๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
เมษายน 28, 2024, 03:09:48 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอความรู้เป็นวิทยาทานครับ  (อ่าน 844 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
oil
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 186
ออฟไลน์

กระทู้: 4146


ใครหนอ โกงข้าว ล้มเจ้า เผาเมือง


« เมื่อ: มกราคม 22, 2015, 01:45:50 PM »

http://www.thairath.co.th/content/476408

กรณีผู้ถูกกล่าวหาให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวน ขอไปให้การในชั้นศาล  เมื่อผู้ถูกกล่าวหาแสดงตนเข้ามอบตัวเองเพื่อขอต่อสู้คดีฯด้วยตนเอง มิได้ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ และเป็นผู้มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง สามารถยื่นขอประกันตัวต่อพนักงานสอบสวนได้หรือไม่
เหตุใดพนักงานสอบสวนจึงต้องควบคุมตัวไปขออำนาจศาลฝากขัง   และเมื่อไปถึงศาลแล้ว ทนายของผู้ถูกกล่าวหาสามารถยื่นคำร้องต่อศาลขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีหลักทรัพย์เป็นประกันได้หรือไม่
ไม่มีประสบการณ์คดีลักษณะนี้ ขอความรู้เป็นวิทยาทาน 
ส่วนตัวผมเดาว่าเจอข้อหาหมั่นใส้และโดนสังคมกดดันเลยต้องเข้มเป็นพิเศษ  ต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับคดีตำรวจยิงกิ๊กรุ่นลูกตาย  ไอ้สัสนั่นได้ประกันตัวในบัดดลเพราะเขาว่าเสียไม่กินเนื้อเสือ...เอ้ามันว่าเสือผมก็ว่าเสือตามมันแล้วกัน
ขอบคุณท่านผู้รู้ที่เมตตาแบ่งปันความรู้ครับ
บันทึกการเข้า

Thailand must not welcome f..cking bag packer, get lost
yutthakarn
Hero Member
*****

คะแนน 554
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2354


สิ่งที่คนต้องการ คือ โอกาส


« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 22, 2015, 03:56:25 PM »

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ปกติการจับกุมบุคคลใด ต้องมีหมายจับของศาล มีข้อยกเว้นที่จะจับโดยไม่มีหมายจับ เป็นกรณีตามมาตรา ๗๘ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่
(๑) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๐
(๒) เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด
(๓) เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตามมาตรา ๖๖ (๒) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้
(๔) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตามมาตรา ๑๑๗


การควบคุม
มาตรา ๘๖ ห้ามมิให้ใช้วิธีควบคุมผู้ถูกจับเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เขาหนีเท่านั้น

กรณีนี้ ไม่ทราบข้อเท็จจริงว่าได้มีการขอให้ศาลออกหมายจับไว้แล้วหรือยังครับ แต่อ่านข่าวดูแล้ว เห็นว่ายังเป็นเพียงผู้ต้องสงสัย ครับ ซึ่งเรื่องการจับกุม เป็นความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานตำรวจที่จับ ต้องเป็นคนที่ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลได้ดีที่สุดครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 23, 2015, 12:15:29 AM โดย yutthakarn » บันทึกการเข้า
rambo1th
Hero Member
*****

คะแนน 142
ออฟไลน์

กระทู้: 1349


« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 22, 2015, 04:01:22 PM »

ผมเองก็ความรู้น้อยครับ อยากทราบไว้เป็นความรู้เช่นกันครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 21 คำสั่ง