๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
เมษายน 20, 2024, 06:52:10 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ญี่ปุ่นมีผู้ที่ฆ่าตัวตายปี2014 25,000คนเฉลี่ยถึงวันละ 70 คน  (อ่าน 853 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50461



« เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2015, 01:03:34 AM »

เหตุใดญี่ปุ่นจึงมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงมาก
เมื่อปีก่อนมีชาวญี่ปุ่นฆ่าตัวตาย กว่า 25,000 คน และหากคิดโดยเฉลี่ยก็จะมีผู้ที่ฆ่าตัวตายถึงวันละ 70 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย แม้ตัวเลขดังกล่าวจะเป็นรองเกาหลีใต้และฮังการี ซึ่งมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในโลกเป็นอันดับ 1 และ 2 แต่นั่นก็ถือว่าเป็นอัตราที่สูงมากสำหรับกลุ่มประเทศร่ำรวย โดยสูงกว่าอัตราการฆ่าตัวตายในสหราชอาณาจักรถึง 3 เท่า ซึ่งบรรดาผู้เชี่ยวชาญระบุว่าปัญหานี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน
ปัจจัยแรกคือ ความโดดเดี่ยว โดยนายวาตารุ นิชิดะ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเทมเปิล บอกว่า นี่เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย โดยปัจจุบันมีข่าวของผู้สูงอายุที่ต้องเสียชีวิตอย่างเดียวดายภายในอพาร์ทเมนท์ให้เห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะพวกเขาต้องใช้ชีวิตอยู่ตามลำพัง โดยไม่ได้รับการเหลียวแลจากลูกหลาน ซึ่งเป็นกรณีเดียวกับชายวัย 71 ปี ที่ก่อเหตุราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาตัวเองจนเสียชีวิตบนรถไฟหัวกระสุนเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งตามข่าวบอกว่า ชายผู้นี้อาศัยอยู่ตามลำพัง ไม่มีงานทำ และมักเก็บตัวเงียบในอพาร์ทเมนท์ที่เก่าทรุดโทรมของตัวเอง
นอกจากนี้ จารีตที่มีมายาวนานของญี่ปุ่นที่เรียกว่า “เซ็ปปุกุ” ซึ่งมองการฆ่าตัวตายว่าเป็นการกระทำที่มีเกียรติก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีอัตราการฆ่าตัวตายสูง ขณะเดียวกันญี่ปุ่นไม่มีความเชื่อทางศาสนาคริสต์ที่ว่า การฆ่าตัวตายเป็นบาป แต่กลับมองว่าการจบชีวิตตัวเองเป็นการแสดงความรับผิดชอบ
นายเคน โจเซฟ จากบริการสายด่วน Japan Helpline บอกว่าจากประสบการณ์การทำงานกว่า 40 ปีเขาได้พบว่าคนแก่ส่วนใหญ่ที่มีปัญหาการเงินมักเห็นการฆ่าตัวตายเป็นทางออก นอกจากนี้ ระบบประกันชีวิตของญี่ปุ่นก็มีความหละหลวมในการจ่ายเงินให้ผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในชีวิตบางคนจึงเลือกที่จะฆ่าตัวตายเพื่อให้บริษัทประกันฯ จ่ายเงินชดเชยให้แก่ครอบครัว ซึ่งนั่นทำให้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนคิดว่า ตัวเลขการฆ่าตัวตายจริงของญี่ปุ่นอาจสูงกว่านี้ เพราะการเสียชีวิตอย่างเดียวดายของผู้สูงอายุหลายรายไม่ได้รับการสอบสวนอย่างละเอียดจากตำรวจ อีกทั้งธรรมเนียมการฌาปนกิจของชาวญี่ปุ่นก็ทำให้ไม่เหลือหลักฐานในการตรวจสอบ


นอกจากกลุ่มชายสูงอายุที่มีปัญหาการเงินแล้ว การฆ่าตัวตายก็เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของชายญี่ปุ่นอายุระหว่าง 20-44 ปีอีกด้วย โดยมีหลักฐานที่บ่งชี้ว่า คนอายุน้อยเลือกที่จะจบชีวิตตัวเองเพราะรู้สึกสิ้นหวัง และไม่รู้จะขอความช่วยเหลืออย่างไร ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า ตัวเลขการฆ่าตัวตายในหมู่ชายวัยกลางคนที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุโดยตรงมาจากการขาดความมั่นคงในการทำงาน โดยปัจจุบันมีการจ้างงานคนหนุ่มสาวในลักษณะสัญญาจ้างระยะสั้นเพิ่มขึ้น แม้ในอดีตญี่ปุ่นจะเคยเป็นที่รู้จักในฐานะดินแดนแห่งการจ้างงานตลอดชีวิตก็ตาม


ขณะเดียวกันวัฒนธรรมการเก็บอารมณ์ ไม่ปริปากบ่นถึงปัญหาต่าง ๆ ก็ทำให้คนหนุ่มสาวไม่สามารถแสดงความรู้สึกที่แท้จริงของตนออกมาได้ ดังนั้นบางคนจึงรู้สึกว่าการฆ่าตัวตายคือทางออกเดียวที่จะหลุดพ้นจากแรงกดดันและความรู้สึกหดหู่ใจ นอกจากนี้เทคโนโลยีในปัจจุบันก็ยิ่งทำให้คนหนุ่มสาวโดดเดี่ยวมากขึ้น และทำให้เกิดพฤติกรรมแยกตัวจากสังคมที่เรียกว่า “ฮิคิโคโมริ” ซึ่งคนที่มีอาการหนักมักเก็บตัวอยู่แต่ในบ้านโดยไม่ออกไปไหนนานนับปี อีกทั้งยังทำให้สูญเสียความสามารถในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นแบบตัวต่อตัวอีกด้วย


ปัจจัยอีกประการที่ทำให้ปัญหาการฆ่าตัวตายในญี่ปุ่นรุนแรงคือการที่สังคมยังมีความคิดว่าการเจ็บป่วยทางจิตเป็นประเด็นต้องห้าม ทำให้ไม่มีการพูดคุยเรื่องนี้อย่างเปิดเผย ขณะที่ระบบบริการด้านสุขภาพจิตของญี่ปุ่นก็ไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังขาดแคลนจิตแพทย์ และไม่มีธรรมเนียมการทำงานร่วมกันระหว่างจิตแพทย์กับนักจิตวิทยาคลินิก ทำให้ผู้มีปัญหาทางจิตบางรายได้รับการจ่ายยาจากจิตแพทย์เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการแนะนำให้เข้ารับการบำบัดด้วยวิธีการปรึกษาพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเหมือนในประเทศแถบตะวันตก

https://www.facebook.com/BBCThai


ความเคร่งเครียดมากจนไม่มีทางออก เฮ้อ.... เศร้า
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
chonthai-รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 353
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1291


4152


« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2015, 01:47:00 AM »

แล้วจะมีคนต่างชาติฆ่าตัวตายในคุกญี่ปุ่นมั่งมั๊ยเนี่ย  Grin
บันทึกการเข้า
ICKILAS
HS 7 VLP
Hero Member
*****

คะแนน -1666
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1106


จงกลัวใจตัวเอง แต่อย่ากลัวปืน


« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2015, 02:02:34 AM »

คว้านท้อง  นิยมทำมานานแล้วนี่   โดนชก
บันทึกการเข้า

ผู้กำกับภาพยนตร์อิสระ เสรี เหนือสิ่งอื่นใด
Nero Angel01
Hero Member
*****

คะแนน 275
ออฟไลน์

กระทู้: 3048


« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2015, 10:14:55 AM »

แล้วฮังการี่กับเกาหลีใต้ไม่มีคติเซปปุกุ ทำไมเยอะกว่าญี่ปุ่นครับ
บันทึกการเข้า
montri รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน -120
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1056



« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2015, 04:48:31 PM »

ความรับผิดชอบต่อคนอื่นและสังคม ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องฆ่าตัวตาย (สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว)
บันทึกการเข้า
carrera
กินลูกเดียวเที่ยวสองลูก
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2357
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 88168


« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2015, 09:24:34 PM »

ถ้าเขามีจารีต เซปปุกุ เขาอาจคิดว่าจำนวนคนฆ่าตัวตายไม่ใช่เรื่องสำคัญสำหรับญึ่ปุ่นหรือเปล่า ?? 

มันเป็นจารีต ที่แปลกว่าประเทศอื่นๆ แต่มันก็เป็นของเขานะ
บันทึกการเข้า

เนื้อร้ายตัดทิ้ง
www.ipscthailand.com
Watchai
Jr. Member
**

คะแนน 8
ออฟไลน์

กระทู้: 75



« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2015, 08:51:08 AM »

เำื่พื่อนที่ทำงานเป็นชาวญี่ปุ่นเล่าให้ฟังว่า ทุกๆวันจะมีชาวญี่ปุ่นกระโดดให้รถไฟทับ(ฆ่าตัวตาย) สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากเรียนจบแล้วหางานไม่ได้ บางคนต้องสอบสัมภาษณ์เกือบร้อยบริษัทถึงจะได้งานทำ และสังคมของญี่ปุ่นก็อาจจะคล้ายๆบ้านเรา คือ คนชนบทจะเข้ามาทำงานในเขตอุตสาหกรรมหรือเมืองหลวง และรัฐบาลญี่ปุ่นก็จะมีงบสนับสนุนเฉพาะในเขตที่กล่าวมา ถ้าเป็นชนบทซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้สร้างมูลค่า การช่วยเหลือแทบไม่ถึง ซึ่งไม่ต้องพูดถึงเรื่องหางานทำ ภาพที่เราเห็นในทีวีนั้นดูสวยหรู เท็จจริงอาจจะไม่เป็นดั่งที่เราเห็น
เพื่อนคนนี้ แกบอกว่าผมว่า "ผมนะโชคดีมากๆ สอบครั้งเดียวได้งานทำเลย" ซึ่งปัจจุบันอยู่เมืองไทยก็น่าจะ 4 ปีเห็นจะได้ ครอบครับลูกเมียอยู่เมืองไทยทั้งหมด คงไม่ต้องถามว่าอยู่บ้านเรานั้นมีความสุขเพียงไร

 
บันทึกการเข้า
Hang Forever
Hero Member
*****

คะแนน 349
ออฟไลน์

กระทู้: 2215


« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2015, 02:51:08 PM »

ไม่ฆ่า ก็ตายนานแล้ว
บันทึกการเข้า
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50461



« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2015, 12:15:32 AM »

เผยสถิติคนไทยฆ่าตัวตาย 1 คน ในทุก 2 ชั่วโมง
ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขเผยว่า ปัจจุบันมีคนไทยฆ่าตัวตายโดยเฉลี่ย 1 คน ในทุก 2 ชั่วโมง และในปีที่ผ่านมามีผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จราว 3,800 คน คิดเป็น 6.07 คน ต่อประชากร 100,000 คน โดยส่วนมากเป็นผู้ใหญ่ในวัย 40 ปีต้น ๆ รองลงมาเป็นกลุ่มวัยรุ่น
นอกจากนี้ สถิติยังเผยว่าในกลุ่มผู้ชายมีการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า แต่ในกลุ่มผู้หญิงจะมีการพยายามฆ่าตัวตายบ่อยครั้งกว่า ทั้งนี้เป็นเพราะผู้ชายเลือกวิธีการที่รุนแรงเด็ดขาดในการฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะในรายที่มีการใช้สารเสพติดร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อ 10 ปีก่อนกลุ่มวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด
นพ. อภิชาต จริยาวิลาศ จิตแพทย์ประจำกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขบอกบีบีซีไทยถึงสาเหตุที่ในปัจจุบัน กลุ่มคนทำงานวัย 40 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมากที่สุดว่า เป็นเพราะสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป โดยปัญหาเศรษฐกิจนั้นเป็นปัจจัยหลัก นอกจากนั้นยังมีเรื่องความกดดันและความเครียดจากการแข่งขันในที่ทำงาน ปัญหาสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรังและการใช้สารเสพติดรวมทั้งสุราซึ่งทำให้สติสัมปชัญญะลดลง ส่วนในกลุ่มเยาวชนนั้น ปัจจุบันมีการณรงค์ตามสถานศึกษาให้รู้จักดูแลสุขภาพจิตกันมากขึ้น รวมทั้งมีช่องทางรับความช่วยเหลือเมื่อประสบปัญหาสุขภาพจิต ทำให้แนวโน้มการฆ่าตัวตายของเยาวชนลดลง
นพ. อภิชาต ชี้ว่า การคิดฆ่าตัวตายมาจากความรู้สึกหมดหวังกับอนาคตและมองไม่เห็นทางออกที่จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น คนที่คิดฆ่าตัวตายส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น มีอาการซึมเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ บางรายใช้คำพูดสื่อให้ทราบว่า ไม่ต้องการมีชีวิตอยู่ต่อไป เช่น “ชีวิตนี้ไม่มีคุณค่าแล้ว”, “ไม่อยากอยู่เป็นภาระคนอื่น”, “อยากหนีไปไกล ๆ ไม่อยากพบเห็นใครอีกเลย” นอกจากนั้น คนที่มีประวัติเคยฆ่าตัวตายมาก่อน ก็จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน รวมทั้งกลุ่มคนที่มีปัญหาโรคเรื้อรังและคนที่เคยมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แต่ต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วนไป ทำให้มีข้อจำกัดอย่างมากในการใช้ชีวิตประจำวัน ก็จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงด้วย
นพ. อภิชาติกล่าวว่าคนใกล้ตัวควรหลีกเลี่ยงการใช้คำพูดในเชิงตำหนิหรือซ้ำเติม แต่ควรพูดให้กำลังใจให้เห็นคุณค่าของชีวิต และชี้ให้เห็นว่ามีทางออกสำหรับสถานการณ์ทุกอย่างที่ไม่ใช่การฆ่าตัวตาย หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาจิตแพทย์

BBC Thai


ไทยตกวันละ10คน+  ญี่ปุ่นประชากรมากกว่าเรา2เท่า ของญี่ปุ่นวันละ70คน  Shocked
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
Nero Angel01
Hero Member
*****

คะแนน 275
ออฟไลน์

กระทู้: 3048


« ตอบ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2015, 06:37:03 AM »

ผู้ใหญ่ปัญหารายได้กับสุขภาพ เด็กปัญหาความรัก
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.126 วินาที กับ 22 คำสั่ง