๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
เมษายน 26, 2024, 10:08:00 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พิสูจน์ดีเอ็นเอ'กุหลาบแก้ว' บทจบที่ไม่มีข้อสรุป  (อ่าน 4213 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Chayanin-We love the king
ฟ้าสว่างสดใสไร้มลทิน เพียงเมฆินบังเบียดเสนียดฟ้า แกว่งยางยูงปัดป้องท้องนภา ผู้แก่กล้าโปรดอย่าว่าตัวข้าเลย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 62
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2610



« เมื่อ: สิงหาคม 21, 2006, 01:19:14 PM »

พิสูจน์ดีเอ็นเอ'กุหลาบแก้ว' บทจบที่ไม่มีข้อสรุป
ที่  นสพ. ฐานเศรษฐกิจ
  
   การพิสูจน์สัญชาติ บริษัท กุหลาบแก้ว ห่วงโซ่ความสัมพันธ์การลงทุนใน ชินคอร์ป ของ กองทุนเทมาเสกที่พรรค ประชาธิปปัตย์ (ปชป.)ยื่นเรื่องให้ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พิสูจน์ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 ว่าบริษัทที่ใช้ชื่อราชินีดอกไม้เป็นนาม กระทำผิดตาม พระราชบัญญัติ (พรบ.) การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 หรือไม่ ? ปะทุเป็นข่าวฉาวขึ้นมาอีกเมื่อมีกระแสข่าวระบุว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สรุปผลสอบออกมาแล้วว่า


"ผิด" และได้เสนอเรื่องไปตามขั้นตอนจนถึงฝ่ายการเมืองแล้ว หากเรื่องที่ทำว่าจะจบอย่างมีบทสรุป กลับพลิกมุมและมีแนวโน้มว่าจะยืดเยื้อออกไปอีก


เมื่อ ยรรยง พวงราช รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะ ประธานคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว แทรกตัวเข้ามาขอตรวจสอบอีกครั้ง โดยอ้างว่ามีเอกสารใหม่จาก


ผู้เกี่ยวข้องส่งมาให้อีก 200 หน้า พร้อม เสนอตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบอีก 1 ชุด พร้อมกับให้เหตุว่าผู้บริหารของ บริษัท กุหลาบแก้ว ทำหนังสือถึง ปรีชา เลาหะพงษ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และมีเอกสารที่ ยังไม่ได้พิจารณา และแย้มว่าการตรวจสอบรอบใหม่คงต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือมากกว่า


ทั้งนี้ ประเด็นที่ ปชป. ทำหนังสือร้องขอให้ กระทรวงพาณิชย์ ตรวจสอบ บริษัท กุหลาบแก้ว มีหลายประเด็นหากที่เน้นย้ำแบบเฉพาะเจาะจงคือ พงส์ สารสิน อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ ศุภเดช พูนพิพัฒน์ ประธานกรรมการบริหารกลุ่มธนชาติ ซึ่งถือหุ้นรวมกัน 51 % ใน


บริษัทน่าจะเป็นนอมินี(ตัวแทน)


เหตุผลที ปชป.ยกขึ้นมาอ้างแม้ 2 คนข้างต้นถือหุ้นข้างมากแต่อำนาจในการบริหารและสิทธิในผลประโยชน์กับน้อยนิดเดียวเมื่อเปรียบเทียบกับ บริษัท ไซเพรส โฮลดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเทมาเสก ที่ถือหุ้นข้างน้อย


ตัวอย่างเช่น หุ้น 51 % หรือ 8.3 ล้านหุ้น ที่ถือโดยพงส์-ศุภเดชนั้นเป็นหุ้นบุริมสิทธ์ และมีสิทธิในการออกเสียงในสัดส่วน 10 หุ้นต่อ 1 เสียงเท่านั้น!!! หรือ อีกตัวอย่างเช่น บริษัท กุหลาบแก้วมีกรรมการ 3 คน แต่ถือหุ้นใหญ่ฝ่ายใจกว้างให้ผู้ถือหุ้นเสียงข้างน้อยนั่งเป็นกรรมการ 2 คน ด้วยข้อเท็จจริงดังกล่าว


ข้อสังเกตุดังกล่าวนั่นเองที่ ปชป. ยกขึ้นมาร้องให้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตรวจสอบ บริษัท กุหลาบแก้ว ว่าทำผิดกฎหมายตาม พรบ.ธุรกิจคนต่างด้าวฯหรือไม่ ! !!! หากยังไม่ทันที่จะพิสูจน์ว่า อดีตรองนายกฯของไทย และผู้บริหารสถาบันการเงินชื่อดังยอมเป็นตัวแทนให้กับสิงคโปร์หรือไม่ บริษัท กุหลาบแก้ว ก็ปรับเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นและบริคณห์สนธิซึ่งทำให้ดูตามกฎหมายแล้วดูเหมือนเป็นบริษัทไทยแท้ๆแน่นอน


ด้านหนึ่งเพราะ บริษัท กุหลาบแก้ว ดึงเอาคนไทยชื่อ สุรินทร์ อุปพัทธกุล ซีอีโอของบริษัท มัลติเพอโพสโฮลดิ้ง ซึ่งมีธุรกิจมากมายใน มาเลเชีย ตั้งแต่ การเงินการธนาคารไปจนถึงหวยตู้และประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจจนได้รับบรรดาศักดิ์"ดาโต๊ะ"นำหน้า เข้ามาร่วมทุนใน บริษัท กุหลาบแก้ว โดยครั้งนั้น บริษัท กุหลายแก้วเพิ่มทุนจาก 164 ล้านบาทเป็น 4,000 ล้านบาทเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2549 พร้อมกับเปิดทางให้ ดาโต๊ะสุรินทร์ เข้ามาซื้อหุ้น 68 % ส่วนสัดส่วนหุ้นของ พงส์-ศุภเดช ลดเหลือ 2 % เศษ (เดิม 51 % ) และ บริษัท ไซเพรส โอลดิ้ง ในเครือ เทมาเสก ลดเหลือ 30 % (เดิม 49 %)


การผสมพันธ์ทางธุรกิจครั้งนั้นทำให้ดีเอ็นเอทางกฎหมายของ บริษัท กุหลาบแก้ว มีความเป็นไทยสมจริงสมจังมากขึ้นเมื่อเทียบกับสูตรเดิมที่ชี้ชัดว่า 2 คนที่มีชื่อว่าถือหุ้นใหญ่เป็นแค่ นอมีนิ หรือ ผู้ถือหุ้นรับจ้างเท่านั้น เพราะ ดาโต๊ะสุรินทร์ วัย 57 ปีถึงไปได้ดิบได้อยู่ใน มาเลเชีย


แต่ยังถือสัญชาติไทย อีกทั้งบริษัท กุหลาบแก้ว ได้แก้ไขข้อบังคับต่างๆให้ดูเป็นธรรมชาติขึ้นเช่นระบุว่า "หุ้นทุกหุ้นของบริษัทมีสิทธิและฐานะเท่าเทียมกันทุกประการ"


อย่างไรก็ดีการมาของ ดาโต๊ะสุรินทร์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็ยังมีข้อกังขาอีกว่าจะเป็นนอมินี ของใครหรือไม่ ? อย่างไร ? แม้เจ้าตัวยืนยันกับ"ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เงิน 2,700 ล้านบาทที่นำมาลงทุนใน บริษัท กุหลาบแก้ว นั้นเป็นเงินลงทุนของตนซึ่งถือว่าไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนใน บริษัท มัลติเพอโพส โฮลดิ้ง


การตรวจสอบ บริษัท กุหลาบแก้ว ของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าหลัง ดาโต๊ะ พุ่งเป้าไปที่


5 ประเด็นหลักคือ หนึ่ง สัดส่วนการถือหุ้นของคนไทยและต่างด้าว สอง การชำระเงินค่าหุ้น สาม แหล่งที่มาของเงินลงทุน สี่ อำนาจการบริหาร และ ห้า อำนาจการเบิกเงิน และมีข้อสรุปว่า และมีข่าวว่าผลการสอบของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยอธิบดี อรจิต สิงคาลวณิช ไม่สงสัยว่าสัญชาติของ ดาโต๊ะสุรินทร์นั้นเป็นไทยแท้ๆ หาก มีข้อสงสัยเรื่องที่มาที่ไปของเงินลงทุน


แนวทางข้างจ้นสอดรับกับที่ ดาโต๊ะสุรินทร์ บอกกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า " การที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยังไม่ยอมยืนยันสัญชาติของ บริษัทกุหลาบแก้ว อาจเป็นเพราะไม่แน่ใจเรื่อง


"เงินลงทุนของผมที่โอนเข้ามาจากต่างประเทศ"


นอกจากนี้ยังมีข่าวปล่อยอีกด้วยว่า ผลสอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีข้อสรุปแล้วโดยชี้ชัดว่า บริษัท กุหลาบแก้ว นั้นไม่ใช่สัญชาติไทย และเรื่องนี้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รับรู้แล้ว


ถ้าข้อสรุปดังกล่าวจริงย่อมหมายความเงินลงทุน 73,000 ล้านบาทของเทมาเสกใน ชินคอร์ป อยู่ในความเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง


ด้านหนึ่งเพราะหากบริษัท กุหลาบแก้ว ไม่ใช่ นิติบุคคลสัญชาติไทย บริษัท ซีดาร์โฮลดิ้ง ย่อมไม่ใช่ นิติบุคคลสัญชาติไทยเช่นเดียวกัน และย่อมผูกโยงไปถึง บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น หรือ ชินคอร์ป เพราะบริษัทที่ใช้ต้นสนเป็นชื่ออย่าง "ซีดาร์ โฮลดิ้ง" นั้นถือหุ้นใน ชินคอร์ป 51,95 % (จำนวนหุ้นหลังรับซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อย)


ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทันทีถ้า ชินคอร์ป ถูกตีความว่าไม่ใช่นิติบุคคลสัญชาติไทย หรือไม่มีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นเกิน 51 % คือ


หนึ่ง สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับการบีโอไอในดาวเทียวไทยคม 3 และ ,ไอพีสตาร์ จะหายวับไปทันที รวมทั้ง ไทยคม 5 ที่ บมจ. ชินแซทเทิลไล์ท หรือ ชินแซท กำลังยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจาก บีโอไอ เพราะเงื่อนไข บีโอไอระบุว่า " บุคคลสัญชาติไทยต้องถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 51 % "


ทั้งนี้ ดาวเทียมไทยคม 3 ได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลส่วนที่ไปรายรับต่างประเทศนาน 8 ปีตั้งแต่ปี 2539 ส่วนไอพีสตาร์ ได้รับสิทธิดังกล่าวเช่นกันตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งประมาณว่าเฉพาะดวงหลัง บมจ. ชินแซท เทิลไล์ท ประหยัดเงินภาษีไป 16,543 ล้านบาท


สอง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส ตัวทำเงินของชินคอร์ป ซึ่งได้สัมปทานดำเนินธุรกิจโทรศัพท์มือถือคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz จาก บมจ.ทีโอที (องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเดิม)มาตั้งแต่ปี 2533 ย่อมอยู่ในสภาวะอึดอึดตามไปด้วย เพราะ พรบ. ประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ระบุชัดว่าห้ามต่างชาติถือหุ้นเกิน 49 %


และสาม ในส่วนของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีที่ยังมะรุมมะตุ้มอยู่กับเรื่องค่าปรับเวลานี้ ก็เข้าสู่ภาวะเสี่ยงเช่นกัน เพราะ กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 39 ระบุไว้ว่า เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ หรือ สื่อมวลชนต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย


นั่นคือ ความเสี่ยง 3 ประการที่ ชินคอร์ป และกิจการในเครือจะได้รับถ้ามีการพิสูจน์ได้ว่า ดีเอ็นเอของ บริษัท กุหลาบแก้ว ไม่ได้มีสัญชาติไทย!!!


ด้วยผลต่อเนื่องมากเช่นนั้นกระมังที่ทำให้ ยรรยง รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะ ประธานคณะกรรมการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว จึงอ้างหน้าที่ในฐานะรองปลัดคลัสเตอร์เข้ามาดูแลเรื่องนี้ด้วยตนเองหลังมีข่าวสะพัดว่า บริษัท กุหลาบแก้ว มีแนวโน้มกระทำความผิดตาม พรบ.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ฯ โดยเฉพาะช่วงเวลาก่อนที่ ดาโตะสุรินทร์จะเข้ามาถือหุ้น หรือ นับแต่วันที่ 23 มกราคม 2549 ที่ครอบครัวชินวัตรประกาศขายทิ้งกิจการให้เทมาเสกอย่างเป็นทางการจนถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2549 ความผิดนั้นเกิดขึ้นแล้วในลักษณะต่างกรรมต่างวาระ


อีกทั้งในฐานะปลัดคลัสเตอร์ ยรรยง เตรียมเสนอตั้ง คณะกรรมการขึ้นมาอีกชุด ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนจาก แบงก์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เพื่อ ตรวจสอบบริษัท กุหลาบแก้วอีกครั้งว่าเป็นนอมีนีหรือไม่ ?


ส่วนแนวทางในการตรวจสอบว่าลักษณะใดเข้าข่ายนอมีนีหรือไม่วางไว้ซื้อหุ้นโดยจ่ายด้วนเงินตนเองแต่อยากบริหารถือว่าเป็นนอมีนีหรือไม่ ~ หรือ กู้เงินมาซื้อหุ้นถือว่าเป็นนอมินี หรือไม่ ?


นัยหนึ่งเพื่อความรอบครอบ และกำหนดเป็นมาตรฐานว่าพฤติกรรมเช่นใดจึงเป็น นอมินี โดยกรรมการชุดดังกล่าวจะมีการประชุมนัดแรกวันจันทร์ 21 สิงหาคม นี้ และนับจากนั้นต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือนจึงพอจะทราบผลของการสอบสวนบริษัทกุหลาบแก้วภาคสอง


แม้ผลการสอบสวน บริษัท กุหลาบแก้ว มีบทจบแล้วแต่กลับไร้ข้อสรุป อีกทั้งยากจะคาดคะเนว่าข้อสรุปจากกรรมการชุดใหม่ จะออกมาอย่างไรเมื่อประธานคณะกรรมการสอบสวนชุดใหม่เน้น เรื่องรอบคอบเพื่อได้กำหนดเป็นมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญเป็นพิเศษ


ในสถานการณ์ที่ส่อว่าจะยืดเยื้อและทอดเวลาออกไปเช่นนี้ ผู้ได้ประโยชน์เต็มๆ เป็นใครไปไม่ได้นอกจาก ชินคอร์ป และเทมาเสก ผู้ถือหุ้นใหญ่เท่านั้น !!!!!
บันทึกการเข้า

ไม่อยากเป็นมะเร็ง   ก็ใช่ว่าต้องเป็นโรคหัวใจ
สุขภาพดีเป็นเรื่องไม่ยาก
สุขภาพที่ดีของประเทศไทย   อยู่ที่สภาวะปราศจากโรคร้าย
ไม่ใช่อยู่ที่ต้องเลือกระหว่าง  มะเร็ง  กับ โรคหัวใจ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.097 วินาที กับ 21 คำสั่ง