๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
เมษายน 29, 2024, 07:45:23 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอความอนุเคราะห์จากนักกฎหมายทั้งหลายหน่อยครับ  (อ่าน 2135 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #30 เมื่อ: กันยายน 18, 2014, 04:54:32 PM »

โห... กระทู้นี้มีท่านอัยการเข้ามาช่วยตอบอย่างน้อยตั้ง 2 ท่าน(เฉพาะเท่าที่ทราบ)...

ขอบพระคุณแทน จขกท. ครับ... เย้...
บันทึกการเข้า
winok
Full Member
***

คะแนน 13
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 283



« ตอบ #31 เมื่อ: กันยายน 19, 2014, 01:11:58 PM »

 ไหว้ขอขอบพระคุณทุกท่านอีกครั้งนะครับที่กรุณาให้คำแนะนำมา ไหว้



ขอเสนอข้อกฎหมายในอีกแง่มุมหนึ่งนะครับ

   ประเด็นแรก  ยาย ก. มีสิทธิขายที่ดินหรือไม่

          -   ตามที่ยกตัวอย่างเมื่อที่ดินเป็นชื่อสามียาย ก. ดังนั้นถ้ามองเผิน ๆ ยาย ก. ไม่น่ามีสิทธิขายที่ดินใช่ไหมครับ
แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ายาย ก. กับสามียาย ก. เป็นสามีภรรยากัน และภายหลังการซื้อขาย ยาย ข. ก็เข้าครอบ
ครองที่ดินมาโดยตลอดเป็นเวลาเกือบ 30 ปี ดังนั้นตามความเป็นจริงสามียาย ก. ก็น่าจะรู้เห็นในการซื้อขายที่ดินกัน
และได้ปล่อยเวลาให้ยืดเยื้อมาถึง 30 ปี โดยไม่ได้ขัดขวาง หรือทักท้วงในการที่ ยาย ข. เข้าครอบครองที่ดินมาโดย
ตลอด ดังนั้นในทางกฎหมายจึงน่าจะถือว่าสามียาย ก. ได้เชิดยาย ก. เป็นตัวแทนในการขายที่ดินหรือรู้แล้วยินยอม
ให้ยาย ก. เชิดตนเองเป็นตัวแทนครับ ดังนั้นสามียาย ก. จึงถูกกฎหมายปิดปากให้ต้องรับผิดในการการกระทำของ
ยาย ก. ตามหลักตัวแทนเชิดครับ (ดูประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821)

ประเด็นที่สอง การซื้อขายกันเป็นโมฆะหรือไม่

          -   ผมมองว่าในขณะที่ทำสัญญาซื้อขายกันมีข้อตกลงกันว่าจะโอนที่ดินให้เมื่อลูกคนที่ 6 ของยาย ก. มีอายุ 20 ปี
ดังนั้นตามเจตนาของคู่กรณีจึงไม่ได้มีเจตนาจะซื้อขายกันให้เสร็จเด็ดขาดกันในตอนนั้น แต่จะไปทำการโอนกันอีก
ครั้งหนึ่งเมื่อลูกยาย ก. มีอายุ 20 ปี ดังนั้นสัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น ยังไม่ใช่สัญญา
ซื้อขายเสร็จเด็ดขาดจึงไม่ตกเป็นโมฆะครับ

          -   ผลต่อมาเมื่อเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย  ดังนั้นการที่ ยาย ข. เข้าทำประโยชน์ในที่ดินจึงเป็นการครอบ
ครองแทนเจ้าของที่แท้จริงในระหว่างรอการโอนเมื่อลูกคนที่ 6 ของยาย ก. มีอายุ 20 ปี เท่านั้น จึงถือว่า ยาย ข.
ไม่ได้ครอบครองที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนตาม ป.พ.พ.1367 จึงไม่สามารถร้องขอให้เปลี่ยนชื่อใน น.ส.3
ให้เป็นของตนได้แม้จะได้ครอบครองครบ 1 ปีแล้ว  (ป.พ.พ.1374) และยิ่งไม่สามารถร้องขอครอบครองปรปักษ์ได้
เพราะที่ดิน น.ส.3 มีแค่สิทธิครอบครองไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ครับ

ประเด็นที่สาม ทางออกในกรณีนี้
          
         -   เจรจากับทายาทของยาย ก. ได้จะดีที่สุดครับคดีจะได้ไม่ต้องถึงโรงถึงศาลให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย แต่ถ้า
ตกลงกันไม่ได้ก็น่าจะฟ้องสามีของ ยาย ก. ให้รับผิดตามหลักตัวแทนเชิด แต่ถ้าสามีของ ยาย ก. เสียชีวิตไปแล้วก็
คงต้องฟ้องกองมรดกของสามียาย ก. ให้โอนที่ดินให้แก่ทายาทของ ยาย ข. ครับ

          ผิดถูกอย่างไรต้องขออภัยไว้ล่วงหน้า  ไหว้


จากข้อความข้างบนนะครับ สามียาย ก. เสียชีวิตก่อนทำสัญญา ตอนนี้ยาย ก. เสียชีวิตแล้ว ลูกของยาย ก. เขาจะมาขอซื้อคืนในราคาแค่ 50,000 บาท ซึ่งแน่นอนว่าเขาซื้อไปขายต่อ (ราคาตอนนี้หลายแสน)  และพวกเขาก็ใช้วิธีนี้กับยาย ข.มาสองครั้งแล้ว แต่ครั้งนี้ทางลูกของยาย ข.รู้เลยไม่ยอมเพราะเสียโง่มาสองครั้งแล้ว แต่จะขายให้ได้ในราคาปัจจุบันเท่านั้น ส่วนที่ดินนั้นตอนนี้ลูกของยาย ข. ได้ทำนาอยู่มานานแล้ว (28 ปี) ได้ข่าวว่าตอนนี้ทางยาย ข.ได้เปรียบอยู่ครับ
            แล้วจะมารายงานสถานการณ์ให้ทราบต่อไปครับ ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 19, 2014, 01:59:47 PM โดย winok » บันทึกการเข้า
p23-504 รักในหลวง
Sr. Member
****

คะแนน 82
ออฟไลน์

กระทู้: 545


« ตอบ #32 เมื่อ: กันยายน 19, 2014, 02:11:25 PM »

ขออนุญาตเจ้าของกระทู้นะครับ   ขอสอบถามเพื่อความรู้ครับ
กรณีที่ ยาย ก ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามีซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดิน นส.3 แปลงนี้  และ บุตรทั้งหมดของยาย ก ทั้ง 6 คน ก็ไม่ได้มีการจดทะเบียนรับรองบุตรตามกฎหมายของสามี ยาย ก  ระหว่าง ยาย ก กับบุตรทั้ง 6 คน ที่เกิดกับสามีคนนี้  ใครมีสิทธิเป็นทายาทตามกฎหมายกับที่ดินแปลงนี้มากกว่ากัน ครับ  ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 19, 2014, 02:15:36 PM โดย p23-504 รักในหลวง » บันทึกการเข้า
pvjt
Sr. Member
****

คะแนน 32
ออฟไลน์

กระทู้: 536



« ตอบ #33 เมื่อ: กันยายน 19, 2014, 02:23:26 PM »

ไหว้ขอขอบพระคุณทุกท่านอีกครั้งนะครับที่กรุณาให้คำแนะนำมา ไหว้



ขอเสนอข้อกฎหมายในอีกแง่มุมหนึ่งนะครับ

   ประเด็นแรก  ยาย ก. มีสิทธิขายที่ดินหรือไม่

          -   ตามที่ยกตัวอย่างเมื่อที่ดินเป็นชื่อสามียาย ก. ดังนั้นถ้ามองเผิน ๆ ยาย ก. ไม่น่ามีสิทธิขายที่ดินใช่ไหมครับ
แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ายาย ก. กับสามียาย ก. เป็นสามีภรรยากัน และภายหลังการซื้อขาย ยาย ข. ก็เข้าครอบ
ครองที่ดินมาโดยตลอดเป็นเวลาเกือบ 30 ปี ดังนั้นตามความเป็นจริงสามียาย ก. ก็น่าจะรู้เห็นในการซื้อขายที่ดินกัน
และได้ปล่อยเวลาให้ยืดเยื้อมาถึง 30 ปี โดยไม่ได้ขัดขวาง หรือทักท้วงในการที่ ยาย ข. เข้าครอบครองที่ดินมาโดย
ตลอด ดังนั้นในทางกฎหมายจึงน่าจะถือว่าสามียาย ก. ได้เชิดยาย ก. เป็นตัวแทนในการขายที่ดินหรือรู้แล้วยินยอม
ให้ยาย ก. เชิดตนเองเป็นตัวแทนครับ ดังนั้นสามียาย ก. จึงถูกกฎหมายปิดปากให้ต้องรับผิดในการการกระทำของ
ยาย ก. ตามหลักตัวแทนเชิดครับ (ดูประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821)

ประเด็นที่สอง การซื้อขายกันเป็นโมฆะหรือไม่

          -   ผมมองว่าในขณะที่ทำสัญญาซื้อขายกันมีข้อตกลงกันว่าจะโอนที่ดินให้เมื่อลูกคนที่ 6 ของยาย ก. มีอายุ 20 ปี
ดังนั้นตามเจตนาของคู่กรณีจึงไม่ได้มีเจตนาจะซื้อขายกันให้เสร็จเด็ดขาดกันในตอนนั้น แต่จะไปทำการโอนกันอีก
ครั้งหนึ่งเมื่อลูกยาย ก. มีอายุ 20 ปี ดังนั้นสัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น ยังไม่ใช่สัญญา
ซื้อขายเสร็จเด็ดขาดจึงไม่ตกเป็นโมฆะครับ

          -   ผลต่อมาเมื่อเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย  ดังนั้นการที่ ยาย ข. เข้าทำประโยชน์ในที่ดินจึงเป็นการครอบ
ครองแทนเจ้าของที่แท้จริงในระหว่างรอการโอนเมื่อลูกคนที่ 6 ของยาย ก. มีอายุ 20 ปี เท่านั้น จึงถือว่า ยาย ข.
ไม่ได้ครอบครองที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนตาม ป.พ.พ.1367 จึงไม่สามารถร้องขอให้เปลี่ยนชื่อใน น.ส.3
ให้เป็นของตนได้แม้จะได้ครอบครองครบ 1 ปีแล้ว  (ป.พ.พ.1374) และยิ่งไม่สามารถร้องขอครอบครองปรปักษ์ได้
เพราะที่ดิน น.ส.3 มีแค่สิทธิครอบครองไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ครับ

ประเด็นที่สาม ทางออกในกรณีนี้
         
         -   เจรจากับทายาทของยาย ก. ได้จะดีที่สุดครับคดีจะได้ไม่ต้องถึงโรงถึงศาลให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย แต่ถ้า
ตกลงกันไม่ได้ก็น่าจะฟ้องสามีของ ยาย ก. ให้รับผิดตามหลักตัวแทนเชิด แต่ถ้าสามีของ ยาย ก. เสียชีวิตไปแล้วก็
คงต้องฟ้องกองมรดกของสามียาย ก. ให้โอนที่ดินให้แก่ทายาทของ ยาย ข. ครับ

          ผิดถูกอย่างไรต้องขออภัยไว้ล่วงหน้า  ไหว้


จากข้อความข้างบนนะครับ สามียาย ก. เสียชีวิตก่อนทำสัญญา ตอนนี้ยาย ก. เสียชีวิตแล้ว ลูกของยาย ก. เขาจะมาขอซื้อคืนในราคาแค่ 50,000 บาท ซึ่งแน่นอนว่าเขาซื้อไปขายต่อ (ราคาตอนนี้หลายแสน)  และพวกเขาก็ใช้วิธีนี้กับยาย ข.มาสองครั้งแล้ว แต่ครั้งนี้ทางลูกของยาย ข.รู้เลยไม่ยอมเพราะเสียโง่มาสองครั้งแล้ว แต่จะขายให้ได้ในราคาปัจจุบันเท่านั้น ส่วนที่ดินนั้นตอนนี้ลูกของยาย ข. ได้ทำนาอยู่มานานแล้ว (28 ปี) ได้ข่าวว่าตอนนี้ทางยาย ข.ได้เปรียบอยู่ครับ
            แล้วจะมารายงานสถานการณ์ให้ทราบต่อไปครับ ไหว้

..ชัดเจนทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงที่คุณwinokกล่าวเพิ่ม
..ราคาตีกลับเป็นลูกยาย ข.ได้เปรียบ10เอา1      Smiley
บันทึกการเข้า
บูรพา
Full Member
***

คะแนน 20
ออฟไลน์

กระทู้: 187



« ตอบ #34 เมื่อ: กันยายน 19, 2014, 09:40:22 PM »

ขออนุญาตเจ้าของกระทู้นะครับ   ขอสอบถามเพื่อความรู้ครับ
กรณีที่ ยาย ก ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามีซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดิน นส.3 แปลงนี้  และ บุตรทั้งหมดของยาย ก ทั้ง 6 คน ก็ไม่ได้มีการจดทะเบียนรับรองบุตรตามกฎหมายของสามี ยาย ก  ระหว่าง ยาย ก กับบุตรทั้ง 6 คน ที่เกิดกับสามีคนนี้  ใครมีสิทธิเป็นทายาทตามกฎหมายกับที่ดินแปลงนี้มากกว่ากัน ครับ  ไหว้
ทรัพย์สินที่สามีภริยา(ไม่จดทะเบียน)ซื้อมาจะไม่เป็นสินสมรสครับแต่จะเป็นเจ้าของร่วมแบ่งกันแบบหุ้นส่วนและต่างฝ่ายไม่มีสิทธิรับมรดกระหว่างกัน  แต่บุตรที่เกิดมาจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายหญิงและเป็นบุตรนอกสมรสของฝ่ายชาย   ส่วนสิทธิในการรับมรดกนั้นบุตรนอกสมรสฝ่ายชายรับได้ครับถ้าบิดายอมรับเป็นบุตรโดยแสดงให้ปรากฎในข้อเท็จจริงเช่น ให้ใช้นามสกุล  ส่งเสียเลี้ยงดู/ส่งเรียน  ฯลฯ
บันทึกการเข้า
p23-504 รักในหลวง
Sr. Member
****

คะแนน 82
ออฟไลน์

กระทู้: 545


« ตอบ #35 เมื่อ: กันยายน 19, 2014, 11:16:35 PM »


ขออนุญาตเจ้าของกระทู้นะครับ   ขอสอบถามเพื่อความรู้ครับ
กรณีที่ ยาย ก ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามีซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดิน นส.3 แปลงนี้  และ บุตรทั้งหมดของยาย ก ทั้ง 6 คน ก็ไม่ได้มีการจดทะเบียนรับรองบุตรตามกฎหมายของสามี ยาย ก  ระหว่าง ยาย ก กับบุตรทั้ง 6 คน ที่เกิดกับสามีคนนี้  ใครมีสิทธิเป็นทายาทตามกฎหมายกับที่ดินแปลงนี้มากกว่ากัน ครับ  ไหว้
ทรัพย์สินที่สามีภริยา(ไม่จดทะเบียน)ซื้อมาจะไม่เป็นสินสมรสครับแต่จะเป็นเจ้าของร่วมแบ่งกันแบบหุ้นส่วนและต่างฝ่ายไม่มีสิทธิรับมรดกระหว่างกัน  แต่บุตรที่เกิดมาจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายหญิงและเป็นบุตรนอกสมรสของฝ่ายชาย   ส่วนสิทธิในการรับมรดกนั้นบุตรนอกสมรสฝ่ายชายรับได้ครับถ้าบิดายอมรับเป็นบุตรโดยแสดงให้ปรากฎในข้อเท็จจริงเช่น ให้ใช้นามสกุล  ส่งเสียเลี้ยงดู/ส่งเรียน  ฯลฯ
แสดงว่า ยาย ก จะไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกในที่ดินแปลงนี้ เพราะตัวเองมีสิทธิอยู่ครึ่งเดียว  ส่วนลูกทั้ง 6 คน  สามารถยินยอมให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้  เพราะได้สิทธิทั้งเป็นลูกพ่อและลูกแม่  ผมเข้าใจถูกไหมครับ  ที่ขอความรู้เพราะมีคนในครอบครัวเข้าไปมีส่วนในมรดกคล้ายๆกันนี้ครับ  ขอบคุณครับ  ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 19, 2014, 11:20:13 PM โดย p23-504 รักในหลวง » บันทึกการเข้า
Yoshiki_Silencer - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 278
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 597


ลูกศิษย์ครูหมู (ด้วยอีกคน)


« ตอบ #36 เมื่อ: กันยายน 20, 2014, 11:21:30 PM »

ไหว้ขอขอบพระคุณทุกท่านอีกครั้งนะครับที่กรุณาให้คำแนะนำมา ไหว้



ขอเสนอข้อกฎหมายในอีกแง่มุมหนึ่งนะครับ

   ประเด็นแรก  ยาย ก. มีสิทธิขายที่ดินหรือไม่

          -   ตามที่ยกตัวอย่างเมื่อที่ดินเป็นชื่อสามียาย ก. ดังนั้นถ้ามองเผิน ๆ ยาย ก. ไม่น่ามีสิทธิขายที่ดินใช่ไหมครับ
แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ายาย ก. กับสามียาย ก. เป็นสามีภรรยากัน และภายหลังการซื้อขาย ยาย ข. ก็เข้าครอบ
ครองที่ดินมาโดยตลอดเป็นเวลาเกือบ 30 ปี ดังนั้นตามความเป็นจริงสามียาย ก. ก็น่าจะรู้เห็นในการซื้อขายที่ดินกัน
และได้ปล่อยเวลาให้ยืดเยื้อมาถึง 30 ปี โดยไม่ได้ขัดขวาง หรือทักท้วงในการที่ ยาย ข. เข้าครอบครองที่ดินมาโดย
ตลอด ดังนั้นในทางกฎหมายจึงน่าจะถือว่าสามียาย ก. ได้เชิดยาย ก. เป็นตัวแทนในการขายที่ดินหรือรู้แล้วยินยอม
ให้ยาย ก. เชิดตนเองเป็นตัวแทนครับ ดังนั้นสามียาย ก. จึงถูกกฎหมายปิดปากให้ต้องรับผิดในการการกระทำของ
ยาย ก. ตามหลักตัวแทนเชิดครับ (ดูประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821)

ประเด็นที่สอง การซื้อขายกันเป็นโมฆะหรือไม่

          -   ผมมองว่าในขณะที่ทำสัญญาซื้อขายกันมีข้อตกลงกันว่าจะโอนที่ดินให้เมื่อลูกคนที่ 6 ของยาย ก. มีอายุ 20 ปี
ดังนั้นตามเจตนาของคู่กรณีจึงไม่ได้มีเจตนาจะซื้อขายกันให้เสร็จเด็ดขาดกันในตอนนั้น แต่จะไปทำการโอนกันอีก
ครั้งหนึ่งเมื่อลูกยาย ก. มีอายุ 20 ปี ดังนั้นสัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น ยังไม่ใช่สัญญา
ซื้อขายเสร็จเด็ดขาดจึงไม่ตกเป็นโมฆะครับ

          -   ผลต่อมาเมื่อเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย  ดังนั้นการที่ ยาย ข. เข้าทำประโยชน์ในที่ดินจึงเป็นการครอบ
ครองแทนเจ้าของที่แท้จริงในระหว่างรอการโอนเมื่อลูกคนที่ 6 ของยาย ก. มีอายุ 20 ปี เท่านั้น จึงถือว่า ยาย ข.
ไม่ได้ครอบครองที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนตาม ป.พ.พ.1367 จึงไม่สามารถร้องขอให้เปลี่ยนชื่อใน น.ส.3
ให้เป็นของตนได้แม้จะได้ครอบครองครบ 1 ปีแล้ว  (ป.พ.พ.1374) และยิ่งไม่สามารถร้องขอครอบครองปรปักษ์ได้
เพราะที่ดิน น.ส.3 มีแค่สิทธิครอบครองไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ครับ

ประเด็นที่สาม ทางออกในกรณีนี้
         
         -   เจรจากับทายาทของยาย ก. ได้จะดีที่สุดครับคดีจะได้ไม่ต้องถึงโรงถึงศาลให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย แต่ถ้า
ตกลงกันไม่ได้ก็น่าจะฟ้องสามีของ ยาย ก. ให้รับผิดตามหลักตัวแทนเชิด แต่ถ้าสามีของ ยาย ก. เสียชีวิตไปแล้วก็
คงต้องฟ้องกองมรดกของสามียาย ก. ให้โอนที่ดินให้แก่ทายาทของ ยาย ข. ครับ

          ผิดถูกอย่างไรต้องขออภัยไว้ล่วงหน้า  ไหว้


จากข้อความข้างบนนะครับ สามียาย ก. เสียชีวิตก่อนทำสัญญา ตอนนี้ยาย ก. เสียชีวิตแล้ว ลูกของยาย ก. เขาจะมาขอซื้อคืนในราคาแค่ 50,000 บาท ซึ่งแน่นอนว่าเขาซื้อไปขายต่อ (ราคาตอนนี้หลายแสน)  และพวกเขาก็ใช้วิธีนี้กับยาย ข.มาสองครั้งแล้ว แต่ครั้งนี้ทางลูกของยาย ข.รู้เลยไม่ยอมเพราะเสียโง่มาสองครั้งแล้ว แต่จะขายให้ได้ในราคาปัจจุบันเท่านั้น ส่วนที่ดินนั้นตอนนี้ลูกของยาย ข. ได้ทำนาอยู่มานานแล้ว (28 ปี) ได้ข่าวว่าตอนนี้ทางยาย ข.ได้เปรียบอยู่ครับ
            แล้วจะมารายงานสถานการณ์ให้ทราบต่อไปครับ ไหว้

        ไม่ทราบว่า ยาย ก. กับสามี ได้จดทะเบียนกันรึเปล่าครับ
บันทึกการเข้า

ไม่ว่าจะเกลียดขี้หน้าใครขนาดไหน... แต่ตราบใดที่เขายังถูกต้องตามหลักการ ก็จะต้องปกป้องเขา เพราะสิ่งที่ปกป้องมันมากกว่า บุคคล แต่มันคือหลักการที่จะทำให้ระบบดำเนินต่อไปได้
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.427 วินาที กับ 21 คำสั่ง