
เพศผู้จะไล่ต้อนเพศเมียให้ไปอยู่ใต้หวอดเพื่อทำการผสมพันธุ์ ช่วงนี้ไม่ควรรบกวน โดยหาฝาปิดภาชนะ
แง้มเล็กน้อยเพื่อให้มีอากาศเข้า

เมื่อผสมพันธุ์เสร็จ ตัวเมียจะลงไปนอนก้นอ่าง เนื่องจากอ่อนเพลีย และบอบช้ำจากการถูกตัวผู้กัดครีบ
ควรแยกเพศเมียออก เพื่อป้องกันการกินไข่ แล้วปล่อยให้เพศผู้ดูแลไข่ต่ออีก 2 วัน จึงแยกออกไป


เมื่อแยกตัวเมียออกไว้ในขวดแล้ว ควรใส่เกลือแกงลงในน้ำเล็กน้อย เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บเป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์
หรือสังเกตว่าแผลเริ่มหาย


ไข่ที่ได้รับการผสมจะเริ่มฟักออกมาเป็นตัว ใช้เวลาประมาณ 36 ชั่วโมง ในช่วง 3 – 4 วันแรก เรายังไม่ต้องให้อาหาร
เนื่องจากปลาจะมีอาหารติดตัวมาด้วย ซึ่งเรียกว่า ถุงอาหาร เมื่อเข้าสู่วันที่ 5 เริ่มให้ตัวอ่อนของไรแดง
หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ สามารถให้อาหารตามปกติ


แยกเลี้ยงเมื่อปลามีอายุ 1 - 1 &frac12; เดือน และสามารถคัดปลาเพื่อจำหน่ายต่อไป

ข้อควรรู้การเลี้ยงปลากัด

การให้อาหารสดจะทำให้ปลากัด มีสีสวยกว่าการเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูป

ไม่ควรให้อาหารในปริมาณมาก ๆ เพราะจะทำให้ปลาท้องอืด ไม่ยอมกินอาหารและตายได้

สำหรับผู้สนใจการเลี้ยงปลากัด สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายวิชาการ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร.0 2558 0172

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
“การเพาะเลี้ยงปลากัด,http://www.fisheries.go.th/ , วันที่ 15 พฤศจิกายน 2544.

เลี้ยงปลากัดสร้างรายได้ เป็นอีกลู่ทางหนึ่งสำหรับผู้คิดหาอาชีพอิสระหรืออาชีพเสริม เพราะลงทุนน้อย
และมีวิธีเลี้ยง วิธีเพาะพันธุ์ปลาที่ไม่ยุ่งยากจนเกินไปนัก อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้คิดจะเริ่มต้นอาชีพนี้แล้ว
ควรมีใจรักเป็นพื้นฐาน

คำไข ปลากัด การเพาะพันธุ์ปลากัด เลี้ยงปลาสวยงาม


จาก
http://www.ismed.or.th/knowledge/showcontent.php?id=64

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว