๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
เมษายน 28, 2024, 05:59:24 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สมรภูมิสงครามโลกครั้งที่ 2 (ภาคภาษาไทย) โดย พ.ท. ศนิโรจน์ ธรรมยศ  (อ่าน 6657 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
nick
Hero Member
*****

คะแนน 12
ออฟไลน์

กระทู้: 1587


« เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2006, 10:30:57 PM »

เอามาฝากครับ  Grin Grin

http://www.geocities.com/saniroj/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 22, 2006, 10:49:19 PM โดย nick » บันทึกการเข้า
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10196
ออฟไลน์

กระทู้: 47075


M85.ss


« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2006, 10:34:57 PM »

เอามาฝากครับ Grin Grin

http://www.geocities.com/saniroj/
เป็นโปรแกรมหรือป่าวครับเปิดไม่ได้ รบกวนก็อปเนิ้อหามาลงให้หน่อยครับ Grin ตาโอมจัดการ Angry Grin
บันทึกการเข้า

BADBOY
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2006, 10:35:08 PM »

........เปิดไม่ได้ครับ..... Smiley
บันทึกการเข้า
nick
Hero Member
*****

คะแนน 12
ออฟไลน์

กระทู้: 1587


« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2006, 10:44:27 PM »

ได้เลยครับ  เอาน้ำจิ้มมาฝากครับ

ยุทธการบาร์บารอสซ่า

    ในช่วงแรกๆของยุทธการบาร์บารอสซ่า หน่วยแพนเซอร์ ซึ่งเป็นหน่วยยานเกราะของเยอรมัน รุกเข้าสู่ดินแดนรัสเซียอย่างรวดเร็วและสามารถยึดครองดินแดนได้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามภูมิประเทศของรัสเซียนั้นเป็นทุ่งกว้างที่เวิ้งว้างสุดสายตา การรุกไปข้างหน้า เปรียบเหมือนการเดินทางที่ไม่รู้จักจบสิ้น ไม่เห็นที่หมาย รวมทั้งการส่งกำลังบำรุงของเยอรมันส่วนใหญ่ยังใช้พาหนะประเภทรถม้าลากจูง จึงทำให้ไม่สามารถไล่ตามกำลังรถถังและทหารราบที่รุกไปข้างหน้าได้อย่างทันท่วงที สายการส่งกำลังบำรุงจึงเริ่มห่างและยืดออกมากขึ้น มากขึ้น และไม่สามารถให้การสนับสนุนได้ในที่สุด

     ในขณะที่ทหารเยอรมันรุกเข้ามา ทหารรัสเซียซึ่งอยู่สภาพที่ตกใจ เสียขวัญ ผู้นำก็ขาดแคลน เนื่องจากก่อนหน้านี้ไม่นาน รัฐบาลสตาลินได้ทำการกวาดล้างนายทหารของตน ซึ่งคาดว่าสนับสนุนการปกครองของพระเจ้าซาร์ กษัตริย์ที่ถูกโค่นล้ม นายทหารที่มีฝีมือจำนวนมาก ถูกประหารชีวิต ถูกจำขัง ถูกทรมาน นายทหารที่เหลือก็เป็นผู้ที่ด้อยประสบการณ์ เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ทำให้การสู้รบดำเนินไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ กองทัพเยอรมันทำการเจาะลึก และโอบล้อมกองทหารรัสเซียหน่วยแล้ว หน่วยเล่า

    ในขณะที่กองทัพอากาศเยอรมันก็บินถล่มที่มั่นต่างๆของฝ่ายรัสเซีย ประมาณกันว่าในช่วงเปิดยุทธการนั้น มีทหารรัสเซียถูกจับเป็นเชลยกว่า 290,000 คน รถถังทั้งที่ล้าสมัยแบบ BA 10 และที่มีประสิทธิภาพอย่าง KV 1 ถูกยึดเป็นจำนวนถึง 2,585 คัน ปืนใหญ่อีก 1,449 กระบอก กองทัพอากาศลุฟวาฟ (Luftwaffe) สามารถทำลายอากาศยานของรัสเซียที่ล้าสมัยที่จอดอยู่ตามสนามบินต่างๆ อย่างชนิดที่ไม่มีโอกาสได้บินขึ้นมาขัดขวาง

     กล่าวได้ว่ายุทธการบาร์บารอสซ่า เปิดฉากด้วยการประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่เวลาที่ล่าช้าไป 6 สัปดาห์ ในการยึดครองประเทศในบอลข่าน ก่อนหน้าที่จะเปิดยุทธการบาร์บารอสซ่า ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในอนาคต เมื่อฤดูหนาวมาเยือน โอกาสแห่งชัยชนะจึงหลุดลอยไปอย่างไม่มีวันหวลกลับมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาวของปี 1941 ซึ่งเป็นฤดูหนาวแรกของเยอรมันในรัสเซีย ได้สร้างความสูญเสียอย่างมากมายให้กับทหารเยอรมัน จนในเืดือน มี.ค. 1942 เยอรมันต้องสูญเสียทหารทั้งบาดเจ็บ สูญหาย และเสียชีวิต กว่า 3,000,000 คน ในจำนวนนี้ 200,000 คนเสียชีวิต

    หน่วยทหาร เอส เอส ที่ทรงประสิทธิภาพที่เข้าร่วมในการยุทธบาร์บารอสซ่า กว่า 43,000 คนเสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็นกำลังพลจาก กองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 1 ลิปสตานดาร์ด อดอฟ ฮิตเลอร์ (1st SS. Panzer Division Leibstandarte Adolf Hitler), กองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 2 ดาสไรซ์ (2nd SS. Panzer Division Das Reich), กองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 3 โทเทนคอฟ (3rd SS. Panzer Division Totenkoft) ความสูญเสียนี้ทำให้เยอรมันต้องเริ่มระดมกำลังพลจากประเทศที่ตนยึดครองในยุโรป มาเสริมกำลังในแนวหน้า

     ยุทธการบาร์บารอสซ่า เป็นจุดเริ่มต้นของการตัดสินใจที่ผิดพลาด ที่นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของอาณาจักรไรซ์ที่สาม ของฮิตเลอร์ เพราะหากฮิตเลอร์ตัดสินใจเปิดศึกเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น กำลังพลของเยอรมันก็จะไม่ต้องกระจัดกระจายไปทั่วทั้งยุโรปเช่นที่เกิดขึ้น นับเป็นบทเรียนที่สำคัญยิ่งบทเรียนหนึ่ง ของการรบในยุคปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
nick
Hero Member
*****

คะแนน 12
ออฟไลน์

กระทู้: 1587


« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2006, 10:50:00 PM »

เชิญครับแก้ไขแล้ว

ทำลิงค์ผิดอุ่ะครับ  มาอ่านด้วยกันนะ
บันทึกการเข้า
BADBOY
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2006, 10:58:25 PM »

ขอบคุณมากครับ......เปิดได้แล้วครับ... Smiley
บันทึกการเข้า
51
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2006, 10:59:50 PM »




เส้นสีเหลือง คือ ขอบการยึดครองของกองทัพนาซี
ในดินแดนของรัสเซีย ครับ
ก่อนที่จะถอยร่นกลับมา...และเป็นฝ่ายแพ้สงครามไปในที่สุด


จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 22, 2006, 11:07:15 PM โดย 51 » บันทึกการเข้า
51
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2006, 11:01:40 PM »

เอามาฝากครับ Grin Grin

http://www.geocities.com/saniroj/

เป็นโปรแกรมหรือป่าวครับเปิดไม่ได้ รบกวนก็อปเนิ้อหามาลงให้หน่อยครับ Grin ตาโอมจัดการ Angry Grin





http://www.geocities.com/saniroj/barbarossa1.html    link นี้ ครับ

จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 22, 2006, 11:05:28 PM โดย 51 » บันทึกการเข้า
nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย
Website Sponsor
Hero Member
****

คะแนน 303
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4897


« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2006, 02:40:34 AM »

ขอบพระคุณมากครับ
ในควมคิดส่วนตัวเท่าที่เคยอ่านประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่2 มาหลายเล่มนั้น ปัจจัยสำคัญที่สุด ที่เยอรมันแพ้ คือ
1. การบุกสตาลินกราดเพื่อยึดแหล่งน้ำมันแถบเทือกเขาคอเคซัส ที่นั่นกองทัพที่6 ถูกล้อมจับและสังหาร ทั้งกอง
ทัพเป็นจำนวน ประมาณ 400000- 500000 คน ซึ่งเยอรมันไม่น่ารุกโจมตีเข้าไปในเมืองใหญ่ที่ประชากรเยอะๆโดยไม่กล้าสังหารประชากรทั้งหมดหรือขับไล่ประชาชนออกจากเมืองเช่นที่ญี่ปุ่นทำกับจีนที่นานกิง ทำให้สงครามง่ายๆ ยืดเยื้อยาวนานเป็นหายนะของกองทัพเยอรมันอย่างแท้จริง
2. เครื่องบิน b29 ในขณะนั้น เครื่องบินขับไล่หลักของเยอรมันอย่าง 109 มีปืน 20 มม. เพียง 2 กระบอกและกระสุนเพียง ร้อยกว่านัดเท่านั้น ยิงหมดทั้งร้อยกว่านัดก็ไม่สามารถทำลายป้อมปราการบินได้ อย่าง b29 ลงได้ ทำให้ b29 เข้ามาทำลายโรงงานอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมดของเยอรมัน
ช่วงหลังก็มีเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบแรกของโลก แต่ก็ยังติดปืน 30 มม ได้เพียง 2 กระบอกและมีอัตรายิงต่ำทำให้ยิงแล้วไม่ค่อยถูกเครื่องบินทิ้งระเบิด b29 จนช่วงหลังก็มีจรวดติดมาด้วย แต่ก็มีอัตราสูญเสียเครื่องบินขับไล่สูงมากเนื่องจาก b 29 มี ปืน .50  bmg ถึง 10กระบอก ปืน 20 มม. 1 1กระบอก แต่ก็สายเกินไปเสียแล้ว เนื่องจาก แหล่งอุตสาหกรรมของเยอรมันพินาศหมดแล้ว
   b29 เป็นอาวุธลับที่เป็นผู้พิชิตเยอรมันอย่างแท้จริง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2006, 02:42:16 AM โดย narcissus » บันทึกการเข้า

ถ้าเสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง
ผีเปรตในนรกมันคงโหวตให้พวกมันได้ขึ้นสวรรค์
จะแก้รัฐธรรมนูญไปทำไม! ต้นตอปัญหามันเกิดจากรธน.ไม่ดี หรือพวกแกมันเลว!
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16168


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2006, 12:26:59 PM »

สงสัยคุณนาร์พิมพ์เลขผิดนะครับ

ในยุโรปใช้ บี17 กันครับ แค่นี้เยอรมันก็ปวดหัวเพราะยิงตกยากแล้ว เยอรมันคิดวิธีแปลกๆ ขึ้นมามาก เช่น นักบินเครื่องบินขับไล่เยอรมันคนนึงชื่อ ไฮซ์ โนเกอร์ เคยบินเหนือขบวน บี17 เอาระบิดธรรมดาตั้งเวลาปล่อยลงมาระเบิดในขบวน ทำ บี17 ตกไปได้

ตอนนี้นึกไม่ออกว่ากองบินไหนใช้ บี29 ในยุโรป ในแปซิฟิกถึงใช้ บี29 กันมากๆ อย่างเช่นทตอนที่ เลอเมย์ เอาระเบิดเพลิงไปเผาญี่ปุ่น
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย
Website Sponsor
Hero Member
****

คะแนน 303
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4897


« ตอบ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2006, 12:43:01 PM »

สงสัยคุณนาร์พิมพ์เลขผิดนะครับ

ในยุโรปใช้ บี17 กันครับ แค่นี้เยอรมันก็ปวดหัวเพราะยิงตกยากแล้ว เยอรมันคิดวิธีแปลกๆ ขึ้นมามาก เช่น นักบินเครื่องบินขับไล่เยอรมันคนนึงชื่อ ไฮซ์ โนเกอร์ เคยบินเหนือขบวน บี17 เอาระบิดธรรมดาตั้งเวลาปล่อยลงมาระเบิดในขบวน ทำ บี17 ตกไปได้

ตอนนี้นึกไม่ออกว่ากองบินไหนใช้ บี29 ในยุโรป ในแปซิฟิกถึงใช้ บี29 กันมากๆ อย่างเช่นทตอนที่ เลอเมย์ เอาระเบิดเพลิงไปเผาญี่ปุ่น
ขอบคุณครับพี่ต๊อก แปลว่า b29 ออกมาหลังสงครามในยุโรปหรือเปล่าครับ สหรัฐฯถึงไม่ได้ใช้ในยุโรป แต่ b29 สร้างจากพื้นฐานของ b17 ครับ
ที่ผมสงสัยก็คือ b17 มีมานานแล้วตั้งแต่ก่อน ญี่ปุ่นบุกเพิร์ลฮาเบอร์ ทำไม  ญี่ปุ่น และเยอรมันถึงไม่สร้างเครื่องบินขับไล่ที่มีอาวุธที่อานุภาพสูงพอจะจัดการ เครื่อง b 17 ได้นะครับงงมากๆเลยครับ
รู้สึกช่วงหลังๆ ของสงครามเยอรมันจะใช้จรวด ยิงทำลายเครื่องบินทิ้งระเบิดของพันธมิตรครับ แต่ก็ค่อนข้างยากอยู่เพราะต้องเข้าไปยิงในระยะใกล้กว่าปืนกลอากาศ เครื่องขับไล่เยอรมันมีโอกาสตกสูงขึ้นครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2006, 01:30:51 PM โดย narcissus » บันทึกการเข้า

ถ้าเสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง
ผีเปรตในนรกมันคงโหวตให้พวกมันได้ขึ้นสวรรค์
จะแก้รัฐธรรมนูญไปทำไม! ต้นตอปัญหามันเกิดจากรธน.ไม่ดี หรือพวกแกมันเลว!
NaiMai>รักในหลวง
ไม่ว่าจะมีพร้อมทุกสิ่ง แต่ก็ยังไม่มีสิ่งใดเหนือกว่าความมีสติ
Hero Member
*****

คะแนน 741
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 14564


นายใหม่ รักหมู่


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2006, 01:17:03 PM »

 Grin ขอบคุณครับ Grin

 Huh ใครเคยอ่านหนังสือ "มหาสงครามโลก" บ้าง ปกสีน้ำเงิน พิมพ์ตัวหนังสือทอง เล่มหนา ๆ ถ้าใครเห็นมีขายที่ไหนช่วยบอกด้วยนะครับ ของผมเพื่อนขอลืมไป สาบสูญเลย Huh
บันทึกการเข้า

M629
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2006, 02:26:30 PM »

Grin ขอบคุณครับ Grin

 Huh ใครเคยอ่านหนังสือ "มหาสงครามโลก" บ้าง ปกสีน้ำเงิน พิมพ์ตัวหนังสือทอง เล่มหนา ๆ ถ้าใครเห็นมีขายที่ไหนช่วยบอกด้วยนะครับ ของผมเพื่อนขอลืมไป สาบสูญเลย Huh
สงสัยเพื่อนผมกะของนายใหม่ จะเป็นคนเดียวกันแหงๆเลย...เพราะยืมหายเหมือนกัน SmileySmileySmiley
บันทึกการเข้า
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16168


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2006, 11:21:39 AM »

ที่เยอรมันไม่ได้พัฒนาอาวุธเครื่องบินขับไล่เพื่อโจมตีเครื่องบินใหญ่ๆ อาจจะเป็นเพราะว่าฮิตเลอร์มัวแต่คิด "รุกลูกเดียว" ครับ ถึงขั้นคิดพัฒนาเครื่องบินโจมตี/ทิ้งระเบิดความเร็วสูง มากกว่าพัฒนาเครื่องบินขับไล่ เครื่อง Me262 ก็พยายามปรับให้เป็นเครื่องโจมตี ไม่เร่งผลิตออกมาใช้งานขับไล่ ถ้าเร่งผลิตออกมาตั้งแต่วิศวกรเยอรมันสร้างให้ใช้งานได้เครื่องบินทิ้งระเบิดเมกัน/อังกฤษคงร่วงกว่านี้มากๆ อย่างไรก็ตามเครื่องบินทิ้งระเบิดเยอรมันก็ยังเล็กว่าของเมกันมาก ขนาดใหญ่ของเยอรมันก็พอๆ กับขนาดกลางของเมกัน

เครื่อง บี29 ผมไม่แน่ใจว่าผลิตมาใช้งานมากๆ เมื่อไหร่ แต่หลัง บี17 นาน ถ้าผลิตได้มากตอนยังรบในยุโรปผมว่าคงเอาไปใช้แน่นอน เพราะเมกัน/อังกฤษยังทิ้งระเบิดหนักๆ จนถึงต้นปี 1945 ที่ฉาวโฉ่ก็ตอนบอร์มเดรสเดน (อังกฤษเป็นหลัก) วันที่ 15 ก.พ. 1945 ทั้งที่เยอรมันใกล้จะแพ้แล้วเป้าหมายเมืองใหญ่พลเรือนหนาแน่น คนน่าจะตายกว่าแสนเพราะมีพลเรือนที่อพยพจากเมืองอื่นมาอยู่ รวมทั้งเชลยโซเวียตที่จับมาใช้แรงงานอยู่ด้วยมาก เดรสเดนเป็นเมืองใหญ่แคว้นแซกซอนนี เยอรมันคิดว่าอังกฤษคงไม่มาทำลาย... หลังสงครามเยอรมันสร้างวัง โรงโอเปร่า และเมืองเก่าของเดรสเดนขึ้นใหม่หมดตามแบบโครงสร้าง/ผังเมืองเดิม ใช้หินแบบเดิมมีแนวสีดำๆ เพราะมีโลหะปนอยู่
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.107 วินาที กับ 21 คำสั่ง