๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
เมษายน 24, 2024, 03:16:49 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: S&W ชิงดำ Glock วงการคึกคักทัพบกสหรัฐเปลี่ยนปืนพกจีไอนับแสนกระบอก  (อ่าน 2666 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
rambo1th
Hero Member
*****

คะแนน 142
ออฟไลน์

กระทู้: 1349


« เมื่อ: ธันวาคม 14, 2014, 12:38:02 AM »

กองทัพบกสหรัฐกำลังจะทยอยเปลี่ยนปืนพก ให้แก่นายทหารและทหารขั้นประทวนของทั้งกองทัพอีกครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการประกาศเรื่องนี้ให้เป็นข่าวครึกโครม แต่ก็เป็นที่รู้กันในวงในว่า การประกวดราคาจะมีขึ้นในอีกไม่นานนี้ ข่าวนี้ได้สร้างความคึกคักให้แก่อุตสาหกรรมอาวุธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตปืนสั้น กึ่งอันโนมัติขนาดกระสุน 9x19 มม. และ 11 มม. ทั้งหลายที่มีปืนประเภทโครงสร้างทำจากโพลิเมอร์ พร้อมอยู่ในตลาดขณะนี้
       
       กำลังจะเป็นการเปลี่ยนปืนพกมาตรฐานเพียงครั้งที่ 2 ของกองทัพบกสหรัฐ นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 และ สงครามเวียดนามสิ้นสุดลง นับตั้งแต่เปลี่ยนจากโคลท์ .45 มาเป็นเบเร็ตตา 9 มม หรือ Baretta M9 เมื่อปี พ.ศ.2528 หรือ 30 ปีก่อนหน้านี้ ถึงแม้ว่าความนิยมชมชอบในโมเดล 1911 ขนาด .45 ในหมู่ทหารจะไม่เคยเสื่อมคลายก็ตาม
       
       ปัจจุบันไม่เพียงแต่กองทัพบกเท่านั้นที่ใช้เบเร็ตตา ซีรีส์ เอ็ม 9 (92F รวมทั้ง 96F และ 98F) เป็นปืนพกมาตรฐาน หากยังใช้แพร่หลายในกองทัพเรือ ทั้งเป็นปืนพก (Sidearm) ของผู้บังคับบัญชา และ เป็นปืนพกสำหรับยิงฝึกซ้อมของพลทหารและทหารชั้นประทวนอีกด้วย
       
       ในการประกวดราคาเพื่อเบลี่ยนปืนพกครั้งก่อนนี้ Beretta 92F เฉือนซิกซาวเออร์ (SIG Sauer) P226 ขนาด 9 มม. แบบเส้นยาแดงด้วยราคาที่ต่ำกว่า แต่ Beretta M9 ก็มีคุณสมบัติที่โดดเด่นไม่แพ้ใครอยู่หลายด้าน โครงอลูมิเนียมของ M9 ใช้งานได้ในอุณหภูมิตั้งแต่ -40 ไปจนถึง 60 องศาเซลเซียส แช่ในน้ำทะเลได้ ผ่านการทดสอบการตกกระทบบนพื้นคอนกรีตหลายๆ ครั้ง หมกในทราย โคลน และ ในหิมะ นอกจากั้นยังผ่านการพิสูจน์อายุการใช้งาน ที่เรียกว่า MRBF หรือ mean rounds before failure คือ ยิงได้ถึง 35,000 นัดก่อนจะ "ยิงไม่ออก"
       
       ตัวเลข MRBF ของ M9 สูงเป็น 4-6 เท่าอายุการใช้งานของปืนพกกึ่งอัตโนมัติทั่วไป ซึ่งเหมาะกับกองทัพบกสหรัฐมากที่สุด เนื่องจากใช้ปืนพกสมบุกสมบันมากกว่าชาติพันธมิตรยุโรป โดยสงครามอิรักถูกยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างในเรื่องนี้ ซึ่งในหลายเหตุการณ์ระหว่างการสู้รบในเมือง ได้กลายเป็นการเผชิญหน้ากันด้วยปืนพก เป็นการรบในสมรภูมิเนื้อที่จำกัด เช่น การสู้รบในสถานที่อาศัยต่างๆ หรือการปะทะระหว่างการเข้าตรวจค้นบ้านพัก หรือ ห้องพักของผู้ต้องสงสัย ซึ่งปฏิบัติการด้วยปืนเล็กยาวไม่สะดวก ไม่ทันการณ์
       ทั้งนี้ทั้งนั้นได้พิสูจน์ว่า เบเร็ตตา M9 นั้นทนทายาดไม่แพ้ใคร และ ใช้รบได้จริง แต่ปืนพกมาตรฐานของกองทัพบกสหรัฐในปัจจุบันก็มีจุดอ่อน ไม่ต่างกับอาวุธปืนยี่ห้ออื่นๆ ในขนาดเดียวกัน รวมทั้งอาจจะไม่เหมาะกับการพกในยุคใหม่ ไม่คล่องตัวเท่ากับปืนดีไซน์ใหม่ๆ ที่ "แชสซี" หรือ โครง ทำจากวัสดุโพลีเมอร์ พลาสติกที่มีความแข็งแกร่งที่สุดชนิดหนึ่งในอุตสาหกรรม และ ทั่วโลกหันมานิยม "ปืนปาสติก" มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
       
       ถึงแม้ว่าจะใช้เบเร็ตตา M9 มาเพียงประมาณ 30 ปีก็ตาม แต่ก่อนหน้านั้นกองทัพสหรัฐ ใช้โคลท์ M1911 กับ M1911A1 มาเป็นเวลาเกือบ 90 ปี ข่าวการเปลี่ยนปืนของกองทัพจึงเป็นข่าวใหญ่ เพราะว่าโอกาสที่จะได้ชิงเค้กก้อนใหญ่แบบนี้เป็นครั้งหนึ่งในชีวิตเลยทีเดียว บรรดาผู้ผลิตครายใหญ๋จึงเคลื่อนไหวกันคึกคักในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เพราะเดาทิศทางกันไว้ก่อนแล้วไม่ว่าจะเป็นกล็อกแห่งออสเตรีย เบเร็ตตาเจ้าเก่าแห่งอิตาลี ซีซี (CZ) หรือ "ซีแซด" จากสาธารณรัฐเช็ค ซิกซาวเออร์จากเยอรมนี สมิธแอนด์เวสสัน หรือแม้กระทั่งโคลท์ที่ไม่เคยทำ "ปืนปาสติก" มาก่อน ก็ได้ออกดีไซน์ล่าสุดเป็นปืนพกโครงโพลิเมอร์ มาถามทางตลาดเช่นกัน
       
       
*มวยคู่เอก : Glock vs S&W M&P*
       
       ผู้ผลิตปืนค่ายสหรัฐนั้นตื่นตัวช้า และ ดูแคลน "ปืนปาสติก" มากเกินไปก็ว่าได้ กว่าจะมีสำนึกก็ต่อเมื่อปืนกล็อกจากยุโรป เข้าไปครองส่วนแบ่งใหญ่ตลาดในประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสถิติบ่งบอกว่าจนถึงปัจุบันปืน มี่การนำเข้ากล็อกรุ่้นและขนาดต่างๆ สู่สหรัฐรวมกันประมาณ 2.7 ล้านกระบอก และ ราว 60% ของกำลังตำรวจ ตั้งแต่ระดับเมืองจนถึงระดับเค้าตี้ และ ระดับรัฐ ได้หันไปใช้กล็อกกันหมด เจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านความมั่นคง ทั้งซีไอเอ และ เอฟบีไอ ต่างก็หันไปใช้กล็อก รวมทั้งในหน่วยปฏิบัติการพิเศษหลายหน่วยของกองทัพเองด้วย ซึ่งเรื่องแบบนี้ย่อมสร้างความปวดร้าวให้แก่ปืนเจ้าถิ่น โดยเพาะอย่างยิ่งคือ ยักษ์ใหญ่สมิธแอนด์เวสสัน (Smith&Wesson) กับโคลท์ (Colt) ที่ได้ชื่อเป็นปืนคู่บ้านคู่เมือง คู่ประวัติศาสตร์ของประเทศ
       
       กว่า 20 ปีที่ผ่านมา กล็อกแห่งออสเตรีย ได้ผลิตปืนพกโครงโพลิเมอร์ออกมาทุกรุ่นทุกขนาด เพื่อสนองตลาดสหรัฐ ทั้ง 9 มม, 10 มม, .380 และ 11 มม. มีข้อดีข้อเด่นมากมาย กล็อกจึงพร้อมที่ผลิตตามออร์เดอร์ได้ล็อตใหญ่ได้ทันที ก็จึงถูกมองเป็นหนึ่งในตัวเต็งสุดขีด ในการจัดหาปืนพกของกองทัพบกสหรัฐครั้งนี้ แต่ในขณะเดียวกันวงการก็ไม่อาจมองข้าม S&M ได้ เพราะเตรียมการเรื่องนี้มาหลายปีเช่นกัน จะเห็นได้จากการที่สมิธฯ ผนึกกำลังเป็นพันธมิตรกับบริษัทเจเนอรัลไดนามิกส์ (General Dynamics) ผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ที่ร่วมงานกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐมานาน เพื่อพัฒนาปืนพก S&M ซีรีส์ M&P ออกมาชิงตลาดปืนโครงโพลิเมอร์ ซึ่งตัวย่อหลังนั้นก็คือ "military" กับ "Police" นั่นเอง เป็นการตั้งเป้าแย่งตลาดในวงการป้องกันประเทศ และ ตลาดผู้รักษากฎหมาย รักษาความสงบของสังคม ให้กลับคืนมาเป็นของสมิธฯ อีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่โคลท์ยังพัฒนาไม่ถึงขั้นจะเป็นคู่แข่งได้ ในปืนเซ็กเม้นต์โครงโพลิเมอร์นี้
       
       เบเร็ตต้าก็ไม่ได้ต่างกันกับปืนค่ายสหรัฐส่วนใหญ่ ที่ไหวตัวช้าเกี่ยวกับ "ปืนปาสติก" และ ซีรีส์ใหม่ภายใต้รหัส Px4 Storm ที่ออกมาก่อนหน้านี้ ก็พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ถึงแม้ว่าจะมีนวตกรรม ออกมาหลายเรื่อง รวมทั้งการใช้ลูกเลื่อนกับลำกล้องหมุนสลับ คล้ายๆ กับปืน "แกตลิ่ง" (Gatling Gun) ด้วย ซึ่งต่างไปจาก S&M M&P ที่ถูกพัฒนามาเป็นปืนแบบสามัญๆ แต่ก็เฉือนกล็อกไปได้ในหลายด้าน และได้รับความนิยมอย่างมากมายในขณะนี้ S&M General Dynamics เอาใจใส่ในรายละเอียด ในการผลิตปืนเพื่อให้ใช้ได้กับฝ่ามือทุกขนาด ซึ่งแต่ละคนไม่เท่ากัน และ เพศชายกับเพศหญิงก็ต่างกัน ซึรีส์ M&P ของ S&W ได้สนองความต้องการในเรื่องนี้ก่อนใครๆ โดยแถม "ประกับ"ด้ามปืนมาด้วยหลายขนาด เพื่อให้สามารถเปลี่ยนให้กระชับยอุ้งมือได้ ตามสภาพความกว้างของฝ่ามือแต่ละคนนั่นเอง
เอาแค่เรื่องเดียวนี้กล็อกก็พลาดแบบไม่เป็นท่า เพราะไม่ว่าปืนจะดีแค่ไหนก็ตาม ก็ใช่ว่าทุกคนจะถือปืนกล็อกได้อย่างกระชับมือพอดี.. ดีพอที่จะเหนี่ยวไกยิงอย่างแม่นยำได้ และ กว่ากล็อกจะรู้ตัวก็อีกหลายปีต่อมา จนกระทั่งถึง GEN 4 หรือ กล็อกเจเนอเรชั่นที่ 4 นี่เองจึงเริ่มแถมประกับด้ามปืนมาคู่กับปืนด้วยอย่างเอาจริงเอาจัง แบบเดียวกับ S&M M&P ซึ่งก็ดูจะช้าเกินไป อเมริกันชนหลายหมื่น รวมทั้งกลุ่มสตรี ได้ซื้อปืนของสมิธฯ เรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุผลนี้
       
       เรื่องความสะดวกในการพกพากับแม่นยำกินกันไม่ลง ในขณะที่โครงโพลิเมอร์ของ M&P ดูจะได้เปรียบที่เสริมโครงเหล็กชั้นใน ทนต่อแรงกระทบ แรงกดทับมากกว่า ไม่บิดไม่เบี้ยว และ ในขณะที่กล็อกสวยอย่างเรียบหรู M&P ก็สวยอย่างมีดีไซน์และมีลวดลายที่ดูหรูหราไม่แพ้กัน นอกจากนั้นรางแบบพิคันตินีของ M&P ก็ยังติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ได้หลายชนิดมากกว่า รางของกล็อก ซึ่งสนองความต้องการของกองทัพได้มากกว่า
       
       ประการสำคัญที่สุดสำหรับ สมิธฯ กับเจเนอรัลไดนามิกส์ ข้อได้เปรียบอย่างยิ่งก็คือ การเป็นปืน Made-in-USA ที่คนอเมริกันภาคภูมิใจ ซึ่งต่างกับกล็อกที่มาจากแดนไกล เช่นเดียวกันกับเบเร็ตตาแห่งแดนมักกะโรนี ถึงแม้ว่าในเวลาต่อมารายหลังนี้จะมีโรงงานประกอบในรัฐแมรีแลนด์ก็ตาม
       
       เพราะฉะนั้นคู่ชิงที่ถูกจับตามองมากที่สุด สำหรับล็อตใหญ่กองทัพบกสหรัฐ ก็จึงเป็น "ปืนปาสติก" 2 รุ่น คือ Glock 19 GEN 4 9x19 มม. กับ S&W M&P 9x19 มม. นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบรายละเอียดอย่างสิ้นเชิงในขณะนี้ว่า กองทัพบกสหรัฐต้องการปืนพกมาตรฐานแบบไหน สเปกไหน ใช้กระสุนขนาดเท่าไร ซึ่งเมื่อครั้งเปลี่ยนปืนพกมาตรฐานครั้งล่าสุดนั้น กองทัพบกได้ทิ้งโคลท์ M1911A1 ขนาด.45 หรือ 11 มม. ไปใช้เบเร็ตตา M9 กระสุน 9 มม. หรือ "9x19 มม. พาราเบลลัม" ตามพันธมิตรในยุโรป ที่ต้องการกระสุนปืนพกที่ขนาดเล็กลงและราคาถูกลง รวมทั้งเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกันในกลุ่มนาโต้ ที่กำลังเผชิญหน้ากับสหภาพโซเวียตในยุคสงครามเย็นนั่นเอง
       
       แต่ตลอดเวลาเกือบ 30 ปีมานี้ จะมีเสียงบ่นของเหล่าทหารให้ได้ยินกันอยู่เสมอๆ ว่า อำนาจหยุดยั้งของกระสุน 9 มม. นั้นต่ำมาก เจอศัตรูตัวโตๆ เข้าต้องรัวจนหมดแม็กจึงจะแน่ใจว่าจอดแน่ ซึ่งแทนที่จะประหยัดได้กลับต้องจ่ายมากขึ้น ต่างกับกระสุน 11 มม.ที่ขนาดใหญ่กว่าและแรงกว่า ซึ่งโดยทั่วไปนัดเดียวก็เอาอยู่ แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลใดๆ ว่าครั้งนี้กองทัพบกจะกลับไปใช้กระสุนขนาดใหญ่อีกหรือไม่
       
       นอกจากนั้นก็ยังไม่ทราบว่ากองทัพบกสหรัฐจะกลับไปหาปืนพกโครงสเตนเลส หรือ ยังจะใช้โครงอลูมิเนียมแบบ Beretta M9 ต่อไป หรือว่าจะเปลี่ยนไปใช้ "ปืนปาสติก" ตามสมัยนิยม แต่อย่างน้อยที่สุดประวัติศาสตร์ก็บอกให้รู้ว่า การเปลี่ยนปืนทุกครั้งหมายถึงการเปลี่ยนยุค และกองทัพสหรัฐก็เคยเปลี่ยนจากปืนเล็กยาวที่มีน้ำหนักมากกว่า ไปใช้ปืนที่มีน้ำหนักเบากว่ามาแล้ว เช่น จาก M-14 ในสงครามเวียดนามได้เปลี่ยนมาใช้ M-16 ที่ใช้ไฟเบอร์เป็นส่วนประกอบ ทำให้น้ำหนักเบาลงมาก และ เปลี่ยนมาเป็น M-4 ในปัจจุบัน
       
       ยังไม่ว่ากองทัพบกสหรัฐกำลังจะจัดหาปืนพกมาตรฐานรุ่นใหม่จำนวนทั้งสิ้นกี่กระบอก ทราบแต่เพียงว่ากระบวนการประกวดราคาจะเริ่มในเดือน ม.ค. 2558 นี้ และ จะดำเนินไปตลอด 2 ปีข้างหน้า แต่ทว่า... ตัวเลขที่น่าตื่นตาตื่นใจของบาเร็ตตาก็คือ ตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา บริษัทนี้ขาย M9 รุ่นต่างๆ ให้กองทัพสหรัฐไปกว่า 600,000 กระบอก ส่วนใหญ่ใช้ในกองทัพบก และ ตอนนี้ก็ยังมีสัญญาที่จะต้องส่งมอบอีก 20,000 กระบอก.
       

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000143288


    ไชโยผมได้ครอบครองอาวุธปืนของกองทัพสหรัฐแล้วไม่ว่าแบบใดจะชนะเลิศก็ตาม แต่สงสัยว่าบาเร็ตต้า 96F กับ 98F หน้าตามันเหมือน 92F ไหมครับ

บันทึกการเข้า
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50461



« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2014, 02:09:33 AM »

+ครับท่านrambo1th    เยี่ยม

ผมว่ากล๊อคคงแพ้  เพราะอเมริกาชาตินิยม  Grin

แต่ออสเตรีย ประเทศเล็กๆ นี่ก็สุดติ่งจริงๆ ทำปืนพกขายดีทั้งโลก ทั้งที่ไม่มีไรเลย  เยี่ยม

ดีใจนะ ใช้มาจะสิบปี ไม่มีงอน  คิก คิก
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
มะขิ่น
Hero Member
*****

คะแนน 2453
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17813


"ทหารแก่ไม่มีวันตาย แต่จะค่อยๆเลือนหายไป"


« ตอบ #2 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2014, 07:45:03 AM »

ข่าวเก่ากระมังครับ
บันทึกการเข้า

อย่าดึงฟ้าต่ำ  อย่าทำหินแตก  อย่าแยกแผ่นดิน
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12902



« ตอบ #3 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2014, 08:18:24 AM »

การจัดหาปืนพกของกองทัพสหรัฐในอนาคต น่าจะไม่เป็นแบบที่เคยทำมา
สิบปีที่ผ่านมา  เอฟบีไอซื้อกล็อค.40,  กองทัพ (นอกเครื่องแบบ) กับตำรวจอารักขาซื้อซิก 228, กองทัพอากาศซื้อกล็อค 9 มม., ยามฝั่งซื้อซิก.40  และล่าสุดมารีนซื้อ M45 MEUSOC (โคลท์.45 เจ็ดนัด มีราง)
บันทึกการเข้า
tao bangkhaen
Hero Member
*****

คะแนน 354
ออฟไลน์

กระทู้: 3455


« ตอบ #4 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2014, 10:19:56 PM »

การจัดหาปืนพกของกองทัพสหรัฐในอนาคต น่าจะไม่เป็นแบบที่เคยทำมา
สิบปีที่ผ่านมา  เอฟบีไอซื้อกล็อค.40,  กองทัพ (นอกเครื่องแบบ) กับตำรวจอารักขาซื้อซิก 228, กองทัพอากาศซื้อกล็อค 9 มม., ยามฝั่งซื้อซิก.40  และล่าสุดมารีนซื้อ M45 MEUSOC (โคลท์.45 เจ็ดนัด มีราง)
กราบขอบพระคุณครับ  ท่านอาจารย์  ถือเป็นความรู้อย่างหนึ่งสำหรับกระผมเลยครับ หลากหลายทีเดียวเชียว คิดหาตัวชี้วัดไม่ออกเลยว่า แต่ละหน่วย เอาอะไรมาเป็นตัวตั้งในการคิดซื้ออาวุธประจำหน่วย
บันทึกการเข้า
RSIA01 - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 113
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 832

"If guns are outlawed only outlaws will have guns"


« ตอบ #5 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2014, 10:41:02 PM »

การจัดหาปืนพกของกองทัพสหรัฐในอนาคต น่าจะไม่เป็นแบบที่เคยทำมา
สิบปีที่ผ่านมา  เอฟบีไอซื้อกล็อค.40,  กองทัพ (นอกเครื่องแบบ) กับตำรวจอารักขาซื้อซิก 228, กองทัพอากาศซื้อกล็อค 9 มม., ยามฝั่งซื้อซิก.40  และล่าสุดมารีนซื้อ M45 MEUSOC (โคลท์.45 เจ็ดนัด มีราง)

เพราะเหตุใดทางนาวิกโยธินสหรัฐถึงเลือกแม็ค 7 นัดแทนที่จะเป็น 8 นัดครับท่านผู้การ
คือเคยอ่านท่านผู้การเขียนใน อวป ว่าเพราะป้อนลูกได้แน่นอนกว่า แต่ก็อยากทราบว่ามีเหตุผลอื่นอีกหรือไม่ครับ
หากไม่มี แสดงว่า แม็ค 8 นัด มันเชื่อถือไม่ได้ขนาดนั้นเลยหรือครับ (ถึงขั้นยอมเสียความจุที่น้อยอยู่แล้ว แสดงว่าสิ่งที่ได้แลกมาสำคัญมาก)

ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า

ข้าฯ ประกาศจักต่อสู้ไม่รู้ถอย
ขอ   เฝ้าคอยพิทักษ์ถิ่นแผ่นดินผืน
พลี   ตนได้เพื่อให้ไทยยั่งยืน
ชีพ   ไม่ฟื้นต้องแตกดับไม่กลับใจ
เพื่อ  ประเทศไทยที่รักของข้าฯนี้
ชาติ  ต้องมีอนาคตที่สดใส
และ  จักขอปกป้องศูนย์รวมใจ
ราชบัลลังก์  จักรีไว้ให้ยืนยง
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12902



« ตอบ #6 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2014, 11:47:33 PM »

การจัดหาปืนพกของกองทัพสหรัฐในอนาคต น่าจะไม่เป็นแบบที่เคยทำมา
สิบปีที่ผ่านมา  เอฟบีไอซื้อกล็อค.40,  กองทัพ (นอกเครื่องแบบ) กับตำรวจอารักขาซื้อซิก 228, กองทัพอากาศซื้อกล็อค 9 มม., ยามฝั่งซื้อซิก.40  และล่าสุดมารีนซื้อ M45 MEUSOC (โคลท์.45 เจ็ดนัด มีราง)

เพราะเหตุใดทางนาวิกโยธินสหรัฐถึงเลือกแม็ค 7 นัดแทนที่จะเป็น 8 นัดครับท่านผู้การ
คือเคยอ่านท่านผู้การเขียนใน อวป ว่าเพราะป้อนลูกได้แน่นอนกว่า แต่ก็อยากทราบว่ามีเหตุผลอื่นอีกหรือไม่ครับ
หากไม่มี แสดงว่า แม็ค 8 นัด มันเชื่อถือไม่ได้ขนาดนั้นเลยหรือครับ (ถึงขั้นยอมเสียความจุที่น้อยอยู่แล้ว แสดงว่าสิ่งที่ได้แลกมาสำคัญมาก)

ขอบพระคุณครับ

ปืน M45 MEUSOC  บรรจุในกองพันลาดตระเวณ ซึ่งเปรียบเหมือนกับหน่วยรบพิเศษของมารีน  มีขีดความสามารถในการใช้อาวุธดีกว่าทหารทั่วไป  ก็คงเอาความชัวร์ไว้ก่อน
สิบกว่าปีก่อน  มีการย้ายสำนักงานในกระทรวงกลาโหมสหรัฐ แล้วเปิดตู้พบปืน M1911 A1 กระบอกหนึ่ง บรรจุกระสุนเต็ม 7 นัด  ตรวจสอบเอกสารพบว่ามันบรรจุกระสุนแบบนั้นมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง คือห้าสิบปีมาแล้ว   ก็เลยมีการนำไปยิงทดสอบ ปรากฏว่าซองกระสุนยังคงป้อนกระสุนได้ตามปกติ
บันทึกการเข้า
tao bangkhaen
Hero Member
*****

คะแนน 354
ออฟไลน์

กระทู้: 3455


« ตอบ #7 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2014, 10:42:14 AM »

การจัดหาปืนพกของกองทัพสหรัฐในอนาคต น่าจะไม่เป็นแบบที่เคยทำมา
สิบปีที่ผ่านมา  เอฟบีไอซื้อกล็อค.40,  กองทัพ (นอกเครื่องแบบ) กับตำรวจอารักขาซื้อซิก 228, กองทัพอากาศซื้อกล็อค 9 มม., ยามฝั่งซื้อซิก.40  และล่าสุดมารีนซื้อ M45 MEUSOC (โคลท์.45 เจ็ดนัด มีราง)

เพราะเหตุใดทางนาวิกโยธินสหรัฐถึงเลือกแม็ค 7 นัดแทนที่จะเป็น 8 นัดครับท่านผู้การ
คือเคยอ่านท่านผู้การเขียนใน อวป ว่าเพราะป้อนลูกได้แน่นอนกว่า แต่ก็อยากทราบว่ามีเหตุผลอื่นอีกหรือไม่ครับ
หากไม่มี แสดงว่า แม็ค 8 นัด มันเชื่อถือไม่ได้ขนาดนั้นเลยหรือครับ (ถึงขั้นยอมเสียความจุที่น้อยอยู่แล้ว แสดงว่าสิ่งที่ได้แลกมาสำคัญมาก)

ขอบพระคุณครับ

ปืน M45 MEUSOC  บรรจุในกองพันลาดตระเวณ ซึ่งเปรียบเหมือนกับหน่วยรบพิเศษของมารีน  มีขีดความสามารถในการใช้อาวุธดีกว่าทหารทั่วไป  ก็คงเอาความชัวร์ไว้ก่อน
สิบกว่าปีก่อน  มีการย้ายสำนักงานในกระทรวงกลาโหมสหรัฐ แล้วเปิดตู้พบปืน M1911 A1 กระบอกหนึ่ง บรรจุกระสุนเต็ม 7 นัด  ตรวจสอบเอกสารพบว่ามันบรรจุกระสุนแบบนั้นมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง คือห้าสิบปีมาแล้ว   ก็เลยมีการนำไปยิงทดสอบ ปรากฏว่าซองกระสุนยังคงป้อนกระสุนได้ตามปกติ
กราบขอบพระคุณอาจารย์ ท่านก็แปลใบ้เหตุผลไว้ สองอย่าง สำหรับ ปืนโบราณอย่าง เอ็ม 1911 ในร่างทรงใหม่ ทันสมัย คือ
1.คำว่า "ชัวร์ไว้ก่อน" ก็คงหมายถึง กระสุนหน้าตัดใหญ่ ความเร็วต่ำ มีอำนาจการหยุดยั้งแบบ "ชัวร์ไว้ก่อน" .....
2.เรื่องส่วนต่างจำนวนกระสุน ปืนโบราณ หน้ากระสุนหน้าตัดใหญ่ กับ จำนวนกระสุนปืนสมัยใหม่ หน้าตัดเล็ก แต่ลูกมากนั้น  หน่วยรบพิเศษของทหารมะริน เลือกที่จะใช้กระสุน เพียงแค่ "เจ็ดนัด" ต่อ หนึ่งซองกระสุนมาตรฐานเอ็ม 1911 แทนทีจะเลือก 8 นัด ตามที่ดัดแปลง เพราะเชื่อว่า ก่อนถึงนัดที่ 8  กระสุนแค่ในซองกระสุนมาตรฐาน คงทำงานได้สำเร็จ ไปแล้ว โดยไม่ต้องรอถึงนัดที่ 8 เพื่อเสี่ยงกับการติดขัดของระบบปฏิบัติการของปืน เนื่องจากของเดิม 50 ปี ก็ยังแจ๋ว  คงประมาณนั้น

ทหารมะริน  กลับไม่สนใจ กระสุนสองแถว หน้าตัดเล็กกว่า .45 เอาเสียเลย   เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ก็ลองเก็บไปคิดดูกัน

....ดีจังครับ ใครคิดเล่นปืน ก็ลองเอา ข้อที่ท่านอาจารย์กรุณาเขียนไว้ให้นี้ ไปพิจารณาในการคิดเลือกซื้อปืนประจำกายก็แล้วกันนะครับ .....
บันทึกการเข้า
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12902



« ตอบ #8 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2014, 11:48:47 AM »

คงไม่ถึงกับเป็นแบบนั้น
โครงการ M45 MEUSOC  เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2002  โดยหน่วย  Precision Weapons Section ของมารีนที่ควอนติโก เวอร์จิเนีย ทำปืนต้นแบบขึ้นมาเอง โดยตั้งชื่อโครงการว่า 789 MEU (SOC) 1911's  ใช้โครงปืน 1911 A1 ของเดิม  แล้วสั่งชิ้นส่วน

- สไลด์เปล่าจากสปริงฟิลด์
- ลำกล้อง, bushings, link pins, sear springs, ejectors, firing pin stops, mainspring housings and mainsprings, จาก Nowlin
- หลังอ่อน, ไกด์รอดจากเอ็ดบราวน์
- ศูนย์จากโนแวกส์
- ขอรั้งฯ, ปุ่มปลดแม็กจากวิลสัน
- เซฟซ้าย/ขวาจากคิงส์
- ประกับด้ามปืนแพชเมียร์

ยอดปืนไม่บอกว่ากี่กระบอก  แต่กระสุนทดสอบห้าแสนนัด โดยจะต้องส่งปืนกลับมาตรวจสอบทุก ๆ หนึ่งหมื่นนัด
หลังจากจบโครงการสรุปว่าจะเอาแบบนี้  ก็ถูก US SOCOM กดดันให้ใช้ปืน HK แต่มารีนไม่ยอม ยื้อกันไป ยื้อกันมาอยู่หลายปี  ระหว่างนั้นมารีนก็เอาปืนพวกนี้ออกปฏิบัติการจริงไปพลาง ๆ  จุดเปลี่ยนที่ทำให้มารีนชนะ  น่าจะมาจากการที่หน่วย SWAT ของ LAPD (ที่อาจจะมีคนของมารีน รีไทร์ไปอยู่)  ตัดสินใจสั่งให้คิมเบอร์ผลิตปืนในแนวนี้ออกมาใช้งานในหน่วย  แต่ปืนของ LAPD จะใช้ซองกระสุน 8 นัดของวิลสัน   

โครงการนี้จบที่มารีนชนะ  และโคลท์ได้สัญญาผลิต M45 A1 จำนวน 12,000 กระบอก ๆ ละ 1,875 เหรียญ  ชิ้นส่วนเปลี่ยนไปบ้าง เช่นแก้มปืนเป็น G-10  รมดำเปลี่ยนเป็นเคลือบสี Cerakote ที่หล่อลื่นในตัว
บันทึกการเข้า
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1870
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10361



« ตอบ #9 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2014, 11:53:24 AM »

เค้ามาอ่านเอาความรู้ครับ +ท่านผู้การ และทุกๆท่านในหน้านี้ Grin ไหว้
บันทึกการเข้า

..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing..
"สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
tao bangkhaen
Hero Member
*****

คะแนน 354
ออฟไลน์

กระทู้: 3455


« ตอบ #10 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2014, 03:35:52 PM »

คงไม่ถึงกับเป็นแบบนั้น
โครงการ M45 MEUSOC  เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2002  โดยหน่วย  Precision Weapons Section ของมารีนที่ควอนติโก เวอร์จิเนีย ทำปืนต้นแบบขึ้นมาเอง โดยตั้งชื่อโครงการว่า 789 MEU (SOC) 1911's  ใช้โครงปืน 1911 A1 ของเดิม  แล้วสั่งชิ้นส่วน

- สไลด์เปล่าจากสปริงฟิลด์
- ลำกล้อง, bushings, link pins, sear springs, ejectors, firing pin stops, mainspring housings and mainsprings, จาก Nowlin
- หลังอ่อน, ไกด์รอดจากเอ็ดบราวน์
- ศูนย์จากโนแวกส์
- ขอรั้งฯ, ปุ่มปลดแม็กจากวิลสัน
- เซฟซ้าย/ขวาจากคิงส์
- ประกับด้ามปืนแพชเมียร์

ยอดปืนไม่บอกว่ากี่กระบอก  แต่กระสุนทดสอบห้าแสนนัด โดยจะต้องส่งปืนกลับมาตรวจสอบทุก ๆ หนึ่งหมื่นนัด
หลังจากจบโครงการสรุปว่าจะเอาแบบนี้  ก็ถูก US SOCOM กดดันให้ใช้ปืน HK แต่มารีนไม่ยอม ยื้อกันไป ยื้อกันมาอยู่หลายปี  ระหว่างนั้นมารีนก็เอาปืนพวกนี้ออกปฏิบัติการจริงไปพลาง ๆ  จุดเปลี่ยนที่ทำให้มารีนชนะ  น่าจะมาจากการที่หน่วย SWAT ของ LAPD (ที่อาจจะมีคนของมารีน รีไทร์ไปอยู่)  ตัดสินใจสั่งให้คิมเบอร์ผลิตปืนในแนวนี้ออกมาใช้งานในหน่วย  แต่ปืนของ LAPD จะใช้ซองกระสุน 8 นัดของวิลสัน  

โครงการนี้จบที่มารีนชนะ  และโคลท์ได้สัญญาผลิต M45 A1 จำนวน 12,000 กระบอก ๆ ละ 1,875 เหรียญ  ชิ้นส่วนเปลี่ยนไปบ้าง เช่นแก้มปืนเป็น G-10  รมดำเปลี่ยนเป็นเคลือบสี Cerakote ที่หล่อลื่นในตัว
กราบขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้ง เนื่องจาก ข้อมูลของท่านเจ้าของกระทู้นั้น เป็นข้อมูลเชิงข่าวสาร
แต่ข้อมูลของอาจารย์นั้น เป็นข้อมูลเชิงลึก เป็นข้อมูลทางเทคนิคของปืน ที่มา  ที่ไป  ของปรากฎการณ์ "  สายน้ำที่ไหลกลับ" ที่ผมชอบพูดเสมอ อาจารย์กรุณา เล่าให้พวกเราฟัง ถือเป็นพระคุณ เพราะคนบ้า 1911 หลายคน อาจทราบว่า 1911 กลับสู่กองทัพแล้ว แบบพอเลาๆ บ้างแล้ว แต่คงมีอีกหลายท่านรวมทั้งผม ที่ไม่ทราบรายละเอียดเชิงลึกๆ เหล่านี้
สายน้ำ มันไม่ไหลกลับ อยู่แล้ว โดยธรรมชาติ  แต่ปรากฎการณ์ "สายน้ำที่ไหลกลับ" ในความคิดของผมคือ .....
....... ในที่สุด  เจ้า .45 เอ็ม 1911  ก็กลับคืนสู่อ้อมอก ของทหารอเมริกัน อีกครั้งหนึ่ง แม้มันจะไม่ทุกกองทัพ หรือทุกหน่วย ก็ตาม แต่นี่ ก็เป็นการเริ่มต้นแล้วแหละ
........ผมเป็นคนบ้า 1911 ชนิดขึ้นสมองคนหนึ่ง (เพราะดูๆ แล้ว ก็มีหลายคนที่เหมือนๆผม อาจหนักกว่าด้วยซ้ำไป) แต่ผมก็ไม่รู้ว่า
1.พวกฝรั่ง เขาเอา โครง 1911 เอ1 ของเดิม มาผสมอะไหล่ ชิ้นส่วน จากบริษัท ที่อาจารย์กล่าวมานั้น ล้วนเป็นบริษัทที่ทำอุปกรณ์ แต่งซิ่งแทบทั้งสิ้น มันรู้สึกภูมิใจ ในรูปแบบของโครงปืนมาตรฐาน ที่ผลิตตั้งแต่ยุค สงครามโลก แต่สามารถนำมาผสมกับอุปกรณ์อะไหล่รุ่นย้อนหลังได้อย่างไร มันน่าทึ่ีงตรงนี้
2.นอกจากในโครงร่างของ 1911 ที่กลับสู่อ้อมกอดของ ทหารอเมริกัน มะริน แล้ว  บริษัท ....  บริษัท ... รูปม้าหักหอก ก็ได้รับการสัญญาให้เป็นผู้ผลิตปืนนี้ อีกตั้่งเป็น 12,000 กระบอก มันคงเป็นก้าวแรก ของโคลท์ ของการกลับสู่กองทัพ และผมหวังว่า มันคงมีก้าวต่อๆ ไป เพราะผมหลงไหล รูปม้า...ของโคลท์ ...จึงรู้สึกดีใจกับข้อมูลที่อาจารย์เล่าให้ฟัง
3.อีกเรื่องที่ผมชอบนึกจินตนาการ ในฐานะบ้า เอ็ม 1911 ว่า มันอมตะ แค่ไหน
สมมุติว่า มีคุณปู่ คุณทวด ที่เคยเป็นทหาร อเมริกัน ท่านหนึ่ง สมัย สงครามโลกครั้งที่สอง ในวันนี้ ท่านยังไม่ถึงแก่กรรม  อยู่ ๆ  เจ้าเหลน มารีน  เอาปืนพกตัวใหม่นี้ กลับบ้าน  ...คุณปู่  คุณทวด  ท่านอาจจะเล่าประสบการณ์ของท่าน เกี่ยวกับ เอ็ม 1911 ตัวที่ เหลน เอากลับบ้านไปให้ชม  และคุณปู่ คุณทวดท่านนั้น อาจสามารถ จับ  ถือ  ได้อย่าง รู้และเข้าใจ  เนื่องจาก อาวุธนี้ โดยหลักแล้ว มันไม่เปลี่ยนไปจากเดิมเลย ตั้งแต่รุ่นทวด ยันรุ่นเหลน  อาจจะมีก็แค่อุปกรณ์ตกแต่งเท่านั้น ส่วนอื่น เหมือนเดิมทุกประการ
..............แล้วจะมีวัตถุซักกี่ชิ้นในโลกนี้ ที่ ปู่ทวด  กับ เหลน สามารถเล่นด้วยกันได้ สามารถพูดกันรู้เรื่อง
...............โทรศัพท์สมัยนั้น ยังต้องหมุน หรือ ปั่น ก่อนโทรฯ หรือเปล่า โทรศัพท์สมัยนี้ มันต่างกับโทรศัพท์สมัยโน้นชนิดเทียบกันไม่ได้
................แต่ โคลท์ เอ็ม 1911  มันข้ามกาลเวลาได้ ...........
กราบขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้ง ที่เล่าให้ฟังครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 15, 2014, 05:57:18 PM โดย tao bangkhaen » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 21 คำสั่ง