ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์

<< < (3/10) > >>

มะเอ็ม:
นักร้อง คุณภาพ

ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป:
ไฮดร้า (วงดนตรี)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Jump to: navigation, ค้นหา
สารานุกรมประเทศไทย...ไฮดร้า
 
 
ช่วงปี พ.ศ. 2535
แนวเพลง ป๊อปร็อค
ค่าย นิธิทัศน์
สมาชิก นครินทร์ กิ่งศักดิ์ (ป้าง)
ธนา ลวสุต (ปอนด์)

--------------------------------------------------------------------------------


ไฮดร้า วงดนตรีแนวป๊อปร็อค ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2535 โดยมีนักร้องนำคือ นครินทร์ กิ่งศักดิ์ (ป้าง) และ ธนา ลวสุต (ปอนด์) โดยป้างเป็นคนแต่งเนื้อร้อง และปอนด์แต่งทำนอง อยู่ในค่ายนิธิทัศน์ ไฮดร้าได้รับรางวัลสีสัน อะวอร์ด "วงดนตรีหน้าใหม่ยอดเยี่ยม" ปี 2535

ปัจจุบันสมาชิกทั้งสอง คือ ป้าง ยังคงเป็นนักร้องออกอัลบั้มมาอีกหลายชุด ขณะที่ ปอนด์ ทำงานเป็นผู้บริหารค่ายเพลงแกรมมี่ คิวเอ็กซ์ ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนจะย้ายมาเป็นผู้บริหารค่ายเพลง จีโนม เรคคอร์ดส ในเครือ อาร์.เอส.
ผลงานเพลง
อัลบั้ม อัศเจรีย์ พ.ศ. 2535 รายชื่อเพลง

ไว้ใจ
น.ส. หุ่นยนต์
ไอ้มดแดง
ตัวปลอม
นายแม้น
เครื่องบินตามหมา
ดึกแล้ว
ไกลเท่าเดิม
ใกล้บ้า
ชุดแดง

ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป:
นครินทร์ กิ่งศักดิ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Jump to: navigation, ค้นหา
ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์
 
 
ช่วงปี 2538 - ปัจจุบัน
แนวเพลง ป๊อปร็อค
ค่าย นิธิทัศน์ (ไฮดร้า)
โซนี่ มิวสิค
จีราฟ เรคคอร์ดส์
สมาชิก —

--------------------------------------------------------------------------------

นครินทร์ กิ่งศักดิ์ (ชื่อเล่น ว่า ป้าง) เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 นักดนตรีเพลงป๊อปร็อคชาวไทย จบการศึกษา ปริญญาตรี คณะพาณิชย์ศาสตร์ และการบัญชี สาขาการตลาด จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ปัจจุบันสมรสแล้ว

สารบัญ
1 ประวัติ
1.1 ผลงานก่อนหน้านี้
1.2 รางวัล
2 ผลงานเพลง
3 ลิงก์ภายนอก
 


ปี 2535 ก่อตั้งวง "ไฮดร้า" และทำอัลบั้ม "อัศเจรีย์"
ปี 2537 ผู้จัดการ ผลิตภัณฑ์เพลงไทย บ. โซนี่ มิวสิค
ปี 2538 แสดง คอนเสิร์ต "ไอ ซี ยู คอนเสิร์ต" ที่ MBK Hall มาบุญครอง
นำผลงาน อัลบั้ม "ไข้ป้าง" ร่วมแสดงในเทศกาลดนตรี "Tokyo Music Festival" ที่ประเทศญี่ปุ่น

รางวัล
ปี 2535 ได้รับรางวัล "วงดนตรี หน้าใหม่ยอดเยี่ยม" รางวัลสีสัน อะวอร์ด (ในฐานะ สมาชิกของวง "ไฮดร้า")
รางวัลสีสันอวอร์ดส์ครั้งที่ 17 วันที่ 17 มี.ค.2548 ศิลปินชายร็อคยอดเยี่ยม นครินทร์ กิ่งศักดิ์ จากอัลบั้ม เลี่ยมทอง
"สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต รายงานผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในรอบปีที่ผ่านมาในหัวข้อ "ที่สุดแห่งปี 2547" โดย สุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศจำนวน 10,183 คน ในส่วนนักร้องเพลงไทยสากลชายที่ประชาชนชอบมากที่สุด ยังคงเป็นเบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ครองใจแฟนเพลงมากที่สุด ร้อยละ 37.38 อันดับถัดมาคือ ป้าง-นครินทร์ กิ่งศักดิ์ 34.65%
Hitz 40 Awards


พ.ศ. 2538 อัลบั้ม ไข้ป้าง (โซนี่ มิวสิค)
รายชื่อเพลง 1. สบายดี 2. ปีหน้า 3. เอื้อมไม่ถึง 4. คุยกับตัวเอง 5. ที่ว่าการอำเภอ 6. คำตอบ 7. นานๆที 8. วันที่เลวร้าย 9. เลิกคอย 10. อยากเด็ก

พ.ศ. 2540 อัลบั้ม ฉลองครบรอบ 30 ปี (โซนี่ มิวสิค)
รายชื่อเพลง 1. แพ้ 2. พี่ชาย 3. หัวล้านใจน้อย 4. เรารักกัน 5. คนฉลาด 6. ไม่ใช่นางฟ้า 7. อำนาจ 8. กม.30 9. นามสกุล 10. หลังบ้าน

พ.ศ. 2542 อัลบั้ม ขายหน้า (โซนี่ มิวสิค)
รายชื่อเพลง 1. นับหนึ่งถึงสิบ 2. โก๋แก่ 3. ผู้ชายร้องไห้ 4. สร้างมาเพื่อเธอ 5. หมอดู 6. โกหก 7. ช้าเหลือเกิน 8. ความสุขโดยตรง 9. เจ้าของ 10. เสียงกระซิบ 11. Family Man

พ.ศ. 2545 อัลบั้ม หัวโบราณ (จีราฟ เรคคอร์ดส์)
รายชื่อเพลง 1. เธอมีจริง 2. แก้วตาขาร็อค 3. อากาศ 4. เขาหรือผม 5. คู่ชีวิต 6. จุดต่ำสุด 7. ความเป็นแม่ 8. ขบวนสุดท้าย 9. ใจเจ้าเอย 10. ความคาดหวัง

พ.ศ. 2547 อัลบั้ม เลี่ยมทอง (จีราฟ เรคคอร์ดส์)
รายชื่อเพลง 1. แมน 2. คบไม่ได้ 3. สัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดปี 4. ผู้ชายไม่ได้เลว (กว่าหมาและมาจากท้องแม่) 5. หนังสือรุ่น 6. คุณเจ๋ง 7. มากพอ 8. ทำอะไรสักอย่าง 9. สัตว์ร้ายในตัวฉัน 10. คนหน้าใหม่

อัลบัมพิเศษ เป็นรีมิกซ์ แบบ cool กับ Hot ได้แก่
1. อยู่ไม่สุข (Hot) 2. สบายดี (Cool)

BADBOY:
...ส่วนตัวผม...ชอบพี่ป้างมานานแล้วครับ....สมัย..ตั้งแต่.ตอนที่อยู่วง"ไฮดรา"....แล้วครับ...เพลงนายแม้น..ไกลเท่าเดิม....แหม..ถูกใจวัยรุ่นยุคนั้นมาก........หลังจากนั้นมา.เอื้อมไม่ถึง.....เพลง...หัวล้านใจน้อย....และมา  ผู้ชายร้องไห้....ร้องได้ถูกใจและ.....สะใจไปอีกแบบ..และอีกหลาย ๆ เพลง.....ส่วนมาก ฟังสนุกทุกเพลง...ตามอารมณ์เราและอารมณ์เพลง......ชอบมากครับ....สำหรับ..ศิลปิน...ท่านนี้...ป้าง นครินทร์  กิ่งศักดิ์.. 8)


เพิ่มเติมข้อมูล...ครับ...ป้าง-นครินทร์ กิ่งศักดิ์


ชื่อจริง  นครินทร์ กิ่งศักดิ์
วันเกิด  24 กุมภาพันธ์ 2510
ราศี  พฤษภ
การศึกษา ปริญญาตรี คณะพาณิชย์ศาสตร์
และการบัญชี สาขาการตลาด
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
ผลงานก่อนหน้านี้  - ปี 2535 ก่อตั้งวง "ไฮดร้า"
และทำอัลบั้ม "อัศเจรีย์"
 - ปี 2537 ผู้จัดการ ผลิตภัณฑ์เพลงไทย บ. โซนี่ มิวสิค
 - ปี 2538 แสดง คอนเสิร์ต "ไอ ซี ยู คอนเสิร์ต" ที่ MBK Hall มาบุญครอง
 - นำผลงาน อัลบั้ม "ไข้ป้าง" ร่วมแสดงในเทศกาลดนตรี "Tokyo Music Festival" ที่ประเทศญี่ปุ่น 
รางวัล - ปี 2535 ได้รับรางวัล "วงดนตรี หน้าใหม่ยอดเยี่ยม" รางวัลสีสัน อะวอร์ด (ในฐานะ สมาชิกของวง "ไฮดร้า")
แนวเพลง ป๊อปร็อค
สังกัด จีราฟ เรคคอร์ดส์

 
 

   "ป้าง" นครินทร์ กิ่งศักดิ์ เป็นที่รู้จัก และได้รับการ ยอมรับในฐานะหนึ่ง ในศิลปินร็อคที่ประสบความสำเร็จ ที่สุดของวงการ เพลงไทย เขาเริ่มต้น เส้นทางบนถนน สายดนตรี ด้วยการตั้งวงดนตรี
"ไฮดร้า" ขึ้นในปี 2535 ร่วมกับเพื่อนๆ ที่เรียน มหาวิทยาลัยด้วยกัน และผลงานชุดแรกคือ "อัศเจรีย์" ของพวกเขา ก็สามารถ คว้ารางวัลของ นิตยสาร "สีสัน" ประจำปีนั้น ในสาขา "วงดนตรี หน้าใหม่ยอดเยี่ยม"

        หลังจากนั้น เขาก็กลาย เป็นศิลปินเดี่ยว และออกอัลบั้ม ชุดแรกของตัวเอง คือ "ไข้ป้าง" ในปี 2538 งานชุดนี้ ประสบความสำเร็จ อย่างมาก และทำให้ เขากลายเป็นศิลปินร็อค ที่มาแรงที่สุดคนหนึ่ง ในเวลานั้น
   
        งานชุดที่สอง "ฉลองครบรอบ 30 ปี" ตามออกมา ในอีกสองปีถัดมา ตามมาด้วยการทัวร์โปรโมทอัลบั้ม หลังจบ การทัวร์ครั้งนั้น ป้าง ใช้เวลาส่วนใหญ่ ในการเก็บรายละเอียด ในชีวิตเพื่อนำมาเป็น วัตถุดิบในการทำ อัลบั้มชุดใหม่ คือ "ขายหน้า ที่ออก วางขายในปี 2542

      ปี 2545 งานเพลงล่าสุด อัลบั้ม"หัวโบราณ" ที่ย้ายมาอยู่ สังกัดใหม่ ในนามจีราฟ เรคคอร์ดส์ ยังคงสไตล์งานเพลง ของป้างอย่างเต็มรูปแบบ เป็นป๊อปร็อค ฟังสบายๆ แต่จริงจัง พยายามใช้เครื่องดนตรีให้น้อยชิ้นที่สุด แต่ให้ทุกชิ้นได้สำแดงพลัง และความสามารถของมันอย่างเต็มที่ที่สุด

    ในส่วนของดนตรีและเนื้อหาของเพลง มีการผสมผสานงาน เพลงในสไตล์ย้อนยุค ที่เขาชื่นชอบและมองว่า"ของเก่า ก็มีคุณค่า ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน" เนื้อหาจึงเต็มไปด้วยประเด็น ความคิดที่น่าสนใจ จุดเด่นคือ ชั้นเชิงการนำเสนอ ที่สามารถ จุดประกายความคิดให้คนที่เสพงานดนตรีได้อย่างน่าฟัง ในการบันทึกเสียง ป้างตั้งใจใช้เครื่องดนตรีจริงทั้งหมด บันทึกเสียงสดในห้องเสียง โดยผสมเทคนิคการบันทึกเสียงแบบเก่า และใหม่เข้าด้วยกัน ถึงแม้จะยุ่งยากและใช้เวลานาน กว่าการมิกซ์ บนคอมพิวเตอร์ ที่นิยมในปัจจุบัน แต่ก็ทำให้ได้เสียงที่มีความรู้สึก เน้นมิติอารมณ์ที่ละเมียดละไม อิ่ม และสดกว่า
 

IronMan:
ชอบเหมือนกันครับ....เทปเก่าๆหายไปไหนหมดก็ไม่รู้  :~) :~)

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว