๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
เมษายน 20, 2024, 12:50:14 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอ ป.๓ ได้รับคำสั่งไม่อนุญาตยังไม่เท่าไหร่ แต่ได้ยินคำๆ นี้แล้ว ..... เฮ้อ  (อ่าน 12122 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
อาฮุย
Full Member
***

คะแนน 68
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 332


« ตอบ #45 เมื่อ: กันยายน 15, 2013, 09:57:48 PM »

ครับศาลปกครองสั่งให้อำเภอออกใบอนุญาตให้เราได้ครับ ผมชนะมาแล้ว ๑ คดีครับ ปืนอัดลมยาวครับ

สั่งตรง ๆ ไม่ได้ครับ  เป็นการก้าวล่วงอำนาจอธิปไตยที่เป็นแดนแห่งอำนาจของฝ่ายบริหาร
แต่ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาว่าคำสั่งทางปกครองของฝ่ายบริหารที่ออกไปแล้ว ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และพิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว กับสั่งหรือมีคำบังคับให้ดำเนินการพิจารณาทางปกครองเสียใหม่ให้ถูกต้องตามวิธีการและขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด

ลองนึกภาพดูว่าข้าราชการคนไหน ถูกศาลปกครองวินิจฉัยว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (ศาลต้องชี้ว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเสียก่อน ถึงจะเพิกถอนคำสั่งได้)  ก็ขี้หดตดหายแล้วครับ  ยังไม่เคยเจอประเภทดื้อด้าน ไม่ออกใบอนุญาตซ้ำสองสักราย

เป็นไปตามท่านผู้การกล่าวครับ ขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้ครับ
 คำสั่งอนุญาต/ไม่อนุญาต เป็น "คำสั่งทางปกครอง"
การร้องขอต่อศาล คือ กรณีเป็น "คำสั่งทางปกครองที่มิชอบ"
ศาลจึงอาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่มิชอบดังกล่าว
พูดง่ายๆ ว่าศาลสั่งให้เลิกคำสั่งนั้นเสีย/ไม่มีคำสั่งนั้นแล้ว
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าเมื่อไม่มีคำสั่งนั้นแล้ว จะต้องเป็นสิ่งตรงกันข้าม
คู่กรณีีก็ยังต้องยื่นคำขอ/คำร้อง เพื่อให้นายทะเบียนดำเนินกระบวนการใหม่อยู่ดี
ซึ่งท้ายที่สุดนายทะเบียนจะอนุญาต หรือไม่อนุญาต (อีกครั้ง) ก็คงเป็น "ดุลยพินิจ" ในการพิจารณา (ครั้งใหม่) นั่นเองครับ

 ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า

...ทิศทางจะเบี่ยงเบนไปเบื้องไหน
"ยุติธรรม" ต้องยิ่งใหญ่เหนือทุกสิ่ง
ต้องยืนหยัดเป็นหลักที่พักพิง
ไม่ทอดทิ้งศรัทธาประชาชน...
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12902



« ตอบ #46 เมื่อ: กันยายน 16, 2013, 07:52:31 PM »

ครับศาลปกครองสั่งให้อำเภอออกใบอนุญาตให้เราได้ครับ ผมชนะมาแล้ว ๑ คดีครับ ปืนอัดลมยาวครับ

สั่งตรง ๆ ไม่ได้ครับ  เป็นการก้าวล่วงอำนาจอธิปไตยที่เป็นแดนแห่งอำนาจของฝ่ายบริหาร
แต่ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาว่าคำสั่งทางปกครองของฝ่ายบริหารที่ออกไปแล้ว ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และพิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว กับสั่งหรือมีคำบังคับให้ดำเนินการพิจารณาทางปกครองเสียใหม่ให้ถูกต้องตามวิธีการและขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด

ลองนึกภาพดูว่าข้าราชการคนไหน ถูกศาลปกครองวินิจฉัยว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (ศาลต้องชี้ว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเสียก่อน ถึงจะเพิกถอนคำสั่งได้)  ก็ขี้หดตดหายแล้วครับ  ยังไม่เคยเจอประเภทดื้อด้าน ไม่ออกใบอนุญาตซ้ำสองสักราย

เป็นไปตามท่านผู้การกล่าวครับ ขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้ครับ
 คำสั่งอนุญาต/ไม่อนุญาต เป็น "คำสั่งทางปกครอง"
การร้องขอต่อศาล คือ กรณีเป็น "คำสั่งทางปกครองที่มิชอบ"
ศาลจึงอาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่มิชอบดังกล่าว
พูดง่ายๆ ว่าศาลสั่งให้เลิกคำสั่งนั้นเสีย/ไม่มีคำสั่งนั้นแล้ว
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าเมื่อไม่มีคำสั่งนั้นแล้ว จะต้องเป็นสิ่งตรงกันข้าม
คู่กรณีีก็ยังต้องยื่นคำขอ/คำร้อง เพื่อให้นายทะเบียนดำเนินกระบวนการใหม่อยู่ดี
ซึ่งท้ายที่สุดนายทะเบียนจะอนุญาต หรือไม่อนุญาต (อีกครั้ง) ก็คงเป็น "ดุลยพินิจ" ในการพิจารณา (ครั้งใหม่) นั่นเองครับ

 ไหว้ ไหว้ ไหว้

ไม่ได้เป็นแบบนั้นครับ
ศาลมีอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง  พ.ศ.  ๒๕๔๒ มาตรา ๗๒ คือ
   (๑) สั่งให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งหรือสั่งห้ามการกระทำทั้งหมดหรือบางส่วนในกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)
   (๒) สั่งให้หัวหน้าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลปกครองกำหนด ในกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร
   (๓) สั่งให้ใช้เงินหรือให้ส่งมอบทรัพย์สินหรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการโดยจะกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขอื่น ๆ ไว้ด้วยก็ได้ ในกรณีที่มีการฟ้องเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการฟ้องเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
   (๔) สั่งให้ถือปฏิบัติต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่มีการฟ้องให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงความเป็นอยู่ของสิทธิหรือหน้าที่นั้น
   (๕) สั่งให้บุคคลกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย
 
ดังนั้นคำขอท้ายฟ้อง  ก็ต้องเป็นไปตามนี้
คือขอให้เพิกถอนคำสั่งไม่อนุญาตของเดิมที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย  แล้วให้พิจารณาใหม่ให้เป็นไปตามวิธีการและขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด
จึงไม่ต้องยื่นคำร้องใหม่
และในทางปฏิบัติ  ก็เป็นไปตามนี้ทุกคดี
บางคดี อย่างเช่นคดีคุณเสก ซึ่งสู้กันถึงศาลปกครองสูงสุดในประเด็นเพิกถอนคำสั่ง ฯ   นายทะเบียนก็ออกใบอนุญาตให้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น
บันทึกการเข้า
อาฮุย
Full Member
***

คะแนน 68
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 332


« ตอบ #47 เมื่อ: กันยายน 16, 2013, 09:46:23 PM »

ครับศาลปกครองสั่งให้อำเภอออกใบอนุญาตให้เราได้ครับ ผมชนะมาแล้ว ๑ คดีครับ ปืนอัดลมยาวครับ

สั่งตรง ๆ ไม่ได้ครับ  เป็นการก้าวล่วงอำนาจอธิปไตยที่เป็นแดนแห่งอำนาจของฝ่ายบริหาร
แต่ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาว่าคำสั่งทางปกครองของฝ่ายบริหารที่ออกไปแล้ว ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และพิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว กับสั่งหรือมีคำบังคับให้ดำเนินการพิจารณาทางปกครองเสียใหม่ให้ถูกต้องตามวิธีการและขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด

ลองนึกภาพดูว่าข้าราชการคนไหน ถูกศาลปกครองวินิจฉัยว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (ศาลต้องชี้ว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเสียก่อน ถึงจะเพิกถอนคำสั่งได้)  ก็ขี้หดตดหายแล้วครับ  ยังไม่เคยเจอประเภทดื้อด้าน ไม่ออกใบอนุญาตซ้ำสองสักราย

เป็นไปตามท่านผู้การกล่าวครับ ขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้ครับ
 คำสั่งอนุญาต/ไม่อนุญาต เป็น "คำสั่งทางปกครอง"
การร้องขอต่อศาล คือ กรณีเป็น "คำสั่งทางปกครองที่มิชอบ"
ศาลจึงอาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่มิชอบดังกล่าว
พูดง่ายๆ ว่าศาลสั่งให้เลิกคำสั่งนั้นเสีย/ไม่มีคำสั่งนั้นแล้ว
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าเมื่อไม่มีคำสั่งนั้นแล้ว จะต้องเป็นสิ่งตรงกันข้าม
คู่กรณีีก็ยังต้องยื่นคำขอ/คำร้อง เพื่อให้นายทะเบียนดำเนินกระบวนการใหม่อยู่ดี
ซึ่งท้ายที่สุดนายทะเบียนจะอนุญาต หรือไม่อนุญาต (อีกครั้ง) ก็คงเป็น "ดุลยพินิจ" ในการพิจารณา (ครั้งใหม่) นั่นเองครับ

 ไหว้ ไหว้ ไหว้

ไม่ได้เป็นแบบนั้นครับ
ศาลมีอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง  พ.ศ.  ๒๕๔๒ มาตรา ๗๒ คือ
   (๑) สั่งให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งหรือสั่งห้ามการกระทำทั้งหมดหรือบางส่วนในกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)
   (๒) สั่งให้หัวหน้าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลปกครองกำหนด ในกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร
   (๓) สั่งให้ใช้เงินหรือให้ส่งมอบทรัพย์สินหรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการโดยจะกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขอื่น ๆ ไว้ด้วยก็ได้ ในกรณีที่มีการฟ้องเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการฟ้องเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
   (๔) สั่งให้ถือปฏิบัติต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่มีการฟ้องให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงความเป็นอยู่ของสิทธิหรือหน้าที่นั้น
   (๕) สั่งให้บุคคลกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย
 
ดังนั้นคำขอท้ายฟ้อง  ก็ต้องเป็นไปตามนี้
คือขอให้เพิกถอนคำสั่งไม่อนุญาตของเดิมที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย  แล้วให้พิจารณาใหม่ให้เป็นไปตามวิธีการและขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด
จึงไม่ต้องยื่นคำร้องใหม่
และในทางปฏิบัติ  ก็เป็นไปตามนี้ทุกคดี
บางคดี อย่างเช่นคดีคุณเสก ซึ่งสู้กันถึงศาลปกครองสูงสุดในประเด็นเพิกถอนคำสั่ง ฯ   นายทะเบียนก็ออกใบอนุญาตให้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น
เรียนท่านผู้การฯ
ผมยังเห็นตามความในส่วนข้างต้นด้านบนของท่านผู้การฯ ครับ
ว่าศาลทำได้เพียงตรวจสอบ "ความชอบด้วยกฎหมาย" ของคำสั่งทางปกครอง
ซึ่งหาก กระบวนการ หรือ การใช้ ดุลยพินิจ ในการทำคำสั่งทางปกครองมิชอบแล้ว ศาลอาจใช้อำนาจตามกฎหมายข้างต้น "เพิกถอน" คำสั่งทางปกครอง นั้นเสีย
อย่างไรก็ตาม ศาลเป็นเพียงองค์กรที่ตรวจสอบ "ความชอบด้วยกฎหมาย"  ซึ่งจะไม่สามารถตรวจสอบ "ดุลยพินิจ" ของเจ้าหน้าที่ได้
เพราะไม่เช่นนั้น หากให้ศาลสามารถตรวจสอบทั้ง "ดุลยพินิจ" และยังให้ใช้ "ดุลยพินิจ" แทนเจ้าหน้าที่ได้อีก ก็จะเป็นการใช้อำนาจตุลาการมาข้ามเส้นของอำนาจบริหาร
ดังที่ท่านผู้การฯ กล่าวไว้ในตอนต้น ซึ่งประเด็นที่กระผมต้องการจะเน้นย้ำ คือ ท้ายที่สุดแม้จะมีการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้นแล้ว ซึ่งเป็นการตรวจสอบกระบวนการ ความชอบด้วยกฎหมาย แต่การใช้ "ดุลยพินิจ" ว่าจะอนุมัติ/อนุญาต ยังคงเป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่ (นายทะเบียน) ที่ศาลไม่อาจก้าวล่วงไปตรวจสอบการใช้ "ดุลยพินิจ" ได้ครับ
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปตามหลักการในทางกฎหมายมหาชน ส่วนขั้นตอนในทางปฏิบัตินั้้นผมยังด้อยในประสบการณ์ส่วนนี้ครับ

 ไหว้ ไหว้ ไหว้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2013, 09:57:14 PM โดย อาฮุย » บันทึกการเข้า

...ทิศทางจะเบี่ยงเบนไปเบื้องไหน
"ยุติธรรม" ต้องยิ่งใหญ่เหนือทุกสิ่ง
ต้องยืนหยัดเป็นหลักที่พักพิง
ไม่ทอดทิ้งศรัทธาประชาชน...
นายกระจง
Cement For Life.....
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2938
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 31463


ช่างมันเถอะ


« ตอบ #48 เมื่อ: กันยายน 17, 2013, 09:34:57 AM »

ขอบคุณ ผู้การและ อาฮุย สำหรับความรู้เรื่องกฎหมายครับ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นคนต้องอดทน ไม่อดทนก็อดตาย
 
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12902



« ตอบ #49 เมื่อ: กันยายน 17, 2013, 11:12:52 PM »

เรียนท่านผู้การฯ
ผมยังเห็นตามความในส่วนข้างต้นด้านบนของท่านผู้การฯ ครับ
ว่าศาลทำได้เพียงตรวจสอบ "ความชอบด้วยกฎหมาย" ของคำสั่งทางปกครอง
ซึ่งหาก กระบวนการ หรือ การใช้ ดุลยพินิจ ในการทำคำสั่งทางปกครองมิชอบแล้ว ศาลอาจใช้อำนาจตามกฎหมายข้างต้น "เพิกถอน" คำสั่งทางปกครอง นั้นเสีย
อย่างไรก็ตาม ศาลเป็นเพียงองค์กรที่ตรวจสอบ "ความชอบด้วยกฎหมาย"  ซึ่งจะไม่สามารถตรวจสอบ "ดุลยพินิจ" ของเจ้าหน้าที่ได้
เพราะไม่เช่นนั้น หากให้ศาลสามารถตรวจสอบทั้ง "ดุลยพินิจ" และยังให้ใช้ "ดุลยพินิจ" แทนเจ้าหน้าที่ได้อีก ก็จะเป็นการใช้อำนาจตุลาการมาข้ามเส้นของอำนาจบริหาร
ดังที่ท่านผู้การฯ กล่าวไว้ในตอนต้น ซึ่งประเด็นที่กระผมต้องการจะเน้นย้ำ คือ ท้ายที่สุดแม้จะมีการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้นแล้ว ซึ่งเป็นการตรวจสอบกระบวนการ ความชอบด้วยกฎหมาย แต่การใช้ "ดุลยพินิจ" ว่าจะอนุมัติ/อนุญาต ยังคงเป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่ (นายทะเบียน) ที่ศาลไม่อาจก้าวล่วงไปตรวจสอบการใช้ "ดุลยพินิจ" ได้ครับ
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปตามหลักการในทางกฎหมายมหาชน ส่วนขั้นตอนในทางปฏิบัตินั้้นผมยังด้อยในประสบการณ์ส่วนนี้ครับ

เป็นเพราะว่าเข้าใจคำว่า "ดุลพินิจ" ตลาดเคลื่อน
ดุลพินิจ ไม่ได้แปลว่า "ตามใจกู"
ดุลพินิจ นั้นใช้เพื่อการตรวจสอบเอกสารพยานหลักฐานเท่านั้น  เมื่อคุณสมบัติครบถ้วน ต้องออกใบอนุญาตทุกกรณี
ทั้งนี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาทางปกครอง  พ.ศ.2539 มาตรา 37

หมายความว่า ถ้าจะไม่ออกใบอนุญาต  ก็ต้องให้เหตุผลตามมาตรา 37 (2) ให้ได้ว่า ขาดคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างไร

   มาตรา ๓๗  คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย  และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
   (๑) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
   (๒) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
   (๓) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
บันทึกการเข้า
อาฮุย
Full Member
***

คะแนน 68
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 332


« ตอบ #50 เมื่อ: กันยายน 18, 2013, 10:59:26 AM »

เรียนท่านผู้การฯ
ผมยังเห็นตามความในส่วนข้างต้นด้านบนของท่านผู้การฯ ครับ
ว่าศาลทำได้เพียงตรวจสอบ "ความชอบด้วยกฎหมาย" ของคำสั่งทางปกครอง
ซึ่งหาก กระบวนการ หรือ การใช้ ดุลยพินิจ ในการทำคำสั่งทางปกครองมิชอบแล้ว ศาลอาจใช้อำนาจตามกฎหมายข้างต้น "เพิกถอน" คำสั่งทางปกครอง นั้นเสีย
อย่างไรก็ตาม ศาลเป็นเพียงองค์กรที่ตรวจสอบ "ความชอบด้วยกฎหมาย"  ซึ่งจะไม่สามารถตรวจสอบ "ดุลยพินิจ" ของเจ้าหน้าที่ได้
เพราะไม่เช่นนั้น หากให้ศาลสามารถตรวจสอบทั้ง "ดุลยพินิจ" และยังให้ใช้ "ดุลยพินิจ" แทนเจ้าหน้าที่ได้อีก ก็จะเป็นการใช้อำนาจตุลาการมาข้ามเส้นของอำนาจบริหาร
ดังที่ท่านผู้การฯ กล่าวไว้ในตอนต้น ซึ่งประเด็นที่กระผมต้องการจะเน้นย้ำ คือ ท้ายที่สุดแม้จะมีการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้นแล้ว ซึ่งเป็นการตรวจสอบกระบวนการ ความชอบด้วยกฎหมาย แต่การใช้ "ดุลยพินิจ" ว่าจะอนุมัติ/อนุญาต ยังคงเป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่ (นายทะเบียน) ที่ศาลไม่อาจก้าวล่วงไปตรวจสอบการใช้ "ดุลยพินิจ" ได้ครับ
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปตามหลักการในทางกฎหมายมหาชน ส่วนขั้นตอนในทางปฏิบัตินั้้นผมยังด้อยในประสบการณ์ส่วนนี้ครับ

เป็นเพราะว่าเข้าใจคำว่า "ดุลพินิจ" ตลาดเคลื่อน
ดุลพินิจ ไม่ได้แปลว่า "ตามใจกู"
ดุลพินิจ นั้นใช้เพื่อการตรวจสอบเอกสารพยานหลักฐานเท่านั้น  เมื่อคุณสมบัติครบถ้วน ต้องออกใบอนุญาตทุกกรณี
ทั้งนี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาทางปกครอง  พ.ศ.2539 มาตรา 37

หมายความว่า ถ้าจะไม่ออกใบอนุญาต  ก็ต้องให้เหตุผลตามมาตรา 37 (2) ให้ได้ว่า ขาดคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างไร

   มาตรา ๓๗  คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย  และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
   (๑) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
   (๒) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
   (๓) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ


ขอเรียนว่า โดยทั่วไป "ดุลยพินิจ" มิได้ หมายความถึง "ตามใจกู" หากแต่ต้องเป็นไปตามหลักการ และมีเหตุผลรองรับการใช้ดุลยพินิจ
อย่างไรก็ตาม "ดุลยพินิจ" ก็มิได้แคบจนถึงขนาดว่า "ตรวจสอบเอกสารพยานหลักฐานเท่านั้น"
เพราะเหตุที่กฎหมายยังจำเป็นต้องให้เจ้าหน้าที่ใช้ "ดุลยพินิจ" ก็เพื่อมิให้กฎหมายทื่อเกินไป ทำให้ไม่ยืดหยุ่นต่อการบังคับใช้ตามแต่กรณี
การให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้ดุลยพินิจก็เป็นไปเพื่อการปรับใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงได้อย่างยืดหยุ่น (ซึ่งก็อาจมีบางกรณีที่ทำให้เกิดการใช้ดุลยพินิจอย่างไม่ถูกต้อง)
กฎหมายแต่ละฉบับมีการกำหนดอำนาจการใช้ "ดุลยพินิจ" ของเจ้าหน้าที่แตกต่างกันไป กล่าวคือ หากกฎหมายกำหนดชัดเจน เคร่งครัด ก็แสดงว่าให้อำนาจการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่น้อย
หากกรณีที่กฎหมายมิได้กำหนดชัดเจน ก็แสดงว่าเปิดช่องให้มีการใช้ดุลยพินิจอย่างกว้างขวาง (แต่ไม่ว่าจะเป็นลักษณะใด ก็เป็นเพราะการดีไซด์เพื่อให้กฎหมายเหมาะสมกับเรื่องนั้นๆ ในเวลาที่กฎหมายใช้บังคับ"
กลับมาที่ กรณีการขออนุญาตให้มีและใช้อาวุธ ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐
ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดลักษณะต้องห้าม มิให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้แก่บุคคลตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งได้แก่

"มาตรา ๑๓  ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตตามความในหมวดนี้แก่
(๑) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุกสำหรับความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา ดังต่อไปนี้
(ก) มาตรา ๙๗ ถึงมาตรา ๑๑๑ มาตรา ๑๒๐ มาตรา ๑๗๗ ถึงมาตรา ๑๘๓ มาตรา ๒๔๙ มาตรา ๒๕๐ หรือมาตรา ๒๙๓ ถึงมาตรา ๓๐๓
(ข) มาตรา ๒๕๔ ถึงมาตรา ๒๕๗ และพ้นโทษยังไม่เกิน ๕ ปี นับแต่วันพ้นโทษถึงวันยื่นคำขอใบอนุญาต เว้นแต่ในกรณีความผิดที่กระทำโดยความจำเป็นหรือเพื่อป้องกันหรือโดยถูกยั่วโทสะ
(๒) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุกสำหรับความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด และดอกไม้เพลิง พุทธศักราช ๒๔๗๗ มาตรา ๑๑ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๙ หรือมาตรา ๓๓ หรือพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗ มาตรา ๒๔ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๘
(๓) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุกตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปในระหว่างห้าปีนับย้อนขึ้นไปจากวันยื่นคำขอ สำหรับความผิดอย่างอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ใน (๑) และ (๒) เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๔) บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(๕) บุคคลซึ่งไม่สามารถจะใช้อาวุธปืนได้โดยกายพิการหรือทุพพลภาพ เว้นแต่จะมีไว้เพื่อเก็บตามมาตรา ๑๑
(๖) บุคคลซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถหรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือปรากฏว่าเป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๗) บุคคลซึ่งไม่มีอาชีพและรายได้
(๘) บุคคลซึ่งไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
(๙) บุคคลซึ่งมีความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันอาจกระทบกระเทือนถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน
สำหรับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ห้ามมิให้ออกให้แก่บุคคลซึ่งมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ที่บุคคลนั้นขออนุญาต น้อยกว่าหกเดือน"

นั่นหมายความว่า หากเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดังกล่าวแล้ว นายทะเบียนจะไม่สามารถใช้ "ดุลยพินิจ" ออกใบอนุญาตให้ได้ เพราะกฎหมายกำหนดห้ามไว้โดยชัดเจน

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือ หากเป็นกรณีของบุคคลที่ไม่เข้าลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แต่นายทะเบียนเห็นว่าไม่สมควรจะออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนให้แก่บุคคลผู้นั้น จะสามารถใช้ดุลยพินิจกับกรณีดังกล่าวนี้ได้หรือไม่ อย่างไร?

ซึ่งกรณีนี้กระผมยังเห็นว่า นายทะเบียนยังสามารถใช้ดุลยพินิจพิจารณาได้ ว่าการออกใบอนุญาต/ไม่ออกใบอนุญาต สมควรหรือไม่ โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ประกอบกับข้อเท็จจริงเป็นรายกรณี
แต่ทั้งนี้การใช้ดุลยพินิจในการอนุญาต/ไม่อนุญาตดังกล่าว ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง ก็ต้องเป็นไปตามลักษณะของคำสั่งทางปกครองที่เป็นหนังสือ
ซึ่งคำสั่งทางปกครองดังกล่าวก็ต้องเป็นไปตาม มาตรา ๓๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่กำหนดให้ต้องอธิบายข้อพิจารณาและการให้เหตุผลในการสนับสนุนการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่/นายทะเบียนดังกล่าวนั่นเอง

ซึ่งจะไปสอดคล้องกับประเด็นพิจารณาตั้งแต่ต้นว่าการขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น ก็เป็นกระบวนการตรวจสอบ "ความชอบด้วยกฎหมาย" ของคำสั่งทางปกครองโดยศาล
มิใช่การตรวจสอบการใช้ "ดุลยพินิจ" ตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม กระผมก็มิได้หมายความว่าการใช้ดุลยพินิจ จะกระทำมิได้เลย แต่ต้องเป็นอีกกระบวนการหนึ่ง
ทั้งนี้ ที่กระผมอธิบายมาก็เพื่อมิให้ไปสับสน กับ การที่ศาลเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่มิชอบแล้ว จะต้องหมายความว่า ศาลจะสามารถมาใช้ดุลยพินิจแทนเจ้าหน้าที่ หรือจะต้องเป็นไปในทางของผู้ร้องเสมอ เพราะในการกลับมาสู่กระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่/นายทะเบียนอีกครั้งนั้น เจ้าหน้าที่/นายทะเบียน ก็ยังสามารถใช้ "ดุลยพินิจ" ที่มีภายใต้กฎหมายได้อยู่นั่นเอง  

ทั้งหมดนี้กระผมมิได้ขัดขวาง หรือไม่เห็นด้วยกับการอนุญาตให้ประชาชนครอบครองปืน / และมิใช่นายทะเบียนตามกฎหมายอาวุธปืนฯ
แต่กระผมเพียงพยายามอธิบายหลักการตามกฎหมายใช้เพื่อนสมาชิกได้เข้าใจบริบทของกฎหมายโดยรอบด้าน
และมิได้เห็นว่าการถกเถียงในเรื่องนี้ไม่ดี หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองและความรู้ซึ่งอาจเป็นประโยชน์กับผู้ที่กำลังจะดำเนินการเพื่อขอใช้อำนาจทางศาลต่อไป

 ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า

...ทิศทางจะเบี่ยงเบนไปเบื้องไหน
"ยุติธรรม" ต้องยิ่งใหญ่เหนือทุกสิ่ง
ต้องยืนหยัดเป็นหลักที่พักพิง
ไม่ทอดทิ้งศรัทธาประชาชน...
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12902



« ตอบ #51 เมื่อ: กันยายน 20, 2013, 07:22:14 PM »

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือ หากเป็นกรณีของบุคคลที่ไม่เข้าลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แต่นายทะเบียนเห็นว่าไม่สมควรจะออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนให้แก่บุคคลผู้นั้น จะสามารถใช้ดุลยพินิจกับกรณีดังกล่าวนี้ได้หรือไม่ อย่างไร?

ซึ่งกรณีนี้กระผมยังเห็นว่า นายทะเบียนยังสามารถใช้ดุลยพินิจพิจารณาได้ ว่าการออกใบอนุญาต/ไม่ออกใบอนุญาต สมควรหรือไม่ โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ประกอบกับข้อเท็จจริงเป็นรายกรณี

ตรงนี้ไม่ใช่แน่ ๆ เพราะเป็นเรื่องที่ ให้ความเห็นของข้าราชการแต่ละบุคคลสำคัญกว่ากฎหมาย  ไม่มีประเทศไหนในโลกเขาทำกัน
วิปกครอง มาตรา 37 (2) ก็เขียนไว้ชัดเจน ว่าต้องระบุข้อกฎหมายเป็นเหตุผลประกอบคำสั่ง
ถ้าปราศจากลักษณะต้องห้าม และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย  แล้วจะยกข้อกฎหมายอะไร มาเป็นเหตุผลในการไม่ออกใบอนุญาต

หรือจะเขียนแบบนี้  "ผู้ขอมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด  แต่ทำตัวไม่เป็นที่พึงพอใจของนายทะเบียน จึงปฏิเสธการออกใบอนุญาต"  เช่นนั้นหรือ
บันทึกการเข้า
Enruoblem
Hero Member
*****

คะแนน 84
ออฟไลน์

กระทู้: 1755



« ตอบ #52 เมื่อ: กันยายน 21, 2013, 11:49:18 AM »

 ไหว้ ขอบคุณเจ้าของกระทู้ ท่านผู้การ และ คุณอาฮุย สำหรับความรู้ทางกฏหมายครับ










บันทึกการเข้า

S76C+,C++
อาฮุย
Full Member
***

คะแนน 68
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 332


« ตอบ #53 เมื่อ: กันยายน 22, 2013, 12:03:23 AM »

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือ หากเป็นกรณีของบุคคลที่ไม่เข้าลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แต่นายทะเบียนเห็นว่าไม่สมควรจะออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนให้แก่บุคคลผู้นั้น จะสามารถใช้ดุลยพินิจกับกรณีดังกล่าวนี้ได้หรือไม่ อย่างไร?

ซึ่งกรณีนี้กระผมยังเห็นว่า นายทะเบียนยังสามารถใช้ดุลยพินิจพิจารณาได้ ว่าการออกใบอนุญาต/ไม่ออกใบอนุญาต สมควรหรือไม่ โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ประกอบกับข้อเท็จจริงเป็นรายกรณี

ตรงนี้ไม่ใช่แน่ ๆ เพราะเป็นเรื่องที่ ให้ความเห็นของข้าราชการแต่ละบุคคลสำคัญกว่ากฎหมาย  ไม่มีประเทศไหนในโลกเขาทำกัน
วิปกครอง มาตรา 37 (2) ก็เขียนไว้ชัดเจน ว่าต้องระบุข้อกฎหมายเป็นเหตุผลประกอบคำสั่ง
ถ้าปราศจากลักษณะต้องห้าม และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย  แล้วจะยกข้อกฎหมายอะไร มาเป็นเหตุผลในการไม่ออกใบอนุญาต

หรือจะเขียนแบบนี้  "ผู้ขอมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด  แต่ทำตัวไม่เป็นที่พึงพอใจของนายทะเบียน จึงปฏิเสธการออกใบอนุญาต"  เช่นนั้นหรือ

ในประเด็นที่ท่านผู้การฯ และกระผม ยังเห็นต่างกันอยู่ก็คือ ประเด็นการใช้ดุลยพินิจตามกฎหมายของนายทะเบียนในการออกใบอนุญาตให้มี/ใช้อาวุธปืน ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ นั้น ขอเรียนว่า

โดยหลักการแล้ว การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย อาจแบ่งได้เป็น "ดุลพินิจผูกพัน" และ "ดุลพินิจวินิจฉัย" โดย
ดุลพินิจผูกพัน อธิบายโดยง่ายก็คือ หากกรณีเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการทำคำสั่งทางปกครองให้กับผู้ร้อง/ผู้ขอ ซึ่งกรณีนี้จะเป็นไปตามที่ท่านผู้การฯ กล่าวไว้ คือ มีเอกสาร หลักฐานครบ คุณสมบัติถูกต้อง เจ้าหน้าที่ต้องทำคำสั่งทางปกครองให้

ดุลพินิจวินิจฉัย อธิบายโดยง่ายก็คือ กฎหมายเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่/นายทะเบียน สามารถใช้ดุลยพินิจภายใต้กฎหมายได้

กลับมาสู่กรณีการออกใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ที่ในกฎหมายดังกล่าว
กำหนดให้การมี/ใช้ อาวุธปืนจะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน อย่างไรก็ตามกฎหมายดังกล่าวก็มิได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะของผู้จะสามารถมี/ใช้อาวุธเอาไว้เลย คงมีแต่เพียงลักษณะต้องห้ามที่นายทะเบียนจะไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้เลยแก่บุุคคลที่มีลักษณะตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดังกล่าว

กรณีในประเด็นนี้เองที่ท่านผู้การฯ และหลายท่านเห็นว่า หากไม่เป็นบุคคลตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดังกล่าวแล้ว นายทะเบียนต้องผูกพันออกใบอนุญาตให้แก่บุคคลที่ยื่นคำขอ สำหรับทุกกรณีนั้น

อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้กระผมเห็นตรงข้ามว่า โดยลักษณะของพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ กฎหมายมิได้ต้องการให้นายทะเบียนต้องผูกพันอนุญาตให้แก่บุคคลที่ยื่นคำขอ ซึ่งไม่ใช่บุคคลต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ ฯ สำหรับทุกกรณี
แต่กฎหมายดังกล่าวออกแบบมาเพื่อให้นายทะเบียนสามารถใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยในการออกใบอนุญาตได้ การกำหนดลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดังกล่าว เป็นเพียงการจำกัดการใช้อำนาจดุลยพินิจส่วนหนึ่งของเจ้าหน้าที่/นายทะเบียน ว่าถ้าเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวแล้ว นายทะเบียนจะไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้เลย เพราะกฎหมายกำหนดห้ามไว้โดยชัดเจน แต่ถ้าเป็นกรณีของบุคคลที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดังกล่าวแล้ว นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องออกให้ทุกกรณี เพราะแม้จะจำกัดการใช้อำนาจดุลยพินิจออกใบอนุญาตแก่บุุคคลต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ ฯ ดังกล่าวแล้ว กรณีนอกเหนือจากนั้น ก็ยังคงเป็น "อำนาจดุลยพินิจวินิจฉัย" ของเจ้าหน้าที่/นายทะเบียน อยู่นั่นเอง

ซึ่งกระผมขออธิบายเพิ่มเติมว่า การใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยนั้น แม้จะเป็นการดีในแง่ของการยืดหยุ่นในแต่ละกรณี แต่ก็อาจเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่/นายทะเบียน ใช้อำนาจดังกล่าวแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หน่วยงานจึงออก กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ คำสั่ง แนวทาง หนังสือเวียน ฯลฯ เพื่อเป็นกรอบ และเป็นหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่/นายทะเบียน มิให้แสวงหาประโยชน์โดยชอบ และเกิดความลักลั่นกัน แต่สิ่งเหล่านี้หากมองให้ดีจะเห็นว่าเป็นเรื่องภายในของเจ้าหน้าที่/นายทะเบียน หาใช่สิ่งที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แต่อย่างใด

กระผมเข้าใจดีว่าท่านผู้การฯ และหลายท่าน มีเจตนาดีในการต่อสู้เพื่อให้ประชาชนสามารถมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองได้ เพราะปืนเป็นสิ่งที่มีคุณประโยช์อนันต์
อย่างไรก็ตาม กระผมเชื่อว่าแนวทางที่กระผมอธิบายน่าจะสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่มิได้ต้องการให้ใครก็ตาม (ที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย) ก็สามารถจะมีอาวุธปืนได้ และเห็นว่านายทะเบียนก็คงมิใช่เพียงแค่คนตรวจเอกสารและประทับตรายางเท่านั้น (แต่ก็คงไม่ได้มีอำนาจล้นฟ้า จนปฏิเสธเพราะเหตุผลไม่ถูกใจนายทะเบียนดังที่ท่านผู้การฯ กล่าวไว้) แต่กฎหมายต้องการ "ควบคุม" การมี/ใช้ อาวุธปืนของประชาชนไว้ในระดับหนึ่ง

ความเห็นของกระผมอาจไม่ถูกใจหลายท่าน แต่ขอให้เข้าใจว่ากระผมก็เป็นคนหนึ่ง ที่เคยเดินไปขอ ป.๓ เหมือนกับทุกท่าน เคยโดนปฏิเสธเหมือนหลายท่าน (นายทะเบียนบอก .๓๕๗ ขอได้เพื่อการกีฬาเท่านั้น?) เคยโกรธ เคยอารมณ์เสีย เคยต่อสู้มาไม่น้อยกว่าหลายท่านจนได้ ป.๓ (.๓๕๗ เพื่อป้องกันทรัพย์สินฯ) แต่วันนี้กระผมจำเป็นต้องแสดงความคิดเห็นซึ่งแน่นอนว่าขัดใจกับเพื่อนสมาชิกในเว็บนี้หลายท่าน แต่กระผมต้องอธิบายเพื่อให้เห็นถึงมุมมอง และความเห็นที่แตกต่างออกไป ซึ่งอนาคตอาจมีข้อสรุปที่ชัดเจนในประเด็นนี้

 ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า

...ทิศทางจะเบี่ยงเบนไปเบื้องไหน
"ยุติธรรม" ต้องยิ่งใหญ่เหนือทุกสิ่ง
ต้องยืนหยัดเป็นหลักที่พักพิง
ไม่ทอดทิ้งศรัทธาประชาชน...
ธำรง
Hero Member
*****

คะแนน 1734
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8577


.....รักในหลวง.....


« ตอบ #54 เมื่อ: กันยายน 22, 2013, 09:28:52 AM »

ด้วยความเคารพ ......
แนวทางการใช้ดุลพินิจตามที่ท่านอาฮุยว่ามา ผมก็เคยได้สนทนาวิสาสะกับ"ผู้ใหญ่"ของมท.
ผมเห็นว่าเป็นแนวความคิดเก่าๆที่สืบทอดกันมา .... ตีความขยายเขตอำนาจการใช้ดุลพินิจออกไปตามใจตัว
ซึ่งน่าจะสิ้นสุดยุคนั้นลงด้วยกรอบของ พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ไปแล้ว

ผมเห็นว่าการใช้ดุลพินิจเลือกปฏิบัติ เช่นการปฏิเสธการอนุญาตขนาด .๓๕๗ ขนาด .๔๕ โดยอ้างสถานะของบุคคล จะกระทำมิได้
เพราะรัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติเรื่องความเสมอภาคไว้ ในมาตรา ๓๐

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน

               ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

               การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
   
               มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้ เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------


หรือว่าดุลพินิจของนายทะเบียน สามารถอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ  หัวเราะร่าน้ำตาริน
บันทึกการเข้า
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12902



« ตอบ #55 เมื่อ: กันยายน 22, 2013, 03:15:27 PM »

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือ หากเป็นกรณีของบุคคลที่ไม่เข้าลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แต่นายทะเบียนเห็นว่าไม่สมควรจะออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนให้แก่บุคคลผู้นั้น จะสามารถใช้ดุลยพินิจกับกรณีดังกล่าวนี้ได้หรือไม่ อย่างไร?

ซึ่งกรณีนี้กระผมยังเห็นว่า นายทะเบียนยังสามารถใช้ดุลยพินิจพิจารณาได้ ว่าการออกใบอนุญาต/ไม่ออกใบอนุญาต สมควรหรือไม่ โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ประกอบกับข้อเท็จจริงเป็นรายกรณี

ตรงนี้ไม่ใช่แน่ ๆ เพราะเป็นเรื่องที่ ให้ความเห็นของข้าราชการแต่ละบุคคลสำคัญกว่ากฎหมาย  ไม่มีประเทศไหนในโลกเขาทำกัน
วิปกครอง มาตรา 37 (2) ก็เขียนไว้ชัดเจน ว่าต้องระบุข้อกฎหมายเป็นเหตุผลประกอบคำสั่ง
ถ้าปราศจากลักษณะต้องห้าม และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย  แล้วจะยกข้อกฎหมายอะไร มาเป็นเหตุผลในการไม่ออกใบอนุญาต

หรือจะเขียนแบบนี้  "ผู้ขอมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด  แต่ทำตัวไม่เป็นที่พึงพอใจของนายทะเบียน จึงปฏิเสธการออกใบอนุญาต"  เช่นนั้นหรือ

ในประเด็นที่ท่านผู้การฯ และกระผม ยังเห็นต่างกันอยู่ก็คือ ประเด็นการใช้ดุลยพินิจตามกฎหมายของนายทะเบียนในการออกใบอนุญาตให้มี/ใช้อาวุธปืน ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ นั้น ขอเรียนว่า

โดยหลักการแล้ว การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย อาจแบ่งได้เป็น "ดุลพินิจผูกพัน" และ "ดุลพินิจวินิจฉัย" โดย
ดุลพินิจผูกพัน อธิบายโดยง่ายก็คือ หากกรณีเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการทำคำสั่งทางปกครองให้กับผู้ร้อง/ผู้ขอ ซึ่งกรณีนี้จะเป็นไปตามที่ท่านผู้การฯ กล่าวไว้ คือ มีเอกสาร หลักฐานครบ คุณสมบัติถูกต้อง เจ้าหน้าที่ต้องทำคำสั่งทางปกครองให้

ดุลพินิจวินิจฉัย อธิบายโดยง่ายก็คือ กฎหมายเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่/นายทะเบียน สามารถใช้ดุลยพินิจภายใต้กฎหมายได้

กลับมาสู่กรณีการออกใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ที่ในกฎหมายดังกล่าว
กำหนดให้การมี/ใช้ อาวุธปืนจะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน อย่างไรก็ตามกฎหมายดังกล่าวก็มิได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะของผู้จะสามารถมี/ใช้อาวุธเอาไว้เลย คงมีแต่เพียงลักษณะต้องห้ามที่นายทะเบียนจะไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้เลยแก่บุุคคลที่มีลักษณะตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดังกล่าว

กรณีในประเด็นนี้เองที่ท่านผู้การฯ และหลายท่านเห็นว่า หากไม่เป็นบุคคลตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดังกล่าวแล้ว นายทะเบียนต้องผูกพันออกใบอนุญาตให้แก่บุคคลที่ยื่นคำขอ สำหรับทุกกรณีนั้น

อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้กระผมเห็นตรงข้ามว่า โดยลักษณะของพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ กฎหมายมิได้ต้องการให้นายทะเบียนต้องผูกพันอนุญาตให้แก่บุคคลที่ยื่นคำขอ ซึ่งไม่ใช่บุคคลต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ ฯ สำหรับทุกกรณี
แต่กฎหมายดังกล่าวออกแบบมาเพื่อให้นายทะเบียนสามารถใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยในการออกใบอนุญาตได้ การกำหนดลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดังกล่าว เป็นเพียงการจำกัดการใช้อำนาจดุลยพินิจส่วนหนึ่งของเจ้าหน้าที่/นายทะเบียน ว่าถ้าเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวแล้ว นายทะเบียนจะไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้เลย เพราะกฎหมายกำหนดห้ามไว้โดยชัดเจน แต่ถ้าเป็นกรณีของบุคคลที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดังกล่าวแล้ว นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องออกให้ทุกกรณี เพราะแม้จะจำกัดการใช้อำนาจดุลยพินิจออกใบอนุญาตแก่บุุคคลต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ ฯ ดังกล่าวแล้ว กรณีนอกเหนือจากนั้น ก็ยังคงเป็น "อำนาจดุลยพินิจวินิจฉัย" ของเจ้าหน้าที่/นายทะเบียน อยู่นั่นเอง

ซึ่งกระผมขออธิบายเพิ่มเติมว่า การใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยนั้น แม้จะเป็นการดีในแง่ของการยืดหยุ่นในแต่ละกรณี แต่ก็อาจเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่/นายทะเบียน ใช้อำนาจดังกล่าวแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หน่วยงานจึงออก กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ คำสั่ง แนวทาง หนังสือเวียน ฯลฯ เพื่อเป็นกรอบ และเป็นหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่/นายทะเบียน มิให้แสวงหาประโยชน์โดยชอบ และเกิดความลักลั่นกัน แต่สิ่งเหล่านี้หากมองให้ดีจะเห็นว่าเป็นเรื่องภายในของเจ้าหน้าที่/นายทะเบียน หาใช่สิ่งที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แต่อย่างใด

กระผมเข้าใจดีว่าท่านผู้การฯ และหลายท่าน มีเจตนาดีในการต่อสู้เพื่อให้ประชาชนสามารถมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองได้ เพราะปืนเป็นสิ่งที่มีคุณประโยช์อนันต์
อย่างไรก็ตาม กระผมเชื่อว่าแนวทางที่กระผมอธิบายน่าจะสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่มิได้ต้องการให้ใครก็ตาม (ที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย) ก็สามารถจะมีอาวุธปืนได้ และเห็นว่านายทะเบียนก็คงมิใช่เพียงแค่คนตรวจเอกสารและประทับตรายางเท่านั้น (แต่ก็คงไม่ได้มีอำนาจล้นฟ้า จนปฏิเสธเพราะเหตุผลไม่ถูกใจนายทะเบียนดังที่ท่านผู้การฯ กล่าวไว้) แต่กฎหมายต้องการ "ควบคุม" การมี/ใช้ อาวุธปืนของประชาชนไว้ในระดับหนึ่ง

ความเห็นของกระผมอาจไม่ถูกใจหลายท่าน แต่ขอให้เข้าใจว่ากระผมก็เป็นคนหนึ่ง ที่เคยเดินไปขอ ป.๓ เหมือนกับทุกท่าน เคยโดนปฏิเสธเหมือนหลายท่าน (นายทะเบียนบอก .๓๕๗ ขอได้เพื่อการกีฬาเท่านั้น?) เคยโกรธ เคยอารมณ์เสีย เคยต่อสู้มาไม่น้อยกว่าหลายท่านจนได้ ป.๓ (.๓๕๗ เพื่อป้องกันทรัพย์สินฯ) แต่วันนี้กระผมจำเป็นต้องแสดงความคิดเห็นซึ่งแน่นอนว่าขัดใจกับเพื่อนสมาชิกในเว็บนี้หลายท่าน แต่กระผมต้องอธิบายเพื่อให้เห็นถึงมุมมอง และความเห็นที่แตกต่างออกไป ซึ่งอนาคตอาจมีข้อสรุปที่ชัดเจนในประเด็นนี้

 ไหว้ ไหว้ ไหว้


เขียนมายาวมาก แต่ก็ยังไม่ได้ตอบว่าจะใช้ข้อกฎหมายใดเป็นเหตุผลในการปฏิเสธ ไม่ออกใบอนุญาต
บันทึกการเข้า
yutthakarn
Hero Member
*****

คะแนน 554
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2354


สิ่งที่คนต้องการ คือ โอกาส


« ตอบ #56 เมื่อ: กันยายน 22, 2013, 04:58:01 PM »

ขออนุญาตแชร์ความเห็นหน่อยครับ
"มาตรา ๑๓  ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตตามความในหมวดนี้แก่.......
๙) บุคคลซึ่งมีความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันอาจกระทบกระเทือนถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน


ข้อนี้ น่าคิดนะครับ ซึ่งถ้าผู้ที่มาขอ ป.3 เป็นคนที่นายทะเบียนรู้จักดีว่าเป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพล อาจจะร่ำรวยหรือเป็นลูกคนมีอำนาจ ทำตัวให้คนอื่นเกรงกลัวแต่ไม่ถึงขนาดประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันอาจกระทบกระเทือนถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน และไม่เข้าข่ายข้อห้ามใน(๑)-(๘) นายทะเบีบนเห็นว่าไม่สมควรที่จะอนุญาตให้บุคคลนั้นมีอาวุธปืน ก็น่าจะมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตได้นะครับ เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม คือเล็งเห็นได้ว่า ถ้าบุคคลนั้นได้มีอาวุธปืนอาจใช้ไปในการข่มเหงรังแกชาวบ้าน หรือต้องอนุญาตให้ไปแล้วรอให้นำปืนไปใช้ข่มขู่ชาวบ้านหรือใช้กระทำความผิดเสียก่อนค่อยให้ตำรวจจับตัวมาดำเนินคดี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 22, 2013, 04:59:58 PM โดย yutthakarn » บันทึกการเข้า
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12902



« ตอบ #57 เมื่อ: กันยายน 22, 2013, 09:09:11 PM »

ขออนุญาตแชร์ความเห็นหน่อยครับ
"มาตรา ๑๓  ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตตามความในหมวดนี้แก่.......
๙) บุคคลซึ่งมีความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันอาจกระทบกระเทือนถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน


ข้อนี้ น่าคิดนะครับ ซึ่งถ้าผู้ที่มาขอ ป.3 เป็นคนที่นายทะเบียนรู้จักดีว่าเป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพล อาจจะร่ำรวยหรือเป็นลูกคนมีอำนาจ ทำตัวให้คนอื่นเกรงกลัวแต่ไม่ถึงขนาดประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันอาจกระทบกระเทือนถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน และไม่เข้าข่ายข้อห้ามใน(๑)-(๘) นายทะเบีบนเห็นว่าไม่สมควรที่จะอนุญาตให้บุคคลนั้นมีอาวุธปืน ก็น่าจะมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตได้นะครับ เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม คือเล็งเห็นได้ว่า ถ้าบุคคลนั้นได้มีอาวุธปืนอาจใช้ไปในการข่มเหงรังแกชาวบ้าน หรือต้องอนุญาตให้ไปแล้วรอให้นำปืนไปใช้ข่มขู่ชาวบ้านหรือใช้กระทำความผิดเสียก่อนค่อยให้ตำรวจจับตัวมาดำเนินคดี


ใช่ครับ
ข้อนี้สามารถใช้เป็นเหตุผลในข้อกฎหมายได้    อย่างเช่นพบประวัติในคดียาเสพติดถึงขั้นจำหน่าย หรือกินเหล้าขับรถมากกว่าหนึ่งครั้ง  ซึ่งไม่ใช่ลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 13 โดยตรง  ผมก็เคยแนะนำนายอำเภอ พรรคพวกกันไปว่าให้ยกข้อนี้ขึ้นเป็นเหตุผลปฏิเสธการออกใบอนุญาต

อีกข้อหนึ่งก็คือที่วรรคสอง  "และมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ที่บุคคลนั้นขออนุญาต"  ตรงนี้ก็เป็นปัญหา  เช่นทำงานต่างอำเภอ ก็สามารถยกขึ้นมาเป็นเหตุผลในข้อกฎหมาย ไม่ออกใบอนุญาตได้เช่นกัน
บันทึกการเข้า
อาฮุย
Full Member
***

คะแนน 68
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 332


« ตอบ #58 เมื่อ: กันยายน 23, 2013, 11:35:53 AM »

ในกรณีที่นายทะเบียนใช้ดุลพินิจปฏิเสธการอนุญาตแก่บุคคลผู้ยื่นคำร้อง โดยใช้เหตุผลตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ นั้น น่าจะเห็นตรงกันแล้ว  Smiley Smiley Smiley

แต่ในกรณีของบุคคลที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มายื่นคำร้องต่อนายทะเบียน นายทะเบียนจะต้องผูกพันอนุมัติทุกกรณีหรือไม่นั้น

กระผมคงเห็นว่านายทะเบียนยังสามารถใช้ดุลพินิจวินิจฉัยในการอนุญาตเป็นรายกรณีได้

เพราะหากกฎหมายพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ เขียนโดยกำหนดไปเลยว่าบุคคลที่มีคุณสมบัติใดบ้างที่มีสิทธิมี/ใช้อาวุธปืน ได้แก่
(๑) ....................................
(๒) ....................................
(๓) .....................................
(๔) .....................................
แน่นอนว่าหากกฎหมายกำหนดในลักษณะดังกล่าว (positive list) กระผมจะเห็นด้วยกับท่านผู้การฯ อย่างไม่มีข้อโต้แย้งว่าบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนจะต้องได้รับใบอนุญาตในทุกกรณี  ไหว้

แต่กฎหมายพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ กำหนดเป็นลักษณะต้องห้ามที่นายทะเบียนจะไม่สามารถออกใบอนุญาตตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (negative list)

นั่นทำให้เกิดกรณีว่า บุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้เลย แต่ถ้ามิได้เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวนายทะเบียนยังคงสามารถใช้ดุลพินิจได้อยู่

โดยขอให้ทุกท่านเปิดใจ รับฟังผมอธิบายอีกสักครั้ง ดังนี้
๑. เมื่อพิจารณามาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
    “มาตรา ๗  ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่”
     ซึ่งหมายความว่า การมี/ใช้อาวุธปืนต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่
     เฉพาะมาตรานี้ อธิบายได้ว่า นายทะเบียนมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตการใช้อาวุธปืนส่วนบุคคล

๒. เมื่อพิจารณามาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
    “มาตรา ๙  ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน ให้ออกให้แก่บุคคลสำหรับใช้ในการป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน หรือในการกีฬาหรือยิงสัตว์...”
    ซึ่งหมายความว่า ดุลพินิจในการออกใบอนุญาตของนายทะเบียนที่กว้างขวางนั้น กฎหมายกำหนดให้แคบลง ว่าสามารถออกได้เพียงสามกรณี คือ (๑) ป้องกันฯ (๒) กีฬา (๓) ล่าสัตว์
เปรียบเทียบได้ว่า ตอนนี้ดุลพินิจของนายทะเบียน เหลือเพียงภายใต้ขอบ (๑) – (๓) ดังกล่าว ผมสมมติว่าภายใต้ขอบดังกล่าว คือ กระดาษ A4 นะครับ ทีนี้อธิบายได้ว่าภายใต้กระดาษ A4 ดังกล่าวนายทะเบียนสามารถใช้ดุลพินิจภายใต้ A4 ดังกล่าวได้

๓. เมื่อพิจารณามาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
   (เป็นการกำหนดห้ามนายทะเบียนออกใบอนุญาตให้แก่บุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรานี้)
    ซึ่งหมายความว่า ถ้าเป็นบุคคลที่มีลักษณะตามมาตรา ๑๓ฯ นี้แล้ว นายทะเบียนจะไม่สามารถออกใบอนุญาตได้เลย
    อธิบายได้ว่า ในกระดาษ A4 ข้างต้น เกิดวงกลมวงหนึ่งขึ้นมา ซึ่งหมายถึงบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ ดังกล่าวฯ
    นั่นหมายความว่า
     ๓.๑ ถ้าเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้าม (พื้นที่ในวงกลม) นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้เลย เพราะกฏหมายห้ามไว้ชัดเจน
     ๓.๒ ถ้าเป็นบุคคลที่ไม่มีลักษณะต้องห้าม ยื่นคำร้อง (พื้นที่ในกระดาษ A4 ที่อยู่นอกวงกลม) นายทะเบียนก็ยังคงมีอำนาจดุลพินิจที่จะพิจารณาอนุญาต/ไม่อนุญาตได้ตามกฎหมายอยู่นั่นเอง

ส่วนประเด็นในมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ นั้น เป็นการกำหนดในเรื่องลักษณะของคำสั่งทางปกครองที่เป็นหนังสือ ซึ่งมีเจตนารมณ์เป็นกรอบบังคับให้เจ้าหน้าที่ต้องแสดงเหตุผลประกอบคำสั่งทางปกครองภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย เป็นกฎหมายกลางสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติตาม อันนี้กระผมเห็นตรงกันกับทุกท่านว่าในการออกคำสั่งทางปกครองต้องมีเหตุผลประกอบ

เช่น ในกรณีถ้านายทะเบียนจะปฏิเสธการขอใบอนุญาต หากเป็นบุคคลไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ฯ มาขอเพื่อ (๑) ป้องกันฯ หรือ (๒) กีฬา หรือ (๓) ล่าสัตว์ หากนายทะเบียนเห็นว่าไม่สมควรอนุญาตจะเป็นเพราะเหตุผลใด เช่น อาจพัวพันเรื่องยาเสพติด มีพฤติการณ์ข่มขู่เพื่อนบ้าน ลักเล็กขโมยน้อยเป็นนิจ มีแนวโน้มใช้ปืนฆ่าตัวตาย หรือแนวโน้มก่ออาชญากรรม ฯลฯ นายทะเบียนยังสามารถปฏิเสธการอนุญาตได้ แต่ต้องให้เหตุผลประกอบการปฏิเสธดังกล่าว ซึ่งย้ำว่าเป็นรายกรณี

โดยคำสั่งทางปกครองดังกล่าวต้องมี ลักษณะสำคัญ คือ
๑. ข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญของกรณีดังกล่าว (มาตรา ๓๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการฯ)
๒. ข้อกฎหมายที่ให้อำนาจในการใช้ดุลพินิจในการออกออกใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (มาตรา ๓๗ (๒) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการฯ)
๓. ข้อพิจารณาและเหตุผลสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจปฏิเสธสำหรับกรณีดังกล่าว (มาตรา ๓๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการฯ)

ทั้งหมดนี้เป็นหลักการ ที่อยู่บนหลักของเหตุผล และการแสดงความเห็น ขออภัยที่เขียนมายาว (อีกแล้วครับ)
ยินดีที่ได้รับฟังและแลกเปลี่ยนกับท่านผู้การฯ และทุกท่านครับ

 ไหว้ ไหว้ ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 23, 2013, 02:14:03 PM โดย อาฮุย » บันทึกการเข้า

...ทิศทางจะเบี่ยงเบนไปเบื้องไหน
"ยุติธรรม" ต้องยิ่งใหญ่เหนือทุกสิ่ง
ต้องยืนหยัดเป็นหลักที่พักพิง
ไม่ทอดทิ้งศรัทธาประชาชน...
sohnthaya
Full Member
***

คะแนน 28
ออฟไลน์

กระทู้: 349


« ตอบ #59 เมื่อ: กันยายน 23, 2013, 01:51:07 PM »

แต่ผมกลับคิดว่า ท่านหวังดีต่อพี่ครับ กลัวพี่จะเสียเวลาเปล่า เลยตอบคำถามด้วยคำถาม เพราะในที่สุดแล้วศาลปกครองก็ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้อำเภอออกใบอนุญาตให้พี่อยู่ดี  อย่างดีก็ทำได้เพียงแค่ขอให้ใช้ดุลพินิจใหม่ แต่ก็เข้าใจที่พี่โกรธเพราะพี่เองก็มาถึงขั้นนี้แล้ว ก็อยากได้คำแนะนำไปสู่หนทางแห่งชัยชนะ พอเจอแบบนี้เข้า ไม่พอใจก็เป็นเรื่องธรรมดา อ๋อย อ๋อย อ๋อย   ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.153 วินาที กับ 21 คำสั่ง