๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
มีนาคม 28, 2024, 08:02:43 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "เจ้าอาวาสอนุญาตให้ไวยาฯวัดพกปืนแฉพาะในเขตวัด ผิดไหม"  (อ่าน 4950 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
p23-504 รักในหลวง
Sr. Member
****

คะแนน 82
ออฟไลน์

กระทู้: 545


« ตอบ #15 เมื่อ: ตุลาคม 28, 2014, 11:05:58 PM »

ปล้นเงินผ้าป่าเงินกฐินไม่ใช่ง่ายนะครับต้องใช้คนหลายคน  ยกต้นเงินเอามาถอดดอกเงินทีละดอก  ใบละยี่สิบ ใบละห้าสิบ ใบละร้อย ใบละห้าร้อย ใบละพันไม่ค่อยมีคนติด  ส่วนมากจะใช้ใบละยี่สิบและใบละร้อยเป็นหลักเพราะอยากจะให้ต้นเงินดูใหญ่ดอกดก  เวลาที่มีงานทอดกฐินหรือทอดผ้าป่าส่วนมากจะตั้งองค์กฐินผ้าป่าไว้ทั้งคืน ตอนเช้าจึงทำพิธีถวาย  ถวายเสร็จแล้วกรรมการก็จึงมาถอดดอกเงินออกจากต้นเงิน  ถอดเงินออกจากดอกเงินเอาเรียงแยกนับต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมง  ยังไม่เคยได้ยินว่ามีการปล้นเงินกฐินหรือเงินผ้าป่า   ไหว้
บันทึกการเข้า
GUNRUNNER
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3114
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 13345



« ตอบ #16 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2014, 10:41:51 AM »

เป็นการ ล้อมคอกก่อนวัวหาย ครับ
  แต่เหมือนกับจะล้อมคอกผิดวิธี  ที่ผ่าน ๆ มาผมเห็นเหมือนที่เพื่อนสมาชิกหลายท่านบอกมาครับ
ให้เจ้าหน้าที่ธนาคารมาช่วยรับเงิน  มีเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบมาอยู่เป็นเพื่อน ผมคิดว่าวิธีนี้
เป็นการล้มคอกก่อนวัวหายที่ดีที่สุดครับ
บันทึกการเข้า

ปืน...ดีทุกกระบอก...ขอให้คนยิงยิงให้ดีก็แล้วกัน...
          ...พวกอินเดียนแดงเค้าบอกไว้นานแล้วครับ...
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6128
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #17 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2014, 12:24:50 PM »

เรื่องนี้ผมยังมองว่า ขอความร่วมมือจาก จนท.ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยดูสง่างามที่สุดครับ
วัดแถวบ้าน เวลากฐินมักจะได้รับความร่วมมือจากตำรวจและ อปพร. ซึ่งว่าไปไม่เคยมีการปล้นจี้กฐินหรอก
แต่มีไว้กันหมาถาม
ขออภัย พูดตรงๆ เวลามีกฐิน หากไม่มีตำรวจ หรือ อปพร.อยู่ใกล้ๆพุ่มกฐินแถวนั้น มักมีคนถาม
ไม่มีใครดูแลความปลอดภัยเลยเหรอ โดนปล้นจี้จะว่าไง อะไรแบบนี้ ดังนั้นมีไว้ป้องกันความหงุดหงิด
จากคำถามมากกว่า และ ตร.กับ อปพร. ต้องอยู่ในจุดมองเห็นได้ชัดด้วยนะ ต้องโชว์ออฟนิดนึง

หลายปีที่แล้ว วัดหนึ่ง มีกฐินจาก กองบิน7มา อุบาสก อุบาสิกาในพื้นที่นั่งเงียบกริ๊บ เพราะการ์ดของพุ่มกฐิน
เป็น ส.ห. ท.อ.
บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #18 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2014, 01:41:21 PM »

นายสมชายขยายความนิดนึงครับ คือคำว่า"เจ้าพนักงานตาม ป.วิ อาญา" นั่นหมายถึงเจ้าพนักงานมีหน้าที่รักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชนนะครับ... ตามมาตรา 2 วรรค 16 ตัวแดงข้างล่างนี่ครับ...

จะเห็นว่า ป.วิอาญา ม.2 บอกไว้ว่าเจ้าพนักงานที่กฎหมายให้มีอำนาจฯ นั่นแปลว่า ป.วิ.อาญา"อ้างถึงกฎหมายอื่น"ที่ให้อำนาจหน้าที่รักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชนนะครับ... ทีนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจนั่นชัดเจนไม่ต้องอ้างกฎหมายอื่น แต่กรณีผู้ใหญ่บ้าน กำนัน หรือผู้ช่วย ฯลฯ ก็จะอ้างถึง พระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ ตาม มาตรา 27 ตัวสีน้ำเงินให้อำนาจเอาไว้ครับ...

ลองอ่านดูจะพบว่าบางข้อดุเดือดเลือดพล่านเหมือนในหนังไทยโบราณครับ เช่นข้อ 7 ลองสมมติเหตุการณ์แบบเรื่องเก่าๆสมัยนายฮ้อยต้อนควายยังเกลื่อนทุ่งกุลานะครับ... ลูกบ้านโดนปล้นควายก็วิ่งไปบอกผู้ใหญ่บ้านฯ ผู้ใหญ่บ้านก็ตีเกราะเรียกระดมพลลูกบ้าน ยืนหน้าลานบ้านถือคบเพลิงเหงื่ออาบผิวมันระยับสะท้อนแสงไฟ เห็นกล้ามเนื้อกำยำทั้งตัวสมกับผู้นำชุมชน แล้วตะโกนบอกว่าไปโว๊ย!!! ไปตามควายของไอ้ทิดมีกลับมาให้ได้ ใครมืปืนเอาไปด้วย งานนี้ถึงตายโว้ย ใครใจไม่ถึงไม่ต้องไป...

แล้วทั้งขบวนตามควายนี่ หากไอ้โจรไม่ยอมคืนควายแล้ว กฎหมายให้ต่อสู้ได้เชียวครับ... โห...

(16) "พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ" หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าพนักงาน อื่น ๆ ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิด กฎหมาย ซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม

มาตรา ๒๗ ผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าของราษฎรในหมู่บ้านของตน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ มีหน้าที่และอำนาจในทางปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยของราษฎร ดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
           ข้อ ๑ ที่จะรักษาความสงบและความสุขสำราญ ช่วยป้องกันความทุกข์ภัยของลูกบ้านตามสมควรและที่สามารถจะทำได้ การที่กล่าวนี้ ถ้าสมควรจะต้องปรึกษาหารือและช่วยกันกับเพื่อนผู้ใหญ่บ้านก็ดี กับกำนันนายตำบลก็ดี ก็เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านที่จะต้องปฏิบัติให้สมควรแก่การที่จะรักษาประโยชน์และความสุขของลูกบ้าน ซึ่งได้มอบไว้เป็นธุระในพระราชบัญญัตินี้
           ข้อ ๒ ถ้าความทุกข์ภัยเกิดแก่ลูกบ้าน ซึ่งจะต้องขอความป้องกันจากรัฐบาล เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านที่จะนำความแจ้งต่อเจ้าพนักงานปกครอง ตั้งแต่กำนัน นายอำเภอ เป็นต้น ขึ้นไปโดยลำดับ
           ข้อ ๓ ถ้ารัฐบาลจะประกาศ หรือจะสั่งราชการอันใดให้ราษฎรทราบเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านที่จะรับข้อความอันนั้นไปแจ้งแก่ลูกบ้านของตนให้ทราบ
           ข้อ ๔ เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านที่จะทำบัญชีสำมะโนครัวในหมู่บ้านของตน และคอยแก้ไขบัญชีนั้นให้ถูกต้องเสมอ
           ข้อ ๕ ถ้าผู้ใหญ่บ้านรู้เห็นเหตุการณ์แปลกประหลาดอันใดที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านของตน หรือในลูกบ้านของตน ซึ่งอาจจะเป็นคุณ หรือเป็นโทษแก่ราชการบ้านเมืองก็ดี แก่ประชาชนในที่นั้นก็ดี ยกตัวอย่างข้างฝ่ายโทษ ดังรู้เห็นว่าผู้คนมีทรัพย์สิ่งของแปลกประหลาดอันน่าสงสัยว่า เป็นของที่ได้มาโดยทางโจรกรรมก็ดี หรือว่าถ้าเห็นผู้คนล้มตาย หรือมีบาดแผลอันควรสงสัยว่าจะมีผู้อื่นกระทำเอาโดยทุจริต หรือไปกระทำทุจริตต่อผู้อื่นแล้วจึงเกิดเหตุขึ้นก็ดี เหล่านี้เป็นต้น ให้รีบนำความแจ้งต่อกำนันนายตำบลของตน
           ข้อ ๖ ถ้ามีคนจรแปลกหน้านอกสำมะโนครัวหมู่บ้านนั้นเข้ามาอาศัยเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านจะต้องไต่ถามให้รู้จักตัว และรู้เหตุการณ์ที่มาอาศัยถ้าเห็นว่าไม่ได้มาโดยสุจริตให้เอาตัวผู้นั้นส่งกำนันนายตำบลของตน
           ข้อ ๗ ถ้าเกิดเหตุจลาจลก็ดี ฆ่ากันตายก็ดี ตีชิงก็ดี ปล้นทรัพย์ก็ดีหรือไฟไหม้ก็ดี หรือเหตุร้ายสำคัญอย่างใด ๆ ในหมู่บ้านของตน หรือในหมู่บ้านที่ใกล้เคียงอันสมควรจะช่วยได้ เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านจะต้องเรียกลูกบ้านของตนออกช่วยต่อสู้ติดตามจับผู้ร้ายเอาของกลางคืนหรือดับไฟ หรือช่วยอย่างอื่นที่สมควรโดยเต็มกำลัง
           ข้อ ๘ ผู้ใหญ่บ้านเห็นลูกบ้านของตนคนใดแสดงความอาฆาตมาดร้ายแก่ผู้อื่นก็ดี หรือเป็นคนจรจัดไม่ปรากฏการทำมาหาเลี้ยงชีพ และไม่สามารถจะชี้แจงให้เห็นความบริสุทธิ์ของตนได้ก็ดี ผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจที่จะเรียกลูกบ้านคนนั้นมาไต่ถามและว่ากล่าวสั่งสอน ถ้าไม่ฟังให้เอาตัวส่งกำนันจัดการตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัตินี้
           ข้อ ๙ ควบคุมดูแลลูกบ้านให้ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งจะต้องพึงกระทำตามกฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ
           ข้อ ๑๐ ฝึกหัดอบรมให้คนไทยรู้จักหน้าที่และกระทำการในเวลารบ
           ข้อ ๑๑ ทำการอบรมสั่งสอน หรือชี้แจงข้อราชการแก่ราษฎรในการนี้ให้เรียกราษฎรมาประชุมได้ตามครั้งคราวที่สมควร
           ข้อ ๑๒ บำรุงและส่งเสริมการอาชีพของราษฎรในทางเกษตรกรรมพาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม
           ข้อ ๑๓ ตรวจตราและรักษาประโยชน์ในการอาชีพของราษฎร
           ข้อ ๑๔ สั่งให้ราษฎรช่วยเหลือในการสาธารณประโยชน์ เพื่อบำบัดปัดป้องภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะโดยฉุกเฉิน และให้ทำการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ราษฎรผู้ประสพสาธารณภัย
           ข้อ ๑๕ จัดการป้องกันโรคติดต่อ หรือโรคระบาดซึ่งเกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อมิให้ติดต่อลุกลามมากไป
           ข้อ ๑๖ จัดหมู่บ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและต้องด้วยสุขลักษณะ
           ข้อ ๑๗ จัดให้มีการประชุมกรรมการหมู่บ้าน
           ข้อ ๑๘ ปฏิบัติการตามคำสั่งของกำนัน หรือทางราชการ และรายงานเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในหมู่บ้านให้กำนันทราบ เพื่อให้กำนันรายงานต่อคณะกรรมการอำเภอ
           ข้อ ๑๙ กระทำตนให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎรตามที่ทางราชการได้แนะนำ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 31, 2014, 09:01:19 AM โดย นายสมชาย(ฮา) - รักในหลวง » บันทึกการเข้า
yutthakarn
Hero Member
*****

คะแนน 554
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2354


สิ่งที่คนต้องการ คือ โอกาส


« ตอบ #19 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2014, 10:47:46 PM »

ผมว่า เจ้าอาวาสไม่มีอำนาจอนุญาตให้คนพกปืนในบริเวณวัดในงานนมัสการครับ
บันทึกการเข้า
TUI 48
Sr. Member
****

คะแนน 332
ออฟไลน์

กระทู้: 927


« ตอบ #20 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2014, 09:17:35 AM »

... ทีนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจนั่นชัดเจนไม่ต้องอ้างกฎหมายอื่น แต่กรณีผู้ใหญ่บ้าน กำนัน หรือผู้ช่วย ฯลฯ ก็จะอ้างถึง พระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ ตาม มาตรา 27 ตัวสีน้ำเงินให้อำนาจเอาไว้ครับ...



โห ตราขึ้นมาได้ 100 ปีแล้ว..ปัจจุบันนี้ยังคงใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้อยู่หรือเปล่าครับอาจารย์.... Wink
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #21 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2014, 08:47:55 PM »

... ทีนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจนั่นชัดเจนไม่ต้องอ้างกฎหมายอื่น แต่กรณีผู้ใหญ่บ้าน กำนัน หรือผู้ช่วย ฯลฯ ก็จะอ้างถึง พระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ ตาม มาตรา 27 ตัวสีน้ำเงินให้อำนาจเอาไว้ครับ...

โห ตราขึ้นมาได้ 100 ปีแล้ว..ปัจจุบันนี้ยังคงใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้อยู่หรือเปล่าครับอาจารย์.... Wink

ใช้อยู่ครับ แต่ผู้ใหญ่บ้านไม่ได้ฝึกเหมือน ตร. มหาดไทยเลยให้ใช้แต่อำนาจทางปกครองครับ ไม่ได้ไล่จับโจรยิงกันสะบั้นหั่นแหลกเหมือนในหนังไทยแต่ก่อน... ฮา...
บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #22 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2014, 10:59:26 PM »



วัดแถวบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้ช่วยฯ  เฝ้าครับ  อาจมี ชรบ. สะพายปืนลูกซอง อพป.  ในวัดให้เห็นบ้าง   เยี่ยม

คืนวันก่อนวันทอดกฐิน  จะเป็นคืนวันสมโภชน์องค์กฐิน  เงินมากมายหลายแสนหรือเป็นล้านต้องผ่านพิธีสมโภชน์ครับ 

คำสั่งด้านบน  คสช. เพิ่มอำนาจให้ผู้ช่วยฝ่ายปกครอง ไว้ครับ  Grin
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
TUI 48
Sr. Member
****

คะแนน 332
ออฟไลน์

กระทู้: 927


« ตอบ #23 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2014, 09:18:37 AM »

ขอบคุณ อ.สมชาย และพี่พงษ์ ครับ.. ไหว้

+ ท่านละ 1 แต้มครับ.. หลงรัก
บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #24 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2014, 09:57:49 PM »

... ทีนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจนั่นชัดเจนไม่ต้องอ้างกฎหมายอื่น แต่กรณีผู้ใหญ่บ้าน กำนัน หรือผู้ช่วย ฯลฯ ก็จะอ้างถึง พระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ ตาม มาตรา 27 ตัวสีน้ำเงินให้อำนาจเอาไว้ครับ...

โห ตราขึ้นมาได้ 100 ปีแล้ว..ปัจจุบันนี้ยังคงใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้อยู่หรือเปล่าครับอาจารย์.... Wink

ใช้อยู่ครับ แต่ผู้ใหญ่บ้านไม่ได้ฝึกเหมือน ตร. มหาดไทยเลยให้ใช้แต่อำนาจทางปกครองครับ ไม่ได้ไล่จับโจรยิงกันสะบั้นหั่นแหลกเหมือนในหนังไทยแต่ก่อน... ฮา...

ความจริงมหาดไทยไม่ได้ห้ามครับพี่สมชาย  เพียงแต่ฝ่ายปกครองถูกละเลย  ไม่มีงบสนับสนุนที่เป็นรูปมธรรม

กำลังพลก็มีน้อย  ไม่มีงบจัดส่งมาสำหรับการฝึก  อาวุธปืนก็ใช้ของเก่าตามสภาพ  ไม่มีงบซ่อมบำรุง หรือจัดซื้อใหม่จากกรม

แต่ละอำเภอมี กองร้อย อส.  อ่านว่า กองร้อย  แต่ อส. จริง ๆ มีแค่ ๑๐ คนต้น ๆ หรือน้อยกว่านี้ .................

ชรบ. บางหมู่บ้านก็มี  บางหมู่บ้านก็ไม่มี  ที่มีก็ฝึกมานานมากแล้ว  ที่เคยฝึกก็ได้ยิงปืนลูกซอง อพป. จริงคนละแค่ ๕ - ๑๐ นัด

และหางบฝึกใหม่ยาก  เพราะการฝึกต้องรวมเครื่องแบบเข้าไปด้วย  รวม ๆ เฉพาะค่าชุดก็ไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ บาท/คน

ราคาประมาณ (เสื้อ+กางเกง ราคา ๑,๘๐๐ บ.  รองเท้า ๘๐๐ - ๑,๐๐๐ บ.  เข็มขัด ๑๕๐ บ.  เสื้อคอกลม ๑๕๐ บ.  หมวก ๑๕๐ บ.)


กำลังพลฝ่ายปกครองมีน้อย  งบมีจำกัด  แต่ประสิทธิภาพการทำงานใช้ว่าจะน้อยตามกำลังและงบประมาณ

แถวบ้านผม  ปลัด พา อส. ตั้งด่านตรวจยาเสพติด  ได้ผู้เสพเดือนหนึ่งร่วมร้อยคน  ตามนโยบายของรัฐบาลครับ   ไหว้
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
เทพอสูรสองร่าง:รักในหลวง
HECKLER & KOCH P2000 V4
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 7
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 795



เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2014, 06:31:53 PM »

 ได้ความรู้เพิ่มขึ้นครับ
บันทึกการเข้า

เงินทองใช้ไม่ทันแก่ก็หมด แต่เพื่อนซิครับแก่แล้วยังมานั่งเล่าความหลังให้กันฟัง
.....HECKLER & KOCH P2000 V4....
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.095 วินาที กับ 21 คำสั่ง