๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
มีนาคม 29, 2024, 04:05:17 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติศาสตร์โลกยุคใกล้ บทที่1 ตอนที่ 3 การโหมโรงของการปฏิวัติชนชั้นนายทุน (ต่อ)  (อ่าน 17591 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #15 เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2006, 10:58:59 AM »

สงครามจรยุทธในอินเดียตอนกลางและความพ่ายแพ้ของการลุกขึ้นสู้

หลังเสียเมือง เดลี ลัคเนาและจันซี่แล้ว เมืองอื่นๆ ก็ทยอยเสียแก่ศัตรูตามลำดับ การลุกขึ้นสู้ทางประชาชาติของอินเดียจึงหัน
เข้าสู่การสู้รบแบบจรยุทธ ปี 1858 ในท้องที่ต่างๆ อย่างน้อยยังมีกำลัง 150,000 - 200,000 คนที่ถืออาวุธต่อสู้กับศัตรูต่อไป
กองกำลังลุกขึ้นสู้ที่นำโดย นานา ซาฮิบ และ ทานเตีย โทปิ เป็นกองกำลังที่เด่นที่สุดในบรรดากองกำลังทั้งหลาย

ทานเตีย โทปิ (Tantya_Tope) เกิดในครอบครัวของวรรณะศูทร เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นานา ซาฮิบ กองกำลังลุกขึ้นสู้
ที่เขาเป็นผู้นำได้สู้รบอยู่แถบลุ่มแม่น้ำคงคา เคยหนุนช่วยต่อการสู้รบในเมืองเดลี ลัคเนาและจันซี่ ทั้งได้ลอบจู่โจม
เมืองคอนพอร์หลายครั้ง ภายหลังเสียเมืองจันซี่แล้ว เขากับกองกำลังลุกขึ้นสู้ที่นำโดยเจ้าหญิง ลักษมี ไบ ก็เคลื่อนย้าย
ไปสู้รบอยู่แถบอินเดียตอนกลางและได้สถาปนาอำนาจรัฐชั่วคราวที่ กวาเลียร์

เล่นเอาล่อเอาเถิดกับกองทหารอังกฤษ สามารถตีการบุกของกองทหารอังกฤษล่าถอยไปหลายครั้ง
ต่อมาเจ้าหญิงตกม้าเสียชีวิตในสนามรบขณะกำลังล่าถอย ทานเตีย โทปิ นำกองกำลังลุกขึ้นสู้ใช้ยุทธวิธี
ทำทีจะตีทางตะวันออกแต่เข้าตีทางตะวันตก (ใช้กลยุทธ์ที่ ๖ ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม ของซุนวู) ไปสู้รบ
กับกองทหารอังกฤษ เผาทำลายคลังเก็บอาวุธของกองทหารอังกฤษ แย่งยึดปืนใหญ่ของอังกฤษ มักทำการสู้รบวกวน
เป็นระยะทางวันละ 30-40 ไมล์เป็นเวลาติดต่อกันหลายสัปดาห์ ทำให้กองทหารอังกฤษอับจนปัญญา

ขณะเดียวกับที่ดำเนินการปราบปรามด้วยกำลังอาวุธ อังกฤษยังใช้วิธีการแยกสลายทางการเมือง
เดือนพฤศจิกายน 1858 อังกฤษประกาศราชโองการของเจ้าหญิงวิคตอเรีย

โดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ล่วงละเมิดต่อผลประโยชน์และอภิสิทธิ์ของเจ้าศักดินาน้อยใหญ่ ไปหว่านซื้อเจ้าศักดินา
ทำให้เจ้าศักดินาที่เคยเข้าร่วมการลุกขึ้นสู้มาชั่วขณะหนึ่งพากันทรยศยอมจำนนต่อศัตรูทั้งช่วยเหลือนักล่าอาณานิคม
ค้นหาตัวผู้นำการลุกขึ้นสู้ เดือนเมษายน 1859 ด้วยการขายความลับของผู้ทรยศ ทานเตีย โทปิ ถูกจับและพลีชีพ
นานา ซาฮิบ หนีเข้าไปในเนปาล การลุกขึ้นสู้ของประชาชนอินเดีย ได้ยืนหยัดต่อสู้จนถึงปลายปี 1859
ก็ถูกปราบปรามลงในที่สุด

นักล่าอาณานิคมอังกฤษได้ทำการปราบปรามอย่างทารุณและแก้แค้นอย่างบ้าคลั่งต่อผู้ลุกขึ้นสู้
พวกเขาแหกปากตะโกนว่า "ผู้ถืออาวุธต้องตาย ผู้บาดเจ็บต้องตาย ไม่จับเป็นเชลย"
เมื่อพวกเขายึดได้เมืองหนึ่ง ก็จะทำการฆ่าเรียบ ปล้นเรียบ ที่เมืองอัลละฮาบาต เดลี

หลังจากผ่านการสังหารหมู่แบบล้างเมืองเป็นเวลา 3 วัน เดลีก็กลายเป็นเมืองร้างที่ไร้ผู้คน ที่เมืองลัคเนา
พวกเขาก็ทำการสังหารเป็นเวลา 12 วันติดต่อกัน นักล่าอาณานิคมอังกฤษได้ก่ออาชญากรรมล้นฟ้าล้นแผ่นดินในอินเดีย
เองเกลส์ได้เขียนถึงเรื่องนี้อย่างเดือดแค้นว่า "ที่อยู่ในลัคเนานั้นมิใช่กองทหารของอังกฤษ หากเป็นกลุ่มโจรห้าร้อย
ที่หยาบกระด้างป่าเถื่อน ดื่มเหล้าเมาอาละวาดที่สุมหัวอยู่ด้วยกันและแยกย้ายกันออกก่อกรรมทำชั่วเยี่ยงโจรสลัด"

(เองเกลส์ "รายละเอียดของการยึดเมืองลัคเนา") แต่ว่าประชาชนที่มีเกียรติประวัติในการต่อสู้กับผู้รุกรานไม่ได้ถูกขู่จนหัวหด
พวกเขายังคงยืนหยัดต่อสู้ต่อต้านอังกฤษต่อไป


การลุกขึ้นสู้ครั้งยิ่งใหญ่ทางประชาชาติของอินเดียแม้ว่าจะพ่ายแพ้ไปแล้ว แต่ว่ามันก็ได้ซัดกระหน่ำใส่การปกครอง
แบบอาณานิคมของอังกฤษอย่างหนักหน่วงทั้งด้านการเมือง การทหาร และการคลัง

กระแสสูงของการต่อสู้ปลดแอกประชาชาติของเอเชียในกลางศตวรรษที่ 19 เป็นการลุกขึ้นสู้ด้วยกำลังอาวุธ
ของมวลประชาชนชั้นล่าง กำลังดันพื้นฐานของการลุกขึ้นสู้คือ ชาวนาและหัตถกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ที่สุด
ของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ภาระหน้าที่พื้นฐานของการลุกขึ้นสู้คือ คัดค้านการกดขี่ขูดรีดของ
ลัทธิอาณานิคมและศักดานิยม ช่วงชิงเอกราชของชาติ

(ความเห็นส่วนตัวว่า ในปัจจุบันเมืองไทยก็กำลังเป็นแบบนี้แต่ด้วยระบบที่ซับซ้อนขึ้น
จึงต้องใช้ยุทธวิธีในการต่อสู้สูงขึ้น มากกว่าที่จะสู้กันด้วยอาวุธหรือกำลังอย่างเดียว)

มูลเหตุสำคัญที่การลุกขึ้นสู้พ่ายแพ้ก็คือ ภายใต้เงื่อนไขรูปธรรมของประเทศต่างๆ ของเอเชียในกลางศตวรรษที่ 19
ยังไม่มีการก่อตัวของชนชั้นกรรมาชีพซึ่งเป็นชนชั้นที่นำหน้า ดังนั้นจึงไม่มีการนำของชนชั้นที่ก้าวหน้า
ด้วยเหตุนี้ การลุกขึ้นสู้ของประเทศต่างๆ จึงมักเจือปนด้วยสีสันทางศาสนาในระดับต่างๆ กัน ผู้ลุกขึ้นสู้ไม่ได้
และก็ไม่อาจเสนอหลักนโยบายคัดค้านจักรวรรดินิยมและศักดินานิยมที่แน่นอนและถูกต้องได้ ไม่มีแนวทางการเมือง
และยุทธวิธีทางการเมืองที่ถูกต้อง ขาดการบัญชาที่เป็นเอกภาพและในประเทศบางประเทศที่ปลายหอกของการต่อสู้
มุ่งตรงต่ออำนาจรัฐอาณานิคมนั้น อำนาจการนำของการลุกขึ้นสู้ก็มักตกอยู่ในมือของเจ้าศักดินาที่ถูกกระแสคลื่น
การต่อสู้พัดพาเข้าไปร่วมอยู่ในขบวนการลุกขึ้นสู้ ก็มักตกอยู่ในมือของเจ้าศักดินาที่เป็นปฏิปักษ์กับมวลชนย่อมกำหนด
ให้พวกเขาจะต้องกดบีบลักษณะเอาการเอางานที่ปฏิวัติของมวลประชาชนในระหว่างเคลื่อนไหวปฏิวัติอย่างเต็มที่
จำกัดการขยายตัวและซึมลึกของการปฏิวัติอย่างสุดกำลัง การทรยศยอมจำนนต่อศัตรูของเจ้าศักดินาส่วนหนึ่ง
ก็ยิ่งทำให้กำลังปฏิวัติถูกบั่นทอนและทำลาย

การลุกขึ้นสู้ที่มีขนาดใหญ่โตของประชาชนในเอเชียครั้งนี้ ได้โจมตีอย่างหนักต่ออิทธิพลของลัทธิอาณานิคมตะวันตก
และอิทธิพลศักดินาภายในประเทศ เฉพาะสมรภูมิอินเดียของอังกฤษ นักล่าอาณานิคมอังกฤษก็ได้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
ทางทหารไปเป็นเงิน 40 ล้านปอนด์สเตอลิง เจ้าหน้าที่และทหารอาณานิคมจำนวนมากถูกทำลาย ความสูญเสีย
ในด้านการค้าและภาษียิ่งหนัก การลุกขึ้นสู้เหล่านี้ได้ทำลายแผนการจัดวางกำลังของนักล่าอาณานิคมยุ่งเหยิงไปหมด
บั่นทอนกำลังทางเศรษฐกิจและการทหารของพวกเขาให้อ่อนแอลง สั่นสะเทือนการปกครองแบบอาณานิคมของพวกเขา

(ความเห็นส่วนตัวว่า เป็นสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนี้ ปัจจุบันดูเหมือนเราสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ
แต่เทียบกับระยะยาวถือว่าคุ้มกว่าการที่เราจะสูญเสียทั้งประเทศให้ต่างชาติ)


กระแสสูงการต่อสู้ปลดแอกประชาชาติของเอเชียครั้งนี้ ได้ม้วนตลบไปในบริเวณพื้นที่อันกว้างใหญ่
ตั้งแต่อ่าวเปอร์เซียถึงประเทศจีน ขนาดที่ใหญ่และเวลาที่ยืดเยื้อยาวนานของการต่อสู้ด้วยอาวุธล้วนเป็นสิ่ง
ที่ไม่เคยมีมาก่อนทำให้ประชาชาติต่างๆ ของเอเชียได้ตื่นตัวขึ้น ดังที่เองเกลส์ได้พยากรณ์ล่วงหน้าไว้ว่า
"อรุโณทัยแห่งศักราชใหม่ของทั่วทวีปเอเชีย" (เองเกลส์ "เปอร์เซียกับประเทศจีน")

ในกระแสสูงของการต่อสู้ปลดแอกประชาชาติของเอเชียในครั้งนี้ ประชาชนของประเทศต่างๆ ในเอเชีย
ได้ก่อการโจมตีต่ออิทธิพลนักล่าอาณานิคมและอิทธิพลศักดินาภายในประเทศจากสมรภูมิที่แตกต่างกัน
เกิดบทบาทหนุนช่วยซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะคือการพัฒนาของการปฏิวัติ ไท่ผิง ของจีน
ไม่เพียงแต่ได้ตรึงกำลังทั้งทัพบกและทัพเรือของอังกฤษไว้จำนวนมากเท่านั้น ทั้งยังบีบให้อังกฤษ
ส่งกำลังที่เตรียมไว้ปราบปรามการลุกขึ้นสู้ของประชาชาติอินเดียไปยังประเทศจีน ฤดูร้อนปี 1857
ขณะที่ประชาชนอินเดียยึดได้เมืองเดลีนั้น ก็ได้บีบอังกฤษจำต้องถอนทหารที่เตรียมยกไปก่อสงคราม
รุกรานต่ออิหร่านและเคลื่อนย้ายกำลังทหารรุกรานที่อยู่ระหว่างเดินทางไปประเทศจีนไปที่กัลกัตตา

การต่อสู้ของพวกเขาก็เป็นการหนุนช่วยต่อการสู้ของประเทศอื่นในเอเชียเช่นกัน

มาร์กซกับเองเกลส์ได้สรรเสริญและเอาใจใส่ต่อการต่อสู้ของประชาชนเอเชียครั้งนี้อย่างเร่าร้อน
เสนอหลักทฤษฏีการปฏิวัติประชาชนของประชาชาติที่ถูกกดขี่ทางตะวันออกเป็นกองทัพพันธมิตร
ที่ยิ่งใหญ่ของการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพในยุโรป การต่อสู้เพื่อปลดแอกประชาชาติของเอเชียครั้งนี้
ทำให้ตลาดโลกหดเล็กลงทันที ทองคำและเงินขาวของประเทศเมืองแม่หลั่งไหลออกนอกเป็นจำนวนมาก
ได้เร่งและทวีความรุนแรงให้กับวิกฤติการปกครองของชนชั้นนายทุน ปี 1857-1858 อังกฤษเกิดวิกฤติ
ทางเศรษฐกิจเป็นประเทศแรก วิกฤติเศรษฐกิจก็นำมาซึ่งวิกฤติการณ์ทางการเมือง ความไม่พอใจของ
ประชาชนที่มีต่อรัฐบาลนับวันเพิ่มสูงขึ้นโดยทั่วไป ทำให้รัฐบาลของ เฮนรี่ จอห์น พาล์มเมอร์สตัน ล้มคว่ำ

วิกฤติการณ์ของอังกฤษครั้งนี้ ได้ระบาดไปในประเทศต่างๆ ของแผ่นดินใหญ่ยุโรปอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิด
วิกฤติเศรษฐกิจและวิกฤติทางการเมืองโดยทั่วไป ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพ
ก็รุนแรงขึ้นอีกก้าวหนึ่ง มาร์กซชี้ว่า
"การปฏิวัติของประเทศจีนจะโยนประกายไฟใส่ทุ่นระเบิดของระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่กำลังจะระเบิดอยู่แล้ว
ทำให้วิกฤติทั่วไปที่คุกรุ่นมานานระเบิดขึ้น วิกฤติทั่วไปนี้เมื่อใดที่มันขยายไปถึงภายนอกประเทศ สิ่งที่จะติดตามมา
โดยตรงจะต้องเป็นการปฏิวัติทางการเมืองในแผ่นดินใหญ่ยุโรป...ประเทศจีนจะก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย
ในโลกตะวันตก" (มาร์กซ "การปฏิวัติประเทศจีนกับการปฏิวัติยุโรป")
"อินเดียทำให้คนอังกฤษสิ้นเปลืองกำลังคนและโลหะมีค่า ปัจจุบันจึงเป็นพันธมิตรที่ดีที่สุดของเรา"
(มาร์กซ "จดหมายของมาร์กซถึงเองเกลส์")
บันทึกการเข้า
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16168


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2006, 12:33:01 PM »

ยาวดีครับ แต่ผมเห็นว่าไม่ข้อมูลเบื้องต้นที่ดีมากนักสำหรับการศึกษาที่รอบคอบ

เพราะ

ส่วนมากเป็นการนำเสนอเน้นแนวคิด ไดอะเลตติก ของนายเฮเกลอาจารย์ที่นายหมากลอกแบบเป็นบางส่วน คือชูว่าความขัดแย้งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ซึ่งอันที่จริงประวัติศาสตร์ยาวๆ ของยุโรปมีลักษณะที่ปรากฎการณ์ต่างๆ เกื้อหนุนกันเป็นแรงขับดันหลักด้วย หรือมากกว่า

และก็มั่วเอาความคิดเหมาๆ เข้าไปมาก อย่างการปฏิวัติฝรั่งเศสปี 1789 ที่จริงเป็นการปฏิวัติขแงชนชั้นกลางเต็มๆ เลย ไม่ใช่ชนชั้นแรงงาน ถึงแม้จะมีชนชั้นแรงงานมาเย้วๆ อยู่ด้วยก็ตาม

ฯลฯ

บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #17 เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2006, 01:05:08 PM »

ยาวดีครับ แต่ผมเห็นว่าไม่ข้อมูลเบื้องต้นที่ดีมากนักสำหรับการศึกษาที่รอบคอบ

เพราะ

ส่วนมากเป็นการนำเสนอเน้นแนวคิด ไดอะเลตติก ของนายเฮเกลอาจารย์ที่นายหมากลอกแบบเป็นบางส่วน คือชูว่าความขัดแย้งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ซึ่งอันที่จริงประวัติศาสตร์ยาวๆ ของยุโรปมีลักษณะที่ปรากฎการณ์ต่างๆ เกื้อหนุนกันเป็นแรงขับดันหลักด้วย หรือมากกว่า

และก็มั่วเอาความคิดเหมาๆ เข้าไปมาก อย่างการปฏิวัติฝรั่งเศสปี 1789 ที่จริงเป็นการปฏิวัติขแงชนชั้นกลางเต็มๆ เลย ไม่ใช่ชนชั้นแรงงาน ถึงแม้จะมีชนชั้นแรงงานมาเย้วๆ อยู่ด้วยก็ตาม

ฯลฯ



ในหนังสือที่ผมคัดลอกมาเล่มนี้เขียนโดย มหาวิทยาลัยครูเซี่ยงไฮ้ครับ
เลยมีแนวความคิดเอนออกไปทางระบอบคอมมิวนิสต์

แต่ผมทำลิงค์ไว้ที่รูปภาพและข้อความไปที่ วิกิพีเดีย(WIKI PEDIA) เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมครับ

พอดีหาเล่มอื่นไม่ได้ที่จะโยงมาจนถึง ล่าอาณานิคม ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และ 20
ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นหนังสืออีกเล่มที่เขียนโดยคนไทยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.116 วินาที กับ 21 คำสั่ง