๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
มีนาคม 29, 2024, 05:55:00 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติศาสตร์โลกยุคใกล้ บทที่1 ตอนที่ 3 การโหมโรงของการปฏิวัติชนชั้นนายทุน (ต่อ)  (อ่าน 17590 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2006, 09:44:19 PM »


การปฏิวัติชนชั้นนายทุนในเนเธอร์แลนด์
กลางศตวรรษที่ 16 ในเนเธอร์แลนด์ได้เกิดการปฏิวัติชนชั้นนายทุน การปฏิวัติครั้งนี้
สิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของชนชั้นนายทุน

คำว่า "เนเธอร์แลนด์" มีความหมายมาจากคำว่า "ที่ลุ่ม" หมายถึงดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำไรน์
แม่น้ำมาส ตอนล่างของแม่น้ำสเคลต์และชายฝั่งทะเลเหนือ ซึ่งก็คือ
ฮอลแลนด์

เบลเยี่ยม

ลักเซมเบอร์ก

และส่วนหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสในปัจจุบันนั่นเอง
เนเธอร์แลนด์ในศตวรรษที่ 16 เป็นดินแดนซึ่งเศรษฐกิจทุนนิยมเจริญรุ่งเรืองที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป
ขณะเดียวกันเนเธอร์แลนด์ก็เป็นเมืองขึ้นของราชอาณาจักรสเปน ถูกกดขี่บีฑาจากการปกครองของสเปน
เริ่มแต่ปี 1556 กษัตริย์แห่งสเปน ฟิลิปป์ที่ 2 (Phillip 2 ครองราชย์ 1556-1598)

ก็ได้เสริมการปกครองแบบเผด็จการต่อเนเธอร์แลนด์หนักมือยิ่งขึ้น การยึดครองทางทหาร
การกดขี่ทางประชาชาติ การปองร้ายทางศาสนาและมาตรการรีดนาทาเร้นทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก
เป็นอุปสรรคขัดขวางอย่างใหญ่หลวงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมในเนเธอร์แลนด์เป็นเหตุให้
ความขัดแย้งทางชนชั้นและความขัดแย้งทางประชาชาติแหลมคมขึ้นอย่างรวดเร็ว การปฏิวัติ
กลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แล้ว โดยเฉพาะในทศวรรษที่ 1550-1560 ความคิดต่อต้าน
ของชนชั้นปฏิวัติต่างๆ ในเนเธอร์แลนด์นับวันสูงขึ้น

ในหมู่ชนชั้นนายทุนนั้น นับว่าพวกเจ้าของสถานประกอบการหัตถกรรม พ่อค้าขนาดกลาง
และขนาดเล็กค่อนข้างก้าวหน้า พวกเขาเรียกร้องให้โค่นการปกครองเผด็จการศักดินาของสเปน
สร้างรัฐประชาชาติที่เป็นอิสระ ผลักดันเศรษฐกิจทุนนิยมให้พัฒนาก้าวหน้าไป พวกเขาชูธง
ศาสนานิกายคัลแวงนิสม์ในการปฏิวัติคัดค้านการปกครองของสเปน พวกเขาได้ประสานตนเอง
เข้ากับการต่อสู้ของมวลชนในระยะเวลาที่แน่นอน เกิดบทบาทที่เป็นคุณไม่น้อย แต่ว่า
ชนชั้นนายทุนพาณิชยกรรมขนาดใหญ่ซึ่งมีฐานะนำในหมู่ชนชั้นนายทุนโน้มเอียงไปทางอนุรักษ์
พวกเขาถึงแม้ว่าคัดค้านมาตรการบางประการของระบอบเผด็จการ แต่ว่าใช้ท่าทีประนีประนอม
กับอิทธิพลขุนนางและผู้ปกครองสเปน โดยเฉพาะพวกพ่อค้ามหาเศรษฐีทางตอนใต้ซึ่งมีการติดต่อ
ทางการค้ากับสเปน และอาณานิคมของมันก็ยิ่งเป็นเช่นนี้

ส่วนชาวนาและชาวเมืองซึ่งได้รับการกดขี่ทางชนชั้นและทางประชาชาติถึง 2 ชั้นนั้น
มีความเรียกร้องต้องการปฏิวัติอย่างแรงกล้า พวกเขาเรียกร้องให้ใช้กำลังโค่นล้มระเบียบปัจจุบัน
ทำลายพวกขุนนางและพวกพระ พวกเขาใฝ่ฝันสังคมระบอบกรรมสิทธิ์สาธารณะ พวกนี้เป็นกำลัง
พื้นฐานของการปฏิวัติ

นอกจากนี้ ในหมู่ขุนนางศักดินาก็มีการแยกตัวของกลุ่มฝ่ายค้านที่นำโดยเชื้อพระวงศ์วิลเลี่ยม(1533-1584)

พวกเขาบ้างเป็นขุนนางใหม่ที่เป็นชนชั้นนายทุน มีความเรียกร้องต้องการพัฒนาทุนนิยม
บ้างไม่พอใจที่ขุนนางสเปนกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ จึงคิดฉกฉวยโอกาสแย่งยึดที่ดินของ
ศาสนจักรโรมันคาทอลิก พวกเขาได้จัดตั้งกลุ่มการเมืองของตนเองเรียกว่า "พันธมิตรขุนนาง"
ดำเนินการเคลื่อนไหวคัดค้านสเปน และได้ยึดอำนาจการนำของฝ่ายปฏิวัติภายใต้การหนุนหลัง
ของชนชั้นนายทุนใหญ่พาณิชยกรรม ซึ่งมีผลทำให้การปฏิวัติในเนเธอร์แลนด์กลายเป็นการปฏิวัติ
ที่ไม่ถึงที่สุด

การปฏิวัติเริ่มต้นด้วยการต่อสู้ของมวลชนที่มีขนาดใหญ่โต เดือนสิงหาคม ปี 1566 เมืองหัตถกรรมบางแห่ง
ทางภาคใต้ได้เกิดเหตุการณ์ "ขบวนการทำลายเทวรูป" มวลชนชาวนาและชาวเมืองได้ลุกขึ้นรื้อทำลาย
โบสถ์วิหารโรมันคาทอลิก เผาทำลายพันธบัตรและโฉนดที่ดิน ริบทรัพย์สินของศาสนจักร เดือนตุลาคม
ขบวนการได้แผ่ขยายไปถึง 12 มณฑลในจำนวน 17 มณฑลของเนเธอร์แลนด์ ผู้เข้าร่วมมีจำนวนหลายหมื่นคน
การเคลื่อนไหวของมวลชนที่เป็นไปประดุจพายุบุแคมนี้ ทำให้พันธมิตรขุนนางและฝ่ายคัลแวงนิสม์
ซึ่งเป็นกลุ่มนำตกอกตกใจยิ่งนัก ขุนนางส่วนหนึ่งจึงหันไปช่วยเหลือกองกำลังของรัฐบาลปราบปราม
ผู้ก่อการลุกขึ้นสู้ บรรดาผู้นำในคณะอาวุโสหรือเพรสไบเทอร์เรียนของฝ่ายคัลแวงนิสม์ พากันถอนตัว
ออกจากการเคลื่อนไหวอย่างตาลีตาลาน ชนชั้นปกครองสเปนจึงจัดตั้งกำลังตีโต้กลับทันที
เดือนสิงหาคม 1567 ดยุ๊คแห่งอัลวา(Alva Duke of 1508-1583)

ข้าหลวงใหญ่คนใหม่ได้นำกำลังทหาร 18,000 คนเข้าตั้งประจำในเนเธอร์แลนด์
ดำเนินการปกครองแบบสยองขวัญ ตรวจค้นจับกุมและเข่นฆ่าผู้ลุกขึ้นสู้ขนานใหญ่
ทั้งดำเนินระบอบภาษีใหม่ อันเป็นการทำลายเศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์
อัลวาประกาศอย่างโอหังว่า เก็บเนเธอร์แลนด์ที่ยากจนไว้ให้พระผู้เป้นเจ้า
ดีกว่าทิ้งเนเธอร์แลนด์ที่ร่ำรวยให้ปีศาจ

มวลชนใช้การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธไปตอบโต้การปกครองที่สยดสยองและนโยบายปล้นชิงของอัลวา
ในภาคใต้ มีลูกจ้าง หัตถกร และชาวนาหลบเข้าสู่ป่าเขา จัดตั้งองค์กร "ขอทานป่าเขา" (หมายเหตุ :
ปี 1566 ขณะที่พันธมิตรขุนนางยื่นหนังสือประท้วงต่อข้าหลวงใหญ่นั้น บรรดาขุนนางใหญ่สเปนด่าว่า
พวกเขาว่า "ไอ้ขอทาน" พันธมิตรขุนนางจึงใช้คำว่าขอทานเป็นชื่อจัดตั้งของตนเอง ทั้งได้ออกแบบภาพ
ถุงย่ามและกะลาขอทานเป็นตราของกลุ่ม ต่อมามวลชนปฏิวัติก็นิยมใช้ชื่อนี้ ในขบวนทัพของฝ่ายลุกขึ้นสู้
มักได้ยินคำขวัญ "ขอทานจงเจริญ" เป็นประจำ) ดำเนินสงครามกองโจร ทางภาคเหนือ เช่น
มณฑลฮอลแลนด์ และซีแลนด์ เป็นต้น พวกชาวประมงกะลาสีเรือและกรรมกรท่าเรือก็โยกย้ายกำลัง
ไปอยู่ในลำเรือ จัดตั้งกองจรยุทธ "ขอทานทะเล" ขึ้นทำการโจมตีกองเรือและที่มั่นตามชายฝั่งทะเลของสเปน
จนได้รับผลสำเร็จอย่างงดงาม พวกชนชั้นนายทุนขุนนางส่วนหนึ่งก็เข้าร่วมกองจรยุทธ์ชนิดนี้ด้วยเช่นกัน
การต่อสู้ด้วยอาวุธของมวลชนได้โจมตีต่อชนชั้นปกครองสเปนอย่างหนัก ทั้งเป็นการตระเตรียมให้กับ
กระแสสูงของการปฏิวัติที่จะติดตามมา

เดือนเมษายน 1572 กองจรยุทธ์ทะเลกองหนึ่งได้โจมตีและยึดได้เมืองบริลส์บนเกาะซีแลนด์ ชัยชนะในครั้งนี้
ได้ผลักดันการปฏิวัติขึ้นสู่กระแสสูงใหม่ หลายสัปดาห์ต่อมา การลุกขึ้นสู้ได้ขยายตัวไปทั่วทุกมณฑลทางภาคเหนือ
ชาวนาลุกขึ้นมาทำลายโบสถ์วิหาร และเรือกสวนของขุนนางปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามพันธะศักดินา มวลชนที่ลุกขึ้นสู้
ในเมืองภายใต้การนำของพวกหัวรุนแรงชนชั้นนายทุนได้จัดตั้งกองทัพปฏิวัติ ก่อตั้งอำนาจรัฐในเมืองทำการปราบปราม
ต่อพวกพระ พวกทรยศ และพวกสปายสายลับที่นิยมสเปน ตีโต้การบุกโจมตีของกองทัพสเปนล่าถอยไป ปลายปี 1573
7 มณฑลทางภาคเหนือได้ทยอยปลดแอกจากการยึดครองของสเปน และประกาศเอกราช

ในกระบวนการต่อสู้ของประชาชนที่พัฒนาไปอย่างครึกโครม ชนชั้นนายทุนพาณิชยกรรมได้สมคบกับขุนนาง
ทำการช่วงชิงอำนาจรัฐ ปี 1572 พวกเขาได้รับตัว เชื้อพระวงศ์วิลเลี่ยมซึ่งลี้ภัยอยู่ต่างประเทศกลับมาที่ภาคเหนือ
ทั้งได้สนับสนุนเขาให้ขึ้นมาเป็นข้าหลวงใหญ่ในที่ประชุม 7 มณฑลภาคเหนือซึ่งจัดตั้งขึ้นในเดือนกรกฏาคม
พวกเขามุ่งหวังจะพึ่งพากำลังของพวกขุนนางหยุดยั้งการปฏิวัติไม่ให้พัฒนาสืบไป

เดือนกันยายน 1576 ที่บรัสเซลส์เกิดการลุกขึ้นสู้ โค่นล้มสถาบันการปกครองสูงสุดของสเปน
ที่มีต่อเนเธอร์แลนด์ จากนั้นมา สนามการต่อสู้ที่สำคัญก็ได้เคลื่อนย้ายไปในมณฑลต่างๆ ทางภาคใต้
แต่ว่า พวกขุนนางและพ่อค้ามหาเศรษฐีทั้งหลายของภาคใต้ที่ได้แย่งยึดอำนาจรัฐของมณฑลต่างๆ
ทางภาคใต้ไว้ในมือ กลับพยายามอย่างสุดกำลังที่จะประนีประนอมกับสเปน ส่วนขุนนางและพ่อค้ามหาเศรษฐี
ในภาคเหนือซึ่งมีเชื้อพระวงศ์วิลเลี่ยมเป็นผู้นำ ก็จดจ้องคอยแต่จะประนีประนอมกับขุนนางทางภาคใต้
เดือนตุลาคม ได้เปิดประชุม 3 ฐานันดรของเนเธอร์แลนด์ที่เมืองเกนต์ "ข้อตกลงประนีประนอมเกนต์"
ซึ่งบรรลุในที่ประชุมก็คือ ผลิตผลของการประนีประนอมดังกล่าว ข้อตกลงนี้แม้ว่าได้ยกเลิกประกาศและ
คำสั่งต่างๆ ของอัลวา เน้นความจำเป็นที่เหนือใต้จะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็ตาม แต่ในข้อตกลง
ไม่เพียงแต่ไม่แตะต้องปัญหาการทำลายระบอบที่ดินแบบศักดินาเท่านั้น กระทั่งปัญหาเอกราชของ
เนเธอร์แลนด์ก็ไม่กล่าวถึงเลย

ภายหลังจากการลงนามในข้อตกลงแล้ว ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1577 ประชาชนในเมืองต่างๆ ของภาคใต้
ก็ได้ก่อการลุกขึ้นสู้ครั้งใหม่ ได้ก่อตั้งองค์กรอำนาจรัฐปฏิวัติ ใช้มาตรการประชาธิปไตยบางประการ
การลุกขึ้นสู้ของชาวนาก็แผ่ขยายไปในมณฑลต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง แต่ว่าการต่อสู้ของประชาชนกลับ
ถูกปราบปรามโดยกองทหารของสภา 3 ฐานันดร และถูกบ่อนทำลายโดยพวกสนับสนุนวิลเลี่ยม
ทำให้กำลังปฏิวัติในภาคใต้ถูกบั่นทอนให้อ่อนแอลง เป็นการหนุนส่งให้กับการก่อเหตุวุ่นวาย
ของขุนนางในภาคใต้และการตีโต้กลับของกองทัพสเปน

ปี 1578 กองทัพสเปนได้ตีกองทัพของสภา 3 ฐานันดรพ่ายแพ้ไปที่เมืองเกมโบล ขุนนางทางภาคใต้
ได้ฉวยโอกาสก่อการกบฏ เดือนมกราคมปีต่อมา ขุนนางที่เป็นกบฏในเมืองอาร์ตอยส์และเมืองไฮนัท
ได้ก่อตั้ง "สหพันธ์อาร์ราส" สมคบกับกองทัพสเปนดำเนินการเคลื่อนไหวกบฏที่ปฏิปักษ์ปฏิวัติอย่างเปิดเผย
เช่นนี้แล้ว ความฝันของมณฑลต่างๆ ทางภาคเหนือที่จะประนีประนอมกับขุนนางในภาคใต้ได้ดับวูบลง
ดังนั้นจึงได้ก่อตั้งองค์กร "พันธมิตรยูเตรคต์" ขึ้นต่อต้านพันธมิตรประกาศว่ามณฑลต่างๆ
ในภาคเหนือจะไม่มีการแบ่งแยกตลอดกาล พิทักษ์เอกราช ปี 1581 สภา 3 ฐานันดรในภาคเหนือ
ประกาศปลดพระเจ้าฟิลิปป์ที่ 2 สถาปนา "สาธารณรัฐรวมมณฑล" วิลเลี่ยมเป็นกงสุล
ดำเนินการปกครองแบบคณาธิปไตยที่มีชนชั้นนายทุนใหญ่พาณิชยกรรมและขุนนางเป็นพันธมิตรกัน

กองทัพสเปนได้สมคบคิดกับสหพันธ์อารร์ราส ทำการตีโต้กลับต่อกำลังฝ่ายปฏิวัติ ได้ยึดครองเมืองบางส่วน
ปี 1585 ยึดได้เมืองบรัสเซลส์และเมืองแอนต์เวอร์ป ฟื้นการปกครองของสเปนในภาคใต้ ทั้งได้หันเป้า
ไปโจมตีทางภาคเหนือ กองทัพสาธารณรัฐรวมมณฑลได้ตีโต้การบุกโจมตีกองทัพของสเปนพ่ายแพ้ไป
ครั้งแล้วครั้งเล่า พิทักษ์รักษาเอกราชของตนไว้ได้ ปี 1609 สเปนซึ่งตกอยู่ในฐานะยากลำบากทั้งภายใน
และภายนอกประเทศ ไม่มีกำลังที่จะทำลายการปฏิวัติในเนเธอร์แลนด์อีกต่อไป จึงถูกบีบให้ยอมเซ็น
"สัญญาสันติภาพ 12 ปี" ความจริงก็คือ รับรองความเป็นเอกราชของสาธารณรัฐรวมมณฑลนั่นเอง
สาธารณรัฐรวมมณฑลมีมณฑลฮอลแลนด์ใหญ่ที่สุดและร่ำรวยที่สุด ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า สาธารณรัฐฮอลแลนด์ ด้วย
การปฏิวัติของเนเธอร์แลนด์ก็ได้รับชัยชนะทางภาคเหนือ

การปฏิวัติเนเธอร์แลนด์เป็นการปฏิวัติของชนชั้นนายทุนที่ได้รับความสำเร็จเป็นครั้งแรก มันได้บุกเบิกหนทาง
การพัฒนาของทุนนิยมในภาคเหนือของเนเธอร์แลนด์ ชนชั้นนายทุนที่พัฒนายังไม่สุกงอมหวาดกลัวมวลชนเป็นที่สุด
มักจะพึ่งพาเป็นพันธมิตรกับขุนนางตลอดเวลา พยายามทำให้การปฏิวัติเลิกล้มกลางคัน การปฏิวัติเนเธอร์แลนด์
เป็นการปฏิวัติที่ไม่ถึงที่สุดครั้งหนึ่งของชนชั้นนายทุน ไม่เพียงแต่ไม่สามารถดำเนินการต่อสู้คัดค้านศักดินา
ภายในประเทศให้ถึงที่สุดเท่านั้น กระทั่งการต่อสู้คัดค้านการปกครองของสเปนก็เพียงได้รับชัยชนะเฉพาะส่วน
ในดินแดนทางภาคเหนือเท่านั้นอีกด้วย มาร์กซชี้ว่า "การปฏิวัติปี 1789 ถือเอาการปฏิวัติปี 1648 เป็นต้นแบบของมัน
(อย่างน้อยก็ในยุโรป) และการปฏิวัติปี 1648 ก็มีแต่ถือเอาการลุกขึ้นสู้คัดค้านสเปนของชาวเนเธอร์แลนด์
เป็นต้นแบบของมัน การปฏิวัติแต่ละครั้งใน 2 ครั้งนี้ ล้วนก้าวหน้ากว่าต้นแบบของตนนับด้วยศตวรรษ
ไม่เพียงแต่ด้านกาลเวลาเป็นเช่นนี้ ทั้งในด้านเนื้อหาก็เช่นกัน" (มาร์กซ "การปฏิวัติของชนชั้นนายทุน")
จะเห็นได้ว่า การปฏิวัติชนชั้นนายทุนของเนเธอร์แลนด์ ก็คือการซ้อมใหญ่ครั้งหนึ่งของการปฏิวัติ
ชนชั้นนายทุนของอังกฤษ ขณะที่ทั่วทั้งยุโรปยังอยู่ในยุคการปกครองเผด็จการศักดินาโดยทั่วไป
ผลสำเร็จอันมีขอบเขตจำกัดของมันแสดงว่า ชนชั้นนายทุนในยุโรปได้พกพาความเรียกร้องต้องการ
ที่จะแย่งยึดอำนาจรัฐ ก้าวขึ้นสู่เวทีประวัติศาสตร์แล้ว ยุคการปฏิวัติชนชั้นนายทุนมาถึงแล้ว
บันทึกการเข้า
gunnut
Jr. Member
**

คะแนน 0
ออฟไลน์

กระทู้: 37


« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2006, 07:30:51 AM »

ข้อมูลเยอะดีครับ แต่ไม่ค่อยน่าเชื่อถือเพราะดูเหมือนพยามยามโยงหลายประเด็นและปะติดปะต่อหลาย ๆ เรื่องเข้าด้วยกัน.. :Smiley

คล้่าย ๆ ดาวินซีโคดหรือเปล่า

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2006, 07:28:37 AM โดย gunnut » บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2006, 10:25:59 AM »

ประวัติศาสตร์โลกยุคใกล้ บทที่ 2 การปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษในศตวรรษที่ 17

ตอนที่ 1 สภาพทางเศรษฐกิจและการต่อสู้ทางชนชั้นในสังคมก่อนการปฏิวัติ

การพัฒนาของเศรษฐกิจทุนนิยม

ราชอาณาจักรอังกฤษในศตวรรษที่ 16-17

เป็นรัฐศักดินาที่ค่อนข้างเล็ก ดินแดนของราชอาณาจักรมี อังกฤษ เวลส์ และเกาะที่อยู่รอบๆ เท่านั้น

เนื่องจากการลุกขึ้นสู้ของชาวนาและการแทรกซึมของปัจจัยทุนนิยม ระบอบทาสกสิกรของอังกฤษ
ในทางเป็นจริงได้สลายตัวแต่ปลายศตวรรษที่ 14 แล้ว ถึงศตวรรษที่ 15 ชาวชนบทส่วนใหญ่ที่สุด
เป็นชาวนาที่มีนาทำเอง ต้นศตวรรษที่ 17 ในจำนวนพลเมือง 4-5 ล้านคน มีเพียง 1 ใน 5 เท่านั้น
ที่อาศัยอยู่ในเมือง แต่ว่าก่อนปฏิวัติ ความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบศักดินาในชนบทของอังกฤษ
ได้ถูกทำลายลงบ้างแล้ว เศรษฐกิจสินค้าของทุนนิยมได้ซึมลึกสู่ชนบท ชนบทกำลังผ่าน
กระบวนการการสะสมปฐมกาลของทุน

เริ่มแต่ศตวรรษที่ 16 สถานประกอบการหัตถกรรมในอังกฤษได้พัฒนาขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว
อุตสาหกรรมทอขนสัตว์อันเป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิมมีฐานะที่สำคัญในอุตสาหกรรม กลางศตวรรษที่ 16
ในชนบทอันกว้างใหญ่ก็เริ่มมีการสร้างสถานประกอบการหัตถกรรมทอผ้าสักหลาดและผ้ากำมะหยี่
ซึ่งส่วนใหญ่กระจัดกระจาย แต่ขณะเดียวกันก็ได้มีสถานประกอบการขนาดใหญ่และรวมศูนย์
ปรากฏขึ้นบ้างแล้ว ต้นศตวรรษที่ 17 กิจการทอผ้าสักหลาดและผ้ากำมะหยี่รุ่งเรืองเป็นพิเศษในอังกฤษ
มีปริมาณการส่งออกถึงร้อยละ  90

กลางศตวรรษที่ 16 อังกฤษได้มีแขนงงานอุตสาหกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นแล้ว อย่างเช่นอุตสาหกรรมกระดาษ
ดินปืน กระจก น้ำตาล อุตสาหกรรมทางทหาร การต่อเรือและอุตสาหกรรมทอผ้าฝ้าย เป็นต้น
เนื่องจากได้ใช้เทคนิคและวิทยาการจากต่างประเทศ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ถลุงโลหะก็ได้รับการพัฒนาไป
ระหว่างปี 1540-1640 ปริมาณการผลิตถ่านหินเพิ่มขึ้น 7.5 เท่า เหล็กเพิ่มขึ้น 5 เท่า โดยทั่วไปแล้ว
สถานประกอบการแต่ละแห่งจะมีคนทำงานหลายสิบคนถึงหลายร้อยคน มีบางรายก็มีคนงานรับจ้างถึง
หลายพันคน ดูจากด้านต่างๆ เช่น ขนาด อุปกรณ์เทคนิคและรูปการจัดตั้งแรงงานของแขนงอุตสาหกรรม
เหล่านี้แล้ว เห็นได้ว่า อุตสาหกรรมของอังกฤษได้ค่อยๆ ก้าวสู้วิถีทางของทุนนิยมแล้ว

การพัฒนาขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมของอังกฤษนั้นเชื่อมโยงอยู่กับ
การขยายตลาดโดยเฉพาะคือ การขยายการค้ากับต่างประเทศ ปลายศตวรรษที่ 15 หลังจากบุกเบิก
เส้นทางเดินเรือใหม่ของโลกแล้ว ศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศก็ค่อยๆ ย้ายจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ประเทศอังกฤษเป็นหน้าด่านสำคัญบนเส้นทางเดินเรือการค้าขายของโลก
ทำให้ขอบเขตการค้ากับโพ้นทะเลขยายกว้างขึ้นไม่ขาดสาย ศตวรรษที่ 16 ถึง ต้นศตวรรษที่ 17
โดยการอนุญาติพิเศษ อังกฤษได้ก่อตั้งบริษัทผูกขาดการค้าที่ใหญ่โตจำนวนมาก เช่น บริษัทอีสต์
ประกอบกิจการค้าแถบชายฝั่งทะเลบอลติกส์ บริษัทอาแสะริกัน ประกอบกิจการค้าทาส
และที่สำคัญที่สุดคือ บริษัทอีสต์อินเดียที่ก่อตั้งในปี 1600 ได้ผูกขาดการค้ากับประเทศต่างๆ
ทางตะวันออก การขยายตัวอย่างรวดเร็วในด้านการค้ากับต่างประเทศได้เร่งความเร็วให้กับ
กระบวนการสะสมปฐมกาลของทุนและกระบวนการแปรเกษตรกรรมเป็นแบบทุนนิยมภายในประเทศ
สถานประกอบการหัตถกรรมแบบทุนนิยมได้เข้าแทนที่หัตถกรรมในครัวเรือนแบบศักดินาอย่างรวดเร็ว

ขบวนการกว้านที่ดินและการต่อสู้ของชาวนาที่คัดค้านการกว้านที่ดิน

เพื่อพัฒนาทุนนิยม ชนชั้นนายทุนและขุนนางที่ดำเนินกิจการแบบทุนนิยม ได้ดำเนินการกว้านที่ดินติดต่อกัน
เป็นเวลากว่า 300 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 15 ขบวนการกว้านที่ดินโดยเนื้อแท้แล้วก็คือ
กระบวนการสะสมปฐมกาลของทุนที่ดำเนินอยู่ในชนบทนั่นเอง มันใช้ความรุนแรงที่โหดเหี้ยมอำมหิตไปทำให้
ผู้ผลิตแยกตัวออกจากปัจจัยการผลิต ชาวนาจำนวนมากถูกขับไล่ออกจากเรือกสวนไร่นาของตนเอง จากนี้ก็ได้
สนองแรงงานทาสรับจ้างให้กับชนชั้นนายทุนขณะเดียวกัน ขบวนการกว้านที่ดินยังเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลง
ระบอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินของชนบทครั้งหนึ่ง แปรกรรมสิทธิ์ในที่ดินแบบศักดินาและที่ดินสาธารณะของนิคม
เป็นกรรมสิทธิ์ที่ดินผืนใหญ่ของชนชั้นนายทุน เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาของทุนนิยม โดยใช้รูปแบบและ
วิธีการที่โหดเหี้ยมอำมหิตไปแย่งยึดที่ดินของชาวนา ดังนั้นจึงได้รับการต่อต้านอย่างสุดฤทธิ์จากชาวนา

ในระหว่างศตวรรษที่ 15-16 เนื่องจากอุตสาหกรรมขนสัตว์ได้พัฒนาขยายตัวอย่าวรวดเร็วปริมาณความต้องการ
ขนแกะเพิ่มทวีสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้ราคาถีบตัวสูงขึ้น จึงเป็นแรงกระตุ้นให้ขุนนางส่วนหนึ่งโดยเฉพาะขุนนาง
ขนาดกลางและขนาดเล็กของอังกฤษหันมาดำเนินกิจการแบบทุนนิยม พวกเขาพากันไปกว้านที่ดินภาคกลาง
และภาคตะวันออกของประเทศ ทำการแย่งยึดที่ดินของชาวนา ครอบครองที่ดินสาธารณะของนิคม เชื่อมที่ดิน
ที่กระจัดกระจายเข้าเป็นที่ดินผืนใหญ่ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อถึงกันแล้วจัดการล้อมด้วยรั้วไม้ไผ่ ขุดคูโดยรอบ
เพื่อปล่อยฝูงแกะ ถึงปลายศตวรรษที่ 16 ต้นศตวรรษที่ 17 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรภาคอุตสาหกรรม
ทำให้ความต้องการในธัญญาหารและผลิตผลทางเกษตรอื่นๆ เพิ่มสูงขึ้นด้วย เป็นการเพิ่มแรงจูงใจใหม่ให้กับ
ขบวนการกว้านที่ดิน พวกกว้านที่ดินไม่เพียงแต่แย่งยึดที่ดินสาธารณะของนิคมและที่ดินทำกินของชาวนาเท่านั้น
ยังดำเนินงานระบายน้ำ ปรับปรุงเนื้อดินในพื้นที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มภาคตะวันออก สร้างฟาร์มเกษตรแบบทุนนิยมอีกด้วย

ขบวนการกว้านที่ดิน ทำให้ชนบททั้งชนบทถูกทำลายลงอย่างราบคาบ ชาวนาบ้านแตกสาแหรกขาด
พลัดที่นาคาที่อยู่ ซัดเซพนจร สุดที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ กลายเป็น "พวกจรจัด" ไปในที่สุด เพื่อเสือกไสให้
ชาวนาเหล่านี้ยอมรับการขูดรีดอย่างทารุณจากแรงงานรับจ้าง พวกชนชั้นปกครองอังกฤษได้ตรากฏหมาย
ที่คลุ้งไปด้วยกลิ่นคาวเลือดออกมาเป็นจำนวนมาก ใช้วิธีการลงอาญาสถานหนักไปจัดการกับ "พวกจรจัด"
เพื่อต่อต้านขบวนการกว้านที่ดินและการข่มขี่ทางการเมืองของชนชั้นนายทุน ชาวนาได้ก่อการลุกขึ้นสู้ไม่ขาดสาย
การลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออกซึ่งขบวนการกว้านที่ดินดำเนินไปอย่างดุเดือดที่สุด ชาวนาที่ลุกขึ้นสู้
มีจำนวนถึง 20,000 คน พวกเขายึดได้เมืองนอริชและประสานตนเองเข้ากับประชาชนที่ยากจนในเมืองทำการโจมตี
ต่อผู้กว้านที่ดินอย่างหนักหน่วง

การแยกตัวทางชนชั้นและการเปลี่ยนแปลงของกำลังทางชนชั้น

คู่ขนานไปกับการขยายตัวไม่ขาดสายของขบวนการกว้านที่ดิน ปัจจัยทุนนิยมได้แทรกซึมสู่ด้านต่างๆ
อย่างต่อเนื่อง ความสัมพันธ์ทางชนชั้นและสัดส่วนทางชนชั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก่อนการปฏิวัติ
ชนชั้นปกครองของสังคมศักดินาซึ่งก็คือชนชั้นขุนนางก็เริ่มมีการแยกตัว พวกขุนนางศักดินาหรือขุนนางเก่า
ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ด้วยการเก็บค่าเช่าที่ดินศักดินาแต่ดั้งเดิมซึ่งก็คือ
ค่าเช่าที่ดินที่กำหนดแน่นอนตามธรรมเนียมปฏิบัติศักดินา เนื่องจากรายรับไม่พอกับรายจ่ายหนี้สินพอกพูนขึ้นทุกวัน
ฉะนั้นจึงต้องตัดที่ดินแบ่งขายมิได้ขาด ทำให้อาณาเขตของตนนับวันหดเล็กลง พวกเขาควบคุมกลไกอำนาจรัฐ
เมื่อยิ่งตกต่ำ การรีดนาทาเร้นต่อประชาชนก็ยิ่งโหดเหี้ยม ยิ่งจะเสริมอำนาจเผด็จการกษัตริย์เพื่อพิทักษ์รักษา
ผลประโยชน์ของตน เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมอย่างหนัก พวกนี้มีจำนวนคนไม่มาก
เป็นเป้าหมายของการปฏิวัติ

ชนชั้นใหม่ที่แยกตัวออกจากชนชั้นขุนนางเรียกว่า "ขุนนางใหม่" ประกอบด้วยอัศวินและคหบดีในชนบทเป็นสำคัญ
ตามธรรมเนียมปฏิบัติศักดินาของอังกฤษ ไม่ได้ห้ามขุนนางดำเนินอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ดังนั้นพวกเขา
จึงดำเนินกิจการแบบทุนนิยม ค้าขายขนแกะ ธัญพืชและผลิตผลทางเกษตรอื่นๆ ประกอบกิจการถลุงโลหะ
ทำเหมืองแร่และ ปล้นชิงอาณานิคมที่ดินที่ราชสำนักและขุนนางศักดินาขายออกไปด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ
ส่วนใหญ่ก็ตกไปอยู่ในมือของขุนนางใหม่ ระหว่างปี 1561-1640 ที่ดินของราชสำนักลดลงร้อยละ 75
ที่ดินที่อยู่ในความครอบครองของขุนนางศักดินาก็ลดลงร้อยละ 50 แต่ที่ดินของขุนนางใหม่กลับเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 20 แต่ว่าที่ดินส่วนใหญ่ของขุนนางใหม่ได้ถือครองตามระบอบถือครองที่ดินของอัศวิน พวกเขา
ไม่สามารถใช้ที่ดินในครอบครองของตนอย่างอิสระเสรีได้ ทั้งยังจะต้องปฏิบัติตามพันธะศักดินาต่อกษัตริย์
เช่นเสียเงินค่าโล่ห์แทนการถูกเกณฑ์เป็นทหาร เวลากษัตริย์ถูกจับเป็นเชลยไถ่ตัวกลับก็ต้องเสียเงินค่าไถ่
เวลาบุตรสืบทอดมรดกก็ต้องเสียภาษีมรดก เป็นต้น ระบอบถือครองที่ดินของอัศวินเป็นแหล่งที่มาทางภาษีอากร
ทางหนึ่งของกษัตริย์ ในยามที่การคลังของราชสำนักร่อยหรอ รัฐบาลเผด็จการก็เสริมระบอบควบคุมที่ดิน
และดำเนินการรีดเค้นทุกชนิด ขุนนางใหม่เรียกร้องให้ยกเลิกระบอบถือครองที่ดินของอัศวิน ทำให้ที่ดิน
เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง พวกเขาได้สร้างพันธมิตรกับชนชั้นนายทุนไปต่อต้านอำนาจเผด็จการกษัตริย์
ในการปฏิวัติชนชั้นนายทุนได้สร้างพันธมิตรกับขุนนางใหม่เป็นเวลานาน ใช้กำลังของชาวนาอันไพศาล
และหัตถกรเป็นกำลังไปคัดค้านอิทธิพลศักดินา นี่เป็นลักษณะพิเศษพื้นฐานประการหนึ่งของการปฏิวัติ
ชนชั้นนายทุนของอังกฤษ

ชนชั้นนายทุนอังกฤษในศตวรรษที่ 17 ประกอบด้วยชนชั้นต่างๆ พ่อค้ามหาเศรษฐีในเขตกรุงลอนดอน
และแคว้นต่างๆ เจ้าของสถานประกอบการขนาดใหญ่และนายทุนเงินกู้ดอกเบี้ยสูง จำนวนไม่กี่ร้อยคน
ประกอบขึ้นเป็นส่วนบนของชนชั้นนายทุน พวกเขาเป็นนายอากรบ่อนเบี้ยเป็นพวกได้รับสัมปทาน
และถือหุ้นของบริษัทการค้าอภิสิทธิ์ของราชสำนัก ขณะเดียวกันก็เป็นเจ้าหนี้ของขุนนางด้วย
พวกเขาเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม
มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับกษัตริย์และขุนนาง เป็นกลุ่มอนุรักษ์ในชนชั้นนายทุน ที่เป็นตัวหลักของ
ชนชั้นนายทุนได้แก่ ชนชั้นนายทุนอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมขนาดกลาง พวกเขาเป็นเจ้าของวิสาหกิจ
ที่ไม่ใช่แบบสมาคมอาชีพ เป็นผู้จัดตั้งสถานประกอบการที่กระจัดกระจายและสถานประกอบการที่รวมศูนย์
และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวิสาหกิจอาณานิคม ในฐานะเจ้าของวิสาหกิจ พวกเขาถูกระบอบสมาคมอาชีพ
และระบอบผูกขาดที่ดำเนินโดยกษัตริย์กีดกัน ในฐานะพ่อค้า พวกเขาถูกเบียดขับจากบริษัทอภิสิทธิ์
ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ อุปสรรคขัดขวางจากศักดินาที่พวกเขาได้รับนั้นค่อนข้างมาก
ความเรียกร้องต้องการปฏิวัติก็ค่อนข้างสูง

ชาวนาเป็นกำลังหลักของการปฏิวัติชนชั้นนายทุน ก่อนปฏิวัติ มวลชนพื้นฐานของชาวนาอังกฤษคือ
ชาวนาที่มีนาทำเอง ซึ่งก็คือชาวนาที่มีนาทำเองอย่างเสรีกับชาวนาที่มีนาทำเองในสังกัดบัญชีหลวง
โดยมีชาวนาที่มีนาทำเองในสังกัดบัญชีหลวงเป็นหลัก พันธะศักดินาที่ชาวนาผู้มีนาทำเองอย่างเสรี
จะต้องแบกรับนั้นค่อนข้างเบา สามารถจัดการกับที่ดินซึ่งเป็นมรดกตกทอดของตนอย่างเสรีได้
ส่วนชาวนาผู้มีนาทำเองในสังกัดบัญชีหลวงนั้นแปรเปลี่ยนมาจากทาสกสิกรเป็นคนส่วนใหญ่ของ
ชาวนาในขณะนั้น ต้นศตวรรษที่ 17 พวกเขามีจำนวนคนเป็นร้อยละ 60 ของชาวนาในภาคกลาง
อัตราส่วนเปรียบเทียบในภาคตะวันตกและภาคเหนือยิ่งมีมาก ที่ภาคตะวันออกซึ่งทุนนิยมค่อนข้างเจริญ
ก็มีจำนวนสูงถึง 1 ใน 3 กระทั่ง 1 ใน 2 การทำกินบนที่ดินผืนเล็กและสิทธิต่างๆ ในการใช้สอยผืนที่ดิน
ซึ่งสืบทอดต่อๆ กันมาจะมีบันทึกอยู่ในสมุดบัญชีซึ่งฉบับตัวจริงจะถูกเก็บรักษาไว้ในศาลแขวง
โดยพวกเขาเก็บฉบับสำเนาไว้ พวกเขาไม่สามารถจัดการกับที่ดินของตัวเองได้ นอกจากต้องส่งค่าเช่า
ให้เจ้าที่ดินแล้ว ยังถูกรีดเค้นแบบศักดินาในด้านอื่นๆ อีกด้วย แบกรับพันธะศักดินามากมาย
ที่ดินส่วนที่เป็นของตนเองขณะสืบทอดหรือโอนจะต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าที่ดินก่อน
ทั้งต้องเสียเงินค่าอนุมัติอีกด้วย จำนวนเงินจะเป็นเท่าไหร่นั้นเจ้าที่ดินจะเป็นผู้กำหนดเอง

ในชั่วระยะเวลานับจากกลางศตวรรษที่ 16 ถึงกลางศตวรรษที่ 17 ค่าใช้จ่ายในด้านนี้เพิ่มขึ้น
หลายสิบเท่าในหลายท้องที่ชาวนาผู้มีนาทำเองในสังกัดบัญชีหลวงเนื่องจากไม่สามารถ
เสียค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ในที่สุดต้องสูญเสียที่ดินของตนไป พวกเขามีความเรียกร้องต้องการ
อย่างเร่งด่วนที่จะยกเลิกระบอบศักดินา แปรที่ดินซึ่งเป็นมรดกตกทอดเป็นทรัพย์สินของตนเอง
ชาวนาจนในอังกฤษขณะนั้นเรียกว่า ชาวนาบ้านกระต๊อบ ชาวนาบ้านกระต๊อบเพียงสามารถใช้ที่ดิน
ผืนกระจิ๊ดรอบๆ บ้านกระต๊อบเท่านั้น ที่ดินสาธารณะของหมู่บ้านเคยเป็นแหล่งสำคัญในการดำรงชีพ
ของพวกเขา การกว้านที่ดินทำให้ฐานะของพวกเขายิ่งแย่ลง และตกต่ำลงเป็นชาวนารับจ้างในที่สุด
กลายเป็นชนกรรมชีพ และกึ่งกรรมาชีพในชนบท ชาวนาอันกว้างใหญ่ไพศาลล้วนคัดค้านระบอบ
กรรมสิทธิ์ในที่ดินแบบศักดินาทั้งสิ้น มีความขัดแย้งอย่างแหลมคมกับเจ้าศักดินาดำรงอยู่ ขณะเดียวกัน
ชาวนาก็คัดค้านขบวนการกว้านที่ดิน ดังนั้นจึงมีความขัดแย้งกับชนชั้นนายทุนขุนนางใหม่ดำรงอยู่
อย่างรุนแรงด้วย

คนงานหัตถกรรมทั้งในเมืองและชนบทก็เป็นกำลังปฏิวัติที่สำคัญกำลังหนึ่ง พวกเขาถูกกดขี่ถึง 2 ชั้น
จากศักดินานิยมและทุนนิยมพร้อมๆ กัน ดังนั้นพวกเขาจึงคัดค้านการกดขี่จากระบบระเบียบแบบศักดินา
ของสมาคมอาชีพ ขณะเดียวกันก็คัดค้านการขูดรีดของชนชั้นนายทุนที่เจริญขึ้นใหม่อีกด้วย
บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2006, 10:27:07 AM »


ขบวนการปฏิรูปศาสนา พิวริแตนส์

ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1630-1640 อังกฤษก็เริ่มมีการปฏิรูปศาสนา โดยตัดขาดความสัมพันธ์ที่ขึ้นต่อ
ศาสนจักรโรมันคาทอลิกในกรุงโรม ปิดโบสถ์วิหารโรมันคาทอลิก ริบทรัพย์สินของศาสนจักร ตั้งคณะอังกลิกัล

(หมายเหตุ : เป็นคริสตศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ที่สำคัญนิกายหนึ่ง เกิดขึ้นที่อังกฤษในยุคปฏิรูปศาสนา
ในศตวรรษที่ 16 กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 แห่งอังกฤษภายใต้การสนับสนุนของชนชั้นนายทุนที่เจริญขึ้นใหม่
ได้ถือเอากรณีที่องค์สันตะปาปาไม่อนุญาติให้พระองค์ปลดพระราชินี(เจ้าฟ้าหญิงแห่งสเปน)
เพื่ออภิเษกสมรสใหม่เป็นเหตุ ประกาศงดส่งเครื่องบรรณาการต่อศาสนาจักรโรมันคาทอลิก
แห้งกรุงโรมในปี 1532 ปี 1534 เสนอร่างกฏหมายผ่านรัฐสภา กำหนดให้ศาสนจักรในอังกฤษ
ไม่ต้องขึ้นต่อองค์สันตะปาปาแห่งกรุงโรมอีกต่อไป แต่ให้กษัตริย์อังกฤษทรงเป็นผู้นำสูงสุด ศาสนจักร
ที่ไม่ขึ้นต่อองค์สันตะปาปาแห่งกรุงโรมซึ่งก็คือ คณะอังกลิกัล จึงกลายเป็นศาสนาทางการของอังกฤษ
คณะอังกลิกัลในยุคแรกไม่ว่าจะกล่าวจากด้านคำสอน รูปแบบการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือ
ระบบการจัดตั้งส่วนใหญ่สืบทอดประเพณีของนิกายโรมันคาทอลิก)

เป็นศาสนาของทางการ รวมศาสนจักรกับอาณาจักรเป็นองค์เดียวกัน ภายใต้สภาพที่การเมืองกับศาสนา
รวมเป็นองค์เดียวกัน คณะอังกลิกัล กลายเป็นเครื่องมือของอำนาจกษัตริย์และเสาค้ำของระบอบเผด็จการ
เจ้าหน้าที่บริหารของคณะอังกลิกัลที่แต่งตั้งโดยกษัตริย์ในทางเป็นจริงแล้วก็คือ ข้าราชสำนัก
พระบรมราชโองการของกษัตริย์มักจะนำไปประกาศบนแท่นแสดงธรรม ไม่เพียงแต่สาวกต่างนิกาย
จะถูกปองร้ายอย่างโหดร้ายป่าเถื่อนแล้ว แม้แต่สาวกอังกลิกัลเองก็ยังถูกจับตาดูอย่างเข้มงวดกวดขัน
ศาลศาสนาจะดำเนินการปราบปรามต่อบุคคล ผู้ต้องสงสัยว่าไม่ขึ้นต่อคำสอนของศาสนานิกายอังกลิกัล
อย่างเฉียบขาด กษัตริย์ ขุนนางและสังฆราช เป็นอิทธิพลปฏิปักษ์ปฏิวัติ 3 เส้าในองค์เดียวกัน คือ
เป้าหมายของการปฏิวัติชนชั้นนายทุนของ อังกฤษ ฉะนั้น การต่อสู้คัดค้านศักดินาก็แสดงออกมาในรูป
การคัดค้านศาสนาของทางการอีกด้วย

ชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่เรียกร้องให้ดำเนินการปฏิรูปศาสนาอีกก้าวหนึ่ง ขจัดพิธีกรรมจุกจิกหยุมหยิม
ของโรมันคาทอลิกในคณะอังกลิกัล ยกเลิกการกราบไหว้บูชา "รูปพระเยซู" ตัดค่าใช้จ่ายทางศาสนาให้น้อยลง
คัดค้านการรีดไถของศาสนจักร มีความคิดเห็นทำศาสนจักรให้ "บริสุทธิ์" จึงได้ชื่อว่า พิวริแตนส์
เพื่อต่อสู้กับศาสนาของทางการ พวกเขาค้นพบอาวุธทางความคิดสำเร็จรูปจากศาสนานิกายคัลแวงนิสม์
ชนชั้นนายทุนเรียกร้องให้สร้างสถาบันศาสนาประชาธิปไตยตามรูปแบบของศาสนานิกายคัลแวงนิสม์
พวกเขาโฆษณาเผยแพร่ว่า การเคลื่อนไหวอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมเป็น "ภาระหน้าที่" อันศักดิ์สิทธิ์
การรีบสร้างฐานะให้ร่ำรวยเป็นการแสดงออกซึ่งการสนองรับพระมหากรุณาธิคุณจากพระผู้เป็นเจ้า
และเป็นนิมิตหมายของ "ราษฏรที่เลือกสรร" เป็นพิเศษของพระผู้เป็นเจ้า การที่พวกเขาเสนอให้ปรับปรุงศาสนจักร
จริงๆ แล้วก็คือต้องการสร้างระบอบสังคมทุนนิยม ขบวนการพิวริแตนส์ใช้รูปแบบและทัศนคติในประเพณีดั้งเดิม
ชูธงศาสนาปลุกระดมมวลชนลุกขึ้นสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐให้กับชนชั้นนายทุน การปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษ
ได้ดำเนินไปภายใต้เสื้อคลุมทางศาสนาอันเป็นลักษณะพิเศษประการหนึ่งของการปฏิวัติ

ขบวนการพิวริแตนส์ได้แตกแยกเป็นกลุ่มที่สำคัญ 2 กลุ่ม ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 แล้ว กลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน
ซึ่งเป็นกลุ่มหัวนุ่มนวลได้กุมอำนาจการนำในการเคลื่อนไหว กลุ่มนี้เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของ
ชนชั้นนายทุนใหญ่และส่วนบนของขุนนางใหม่ ไม่ได้ตัดขาดความสัมพันธ์ทางจัดตั้งกับคณะอังกลิกัล
เพียงให้ยุบตำแหน่งสังฆราช โดยให้สาวกเป็นผู้เลือก "ผู้อาวุโส" ขึ้นบริหารศาสนกิจ ปีกซ้ายของ
ขบวนการพิวริแตนส์เรียกว่ากลุ่มอิสระ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มสะท้อนผลประโยชน์ของขุนนางใหม่และ
ชนชั้นนายทุนกลาง มีความเห็นว่า วิหารแต่ละแห่ง นิกายแต่ละนิกายเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเอง
ให้บริหารร่วมกันโดยปวงสาวก บรรดาสาวกสามารถทำพิธีสวดเองตีความคัมภีร์เองโดยเสรี
สามารถไปมาหาสู่กับพระผู้เป็นเจ้าเองโดยไม่ถูกแทรกแซงจากพระสังฆราช ฉะนั้นพวกเขาจึง
ปฏิเสธอำนาจพระสังฆราช และก็ปฏิเสธอำนาจของ "ผู้อาวุโส" ด้วย ทว่าก่อนได้อำนาจรัฐ ทั้ง 2 กลุ่ม
ยังคงร่วมเป็นพันธมิตรไปคัดค้านเผด็จการอำนาจกษัตริย์ ชนชั้นนายทุนน้อยในเมืองและชาวนาส่วนหนึ่ง
ก็เข้าร่วมขบวนการพิวริแทนส์ ทำให้ภายในขบวนการพิวริแตนส์เกิดการแยกตัวเร็ว

การปกครองของราชวงศ์สจ๊วตและความสุกงอมของสถานการณ์ปฏิวัติ

ปี 1603 พระราชินีเอลิซาเบธ(Elizabeth ครองราชย์ 1558-1603)

ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ได้สิ้นพระชนม์ลง เจ้าหญิงเอลิซาเบธไม่มีทายาทจึงให้
พระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งราชวงศ์สจ๊วตของสก๊อตแลนด์เป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์และเปลี่ยนพระนามเป็น
เจมส์ที่ 1(James 1 ครองราชย์ 1603-1625)

จากนั้นมาก็เริ่มการปกครองของราชวงศ์สจ๊วตในอังกฤษ อังกฤษกับสก๊อตแลนด์ถึงแม้ว่าจะมี
ประมุของค์เดียวกัน แต่ทั้ง 2 รัฐก็ไม่ได้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สก๊อตแลนด์ยังคงรักษาอำนาจ
การปกครองตนเองไว้ไม่น้อย รัฐสภาและศาสนาก็มีระบอบของตัวเอง

หลังจากเจมส์มาอยู่อังกฤษ ก็ได้พยายามธำรงรักษาระบอบเผด็จการศักดินาที่เน่าเฟะในทุกด้าน
เขาโฆษณาทฤษฏีว่าด้วยอำนาจกษัตริย์เป็นอำนาจฟ้าประทาน อำนาจกษัตริย์ไม่มีขอบเขตจำกัดเป็นต้น
เห็นว่า กษัตริย์อยู่เหนือกฏหมายและรัฐสภา ในด้านนโยบายเศรษฐกิจ พระเจ้าเจมส์ก็ดำเนินระบอบผูกขาด
อย่างขนานใหญ่ เป็นเจ้าของสัมปทานในการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าบางประเภทต่อบุคคลหรือบริษัท
ระบอบผูกขาดได้ขยายขอบเขตไปในแขนงการผลิตหลายแขนงและเกือบจะทั้งหมดของการค้า
กับต่างประเทศและส่วนใหญ่ของการค้าภายในประเทศ ระบอบผูกขาดทำให้นายทุนส่วนน้อย
ที่มีความสัมพันธ์ติดต่ออยู่กับราชสำนักร่ำรวยขึ้น แต่ชนชั้นนายทุนกลางกับนายทุนน้อยกลับได้รับ
ความเสียหาย ในด้านนโยบายทางศาสนา พระเจ้าเจมส์ได้เสริมฐานะการปกครองของคณะอังกลิกัล
เพื่อเสริมความมั่นคงให้กับอำนาจกษัตริย์ ทั้งทำการปองร้ายสาวกนิกายพิวริแตนส์อย่างขนานใหญ่
เสือกไสพวกเขาต้องหลบหนีลี้ภัยไปอยู่อเมริการเหนือ ในด้านนโยบายต่างประเทศ พระเจ้าเจมส์
ละเมิดผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน ยกเลิกนโยบายต่างประเทศดั้งเดิมที่ร่วมมือกับฮอลแลนด์
ที่เป็นโปรเตสแตนท์ โจมตีสเปนที่เป็นโรมันคาทอลิกซึ่งเป็นนโยบายที่ยึดถือมาโดยตลอดแต่
สมัยราชวงศ์เอลิซาเบธ พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะคืนดีกับสเปนและเป็นพันธมิตรด้วยกระทั่ง
ถึงกับพยายามจะให้เจ้าฟ้าชายชาร์ลได้อภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าหญิงแห่งสเปน เพื่อเสริมความมั่นคง
ให้กับพันธมิตรอังกฤษสเปน มุ่งหวังจะใช้อิทธิพลศักดินาทางสากลมารักษาการปกครองของตนในอังกฤษ

การปกครองของพระเจ้าเจมส์ในอังกฤษทำให้ความขัดแย้งทางชนชั้นภายในประเทศทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
ชาวนาอันกว้างไพศาล หัตถกร คนงานสถานประกอบการและคนทำงานรายวันต่างไม่พอใจต่อนโยบายของ
ราชวงศ์สจ๊วต ได้ก่อการจลาจลหลายต่อหลายครั้ง ปี 1607 ชาวนาในแคว้นนอร์ตแธมป์ตัน เรสเตอร์ วาร์วิค
ทางภาคกลาง ได้ก่อการเคลื่อนไหวของขบวนการ "ชาวนาที่ลุ่ม" ที่มีขนาดใหญ่โตเพื่อคัดค้านเจ้าที่ดิน
ที่ใช้คำอ้างระบายน้ำในผืนที่ดินซึ่งเป็นที่ลุ่มเข้าครอบครองที่ดินสาธารณะ ต่อมาก็แพร่สะพัดไปในท้องที่อื่นๆ
ปี 1617 ในลอนดอน ได้เกิดการลุกขึ้นสู้ของผู้ฝึกงานหัตถกรรมที่ว่างงานจำนวนมาก ปี 1620 ในเมืองของ
แคว้นต่างๆ ทางภาคตะวันตกก็มีชาวนาก่อเหตุวุ่นวายอย่างหนัก การต่อสู้ของมวลชนที่พัฒนาไปอย่างครึกโครม
ได้สั่นคลอนระเบียบศักดินา ทั้งเป็นการหนุนเสริมให้การต่อสู้กับอำนาจกษัตริย์ของฝ่ายค้านซึ่งเป็นชนชั้นนายทุน
ในรัฐสภาเข้มแข็งขึ้น การที่กษัตริย์ดำเนินนโยบายจัดเก็บภาษีอัตราสูงและระบอบผูกขาดในอุตสาหกรรมและ
พาณิชยกรรมทำให้ อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมของอังกฤษตกอยู่ในสภาพซบเซา ก็ทำให้ชนชั้นนายทุนไม่พอใจ
พวกเขาจึงปฏิเสธที่จะสนับสนุนต่อกษัตริย์ทางด้านการคลังคัดค้านนโยบายทั้งภายในและต่างประเทศของกษัตริย์

ปี 1625 พระเจ้าเจมส์สิ้นพระชนม์ ชาร์ลส์ที่ 1

ซึ่งเป็นทายาทขึ้นครองราชย์ ได้ดำเนินนโยบายสืบต่อจากผู้พ่อ ในกระบวนการต่อสู้
คัดค้านอำนาจกษัตริย์นั้น ในสภาล่างได้ปรากฏผู้นำฝ่ายค้านของขุนนางใหม่ชนชั้นนายทุน
ขึ้นจำนวนหนึ่ง เช่น เซอร์จอห์น อีเลียต(Eliot Sir John 1592-1632)

จอห์น ฮัมป์เดน(Hampden John 1594-1643)

จอห์น พิม(Pym John 1584-1643) เป็นต้น
พิมเคยเป็นผู้พิพากษารักษาความสงบ เป็นเจ้าที่ดินใหญ่ เคยลงทุนทำเหมืองถ่านหินและตั้งบริษัทเสี่ยงภัยของพ่อค้า
มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการล่าอาณานิคม ฮัมป์เดนเป็นผู้นำคนสำคัญของพิวริแตนส์ ได้รับมรดกที่ดินเป็นจำนวนมาก
จากกองมรดกและการแต่งงานกลายเป็นคหบดีที่ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งของอังกฤษ บุคคลเหล่านี้มีความสัมพันธ์
อย่างแนบแน่นกับชนชั้นนายทุนในอังกฤษ เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน พวกเขากล่าวตำหนิติเตียน
นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลว่า อ่อนแอไร้ความสามารถ คัดค้านอำนาจอภิสิทธิ์ของกษัตริย์อย่างเด็ดเดี่ยว
พวกเขาอ้างบทบัญญัติใน "มหาธรรมนูญ" (หมายเหตุ : เป็นเอกสารจำกัดอำนาจกษัตริย์ซึ่งเจ้าศักดินาใหญ่ของ
อังกฤษภายใต้การสนับสนุนของอัศวินและชาวเมืองบีบบังคับให้กษัตริย์จอห์นแห่งอังกฤษลงนามในปี 1215)
แต่ตีความตามทัศนะของชนชั้นนายทุน ทั้งใช้ชื่อ "ประชาชน" ไปจำกัดอำนาจกษัตริย์ ปี 1628 รัฐสภาได้เสนอ
"หนังสือร้องเรียนเพื่อสิทธิและผลประโยชน์" เรียกร้องว่า หากไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา กษัตริย์จะกู้เงิน
และเก็บภาษีไม่ได้ ถ้าไม่ได้อาศัยกฏหมายของรัฐหรือตัดสินของศาลยุติธรรมจะเที่ยวจับกุมคุมขังหรือริบทรัพย์
ของใครต่อใครไม่ได้ ไม่ให้ทำการจับกุมพลเมืองตามอำเภอใจโดยอาศัยประกาศภาวะฉุกเฉิน ไม่ให้ยึดเอา
อาคารบ้านเรือนของประชาชนเป็นที่พักแรมของกองทหาร เป็นต้น พระเจ้าชาร์ลส์จนใจที่ถูกบีบจากภาวะ
ยากลำบากทางการคลัง จึงทำเป็นยอมเซ็นอนุมัติ "หนังสือร้องเรียน" หลอกเอาเงินช่วยเหลือไปได้
350,000 ปอนด์ ต่อมาไม่นานก็จัดการยุบรัฐสภา

ระหว่างปี 1629-1640 พระเจ้าชาร์ลส์ยุติการเรียกประชุมรัฐสภา โดยให้
เคานท์สตราฟ ฟอร์ด(Strafford 1593-1641)

และสังฆราชใหญ่ วิลเลี่ยมลอต(Laud William 1573-1645)เป็นที่ปรึกษา
ดำเนินการปกครองเผด็จการสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ไม่มีรัฐสภา ในระหว่างนี้พระเจ้าชาร์ลส์ ได้จัดการจับ
ผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภา 9 คนยัดเข้าคุก ในจำนวนนี้ อีเลียตป่วยเสียชีวิตในคุก สาวกนิกายพิวริแตนส์
ถูกปองร้ายหมายหัว ระหว่างปี 1630-1640 สาวกนิกายพิวริแตนส์ที่ถูกบีบ ต้องหนีตายไปอยู่ต่างประเทศ
มีจำนวนถึง 65,000 คน ในจำนวนนี้มี 20,000 คน หนีไปอยู่อเมริกาเหนือ เพื่อสร้างรากฐานการคลัง
ที่ไม่ต้องพึ่งพารัฐสภา พระเจ้าชาร์ลส์ได้บังคับเก็บภาษีจิปาถะ ขายสัมปทานในการจำหน่ายสินค้า
โดยกำหนดสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันจำนวนมากเข้าอยู่ในขอบข่ายที่ผู้ได้รับสัมปทานเท่านั้นจึงจำหน่ายได้
ปี 1630 กำหนดว่า ผู้มีรายได้จากที่ดินปีละ 40 ปอนด์ขึ้นไป จะต้องรับสมญานามอัศวิน เสียเบี้ยอัศวิน
มิฉะนั้นจะต้องถูกปรับ ปี 1634 มีราชโองการให้สำรวจหลักเขตหวงห้ามของราชสำนักผู้รุกล้ำเขต
จะต้องถูกจับเสียค่าปรับ ปี 1634 เริ่มเก็บภาษีเรือ(หมายเหตุ : เป็นภาษีที่จัดเก็บขึ้นเพื่อรับมือกับโจรสลัด
ที่มักโจมตีต่อหมู่บ้านตามชายฝั่งทะเลของราชอาณาจักรในศตวรรษที่ 11-12 ได้ถูกยกเลิกไปก่อนหน้านี้แล้ว)
ปี 1635-1637 การเก็บภาษีเรือถึงกับขยายไปสู่แคว้นต่างๆ ที่เป็นดินแดนชั้นใน เป็นเหตุให้มวลชน
เกิดความไม่พอใจอย่างมาก

การรีดนาทาเร้นของพระเจ้าชาร์ลส์ ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น การผลิตตกอยู่ในภาวะสับสนเศรษฐกิจซบเซา
คนว่างงานเพิ่มมากขึ้น การลุกขึ้นสู้ของชาวเมืองเกิดขึ้นไม่ได้ขาด ปี 1639-1640 หัตถกรและคนงาน
ในลอนดอนได้จัดให้มีการเดินขบวนสำแดงกำลังที่มีขนาดใหญ่โต การเคลื่อนไหวของชาวนาในระหว่าง
ทศวรรษที่ 1630-1640 ก็ปรากฏกระแสสูงใหม่ ปี 1632 และปี 1638 ชาวนาในแคว้นเคมบริดจ์
ได้ก่อการเคลื่อนไหวคัดค้านขบวนการกว้านที่ดิน จากนั้นก็ขยายตัวไปยังแคว้นอื่นๆ ปี 1639-1640
ชาวนาในแคว้นลินคอล์นก็ขยายการต่อสู้คัดค้านขบวนการกว้านที่ดินที่มีขนาดใหญ่โตขึ้น พวกเขา
ได้บุกเข้าทำลายทำนบกั้นน้ำ ปล่อยน้ำเข้าท่วมที่ดินสาธารณะที่ถูกยึดครอง การต่อสู้อย่างกว้างขวาง
ของประชาชนผู้ใช้แรงงาน เป็นนิมิตหมายของมรสุมการปฏิวัติที่กำลังคืบใกล้เข้ามาทุกที การลุกขึ้นสู้
ในสก๊อตแลนด์ก็ยิ่งเร่งฝีก้าวให้การพัฒนาสถานการณ์ปฏิวัติขยายตัวเร็วยิ่งขึ้น

ภายหลังที่บัลลังก์กษัตริย์ของสก๊อตแลนด์รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับของอังกฤษแล้วทางสก๊อตแลนด์
ก็ยังคงรักษาไว้ซึ่งอำนาจการปกครองตนเองไม่น้อย เพื่อเสริมความมั่นคงให้กับอำนาจของกษัตริย์
พระเจ้าชาร์ลส์พยายามสร้างฐานะการปกครองของศาสนานิกายอังกลิกัลขึ้นในสก๊อตแลนด์ แต่ถูกคัดค้าน
จากขุนนางและชนชั้นนายทุนของสก๊อตแลนด์อย่างเด็ดเดี่ยว ทั้งใช้คณะเพรสไบเทอร์เรียนของสก๊อตแลนด์
ไปคัดค้านคณะอังกลิกัล ปี 1637 สังฆราชใหญ่ลอด มีคำสั่งให้คณะเพรสไบเทอร์เรียนของสก๊อตแลนด์
ใช้บทสวดวิงวอนของคณะอังกลิกัลในพิธีกรรมทางศาสนา หวังสร้างระบอบเผด็จการในสก๊อตแลนด์
คำสั่งนี้ได้กลายเป็นชนวนการลุกขึ้นสู้ของสก๊อตแลนด์ ในปี 1638-1639 ชาวสก๊อตแลนด์ได้โจมตี
กองทหารของอังกฤษแตกกระเจิง และเข้าสู่ดินแดนอังกฤษเป็นครั้งแรก เพื่อจัดหางบค่าใช้จ่ายทางทหาร
กษัตริย์ชาร์ลส์ถูกบีบจำต้องเรียกประชุมรัฐสภาในเดือนเมษายน 1640 ภายใต้กระแสสูงของ
การเคลื่อนไหวของมวลชน รัฐสภาปฏิเสธคำเรียกร้องของบทางทหารของกษัตริย์ ทั้งรุกฆาตกษัตริย์
ให้จัดการลงโทษพวกขุนนางสอพลอ ยกเลิกมาตรการทั้งปวงที่กำหนดขึ้นแบบรวบอำนาจในช่วงไม่มีรัฐสภา
เดือนพฤษภาคม กษัตริย์ชาร์ลส์จัดการยุบรัฐสภา การประชุมรัฐสภาครั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มเปิดสมัยประชุมจนถูกยุบ
มีช่วงเวลาสั้นๆ ไม่ถึง 1 เดือน ในประวัติศาสตร์จึงเรียกว่า "รัฐสภาช่วงสั้น"

หลังยุบรัฐสภา 1 วัน คือวันที่ 6 พฤษภาคม ในลอนดอนมีการเดินขบวนสำแดงกำลังคัดค้านรัฐบาลเผด็จการ
ที่แสดงออกเอาการเอางานที่สุดคือ คนงานหัตถกรรมและผู้ฝึกงาน ผู้เข้าร่วมยังมีกะลาสีเรือ กรรมกรท่าเรือ
และพวกทำงานรับจ้างเบ็ดเตล็ด วันที่ 14 พฤษภาคม มวลชนในลอนดอนออกปฏิบัติการอีก
โดยการบุกโจมตีคุกตะราง หวังจะช่วยเหลือมวลชนที่ถูกจับอันสืบเนื่องจากการเดินขบวนสำแดงกำลัง
ในวันที่ 6 พฤษภาคม ชาวนาในท้องที่ต่างๆ นอกลอนดอนพากันโถมตัวเข้าต่อสู้แย่งชิงที่ดินของตน
กลับคืนมาและช่วงชิงสิทธิผลประโยชน์ของตนเองเพื่อหนุนช่วยซึ่งกันและกัน หมู่บ้านต่างๆ ที่เข้าร่วม
การเคลื่อนไหวได้จัดตั้งเป็นแนวร่วม เริ่มแต่ฤดูใบไม้ผลิ ปี 1640 และต่อจากนั้นมาเป็นเวลา 12 ปี
การเคลื่อนไหวของมวลชนพัฒนาเติบใหญ่มิได้ขาดกลายเป็นแหล่งที่มาของขุมกำลังปฏิวัติอันหนาแน่น
ราชวงศ์สจ๊วตกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤติทางการเมืองอย่างลึกซึ้ง
บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2006, 11:27:24 AM »

ประวัติศาสตร์โลกยุคใกล้ บทที่ 2 การปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษในศตวรรษที่ 17

ตอนที่ 2 การปฏิวัติเริ่มต้นขึ้น สงครามภายในประเทศ 2 ครั้งและการสถาปนาสาธารณรัฐ

การเปิดประชุมรัฐสภาช่วงยาว ขั้นใหม่ในการคัดค้านเผด็จการทรราชของมวลประชา

เดือนสิงหาคม 1640 ชาวสก๊อตแลนด์ได้ก่อการโจมตีระลอกใหม่ กษัตริย์ชาร์ลส์เผชิญกับสถานการณ์คับขัน
จำใจต้องเรียกประชุมรัฐสภาอีก ผลการเลือกตั้งในรัฐสภาใหม่ ปรากฏว่าชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่
ได้รับชัยชนะอีก สมาชิกรัฐสภาช่วงสั้น มีกว่าครึ่งได้รับเลือกเข้ามาใหม่ รัฐสภาใหม่นี้ดำรงอยู่จนถึง
เดือนเมษายน 1653 ในประวัติศาสตร์เรียกว่า "รัฐสภาช่วงยาว" รัฐสภาช่วงยาวที่มีชนชั้นนายทุนและ
ขุนนางใหม่เป็นฐาน เคยมีบทบาทเป็นศูนย์การนำของการปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษในชั่วระยะหนึ่ง
การเปิดประชุมรัฐสภาช่วงยาวเป็นนิมิตหมายแสดงว่า การต่อสู้คัดค้านเผด็จการทรราชของมวลประชา
ได้ก้าวเข้าสู่ขั้นใหม่แล้ว การเปิดฉากโหมโรงปฏิวัติชนชั้นนายทุนได้เริ่มขึ้นแล้ว

ฤดูใบไม้ร่วงต่อฤดูหนาวของปี 1640 ในขณะที่มีการประชุมรัฐสภาช่วงยาวนั้น มวลชนในนครหลวง
เปี่ยมล้นด้วยจิตใจปฏิวัติ เจ้าหน้าที่ตำรวจในลอนดอนได้ถอนกำลังออกจาก "เขตเมือง" ลอนดอน
ด้วยความหวาดกลัวมวลชน ชาวเมืองในลอนดอนพากันเฮโลเข้าไปในเขตเมือง พวกเขาบุกเข้าไปในวิหาร
ชุมนุมอยู่ในห้องโถงใหญ่ อภิปรายปัญหาเกี่ยวกับแผน กโลบายของราชสำนัก ประกาศบนท้องถนนว่า
จะลงโทษผู้วางแผน กโลบาย ปฏิปักษ์ปฏิวัติสถานหนัก กดความฮึกเหิมของราชสำนักและสังฆราชลง
เมื่อการปฏิวัติมีบรรยากาศสู้รบสูงขึ้น รัฐสภาช่วงยาวได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ทำให้การต่อสู้กับ
กษัตริย์ เข้มแข็งขึ้น

อำนาจการนำต่อรัฐสภาช่วงยาวยุคแรกอยู่ในมือของกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน ในจำนวนสมาชิกรัฐสภา
500 กว่าคน มีอยู่ 400 กว่าคนมาจากผู้พิพากษาศาลรักษาความสงบและผู้เคยดำรงตำแหน่งบริหารงานท้องถิ่น
ผู้นำในรัฐสภายังคงเป็น พิม และฮัมป์เดน ที่เคยนำการต่อสู้ในรัฐสภาสมัยต่างๆ มาแล้ว เนื่องจากมีการสนับสนุน
ของประชาชนอย่างล้นหลาม พอเริ่มต้นรัฐสภาก็ทำการจับกุมตัว สตราฟฟอร์ด และสังฆราชใหญ่ลอด
ซึ่งเป็นผู้ที่ประชาชนเคียดแค้นชิงชังอย่างที่สุด ทั้งได้ตัดสินประหารชีวิตฐานทรยศกบฏชาติ กษัตริย์ชาร์ลส์
ปฏิเสธไม่ทรงยินยอมลงปรมาภิไธยในคำตัดสิน ต่อเมื่อหัตถกร ผู้ช่วยงาน ลูกมือผู้ฝึกงาน กะลาสีเรือและ
กรรมกรท่าเรือ จะบุกเข้าไปในไวท์ฮอลล์ จึงถูกบีบให้ทรงยินยอมลงปรมาภิไธยในคำตัดสินประหารชีวิต
สตราฟฟอร์ด วันที่ 12 พฤษภาคม 1641 สตราฟฟอร์ดถูกส่งตัวเข้าสู่หลักประหาร ลอดก็ถูกประหารชีวิต
ในเวลาต่อมา ศาลของศาสนจักรอันได้แก่ "ศาลสูงสุด" ซึ่งเป็นเครื่องมือเผด็จการของกษัตริย์ก็ถูกสั่งยกเลิก
ประกาศ คำสั่งเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ไม่ได้ผ่านการอนุมัติของรัฐสภาล้วนไมผลบังคับใช้ ปี 1641
กษัตริย์ชาร์ลส์ถูกบีบจำต้องลงปรมาภิไธยใน "กฏ 3 ปี" ซึ่งกำหนดว่าอย่างน้อยเวลา 3 ปี
ต้องเปิดสมัยประชุมรัฐสภา 1 ครั้ง นอกจากความเห็นชอบของรัฐสภาเองแล้วจะทำการยุบสภาไม่ได้
ข้อกำหนดต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นการโจมตีต่อระบอบเผด็จการศํกดินาอย่างหนักหน่วง

เดือนพฤศจิกายน 1641 รัฐสภาผ่านเอกสารที่เรียกว่า "หนังสือประท้วงใหญ่" รวม 204 ข้อ
โดยหยิบยกโทษกรรมของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ก่อไว้ใน 10 ปีหลัง แต่ไม่ได้กล่าวถึงขบวนการกว้านที่ดิน
การปล้นชิงต่อชาวนาและสภาพอันยากจนข้นแค้นของกรรมกร เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานของเอกสารคือ
ขอให้ประกันเสรีภาพในอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ตั้งรัฐบาลที่มีระบบรับผิดชอบต่อรัฐสภา
ใช้คณะเพรสไบเทอร์เรียนแทนคณะอังกลิกัลเป็นต้น หนังสือประท้วงใหญ่คือ หลักนโยบายทางการเมือง
ของชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่ในการปฏิวัติยุคแรก จุดมุ่งหมายก็เพื่อดัดแปลงประเทศอังกฤษ
เป็น การปกครองในระบอบรัฐสภาของชนชั้นนายทุนโดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ นั่นเอง
(ความเห็นส่วนตัวว่าน่าจะเป็นที่มาของการร่างรัฐธรรมนูญของไทย)

ชาร์ลส์ปฏิเสธ "หนังสือประท้วงใหญ่" ทั้งเสริมการปองร้ายต่อสมาชิกฝ่ายค้านในรัฐสภาหนักมือยิ่งขึ้น
วันที่ 3 มกราคม 1642 กษัตริย์ชาร์ลส์ไปที่สภาล่างบัญชาการจับกุมผู้นำฝ่ายค้าน 5 คน อันมี พิม และฮัมป์เดน
เป็นต้นด้วยพระองค์เอง แต่พวกเขาได้หลบเข้าไปอยู่ในเขตเมืองซึ่งซึ่งมีกำลังของชนชั้นนายทุนรวมศูนย์อยู่
ทั้งมีกองกำลังติดอาวุธของชาวเมืองคอยพิทักษ์รักษาอยู่ ในขณะที่กษัตริย์ชาร์ลส์เดินออกจากตึกรัฐสภา
มวลชนที่ชุมนุมอยู่หน้าประตูใหญ่ได้ส่งเสียงโห่ร้องประณามและขว้างใบปลิวปฏิวัติใส่พระองค์ วันรุ่งขึ้นกษัตริย์ชาร์ลส์
ไปทำการตรวจค้นที่เขตเมืองอีก แต่ก็ถูกมวลชนและกองกำลังติดอาวุธของชาวเมืองหลายพันคนเข้าขัดขวางอีก
ชาวนาผู้มีนาทำเองในแคว้นบัคกิ้งแฮมป์ ซึ่งเป็นถิ่นบ้านเกิดของฮัมป์เดน พากันเดินทางมาหนุนช่วยฝ่ายปฏิวัติในเขตเมือง
ชาวนาผู้มีนาทำเองในแคว้นต่างๆ ที่อยู่ใกล้กรุงลอนดอน ก็พากันมุ่งหน้าสู่นครหลวงรวมตัวกับพวกหัตถกร ผู้ช่วยงาน
และลูกมือฝึกงานในลอนดอนจัดตั้งเป็นกองทหารบ้านร่วมกันพิทักษ์รักษารัฐสภา วันที่ 10 มกราคม
สมาชิกรัฐสภาผู้นำฝ่ายค้าน 5 คนได้กลับเข้าไปในรัฐสภาอีก

กษัตริย์ชาร์ลส์รู้สึกว่าตนเองตกอยู่ในฐานะโดดเดี่ยวโดยสิ้นเชิงในกรุงลอนดอน จึงลอบหนีออกจากนครหลวงอย่างเงียบๆ
ในวันเดียวกับที่ 5 ผู้นำฝ่ายค้านกลับเข้ารัฐสภา มุ่งหน้าสู้เมืองยอร์ชทาวน์ มุ่งหวังจะไปหาเสียงสนับสนุนจากขุนนาง
ในแคว้นต่างๆ ของภาคเหนือและภาคกลาง รวบรวมสมัครพรรคพวกทำการดิ้นรนสุดชีวิต วันที่ 22 สิงหาคม 1642
กษัตริย์ชาร์ลส์ได้ชักธงมหาราชบนยอดเขาเล็กๆลูกหนึ่งในน๊อตติ้งแฮมป์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ตามประเพณีสืบทอด
ที่แสดงว่าองค์ประมุขกำลังเรียกระดมบรรดาขุนนางราชสำนักและเจ้าผู้ครองนครเข้ามาถวายความจงรักภักดี
หมายความว่า ทรงประกาศสงครามกับรัฐสภา อังกฤษได้ก้าวเข้าสู่สงครามกลางเมืองแล้ว

สงครามกลางเมืองครั้งที่ 1 (1642-1646) และนโยบายคัดค้านประชาชนของรัฐสภา

คู่ขนานไปกับสงครามกลางเมืองระเบิดขึ้น ในกลุ่มการเมืองกลุ่มต่างๆ ก้ได้แยกตัวเป็น 2 ค่าย
ที่มีเส้นแบ่งอย่างชัดเจน โดยกลุ่มที่สนับสนุนรัฐสภาเรียกว่า "พรรคหัวกลม" และกลุ่มที่สนับสนุนกษัตริย์
เรียกว่า "พรรคอัศวิน" (หมายเหตุ : สมญานามทั้ง 2 เกิดขึ้นในสมัยที่กลุ่มสนับสนุนกษัตริย์กับรัฐสภาช่วงยาว
เป็นปฏิปักษ์และต่อสู้กันในปี 1642 พวกสาวกนิกายพิวริแตนส์เนื่องจากตัดผมสั้นเกรียนจึงถูกเรียกว่าพรรคหัวกลม
ส่วนขุนนางที่สนับสนุนกษัตริย์มักห้อยกระบี่ ใส่วิกผมปลอมยาวประบ่า จึงถูกเรียกว่าพรรคอัศวิน)
แคว้นต่างๆ ทางภาคตะวันออกซึ่งเศรษฐกิจเจริญสนับสนุนรัฐสภาโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ลอนดอน
ส่วนท้องที่ซึ่งเศรษฐกิจล้าหลังทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือสนับสนุนกษัตริย์
ในด้านศาสนา ผู้ที่สนับสนุนกษัตริย์คือ สาวกนิกายอังกลิกัลกับสาวกนิกายโรมันคาทอลิก ที่ยืนอยู่กับ
ฝ่ายรัฐสภาคือ สาวกนิกายพิวริแตนส์ ขุนนางใหญ่ศักดินา ขุนนางราชสำนักตลอดจนนักการธนาคาร
ที่มีความสัมพันธ์กับราชสำนัก พ่อค้าใหญ่ที่ได้รับอภิสิทธิ์สนับสนุนกษัตริย์
ชนชั้นนายทุนและชนชั้นนายทุนน้อย ขุนนางใหม่ ชาวเมืองที่ยากจนและชาวนาอันกว้างใหญ่ไพศาล
ล้วนสนับสนุนรัฐสภา ทั้งสองฝ่ายต่างเร่งมือรวบรวมกำลังอาวุธและ เงินค่าใช้จ่ายเตรียมการสู้รบ
ที่ลอนดอนเพียงวันเดียวก็มีชาวนาเมืองเข้าร่วมเป็นทหารบ้านถึง 5,000 คน

สงครามพอเริ่มต้น รัฐสภาก็มีความได้เปรียบทั้งด้านกำลังคนและกำลังวัตถุ แต่ว่ากลุ่มที่เป็นคนส่วนใหญ่ในรัฐสภา
คือ กลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน ซึ่งเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของส่วนบนในชนชั้นนายทุนใหญ่และขุนนางใหม่
มีความหวาดกลัวต่อลักษณะปฏิวัติที่เพิ่มทวีขึ้นของมวลชนมีความคิดเห็นให้ประนีประนอมกับกษัตริย์ กลับไปสู่
"วิถีทางปกติของระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ" นายทหารของกองทัพรัฐสภาส่วนใหญ่เป็นขุนนางที่มีความสัมพันธ์
กับส่วนบนของคณะเพรสไบเทอร์เรียนที่กุมอำนาจ ในการรบพวกเขามิใช่พยายามหาวิธีเอาชนะ หากพยายามหาวิธี
ทำอย่างไรให้กษัตริย์เสียหายน้อยหน่อย สร้างเงื่อนไขที่จะเจรจากับกษัตริย์ ฉะนั้นสงครามเกิดขึ้นไม่นานกองทัพของกษัตริย์
ก็สามารถตีกองทัพของรัฐสภาพ่ายแพ้ไป เดือนตุลาคม 1642 กองทัพของกษัตริย์ยึดได้เมืองออกซ์ฟอร์ดและตั้งค่ายใหญ่ที่นั่น
เดือนพฤศจิกายน เข้าโจมตีลอนดอน แต่ว่าความมุ่งหวังที่จะยึดเมืองลอนดอนของฝ่ายกษัตริย์ต้องเลิกล้มไปชั่วคราว
เมื่อถูกตีโต้จากกองทหารบ้านในลอนดอน

ฤดูร้อนปี 1643 กองทัพของกษัตริย์ก็ได้รับชัยชนะติดต่อกันในภาคเหนือและภาคตะวันตก ฤดูใบไม้ร่วงปัเดียวกัน
ฝ่ายกษัตริย์เตรียมบุกโจมตีลอนดอนจาก 3 ด้าน รัฐสภามีฐานะคับขันมากในเวลานี้เอง กองทหารบ้านที่จัดตั้งโดย
ชาวเมืองในนครหลวงได้ปลดปล่อยเมืองกลอสเตอร์อันเป็นเมืองสำคัญทางภาคตะวันตกออกจากการถูกโอบล้อม
โจมตีการรุกของฝ่ายกษัตริย์ล่าถอยไป ขณะเดียวกัน กองทหารม้าเหล็กของ "สหพันธ์ตะวันออก" (หมายเหตุ :
ปลายปี 1642 เมืองต่างๆ ที่อยู่ทางภาคตะวันออก เช่นเมืองนอร์โฟล์ค ซับโฟล์ค อัสเซ็กซ์ เคมบริดจ์ เฮอร์ตฟอร์ต
เป็นต้น ได้รวมเข้าเป็นสหพันธ์) ซึ่งนำโดย ครอมเวลล์ ได้โจมตีการรุกของข้าศึกล่าถอยไป
ในการสู้รบกวาดล้างกองทัพของฝ่ายกษัตริย์ในแคว้นลินคอล์นจนหมดสิ้นกอบกู้สถานการณ์ไว้ได้

ในการต่อสู้ ประชาชนได้แสดงออกให้เห็นซึ่งกำลังอันมหาศาล แต่ว่ารัฐสภาที่ควบคุมโดย
กลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน ไม่ไปจัดตั้งประชาชนเข้าร่วมการต่อสู้คัดค้านกษัตริย์ หากรอคอยแต่การช่วยเหลือ
จากชนชั้นนายทุนและขุนนางในสก๊อตแลนด์ ปี 1643 รัฐสภาช่วงยาวได้สร้างพันธมิตรกับรัฐสภาสก๊อตแลนด์
ทางสก๊อตแลนด์รับปากจะส่งทหาร 20,000 คน ไปช่วยโดยรัฐสภาช่วงยาวเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทางทหารให้
เดือนกรกฏาคม 1644 ในการยุทธที่ทุ่งหญ้ามาร์สตัน อันเป็นการยุทธที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งนับแต่เกิดสงครามกลางเมือง
เป็นต้นมา กองทัพรฐสภาได้รับชัยชนะ จากนั้นมาสิทธิเป็นฝ่ายกระทำในสงครามได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือฝ่ายรัฐสภา
ชัยชนะในการรบครั้งนี้ มิใช่เกิดจากกองทหารม้าของสก๊อตแลนด์เข้าร่วมรบ หากเป็นผลจากการเคลื่อนไหวปฏิวัติ
ในท้องที่ต่างๆ ที่มีกระแสสูงขึ้นตลอดจนการต่อสู้กับพรรคอัศวิน ของชาวนาและชาวเมืองอย่างไม่ขาดสายเป็นสำคัญ
กองทหารม้าที่บัญชาโดยครอมเวลล์เกิดบทบาทที่สำคัญในการยุทธครั้งนี้ แต่กองทหารที่นำโดยนายทหารของ
กลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน ในสมรภูมิภาคใต้กลับถูกกองทัพฝ่ายกษัตริย์ตีแตกยับเยิน ทำให้ชัยชนะที่ได้รับ
ทางภาคเหนือก็ถูกหักล้างไปด้วย

ความพ่ายแพ้ทางทหารและนโยบายที่ปราบปรามการปฏิวัติของกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน
ก่อให้เกิดความไม่พอใจโดยทั่วไป ในเขตควบคุมของรัฐสภา การต่อสู้ของมวลชนที่คัดค้านเผด็จการคัดค้าน
นโยบายรัฐสภานั้น มีรูปแบบหนึ่งที่ใช้รูปแบบการต่อสู้ภายใต้เสื้อคลุมของศาสนา ปลายปี 1643 รัฐสภา
กำหนดให้ใช้คณะเพรสไบเทอร์เรียนแทนที่คณะอังกลิกัล โดยกำหนดให้คณะเพรสไบเทอร์เรียนเป็นศาสนา
ของทางการที่ทุกคนจะต้องนับถือ ดังนั้น การต่อสู้คัดค้านการบีบบังคับให้นับถือศาสนาจึงประสานเข้ากับ
การต่อสู้คัดค้านอำนาจรัฐปัจจุบัน ทั้งในเมืองและชนบทได้ปรากฏองค์การจัดตั้งทางศาสนาจำนวนมาก
ดำเนินการปลุกระดมภายใต้เสื้อคลุมของฝ่ายค้านทางศาสนา อีกรูปแบบหนึ่งคือ การเคลื่อนไหวของ
ชาวไม้กระบอง ซึ่งเกิดขึ้นในดินแดนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือและต่อมาได้แผ่ขยายตัวไปในดินแดน
ถึง 1 ใน 4 ของประเทศ เนื่องจากชาวนาที่ลุกขึ้นสู้ใช้ไม้กระบองและเครื่องมือการผลิตติดอาวุธให้ตนเอง
ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า "ชาวไม้กระบอง" ชาวไม้กระบองมีกำลังคนถึง 50,000 คน มวลชนพื้นฐานคือชาวนาที่ยากจน
แต่อำนาจการนำกุมอยู่ในมือของชาวนาที่ร่ำรวย ในการสู้รบกับกองทหารฝ่ายกษัตริย์ของชาวไม้กระบอง
ได้เกิดบทบาทต่อการหนุนช่วยกองทัพฝ่ายรัฐสภา แต่ว่า เมื่อใดที่กองทัพฝ่ายรัฐสภาทำการปล้นชิงและ
ย่ำยีชาวนาเช่นเดียวกับกองทัพฝ่ายกษัตริย์ ชาวไม้กระบองก็จะทำการตอบโต้อย่างเหมาะสม
การเคลื่อนไหวของชาวไม้กระบองเนื่องจากขาดการนำที่ถูกต้อง ทั้งไม่มีการจัดตั้งที่แน่นอนและ
เป้าหมายที่แจ่มชัด ต่อมาจึงสลายตัวไปจากการปราบปรามของกองทัพรัฐสภา

กระแสสูงการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของมวลชน ความไม่พอใจต่อรัฐสภาของกลุ่มศาสนาต่างๆ ได้บั่นทอน
ฐานะในรัฐสภาของกลุ่มเพรสไบเทอร์เรียนให้อ่อนแอลงชั่วคราว ทั้งทำให้กลุ่มเสียงส่วนน้อยในรัฐสภา
ซึ่งก็คือ กลุ่มอิสระซึ่งเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนกลางและขุนนางชั้นกลางและชั้นผู้น้อย
มีกำลังเข้มแข็งขึ้น โอลิเวอร์ ครอมเวลล์(Cromwell Oliver 1599-1658)

ผู้นำกลุ่มอิสระก็คือ นักปฏิวัติชนชั้นนายทุนที่เกิดขึ้นตามความเรียกร้องต้องการในขณะนั้นเขาถือกำเนิด
ในครอบครัวเจ้าที่ดินขนาดกลางใน ฮันติงดอนซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเคมบริดจ์ เขาเป็นขุนนางใหม่ที่เป็น
แบบฉบับคนหนึ่ง เป็นสาวกผู้เคร่งในศาสนานิกายพิวริแตนส์ ตระกูลของเขาได้ดิบได้ดีจากการแย่งชิง
ศาสนสมบัติของโรมันคาทอลิก เขามีความเคียดแค้นชิงชังศาสนจักรโรมันคาทอลิกมาก เดือนพฤศจิกายน
ครอมเวลล์เข้าร่วมประชุมรัฐสภา ได้เสนอให้ยกเลิกระบบสังฆราช ปีถัดมาเขาร่วมร่าง "หนังสือประท้วงใหญ่"
พอสงครามกลางเมืองปะทุขึ้น เขาได้รวบรวมชาวนาผู้มีนาทำเองในสังกัดบัญชีหลวงในเคมบริดจ์
ระดมสาวกในนิกายเดียวกัน จัดตั้งเป็น "กองทหารม้าเหล็ก" โดยอาศัยความเชื่อมั่นศรัทธาในศาสนา
ไปปลุกเร้าจิตใจสู้รบและควบคุมพวกเขา ครอมเวลล์ซื่อสัตย์ต่อผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่
สันทัดในการใช้พลังปฏิวัติของมวลชนไปแสวงผลประโยชน์ให้กับชนชั้นตน เขาอาศัยผลการรบของ
กองทหารม้าเหล็กในการบดขยี้กองทหารของฝ่ายกษัตริย์ กลายเป็นผู้นำที่ชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่ต้องการ

เดือนมกราคม 1645 รัฐสภามอบอำนาจให้ครอมเวลล์จัดตั้งกองทัพใหม่ "กองทัพใหม่" กองนี้
มีกำลังพล 22,000 คน ในจำนวนนี้เป็นกำลังทหารม้า 6,000 คน รวมกองทหารม้าเหล็กอยู่ในนั้นด้วย
กองทัพใหม่ประกอบขึ้นจากชาวนาผู้มีนาทำเองและหัตถกร เปี่ยมด้วยจิตใจปฏิวัติและความศรัทธาของ
สาวกนิกายพิวริแตนส์ ผู้บังคับบัญชาชั้นล่างของกองทัพใหม่ มีไม่น้อยมาจากชาวบ้านธรรมดา
แต่ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงยังคงเป็นพวกขุนนาง อำนาจการบังคับบัญชากุมอยู่ในมือของกลุ่มอิสระ
กองทัพใหม่จัดตั้งขึ้นไม่นาน ก็ได้บดขยี้กองกำลังหลักของกษัตริย์ในการยุทธที่นาสบี ในเดือนมิถุนายน 1646
ได้รับชัยชนะลักษณะชี้ขาด และยุติสงครามกลางเมืองครั้งที่ 1 กษัตริย์หลังจากหลบหนีออกไปอยู่
สก๊อตแลนด์แล้ว ถูกควบคุมตัวโดยชาวสก๊อตแลนด์ ต่อมาไม่นานรัฐสภาได้ใช้เงิน 400,000 ปอนด์
ไถ่ตัวกลับมาคุมขังไว้ในป้อมโบราณแห่งหนึ่งใกล้ๆ เมืองนาสบี

ในขณะที่มวลชนกำลังทำการสู้รบอาบเลือดอยู่ในแนวหน้านั้น พวกชนชั้นนายทุนและขุนนางกลับใช้
อำนาจที่กุมอยู่ในมือของพวกเขา ดำเนินมาตรการในการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของตนเป็นอันมาก เช่น
1) รัฐสภาได้ตั้งคณะกรรมาธิการคณะต่างๆ หลายคณะ เสริมเผด็จการที่มีชนชั้นนายทุนกับขุนนางเป็นพันธมิตรกัน
2) เพื่อเป็นการผลักภาระค่าใช้จ่ายทางทหารไปให้ประชาชน รัฐสภามีมติจัดเก็บภาษีทางอ้อม
3) เพื่อเปิดโอกาสให้พ่อค้าดำเนินการฉวยโอกาสเก็งกำไรจากผืนที่ดิน รัฐสภาจัดการขายทอดตลาดที่ดิน
ที่ริบจากพวกกษัตริย์ในราคาสูง
4) เพื่อเปิดโอกาสให้นักการธนาคารได้ร่ำรวยจากการค้าสงคราม รัฐสภาได้เปลี่ยนพันธบัตรเงินกู้
เป็นขุมทรัพย์ของพวกเขา
5) ปี 1642 รัฐสภายังยกเลิกระบอบกรรมสิทธิ์ที่ดินของอัศวิน ที่ดินกลายเป็นกรรมสิทธิ์เอกชนของขุนนางใหม่
ยกเลิกการเสียเงินรัชชูปการอัศวิน (หมายเหตุ : ตามระบอบศักดินาสมัยกลางของอังกฤษกำหนดว่า พวกอัศวิน
ถือครองที่ดินจะต้องเข้าเกณฑ์ให้กษัตริย์ ศตวรรษที่ 17 พันธะชนิดนี้ได้เปลี่ยนเป็นเสียเงินแทนการเกณฑ์แรงเรียกว่า
เงินรัชชูปการอัศวินและได้ยกเลิกพันธะส่งส่วยศักดินาแก่เจ้าที่ดินใหม่ของชาวนาที่มีที่นาทำเองในสังกัดบัญชีหลวง
และพันธะศักดินาอื่นๆ)
จากนี้ก็ได้สร้างระบอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินของชนชั้นนายทุนขึ้น แต่ว่า รัฐสภาไม่ได้ยกเลิกพันธะส่งส่วยศักดินา
แก่เจ้าที่ดินใหม่ของชาวนาที่มีนาทำเองในสังกัดบัญชีหลวง กระทั่งภาษี 10 ชัก 1 ของศาสนจักร
(หมายเหตุ : เป็นภาษีชนิดหนึ่งที่คริสตจักรในยุโรปเรียกเก็บจากชาวบ้าน ศตวรรษที่ 6 ศาสนจักรอาศัย
บทบัญญัติในคัมภีร์ที่ว่า ผลิตผล 1 ใน 10 ของชาวนาและชาวเลี้ยงสัตว์เป็นของพระผู้เป็นเจ้า เริ่มจัดเก็บภาษี
ปี คศ. 779 ชาร์ลส์มหาราชกำหนดว่า การเสียภาษี 10 ชัก 1 เป็นพันธะอันพึงปฏิบัติของชาวราชอาณาจักรฟรังค์ทุกคน)
ก็จะต้องส่งให้แก่เจ้าที่ดินใหม่ มาตรการของรัฐสภาในสมัยสงครามกลางเมืองนี้ได้รับการต่อต้านจากประชาชน
ทั้งในเมืองและชนบทอย่างหนัก ประชาชนได้เดินขบวนสำแดงกำลังหลายต่อหลายครั้ง ในชนบทได้ปรากฏ
การต่อสู้อันแหลมคมระหว่างชาวนากับเจ้าที่ดิน หลังสงครามกลางเมืองครั้งที่ 1 ยุติลง การต่อสู้ทางชนชั้น
ได้ปรากฏสถานการณ์ใหม่ เปิดฉากการต่อสู้ภายในรัฐสภาเองและระหว่างรัฐสภากับกองทัพ

การแตกแยกและการต่อสู้ภายในค่ายที่คัดค้านศักดินา

หลังชัยชนะของสงครามกลางเมืองครั้งที่ 1 แล้ว ต่อการปฏิรูปในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อปัญหาสำคัญ
ที่ว่าจะปฏิวัติในอังกฤษต่อไปหรือไม่ ได้เกิดความเห็นแตกแยกและต่อสู้กันระหว่างชนชั้นและกลุ่มต่างๆเริ่มต้นจาก
ผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนใหญ่และส่วนบนของขุนนางใหม่ กลุ่มเสียงข้างมากในรัฐสภาช่วงยาวซึ่งก็คือ
กลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน อันเป็นกลุ่มที่กุมอำนาจเห็นว่า เมื่อสงครามกลางเมืองยุติแล้ว การปฏิวัติ
ก็ควรจะยุติลงด้วย พวกเขาลอบติดต่อและสมคบกับกษัตริย์ชาร์ลส์ซึ่งถูกคุมขังอยู่อย่างลับๆ มุ่งหวังจะตั้ง
รัฐบาลระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่สามารถปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ที่ได้มาแล้วของพวกเขา
พยายามขัดขวางการปฏิวัติไม่ให้พัฒนาไปอีกก้าวหนึ่ง

กลุ่มเสียงข้างน้อยในรัฐสภาซึ่งก็คือ กลุ่มอิสระเห็นว่าการปฏิวัติยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ยังมีบริษัทและ
องค์กรผูกขาดมากมายที่เกิดขึ้นจากการขายสัมปทานอย่างไม่บันยะบันยังของกษัตริย์ การแข่งขันอย่างเสรี
ยังไม่ปรากฏเป็นจริง เศษเดนศักดินาที่ขัดขวางการดำเนินกิจการด้วย วิธีแบบใหม่เพื่อได้มาซึ่งผลกำไร
ของคหบดีชั้นกลางนั้นยังคงดำรงอยู่ ชนชั้นนายทุนกลางและขุนนางใหม่เห็นว่า ผลประโยชน์ที่พวกเขาได้รับ
จากการปฏิวัตินั้นยังไม่มากพอ ยังต้องดำเนินการต่อสู้กับกษัตริย์ต่อไป และสิ่งที่พวกเขาทนไม่ได้ก็คือ
การนำเอาคณะเพรสไบเทอร์เรียนมาเป็นศาสนาของทางการ และครอบครองผลประโยชน์ของศาสนจักร
ไว้เพียงผู้เดียว กลุ่มนี้กุมอำนาจ การบัญชากองทัพอยู่ด้วยเหตุนี้ จึงก่อรูปเป็นสถานการณ์ที่กองทัพ
เป็นปฏิปักษ์กับรัฐสภา

แต่ทว่า ภายในกองทัพเองก็เกิดการแตกแยก ที่สำคัญคือความขัดแย้งระหว่างมวลชนพลทหาร
ซึ่งประกอบขึ้นจากชาวนาที่มีนาทำเองกับนายทหารชั้นสูงแหลมคมขึ้น เหล่าพลทหารนับวัน
แต่จะยืนเคียงข้างอยู่กับกลุ่มเสมอภาค ไม่ยอมรับการนำของนายทหารกลุ่มอิสระ

กลุ่มเสมอภาคเป็นกลุ่มที่สะท้อนผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนน้อย พวกเขาหลั่งเลือดเสียสละในสงคราม
แต่การปฏิวัติไม่ได้นำผลประโยชน์อะไรมาสู่พวกเขา หากกลับนำความทุกข์ยาก และ "ทรราชย์ใหม่"
มาสู่พวกเขา พวกเขาเรียกร้องให้ปฏิวัติต่อไป ดำเนินการปฏิวัติประชาธิปไตยให้ซึมลึกยิ่งขึ้น ทางการเมือง
พวกเขาเรียกร้องสิทธิเลือกตั้งทั่วไป ทางเศรษฐกิจเรียกร้องให้เลิกระบบผูกขาดทุกชนิด
ปฏิรูประบบจัดเก็บภาษีอากร ยกเลิกการกว้านที่ดิน พวกเขามีความเรียกร้องให้สถาปนาสาธารณรัฐ
แต่ไม่สู้เด่นชัดนัก
บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2006, 11:29:02 AM »

ผู้นำสำคัญของกลุ่มเสมอภาคคือ นักลัทธิประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน ชื่อ
จอห์น ลิลเบอร์น(Lilburne John 1614-1657)

ลิลเบอร์นเคยถูกจับขังคุกในสมัยการปกครองของกษัตริย์ชาร์ลส์เนื่องจากเขาคัดค้านคณะอังกลิกัล
หลังจากออกจากคุกในปี 1641 แล้ว ก็เข้าเป็นทหารร่วมรบอยู่ในกองทัพรัฐสภา ต่อมาเนื่องจาก
ไม่พอใจต่อนโยบายคัดค้านประชาชนของรัฐสภา จึงลาออกจากกองทัพ ปี 1646 เขาถูกกลุ่ม
คณะเพรสไบเทอร์เรียนจับใส่คุกอีกเนื่องจากเผยแพร่คำพูดและข้อคิดเห็นให้ล้มราชบัลลัก์ เลิกสภาสูง
และเลิกภาษี 10 ชัก 1 เป็นต้น ระหว่างอยู่ในคุกเขาก็ยังคงเคลื่อนไหวต่อไป โดยการออกจุลสาร
ที่โฆษณาเผยแพร่หลักนโยบายทางการเมืองของกลุ่มเสมอภาค เขาเริ่มต้นจากทฤษฏีว่าด้วย
สิทธิมนุษย์เป็นสิทธิฟ้าประทานของชนชั้นนายทุน เห็นว่าคนเราเกิดมาล้วนแล้วแต่เสมอภาค
ล้วนมีสิทธิเท่าเทียมกันในด้านเสรีภาพและความปลอดภัยส่วนบุคคล มีแต่กติกาที่ประชาชน
เห็นชอบด้วยจึงเป็นแหล่งที่มาของอำนาจทางกฏหมาย
(ความเห็นส่วนตัวว่าน่าจะเป็นจุดกำเนิดลัทธิประชาธิปไตย)
เขาประณามรัฐสภาว่าเป็น ทรราชย์ ดุจเดียวกับกษัตริย์ ข้อคิดเห็นของลิลเบอร์น
ไม่ได้ล้ำออกนอกเส้นของชนชั้นนายทุน แต่ว่าความคิดประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของเขา
กลับมีผลสะเทือนในหมู่พลทหารและมวลประชาชนอย่างใหญ่หลวง ปี 1647 พวกพลทหารเรียกร้อง
ให้ปล่อยตัวลิลเบอร์น สานุศิษย์ของเขาก็ดำเนินการจัดตั้งมวลชนพลทหารในกองทัพ ขยายการต่อสู้

กลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียนเห็นว่า กองทัพที่กุมอยู่ในมือของกลุ่มอิสระเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรลุ
แผนกโลบายของพวกเขา ดังนั้น รัฐสภาจึงมีมติสลายกองทัพ ส่วนใหญ่ปลดประจำการกลับบ้าน
ส่วนหนึ่งส่งไปปราบปรามการต่อสู้กู้ชาติของชาวไอร์แลนด์ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1641 มตินี้ได้ก่อให้เกิด
การต่อต้านอย่างรุนแรงภายในกองทัพ เดือนเมษายน 1647 เหล่าพลทหารในกรมกองต่างๆ
ได้เลือกผู้แทนของตน จัดตั้งเป็น "สภานักปลุกระดมพลทหาร" ดำเนินการต่อสู้ทวงเบี้ยเลี้ยงที่ตกเบิก
คัดค้านการสลายกองทัพ ช่วงชิงสิทธิและผลประโยชน์ด้านต่างๆ ครอมเวลล์ในฐานะตัวแทนพันธมิตร
ชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่ชั้นกลางได้เผชิญกับสถานการณ์ใหม่ของการต่อสู้ทางชนชั้นหลังสงคราม

ในชั้นแรกเขามุ่งหวังจะสร้างพันธมิตรกับชนชั้นนายทุนใหญ่และส่วนบนของขุนนางใหม่ร่วมเสพย์ดอกผลของการปฏิวัติ
ไม่มีความเห็นแย้งต่อมติสลายกองทัพของรัฐสภา กระทั่งขอร้อง "นักปลุกระดม" ยอมรับมติของรัฐสภา แต่ถูกคัดค้านอย่างหนัก
จากพลทหาร มาถึงตอนนี้ ครอมเวลล์เล็งเห็นถึงอันตรายทีเขาอาจต้องสูญเสียการสนับสนุนจากพลทหารชั้นล่าง
จึงเปลี่ยนความคิด ตัดสินใจปฏิเสธคำสั่งสลายกองทัพของรัฐสภา ประกาศว่าจะแตกหักกับกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน
วันที่ 2 มิถุนายน เขาคุมตัวชาร์ลส์ไปเก็บไว้ในค่ายทหารนิวมาร์เก็ต เพื่อหยุดยั้งการสมคบคิดกับกษัตริย์ของ
กลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน ขณะเดียวกันครอมเวลล์ยังวางแผนจัดตั้ง "สภากองทัพ" ซึ่งประกอบขึ้นจากผู้แทนของ
นายทหารชั้นสูงและพลทหารชั้นล่าง เพื่อเป็นหลักประกันในการควบคุมกองทัพของเขา เดือนกรกฏาคม พวกพลทหาร
เรียกร้องให้เคลื่อนทัพเข้าสู่กรุงลอนดอน ทำการบดขยี้แผนกโลบายของพวกปฏิกิริยา ครอมเวลล์ได้ขอร้องและขัดขวาง
อย่างสุดความสามารถ ทั้งเสนอให้ "สภากองทัพ" ร่าง "หลักนโยบายการเจรจา" ขึ้นฉบับหนึ่ง เพื่อดำเนินการเจรจากับกษัตริย์
แต่ถูกกษัตริย์ชาร์ลส์ปฏิเสธ เนื่องจากพวกอำนาจเก่าฮึกเหิม ภายใต้แรงกดดันของมวลชนพลทหาร ครอมเวลล์จึงจำต้อง
เคลื่อนทัพเข้าสู่กรุงลอนดอนในเดือนสิงหาคม กวาดล้างพวกวางแผนกโลบายของกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียนจำนวนมาก
พากันหลบหนีหัวซุกหัวซุน กลุ่มอิสระจึงได้กุมอำนาจรัฐสภามาไว้ในมือตนเอง

หลังจากกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียนถูกขับออกจากรัฐสภาแล้ว การต่อสู้ระหว่างนายทหารชั้นบนที่เป็นกลุ่มอิสระ
กับพลทหารชั้นล่างที่เป็นกลุ่มเสมอภาคก็ระเบิดขึ้น ปัญหาที่เป็นใจกลางของการต่อสู้คือ ปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบ
อำนาจรัฐและปัญหาการเลือกตั้งทั่วไป นายทหารกลุ่มอิสระมีข้อคิดเห็นให้ธำรงรักษาไว้ซึ่งระบอบกษัตริย์และสภาสูง
เลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาใหม่โดยยึดถือคุณสมบัติทางทรัพย์สินเป็นหลัก ข้อคิดเห็นเหล่านี้ของพวกเขาได้เขียนไว้ใน
"หลักนโยบายการเจรจา" อย่างแจ่มชัด ส่วนกลุ่มเสมอภาคนั้นเสนอ "กติกาประชาชน" ขึ้นต่อต้าน เสนอข้อคิดเห็นให้ดำเนิน
"สิทธิเลือกตั้งทั่วไป" และสร้างรัฐสภาที่มีสภาเดียวบนพื้นฐานของการเลือกตั้งทั่วไป เป็นสถาบันอำนาจสูงสุดของประเทศ
โดยทางเป็นจริงแล้วนี่เท่ากับเลิกสภาสูงและกษัตริย์ สถาปนาสาธารณรัฐ เพียงแต่ไม่ได้เสนอออกมาอย่างโจ่งแจ้งเท่านั้น
แต่ว่าหลักนโยบายของกลุ่มเสมอภาค ไม่ได้แตะต้องปัญหามูลฐานของการปฏิวัติปัญหาหนึ่ง ซึ่งก็คือ ปัญหาการเรียกร้อง
ที่ดินของชาวนาในสังกัดบัญชีหลวง ละเลยต่อผลประโยชน์ของชาวนาผู้มีนาทำเอง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง
ที่ทำให้การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสมอภาคอ่อนแอไร้พลัง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าหลักนโยบายของกลุ่มเสมอภาคมีลักษณะจำกัด
แต่ก็เคยเกิดบทบาทสำคัญในการผลักดันให้การปฏิวัติพัฒนาซึมลึกยิ่งขึ้น

ปลายเดือนตุลาคม 1647 "กติกาประชาชน" ถูกนำเข้าอภิปรายในสภากองทัพซึ่งเปิดขึ้นในที่แห่งหนึ่งใกล้ๆ กรุงลอนดอน
ทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการโต้อภิปรายกันอย่างเผ็ดร้อน ครอมเวลล์เห็นว่า ระบอบกษัตริย์ไม่ควรไปโยกคลอน เขากล่าวว่า
สิทธิเลือกตั้งทั่วไปจะนำไปสู่ภาวะ "อนาธิปไตย" วันที่ 15 พฤศจิกายน กลุ่มเสมอภาคถือโอกาสในพิธีสวนสนามของกองทัพ
ดำเนินการสำแดงกำลัง เขียนคำขวัญ "กติกาประชาชน" "คืนเสรีภาพแก่ประชาชน ให้สิทธิผลประโยชน์แก่พลทหาร"
ติดไว้ที่หน้าหมวกทหาร แต่การสำแดงกำลังครั้งนี้ถูกครอมเวลล์ปราบลงอย่างรวดเร็วผู้นำการเคลื่อนไหวถูกจับใส่คุก
และประหารชีวิต กลุ่มเสมอภาคพ่ายแพ้แล้ว สภากองทัพถูกยุบและถูกแทนที่ด้วยสภานายทหาร

สงครามกลางเมืองครั้งที่ 2 กับการสถาปนาสาธารณรัฐ

ในขณะที่ภายในกองทัพมีการต่อสู้กันอยู่นั้น อิทธิพลปฏิกิริยาก็ได้เงยหัวขึ้นอีกครั้งหนึ่งปลายปี 1647 กษัตริย์ลอบหนี
ออกจากที่คุมขัง แต่หนีไปถึงเกาะไวท์ ก็ถูกจับตัวได้อีก เนื่องจากเกรงว่าการเคลื่อนไหวของมวลชนจะมีกระแสสูงขึ้นอีก
กลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียนของสก๊อตแลนด์ และกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียนของอังกฤษ ต่างก็ส่งคนไปเจรจากับ
กษัตริย์ชาร์ลส์ ทำข้อตกลงลับกัน ฤดูใบไม้ผลิปี 1648 พวกนิยมกษัตริย์ได้อาศัยปัญหาทุพภิกขภัยและความยากลำบาก
ทางเศรษฐกิจได้ก่อการจลาจลในท้องที่ต่างๆ เช่น ลอนดอน เวลส์และเคนต์ มีเรือรบหลายลำก็แปรพักตร์ไปเข้ากับ
ฝ่ายนิยมกษัตริย์ เดือนกรกฏาคม กองทัพสก๊อตแลนด์เคลื่อนกำลังเข้าสู่ภาคเหนือของอังกฤษ สนับสนุนการกบฏของ
กษัตริย์ชาร์ลส์

เบื้องหน้าการคุกคามจากสงครามครั้งใหม่ที่ฝ่ายนิยมกษัตริย์ก่อขึ้น กลุ่มอิสระจึงตัดสินใจประนีประนอมกับ
กลุ่มเสมอภาคชั่วคราว ในที่ประชุมสภากองทัพในเดือนเมษายน 1648 กลุ่มอิสระและกลุ่มเสมอภาคตกลงจับมือกัน
ตีฝ่ายกษัตริย์พ่ายแพ้ไป ผ่านการสู้รบเป็นเวลาหลายเดือนการก่อกบฏในท้องที่ต่างๆ ของฝ่ายกษัตริย์
จึงถูกปราบปรามลงไปได้ สงครามกลางเมืองครั้งที่ 2 ยุติลงด้วยการที่ กรุงเอดินบะระของสก๊อตแลนด์ ถูกยึดครอง

ขณะที่กองทัพออกจากกรุงลอนดอนเพื่อปราบปรามการกบฏของฝ่ายกษัตริย์นั้น กลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน
ก็สร้างฐานะได้เปรียบในรัฐสภาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งดำเนินการเจรจากับกษัตริย์เกี่ยวกับการคืนสู่ราชบัลลังก์
ต้นเดือนธันวาคม กองทัพเคลื่อนกำลังเข้าสู่กรุงลอนดอน เข้าควบคุมรัฐสภา ทำการกวาดล้างสมาชิกรัฐสภา
กลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียนที่วางตัวเป็นศัตรูกับกองทัพจำนวน 140 กว่าคน ด้วยเหตุจากการกวาดล้างและ
สมาชิกบางส่วนจงใจไม่เข้าร่วมประชุม ทำให้สมาชิกที่เข้าร่วมประชุมมีเพียง 50-60 คนเท่านั้น
ต่อมารัฐสภาช่วงยาวจึงถูกขนานนามว่า "รัฐสภาไม่สมประกอบ"

รัฐสภาดำเนินการต่อสู้ต่อไปในปัญหาพิจารณาพิพากษาโทษกษัตริย์ชาร์ลส์ สภาล่างใช้เวลาอภิปรายเกือบ 1 เดือนเต็มๆ
จึงเสนอให้ส่งตัวชาร์ลส์ขึ้นศาลฐานทรยศกบฏชาติ แต่ว่าสภาสูงซึ่งมีสมาชิกสภาเหลืออยู่เพียง 16 คนกลับใช้สิทธิยับยั้ง
ภายใต้แรงกดดันอย่างหนักของพลทหารและมวลชน กลุ่มอิสระภายหลังที่ประกาศให้สภาล่างเป็นสถาบันอำนาจสูงสุดแล้ว
ได้ผ่านมติจัดตั้งศาลสูงพิเศษที่ประกอบด้วยบุคคลจากรัฐสภาและกองทัพรวม 135 คนทำการพิจารณาพิพากษาคดีของ
กษัตริย์ชาร์ลส์ ในวันที่ 6 มกราคม 1649 ถึงวันที่ 27 เดือนเดียวกันศาลอ่านคำพิพากษาว่า ชาร์ลส์แห่งราชวงศ์สจ๊วต
เป็นทรราชย์ ผู้ทรยศ อาชญากรฆ่าคน และศัตรูร่วมของประชาชน ให้สำเร็จโทษเสีย วันที่ 30 มกราคม
ท่ามกลางเสียงชัยโยโห่ร้อง ชาร์ลส์ถูกบั่นพระเศียร

ภายหลังกษัตริย์ชาร์ลส์สิ้นพระชนม์ รัฐสภาของกลุ่มอิสระได้ผ่านกฏหมายจำนวนมาก ในการประชุมระหว่าง
เดือนกุมภาพันธ์-เดือนพฤษภาคม 1649 ยกเลิกสภาขุนนาง กำหนดให้รัฐสภาที่มีสภาเดียวเป็นสถาบันอำนาจสูงสุด
ของประเทศ และมอบอำนาจบริหารให้กับคณะรัฐมนตรีที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพซึ่งมีครอมเวลล์เป็นผู้นำ
เดือนพฤษภาคม รัฐสภาประกาศให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐ

กระแสสูงใหม่ของการต่อสู้ช่วงชิงประชาธิปไตยของมวลประชาชน กลุ่มขุดดิน

ภายหลังสถาปนาสาธารณรัฐ กลุ่มอิสระได้ยึดอำนาจรัฐไว้ในมือ สร้างเผด็จการชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่
ในด้านเศรษฐกิจ กลุ่มอิสระยังคงดำเนินนโยบายของคณะเพรสไบเทอร์เรียนต่อไปรีดนาทาเร้นคนยากคนจน
ปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่อย่างอย่างสุดกำลังในทางการเมืองปฏิเสธการปฏิรูปใดๆที่จะ
ดำเนินไปอีกก้าวหนึ่ง เป็นเหตุให้การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสมอภาคมีกระแสสูงขึ้นและการลุกฮือแข็งข้อของพลทหาร
ลิลเบอร์นประณามคณะรัฐมนตรีอย่างเปิดเผยว่า มันคือเตียงนอนอันอบอุ่นของทรราชใหม่ รัฐบาลของกลุ่มครอมเวลล์
เป็นราชวงศ์ที่เผด็จการยิ่งกว่า ป่าเถื่อนยิ่งกว่าราชวงศ์ที่ผ่านมา เดือนมิถุนายน ลิลเบอร์นกับมิตรร่วมรบของเขา
ส่วนหนึ่งถูกจับ เพื่อจะทำลายกลุ่มเสมอภาคในกองทัพ ครอมเวลล์ตัดสินใจส่งพวกเขาไปปราบปรามการลุกขึ้นสู้
ทางประชาชาติของไอร์แลนด์ กลุ่มเสมอภาคดำเนินการต่อสู้ชนิดมาไม้ไหนไปไม้นั้น พวกเขาเสนอให้จ่ายเงิน
เบี้ยเลี้ยงตกเบิก คัดค้านการส่งทหารไปยังไอร์แลนด์และเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางการเมืองเป็นต้น พวกเขา
ดำเนินการปลุกระดมในกองทัพ เดือนพฤษภาคมกองทหารบางกรมกองที่ถูกส่งไปยังไอร์แลนด์ ขณะที่เดินทางไป
ถึงท้องที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ได้ก่อการลุกฮือแข็งข้อขนานใหญ่ การลุกขึ้นแข็งข้อของกองทหารทำให้รัฐสภา
และรัฐบาลตกอกตกใจเป็นกำลัง ครอมเวลล์เล่นลูกไม้ใหม่โดยยุแหย่ให้เกิดความแตกแยกระหว่างกรมกองต่างๆ
เขาใช้คำมั่นสัญญาว่าจะดำเนินตาม "กติกาประชาชน" เปิดประชุมรัฐสภาใหม่ และจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงตกเบิก
เป็นเหยื่อล่อ ไปทำให้หน่วยทหารอีกส่วนหนึ่งอยู่ในความสงบ ทั้งเสือกไสพวกเขาไปปราบปรามหน่วยทหาร
ที่ลุกขึ้นสู้ ครอมเวลล์ยังนำหน่วยทหารที่ประกอบด้วยชนชั้นชาวนาที่รวยด้วยตัวเอง ไปทำการปราบปราม
กลุ่มเสมอภาคที่ลุกขึ้นสู้อย่างโหดร้าย

ในเวลาเดียวกับที่กลุ่มเสมอภาคดำเนินการต่อสู้กับกลุ่มครอมเวลล์นั้น คนยากจนในชนบทก็ดำเนินการต่อสู้ช่วงชิง
ให้แก้ปัญหาที่ดินตามผลประโยชน์ของชาวนา ที่เด่นที่สุดในหมู่พวกเขาคือ "กลุ่มเสมอภาคที่แท้จริง" หรือ
"กลุ่มขุดดิน" การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสมอภาคโดยมูลฐานแล้วไม่ได้ล้ำออกนอกขอบเขตการช่วงชิงสิทธิ
เลือกตั้งทั่วไปของชนชั้นนายทุน กลุ่มขุดดินเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชาวนาที่ยากจนอันกว้างใหญ่ไพศาล
สะท้อนออกซึ่งความคิด ลัทธิคอมมิวนิต์เฉลี่ยบรรพกาล ที่เรียบๆ ของชาวนา พวกเขาเห็นว่า บนผืนปฐพี
ที่หล่อเลี้ยงด้วยหยาดเหงื่อและหยดเลือดของประชาชน ประชาชนไม่เพียงแต่ควรได้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปเท่านั้น
หากควรได้รับที่ดินด้วย ที่ดินที่แต่ละคนครอบครองควรจำกัดแค่ความจำเป็นในการดำรงชีพของแต่ละคนเท่านั้น
ที่ดินของกษัตริย์ ของรัฐ ของศาสนจักรและของพวกนิยมกษัตริย์จะต้องจัดสรรส่วนหนึ่งมาแบ่งให้ชาวนา
เนื่องจากกลุ่มอิสระก็เช่นเดียวกับกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน ไม่ได้ให้ผลประโยชน์อะไรในทางเป็นจริงแก่ชาวนา
ชาวนาที่ยากจนจึงลงมือแก้ปัญหาที่ดินด้วยตนเอง

นักคิดและผู้นำของกลุ่มขุดดินคือ เกอร์ราด วินสแตนเลย์(Winstanley Gerrard 1609-1652)
เขาเป็นพ่อค้าย่อยล้มละลายในกรุงลอนดอน ต่อมาไปเป็นชาวนารับจ้างในแคว้นซารีย์ใกล้ๆ กรุงลอนดอน
วินสแตนเลย์ ดำเนินการเคลื่อนไหวในนามคนยากจนที่ถูกกดขี่ทั้งปวงของอังกฤษโฆษณาความคิด
ลัทธิคอมมิวนิต์เฉลี่ยบรรพกาล เรียกร้องให้ทำลายระบอบกรรมสิทธิ์เอกชนในการถือครองที่ดิน
มีความคิดเห็นว่า คนทุกคนล้วนต้องออกแรงทำงาน มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในด้านสิทธิผลประโยชน์
กลับไปสู่ภาวะธรรมชาติของระบอบถือครองที่ดินโดยส่วนรวม แต่ว่าเขามีความคิดเห็นว่า ให้ใช้ "ความรัก"
และการกระทำที่เป็นแบบอย่างไปส่งผลสะเทือนต่อผู้อื่น คัดค้านการใช้กำลังไปทำลายระบอบกรรมสิทธิ์เอกชน
เพ้อฝันจะผ่านจากโครงการปฏิรูปสังคมแบบยูโธเปีย ไปทำให้ระบอบกรรมสิทธิ์สาธารณะปรากฏเป็นจริงขึ้น
เขายังเห็นว่าไม่เพียงแต่คนยากจนเท่านั้นที่จะเข้าร่วมการเคลื่อนไหวของกลุ่มขุดดิน แม้แต่พวกเจ้าของที่ดิน
เมื่อได้รับรู้ถึงลักษณะชอบธรรมในการเคลื่อนไหวของกลุ่มขุดดินแล้ว ก็ล้วนจะต้องยอมสละที่ดินของตนเอง
คำเทศนาโวหารเกี่ยวกับความรักของวินสแตนเลย์ ได้ลบประกายคมกล้าของความคิดปฏิวัติของเขาลงไปไม่น้อย

เดือนเมษายน 1649 ชาวนากลุ่มหนึ่งได้ไปบุกเบิกที่ดินที่ภูเขาเซนต์จอร์จ ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้ๆ กรุงลอนดอน
พวกเขาทำงานอยู่ด้วยกัน ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ขนานนามตนเองว่า "พวกขุดดิน" ต่อมาในท้องที่ต่างๆ เช่น
นอร์ตแธมป์ตัน บักกิ้งแฮม กลอสเตอร์ ฮันติงดอน ลันคาร์เชียร์ ลินคอล์น เป็นต้น ล้วนได้ปรากฏการเคลื่อนไหว
ของกลุ่มขุดดิน การเคลื่อนไหวแม้จะมีลักษณะสันติทั้งเป็นการบุกเบิกที่ดินรกร้างว่างเปล่า ไม่ได้แตะต้อง
ระบอบกรรมสิทธิ์เอกชน แต่ยังไม่วายถูกรัฐบาลขับไล่และสั่งห้าม ต่อมาไม่นานการเคลื่อนไหวของกลุ่มขุดดิน
ในท้องที่ต่างๆ ล้วนถูกกองทหารปราบปรามลงไปตามลำดับ

การลุกขึ้นสู้ทางประชาชาติของไอร์แลนด์ถูกปราบปราม

เกาะไอร์แลนด์ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติคทางภาคตะวันตกของยุโรปกับสก๊อตแลนด์และอังกฤษ
เพียงมีช่องแคบขวางกั้นเท่านั้น เดิมมีชนเผ่าต่างๆ ของชนชาติเคลตาอาศัยอยู่ นับแต่ตรึ่งหลังศตวรรษที่ 12
อังกฤษก็เริ่มรุกรานเข้าสู่ไอร์แลนด์ ถึงศตวรรษที่ 16 ก็เริ่มทำการแย่งยึดที่ดินขนานใหญ่ พระเจ้าเจมส์ที่ 1
เคยริบที่ดินในไอร์แลนด์ถึง 3 ล้านเอเคอร์ ชาวอังกฤษและชาวสก๊อตแลนด์พากันย้ายถิ่นฐานไปอยู่อัลสเตอร์
ภาคเหนือของไอร์แลนด์ ท้องที่แห่งนี้จึงกลายเป็นฐานที่มั่นของอังกฤษในการปกครองไอร์แลนด์ ในขณะที่
สตราฟฟอร์ด ดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ในปี 1633-1639 นั้น ได้ดำเนินการปกครองแบบอาณานิคม
ที่โหดร้ายป่าเถื่อนที่สุด เป็นเหตุให้เกิดการลุกขึ้นสู้ทางประชาชาติของชาวไอร์แลนด์ในปี 1641
เพื่อการสร้างชาติที่เป็นเอกราช การลุกขึ้นสู้ภายใต้การนำของ "สหพันธ์โรมันคาทอลิก" ได้ปะทุขึ้นที่อัลสเตอร์
เป็นแห่งแรก ไม่นานก็ลุกลามไปทั่วทั้งเกาะ

เพื่อปราบปรามการลุกขึ้นสู้ของไอร์แลนด์และพิชิตไอร์แลนด์ในที่สุด ปี 1642 รัฐสภาช่วงยาว ได้ผ่านมติ
ให้ริบที่ดินค่อนข้างดีของไอร์แลนด์จำนวน 2 ล้าน 5 แสนเอเคอร์ เป็นค่าใช้จ่ายทางทหารสำหรับกองทัพ
ที่ออกศึกในไอร์แลนด์ โดยวิธีจำหน่ายโฉนดที่ดินก่อน แล้วตีราคาต่ำที่สุด ขายให้แก่ชนชั้นนายทุนใหญ่
และขุนนางใหม่ของอังกฤษ แต่เนื่องจากสงครามกลางเมืองระเบิดขึ้นโครงการพิชิตไอร์แลนด์จึงถูกพักไว้ชั่วคราว
ค่าใช้จ่ายทางทหารสำหรับกองทัพที่ออกศึกใอร์แลนด์ซึ่งรวบรวมมาได้ถูกเปลี่ยนไปใช้ในสงครามกลางเมือง
หลังจากที่การเคลื่อนไหวประชาธิไปไตยในอังกฤษถูกปราบลงในปี 1649 แล้ว เดือนสิงหาคม ครอมเวลล์ ก็ยกทัพ
ไปตีไอร์แลนด์นี่เป็นสงครามล่าเมืองขึ้นครั้งแรกของสาธารณรัฐอังกฤษ มันได้นำภัยพิบัติมาสู่ประชาชนไอร์แลนด์
อย่างแสนสาหัส ในระยะเวลานับตั้งแต่ปี 1649-1652 เป็นเวลา 3 ปีที่กองทหารอังกฤษเข้ารุกรานไอร์แลนด์ทำให้
ประชากรไอร์แลนด์ลดลง 610,000 คนจากจำนวนประชากรทั้งหมด 1,460,000 คน ที่ดินจำนวนมากถูกแย่งยึด

การฟื้นอำนาจครั้งที่ 1 ถูกบดขยี้

ปี 1648 ในขณะที่การปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษขึ้นสู่กระแสสูงนั้น รัฐสภากลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน
ของสก๊อตแลนด์หวั่นวิตกว่าการขยายตัวของการปฏิวัติจะกระตุ้นให้ชาวนาในสก๊อตแลนด์ลุกขึ้นสู้ สั่นคลอนฐานะ
การปกครองของพวกเขา จึงหันเข้าหาค่ายนิยมกษัตริย์ฝากความหวังไว้กับราชวงศ์สจ๊วต ปี 1649 ภายหลังที่
ชาร์ลส์ที่ 1 ถูกสำเร็จโทษไม่นาน พวกขุนนางและชนชั้นนายทุนของสก๊อตแลนด์หลังจากได้รับคำมั่นสัญญา
จากเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ที่หนีตายไปอยู่ฮอลแลนด์ว่ายินดีจะให้คณะเพรสไบเทอร์เรียนของสก๊อตแลนด์
เป็นศาสนาของทางการและคำมั่นสัญญาอื่นๆ แล้วก็ประกาศสนับสนุนชาร์ลส์ที่ 2 ขึ้นเป็นกษัตริย์ ทั้งสมคบกับ
พวกนิยมกษัตริย์ในอังกฤษเตรียมโค่นล้มสาธารณรัฐ บรรลุซึ่งการฟื้นอำนาจราชวงศ์สจ๊วตในอังกฤษ ปี 1650
ชาร์ลส์ที่ 2 กลับถึงสก๊อตแลนด์


สาธารณรัฐอังกฤษเผชิญหน้ากับสถานการณ์อันคับขัน ทางรัฐสภาจึงเรียกตัวครอมเวลล์กลับจากไอร์แลนด์
แต่งตั้งเขาเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพปราบสก๊อตแลนด์ ครึ่งปีแรกของปี 1650
สงครามอาณานิคมต่อไอร์แลนด์ของอังกฤษสิ้นสุดลงโดยพื้นฐาน ครอมเวลล์ได้จัดหน่วยทหารภายใต้
การบังคับบัญชาให้ตั้งประจำอยู่ในไอร์แลนด์เพื่อปราบปรามการลุกขึ้นสู้ของชาวไอร์แลนด์ต่อไป ส่วนตนเอง
กลับสู่อังกฤษ นำกองทหารเข้าบุกสก๊อตแลนด์ต่อไป เดือนกันยายน 1650 ขณะที่กองทหาร 2 กองสัประยุทธ์
กันที่แดนบาร์นั้น ครอมเวลล์นำกำลังเข้าโจมตี ยังความเสียหายแก่กองทหารสก๊อตแลนด์อย่างหนัก
เดือนกันยายน 1651 ชาร์ลส์ที่ 2 นำทัพด้วยตนเอง หลีกเลี่ยงการปะทะซึ่งหน้ากับกำลังหลักของครอมเวลล์
ทางชายฝั่งทะเลตะวันออกแล้วเดินทัพเลียบชายฝั่งทะเลตะวันตกมุ่งหน้าสู่ไอร์แลนด์ มุ่งหวังจะเข้าตีกรุงลอนดอน
ได้เกิดการรบขั้นแตกหักขึ้นที่วุสเตอร์ ชาวนาถือการกลับมาของชาร์ลส์ที่ 2 เป็นการซ้ำรอยภัยพิบัติในสมัย
ชาร์ลส์ที่ 1 จึงพากันจับอาวุธขึ้นโถมตัวเข้าสู่การสู้รบ ทหารบ้านเฉพาะมาจากแคว้นอีสเซ็กซ์และแคว้นซัฟโฟล์ค
ก็มีถึง 3,000 คน ครอมเวลล์ได้รับการสนับสนุนจากชาวนาที่ติดอาวุธจึงเปลี่ยนสถานการณ์จากรับเป็นรุก
กองทหารของชาร์ลส์ ถูกทำลายเรียบ ชาร์ลส์ที่ 2 หนีเอาตัวรอดไปอยู่ต่างประเทศความมุ่งหวังฟื้นอำนาจ
ราชวงศ์เก่าครั้งที่ 1 ถูกบดขยี้

สาธารณรัฐหลังจากได้พิชิตสก๊อตแลนด์แล้ว ก็ได้ริบที่ดินจำนวนมากจากขุนนางใหญ่และพวกนิยมกษัตริย์
ส่วนหนึ่งให้เป็นรางวัลแก่นายทหารชั้นสูง อีกส่วนหนึ่งขายให้แก่ชนชั้นนายทุนอังกฤษและสก๊อตแลนด์
โดยเฉพาะหลังจากพิชิตไอร์แลนด์แล้ว สาธารณรัฐได้ริบที่ดินของพวกลุกขึ้นสู้อย่างขนานใหญ่
ทำให้ที่ดิน 2 ใน 3 ของไอร์แลนด์เปลี่ยนกรรมสิทธิ์ไปอยู่ในมือของผู้ถือครองอังกฤษ ที่สำคัญคือ
ตกอยู่ในมือของชนชั้นนายทุนใหญ่และนายทหารชั้นสูงและชั้นกลางในเขตเมืองลอนดอน
ก่อรูปเป็นชั้นชนใหม่ของขุนนางที่ดินอังกฤษ ตัวครอมเวลล์เองได้ครอบครองที่ดินชั้นดีในไอร์แลนด์
ถึง 1,000 เอเคอร์ ชั้นชนใหม่ของขุนนางที่ดินนี้ได้กลายเป็นเสาค้ำของอิทธิพลปฏิกิริยาอังกฤษ
ได้กุมอำนาจรัฐ และพยายามจะฟื้นระบอบขุนนางอังกฤษตามประเพณีดั้งเดิม

นโยบายภายในและต่างประเทศของสาธารณรัฐ

นโยบายภายในและต่างประเทศของสาธารณรัฐเผด็จการชนชั้นนายทุนของกลุ่มอิสระทั้งหมดวางอยู่บน
จุดพื้นฐานเหล่านี้คือ เสียสละผลประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นผู้พิทักษ์รักษาสาธารณรัฐ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเสียสละผลประโยชน์ของชาวนา สร้างเงื่อนไขที่เป็นผลดีแก่การก่อร่างสร้างตัว
เป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีของชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่ที่ได้อำนาจรัฐแล้ว รัฐบาลได้จัดการขายที่ดิน
จำนวนมากที่ริบมาจากราชสำนัก พวกนิยมกษัตริย์และศาสนจักรด้วยวิธีแบ่งขายเป็นแปลงใหญ่และ
ตีราคาสูง คนยากคนจนไม่มีปัญญาซื้อได้ ฉะนั้นจึงตกอยู่ในมือของชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่
รัฐสภายังนำเอาไร่สวนของพวกนิยมกษัตริย์ปูนบำเหน็จแก่พวกชั้นบนของกองทัพ ตัวครอมเวลล์เอง
ก็ได้มา 2 แปลงที่สามารถทำรายได้ปีละ 7,000 ปอนด์ขึ้นไป เจ้าของที่ดินคนใหม่จัดการขับไล่ชาวนา
ออกจากผืนที่ดิน ภายในประเทศได้ปรากฏสภาพการฉวยโอกาสเก็งกำไรจากการซื้อขายที่ดินอย่างครึกโครม

ในด้านนโยบายต่างประเทศ เพื่อแย่งชิงอำนาจครองความเป็นเจ้าในการค้าขายทางทะเลโจมตีฮอลแลนด์
ที่เป็นคู่แข่งทางการค้าทีสำคัญ ปี 1651 ได้ประกาศใช้ "กฏหมายการเดินเรือทางทะเล" ในกฏหมายฉบับนี้
ได้กำหนดไว้ว่า การนำเข้าสินค้าของอังกฤษจะอนุญาติให้เรืออังกฤษเป็นผู้ส่งเท่านั้น
"กฏหมายการเดินเรือทางทะเล" มีผลกระทบโดยตรงต่อฮอลแลนด์ซึ่งดำเนินกิจการขนส่งทางทะเลโดยเฉพาะ
ด้วยเหตุนี้ ฮอลแลนด์กับอังกฤษได้ทำสงครามกันเป็นเวลา 2 ปี(1652-1654)

ผลของสงครามก็คือ ฮอลแลนด์พ่ายแพ้ในสงคราม ถูกบีบให้รับรอง "กฏหมายการเดินเรือทางทะเล" จากนั้นมา การค้าขายทางทะเล
และกิจการเดินเรือของอังกฤษก็ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 22, 2006, 11:39:07 AM โดย narongt » บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2006, 07:37:29 PM »

ประวัติศาสตร์โลกยุคใกล้ บทที่ 2 การปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษในศตวรรษที่ 17

ตอนที่ 3 จากเผด็จการรวบอำนาจทางทหารของครอมเวลล์ถึงการฟื้นอำนาจราชวงศ์สจ๊วต

การสถาปนาเผด็จการรวบอำนาจทางทหารของครอมเวลล์

ภายหลังที่ชนชั้นนายทุนโค่นล้มการปกครองศักดินาได้มาซึ่งอำนาจรัฐแล้ว ด้านที่ล้าหลังในตัวของมัน
ก็กลายเป็นด้านหลัก ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่กับประชาชนก็รุนแรงและ
แหลมคมขึ้น ค่าใช้จ่ายทางทหารอันหนักอึ้ง ความทรุดโทรมทางด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
ราคาสินค้าที่ถีบตัวสูงขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ที่นับวันเลวลง ทำให้ความไม่พอใจของประชาชนผู้ใช้แรงงาน
คุกรุ่นขึ้นมาอีก ฤดูใบไม้ผลิปี 1653 แคว้นแคมบิรดจ์เกิดการลุกขึ้นสู้ของชาวนา แย่งยึดที่ดินที่ถูกแย่งยึดคืน
ตีโต้กองทหารสาธารณรัฐที่ยกมาปราบปราม เดือนพฤษภาคม แคว้นนอร์โฟล์คก็เกิดการลุกขึ้นสู้ในลักษณะ
คล้ายคลึงกัน พวกนักประชาธิปไตยก็เริ่มคึกคัก เคลื่อนไหวแจกจ่ายจุลสารที่คัดค้านรัฐบาล ปลุกระดม
ประชาชนให้ลุกขึ้นสู้ใช้การปฏิบัติการเพื่อบรรลุซึ่งการปฏิรูปอีกก้าวหนึ่ง พรรคอัศวินได้ฉวยโอกาสอาศัย
ความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่ออำนาจรัฐใหม่ เตรียมการก่อจลาจลในหลายท้องที่ วางแผนกโลบาย
ฟื้นอำนาจกษัตริย์ ชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่เผชิญกับการคุกคามที่เพิ่มทวีขึ้นทุกวันทั้งจากซ้ายและขวา
จึงมีความเรียกร้องต้องการที่จะสถาปนาเผด็จการทางทหารอย่างเร่งด่วน

เพื่อพิทักษ์รักษาเผด็จการชนชั้นนายทุน ครอมเวลล์ตัดสินใจใช้ปฏิบัติการ ก่อนอื่นทำการตอบโต้การคุกคาม
ที่มาจากด้านขวาก่อน จัดการขับไล่ไสส่งรัฐสภาช่วงยาวที่ไม่สมประกอบ รัฐสภาช่วงยาวเคยเป็นศูนย์กลาง
นำการปฏิวัติชนชั้นนายทุนมาแล้ว แต่ในสมัยสาธารณรัฐ มันได้เปลี่ยนสี แปรธาตุเป็นกลุ่มคณาธิปไตย
ที่ประชาชนรู้สึกจงเกลียดจงชัง มันได้สมรู้ร่วมคิดกับอิทธิพลศํกดินาวางแผนตรากฏหมายเลือกตั้งใหม่
กุมอำนาจรัฐต่อไป เตรียมการฟื้นอำนาจกษัตริย์ วันที่ 20 เมษายน 1653 ครอมเวลล์ได้ข่าวว่ารัฐสภา
กำลังเปิดอภิปรายกฏหมายเลือกตั้งใหม่ จึงนำกำลังทหารบุกเข้าไปในที่ประชุม ด่ากราดสมาชิกรัฐสภา
ด้วยการะบุชื่ออย่างเปิดเผย เขาล้วงนาฬิกาออกจากกระเป๋า ยื่นคำขาดว่าจะไม่ให้รัฐสภาดำรงอยู่ที่นี่เกิน 1 นาที
ตามเวลาที่กำหนดให้ จากนั้นก็สั่งทหารทำการขับไล่สมาชิกรัฐสภาทั้งหมดออกจากห้องประชุม ครอมเวลล์
เดินไปหยุดยืนที่ข้างเก้าอี้ประธานรัฐสภา เห็นบนโต๊ะมีตราประทับ(ตราพระลัญจกรซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทรงอิทธิพล
ของกษัตริย์ที่มอบอำนาจไว้กับประธานรัฐสภา)วางอยู่ จึงกล่าวว่า "เราจะจัดการอย่างไรกับของเล่นชิ้นนี้ดี
โยนมันทิ้งไปแล้วกันนะ)" เสร็จแล้วเขาสั่งให้ปิดประตูลั่นกุญแจประตูใหญ่ของตึกรัฐสภา แล้วกลับไปที่ไวท์ฮอลล์
ในขณะที่ครอมเวลล์ทำการขับไล่รัฐสภาช่วงยาวอยู่นั้น ไม่ได้เจอกับแรงต่อต้านใดๆ จากสมาชิกรัฐสภาทั้งสิ้น
กล่าวตามคำพูดของเขาก็คือ "หมาตัวเดียวก็ไม่กล้าเห่า" มวลประชาชนอังกฤษชื่นชมกับเรื่องนี้ เพราะว่า
มันได้ทำลายภัยแฝงในการฟื้นอำนาจศักดินาลงไปได้

หลังสลายรัฐสภาช่วงยาว เดือนกรกฏาคม 1653 ครอมเวลล์ได้เรียกประชุม "รัฐสภาขนาดย่อม"
ที่มีสมาชิกเพียง 100 กว่าคน สมาชิกรัฐสภาขนาดย่อมไม่ได้เกิดจากการเลือกตั้ง หากเกิดจาก
การเสนอชื่อโดยองค์การศาสนาของกลุ่มอิสระ และอนุมัติโดยครอมเวลล์ เนื่องจากภายในประเทศ
มีความไม่พอใจโดยทั่วไป "รัฐสภาขนาดย่อม" จึงจำเป็นต้องผ่านร่างกฏหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปจำนวนหนึ่ง
เช่นลดหย่อนภาษีอากร ยกเลิกภาษี 10 ชัก 1 ลดกำลังทหารเป็นต้น เป็นเหตุให้กลุ่มนายทหารชั้นสูง
ที่นำโดยครอมเวลล์โกรธเกรี้ยวมาก จึงจัดการยุบมันเสียในวันที่ 12 ธันวาคม หลังจากนั้น 4 วัน
ภายใต้การชี้แนะเป็นนัยๆ ของครอมเวลล์ พวกนายทหารชั้นสูง ผู้พิพากษา และนายกเทศมนตรีลอนดอน
ได้เข้าชื่อเสนอให้ ครอมเวลล์รับสมญานาม "เจ้าป้องกันประเทศ" ด้วยประการฉะนี้
ครอมเวลล์ก็ได้สถาปนาอำนาจรัฐเผด็จการรวบรวมอำนาจทางทหารภายใต้รูปแบบของสาธารณรัฐ
อำนาจรัฐนี้มีชนชั้นนายทุนใหญ่และชนชั้นใหม่ของขุนนางเจ้าที่ดินเป็นรากฐานของมัน โดยถือเอา
การพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของพวกเขาเป็นจุดมุ่งหมาย ชนชั้นขุนนางเจ้าที่ดินนี้ ได้ค่อยๆ ก่อรูปและเติบใหญ่ขึ้น
ท่ามกลางสงครามรุกรานอาณานิคม ส่วนบนของมันโดยทั่วไปจะมีสมญานามและยศถาบรรดาศักดิ์ขุนนาง
ทั้งนับวันแต่จะใกล้ชิดกับขุนนางศักดินาเก่ามากยิ่งขึ้น เมื่อรากฐานทางชนชั้นของอำนาจรัฐ ครอมเวลล์
ก็เกิดการเปลี่ยนแปลง ก็ย่อมจะสะท้อนออกในนโยบายทั้งภายในและต่างประเทศของเขา

รัฐบาลแห่งชาติ การปกครองโดยทหาร ตำรวจและสงครามต่อภายนอก

หลังจากรัฐสภาขนาดย่อมถูกยุบไม่นาน สภานายทหารได้ร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญใหม่ที่เรียกว่า"เครื่องมือการปกครอง"
กำหนดว่า อำนาจรัฐของสาธารณรัฐอังกฤษ สก๊อตแลนด์และไอร์แลนด์ ล้วนเป็นเจ้าป้องกันประเทศ
นี่ก็เป็นครั้งแรกที่ผนึกเอา อังกฤษ สก๊อตแลนด์และไอร์แลนด์ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ปีถัดมา
อาศัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญใหม่ (หมายเหตุ : รัฐธรรมนูญใหม่ได้กำหนดคุณสมบัติด้านทรัพย์สินของ
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจาก 40 ชิลลิงจากรายได้ในผืนที่ดินเป็น 200 ปอนด์เช่นนี้แล้ว รัฐสภาก็ถูกควบคุมโดย
เจ้าที่ดินใหญ่ นายทหารชั้นสูงที่กลายเป็นเจ้าที่ดินใหญ่จากการเขมือบที่ดินในไอร์แลนด์) เรียกประชุมรัฐสภา
ในรัฐสภามีสมาชิกรัฐสภาจำนวนหนึ่งที่เป็นกลุ่มสาธารณรัฐ ได้แสดงออกซึ่งความไม่พอใจต่อการมี
อำนาจเบ็ดเสร็จของเจ้าป้องกันประเทศ ดังนั้นครอมเวลล์จึงปล่อยให้มันดำรงอยู่แค่ 5 เดือนก็จัดการยุบทิ้งเสีย
เป็นเวลา 2 ปีหลังจากนั้นก็ไม่ได้เปิดประชุมรัฐสภาอีกเลย ครอมเวลล์อาศัยคณะรัฐมนตรีที่ประกอบจาก
นายทหารชั้นสูง 18 คน ดำเนินการปกครองแบบเผด็จการรวบอำนาจ แต่ว่า สถานการณ์ภายในประเทศ
ตึงเครียดขึ้นอีกก้าวหนึ่ง เพื่อกดการต่อต้านของประชาชน ปราบปรามการกบฏของพวกนิยมกษัตริย์
ในระหว่างปี 1655-1656 ครอมเวลล์ได้ตัดแบ่งอังกฤษออกเป็นเขตทหาร 11 เขต แต่ละเขตแต่งตั้ง
นายทหารบกยศพลตรีเป็นผู้นำ กุมอำนาจทั้งทางการเมืองและการทหารไว้บนตัวคนเดียว รับผิดชอบ
ควบคุมดูแลตั้งแต่ระเบียบสังคมไปจนถึงชีวิตส่วนตัวของชาวบ้าน ดำเนินระบอบการปกครองโดยทหาร
และตำรวจอย่างโจ๋งครึ่ม ซึ่งก็คือสิ่งที่เรียกว่า ระบอบการปกครองโดยนายพลตรีกองทัพบก นั่นเอง

ในด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลแห่งชาติปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินรักษาไว้ซึ่งภาษี
10 ชัก 1 ของศาสนจักรในอดีต คุ้มครองนักกว้านที่ดิน ขบวนการกว้านที่ดินแถบป่าชายเลนขนานใหญ่
ที่เริ่มเกิดขึ้นใหม่ในอังกฤษก็ได้รับความคุ้มครองจากรัฐ นโยบายต่างประเทศที่เป็นพื้นฐานของ
รัฐบาลแห่งชาติก็คือ สร้างความได้เปรียบทางการค้าของโลกและจักรวรรดิอาณานิคมที่เข้มแข็งเกรียงไกร
ให้กับชนชั้นนายทุนอังกฤษ

เพื่อผ่อนคลายวิกฤติการณ์ทางการเมืองภายในประเทศและใช้สินสงครามที่ได้จากการทำสงครามภายนอกประเทศ
ไปชดเชยการขาดดุลย์ทางการคลัง รัฐบาลแห่งชาติยังดำเนินสงครามปล้นชิงต่อภายนอกประเทศต่อไป
โดยใช้ปฏิบัติการทางทหารต่อประเทศโปรตุเกสและสเปนตามลำดับ ภายหลังที่ต้องจ่ายค่าตอบแทน
อันมหาศาลแล้ว อังกฤษจึงสามารถแย่งยึดเกาะจาไมก้าในทะเลคาริบเบียน (1655) และแดนซิก
บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป (1658) จากมือสเปนมาได้ สนองความทะเยอทะยานในการแผ่ขยายอาณาเขต
ให้กับชนชั้นนายทุน

รัฐบาลแห่งชาติล้มคว่ำ

รัฐบาลแห่งชาติถูกกระหน่ำตีทั้งจากด้านซ้ายและขวา ชาร์ลส์ที่ 2 ได้ช่วงชิงการสนับสนุนจากสเปน
ฝรั่งเศสและอิทธิพลเน่าเฟะอื่นๆ ที่เป็นโรมันคาทอลิกบนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ทั้งได้ประสานกับ
พวกนิยมกษัตริย์ภายในประเทศดำเนินแผนกโลบายฟื้นอำนาจกษัตริย์ บนผืนแผ่นดินที่ผ่านการชะล้าง
จากเปลวเพลิงปฏิวัติ การเคลื่อนไหวของประชาชนก็เริ่มก่อหวอดขึ้นอีก การต่อสู้ของชาวป่าชายเลน
ทางภาคตะวันออก และการต่อสู้คัดค้านการกว้านที่ดินของชาวนาในท้องที่ต่างๆ เกิดขึ้นมิได้ขาด เริ่มตั้งแต่
ปลายทศวรรษที่ 1650 ชาวนาไม่นำพาต่อการสั่งห้ามของเจ้าของกรรมสิทธิ์ พากันบุกเข้าไปในป่าสงวน
หักร้างถางพง แปรเขตป่าเป็นผืนที่ดินเพาะปลูกถึงปี 1659 การเคลื่อนไหวของชาวนาได้ปรากฏ
กระแสสูงใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ชนชั้นนายทุนและขุนนางที่ดิน โดยเฉพาะคือส่วนบนของพวกเขา เมื่อเผชิญกับกระแสสูง
การเคลื่อนไหวของประชาชนที่นับวันเพิ่มทวีขึ้น ก็ตกอกตกใจเป็นกำลัง จึงเรียกร้องให้เปลี่ยน
ระบอบเผด็จการรวบอำนาจทางทหารกลับไปสู่ระบอบกษัตริย์ เพื่อจะได้ดำเนินการปราบปราม
อย่างป่าเถื่อนสยดสยอง ปี 1656 รัฐบาลแห่งชาติได้เปิดประชุมรัฐสภาสมัยที่ 2 แก้ไข
"เครื่องมือการปกครอง" มีการเสนอให้ฟื้นระบอบกษัตริย์และสภาสูง เรียกร้องให้ครอมเวลล์
สถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์ ครอมเวลล์เองย่อมมีความปรารถนาจะตั้งราชวงศ์ใหม่อยู่แล้ว
แต่เนื่องจากผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆ ในหมู่ชนชั้นนายทุนไม่ลงตัวกัน ต่อปัญหาฟื้น
ระบอบกษัตริย์จึงมีความเห็นแตกต่างกัน ทางกองทัพก็มีความเห็นคัดค้าน นายทหารชั้นสูง
ก็ไม่ยอมสละอำนาจทางการเมืองของตน ดังนั้นครอมเวลล์จึงจำต้องปฏิเสธการขึ้นสู่ราชบัลลังก์
รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมที่ผ่านสภาก็ให้ตัดข้อความเกี่ยวกับระบอบกษัตริย์ออกเสีย
แต่ประกาศว่า เจ้าป้องกันประเทศจะสืบทายาทโดยตระกูลครอมเวลล์เท่านั้น
บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2006, 07:38:41 PM »

เดือนกันยายน 1658 ในขณะที่นโยบายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศของรัฐบาลแห่งชาติ
ตกอยู่ในฐานะยากลำบาก วิกฤติการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจใกล้จุดระเบิดนั้นครอมเวลล์
ป่วยเสียชีวิต หลังจากที่ลูกชายของเขา ริชาร์ด ครอมเวลล์(Cromwell Richard 1626-1712)
เข้ารับตำแหน่งเจ้าป้องกันประเทศสืบต่อจากผู้เป็นบิดาแล้ว บรรดานายทหารทั้งหลายก็เปิดฉาก
ต่อสู้แก่งแย่งชิงอำนาจกันอย่างดุเดือด ภายในกลุ่มชนชั้นปกครองตกอยู่ในสภาพปั่นป่วนระส่ำระสาย
ชนชั้นนายทุนใหญ่และส่วนบนของขุนนางเจ้าที่ดิน มีความต้องการอันรีบด่วนที่จะมีอำนาจที่เข้มแข็ง
อำนาจหนึ่งเพื่อปราบปรามกำลังฝ่ายปฏิวัติ พวกเขาจึงฝากความหวังไว้กับราชสำนักแห่งราชวงศ์สจ๊วต
ตัวแทนที่อยู่ในประเทศอังกฤษของชาร์ลส์ที่ 2 ก็ขยายการเคลื่อนไหวฟื้นอำนาจระบอบกษัตริย์เป็นการใหญ่
วิลเลี่ยม เลนธอลล์(Lenthall William 1591-1662) ประธานรัฐสภาช่วงยาวซึ่งเป็นพวกจงรักภักดีต่อราชสำนัก
ได้ฟื้นรัฐสภาไม่สมประกอบ ในเดือนพฤษภาคม 1659 บีบบังคับให้ ริชาร์ดลาออก และล้มระบอบรัฐบาลแห่งชาติ
จอร์จ มังค์(Monck George 1608-1670)

ผู้บัญชาการทหารของอังกฤษประจำสก๊อตแลนด์เป็นพวกนิยมกษัตริย์ที่ฝังตัวอยู่ในกองทัพ
ได้ยกทัพเข้ากรุงลอนดอนในเดือนกุมภาพันธ์ 1660 เข้าควบคุมรัฐบาล จากนั้นก็วางแผน
ให้ชาร์ลส์ที่ 2 ซึ่งหนีตายอยู่ในฮอลแลนด์ ประกาศ "แถลงการณ์เบรดา" โฆษณาเผยแพร่ในหมู่ผู้มีทรัพย์สิน
ให้มีความเพ้อฝันต่อราชวงศเก่า เดือนมีนาคม เรียกประชุมรัฐสภาใหม่ มังค์ฉวยโอกาสยัดเยียดคนของ
พวกนิยมกษัตริย์เข้าสู่รัฐสภาจำนวนมาก เดือนพฤษภาคม รัฐสภาประกาศสถาปนาชาร์ลส์ที่ 2 เป็นกษัตริย์
จากนั้นไม่นาน ชาร์ลส์ที่ 2 ก็กลับถึงลอนดอน เริ่มยุคฟื้นอำนาจในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ

การฟื้นอำนาจราชวงศ์เก่าในปี 1660 ตลอดจนนโยบายภายในและต่างประเทศ

ชาร์ลส์ที่ 2 (Charles 2 ครองราชย์ 1660-1685)

ใน "แถลงการณ์เบรดา" ได้กล่าวถึงว่าหลังคืนสู่ราชบัลลังก์แล้วจะนิรโทษกรรมต่อผู้เข้าร่วมการปฏิวัติ
จะอนุญาติให้มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา ประกันความสัมพันธ์ในทรัพย์สินและที่ดินที่กำหนดขึ้นในสมัยปฏิวัติ
ดังนั้นจึงได้รับการต้อนรับจากผู้มีทรัพย์สินโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชั้นนายทุนใหญ่ แต่ว่า ความฝันของพวกเขา
ได้พังทลายลงอย่างรวดเร็ว พออำนาจที่อยู่ภายใต้การควบคุมของชาร์ลส์ และพวกนิยมกษัตริย์เริ่มจะมั่นคง
พวกเขาก็ตระบัดสัตย์ พยายามฟื้นระบอบเผด็จการศักดินาที่มีอยู่ก่อนปฏิวัติอย่างสุดกำลัง ดำเนินการพลิกคดี
อย่างบ้าคลั่ง ไม่เพียงแต่ปราบปรามมวลชนอย่างไร้ความปรานีเท่านั้น หากยังปราบปรามชนชั้นนายทุน
อย่างไม่ไว้หน้าอีกด้วย ต่อบุคคลที่เคยเข้าร่วมการพิจารณาคดีกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 1 ล้วนมีโทษฐาน "ผู้ปลงพระชนม์"
ไม่ว่าจะเสียชีวิตแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่ ล้วนถูกตัดสินลงโทษด้วยการแขวนคอทั้งสิ้น ศพที่เน่าเปื่อยแล้วของครอมเวลล์
ก็ถูกขุดขึ้นมาและนำไปแขวนคออยู่บนหลักกางเขน ปี 1661 เรียกประชุม "รัฐสภาอัศวิน"
ประกาศฟื้น คณะอังกลิกัล เริ่มยุคปองร้ายทางศาสนาอีกครั้งหนึ่ง การเข่นฆ่าได้ขยายขอบเขตออกไปสู่ผู้คนทั้งปวง
ที่นิยมระบอบสาธารณรัฐ พวกหัวรุนแรงตลอดจนผู้เข้าร่วมปฏิวัติหรือสนับสนุนการปฏิวัติ

แต่ว่า การกระทำที่ถอยหลังเข้าคลองของราชวงศ์ฟื้นอำนาจได้ถูกคัดค้านจากด้านต่างๆ พวกนิยมกษัตริย์
ที่กลับจากการหนีตาย ถึงแม้ว่าจะพยายามฟื้นคืนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนที่สูญเสียไป แต่ว่าที่ดินเหล่านี้
ได้เปลี่ยนเจ้าของไปหลายเจ้าของแล้วในสมัยปฏิวัติ และส่วนใหญ่ตกไปอยู่ในมือของชนชั้นนายทุน
ที่เป็นกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน พวกนิยมกษัตริย์รวมทั้งตัวกษัตริย์เองจำใจเห็นด้วยกับวิธีประนีประนอมคือ
ให้เจ้าของที่ดินคนใหม่ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนบางประการแก่เจ้าที่ดินคนเก่า แต่ที่ดินยังคงเป็นของ
เจ้าของคนใหม่ต่อไป รัฐบาลฟื้นอำนาจในขณะเดียวกับที่ปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของเจ้าของที่ดินใหญ่
และเจ้าของฟาร์มเกษตรใหญ่แบบทุนนิยมนั้น ก็ได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม
ในบางระดับ เพราะว่าทางราชสำนักก็ได้รับประโยชน์ไม่น้อยจากการเคลื่อนไหวปล้นชิงอาณานิคม
จากบริษัทผูกขาดการค้ากับต่างประเทศและจากการค้าทาส

เพื่อช่วงชิงการช่วยเหลือจากกษัตริย์หลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส ชาร์ลส์ที่ 2 ได้ฟื้นศาสนจักรโรมันคาทอลิก
ในอังกฤษและเสริมความเข้มแข็งให้กับการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช ต่อภายนอกยอมขึ้นต่อฝรั่งเศส
ซึ่งเป็นโรมันคาทอลิก ปี 1670 ได้เซ็นสัญญาลับกับฝรั่งเศสซึ่งมีลักษณะทำลายต่อชนชั้นนายทุนอังกฤษ
ให้คำมั่นสัญญาว่าจะเลิกนโยบายปกป้องคุ้มครองอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมของอังกฤษ
ทั้งขายเมืองแดนซิกที่ครอมเวลล์ยึดได้ให้กับฝรั่งเศส มาตรการเหล่านี้ ล้วนทำให้ชนชั้นนายทุนอังกฤษ
ไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง ความพ่ายแพ้ในสงครามอังกฤษ-ฮอลแลนด์(1664-1667) ยิ่งทำให้ผู้คนทั้งหลาย
เคียดแค้นชิงชังต่อราชวงศ์สจ๊วต ปี 1672 ชาร์ลส์ที่ 2 ประกาศ "แถลงการณ์เสรีภาพในการนับถือศาสนา"
เป็นก้าวแรกของการฟื้นศาสนจักรโรมันคาทอลิกในอังกฤษ แต่ได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากรัฐสภา
จึงจำใจยกเลิกแถลงการณ์ฉบับนั้น
บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2006, 07:40:05 PM »

ในกระบวนการต่อสู้กับราชวงศ์สจ๊วตนั้น รัฐสภาได้ค่อยๆ แบ่งฝ่ายออกเป็น 2 ฝ่าย
ฝ่ายที่สนับสนุนกษัตริย์ เรียกว่า "พรรคทอรี่" เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของขุนนางเจ้าที่ดิน
ซึ่งมีความสัมพันธ์กับราชสำนัก พวกนี้สนับสนุนรูปแบบอำนาจรัฐแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ฝ่ายที่คัดค้านกษัตริย์เรียกว่า "พรรควิก" (หมายเหตุ : คำว่าวิก ตามความหมายเดิมหมายถึงโจรสก๊อตแลนด์
ส่วนคำว่า ทอรี่ นั้น ความหมายเดิมหมายถึงพวกคนร้ายที่นับถือศาสนาโรมันคาทอลิกของไอร์แลนด์
เป็นฉายานามที่ทั้ง 2 ฝ่ายใช้ด่าทอฝ่ายตรงข้าม) ซึ่งเป็นตัวแทนผลประโยชน์ ของชนชั้นนายทุนอุตสาหกรรม
และพาณิชยกรรม ตลอดจนขุนนางเจ้าที่ดินใหม่ที่มีความสัมพันธ์กับมัน พวกนี้พยายามช่วงชิงขยาย
อำนาจของรัฐสภา จำกัดอำนาจกษัตริย์ ปี 1679 พวกวิกพยายามดันรัฐสภาผ่าน
"กฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองต่อร่างกาย"
ในกฏหมายฉบับนี้ระบุว่า ไม่มีหมายจับของศาล จะทำการจับกุมคุมขังผู้คนไม่ได้ ผู้ถูกจับจะต้องส่งให้
ศาลพิจารณาในเวลาอันสั้น นี่ก็คือรากฐานระบอบรัฐธรรมนูญของอังกฤษนั่นเอง แต่ความจริงแล้วมันคือ
วิธีการอย่างหนึ่งที่ชนชั้นนายทุนใช้รับมือกับการปองร้ายของชนชั้นศักดินา

ก่อนอื่นก็คือ ใช้มาปกป้องคุ้มครองชาวพรรควิก กฏหมายนี้ยังระบุว่า ผู้ถูกจับถ้าหากสามารถ
ยื่นหลักทรัพย์จำนวนมากค้ำประกัน ปล่อยตัวชั่วคราวได้ แต่ผู้ถูกจับที่ถูกจับในกรณีติดหนี้แล้ว
จะอยู่นอกความคุ้มครองของกฏหมายฉบับนี้ จะเห็นได้ว่า "กฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองต่อร่างกาย"
มีลักษณะทางชนชั้นอย่างเด่นชัดที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะผู้มีทรัพย์สินเท่านั้น


ปี 1685 ชาร์ลส์ที่ 2 สิ้นพระชนม์ เจมส์ที่ 2(James 2 ครองราชย์ 1685-1688)

ผู้ซึ่งคลั่งไคล้ในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกสืบราชบัลลังก์ เขาก็รับเงินอุดหนุนจากฝรั่งเศส
ทำงานตามนโยบายของหลุยส์ที่ 14 เช่นเดียวกับชาร์ลส์ที่ 2 เขาลดภาษีขาเข้าสำหรับสินค้าฝรั่งเศส
ขายผลประโยชน์ทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมของอังกฤษ ทั้งเตรียมสถาปนาศาสนจักรโรมันคาทอลิก
ขึ้นในอังกฤษอีก ฟื้นการปกครองของศาสนจักรโรมันคาทอลิก อันเป็นห่วงโซ่สำคัญห่วงหนึ่งในการบรรลุ
ซึ่งการฟื้นอำนาจศักดินาอย่างทั่วด้าน และเสริมความมั่นคงให้กับการปกครองของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
ในการนี้ เจมส์ที่ 2 ได้ปลดปล่อยสาวกนิกายโรมันคาทอลิกที่ต้องโทษจำคุกจำนวนมาก เอาสาวกนิกาย
โรมันคาทอลิกมาเป็นแม่ทัพนายกองในกองทัพ ปี 1687 ประกาศ "แถลงการณ์เสรีภาพในการนับถือศาสนา"
ยกเลิกกฏหมายที่จำกัดสาวกนิกายโรมันคาทอลิก และสาวกนอกนิกายของทางการ เตรียมเปลี่ยน
นิกายโรมันคาทอลิกเป็นศาสนาของทางการ เดือนเมษายน 1688 กษัตริย์มีราชโองการให้อ่าน
แถลงการณ์ฉบับนี้ในวิหารทุกแห่ง ทั้งทำการจับกุมสังฆราชและมหาสังฆราชของคณะอังกลิกัล
ที่ขัดราชโองการของพระองค์ ความจริงการที่ราชวงศ์สจ๊วตซึ่งเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของ
ชนชั้นศักดินาเคยร่วมมือกับชนชั้นนายทุนนั้นก็เป็นเพราะความจำเป็น มาบัดนี้ถึงคราวที่จะแตกหัก
อย่างเปิดเผยแล้ว ดังนั้นจึงทำให้ขุนนางเจ้าที่ดินใหม่และชนชั้นนายทุนรู้สึกถึงความคุกคามที่มี
ต่อพวกเขาโดยตรง พวกขุนนางเจ้าที่ดินกลัวว่าวันใดที่ฟื้นอำนาจสังฆราชโรมันคาทอลิก นำมาซึ่ง
การฟื้นอำนาจระบอบศักดินาอย่างทั่วด้านแล้ว ที่ดินและศาสนสมบัติที่พวกเขาแย่งยึดจาก
ศาสนจักรโรมันคาทอลิกแต่ครั้งปฏิรูปศาสนาของพวกเขาก็จะหลุดมือไป ที่ดิน 7 ใน 10 ของอังกฤษ
ก็จะต้องเปลี่ยนเจ้าของใหม่ ชนชั้นนายทุนอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมกลัวว่า ศาสนจักรและ
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชจะอุดช่องทางการสร้างฐานะร่ำรวยของพวกเขา นี่ก็ทำให้กลุ่มและ
ชั้นชนต่างๆ ของชนชั้นนายทุนและขุนนางเจ้าที่ดินใหม่รวมตัวกันเข้าภายใต้คำขวัญ คัดค้าน
ศาสนจักรโรมันคาทอลิกของ "ต่างชาติ" ที่เป็น "ปฏิปักษ์กับประชาชาติ" นับแต่คณะอังกลิกัล
ซึ่งเป็นศาสนาของทางการไปจนถึงกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน กลุ่มอิสระ ซึ่งเป็นสาวกนิกายโปรเตสแตนท์
อันเป็นศาสนาที่ไม่ใช่ของทางการ ล้วนรวมตัวกันขึ้นมาคัดค้านกษัตริย์เพื่อป้องกันการฟื้นอำนาจ
อย่างทั่วด้านของระบอบศักดินาและการเคลื่อนไหวปฏิวัติของมวลชนที่อาจเกิดขึ้นอีก พรรควิกและพรรคทอรี่
ตกลงร่วมมือกันก่อรัฐประหาร เดือนมิถุนายน 1688 รัฐสภาส่งตัวแทนไปประเทศฮอลแลนด์
เชิญเจ้าชายวิลเลี่ยมที่ 3 แห่งราชวงศ์ออร์เรนจิ(1650-1702)

ราชบุตรเขยของเจมส์ที่ 2 ซึ่งขณะนั้นเป็นกงสุลบริหารรัฐบาลของฮอลแลนด์มาสืบราชบัลลังก์ของอังกฤษ
เดือนพฤศจิกายน วิลเลี่ยมนำกองทัพยกพลขึ้นบกที่อังกฤษ เจมส์ที่ 2 ไม่ทันได้ต่อต้านก็หนีเตลิดไปอยู่ฝรั่งเศส
เดือนกุมภาพันธ์ 1689 รัฐสภาประกาศสถาปนาวิลเลี่ยมเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษ พระชายาของพระองค์เป็นราชินี
ผ่านจากการต่อสู้ฟื้นอำนาจและต้านการฟื้นอำนาจหลายครั้งหลายหน ในที่สุด อังกฤษก็สามารถสถาปนา
ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญของชนชั้นนายทุนขึ้น

การรัฐประหารครั้งนี้ ชนชั้นนายทุนเรียกมันว่า "การปฏิวัติที่มีเกียรติ"
บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2006, 01:18:34 PM »

ประวัติศาสตร์โลกยุคใกล้ บทที่ 2 การปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษในศตวรรษที่ 17

ตอนที่ 4 การสถาปนาระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญผลิตผลของการประนีประนอม
ระหว่างเจ้าที่ดินกับชนชั้นนายทุน

พันธมิตรระหว่างขุนนางเจ้าที่ดินกับชนชั้นนายทุน

การรัฐประหารระหว่างปี 1688-1689 ได้สถาปนารัฐที่ปกครองโดยระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งมี
พันธมิตรระหว่างขุนนางเจ้าที่ดินกับชนชั้นนายทุนเป็นฐานรองรับ ปี 1689 รัฐสภาผ่าน "กฏหมายว่าด้วยสิทธิ"

กำหนดว่า กษัตริย์ไม่มีอำนาจยกเลิกกฏหมาย รัฐสภาจะต้องเปิดประชุมตามกำหนดเวลา การเก็บภาษี
ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา สมาชิกรัฐสภามีเสรีภาพในการพูดแสดงความคิดเห็น ปัญหาที่สำคัญๆ
ล้วนต้องผ่านจากการอนุมัติของรัฐสภา ปี 1701 รัฐสภาผ่าน "กฏหมายว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์" กำหนดว่า
ภายหลังที่พระเจ้าวิลเลี่ยมและพระชายาซึ่งเป็นทายาทผู้สืบทอดที่ใกล้ชิดที่สุดสิ้นพระชนม์แล้ว ราชบัลลังก์
จะต้องสืบทอดโดย ฮันโนเวอร์ ซึ่งเป็นผู้นับถือศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ กฏหมายว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์
ยังมีข้อความที่จำกัดอำนาจกษัตริย์เป็นอันมาก ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นสิ่งที่ชนชั้นนายทุน
อังกฤษและขุนนางเจ้าที่ดินเรียกร้องต้องการนั้นก็ได้สถาปนาขึ้นอย่างถาวรแล้ว

ชัยชนะของการปฏิวัติชนชั้นนายทุนอังกฤษ ได้ถือเอาประชาชนผู้ใช้แรงงานเป็นสิ่งสังเวยการกว้านที่ดิน
ก่อนการปฏิวัติถือเป็นพฤติกรรมอันมิชอบส่วนบุคคล หลังปฏิวัติ รัฐบาลได้อนุมัติให้ถือเป็นพฤติกรรม
อันชอบด้วยกฏหมาย ได้เสริมการแย่งยึดต่อชาวนาหนักมือยิ่งขึ้น ชาวนาผู้มีนาทำเองซึ่งเป็นกำลังหลัก
ในการสู้รบสมัยปฏิวัติ กลับต้องล้มละลายไปอันเนื่องจากชัยชนะของการปฏิวัติ ถึงปลายศตวรรษที่ 18
ต้นศตวรรษที่ 19 ชาวนาผู้มีนาทำเองในฐานะที่เป็นชนชั้นหนึ่งก็ไม่ได้ดำรงอยู่อีกต่อไปแล้ว

ขุนนางศักดินาใหญ่ที่เก่าแก่ของอังกฤษ เมื่อผ่านจากการรบราฆ่าฟันกันเอง การแยกสลายภายใน
การตกต่ำล้มละลายตลอดจนถูกแย่งยึดสมัยปฏิวัติ ก็ไม่ได้ดำรงอยู่อีกต่อไปแล้ว แต่ขุนนางที่เป็น
แบบชนชั้นนายทุนซึ่งเติบใหญ่ในสังคมศักดินา ส่วนหนึ่งยอมร่วมมือกับพวกหัวโจกของ
นักอุตสาหกรรมพาณิชยกรรม และเป็นตัวแทนของพวกเขา ภายใต้รูปแบบของรัฐที่มีกษัตริย์
อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ชนชั้นนายทุนอาศัยขุนนางเจ้าที่ดินเป็นผู้สนอง นายทหารกองทัพบก
ไปรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ สนองนายทหารกองทัพเรือไปปล้นชิงอาณานิคม
และตลาดการค้าต่างประเทศ สนองนักการเมืองและข้าราชการไปหลอกลวงประชาชนรักษาฐานะ
การปกครองของพวกเขา ภายหลังที่ชนชั้นกรรมาชีพอังกฤษก้าวขึ้นสู่เวทีการเมืองแล้ว
ชนชั้นนายทุนใหญ่ก็ยิ่งต้องการความร่วมมือกับขุนนางเจ้าที่ดินเพื่อปราบปรามการเคลื่อนไหว
ของกรรมกรต่อไป

ล้อค ผลผลิตจากการประนีประนอมของชนชั้นนายทุนใน 1688

ลักษณะอ่อนแอและลักษณะประนีประนอมทางการเมืองของชนชั้นนายทุนอังกฤษ ย่อมจะสะท้อน
ออกมาในตัวนักคิดของพวกเขา ความคิดของ ล้อค ก็คือผลผลิตของการประนีประนอมระหว่าง
ชนชั้นนายทุนกับขุนนางเจ้าที่ดินนั่นเอง

จอห์น ล้อค(Locke John 1632-1704)

เคยเข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางการเมืองของชาวพรรควิกอย่างเอาการเอางานในสมัยฟื้นอำนาจราชวงศ์
ต่อมาเนื่องจากกลัวว่าจะถูกทำร้ายจึงหนีไปอยู่ประเทศฮอลแลนด์ กลับประเทศภายหลังการรัฐประหาร
ปี 1688 เคยเป็นข้าราชการของกระทรวงพาณิชย์และอาณานิคม

ล้อค เป็นนักปรัชญาวัตถุนิยมของชนชั้นนายทุนอังกฤษ เขายอมรับการดำรงอยู่ของโลกวัตถุทางภววิสัย
เห็นว่า การรับรู้ของคนเรามีต้นกำเนิดที่ประสบการณ์ เป็นสิ่งที่ได้รับในภายหลัง มิใช่มีมาก่อนกำเนิด
แต่วัตถุนิยมของเขาไม่ถึงที่สุด เป็นต้นว่า เขาแยกประสบการณ์เป็น 2 ชนิดคือ "ประสบการณ์ภายนอก"
กับ "ประสบการณ์ภายใน" เห็นว่า "ประสบการณ์ภายนอก" เป็นผลที่เกิดจากสรรพสิ่งภายนอกเกิดบทบาท
ต่อประสาทสัมผัสภายใน ส่วน "ประสบการณ์ภายใน" นั้นเป็นผลผลิตการเคลื่อนไหวของจิตตัวเอง
ทั้งเป็นแหล่งที่มาของการรับรู้ที่เป็นอิสระแหล่งหนึ่งด้วย เช่นนี้แล้วก็เป็นการยอมถอยหลังให้กับ
จิตนิยมหลายก้าวทีเดียว

ในด้านความคิดทางการเมืองของเขา ก็มีลักษณะประนีประนอมทางชนชั้นอยู่เช่นเดียวกันขณะนั้น
การเคลื่อนไหวปฏิวัติของชาวนาและชาวเมืองที่ยากจนถูกปราบปราม ตกอยู่ในกระแสต่ำความขัดแย้ง
ระหว่างชนชั้นนายทุนกับราชวงศ์ฟื้นอำนาจอยู่ในฐานะเป็นความขัดแย้งหลัก ฉะนั้นเขาคัดค้านรูปแบบ
อำนาจรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชของราชวงศ์สจ๊วต แต่ขณะเดียวกันก็คัดค้านการสถาปนารูปแบบ
อำนาจรัฐแบบสาธารณรัฐ หากมีความคิดเห็นให้สถาปนาระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมี
รัฐสภาเป็นองค์นำหลัก ซึ่งเป็นการยอมถอยให้กับขุนนางเจ้าที่ดิน

ในฐานะตัวแทนความคิดของชนชั้นขูดรีด เขาพยายามพิทักษ์รักษาระบอบกรรมสิทธิ์เอกชนของชนชั้นนายทุน
ล้อค เห็นว่าในขณะที่มนุษย์ยังอยู่ในภาวะธรรมชาตินั้นก็มีสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินเอกชนอยู่แล้ว
และเห็นว่า มันเป็นสิทธิสำคัญที่สุดใน "สิทธิมนุษย์เป็นสิทธิฟ้าประทาน" ใช้สิ่งนี้ไปต่อต้านความคิดเกี่ยวกับ
ที่ดินเป็นของสังคม ทรัพย์สินเป็นของสาธารณะแบบบรรพกาลโฆษณาลักษณะชั่วนิรันดรและลักษณะศักดิ์สิทธิ์
ที่ไม่อาจล่วงละเมิดของทรัพย์สินเอกชน เขายึดถือความคิดเห็นในทฤษฏี "ว่าด้วยสัญญาประชาคม" ป่าวร้องว่า
"จุดมุ่งหมายสำคัญและใหญ่หลวงที่ผู้คนทั้งหลายรวมตัวกันเป็นประเทศทั้งวางตัวอยู่ใต้รัฐบาลนั้นก็เพื่อปกป้อง
และคุ้มครองทรัพย์สินของพวกเขา"

ทฤษฏีว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินของชนชั้นนายทุนและทฤษฏีว่าด้วยอำนาจรัฐของล้อคกลายเป็นพื้นฐานทางทฤษฏี
ของชนชั้นนายทุนอังกฤษในการสถาปนารัฐที่มีกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นมูลฐานทางความคิดในการทำ
รัฐประหาร ปี 1688 ทั้งมีผลสะเทือนอย่างมากต่อนักคิดชนชั้นนายทุนฝรั่งเศสและอเมริกาในศตวรรษที่ 18

เนื้อแท้ของรัฐที่มีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญของชนชั้นนายทุนอังกฤษ

ระบอบเผด็จการศักดินาของอังกฤษได้ถูกโค่นลงในที่สุดภายใต้การซัดกระหน่ำของกระแสปฏิวัติของประชาชน
แต่การรัฐประหารในปี 1688 ได้สถาปนารัฐที่ปกครองโดยระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญทำให้ชนชั้นนายทุนใหญ่
และขุนนางเจ้าที่ดินของอังกฤษร่วมกันกุมอำนาจรัฐ ระบอบสืบสันตติวงศ์ สภาขุนนางที่สมาชิกสภามาจากการ
สืบสายโลหิต ระบอบเขตเลือกตั้งเก่าและอังกลิกัล เป็นต้น ล้วนได้รับการธำรงรักษาไว้ ระบอบกษัตริย์ภายใต้
รัฐธรรมนูญเป็นรูปแบบเผด็จการชนชั้นนายทุนชนิดหนึ่ง ภายใต้รูปแบบชนิดนี้ พระราชอำนาจของกษัตริย์จะถูกจำกัด
โดยสิ่งที่เรียกว่า รัฐธรรมนูญ นัยหนึ่งก็คือ กษัตริย์จะต้องทำงานให้เป็นไปตามผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน
ที่น่าแปลกก็คือ ในประเทศอังกฤษตราบเท่าทุกวันนี้ยังไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นแบบทางการฉบับหนึ่ง
เพียงแต่อาศัยธรรมเนียมปฏิบัติตามประเพณีที่สืบทอดมาแต่สมัยกลาง
ตัวอย่าง คำพิพากษา รวมทั้งประกาศ
และคำสั่งที่สำคัญๆ ซึ่งรัฐสภาประกาศใช้มาตามลำดับ มาผสมผเสกันเข้าเป็นธรรมนูญการปกครอง

รัฐสภาอังกฤษมาจากสมัยกลาง แบ่งเป็น 2 สภา สภาบนหรือสภาสูงซึ่งก็คือ สภาขุนนางที่อนุรักษ์ที่สุด
สมาชิกสภามาจากการสืบสายตระกูล ภาระหน้าที่สำคัญของสภานี้ก็คือ ทำการยับยั้งหรือเตะถ่วงร่างกฏหมาย
ที่กระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของเจ้าที่ดินใหญ่ซึ่งเสนอโดยสภาล่าง สภาล่างก็คือ สภาผู้แทนราษฏร
สมาชิกสภามาจากการเลือกตั้งของผู้มีสมบัติ เนื่องจากกำลังทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น ชนชั้นนายทุนและ
ขุนนางใหม่ของอังกฤษก็เริ่มควบคุมสภาล่าง ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ทั้งทำให้อำนาจของสภาล่างเหนือกว่า สภาบน
ต้นศตวรรษที่ 18 ขุนนางเจ้าที่ดินและชนชั้นนายทุนใหญ่อาศัยกรณีที่ชาวพรรคเจมส์ยกพลขึ้นบกที่สก๊อตแลนด์
เพื่อหวังฟื้นอำนาจครั้งใหม่ (1715) เป็นเหตุผลโดยกำหนด "เขตเลือกตั้งเสื่อมโทรม"
(หมายเหตุ : ระหว่างศตวรรษที่ 17-18 อังกฤษได้ฟื้นสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรในเขตเมืองและชนบท
ที่เสื่อมโทรม มีพลเมืองน้อยซึ่งเป็นเขตที่อยู่ในความควบคุมของขุนนางเจ้าที่ดิน เขตเหล่านี้ถูกเยาะเย้ยว่าเป็น
"เขตเลือกตั้งเสื่อมโทรม" สมาชิกสภาของเขตเหล่านี้กำหนดตัวโดยเจ้าที่ดิน และก็สามารถทำการซื้อขายเป็นสินค้าได้)
ที่เก่าแก่ให้อยู่อย่างถาวรต่อไป ทั้งนี้เพื่อควบคุมรัฐสภาอีกก้าวหนึ่ง รัฐสภาอังกฤษ ยังมีกลลวงอีกชุดหนึ่ง
ที่เรียกว่าระบอบ 2 พรรค
นับแต่ปลายศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา รัฐสภากลายเป็นเวทีการเมืองที่ผลัดกันแสดง
โดยพรรควิกกับพรรคทอรี่ (หมายเหตุ : พรรควิกกับพรรคทอรี่ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเสรีนิยมและพรรคอนุรักษ์นิยม
ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 ทั้ง 2 พรรคนี้ได้ผลัดกันกุมอำนาจรัฐหลังสงครามโลกครั้งที่ 1) สิ่งที่ทั้ง 2 พรรคนี้
ดำเนินอยู่นั้นล้วนเป็นนโยบายและหลักนโยบายของชนชั้นนายทุน ไม่มีความแตกต่างกันในทางหลักการ
ผู้นำของพรรคทั้ง 2 ล้วนเป็นส่วนบนของขุนนางเจ้าที่ดิน เพียงแต่ว่าขุนนางเจ้าที่ดินของพรรควิกมีความสัมพันธ์
ทางเศรษฐกิจกับชนชั้นนายทุนธนาคารกับพาณิชยกรรมค่อนข้างแนบแน่นกว่า ในสังคมทุนนิยมของอังกฤษ
การแข่งขันการเลือกตั้งทั้ง 2 ฝ่ายล้วนใช้วิธีใช้เงินไปซื้อเสียงทั้งสิ้น พวกข้าราชการท้องถิ่นก็สามารถขายที่นั่ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรได้
ฉะนั้น พรรควิกที่มีทุนทรัพย์แน่นหนากว่าจึงมักได้เปรียบกว่า
ทั้ง 2 พรรคผลัดกันแย่งที่นั่งในสภา แย่งตำแหน่งรัฐมนตรีและตำแหน่งต่างๆ ในองค์กรของรัฐ ผลัดกันกุมอำนาจ
แต่ต่างก็ดำเนินนโยบายปราบปรามต่อภายใน และปล้นชิงต่อภายนอกทั้งสิ้นพยายามพิทักษ์รักษาการเมือง
แบบคณาธิปไตยในระบอบเลือกตั้งแบบเก่าไว้อย่างสุดกำลังความสามารถ

โดยความเป็นจริงแล้ว อำนาจรัฐที่แท้จริง ไม่ใช่รัฐสภาที่ได้แต่ส่งเสียงตะโกนโหวกเหวก
หากอยู่ที่คณะรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่เครื่องมือเผด็จการของชนชั้นนายทุน


นายกรัฐมนตรีคือ หัวหน้าพรรคของพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากในรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นผู้จัดตั้งคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีบริหารงานโดยรับผิดชอบต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรีจะต้องดำเนินนโยบายที่สอดคล้อง
กับผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนและขุนนางเจ้าที่ดิน เนื่องจากผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆ ภายในชนชั้นนายทุน
ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อใดที่นโยบายในการบริหารประเทศของคณะรัฐมนตรี ไม่เป็นผลดีต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ของชนชั้นปกครอง ก่อให้เกิดความไม่พอใจ สภาไม่ให้การสนับสนุนอีกต่อไป คณะรัฐมนตรีก็จะต้องลาออกทั้งคณะ
หรือไม่ก็ยุบสภาล่างเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
ระบอบคณะรัฐมนตรีได้สร้างขึ้นในสมัยที่
เซอร์ โรเบิร์ต วัลพอล(Walpole Sir Robert 1721-1742)

ชาวพรรควิกกุมอำนาจ ระบอบรัฐสภาของชนชั้นนายทุนอังกฤษได้รับการวางรากฐานมั่นคงตั้งแต่บัดนั้น
กลายเป็นแบบฉบับของสิ่งที่เรียกว่า "ระบอบประชาธิปไตยตะวันตก"

การปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษ เป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของสังคมมนุษย์ที่เริ่มผ่านจาก สังคมศักดินา
ไปสู่สังคมทุนนิยม การปฏิวัติครั้งนี้ได้โค่นล้มระบอบศักดินาลง สถาปนาความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบทุนนิยม
ขึ้นในอังกฤษ การปฏิวัติครั้งนี้ยังได้สร้างเงื่อนไขทางการเมืองให้กับการปฏิวัติอุตสาหกรรมในเวลาต่อมา
ได้วางรากฐานอันมั่นคงให้กับการสร้างอำนาจครองความเป็นเจ้าโลกทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและ
จักรวรรดิอาณานิคม

การปฏิวัติของอังกฤษไม่เพียงแต่มีผลสะเทือนภายในประเทศเท่านั้น หากยังมีผลสะเทือนอย่างใหญ่หลวง
ต่อการเคลื่อนไหวปฏิวัติคัดค้านศักดินาของประเทศต่างๆ ในยุโรปอีกด้วย

วิถีดำเนินของการปฏิวัติชนชั้นนายทุนอังกฤษแสดงให้เห็นว่า หนทางการปฏิวัตินั้นช่างเลี้ยวลดคดเคี้ยว
แม้จะเป็นเพียงการปฏิวัติชนชั้นขูดรีดชนชั้นหนึ่งเข้าแทนที่ชนชั้นขูดรีดอีกชนชั้นหนึ่งก็ตาม
การปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษเริ่มตั้งแต่ปี 1640 ไปจนถึงการรัฐประหารในปี 1688
ผ่านการต่อสู้ที่เลี้ยวลดคดเคี้ยว วกกลับไปกลับมาหลายครั้งหลายหน ชนชั้นนายทุนที่เจริญขึ้นใหม่
จึงสามารถหยั่งรากการปกครองของตนเองให้มั่นคงได้
บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2006, 05:16:19 PM »

ประวัติศาสตร์โลกยุคใกล้ บทที่ 6 จากจักรวรรดินโปเลียนถึงการฟื้นอำนาจราชวงศ์ศักดินาในยุโรป
กับการต่อสู้คัดค้านกาารฟื้นอำนาจ

ตอนที่ 4 การปฏิวัติเดือนกรกฏาคม 1830

การปกครองปฏิกิริยาของราชวงศ์บูร์บองหลังฟื้นอำนาจ

หลังการฟื้นอำนาจของราชวงศ์บูร์บอง ชนชั้นปกครองศักดินาฮึกเหิมเป็นที่สุด ปี 1814 กษัตริย์หลุยส์ที่ 18

ของฝรั่งเศสได้ประกาศอย่างเปิดเผยไว้ในรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้หลังฟื้นอำนาจ มาตรา 4 ว่า
"กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ ทรงเป็นจอมทัพของเหล่าทัพบกและทัพเรือ ทรงมีอำนาจประกาศสงคราม
ทำสัญญา สนธิสัญญาและข้อตกลงทางการค้า แต่งตั้งตำแหน่งต่างๆขององค์การบริหารของรัฐ ประกาศและ
รักษากฏหมายตลอดจนประกาศคำสั่งต่างๆ ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ" รัฐธรรมนูญวรรคสุดท้ายถึงกับ
เขียนไว้ว่า "พระราชทาน ณ กรุงปารีส คริสต์ศักราช ปีที่ 1814 ราชวงศ์เราปีที่ 19" กล่าวสำหรับกษัตริย์แล้ว
ราวกับว่าฝรั่งเศสทั้งไม่ได้เกิดการปฏิวัติและทั้งไม่เคยมีอำนาจรัฐปฏิวัติดำรงอยู่ โดยเห็นว่ารัชสมัยของเขา
เริ่มในปี 1795 ซึ่งก็คือปีที่หลุยส์ที่ 17 สิ้นพระชนม์นั่นเอง รัฐธรรมนูญบัญญัติว่า สมาชิกสภาขุนนางแต่งตั้ง
โดยกษัตริย์ ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรนั้น มีข้อจำกัดเกี่ยวกับคุณสมบัติด้านทรัพย์สินอยู่มาก
ผู้มีอายุครบ 30 ปี เสียภาษีทางตรง ปีละ 1,000 ฟรังค์จึงมีสิทธิ์เลือกตั้ง ตามสถิติในปี 1820 ในจำนวนผู้เสียภาษี
10 ล้านคนและพลเมือง 29 ล้านคน ผู้มีสิทธิ์เลือกตังจะมีเพียง 96,000 คน และผู้มีคุณสมบัติรับเลือกตั้งเพียง
18,000 คนเท่านั้น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรที่มีขึ้นในปี 1815 ปรากฏว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร
ที่ได้รับเลือกตั้งเกือบจะมีแต่ ขุนนางและหมอสอนศาสนาชั้นสูงทั้งหมด

พร้อมๆ กับการฟื้นอำนาจราชวงศ์ศักดินา อิทธิพลศักดินาก็เริ่มโหมกระแสพลิกคดีอย่างบ้าคลั่ง
ดำเนินการสังหารอย่างคลุ้งกลิ่นคาวเลือด ทั่วฝรั่งเศสถูกปกคลุมด้วยความสยดสยอง รัฐบาลฟื้นอำนาจ
ได้จัดตั้งศาลทหารและศาลพิเศษ ทำการพิจารณาพิพากษาโทษนักปฏิวัติจำนวนมาก จนถึงเดือนสิงหาคม 1815
ผู้ถูกจับมีมากกว่า 70,000 คน ถูกตัดสินประหารชีวิตจำคุกตลอดชีวิต และเนรเทศตามลำดับ ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง
มีชาวนาถูกจับ 23 คน ในจำนวนนี้ถูกประหารชีวิต 7 คน โทษของพวกเขาก็คือ ในสมัยปฏิวัติพวกเขาได้ปลดอาวุธ
ผู้ก่อการร้ายปฏิปักษ์ปฏิวัติในแวงดี นอกจากนี้ "เยาวชนสีทอง" ซึ่งเป็นกลุ่มจัดตั้งของศาสนาจักรโรมันคาทอลิก
ได้รวบรวมพวกวายร้ายกลุ่มหนึ่งทำการเข่นฆ่าพวกปฏิวัติและสาวกนิกายโปรเตสแตนท์ในท้องที่ต่างๆ
อย่างกระหายเลือด หลุยส์ที่ 18 ยังมอบอำนาจในการศึกษาแก่ศาสนจักรโรมันคาทอลิก จำกัดการเคลื่อนไหว
ทางสังคมและสิทธิเสรีภาพของมวลประชาชนเป็นต้น

ปี 1824 หลุยส์ที่ 18 ป่วยสิ้นพระชนม์ ชาร์ลส์ที่ 10(ครองราชย์ 1824-1830)

ซึ่งเป็นพระอนุชาขึ้นสืบราชบัลลังก์ ฐานะของราชวงศ์ฟื้นอำนาจเลวร้ายลง การต่อสู้ของชาวนาที่คัดค้าน
การเก็บภาษีหนักของขุนนางและพวกพระนับวันดุเดือด กรรมกรของฝรั่งเศสเนื่องจากไร้สิทธิ์ทางการเมือง
และชีวิตความเป็นอยู่ยากแค้นลำเค็ญ จึงก่อการต่อสู้มิได้ขาด ภายใต้ผลสะเทือนจากการปฏิวัติในสเปนและอิตาลี
องค์การจัดตั้งใต้ดินทุกชนิดที่นำโดยชนชั้นนายทุนก็ได้ขยายการเคลื่อนไหวอย่างคึกคัก ราชวงศ์ฟื้นอำนาจรู้สึกถึง
การคุกคามจากการปฏิวัติ เพื่อเสริมความมั่นคงให้กับการปกครองปฏิกิริยาของตน จึงประกาศคำสั่งจำนวนมาก
เดือนเมษายน 1825 ชาร์ลส์ที่ 10 ประกาศคำสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้หนีตายเป็นจำนวนเงินสูงถึง
1,000 ล้านฟรังค์ กำหนดว่าพวกพระและขุนนางหนีตายที่ถูกริบที่ดินในสมัยปฏิวัติล้วนมีสิทธิ์ได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหาย
จำนวนเงินที่นำมาชดใช้มีมากกว่า 19 เท่าของรายได้จากที่ดินของพวกเขาที่ถูกริบในปี 1790 เพื่อรวบรวมเงินให้ครบ
1,000 ล้านฟรังค์ รัฐบาลลงมือรีดเค้นจากมวลประชาชนอันไพศาลเป็นอันดับแรก เพิ่มภาษี ลดดอกเบี้ยพันธบัตร จาก 5%
เหลือ 3% ซึ่งก็ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่นายธนาคารทั้งหลาย พวกเขากล่าวว่า นี่เป็นการ "ตีชิงประชาราษฏร์"
ปี 1826 ประกาศกฏหมายสิ่งพิมพ์ให้หนังสือพิมพ์ทุกฉบับอยู่ภายใต้การเซ็นเซอร์อย่างเข้มงวด และจะถูกฟ้องร้อง
ตามกฏหมายหากมีการละเมิด ชาร์ลส์ที่ 10 ยังได้ประกาศกฏหมายคำสั่งอื่นๆ ที่ใช้สำหรับปราบปรามประชาชน
จำนวนมาก ประชาชนเพียงแสดงความไม่พอใจต่อรัฐบาลก็จะถูกลงโทษอย่างหนัก มาตรการปฏิกิริยาเหล่านี้
ไม่เพียงแต่ไม่สามารถเสริมความมั่นคงให้กับการปกครองของราชวงศ์ฟื้นอำนาจเท่านั้น หากกลับนำความเคียดแค้น
ชิงชังมาสู่ประชาชน เร่งให้ราชวงศ์บูร์บองถึงกาลอวสานเร็วขึ้น

การปฏิวัติเดือนกรกฏาคม 1830
เมื่อมีการฟื้นอำนาจก็ต้องมีการต่อสู้ต้านการฟื้นอำนาจ มวลประชาชนที่ผ่านการฝึกฝนหล่อหลอมจากการปฏิวัติ
ชนชั้นนายทุนของฝรั่งเศสย่อมไม่ยินยอมให้ประวัติศาสตร์ถอยหลังเข้าคลอง พวกเขาจึงขยายการต่อสู้ต่อต้าน
การฟื้นอำนาจศักดินา ปี 1821 ได้มีองค์การจัดตั้งปฏิวัติใต้ดินแบบเดียวกับพรรคเผาถ่านในอิตาลี
ปรากฏขึ้นในฝรั่งเศส เตรียมใช้การลุกขึ้นสู้ด้วยกำลังอาวุธไปโค่นล้มราชวงศ์บูร์บอง เดือนพฤศจิกายน 1827
ที่ปารีสเกิดการเดินขบวนสำแดงกำลังคัดค้านชาร์ลส์ที่ 10 มีบางเขตได้สร้างบังเกอร์สำหรับสู้รบตามสายถนน
และตรอกซอย เพื่อรับมือกับกองทหารที่ยกมาปราบปราม วันที่ 26 กรกฏาคม 1830 ชาร์ลส์ที่ 10 ประกาศ
คำสั่งยุบสภาใหม่ ห้ามมิให้ประชาชนชุมนุม ทั้งจำกัดเสรีภาพในการพิมพ์อย่างเข้มงวดกวดขัน ปิดหนังสือพิมพ์
ที่แอนตี้รัฐบาล ประกาศคำสั่งให้กำหนดวิธีเลือกตั้งใหม่ สิทธิเลือกตั้งมีได้ก็แต่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนใหญ่เท่านั้น
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจึงลดลงร้อยละ 75 ทันที มันไม่เพียงแต่ลิดรอนสิทธิ์เลือกตั้งของประชาชนผู้ใช้แรงงานเท่านั้น
หากยังลิดรอนสิทธิเลือกตั้งของชนชั้นนายทุนอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมอีกด้วย ด้วยเหตุนี้
กฏหมายคำสั่งปฏิกิริยา ในเดือนกรกฏาคมจึงกลายเป็นชนวนของการปฏิวัติเดือนกรกฏาคม

หลังจากประกาศคำสั่งเดือนกรกฏาคมแล้ว ทั่วประเทศก็ลุกฮือ ที่ปารีสมีประชาชน 80,000 คนจับอาวุธขึ้น
ก่อบังเกอร์ขึ้นตามถนนสายต่างๆ ตะโกนคำขวัญ "โค่นบูร์บอง เสรีภาพจงเจริญ" ผ่านการสู้รบบนท้องถนน
เป็นเวลา 3 วัน มวลชนที่ติดอาวุธก็เข้ายึดราชวังไว้ได้ ชักธง 3 สีในสมัยปฏิวัติชนชั้นนายทุนของฝรั่งเศสสู่ยอดเสา
ชาร์ลส์ที่ 10 ตะลีตะลานหนีไปอยู่อังกฤษ นี่ก็คือการปฏิวัติเดือนกรกฏาคมในประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศส

ในการปฏิวัติครั้งนี้ กรรมกร หัตถกร และมวลชนผู้ใช้แรงงานอื่นๆ มีบทบาทสำคัญ ได้แสดงออกซึ่งจิตใจ
วีรชนปฏิวัติที่ยืนหยัดต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยว ถึงที่สุด มีผู้พบเห็นเหตุการณ์ในครั้งนั้นคนหนึ่งได้เขียนบรรยายว่า
"ที่นี่ ทางด้านหลังของทหารซึ่งกำลังโจมตีบังเกอร์ที่ขัดขวางการคืบไปข้างหน้า ได้ปรากฏบังเกอร์ใหม่ขึ้น
ราวกับถูกบันดาลด้วยคทามายากล ที่นั่น พวกผู้หญิงกำลังฝ่าห่ากระสุนโยนถังไม้ เครื่องเรือนและไม้ฟืนที่ติดไฟ
ลงมาจากหน้าต่าง ที่อีกด้านหนึ่ง พวกเด็กๆ ย่องไปที่หน่วยทหารม้าในชุดเสื้อเกราะแล้วใช้มีดปลายแหลม
ทิ่มแทงพวกเขา"

ชัยชนะของการปฏิวัติเดือนกรกฏาคม ได้มาโดยประชาชนผู้ใช้แรงงานโดยแท้
แต่เนื่องจากขณะนั้นชนชั้นกรรมชีพยังไม่ได้ก่อรูปเป็นชนชั้นที่มีจิตสำนึกทางการเมือง
อำนาจการนำของการปฏิวัติยังกุมอยู่ในมือของชนชั้นนายทุน ด้วยเหตุนี้
ดอกผลของการปฏิวัติจึงถูกชนชั้นนายทุนใหญ่ และขุนนาง นายธนาคาร แย่งยึดไป


อำนาจรัฐที่สถาปนาขึ้นภายหลังการปฏิวัติคือ อำนาจรัฐเผด็จการชนชั้นนายทุนใหญ่ ขุนนาง นายธนาคาร
ซึ่งมี ดยุ๊คแห่งออร์เลียงส์ หลุยส์ ฟิลิป (Louis Philippe ครองราชย์ 1830-1848)

เป็นตัวแทน เรียกว่า "ราชวงศ์กรกฏาคม" แต่ว่าความหมายของการปฏิวัติครั้งนี้นับว่าใหญ่หลวงมาก
มันได้ทำลายการปกครองฟื้นอำนาจของอิทธิพลปฏิกิริยาศักดินาในฝรั่งเศสลง เสริมความมั่นคงให้กับ
ชัยชนะของชนชั้นนายทุนที่คัดค้านขุนนางศักดินา มันได้โจมตีอย่างหนักต่อพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์
ซึ่งเป็นองค์การจัดตั้งของอิทธิพลปฏิกิริยาสากล ผลักดันการเคลื่อนไหวปฏิวัติของชนชั้นนายทุน
ประเทศอื่นๆ ในยุโรปและการเคลื่อนไหวปลดแอกประชาชาติของประเทศต่างๆ พัฒนาก้าวหน้าไป

นับแต่การปฏิวัติชนชั้นนายทุนของฝรั่งเศสในปลายศตวรรษที่ 18 ถึงการปฏิวัติเดือนกรกฏาคม
ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสเต็มไปด้วยการต่อสู้ระหว่างฟื้นอำนาจกับต้านการฟื้นอำนาจระหว่าง
ระบอบกษัตริย์กับระบอบสาธารณรัฐ การต่อสู้ชนิดนี้มีติดต่อกันจนถึง
ทศวรรษที่ 1970 เผด็จการชนชั้นนายทุนของฝรั่งเศสจึงได้มั่นคงภายใต้รูปแบบสาธารณรัฐ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2006, 05:19:55 PM โดย narongt » บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2006, 07:04:15 PM »

ประวัติศาสตร์โลกยุคใกล้ บทที่ 14 กระแสสูงการปฏิวัติคัดค้านลัทธิล่าอาณานิคม
และศักดินานิยมของเอเชียในกลางศตวรรษที่ 19

ตอนที่ 1 สงคราม ดิโป นิโคโร

การปกครองคลุ้งกลิ่นคาวเลือดของนักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์

อินโดนีเซียตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย

ประกอบด้วยเกาะแก่งต่างๆ รวม 3,000 กว่าเกาะที่ตั้งเรียงรายอยู่ระหว่างมหาสุมทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย
จึงได้ชื่อว่า "ประเทศพันเกาะ" ก่อนที่นักล่าอาณานิคมจะรุกรานเข้าไป อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีอาณาจักร
ศักดินาเต็มไปหมด อาณาจักรที่ค่อนข้างใหญ่ก็มีเช่น มาตาแรม ของชวาตะวันออก, บันดุง ของชวาตะวันตก
และอาซินของเกาะสุมาตรา เป็นต้น

พวกเขาต่างเป็นปฏิปักษ์กัน ฆ่าฟันซึ่งกันและกัน

ต้นศตวรรษที่ 16 นักล่าอาณานิคมโปรตุเกสรุกรานเข้าสู่อินโดนีเซียเป็นประเทศแรก นักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์
ก็ได้รุกรานเข้าสู่ บันดุง ในปี 1598 และสร้างจุดที่มั่นชั่วคราวขึ้น ปี 1602 ฮอลแลนด์ก่อตั้ง "สหบริษัทอีสต์อินเดีย"
(บริษัทอีสต์อินเดียของฮอลแลนด์) ได้รับสิทธิพิเศษผูกขาดทางการค้ากับอินโดนีเซียจากรัฐสภาฮอลแลนด์ทั้งได้
อำนาจเต็มในการเกณฑ์ทหาร สร้างป้อมปืนใหญ่ พิมพ์ธนบัตร แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ชั้นต่างๆและเป็นผู้แทนของฮอลแลนด์
ในการทำสนธิสัญญากับต่างประเทศ ในทางเป็นจริงแล้ว บริษัททำหน้าที่ในฐานะของรัฐ บริษัทได้ก่อสงครามรุกราน
ต่ออินโดนีเซียหลายครั้ง ได้พิชิตหมู่เกาะโมลุกกะ ควบคุมหมู่เกาะแอมบอยน่า-บันดาเป็นต้น ซึ่งเป็นเกาะที่มีสินค้า
เครื่องเทศจำนวนมาก ปี 1619 นักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์ก็ใช้จาการ์ตาและเปลี่ยนชื่อเป็น ปัตตาเวีย ในปี 1621
ต่อจากนั้น นักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์ก็ใช้จาการ์ตาเป็นฐาน ใช้นโยบายแบ่งแยกแล้วปกครอง (กล่าวตามคำพูดของ
นักล่าอาณานิคมผู้หนึ่งก็คือ "เสี้ยมสอนให้อาณาจักรหนึ่งไปคัดค้านอีกอาณาจักรหนึ่ง" "อย่าปล่อยให้บันดุงอ่อนแอเกินไป
และอย่าปล่อยให้มาตาแรมเข้มแข็งเกินไป")
ดำเนินการแผ่ขยายอิทธิพลต่อท้องที่ต่างๆ ของอินโดนีเซีย ปี 1750
นักล่าอาณานิคมก่อสงครามรุกรานต่ออาณาจักรบันดุง แปรบันดุงเป็น "รัฐในอารักขา" ของตน ขณะเดียวกันนักล่า
อาณานิคมฮอลแลนด์ ยังยุแหย่ให้ชนชั้นปกครองมาตาแรมทำสงครามกลางเมือง แล้วฉวยโอกาสแบ่งแยกมาตาแรม
เป็นอาณาจักรเล็กๆ 2 อาณาจักรซึ่งก็คือ ยอกจาการ์ตา กับ โซโล ที่ขึ้นกับตน

นักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์ได้ส่งข้าหลวงใหญ่ไปปกครองอินโดนีเซีย ในเขตยึดครองของบริษัท
นักล่าอาณานิคมดำเนินการปกครองโดยตรง ส่วนเขตท้องที่อื่นๆ ยังคงไว้ซึ่งรูปแบบการปกครอง
ของราชอาณาจักรศักดินา ผ่านตัวแทนและหุ่นเชิดเหล่านี้ไปดำเนินการปกครองทางอ้อม

นักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์ได้ดำเนินการกดขี่และปล้นชิงต่อประชาชนอินโดนีเซียอย่างโหดร้ายทารุณ
พวกเขาผูกขาดการค้า ห้ามอินโดนีเซียทำการค้าขายกับประเทศอื่นนอกเหนือจากฮอลแลนด์เด็ดขาด
ทั้งไม่อนุญาติให้มีการค้าขายกันอย่างเสรีระหว่างเกาะต่างๆ ของอินโดนีเซีย ผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษอย่างหนัก
ชาวบ้านในหมู่เกาะบันดา
เนื่องจากขายกากถั่วเหลืองให้กับชาวยุโรปอื่นๆ ก็ถูกเข่นฆ่าจนเกือบจะล้างเกาะ ในเขตปกครองโดยตรง
นักล่าอาณานิคมได้ดำเนิน "ระบอบภาษีเป็นสิ่งของในจำนวนที่แน่นอน" ไปจัดเก็บภาษีจากชาวนา ตามจำนวน
ผลผลิตที่ได้รับ ส่วนในเขตที่ปกครองโดยทางอ้อม พวกเขาก็ดำเนิน "ระบอบสนองภาคบังคับ" เซ็นสัญญาผูกขาด
การผลิตกับเจ้าถิ่น กำหนดชนิดและปริมาณของผลิตผลพื้นเมือง โดยบริษัทจะเป็นผู้รับซื้อผลผลิตเหล่านั้นในราคาถูก
ทั้งส่งเจ้าหน้าที่ของอาณานิคมไปควบคุมถึงที่ โดยวิธีการเหล่านี้ นักล่าอาณานิคม ได้กอบโกยเอาเครื่องเทศและ
ผลิตผลของท้องถิ่นไปเป็นจำนวนมาก และนำไปจำหน่ายในตลาดยุโรปด้วยราคาผูกขาด เพื่อประกันราคาผูกขาด
ทางบริษัทได้ควบคุมการผลิตและการส่งออกอย่างเข้มงวด กำหนดให้ท้องที่หนึ่งๆ จะปลูกได้เฉพาะพืชไร่ที่อนุญาติ
ให้ปลูกเท่านั้น เนื่องจากราคาเครื่องเทศและกาแฟในตลาดยุโรปมักขึ้นลงไม่แน่นอน เมื่อราคาสินค้าเกษตรชนิดใดตกต่ำลง
บริษัทก็จะสั่งให้ตัดหรือทำลายพืชไร่ชนิดนั้นแล้วเปลี่ยนไปปลูกพืชไร่ชนิดอื่นแทน ผลสุดท้ายก็คือ ชาวนาชาวไร่เพาะปลูก
เป็นเวลาหลายปี ก็ยังไม่ได้อะไรเลย ถึงแม้จะเก็บเกี่ยวได้บ้าง บริษัทก็รับซื้อในราคาต่ำ ชาวไร่ชาวนาจะได้ไม่พอกับการลงทุน

บริษัทยังดำเนินระบอบทาสในเขตปกครองโดยตรงอีกด้วย กระทั่งจัดตั้งทาสเข้าเป็นทหารทาส จากนี้ไปบรรลุจุดมุ่งหมายใช้
คนอินโดนีเซีย ฆ่าคนอินโดนีเซียด้วยกันเอง ปี 1778 ที่จาการ์ตาก็มีทาสชาวบาหลี 13,000 คน
นักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์นอกจากนำเอาเชลยที่จับได้ในสงครามมาเป็นทาสแล้ว ยังดำเนิน "ระบบลักพาตัว" ที่แสนจะทารุณ
โดยทางบริษัทจะฝึกอบรมคนร้ายลักพาตัวและ ล่าม ขึ้นจำนวนหนึ่ง คอยดักจับชายฉกรรจ์ตามเกาะต่างๆ ของอินโดนีเซีย
และตามชายฝั่งทะเลประเทศจีนและอินเดีย แล้วคุมตัวไปยังเขตปกครองโดยตรงของพวกเขา ไปทำงานหนักแบบทาส
โดยผ่านจากรูปแบบวิธีการกดขี่ขูดรีดเหล่านี้ นักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์ได้ปล้นชิงโภคทรัพย์จากอินโดนีเซียไปเป็นจำนวนมาก
ในช่วงจากปี 1602-1610 อัตรากำไรเฉลี่ยแต่ละปีของบริษัทคือร้อยละ 32.5 ปี 1611 เพิ่มเป็นร้อยละ 75 ปี 1650 พุ่งสูงขึ้น
เป็นร้อยละ 500 ตรงกันข้าม ประชาชนอินโดนีเซีย กลับตกอยู่ในห้วงของความอดอยากยากจน ที่ใดที่ได้ประทับรอยเท้าของ
นักล่าอาณานิคม ที่นั่นก็จะเกิดปรากฏการณ์ที่ประชากรลดลงและที่ดินรกร้างว่างเปล่าอย่างเห็นได้ชัด มณฑลบันนิววานจิของชวา
ในปี 1750 มีประชากร 80,000 คน ถึงปี 1811 ก็เหลือเพียง 8,000 คนเท่านั้น การปกครองและการปล้นชิงอย่างทารุณของ
นักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์ทำให้สังคมอินโดนีเซียชะงักงันการพัฒนาเป็นเวลายาวนาน

การต่อสู้ต่อฮอลแลนด์ของประชาชนอินโดนีเซียและชาวจีนโพ้นทะเลในอินโดนีเซียในยุคต้น

กระบวนการที่นักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์สมคบกับเจ้าศํกดินาแปรประเทศอินโดนีเซียเป็นอาณานิคมก็คือ
กระบวนการต่อสู้ต่อต้านนักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์อย่างไม่ขาดสายของประชาชนชาวอินโดนีเซีย
ประชาชนชาวอินโดนีเซียนับแต่วันแรกที่นักล่าอาณานิคมตะวันตกรุกรานเข้าไปก็ได้ดำเนินการต่อสู้
อย่างอาจหาญไม่ขาดระยะ ทาส ชาวนา และหัตถกรเป็นกำลังหลักของการต่อสู้ ในการต่อสู้ต่อต้าน
ฮอลแลนด์นั้น นับว่าการลุกขึ้นสู้ที่นำโดย โซรา ปาติ เด่นที่สุด โซรา ปาติ(Soerapati) มีพื้นเพมาจากทาส
เคยเป็นทหารทาส เนื่องจากไม่อาจทนต่อการกดขี่และข่มเหงรังแกของนักล่าอาณานิคม จึงนำพรรคพวก
ลุกฮือขึ้นสู้ในปี 1683 ชาวนาก็พากันขานรับการลุกขึ้นสู้ ขบวนการลุกขึ้นสู้จึงเติบใหญ่ไม่ขาดสาย
พวกลุกขึ้นสู้ได้ตั้งประเทศ โซรา ปาติ ตามชื่อผู้นำการลุกขึ้นสู้ที่ งำวัน (บาซูรูอันในปัจจุบัน) แล้วทำการสู้รบ
กับกองทหารอาณานิคมอย่างห้าวหาญตีกองทหารข้าศึกผู้รุกรานล่าถอยไปครั้งแล้วครั้งเล่า การต่อสู้ได้ยืนหยัด
ดำเนินไปจนถึงปี 1719

ในการต่อสู้ต่อต้านนักล่าอาณานิคม ชาวจีนโพ้นทะเลที่พำนักอยู่ในอินโดนีเซียได้สู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่
อยู่กับประชาชนชาวอินโดนีเซีย กรณีที่เด่นที่สุดคือ "ยุทธการน้ำแดง"

ก่อนหน้าที่นักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์จะรุกรานเข้าไป ก็มีชาวจีนโพ้นทะเลพำนักอยู่ในอินโดนีเซียแล้ว
หลังจากที่นักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์รุกรานเข้าไปแล้ว ก็มีการหลอกเอาชาวจีนไปเป็นกุลีที่อินโดนีเซียไม่ขาดสาย
ชาวจีนโพ้นทะเลได้ทำงานอยู่ด้วยกันกับชาวพื้นเมืองที่นั่น ทำเหมืองแร่ ทำการเกษตรและหัตถกรรม และได้นำ
เทคนิคการผลิตจากประเทศจีนเข้าไปด้วย มีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของอินโดนีเซีย
ชาวจีนโพ้นทะเลส่วนข้างมากที่สุดก็เช่นเดียวกับประชาชนผู้ใช้แรงงานชาวอินโดนีเซีย ถูกนักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์
และเจ้าศักดินากดขี่ขูดรีดอย่างทารุณ ชะตากรรมร่วมกันทำให้พวกเขาแนบแน่นอยู่ด้วยกัน นักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์
หวาดกลัวชาวจีนโพ้นทะเลจะเข้ากับประชาชนในท้องถิ่นร่วมกันคัดค้านการปกครองแบบอาณานิคมของพวกเขา
ดังนั้นจึงหาเหตุกลั่นแกล้งปองร้ายชาวจีนโพ้นทะเลอย่างป่าเถื่อน ปี 1706 นักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์ประกาศคำสั่ง
จำกัดการเข้าเมืองของชาวจีนโพ้นทะเล ทั้งบีบบังคับให้ชาวจีนโพ้นทะเลที่พำนักอยู่ก่อนแล้วซื้อ "ใบอนูญาติอยู่ต่อ"
ฉวยโอกาสกอบโกยเงินเข้ากระเป๋า จากนั้นก็หาคำอ้างว่า ชาวจีน "ไร้งาน" ทำการจับกุมชาวจีนโพ้นทะเลในจาการ์ตา
เป็นการใหญ่ แล้วส่งไปที่ ซีลอน(ศรีลังกาในปัจจุบัน) และอาฟริกาใต้ เป็นต้น ไปเป็นแรงงานทาสที่นั่น ปี 1740
นักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์ถึงกับจับเอาชาวจีนโพ้นทะเลในระหว่างคุมตัวไปซีลอนโยนใส่ทะเลจำนวนหนึ่ง
ที่นอกเมืองท่าจาการ์ตา เมื่อข่าวนี้แพร่มาถึง ชาวจีนโพ้นทะเลต่างโกรธแค้นยิ่งนัก จึงได้จัดตั้งกันขึ้น
แต่ถูกผู้ทรยศขายความลับ นักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์จึงชิงลงมือก่อน ทำการจู่โจมเขตที่อยู่อาศัยของ
ชาวจีนโพ้นทะเลในจาการ์ตา เมื่อคืนวันที่ 9 ตุลาคม ชาวจีนโพ้นทะเลที่อาศัยอยู่ในเขตชานเมืองได้ยิน
เสียงปืนดังในเมือง จึงมุ่งหน้าเลียบริมฝั่งแม่น้ำเข้าล้อมเมืองจาการ์ตาไว้ ทำการสู้รบกับนักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์
เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน จึงถอนตัวออกจากจาการ์ตา นักล่าอาณานิคมฮอลแลนดืจึงดำเนินการสังหารชาวจีนโพ้นทะเล
เป็นการใหญ่ติดต่อกัน 10 วัน อันเป็นกรณีที่สะเทือนขวัญผู้คนทั่วไป ข้าหลวงใหญ่สั่งการให้ฆ่าชาวจีนโพ้นทะเล
ทุกคนที่ถูกจับตัวได้ นอกจากนี้ยังติดประกาศทั่วไปว่า ผู้ใดสามารถฆ่าชาวจีนได้คนหนึ่งจะได้รับรางวัลเป็นเงิน
2 ดูคาร์ด (หน่วยเงินตราของอินโดนีเซีย) ชาวจีนโพ้นทะเลที่ถูกสังหารในคราวนั้นมีจำนวน 1 หมื่นกว่าคน
เลือดที่ไหลนองลงสู่ลำน้ำในจาการ์ตาทำให้น้ำกลายเป็นสีแดงไปหมด จึงได้ชื่อว่า "ยุทธการน้ำแดง"
แต่ว่า ขบวนทัพที่ลุกขึ้นสู้ของชาวจีนโพ้นทะเลที่ถอยออกจากจาการ์ตา ได้ติดต่อกับประชาชนชวา
ดำเนินการต่อสู้ต่อต้านฮอลแลนด์ต่อไป ขณะนี้ เจ้าศักดินาส่วนหนึ่งก็ได้เข้าร่วมด้วย ผู้ลุกขึ้นสู้เข้าโจมตี
เมืองสะมารัง และเรมบัง เป็นต้น เข่นฆ่าพวกนักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์ เดือนกรกฏาคม 1741 ยึดได้
เมืองหลวงมาตาแรม สังหารผู้บัญชาการกองทัพอาณานิคม แต่เนื่องด้วยขบวนการที่ลุกขึ้นสู้ไม่มีการนำ
ที่เป็นเอกภาพ เจ้าศักดินาที่เข้าร่วมการต่อสู้ก็ยึดพื้นที่แข็งอำนาจอยู่เฉพาะอีกส่วนหนึ่ง เป็นการบั่นทอน
กำลังของขบวนการลุกขึ้นสู้ ขณะเดียวกัน ผู้นำขบวนลุกขึ้นสู้ส่วนใหญ่ก็ถือกำเนิดจากชั้นบนของศักดินา
นักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์จึงอาศัยจุดอ่อนเหล่านี้ ยุยงให้เกิดความแตกแยกภายใน จากนั้นก็ค่อยๆ
ทำลายทีละส่วน การลุกขึ้นสู้ครั้งนี้จึงถูกปราบปรามลงในที่สุด

การลุกขึ้นสู้เฉพาะเขตของประชาชนอินโดนีเซียในยุคต้นเหล่านี้ ได้สะเทือนการปกครองของนักล่าอาณานิคม
ฮอลแลนด์ กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวของประชาชนอินโดนีเซีย เป็นการตระเตรียมการลุกขึ้นสู้ต่อต้านฮอลแลนด์
ของ ดิโป นิโคโร ที่มีขอบเขตทั่วประเทศต่อไป

สงคราม ดิโป นิโคโร

ปลายศตวรรษที่ 18 ฮอลแลนด์เป็นเป้าหมายการแย่งชิงของอังกฤษกับฝรั่งเศส อาณานิคมของฮอลแลนด์
จึงกลายเป็นสนามการต่อสู้ของพวกเขาด้วย ปี 1806 ฝรั่งเศสยึดฮอลแลนด์ได้จึงแต่งตั้งชาวดัทช์ที่นิยมฝรั่งเศส
เป็นข้าหลวงใหญ่ของอินโดนีเซีย เดือนสิงหาคม 1811 อังกฤษตีได้เมืองจาการ์ตา ปกครองอินโดนีเซียเป็น
ช่วงระยะเวลาสั้นๆ ช่วงหนึ่ง อังกฤษได้ดำเนินรูปแบบขูดรีดแบบอาณานิคมที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของ
ชนชั้นนายทุนอุตสาหกรรมพาณิชยกรรมอังกฤษ เช่นดำเนินระบบค่าเช่าเป็นเงินตรา ยกเลิกระบอบสนองภาคบังคับ
ยกเลิกการค้าผูกขาด ยกเลิกภาษีศุลกากรของหัวเมือง ส่งเสริมทุนต่างชาติ บุกเบิกไร่เพาะปลูก เป็นต้น

หลังจากที่จักรวรรดินโปเลียนพังทลายลงแล้ว ฮอลแลนด์ได้รับเอกราชใหม่ ปี 1816 ตามนัยแห่งสนธสัญญา
อังกฤษ-ฮอลแลนด์ ฮอลแลนด์ได้ครอบครองอินโดนีเซียอีกวาระหนึ่ง ฮอลแลนด์เป็นประเทศทุนนิยมพาณิชยกรรม
ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าอุตสาหกรรมของอังกฤษได้ ดังนั้นจึงฟื้นรูปแบบขูดรีดแบบอาณานิคมอย่างเก่า
แต่คงไว้ซึ่งระบบค่าเช่าเป็นเงินตราที่อังกฤษเคยดำเนินการมาแล้ว นอกจากนี้ นักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์
ยังบังคับประชาชนอินโดนเซียเสียภาษีจิปาถะ เช่นภาษีประตูหน้าต่าง ภาษีโรงเรือน ภาษีสัตว์เลี้ยง
ภาษีเก็บเกี่ยว ภาษีโยกย้ายที่อยู่อาศัย เป็นต้น ภาษีศุลกากรที่มีอยู่เดิมก็เพิ่มประเภทขึ้นอีกจำนวนมาก
สินค้าขนข้ามสะพานต้องเสียภาษี นำไปขายในตลาดก็ต้องเสียภาษี กระทั่งอุ้มเด็กทารกผ่านด่านก็ต้องเสียภาษี
ท้องที่เล็กๆ อย่างเช่น เดดิริ ภาษีจิปาถะก็มีถึง 34 ชนิด ภาษีเก่าบวกภาษีใหม่ กดทับจนประชาชน
แทบจะหายใจไม่ออก การกลับคืนมาใหม่ของนักล่าอาณานิคม ทำให้ความขัดแย้งระหว่างประชาชนอินโดนีเซีย
กับนักล่าอาณานิคมทวีความรุนแรงขึ้น นักล่าอาณานิคมยังสั่งให้เจ้าศักดินาไถ่ถอนที่ดินที่เช่าให้คนต่างชาติ
โดยคืนเงินค่าเช่าให้ แต่ว่า เงินค่าเช่าเหล่านั้นได้ถูกเจ้าศักดินาใช้จ่ายหมดสิ้นไปนานแล้ว ไม่มีปัญญาจะจ่ายคืนได้
ฉะนั้นพวกเขาก็มีความไม่พอใจต่อนักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์ด้วย การลุกขึ้นสู้ทางประชาชาติต่อต้านฮอลแลนด์
ซึ่งนำโดย ดิโป นิโคโร ในระหว่างปี 1825-1830 ก็เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นนั่นเอง

ดิโป นิโคโร (Dipo Nigoro 1785-1855) เป็นเจ้าฟ้าชายของราชอาณาจักรยอกจาการ์ตา
ก่อนลุกขึ้นสู้ ที่ข้างกายเขาแวดล้อมด้วยขุนนางศักดินาที่ไม่พอใจต่อนักล่าอาณานิคมจำนวนหนึ่ง
พวกเขาเห็นอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนที่คัดค้านฮอลแลนด์นับวันเพิ่มทวีสูงขึ้น ดังนั้นจึงตัดสินใจ
ก่อการลุกขึ้นสู้ สถาปนาอาณาจักรอิสลามที่เข้มแข็งขึ้นอาณาจักรหนึ่ง

วันที่ 20 กรกฏาคม 1825 ดิโป นิโคโร ประกาศสาส์นเรียกร้องให้ดำเนินสงครามอันศักดิ์สิทธิ์
ที่คัดค้านนักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์ซึ่งเป็นพวกนอกศาสนา ชาวนาในชวาได้ลุกขึ้นขานรับคำเรียกร้อง
ชาวจีนโพ้นทะเลก็เข้าร่วมการสู้รบหรือสนองอาวุธและกระสุนดินระเบิด ขบวนลุกขึ้นสู้ได้ขยายตัวเติบใหญ่
จนมีจำนวนคนถึง 30,000 คน ดิโป นิโคโร ถือเอา ซาลารอง ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับยอกจาการ์ตา เป็นศูนย์กลาง
เคลื่อนกำลังเข้าสู่ยอกจาการ์ตา และมาจีลัง ซึ่งเป็นค่ายใหญของกองทัพฮอลแลนด์ พวกเขารื้อทำลาย
ด่านศุลกากร สังหารเจ้าหน้าที่อาณานิคม การลุกขึ้นสู้ได้ขยายตัวไปในพื้นที่ส่วนใหญ่ของชวา
ทหารชวาในกองทัพอาณานิคมก็หันปลายกระบอกปืนกลับมายืนอยู่กับฝ่ายลุกขึ้นสู้ เดือนตุลาคม
ดิโป นิโคโร ได้สถาปนาตัวเองขึ้นเป็นสุลต่าน

ปี 1827 ดิโป นิโคโร ได้ปรับปรุงกองทัพลุกขึ้นสู้เพื่อเป็นแกนกำลังสำหรับติดต่อประสานและผลักดัน
การต่อสู้ของท้องที่ต่างๆ เมื่อเผชิญหน้ากับกองทัพอาณานิคมที่มีอาวุธทันสมัยกว่า ผู้ลุกขึ้นสู้ก็ใช้รูปแบบ
การรบแบบจรยุทธ หลีกแข็งตีอ่อน ยืดหยุ่นพลิกแพลง ทำการรบวกวนอยู่ระหว่างเขตพื้นที่อันกว้างใหญ่ของ
ยอกจาการ์ตา โซโร และสะมารัง ทำให้ศัตรูวิ่งวุ่น บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก มีอยู่ครั้งหนึ่ง เด คุกค์
ผู้บัญชาการกองทัพอาณานิคมหลังจากผ่านการตระเตรียมเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว ก็ได้นำกองทหารอาณานิคม
หลายพันคนพร้อมด้วยปืนใหญ่มุ่งหน้าสู่ ซาลารอง หมายมั่นปั้นมือจะต้องจับตัว ดิโป นิโคโร ให้ได้ เพื่อทำลาย
อำนาจรัฐของฝ่ายลุกขึ้นสู้ แต่กองทัพฝ่ายลุกขึ้นสู้ได้เคลื่อนย้ายกำลังออกไปก่อนแล้ว ซาลารอง กลายเป็น
เมืองที่ว่างเปล่า เด คุกค์ ไม่ละความพยายาม เที่ยวค้นหากองกำลังหลักของฝ่ายลุกขึ้นสู้เพื่อทำการรบขั้นแตกหัก
แต่ก็คว้าน้ำเหลวทุกครั้ง ภายใต้การโจมตีของกองกำลังฝ่ายลุกขึ้นสู้ ปลายปี 1828 ข้าหลวงใหญ่ประจำอินโดนีเซีย
ของฮอลแลนด์ถูกบีบลงจากแท่น โดยมี เด คุกค์ เข้ารับหน้าที่แทน

ภายหลัง เด คุกค์ ขึ้นนั่งแท่นแล้ว ด้านหนึ่งก็ใช้ยุทธวิธีป้อมค่าย โดยการสร้างป้อมค่ายเป็นระยะๆ ห่างกัน
20-30 กิโลเมตร ภายในเขตยึดครองของกองกำลังฝ่ายลุกขึ้นสู้ ทั้งได้จัดตั้งกองรบเคลื่อนที่ขึ้น 14 หน่วย
สำหรับรบประสานระหว่างป้อมค่ายต่างๆ มุ่งหวังจะบดขยี้กองทัพฝ่ายลุกขึ้นสู้ให้ได้ อีกด้านหนึ่งก็ดำเนิน
การเคลื่อนไหวก่อความแตกแยกภายในส่วนบนของฝ่ายนำการลุกขึ้นสู้ ดึงเจ้าศักดินาส่วนหนึ่ง
โดยเอายศถาบรรดาศักดิ์เข้าล่อ รับปากว่าถ้าพวกเขาสวามิภักดิ์แล้วจะได้ครอบครองที่ดินของพวกลุกขึ้นสู้
กองกำลังลุกขึ้นสู้ได้ยืนหยัดต่อสู้ภายใต้เงื่อนไขแวดล้อมที่ยากลำบาก ดิโป นิโคโร ได้ปฏิเสธข้อเสนอเจรจา
ของนักล่าอาณานิคมหลายต่อหลายครั้ง แต่ว่า การเคลื่อนไหวก่อความแตกแยกของนักล่าอาณานิคม
บังเกิดผลในหมู่เจ้าศักดินาบางคน เดือนพฤศจิกายน 1828 ผู้ช่วยคนสำคัญของ ดิโป นิโคโร ได้แอบไปเจรจา
กับนักล่าอาณานิคม และถูกนักล่าอาณานิคมจับตัวไป ต่อจากนั้น ผู้บัญชาการทัพที่ลุกขึ้นสู้และคนอื่นๆ
ก็ทยอยกันทรยศขายตัวต่อศัตรู เป็นการบั่นทอนกำลังฝ่ายลุกขึนสู้ลงไปมาก วันที่ 8 มีนาคม 1830
ดิโป นิโคโร ถูกหลอกให้ไปเจรจากับ เด คุกค์ ที่มาจีลัง ถูกนักล่าอาณานิคมฮอลแลนด์ตระบัดสัตย์
จับตัวนำไปคุมขังไว้ที่ มาร์กาสซาร์ จนถึงปี 1855 จึงได้เสียชีวิตที่นั่น
เนื่องจากความโลเลและการทรยศของเจ้าศักดินาที่ลุกขึ้นสู้ การลุกขึ้นสู้ครั้งนี้จึงถูกปราบปรามลงในที่สุด

สงครามต่อต้านอาณานิคมที่นำโดย ดิโป นิโคโร ซึ่งยืนหยัดเป็นเวลา 5 ปี ได้ทำลายทหารอาณานิคม
รวม 15,000 คน ทำให้นักล่าอาณานิคมสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการทำสงครามไป 20 ล้านโตน ได้ลงโทษ
เจ้าหน้าที่อาณานิคมไปเป็นจำนวนมาก เผาไร่กาแฟของเจ้าของไร่เพาะปลูกเป็นการกระหน่ำโจมตีต่อ
นักล่าอาณานิคฮอลแลนด์อย่างหนัก การลุกขึ้นสู้ของประชาชนครั้งนี้ได้จารึกลงในหน้าประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์
ของการต่อสู้คัดค้านลัทธิอาณานิคมของประชาชนอินโดนีเซีย และเป็นการเปิดฉากนำกระแสสูงการต่อสู้
ปลดแอกประชาชาติของเอเชียในกลางศตวรรษที่ 19
บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2006, 10:31:54 PM »

ประวัติศาสตร์โลกยุคใกล้ บทที่ 14 กระแสสูงการปฏิวัติคัดค้านลัทธิล่าอาณานิคม
และศักดินานิยมของเอเชียในกลางศตวรรษที่ 19

ตอนที่ 2 การลุกขึ้นสู้ของสาวกนิกายบาบอิหร่าน

อิหร่านภายใต้การปกครองของราชวงศ์คาร์จาล

กลางศตวรรษที่ 18 อิหร่านเป็นประเทศเผด็จการศักดินาภายใต้การปกครองของราชวงศ์คาร์จาล

กษัตริย์เป็นเจ้าศักดินาที่ใหญ่ที่สุด มีอำนาจล้นฟ้า ทั่วประเทศแบ่งออกเป็น 30 มณฑลและมลรัฐ
โดยมีข้าหลวงใหญ่และผู้ว่าการมลรัฐที่มาจากเชื้อพระวงศ์ โดยความเป็นจริง พวกเขาก็คือ
เจ้าครองรัฐที่เป็นอิสระ ศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ เป็นเสาค้ำทางจิตใจของการปกครองของอิหร่าน
พวกนักบวชชั้นสูงซึ่งถือกำเนิดจากเจ้าที่ดินได้ควบคุมนิกายนี้ไว้ในมือ พวกเขามีอำนาจตีความกฏหมาย
ตามคำภีร์ "โกหร่าน"

ทั้งใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือไปมอมเมาประชาชน เพื่อพิทักษ์รักษาการปกครองศักดินาไว้

ความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบศักดินาครองฐานะปกครองในอิหร่าน กษัตริย์ นักบวชชั้นสูง และเจ้าศักดินา
ได้ครอบครองที่ดินเกือบทั้งหมดของประเทศ ชาวนาถูกผูกติดอยู่บนผืนที่ดิน รักษาความสัมพันธ์แบบพึ่งพา
อยู่กับเจ้าศักดินา จะต้องส่งผลผลิต 4 ใน 5 แก่เจ้าที่ดิน ทั้งยังต้องเสียภาษีจิปาถะ ชีวิตความเป็นอยู่
แสนจะแร้นแค้น พวกหัตถกรถูกจัดตั้งอยู่ในสมาคมอาชีพลักษณะศักดินา ถูกเจ้าศักดินาและพ่อค้าเหมาซื้อ
ขูดรีดหลายซับหลายซ้อน พวกพ่อค้าและเจ้าของวิสาหกิจขนาดเล็กก็ไม่มีหลักประกันในความปลอดภัย
ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน การกดขี่และขูดรีดอย่างทารุณของชนชั้นเจ้าที่ดินศักดินา ทำให้สังคมอิหร่าน
หยุดชะงักอยู่กับที่ไม่พัฒนาเป็นเวลายาวนาน ความขัดแย้งทางสังคมแหลมคมเป็นพิเศษ

การรุกรานของนักล่าอาณานิคมและการตกเป็นกึ่งอาณานิคมของอิหร่าน

ครึ่งหลังศตวรรษที่ 18 มหาอำนาจอังกฤษ รัสเซีย และฝรั่งเศส เร่งการรุกรานต่ออิหร่าน
เกิดการช่วงชิงแก่งแย่งกันอย่างดุเดือด ปี 1763 อังกฤษบังคับอิหร่านลงนามในสนธิสัญญาลักษณะทาส
ได้สิทธิพิเศษจำนวนมาก นี่คือจุดเริ่มต้นที่อิหร่านตกเป็นกึ่งอาณานิคม ต่อจากสนธิสัญญาอังกฤษ-อิหร่าน
ระหว่างช่วงปี 1800-1841 อังกฤษก็ยังได้บีบบังคับ อิหร่านเซ็นสัญญาไม่เสมอภาคอีกเป็นจำนวนมาก
ได้รับสิทธิพิเศษในการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน การตั้งโรงงานในอิหร่าน และสินค้าปลอดภาษีเป็นต้น
เสริมสร้างอิทธิพลของตนในอิหร่านอีกก้าวหนึ่ง ฝรั่งเศสก็ไม่ยอมน้อยหน้าอังกฤษ ก็บีบบังคับอิหร่านเซ็นสัญญา
ไม่เสมอภาคกับตนเป็นจำนวนมาก จนได้รับสิทธิพิเศษและผลประโยชน์เช่นเดียวกับที่อังกฤษได้รับ

ส่วนรัสเซียแห่งพระเจ้าซาร์ก็อาศัยเงื่อนไขที่เป็นเพื่อนบ้านของอิหร่าน ก่อสงครามรุกรานต่ออิหร่านมิได้ขาดใน
สงคราม 2 ครั้งระหว่างปี 1804-1813 ถึง 1826-1828 รัสเซียแห่งพระเจ้าซาร์ก็ได้ยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ของ
กรูจียา

อาเซอร์ไบจาน

และส่วนหนึ่งของอาร์มีเนีย

และได้เงินค่าปฏิกรรมสงคราม 20 ล้านรูเบิล ทั้งได้สิทธิพิเศษทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจจำนวนมาก
เช่นสินค้ารัสเซียจะเสียภาษีศุลกากรเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น ชาวรัสเซียมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในอิหร่าน
ประเทศรัสเซียมีสิทธิพิเศษที่จะตั้งกองเรือในทะเลแคสเปียนได้เพียงผู้เดียว
(ความเห็นส่วนตัวว่า
คล้ายกับการออกกฏหมายเศรษฐกิจพิเศษของไทยในปัจจุบันแต่เราประเคนให้ต่างชาติเองโดยเขาไม่ต้องบีบ)

ส่วนอิหร่านไม่อนุญาติให้มีกองทัพเรือที่นั่น กระทั่งผู้สืบทอดราชบัลลังก์ของอิหร่านก็ต้องให้รัสเซียเป็นผู้กำหนดเป็นต้น
ถึงกลางศตวรรษที่ 19 อิหร่านก็ตกเป็นกึ่งอาณานิคมโดยสิ้นเชิง

สงครามและสัญญาไม่เสมอภาคที่ผู้รุกรานต่างชาตินำมายัดเยียดแก่ประชาชนอิหร่าน นำภัยพิบัติที่ไม่เคยมีมาก่อน
สู่ประชาชนอิหร่าน การทำลายจากสงครามโดยตรง ค่าปรับของสงครามทั้งหมดก็ล้วนตกอยู่บนบ่าของประชาชน
ความอดอยากและโรคระบาดเกิดขึ้นมิได้ขาด ประชาชนล้มตายจำนวนมาก ครึ่งแรกศตวรรษที่ 19 ประชากรลดลง
หลายล้านคน การหลั่งไหลเข้ามาของสินค้าต่างชาติและการพัฒนาของเศรษฐกิจเงินตรา ได้ทำลายรากฐานเศรษฐกิจ
เกษตรกรรมประสานหัตถกรรมครัวเรือนของอิหร่าน และก็ได้ทำลายความสัมพันธ์ในที่ดินที่มีอยู่เดิม ชาวนาสูญเสียสิทธิ
ในการทำการเพาะปลูกบนที่ดินผืนเดิม ตกต่ำลงกลายเป็นชาวนาผู้เช่า เจ้าที่ดินเก็บค่าเช่าเงินตราแทนค่าเช่าสิ่งของ
ทวีการขูดรีดต่อชาวนาหนักมือยิ่งขึ้น ชนชั้นปกครองศักดินาต้องการเงินทองมากขึ้นเพื่อสนองความต้องการ
ในการใช้ชีวิตที่ฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย ก็จัดการขายตำแหน่งและที่ดินในกรรมสิทธิ์ของตนแก่พ่อค้าและนายทุนเงินกู้ดอกเบี้ยสูง
พวกที่ใช้เงินซื้อตำแหน่งได้ก็อาศัยตำแหน่งหน้าที่ของตนทำการกอบโกยอย่างสุดความสามารถ พวกพ่อค้าและ
นายทุนเงินกู้ดอกเบี้ยสูงเร่งการปล้นชิงต่อชาวนาบ้าคลั่งยิ่งขึ้น

ภายใต้การโจมตีของสินค้าต่างชาติ พวกหัตถกรตกอยู่ในสภาพล้มละลายและว่างงาน ดังนั้นชาวนาและหัตถกร
ที่ถูกกดขี่ขูดรีดถึง 2 ชั้นจากนักล่าอาณานิคมและเจ้าศักดินาจึงต้องการ การปฏิวัติเปลี่ยนแปลง พวกเขาจึงเป็น
พลังสำคัญในการลุกขึ้นสู้ของสาวกนิกายบาบ

พ่อค้าขนาดกลางขนาดย่อม เนื่องจากถูกบีบคั้นจากเจ้าศักดินา และถูกเบียดขับจากพ่อค้าต่างชาติ รวมทั้ง
พ่อค้าใหญ่ภายในประเทศ ตลอดจนการต่อสู้กันไม่ขาดภายในเจ้าของศักดินา ทำให้ผลประโยชน์ของพวกเขา
ถูกทำลายอย่างรุนแรง ฉะนั้นจึงมีความไม่พอใจต่อชนชั้นปกครองศักดินาและนักล่าอาณานิคมมาก

สภาพชีวิตของนักบวชชั้นล่างคล้ายคลึงกับพ่อค้าย่อยและหัตถกร ในหมู่พวกเขามีอยู่ส่วนหนึ่งที่มี
ความสัมพันธ์กับประชาชนเป็นประจำ เข้าใจต่อความเรียกร้องและความปรารถนาของประชาชน
เคียดแค้นชิงชังต่อการปกครองเผด็จการของกลุ่มปกครองศักดินา การต่อสู้ทางชนชั้นอันดุเดือด
และกระแสการต่อสู้ทางประชาชาติได้พัดพาพวกเขาเข้าอยู่ในวังวนของการต่อสู้

ขณะนี้ ผู้ปกครองศักดินาของอิหร่านได้ตกเป็นตัวแทนของอิทธิพลรุกรานต่างชาติโดยสิ้นเชิงแล้ว
ผู้รุกรานต่างชาติอาศัยพวกเขาไปกดขี่และขูดรีดประชาชนอิหร่าน ดังนั้น ประชาชนอิหร่านจึงได้พุ่ง
ปลายหอกของการต่อสู้ไปสู่ชนชั้นปกครองศักดินาโดยตรง ถึงกลางศตวรรษที่ 19 พวกเขาก็
ชูธงศาสนานิกายบาบ ก่อการลุกขึ้นสู้ที่คัดค้านการกดขี่ของศักดินาและการกดขี่ของนักล่าอาณานิคม

การคุกรุ่นและการปะทุของการลุกขึ้นสู้ของอิสลามิกนิกายบาบ

ผู้ก่อตั้งศาสนานิกายบาบคือ ซายิด อาลี โมฮัมเหม็ด (Sayid Ali Mohammed 1820-1850)
ถือกำเนิดในครอบครัวพ่อค้าผ้าฝ้าย ปี 1844 เขาตั้งชื่อตัวเองว่า "บาบ" (Bab)

คำว่า "บาบ" คือประตู ความหมายก็คือ เจตนารมณ์ของพระผู้เป็นเจ้าจะผ่านจากประตูบานนี้
สู่มวลมนุษย์ ตัวเขาเองก็เป็นสื่อกลางระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับประชาชน

ในชั้นแรก บาบกับสาวกของเขายังไม่ได้โฆษณาเผยแพร่คำสอนของเขาต่อประชาชนโดยตรง เพ้อฝันจะใช้
แรงบันดาลใจด้านศีลธรรมโดยผ่านกษัตริย์และเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเป็นชนชั้นปกครองชั้นบนไปบรรลุซึ่ง
แนวคิดปฏิรูปของพวกเขา แต่ว่า กษัตริย์ไม่อนุญาติให้พวกเขาเผยแพร่คำสอนทั้งจับตัวบาบโยนใส่คุก
ในปี 1847 ดังนั้น การเผยแพร่คำสอนในราชสำนักของบาบจึงประสบกับความล้มเหลว

บาบได้เขียนคัมภีร์ศาสนานิกายบาบอยู่ในคุก ในคัมภีร์เห็นว่า สังคมมนุษย์จะพัฒนาก้าวหน้าไปตามลำดับ
ยุคหลังจะต้องก้าวล้ำหน้ากว่ายุคก่อน แต่ละยุคจะมีระบอบที่สอดคล้องกับมัน ปัจจุบันระบอบและกฏหมายทั้งปวง
จะต้องบัญญัติใหม่ตามคำภีร์ใหม่ เจ้าหน้าที่ที่เป็น ฆราวาสและนักบวชชั้นสูงล้วนไม่ยอมละทิ้งระบอบเก่า
มันเป็นบ่อเกิดแห่งความอยุติธรรมและการล้มล้างซึ่งกันและกัน ในปัจจุบันจะต้องสถาปนา "อาณาจักรที่เป็นธรรม"
ขึ้นอาณาจักรหนึ่ง ในอาณาจักรนี้ไม่มีการกดขี่ กฏหมายจะมีแต่ความยุติธรรม ทุกคนเสมอภาคเท่าเทียมกัน
ผู้ที่ไม่นับถือศาสนาบาบจะถูกริบทรัพย์สมบัติ ชาวต่างชาติที่ไม่นับถือศาสนาบาบจะถูกขับไล่ เป็นต้น
ความคิดเหล่านี้ได้สะท้อนออกซึ่งความไม่พอใจและความเคียดแค้นชิงชังของมวลประชาชนที่มีต่อศักดินานิยม
และลัทธิอาณานิคม แต่ว่า อาณาจักรที่เป็นธรรมดังกล่าวเป็นเพียงความเพ้อฝันชนิดหนึ่งเท่านั้น
คัมภีร์ยังได้กำหนดอย่างเป็นรูปธรรมในปัญหาต่างๆ เช่น ประกันสิทธิเสรีภาพทางร่างกายและทรัพย์สินเอกชน
การประกอบการค้าขายเป็นสิ่งมีเกียรติ การค้าเสรี ติดหนี้ต้องคืน รักษาความลับในการสื่อสารทางการค้า
อย่างเข้มงวด และเงินตราเป็นเอกภาพเป็นต้น ทั้งหมดเหล่านี้ ล้วนเป็นการสะท้อนผลประโยชน์และ
ความเรียกร้องต้องการของพ่อค้าอย่างเด่นชัด

หลังจากที่อิสลามิกนิกายบาบประสบกับความล้มเหลวในการเผยแพร่คำสอนในราชสำนักแล้วก็หันไป
โฆษณาเผยแพร่คำสอนในหมู่ประชาชน และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างล้นหลาม ภายใต้
ผลสะเทือนและแรงผลักดันของประชาชน ในหมู่อิสลามิกนิกายบาบได้ปรากฏบุคคลที่ค่อนข้างใกล้ชิด
กับมวลชนผู้ใช้แรงงานขึ้นจำนวนหนึ่ง เช่น มูฮัมหมัด อาลี บาร์ฟูรัช เป็นต้น พวกเขาได้พัฒนาคำสอน
ของนิกายบาบไปอีกก้าวหนึ่ง เสนอหลักนโยบายที่ก้าวหน้ากว่าปี 1848 อิสลามิกนิกายบาบได้ชุมนุมกัน
ที่เมือง ซาห์รูด บาร์ฟูรัชประกาศว่า ผู้เห็นแจ้งองค์ใหม่กำลังจะจุติในเมืองมนุษย์ ระบอบเก่า กฏหมายเก่า
และคัมภีร์โกหร่าน ล้วนหมดความศักดิ์สิทธิ์แล้ว ประชาชนไม่มีพันธะที่จะต้องเข้าเกณฑ์และเสียภาษีให้กับ
ผู้ปกครองอีกต่อไปแล้ว เขายังประกาศอีกว่า ในอาณาจักรที่เป็นธรรมที่กำลังจะมาถึงนั้น เจ้าศักดินาที่ในอดีต
เคยอยู่เหนือหัวจะกลับมาเป็นสามัญชน ส่วนสามัญชนจะกลายเป็นเจ้าของ ยกเลิกอภิสิทธิ์ศักดินาและระบอบ
ทรัพย์สินเอกชน ทรัพย์สินทั้งปวงเป็นของสาธารณะ แต่ละคนจะได้ส่วนแบ่งส่วนหนึ่งเท่านั้นให้หญิงและชาย
เสมอภาคเท่าเทียมกัน คำสอนที่อิสลามิกนิกายบาบเผยแพร่ในเมือง ซาห์รูด นั้นได้ดึงดูดชาวนาที่อยู่รอบๆ
พวกเขาจะพากันมุ่งสู่ ซาห์รูด รัฐบาลตกใจมาก จึงส่งทหารไปสลายการชุมนุมครั้งนี้

พวกอิสลามิกนิกายบาบจึงกระจายกันออกไปยังท้องที่ต่างๆ โฆษณาเผยแพร่ความคิดของพวกเขาต่อไป
พวกหัตถกร ชาวนา พ่อค้าย่อย นักบวชชั้นล่าง พากันเข้าเป็นสาวกนิกายบาบ ขบวนการเติบใหญ่ขึ้น
อย่างรวดเร็ว สถานการณ์ลุกขึ้นสู้ค่อยๆ สุกงอม

เดือนกันยายน 1848 กษัตริย์สิ้นพระชนม์ ภายในกลุ่มชนชั้นปกครองเกิดการแย่งชิงอำนาจกัน ตกอยู่ในสภาพ
สับสนปั่นป่วน ชาวเมืองและชาวนาของมลรัฐ คุราซาน และ ซีราช เป็นต้นก่อการลุกขึ้นสู้ ข้าหลวงใหญ่และ
ผู้ว่าการมลรัฐพากันหนีไปอยู่กรุงเตหะราน ชาวบาบจึงตัดสินใจใช้โอกาสดีงามนี้ก่อการลุกขึ้นสู้ด้วยอาวุธ
ที่เมือง บาร์ฟูรัช ในเดือนตุลาคม 1848

การสู้รบที่สุสาน ซัค ทาเปลซี่
เดือนตุลาคม 1848 ผู้ว่าการมลรัฐเมเซดรานรู้สึกถึงความไม่มั่นคงของฐานะตน จึงพร้อมด้วยผู้ใกล้ชิดหนีไปอยู่
เมืองเตหะราน ชาวบาบ 700 กว่าคนที่ชุมนุมอยู่ที่เมืองบาร์ฟูรัช จึงก่อการลุกขึ้นสู้ด้วยอาวุธอย่างเปิดเผย
หลังจากที่ตีกองกำลังอาวุธศักดินาในท้องที่แตกกระเจิงแล้ว ผู้ลุกขึ้นสู้จึงไปสร้างฐานที่มั่นของตนที่สุสาน
ซัค ทาเปลซี่ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง เตรียมสร้างสังคมในอุดมการณ์ของตนให้ปรากฏเป็นจริง
พวกเขาสร้างกำแพงเมืองและเชิงเทิน ขุดคูเมือง ตีกองทหารศักดินาท้องถิ่นที่บุกรุกล่าถอยไป พวกเขายกเลิก
ระบอบทรัพย์สินเอกชน ทรัพย์สินทั้งหมดนำเข้าคลังของส่วนรวม ดำเนินระบอบโรงอาหารร่วม ชาวนาและหัตถกร
ที่อยู่ในบริเวณรอบๆ ได้นำสัตว์เลี้ยง เสบียงอาหารและข้าวของอื่นๆ มาที่สุสาน ชาวบาบในท้องที่อื่นๆ ทั่วประเทศ
ก็หลั่งไหลกันมาที่สุสาน ขบวนการผู้ลุกขึ้นสู้เพิ่มจำนวนเป็น 2,000 กว่าคน พวกเขาสู้รบไปพลางทำการผลิตไปพลาง
ทำการผลิตอาวุธและของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวันเอง สุสานกลายเป็นศูนย์กลางต่อสู้ที่ระอุเดือด

การลุกขึ้นสู้ที่สุสาน ทาเปลซี่ ทำให้ชนชั้นปกครองตกอกตกใจยิ่งนัก พวกเจ้าศักดินาที่อยู่บริเวณใกล้ๆ
สุสานก็ยิ่งขวัญหนีดีฝ่อ พากันเก็บข้าวเก็บของหนีเอาตัวรอด ปลายปี 1848 กษัตริย์ออกหน้าด้วยตนเอง
ระดมกำลัง 2,000 คนจากเตหะรานเข้าโอบล้อมสุสานทาเปลซี่ กองกำลังลุกขึ้นสู้ฉวยโอกาสขณะที่ข้าศึก
ยังไม่ทันตั้งตัวเข้าจู่โจมในเวลากลางคืน จนข้าศึกแตกหนีอย่างทุลักทุเล ชัยชนะของกองกำลังฝ่ายลุกขึ้นสู้
ได้ปลุกเร้าและผลักดันการเคลื่อนไหวของชาวบาบในท้องที่ต่างๆ ตามตัวเลขในเดือนกุมภาพันธ์ 1849
ทั่วอิหร่านมีอิสลามิกนิกายบาบ 100,000 คน ชนชั้นปกครองด้านหนึ่งได้ระดมสรรพกำลัง รวบรวมกำลัง
ทหารได้ 10,000 คน พร้อมด้วยปืนใหญ่ เร่งเข้าโอบล้อมโจมตีกองกำลังลุกขึ้นสู้ที่ ทาเปลซี่ อีกด้านหนึ่ง
ก็เร่งสร้างประชามติปฏิปักษ์ปฏิวัติเป็นการใหญ่ นิกายชีอะห์ ประกาศจะดำเนิน "สงครามอันศักดิ์สิทธิ์" กับ
อิสลามิกนิกายบาบ แต่ว่า ฝ่ายลุกขึ้นสู้ไม่ได้ย่นย่อท้อถอย ปฏิญานจะพิทักษ์รักษาฐานที่มั่นด้วยชีวิต
ดำเนินการต่อสู้อย่างทรหดกับศัตรู เมื่อขาดอาวุธปืน พวกเขาก็ใช้มีดดาบ หอกและกริชที่ตีขึ้นเอง
(ความเห็นส่วนตัวว่า คล้ายกับเหตุการณ์ที่ มัสยิดกรือเซะ)
จัดรูปขบวนอย่างเหนียวแน่นเข้าตะลุมบอนกับข้าศึก โจมตีการบุกรุกของศัตรูล่าถอยไปครั้งแล้วครั้งเล่า
การสู้รบได้ยืนหยัดจนถึงเดือนพฤษภาคม 1849 จนท้ายที่สุดฝ่ายลุกขึ้นสู้เหลือกำลังคนเพียง 200 กว่าคน
แต่กองทัพรัฐบาลก็ยังคงไม่สามารถบุกเข้าเมืองได้ เมื่อการปราบปรามอย่างนองเลือดของชนชั้นปกครอง
ไม่ประสบผล พวกเขาก็ใช้วิธีหลอกลวงทางการเมือง ทำทีให้คำมั่นสัญญาว่า ถ้าฝ่ายลุกขึ้นสู้วางอาวุธ
ก็จะสามารถรักษาไว้ซึ่งชีวิตและอิสระเสรี แต่จากนั้นก็กลับตระบัดสัตย์ ดำเนินการเข่นฆ่าอย่างไม่ปรานี

การลุกขึ้นสู้ที่ เซนจาน

แม้ว่ากษัตริย์จะดำเนินการปราบปรามอย่างนองเลือด แต่การเคลื่อนไหวของชาวบาบยังคงพัฒนาต่อไป
ขณะนั้นอุปทูตของรัสเซียประจำกรุงเตหะรานก็กล่าวอย่างห่วงกัลวลว่า "สาวกนิกายที่อันตรายเหล่านี้
มีอยู่ทุกหนทุกแห่งในเตหะราน" เดือนพฤษภาคม 1850 ชาวบาบได้ก่อการลุกขึ้นสู้ตามเมืองต่างๆ เช่น
เซนจาน ยาร์ด นีริช เป็นต้น ชาวบาบที่ลุกขึ้นสู้ในเซนจาน ได้ยึดพื้นที่ด้านตะวันออกของเมืองไว้กว่าครึ่ง
แล้วสถาปนา "อาณาจักรแห่งความเป็นธรรม" สร้างระบบป้องกันทางทหาร ตั้งโรงหล่อ ทำการหล่อปืนใหญ่
และทำดินระเบิด สู้รบอย่างทรหดกับกองทหารของกษัตริย์ บาบซึ่งอยู่ในคุกก็ยังคงรักษาการติดต่อกับ
เหล่าสาวก เรียกร้องพวกเขาให้ต่อสู้เพื่อสถาปนา "อาณาจักรแห่งความเป็นธรรม" ต่อไป เพื่อป้องกันมิให้
การต่อสู้ขยายตัวไปอีก กษัตริย์จึงทำการสังหารบาบในเดือนกรกฏาคม การที่บาบถูกสังหารได้ก่อให้เกิด
ความเดือดแค้นยิ่งขึ้นแก่ อิสลามิกนิกายบาบมากยิ่งขึ้น ผู้ลุกขึ้นสู้ในเมืองเซนจานได้ออกโจมตีศัตรูที่ยกมา
ล้อมปราบ ทำลายกำลังศัตรูเป็นจำนวนมาก ต่อมากำลังที่ถูกส่งมาล้อมปราบได้เพิ่มขึ้นเป็น 30,000 กว่าคน
ทั้งใช้ปืนใหญ่ยิงถล่มซีกตะวันออกของเมืองเซนจานจนราบ กำลังฝ่ายลุกขึ้นสู้ 1,000 กว่าคน ยังคงปักหลัก
ทำการสู้รบต่อไป ได้ทำลายศัตรูไป 8,000 กว่าคน ถึงปลายปี ชนชั้นปกครองก็เล่นลูกไม้เก่าอีกหลอกให้
ฝ่ายลุกขึ้นสู้วางอาวุธ จากนั้นก็สังหารเสียในภายหลัง ต้นปีของปีถัดมา ชาวบาบในเมืองเซนจานก่อการลุกขึ้นสู้อีก
แต่เนื่องจากกองกำลังถูกตัดทอนลงไปมากแล้ว จึงถูกปราบปรามลงอย่างรวดเร็ว ส่วนการลุกขึ้นสู้ของชาวบาบ
ในท้องที่อื่นๆ ได้ยืนหยัดจนถึงต้นปี 1852 จากนั้นฝ่ายนำชั้นบนของขบวนการอิสลามิกนิกายบาบก็เดินสู่หนทาง
การก่อภัยสยดสยองต่อตัวบุคคล เดือนสิงหาคม 1852 พวกเขาวางแผนลอบสังหารกษัตริย์ แต่ล้มเหลว
ทำให้ชาวบาบและผู้สนับสนุนหลายร้อยคนในเตหะรานถูกเข่นฆ่าอย่างทารุณ ต่อจากนั้นชนชั้นปกครอง
ก็ดำเนินการสังหารในลักษณะล้างแค้นต่อชาวบาบในท้องที่ต่างๆ บ้างถูกเผาทั้งเป็น บ้างถูกนำไปผูกติดกับ
ปากกระบอกปืนใหญ่แล้วถล่มจนร่างแหลกเละ แม้กระทั่งผู้หญิงและเด็กก็ไม่ละเว้น

ความพ่ายแพ้ในการลุกขึ้นสู้ของชาวบาบก็เพราะขาดการจัดตั้งที่รัดกุม ขาดการติดต่อประสานระหว่างท้องที่ต่างๆ
ทางยุทธศาสตร์ไม่กล้ารุกอย่างกล้าหาญ หลังจากที่ยึดได้บางเมืองแล้วก็นั่งรอคอยให้ศัตรูมาล้อมปราบ
และที่สำคัญก็คือ ฝ่ายนำการเคลื่อนไหวลุกขึ้นสู้ของชาวบาบไม่ได้เสนอหลักนโยบายแก้ปัญหาที่ดิน
เพื่อจะได้ปลุกระดมการสนับสนุนจากชาวนาอย่างกว้างขวาง และเมื่อการต่อสู้ประสบกับความเพลี่ยงพล้ำ
พวกเขาก็ก้าวเดินสู่การก่อภัยสยดสยองต่อตัวบุคคลอีกจนนำความเสียหายมาสู่ขบวนการต่อสู้

การลุกขึ้นสู้ของชาวบาบ เป็นการต่อสู้ที่คัดค้านศักดานิยม คัดค้านลัทธิอาณานิคมที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่ง
ปลายหอกของการต่อสู้ได้พุ่งตรงต่อราชวงศ์ศักดินาคาร์จาล และราชวงศ์คาร์จาลก็เป็นตัวแทนผลประโยชน์
ของนักล่าอาณานิคมต่างชาติ ดังนั้น การต่อสู้จึงมีลักษณะคัดค้านลัทธิอาณานิคม ช่วงชิงการปลดแอก
ประชาชาติอยู่ในตัว การลุกขึ้นสู้ได้สั่นสะเทือนระบอบศักดินาของอิหร่าน และโจมตีอย่างหนักต่อ
นักล่าอาณานิคมต่างชาติ
บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2006, 11:33:13 PM »

ประวัติศาสตร์โลกยุคใกล้ บทที่ 14 กระแสสูงการปฏิวัติคัดค้านลัทธิล่าอาณานิคม
และศักดินานิยมของเอเชียในกลางศตวรรษที่ 19

ตอนที่ 3 การลุกขึ้นสู้ทางประชาชาติของอินเดีย

อินเดียภายใต้การปกครองของจักรวรรดิมัวร์ (โมกุล)

ปี 1526 ซาหิร์ อัดดิน มูฮัมหมัด บาเบอร์ (Baber Zahir ud-Din Muhammad 1483-1530)

จากเอเชียกลางรุกรานเข้าสู่ทวีปเอเชียใต้ยึดครอง เดลี สถาปนาจักรวรรดิ์มัวร์ รัฐเผด็จการศักดินาขึ้น

ต้นศตวรรษที่ 17 ผู้ปกครองของมัวร์ก็ได้พิชิตดินแดนส่วนใหญ่ที่สุดของอนุทวีปได้แล้ว
จักรพรรดิ์แห่งมัวร์เป็นผู้ปกครองสูงสุด โดยแบ่งเขตปกครองของประเทศออกเป็นมณฑลและรัฐสุลต่าน
มณฑลแต่งตั้งข้าหลวงเป็นผู้ว่าการ ส่วนรัฐสุลต่านนั้นปกครองโดยขุนนางในท้องถิ่น มีความเป็นอิสระ
พอสมควร ที่ดินทั่วประเทศถูกประกาศเป็นที่ดินขององค์จักรพรรดิ์ เฉพาะราชสำนักก็ครอบครองที่ดิน
1 ใน 8 ของที่ดินทั่วประเทศ นอกนั้นพระราชทานแก่เจ้าศักดินาอื่นๆ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องสนอง
ทหารม้าแก่ราชสำนักในจำนวนที่แน่นอน ส่วนที่ดินของรัฐต่างๆ เป็นมรดกตกทอดต่อๆ กันไป
ในวงศ์ตระกูลของสุลต่าน ชาวนาถูกผูกติดอยู่กับคอมมูนหมู่บ้านซึ่งเป็นหน่วยการผลิตพื้นฐานของสังคม
ครอบครัวชาวนาส่วนใหญ่จะมีกิจการทอผ้าด้วยมือเป็นอาชีพรอง เศรษฐกิจชาวนาน้อยกับหัตถกรรม
ครัวเรือนได้ประสานเข้าด้วยกันอย่างแน่นแฟ้น

ตั้งแต่ตอนต้นๆ ศตวรรษที่ 18 การปกครองของมัวร์ก็เริ่มเกิดวิกฤตตกต่ำลงเรื่อยๆ พร้อมๆ กับการพัฒนา
ของพลังการผลิต สถานประกอบการหัตถกรรมทุนนิยมเริ่มมีปรากฏขึ้นแล้ว ความสัมพันธ์ทางสินค้าเงินตรา
ได้ซึมแทรกเข้าสู่ชนบท ค่าเช่าสิ่งของค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยค่าเช่าเงินตรา ชาวนาถูกขูดรีดนับวันหนักหน่วง
ยิ่งขึ้น พวกชั้นบนของคอมมูนหมู่บ้านและพ่อค้าเหมาซื้อมักจะยึดเอาที่ดินของคอมมูนเป็นของตนเอง
ชาวนาที่สูญเสียที่ดินก็ตกเป็นชาวนาผู้เช่าหรือไม่ก็ออกจากหมู่บ้าน ระเหเร่ร่อนไปตามที่ต่างๆ
ดังนั้นความขัดแย้งทางชนชั้นและความขัดแย้งทางประชาชาติจึงนับวันรุนแรง การลุกขึ้นสู้ของชาวนา
ที่คัดค้านศักดินามีเกิดขึ้นมิได้ขาด การต่อสู้คัดค้านการกดขี่ทางประชาชาติก็เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า
ขณะเดียวกัน รัฐต่างๆ ก็พากันประกาศเอกราช ข้าหลวงใหญ่ของหลายมณฑลก็กลายเป็นเจ้าครองนคร
โดยแท้จริง ถึงกลางศตวรรษที่ 18 คำสั่งของเดลีจะใช้ได้ก็แต่บางมณฑลที่อยู่รอบๆ เดลีเท่านั้น
ในช่วงที่ภายในจักรวรรดิกำลังตกอยู่ในสภาพปั่นป่วนและสลายตัวนี้เอง พวกนักล่าอาณานิคมต่างชาติ
ก็ฉวยโอกาสรุกรานเข้าไป

อนุทวีปเอเชียใต้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ

ปลายศตวรรษที่ 15 พวกโปรตุเกสรุกรานเข้าสู่อินเดีย ต่อจากนั้น ก็เป็นพวกดัทช์ อังกฤษและฝรั่งเศส
นักล่าอาณานิคมอังกฤษได้ก่อตั้งบริษัทอีสต์อินเดียในปี 1600

ได้รับอำนาจมากมายจากกษัตริย์อังกฤษ เช่นผูกขาดการค้า ตั้งกองกำลัง ประกาศสงคราม เจรจาสงบศึก
และจัดตั้งรัฐบาลในอาณานิคมเป็นต้น ขณะเดียวกันมันก็เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินนโยบายปล้นชิง
แบบอาณานิคมต่อประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ในเอเชีย กลางศตวรรษที่ 18 นักล่าอาณานิคมอังกฤษ
ฉวยโอกาสที่จักรวรรดิมัวร์สลายตัว เร่งดำเนินการรุกรานทางทหารและปล้นสะดมทางเศรษฐกิจ
ต่ออนุทวีปเอเชียใต้ ทั้งได้เกิดการแก่งแย่งชิงดี กับอิทธิพลอาณานิคมฝรั่งเศสที่ครองฐานะเหนือกว่า
ในอนุทวีปอยู่ชั่วขณะ

ในระหว่างสงครามแย่งชิงอำนาจครองความเป็นเจ้าระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส (1756-1763)
พวกเขาก็ได้เปิดฉากแย่งชิงกันอย่างดุเดือดในอนุทวีปด้วยเช่นกัน ในยุทธการปลาสซีย์
ในเดือนมิถุนายน 1757 กองทัพอาณานิคมของอังกฤษภายใต้การนำของ
โรเบิร์ต คลิฟ (clive robert 1725-1774)

ได้ตีข้าหลวงใหญ่เบงกอลที่นิยมฝรั่งเศสพ่ายแพ้ไปและยึดเบงกอลไว้ได้ อังกฤษจึงใช้ทรัพยากรมหาศาล
ที่แย่งยึดมาจากที่นั่นทำการขยายกองกำลังของตน และเสือกไสกองกำลังกองนี้ไปบั่นทอนอิทธิพลของ
ฝรั่งเศสใน ที่ราบสูงเดคคาน

ยุทธการปลาสซีย์เป็นเครื่องหมายบ่งบอกว่าอนุทวีปเอเชียใต้เริ่มตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษแล้ว
จากนั้นมาอังกฤษก็ใช้เบงกอลเป็นฐานที่มั่น ขยายการรุกรานต่อชายฝั่งทะเลและดินแดนชั้นในของ
อนุทวีปมิได้ขาด ถึงปี 1849 อังกฤษก็ได้เขมือบเอาราชอาณาจักรปันจาบ

ซึ่งเป็นรัฐอิสระรัฐสุดท้าย แปรอนุทวีปเป็นอาณานิคมของอังกฤษทั้งหมด ในวิถีดำเนินแห่งการพิชิต
อังกฤษได้ปลุกปั่นและใช้ความขัดแย้งต่างๆ ระหว่างเชื้อชาติ ชนเผ่า วรรณะ (หมายเหตุ : สังคมศักดินา
อินเดียแบ่งคนในสังคมออกเป็น 4 วรรณะคือ (1) วรรณะพราหมณ์ (นักบวช) (2) วรรณะกษัตริย์ (นักรบ)
(3) วรรณะแพศย์ (พ่อค้า) (4) วรรณะศูทร (หัตถกร) )
การนับถือศาสนาและระหว่างรัฐต่างๆ สร้างความสับสนปั่นป่วนและการกระทบกระทั่งให้เกิดขึ้น
แล้วฉวยโอกาสกดขี่หลังจากพิชิตได้แล้วก็ดำเนินการปกครองด้วยวิธี "แบ่งแยกแล้วปกครอง"

(ความเห็นส่วนตัวว่า ภาคใต้ของไทยตอนนี้ก็ไม่ต่างกัน รวมถึงแถวตะวันออกกลางด้วย)
บริษัทได้แบ่งการปกครองอาณานิคมอินเดียออกเป็นเขตปกครองโดยตรงและเขตปกครองโดยทางอ้อม
เขตปกครองโดยตรงของบริษัทคิดเป็นพื้นที่ 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั่วประเทศ ที่เหลือ 1 ใน 3 เป็นเขตปกครอง
โดยทางอ้อมของบริษัท ซึ่งประกอบด้วยรัฐ 500 รัฐ โดยมอบหมายให้ขุนนางในท้องถิ่นซึ่งเป็นหุ่นเชิดของ
บริษัททำการปกครอง ระหว่างเขตปกครองโดยตรงกับเขตปกครองโดยอ้อมจะอยู่สลับกันแบบฟันปลา

(ความเห็นส่วนตัวว่า คล้ายกับนโยบายผู้ว่า CEO และเขตปกครองพิเศษของ ทรท คือ
ทำให้ประเทศถูกปกครองด้วยรูปแบบบริษัท)

เพื่อง่ายต่อการควบคุม

การขูดรีดของอังกฤษต่ออินเดียที่ขึ้นต่ออังกฤษ

หลังการยุทธปลาสซีย์ อังกฤษก็เริ่มการปล้นชิงแบบอาณานิคมต่ออินเดียอย่างขนานใหญ่ พวกเขาอาศัย
การค้าลักษณะตีชิง ผูกขาดและจัดเก็บภาษีอัตราสูง ไปรีดเอาโภคทรัพย์จำนวนมากมายมหาศาล

เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการในการขยายแหล่งวัตถุดิบและตลาดระบายสินค้าอุตสาหกรรมทุนนิยม
ของอังกฤษ ปลายศตวรรษที่ 18 ต้นศตวรรษที่ 19 อังกฤษก็ค่อยๆ เปลี่ยนจากการปล้นชิงอย่างโจ๋งครึ่ม
ผ่านไปสู่การขูดรีดแบบอาณานิคมโดยการส่งสินค้าออกเป็นหลัก เพื่อการนี้อังกฤษได้ใช้มาตรการ 2 ประการ
ประการแรกคือ อุปถัมภ์ค้ำจุนระบอบกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อีกประการหนึ่งคือ ยกเลิกสิทธิ์พิเศษในการผูกขาด
การค้ากับอินเดียของบริษัทอีสต์อินเดีย ทำให้เจ้าของโรงงานและพ่อค้าของอังกฤษล้วนมีโอกาสได้จำหน่าย
สินค้าของตนอย่างทั่วถึง

ในจักรวรรดิมัวร์ องค์จักรพรรดิเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินสูงสุดของประเทศ ชาวนาถูกจัดตั้งอยู่ในคอมมูนหมู่บ้าน
คอมมูนหมู่บ้านมีสิทธิ์ใช้ที่ดินที่เป็นมรดกสืบทอดต่อๆ กันมา รัฐบาลผ่านจากนายอากรบ่อนเบี้ยไปเหมาเก็บภาษี
จากคอมมูนหมู่บ้าน นายอากรบ่อนเบี้ยไม่มีสิทธิ์สืบทอดมรดกในที่ดิน ปลายศตวรรษที่ 18 อังกฤษได้ทะยอย
ใช้ระบอบที่ดินแบบนายอากรถาวรในท้องที่
เบงกอล

บีฮาร์

และโอริสสา ตามลำดับ

ตามระบอบนี้ได้กำหนดว่า ที่ดินคอมมูนหมู่บ้านเป็นของบริษัทอีสต์อินเดีย บริษัทมอบที่ดินเหล่านี้แก่
นายอากร นายอากรจะเรียกเก็บค่าเช่าจากชาวนาและเสียภาษีที่ดินแก่บริษัทอีสต์อินเดียในอัตราร้อยละ 90
ของพิกัดอัตราภาษีที่ดินที่เป็นจริงของปี 1793 เช่นนี้แล้ว ชาวนาก็ถูกลิดรอนสิทธิสืบทอดมรดกที่ตกทอดมา
แต่ปู่ย่าตายายไปอย่างป่าเถื่อน กลายเป็นชาวนาผู้เช่าไป ส่วนนายอากรนั้นกลับได้สิทธิสืบทอดมรดกที่ดิน
กลายเป็นเจ้าที่ดิน ในศตวรรษที่ 19 อังกฤษก็ได้ดำเนินระบอบนายอากรไม่ถาวรในท้องที่บางแห่งของ
อินเดียตอนกลาง อัตราภาษีจะมีการปรับใหม่ทุกๆ 25-30 ปี ส่วนในท้องที่ภาคใต้และท้องที่อื่นๆ ซึ่งมี
ระบอบกรรมสิทธิ์เอกชนในที่ดินอยู่ก่อนแล้วก็ใช้ระบอบค่าเช่า บริษัทถึงแม้ว่าจะรับรองกรรมสิทธิ์เหนือที่ดิน
อย่างสมบูรณ์ของชาวนาในคอมมูนก็ตาม แต่ชาวนาจะต้องเสียค่าเช่าที่ดินในอัตราสูงแก่ทางการอาณานิคม
ซึ่งมีจำนวนพอๆ กับ 1 ใน 3 กระทั่ง 1 ใน 2 ของผลผลิตจากที่ดินทั้งหมดโดยความเป็นจริงแล้ว ชาวนาก็คือ
ผู้เช่านาของบริษัทนั่นเอง

ปี 1813 อังกฤษยกเลิกสิทธิผูกขาดการค้าในอินเดียของบริษัทอีสต์อินเดีย สินค้าอุตสาหกรรมของอังกฤษ
ก็หลั่งไหลเข้าสูอินเดียประดุจกระแสน้ำไหล ทั่วทุกหนทุกแห่งจะเต็มไปด้วยสินค้าสิ่งทอจากฝ้ายของอังกฤษ
ภายใต้การโจมตีจากสินค้าราคาถูกของอังกฤษ ทำให้หัตถกรรมในท้องถิ่นซบเซา หัตถกรล้มละลายกันเป็นแถว
ตกอยู่ในความหายนะ ลอร์ด วิลเลี่ยม แบนทิงค์ ข้าหลวงใหญ่ประจำอินเดียของอังกฤษไม่อาจไม่ยอมรับว่า
"โครงกระดูกของกรรมกรทอผ้าทำให้ที่ราบของอินเดียขาวโพลนไปหมด"
เมืองดักคา ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในอุตสาหกรรมปั่นทอ ประชากรได้ลดจาก 100,000 คนเหลือ 20,000 คน
ทั้งเมืองรกร้าง โรคระบาดไปทั่ว

การสถาปนาระบอบกรรมสิทธิ์เอกชนในที่ดิน การระบายสินค้าราคาถูก ทำให้คอมมูนหมู่บ้านของอินเดีย
สลายตัว ทำลายหัตถกรรมดั้งเดิม ทำลายรากฐานเศรษฐกิจธรรมชาติของสังคมศักดินาลงไป แต่ว่า
ความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบทุนนิยมก็ไม่ได้พัฒนาตามไปด้วย ฉะนั้น มาร์กซจึงกล่าวว่า
อังกฤษได้ทำลายโครงสร้างทั้งหมดของสังคมอินเดียและตราบจนกระทั่งทุกวันนี้ก็ยังไม่มีความคิดใดๆ
ที่จะสร้างสังคมอินเดียขึ้นใหม่ อินเดียได้สูญเสียโลกเก่าไป แต่ก็ไม่ได้โลกใหม่มา นี่ก็ทำให้ภัยพิบัติ
ที่ประชาชนของเขาได้รับอยู่ในปัจจุบัน มีสีสันที่น่าเวทนาเป็นพิเศษ

(มาร์กซ "การปกครองของบริเตนในอินเดีย")

ความสัมพันธ์ทางชนชั้นก่อนการลุกขึ้นสู้

ความขัดแย้งทางชนชั้นและความขัดแย้งทางประชาชาติของอินเดียที่ขึ้นต่ออังกฤษในช่วงก่อนการลุกขึ้นสู้นั้นสับสนมาก
ความขัดแย้งระหว่างประชาชนอันกว้างใหญ่ไพศาลกับนักล่าอาณานิคมอังกฤษเป็นความขัดแย้งหลักของสังคม

ชนชั้นชาวนาเป็นคนส่วนข้างมากที่สุดในประชากรของินเดียที่ขึ้นต่ออังกฤษ คิดเป็นร้อยละ 90 ของประชากรทั่วประเทศ
พวกเขาถูกกดขี่สองชั้นจากนักล่าอาณานิคมและเจ้าศักดินาภายในประเทศ ในจำนวน 100 คนจะมีคนที่มีภาระหนี้สินถึง 99 คน
ทุกครั้งที่เกิดภัยธรรชาติ จะต้องมีคนอดตายเป็นจำนวนมาก ปี 1770 ทุพภิขภัยครั้งหนึ่งที่เบงกอล ก็มีคนตายถึง 1 ใน 3 ของ
ประชากรในที่นั้น หัตถกรก็เหมือนชาวนา ถูกนักล่าอาณานิคมและสมุนของมันกดขี่ยากจนข้นแค้นแสนสาหัสโดยเฉพาะภายหลัง
ที่อังกฤษได้ระบายสินค้าสิ่งทอเข้าไปในอินเดียแล้ว พวกเขาก็ถูกทำลายเครื่องมือในการทำมาหาเลี้ยงชีพแบบเก่าไปหมด
แต่ก็ค้นหาทางออกใหม่ไม่ได้ ส่วนหนึ่งตายไปด้วยความอดอยากและหนาวเหน็บ อีกส่วนหนึ่งกลายเป็นขอทานตามท้องถนน
ชาวนาและหัตถกรจึงมีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะสลัดพ้นจากโซ่ตรวนแห่งการกดขี่ของลัทธิอาณานิคม กลายเป็นกำลังหลัก
ของการลุกขึ้นสู้ทางประชาชาติ

ถึงทศวรรษที่ 1840-1850 เพื่อจะปล้นชิงเอาวัตถุดิบให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมทุนนิยม
ภายในประเทศ พยายามขยายเขตการปกครองโดยตรง เสริมการขูดรีดต่อประชาชนผู้ใช้แรงงาน นักล่าอาณานิคมอังกฤษ
จึงได้ประกาศใช้กฏหมายยกเลิกอภิสิทธิ์ของพวกขุนนางและกฏหมายผนวกรัฐต่างๆ ตามลำดับ ข้าหลวงใหญ่
เจมส์ แอนดรู ดาลฮูซี่ (Dalhousie James Andrew 1817-1860) ได้บัญญัติสิ่งที่เรียกว่า  "ว่าด้วยการเสียสิทธิ์"
ตามบทบัญญัตินี้ระบุว่า ถ้าเจ้าครองรัฐเสียชีวิตโดยไม่มีทายาทในสายเลือดโดยตรงสืบตระกูลแล้ว ที่ดินในกรรมสิทธิ์ของรัฐนั้น
ก็จะตกเป็นของบริษัทอีสต์อินเดีย ในระยะเวลา 10 ปีก่อนการลุกขึ้นสู้ ในจำนวนผืนที่ดินพระราชทานน้อยใหญ่ 35,000 ผืน
ก็ถูกบริษัทอีสต์อินเดียเขมือบไปเสีย 21,000 ผืน รัฐซาตารา นากาปุระ จันซี่ เป็นต้น ก็ถูกเขมือบด้วยวิธีนี้
การที่อังกฤษทำเช่นนี้ก็เป็น การทำลายผลประโยชน์ของขุนนางของรัฐส่วนหนึ่ง ฉะนั้นคนส่วนหนึ่งในหมู่พวกเขา
จึงเกิดความขัดแย้งกับนักล่าอาณานิคมอังกฤษและถูกพาตัวเข้าสู่กระแสคลื่นของการต่อสู้ลุกฮือทางประชาชาติ
ในท้องที่บางแห่ง พวกนี้ได้กุมอำนาจนำการเคลื่อนไหว แต่จุดมุ่งหมายของพวกเขาที่เข้าร่วมการลุกขึ้นสู้
ทางประชาชาติที่คัดค้านอังกฤษก็เพื่อขับไล่นักล่าอาณานิคมอังกฤษ ยึดอำนาจในการปกครองประชาชน
ผู้ใช้แรงงานคืนนั่นเอง

ถึงกลางศตวรรษที่ 19 ความขัดแย้งระหว่างประชาชนชั้นชนต่างๆ ของอินเดียกับนักล่าอาณานิคมอังกฤษ
ได้ทวีความรุนแรงและแหลมคมขึ้นอย่างรวดเร็ว กระแสสูงของการต่อสู้คัดค้านนักล่าอาณานิคมอังกฤษกำลังก่อตัว

การเคลื่อนไหวลุกขึ้นสู้คัดค้านอังกฤษคึกคักเป็นพิเศษในหมู่พลทหาร พลทหารในกองทัพอาณานิคมอังกฤษ
ได้รับสมัครจากชาวนาและหัตถกรที่ล้มละลาย มีจำนวนคน 200,000 คน พวกเขาถูกควบคุมโดยทหาร
ชาวอังกฤษ 40,000 คน ถูกกดขี่และข่มเหงรังแกจากนายทหารอังกฤษ หลังจากที่อังกฤษปิดหูปิดตา
หลอกใช้พวกเขาไปพิชิตทั้งอนุทวีปเอเชียใต้แล้วก็เปลี่ยนนโยบายต่อพลทหารเหล่านี้ เงินเดือนเบี้ยเลี้ยง
ของพลทหารลดต่ำลง สิทธิบางอย่างถูกเพิกถอนทั้งไม่คำนึงถึงต่อจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะของ
ศาสนาฮินดู เสือกไสพวกเขาไปทำการรบในประเทศอิสลามบ่อยๆ ปี 1856 อังกฤษได้ออกกฏหมาย
รับสมัครทหารฉบับใหม่ โดยมีข้อกำหนดว่าพลทหารจะต้องขึ้นต่อและปฏิบัติตามคำสั่งของนายทหาร
อยางเด็ดขาด หวังจะใช้ทหารใหม่แทนทหารเก่าเพื่อยกเลิกสิทธิบางประการของพลทหารอีกก้าวหนึ่ง
มาตรการเหล่านี้ยิ่งทำให้พลทหารไม่พอใจ อีกทั้งพลทหารก็เป็นกลุ่มคนที่มีการจัดตั้งและกุมกระบอกปืน
เพียงกลุ่มเดียว ฉะนั้น พลทหารจึงกลายเป็น "กำลังต่อต้านที่เป็นแกนกองแรกของประชาชนที่ไม่เคยมีมาก่อน"
(มากร์ซ "การลุกขึ้นสู้ในกองทหารของอินเดีย") กลายเป็นผู้ก่อการของการลุกขึ้นสู้ครั้งนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 29, 2006, 12:00:22 AM โดย narongt » บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2006, 11:03:21 PM »

การลุกขึ้นสู้ปะทุขึ้นและการสถาปนาอำนาจรัฐลุกขึ้นสู้ในเดลี

ปี 1856 การเคลื่อนไหวตระเตรียมการลุกขึ้นสู้ได้ดำเนินไปในท้องที่ต่างๆ อย่างลับๆ โรตี ซึ่งใช้เป็นสัญญาน
ในการติดต่อของประชาชนที่ลุกขึ้นสู้ได้ถูกส่งต่อๆ กันในชนบท ดอกบัวแดงก็ถูกส่งต่อๆ กันในหมูพลทหาร
ใบปลิว "ทุกคนร่วมจิตร่วมใจขับไล่ผู้รุกรานต่างชาติ" มีปรากฏให้เห็นไม่ขาดสาย องค์การจัดตั้งใต้ดินได้เกิดขึ้น
ในท้องที่ต่างๆ สถานการณ์ที่คุกรุ่นอยู่นี้ นักล่าอาณานิคมก็ได้สังเกตุพบ จอร์จ แคนนิ่ง ข้าหลวงใหญ่คนใหม่

ได้กล่าวในขณะเข้ารับตำแหน่งในปี 1856 ว่า "บนท้องฟ้าเหนืออินเดียอาจมีเมฆดำเท่าฝ่ามือ
แต่มันอาจขยายใหญ่ได้กระทั่งในที่สุดจะทำให้เราต้องจมน้ำตายอยู่ใต้พายุฝนใหญ่นี้"


ต้นปี 1857 นักล่าอาณานิคมอังกฤษได้จ่ายกระสุนชนิดใหม่ กระสุนชนิดนี้จะถูกห่อด้วยกระดาษชุบไขวัว
และน้ำมันหมู เวลาแกะต้องใช้ ฟันกัดกระดาษ ให้ฉีกออก พลทหารที่นับถือศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม
เห็นว่านี่เป็นการดูหมิ่นศาสนาของพวกเขา จึงพากันลุกขึ้นสู้ใช้ปฏิบัติการ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน
พลทหารในหน่วยทหารที่ประจำท้องที่ต่างๆ ได้เกิดการปะทะกับนายทหารอังกฤษ และก่อเหตุจลาจลไม่ขาดสาย
หลังจากที่การลุกขึ้นสู้ถูกอังกฤษปราบปรามลงไปแล้ว พลทหารที่ถูกปลดประจำการก็กลายเป็นผู้เข้าร่วมการลุกขึ้นสู้
ทางประชาชาติที่เอาการเอางาน เดือนเมษายน ที่ เมรัต เกิดกรณีพลทหารปฏิเสธการใช้กระสุนชนิดใหม่ นักล่าอาณานิคม
ได้ตัดสินลงโทษจำคุกพลทหาร 85 คน ที่ปฏิเสธการใช้กระสุนใหม่คนะ 10 ปี ทั้งได้ประจานพวกเขาต่อหน้าสาธารณชน
สร้างความเดือดแค้นแก่พลทหารมากยิ่งขึ้น วันที่ 9 พฤษภาคม ในขณะที่พลทหารที่ถูกลงโทษถูกคุมตัวไปเรือนจำนั้น
บรรดาพลทหารทั้งหลายจึงประชุมกันและมีมติให้ลุกขึ้นปฏิบัติการโดยทันที ดังนั้น กรณีกระสุนใหม่จึงกลายเป็น
ชนวนระเบิดของการลุกขึ้นสู้

วันที่ 10 (วันอาทิตย์) ตอนบ่าย พลทหารในเมรัตฉวยโอกาสที่นายทหารอังกฤษไปเข้าโบสถ์สวดมิซซากันหมด
ดำเนินการลุกขึ้นสู้ ชาวเมืองและชาวนาที่อยู่ใกล้ๆ บริเวณนั้นก็เข้าร่วมขบวนลุกขึ้นสู้อย่างรวดเร็ว เสียงตะโกน
"วันนี้เราจะชำระหนี้ความแค้นของปลาสซีย์" ดังกึกก้องอยู่เหนือท้องฟ้าเมรัต ผู้ลุกขึ้นสู้ได้ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้แล้ว
เปิดประตูคุกปลดปล่อยนักโทษการเมืองตัดขาดสายไฟ ปิดเส้นทางคมนาคมที่สำคัญๆ สังหารเจ้าหน้าที่บริหารทั้งพลเรือน
และทหารของอังกฤษ เผาค่ายทหาร โบสถ์ วิหารและที่ทำการรัฐบาลอาณานิคม จากนั้นก็เคลื่อนกำลังมุ่งสู่เดลี
เมรัตห่างจากเดลีประมาณ 40 ไมล์ เดินทัพเป็นเวลา 1 คืน พอรุ่งสางกองกำลังลุกขึ้นสู้ก็ไปถึงเมืองเดลี

ประชาชนและทหารในเมืองพากันตอบสนองการลุกขึ้นสู้ด้วยการลงโทษนายทหารอังกฤษเปิดประตูเมือง
ต้อนรับกองกำลังลุกขึ้นสู้ วันที่ 16 พฤษภาคม เมืองเดลีก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ลุกขึ้นสู้โดยสิ้นเชิง

ภายหลังยึดได้เดลีแล้ว เจ้าศักดินาและเจ้าผู้ครองรัฐซึ่งกุมอำนาจการนำของขบวนการลุกขึ้นสู้ก็ดันตัว
บาฮาดูร์ ชาห์ที่ 2 (Bahadur Shah 2 ครองราชย์ 1837-1857)

จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิมัวร์ซึ่งเป็นตัวแทนทางการเมืองของพวกเขาขึ้นสู่บัลลังก์กษัตริย์ ขณะเดียวกันผู้ลุกขึ้นสู้ก็ได้ตั้ง
สภาบริหารซึ่งประกอบด้วยนายทหาร 6 คน ข้าราชการพลเรือน 4 คนเข้ากุมอำนาจแท้จริง สภาบริหารได้ประกาศสาร
ฉบับหนึ่งในนาม บาฮาดูร์ ชาห์ที่ 2 เรียกร้องประชาชนในท้องที่ต่างๆสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยไม่แบ่งศาสนา
ลุกขึ้นขับไล่นักล่าอาณานิคมอังกฤษ สารกล่าวว่า "พี่น้องชาวฮินดูและชาวอิสลามทั้งหลาย... จงลืมความแตกแยก
เล็กๆ น้อยๆ ของพวกท่านเสียเข้าร่วมการสู้รบอันศักดิ์สิทธิ์นี้เถิด โถมตัวเข้าสู่สมรภูมิ สู้รบภายใต้ร่มธงผืนเดียวกัน
จงใช้ธารโลหิตไปลบชื่อประเทศอังกฤษให้สูญสิ้นไปจาผืนแผ่นดินฮินดูสถานเถิด"
สภาบริหารยังประกาศคำสั่ง
ยกเลิกระบอบนายอากร ยกเลิกการเก็บภาษีจากคนยากคนจน แต่เก็บภาษีพิเศษจากเจ้าที่ดิน พ่อค้ามหาเศรษฐีและ
นายทุนเงินกู้ดอกเบี้ยสูง

เดลีเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ยุคต่างๆ ของอินเดีย เป็นศูนย์กลางการเมืองและจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
การปลดปล่อยเดลีจึงมีความหมายทางการเมืองอย่างใหญ่หลวง มีผลสะเทือนอย่างมากต่อท้องที่ต่างๆ
ในระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ก็เกิดการลุกขึ้นสู้คัดค้านอังกฤษในท้องที่ อูดห์ คอนพอร์ จันซี่ ตามลำดับ
การลุกขึ้นสู้คัดค้านอังกฤษได้ขยายตัวไปในดินแดนอันกว้างใหญ่ของภาคเหนือและภาคกลาง
และดินแดนส่วนหนึ่งของภาคใต้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน ชาวนาในท้องที่ต่างๆ ก็ขยายการต่อสู้
คัดค้านศักดินา พวกเขาเข้ารื้อถอนหลักเขตที่นายอากรปักไว้ เผาโฉนดที่ดิน ยกเลิกหนี้สิน ขับไล่พวกเจ้าที่ดิน
และเจ้าของไร่เพาะปลูก แย่งยึดทรัพย์สินของพวกเขาและสามารถควบคุมตำบลหมู่บ้านได้จำนวนหนึ่ง

การรบพิทักษ์เดลี

หลังการสถาปนาอำนาจรัฐลุกขึ้นสู้ที่เดลีแล้ว ขบวนการลุกขึ้นสู้ในท้องที่ต่างๆ ก็พากันหลั่งไหลไปยังเดลี
เดลีจึงกลายเป็นศูนย์กลางการลุกขึ้นสู้ วันที่ 8 มิถุนายน 1857 นักล่าอาณานิคมอังกฤษได้ระดมกำลังทหาร
จากที่ต่างๆ เข้าบุกเดลี ในระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม ฝ่ายลุกขึ้นสู้ได้ใช้ยุทธิวิธีการรบแบบวกวนและ
จู่โจมด้วยวิธีแหวกแนว ออกตีข้าศึกไม่ขาดสาย ยังความเสียหายบาดเจ็บล้มตายแก่ศัตรูจำนวนมาก
วันที่ 23 มิถุนายนซึ่งเป็นวันครบรอบร้อยปีของยุทธการ ปลาสซีย์ กองทหารฝ่ายลุกขึ้นสู้ได้บุกออกจากเมือง
เข้าสู้รบตะลุมบอนกับศัตรู เปิดฉากการสู้รบที่ดุเดือดเลือดพล่าน นายทหารอังกฤษคนหนึ่งได้เขียนบรรยาย
การสู้รบครั้งนั้นไว้ในบันทึกประจำวันของเขาว่า "ประมาณเที่ยงคืน พวกลุกขึ้นสู้ได้เปิดฉากโจมตีต่อกองทัพ
ของฝ่ายเราอย่างดุเดือด ไม่มีใครอีกแล้วที่จะทำการสู้รบอย่างกล้าหาญดังเช่นพวกลุกขึ้นสู้...ข้าพเจ้าคิดว่า
คราวนี้พวกเราคงไม่รอดแน่" แต่ว่า ฝ่ายลุกขึ้นสู้ใช้ยุทธศาสตร์ตั้งรับตลอดเวลา จึงไม่ได้ฉวยโอกาสจากชัยชนะ
เข้าโจมตีทำลายที่มั่นของศัตรูที่ตั้งอยู่นอกเมืองทิ้งเสีย เปิดโอกาสให้ศัตรูได้หยุดพักหายใจ

พวกเจ้าศักดินาและบุคคลในราชสำนักที่เข้าร่วมขบวนการลุกขึ้นสู้นั้นจุดมุ่งหมายต่างไปจากประชาชนโดยสิ้นเชิง
ซึ่งได้แสดงออกมาให้เห็นตั้งแต่การลุกขึ้นสู้เพิ่งจะเริ่มต้น วันรุ่งขึ้นหลังจากการลุกขึ้นสู้ที่เดลี พวกขุนนางทั้งหลาย
ก็เริ่มอภิปรายปัญหาเกี่ยวกับจะฟื้นคืน "ระเบียบ" อย่างไร กระทั่งแสดงความไม่พอใจที่กองกำลังลุกขึ้นสู้ยึดเอา
อุทยานเป็นที่ตั้งกองกำลัง พร้อมทั้งพยายามจะแย่งชิงอำนาจการบัญชากองกำลังลุกขึ้นสู้ แต่แผนกโลบายนี้
ไม่ประสบผลในขณะนั้น คู่ขนานไปกับการพัฒนาของสถานการณ์ปฏิวัติ การเคลื่อนไหวทรยศยอมจำนนต่อศัตรู
ของเจ้าศักดินาก็หนักข้อยิ่งขึ้น ในขณะที่การสู้รบกำลังดำเนินไปอย่างคับขันนั้น พวกขุนนางศักดินาเจ้าที่ดินและ
พ่อค้านายหน้าส่วนหนึ่งที่อยู่ในเมืองก็กักตุนเสบียงอาหาร ขึ้นราคาสินค้า ซุกซ่อนกระสุนดินระเบิด
พยายามวางแผนยุยงปลุกปั่นให้เกิดการพิพาททางศาสนา สร้างความสับสนทางการเมือง พวกเขายังดำเนินการ
เคลื่อนไหวบ่อนทำลายและทำจารกรรมที่ปฏิปักษ์ปฏิวัติ ระเบิดคลังเก็บอาวุธของกองกำลังลุกขึ้นสู้
ขโมยข่าวสารความลับ ลอบติดต่อกับกองทหารอังกฤษ เป็นต้น การเคลื่อนไหวทรยศขายตัวของพวกเขา
เป็นการบั่นทอนและทำลายกำลังของขบวนการลุกขึ้นสู้อย่างหนัก

กองกำลังลุกขึ้นสู้ในเมืองเดลีซึ่งมาจากท้องที่ต่างๆ ขาดการบัญชาที่เป็นเอกภาพ ดูจากภายนอกแล้ว
บาคท์คาน เป็นผู้บัญชาการกองกำลังลุกขึ้นสู้ในเมืองเดลี แต่เนื่องจากเขามีพื้นเพเดิมเป็นคนชั้นต่ำ
จึงถูกกีดกันจากบรรดาสุภาพบุรุษขุนนางทั้งหลายจนไม่สามารถสั่งเคลื่อนย้ายกองกำลังได้อิสระ
นี่ก็เป็นอีกเหตุหนึ่งที่บั่นทอนกำลังของฝ่ายลุกขึ้นสู้ให้อ่อนแอลง

การทรยศขายตัวของขุนนางและพ่อค้านายหน้าตลอดจนจุดอ่อนของกองกำลังฝ่ายลุกขึ้นสู้เองได้เปิดช่องให้
กองทัพอังกฤษใช้เป็นประโยชน์ วันที่ 14 กันยายน กองทัพอังกฤษได้ก่อการรุกโจมตีอย่างทั่วด้านต่อเดลี
ภายใต้การยิงสนับสนุนจากปืนใหญ่ กองทัพอังกฤษก็สามารถเข้าเมืองเดลีได้ กองกำลังลุกขึ้นสู้ได้สู้รบต่อต้าน
อย่างเต็มกำลังความสามารถ ในการสู้รบตามสายถนน ตรอกซอยต่างๆ เป็นเวลา 6 วัน ทำลายศัตรูได้ 5,000 คน
สังหารนายทหารอังกฤษ 2 คน เพื่อรักษากำลังที่มีชีวิต กองกำลังลุกขึ้นสู้จึงถอยออกจากเดลีในกลางดึก
ของวันที่ 19 เคลื่อนย้ายกำลังไปเคลื่อนไหวในเขตที่ราบระหว่างแม่น้ำยมนากับแม่น้ำคงคา ยืนหยัดการต่อสู้
ปฏิวัติต่อไป ส่วนราชสำนักและขุนนางซึ่งมี บาฮาดูร์ ชาห์ที่ 2 เป็นผู้นำกลับคุกเข่ายอมจำนนต่ออังกฤษ
ราชวงศ์มัวร์จึงสิ้นสูญแต่นั้นมา

สงครามต่อต้านอาบเลือดที่ลัคเนา

ภายหลังที่เสียเมืองเดลีแล้ว จุดหนักของการลุกขึ้นสู้คัดค้านอังกฤษจึงย้ายไปอยู่ที่ลัคเนา

ซึ่งเป็นเมืองเอกของ อูดห์

วันที่ 30 พฤษภาคม พลทหาร ชาวเมืองและชาวนาในเมืองลัคเนาก่อการลุกขึ้นสู้

ทำการสู้รบกับกองทหารอาณานิคมอย่างองอาจกล้าหาญและล้อมคนอังกฤษไว้ในจวนข้าหลวงใหญ่
ผู้ลุกขึ้นสู้ได้ควบคุมเมืองไว้ได้ทั้งหมด ต้นเดือนมิถุนายน บนท้องฟ้าเหนืออูดห์ ธงทิวของฝ่ายลุกขึ้นสู้
โบกพลิ้วปลิวไสวไปทั่วทุกหนทุกแห่ง

ทหารและประชาชนที่ลุกขึ้นสู้ในลัคเนา ได้ทำการโจมตีกองทหารอังกฤษที่ตั้งอยู่ในจวนข้าหลวงใหญ่ไม่ขาดระยะ
ได้สังหารเจ้าหน้าที่พิเศษของอังกฤษที่รับหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองทัพอังกฤษในที่นั้น 2 คน ทำลายศัตรู 700 กว่าคน
ปลายเดือนกรกฏาคม กองทหารอังกฤษกองหนึ่งออกจากเมือง คอนพอร์ มุ่งหวังจะไปช่วยหน่วยทหารในจวนข้าหลวง
แหวกวงล้อม คอนพอร์ ห่างจาก ลัคเนา ไม่ถึง 45 ไมล์ ระหว่างทางถูกโจมตีขัดขวางจากทหารและประชาชนที่ลุกขึ้นสู้
กองทหารอังกฤษจึงจำต้องถอยกลับไปที่แม่น้ำคงคาถึง 2 ครั้ง ทหารก็ได้รับบาดเจ็บล้มตาย 650 คน ใช้เวลา 9 วัน
เพิ่งจะคืบหน้าไปได้ 10 ไมล์ ขณะนี้ ทานเตีย โทปิ ซึ่งเป็นนายทหารภายใต้ นานา ซาฮิบ เจ้าครองนครรัฐกาพูล

ได้นำกองกำลังลุกขึ้นสู้ฉวยโอกาสเข้าตีคอนพอร์ กองทหารอังกฤษจึงถูกบีบจำต้องถอยกลับไปรักษาเมืองคอนพอร์
หลังจากนั้น กองทหารของอังกฤษก็ยังได้พยายามเข้าตีลัคเนาอีกหลายครั้งหลายหน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ฤดูหนาวปีเดียวกัน
กองกำลังลุกขึ้นสู้ของ ทานเตีย โทปิ ซึ่งเคลื่อนไหวอย่างคึกคักทางแถบคอนพอร์หลังจากที่ได้ทำการสู้รบอย่างดุเดือดกับ
กองทหารอังกฤษแล้วก็ถูกบีบให้เคลื่อนย้ายกำลังลงใต้ ทำให้สถานการณ์ในลัคเนาเลวร้ายลง ต้นเดือนมีนาคม 1858
กองทัพอังกฤษได้รวมศูนย์กำลัง 90,000 คน พร้อมด้วยปืนใหญ่ 180 กระบอกเข้าโอบล้อมโจมตีเมืองลัคเนา
การสู้รบอย่างดุเดือดตามสายถนนและตรอกซอย ได้ยืดเยื้อเป็นเวลา 20 กว่าวัน จนถึงวันที่ 21 มีนาคม
กองกำลังหลักของฝ่ายลุกขึ้นสู้จึงถอยออกจากชานเมือง ลัคเนาจึงตกอยู่ในความครอบครองของศัตรู

เมื่อกองทัพอังกฤษตั้งมั่นในเมืองลัคเนาแล้ว ก็เริ่มเคลื่อนกำลังเข้าบุกจันซี่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการลุกขึ้นสู้ในแถบ
อินเดียตอนกลาง ลักษมี ไบ เจ้าหญิงแห่งรัฐจันซี่

ซึ่งถูกอังกฤษเขมือบเอาที่ดินในกรรมสิทธิ์ไปโดยกฏหมาย "ว่าด้วยการเสียสิทธิ์" ได้เข้าร่วมการสู้รบกับกองทหารอังกฤษ
เคียงบ่าเคียงไหล่กับกองกำลังที่ลุกขึ้นสู้ของทหารและประชาชน วันที่ 3 เมษายน ศัตรูสามารถบุกเข้าเมืองได้ประชาชนจันซี่
ที่วีรอาจหาญ ได้ทำการสู้รบชิงเมืองกับศัตรูตามสายถนนและตามอาคารบ้านเรือน นักรบผู้กล้าหาญ 500 คน ที่รักษาเนินสูง
ล้วนได้สู้รบจนเลือดหยดสุดท้าย คืนวันที่ 4 เจ้าหญิงลักษมี ไบ นำกำลังลุกขึ้นสู้ส่วนหนึ่งตีฝ่าวงล้อมของศัตรูทางประตูเมือง
ด้านเหนือ วันที่ 5 จันซี่ตกอยู่ในความครอบครองของศัตรู
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 29, 2006, 12:01:21 AM โดย narongt » บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.518 วินาที กับ 22 คำสั่ง