๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
มีนาคม 28, 2024, 10:30:08 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปืนเถื่อน  (อ่าน 15754 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #30 เมื่อ: เมษายน 15, 2012, 05:42:40 PM »

ปืนเถื่อนควรถูกกำจัดออกจากสังคมนะถูกต้องแล้ว

เสียดายแต่ปืนไทยประดิษฐ์ รัฐบาลน่าจะจ้างไว้เป็นผู้ชำญการของกองทัพหรือ สนง.ตำรวจ เพื่ออผลิต,ซ่อมอาวุธให้ชาติ

ในอดีตข้าราชการที่เกี่ยวข้องแก้ชอบปัญหาแบบมักง่ายไม่บูรณาการ คือห้ามผลิตปืนไปเลยพร้อมกล่าวคำสาบาญ ไม่ยุ่งเกียวกับการประดิษฐ์ปืน ชาติไทยจึงต้องเสียเงินซื้ออาวุธเบาจากต่างชาติมากเกินจำเป็น

นายสมชายยังมีความเห็นเหมือนเดิมครับ ว่าช่างปืนเถื่อนของไทยคือช่างเหล็กฝีมือระดับตีมีด OTOP ครับ... แค่กัดไส เจาะ ตัด คว้าน แล้วแทงตะไบธรรมดา, ไม่ใช่ระดับผู้ชำนาญการผลิตหรือซ่อมอาวุธให้กองทัพครับ...

แล้วสาเหตุที่ประเทศไทยไม่ได้สร้างอาวุธเองนั่นไม่ใช่เพราะไม่มีช่างฝีมือ เพราะอาวุธสมัยใหม่ไม่ได้ใช้ช่างปืนโดยเฉพาะเพื่อผลิตปืน แต่สามารถเอาช่างฝีมือธรรมดา เช่น ปวช. ปวส. ไปอบรมเพิ่มเติมให้ทำงานเฉพาะด้านแยกตามหน้าที่ในแบบปืนจุดนั้น แล้วส่งงานกันเป็นทอดๆ ตามสายการผลิต ผลงานจะเหมือนจิ๊กซอว์หลายแผ่นต่อขึ้นรูปเป็นปืนทั้งกระบอกเองครับ... แต่ที่ไม่ได้ผลิตเองก็เพราะซื้อเขามันถูกกว่าทำเองทั้งกระบอก(ปืนเล็ก) เพราะมันเป็นเรื่องของต้นทุนจะถูกลงเมื่อผลิตล็อตใหญ่ครับ(Economy in large scale)...
บันทึกการเข้า
boilerman
Sr. Member
****

คะแนน 28
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 576


« ตอบ #31 เมื่อ: เมษายน 15, 2012, 06:08:37 PM »

ตอนผมเรียน ป.โท เศรษฐศาสตร์ ผมคลั้งไคล้เครื่อง ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ในการผลิตสินค้าแต่ละชนิดว่าแต่ละประเทศควรผลิตแต่ของที่ตัวเองผลิตได้ถูกกว่าแล้วเอามาแล้วกัน

หลังจากเรียนจบมาร่วม 20 ปี ผมคิดต่อว่า ไม่ใช่สินค้าทุกตัวที่จะใช้หลักคิดอย่างนั้น เช่น อาหาร จะอ้างว่าซื้อเขาถูกกว่าอย่างเดียวไม่ได้ เพราะมันคือความมั่นคงของประเทศ ดังเช่นที่ญี่ปุ่นต้องอุดหนุนชาวนาเพื่อให้ญี่ปุ่นมีข้าวกิน หากเกิดสงคราม ไม่สามารถส่งข้าวเข้าไปยังประเทศญี่ปุ่นได้ (ยังไม่ต้องคิดไกลว่าผู้ส่งออกข้าวฮั้วกันไม่ส่งข้าวให้ญี่ปุ่น)

ปืนก็เป็นสินค้าอีกตัวหนึ่งที่ผมมองเรื่องความมั่นคงดังเช่นอาหาร จะยืมจมูกประเทศอื่นหายใจ ด้วยคิดว่าผลิตเองแพงกว่า ซื้อเขาดีกว่า

ที่แน่ๆตอนนี้ประเทศไทยปืนแพงเพราะค่าวิ่งเต้นโควต้า ครับผม เศร้า
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #32 เมื่อ: เมษายน 15, 2012, 09:18:03 PM »

ตอนผมเรียน ป.โท เศรษฐศาสตร์ ผมคลั้งไคล้เครื่อง ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ในการผลิตสินค้าแต่ละชนิดว่าแต่ละประเทศควรผลิตแต่ของที่ตัวเองผลิตได้ถูกกว่าแล้วเอามาแล้วกัน

หลังจากเรียนจบมาร่วม 20 ปี ผมคิดต่อว่า ไม่ใช่สินค้าทุกตัวที่จะใช้หลักคิดอย่างนั้น เช่น อาหาร จะอ้างว่าซื้อเขาถูกกว่าอย่างเดียวไม่ได้ เพราะมันคือความมั่นคงของประเทศ ดังเช่นที่ญี่ปุ่นต้องอุดหนุนชาวนาเพื่อให้ญี่ปุ่นมีข้าวกิน หากเกิดสงคราม ไม่สามารถส่งข้าวเข้าไปยังประเทศญี่ปุ่นได้ (ยังไม่ต้องคิดไกลว่าผู้ส่งออกข้าวฮั้วกันไม่ส่งข้าวให้ญี่ปุ่น)

ปืนก็เป็นสินค้าอีกตัวหนึ่งที่ผมมองเรื่องความมั่นคงดังเช่นอาหาร จะยืมจมูกประเทศอื่นหายใจ ด้วยคิดว่าผลิตเองแพงกว่า ซื้อเขาดีกว่า

ที่แน่ๆตอนนี้ประเทศไทยปืนแพงเพราะค่าวิ่งเต้นโควต้า ครับผม เศร้า

ถ้าเอาเรื่องยุทธศาสตร์ความมั่นคงของประเทศเข้ามาคุยในกระทู้นี้ นายสมชายชักคุยต่อไม่ไหวแหล่วครับ... แฮ่ๆ...
คือเรื่องนี้มันคุยกันไม่จบเรื่องง่ายๆ โดยเฉพาะเรื่องเปิดยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้วยประเด็นทางเศรษฐศาสตร์เสียด้วย ท่าทางจะบานไปไกลครับ...

ลองอ่านกระทู้ที่เคยคุยกันดีกว่านะครับ เผื่อหาคำตอบได้ หรือหากหาคำตอบไม่ได้ ก็สามารถขึ้นกระทู้ใหม่จับประเด็นใหม่ได้เลยครับ... เย้...
กระทู้ที่ว่า ตามรายการข้างล่างนี่ครับ...

http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=75866.0
http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=24495.0
http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=47727.0
http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=51332.0
http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=20919.0

ที่จริงมีอีกแยะครับ แต่นึกออกได้แค่นี้ครับ...
บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #33 เมื่อ: เมษายน 15, 2012, 09:24:09 PM »

ขึ้นกระทู้ใหม่เลยก็ดีครับ  ผมอยากฟังพี่สมชายอธิบาย   หลงรัก
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #34 เมื่อ: เมษายน 15, 2012, 09:34:46 PM »

ขึ้นกระทู้ใหม่เลยก็ดีครับ  ผมอยากฟังพี่สมชายอธิบาย   หลงรัก

นึกไม่ออกเหมือนกันครับ, นายสมชายคอยตามน้ำดีกว่าครับ... ฮา...
บันทึกการเข้า
boilerman
Sr. Member
****

คะแนน 28
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 576


« ตอบ #35 เมื่อ: เมษายน 16, 2012, 09:52:50 AM »

เมื่อ 40 ปี ก่อน ประเทศไทย ไม่เหมาะที่จะเป็นแหล่งผลิตรถยนต์ แต่หลายรัฐบาลก่อนได้ดันทุรังทูซี้ส่งเสริมอยู่เรื่อยๆ (ตามตำราเขาเรียกว่า อุตสาหกรรมซับน้ำตา คือทำไป ซับน้ำตาไป เพราะหากำไรยากมาก ถ้ารัฐบาลไม่ตั้งกำแพงภาษีกีดกันรถยนต์นำเข้าจาก ตปท.) จน40 ปีผ่านไป ประเทศไทยก็เหมาะที่จะเป็นแหล่งผลิตรถยนต์แหล่งสำคัญของโลกได้

เมื่อ 30 ปีก่อน ประเทศไทย ไม่เห็นทางว่าจะเป็นศูนย์กลางการเดินเรือได้อย่างประเทศสิงคโปร์ แต่หลายรัฐบาล ได้ดันทุรังทู่ซี้ส่งเสริมอยู่เรื่อยๆ ตอนนี้ถึงยังไม่เทียบชั้นสิงคโปร์ แต่ถ้าดันทุรังทู่ซี้ส่งเสริมอีกสัก 20 ปี ก็แซงหน้าสิงคโปร์ได้ เพราะเราสามารถเชื่อมโยงการขนส่งทางเรือ กับทางบกได้ดีกว่าสิงคโปร์ (สิงคโปร์อาจได้เปรียบเรื่องน้ำทะเล แต่เสียเปรียบไทยเรื่องถนนทางบก ที่จะเชื่อมต่อกับอินโดจีน

เขาเรียกว่า นโยบายการส่งเสริมนะครับ ไหว้
บันทึกการเข้า
boilerman
Sr. Member
****

คะแนน 28
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 576


« ตอบ #36 เมื่อ: เมษายน 16, 2012, 09:59:17 AM »

วินาทีแรกที่จะทำสิ่งใด จะหวังความคุ้มค่าทางการเงิน แบบทันทีทันใดนั้นคงเป็นไปไม่ได้ ต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง อาจแค่ 1-2 เดืนอ , 2-3 ปี , 10 ปี หรือแม้แต่ 1 ชั่วอายุคน จึงจะคุ้มค่าทางการเงิน

ขนาดลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้าออกมาขาย หรือ ซื้อสินค้ามาแล้วขายไป วินาทีแรกที่ลงทุนก็ยังทำไรไม่ได้ครับ ต้องดำเนินการไปสักระยะหนึ่งจึงจะเห็นกำไร

ยิ่งถ้าขยายนิยามคำว่า "คุ้มค่า" ให้มากกว่า"คุ้มค่าทางการเงิน" โดยรวมความคุ้มค่าอย่างอื่นด้วยแล้วละก็ ก็จะคุ้มเร็วขึ้นอีก ไหว้
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #37 เมื่อ: เมษายน 16, 2012, 03:16:58 PM »

เมื่อ 40 ปี ก่อน ประเทศไทย ไม่เหมาะที่จะเป็นแหล่งผลิตรถยนต์ แต่หลายรัฐบาลก่อนได้ดันทุรังทูซี้ส่งเสริมอยู่เรื่อยๆ (ตามตำราเขาเรียกว่า อุตสาหกรรมซับน้ำตา คือทำไป ซับน้ำตาไป เพราะหากำไรยากมาก ถ้ารัฐบาลไม่ตั้งกำแพงภาษีกีดกันรถยนต์นำเข้าจาก ตปท.) จน40 ปีผ่านไป ประเทศไทยก็เหมาะที่จะเป็นแหล่งผลิตรถยนต์แหล่งสำคัญของโลกได้

เมื่อ 30 ปีก่อน ประเทศไทย ไม่เห็นทางว่าจะเป็นศูนย์กลางการเดินเรือได้อย่างประเทศสิงคโปร์ แต่หลายรัฐบาล ได้ดันทุรังทู่ซี้ส่งเสริมอยู่เรื่อยๆ ตอนนี้ถึงยังไม่เทียบชั้นสิงคโปร์ แต่ถ้าดันทุรังทู่ซี้ส่งเสริมอีกสัก 20 ปี ก็แซงหน้าสิงคโปร์ได้ เพราะเราสามารถเชื่อมโยงการขนส่งทางเรือ กับทางบกได้ดีกว่าสิงคโปร์ (สิงคโปร์อาจได้เปรียบเรื่องน้ำทะเล แต่เสียเปรียบไทยเรื่องถนนทางบก ที่จะเชื่อมต่อกับอินโดจีน

เขาเรียกว่า นโยบายการส่งเสริมนะครับ ไหว้

เอาเรื่องศูนย์กลางยานยนต์นะครับ... ตรงนี้เกิดเพราะค่าแรงถูก และรัฐบาลไทยสมัยนั้น(โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนช่วงนายสมพงษ์ วนาภาฯ - ที่จริงต่อเนื่องจากสถาพรฯ โดยมีนายยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์เป็นมือทำรายงานสรุปฯ) โดย BOI แค่ตามน้ำในช่วงที่ญี่ปุ่นกำลังหาทางย้านฐานการผลิตไปที่ใหม่ที่ไหนก็ได้ ที่ต้นทุนค่าแรงต่ำ สาธารณูปโภคพื้นฐานพอไหว และมีท่าเรือสำหรับส่งออกได้เหมาะๆ และโควต้าส่งออกไปตลาดใหญ่คือ USA. นั่นเป็นของแถมครับ...

ปัจจุบันนี้สิ่งได้เปรียบตามข้างบนนั่นไม่ได้จูงใจเหมือนเดิมครับ ที่ยังทนอยู่ในไทย ก็เพราะมันมีค่าใช้จ่ายในการ Relocation แต่พอน้ำท่วมใหญ่ปุ๊บ... Honda ประกาศแล้วว่าจะยังไม่ย้ายไปที่อื่น แต่จะไม่ขยายแพลนท์, ส่วนยี่ห้ออื่นยังไม่ได้บอกอะไร แต่กลัวจะย้ายหนี(สำหรับออโต้อัลลายแอนซ์ - ต้องถามคุณไดเมียวในเว็บนี้ครับ)...

ทีนี้เอาเรื่องศูนย์การการเดินเรือ... ยูนิไทย ชิปยาร์ดคือบริษัทเดียวของไทยที่มีศักยภาพต่อเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ได้ แล้วปัจจุบันเมื่อหมดสิทธิประโยชน์ BOI ก้ไม่ได้เปิดโครงการใหม่ หรือขอขยายสิทธิประโยชน์อีกเลย, แล้วยิ่งไปกว่านั้น เมื่อยูนิไทยฯ ต่อเรือให้กองทัพเรือเสร็จเรียบร้อยแล้วก็เกือบปิดอู่แห้ง เหลือแต่บริการซ่อมแซมครับ, ปัจจุบันธุรกิจขนส่งทางเรืออยู่ในช่วงขาลง จะเห็นได้ว่าราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ทั้ง TTA, PSL, และ RCL อยู่ในขาลงได้นานแล้วครับ ทั้งกองเรือเทกอง และกองเรือขนตู้คอนเทนเนอร์(ทำให้ยูนิไทยมองไม่เห็นศักยภาพตลาดฯ)...

สำหรับยูนิไทยฯ ก็หันไปขยายตลาดด้านทำแท่นขุดเจาะน้ำมันได้นานแล้วครับ โดยร่วมทุนกับเชฟร่อน เป็นบริษัม CUEL เพิ่งได้งานที่ญี่ปุ่น แล้วเอาพื้นที่ของยูนิไทยที่แหลมฉบังไปผลิตแท่นฯ เต็มพื้นที่ เต็มกำลังการผลิตไปอย่างน้อย 3 ปีครับ... บริษัทอื่นของไทยที่มีศักยภาพได้ระดับนี้มองไม่เห็นเลยครับ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #38 เมื่อ: เมษายน 16, 2012, 03:31:23 PM »

วินาทีแรกที่จะทำสิ่งใด จะหวังความคุ้มค่าทางการเงิน แบบทันทีทันใดนั้นคงเป็นไปไม่ได้ ต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง อาจแค่ 1-2 เดืนอ , 2-3 ปี , 10 ปี หรือแม้แต่ 1 ชั่วอายุคน จึงจะคุ้มค่าทางการเงิน

ขนาดลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้าออกมาขาย หรือ ซื้อสินค้ามาแล้วขายไป วินาทีแรกที่ลงทุนก็ยังทำไรไม่ได้ครับ ต้องดำเนินการไปสักระยะหนึ่งจึงจะเห็นกำไร

ยิ่งถ้าขยายนิยามคำว่า "คุ้มค่า" ให้มากกว่า"คุ้มค่าทางการเงิน" โดยรวมความคุ้มค่าอย่างอื่นด้วยแล้วละก็ ก็จะคุ้มเร็วขึ้นอีก ไหว้

ถ้าเป็นสมัยก่อนฯ อาจคิดแบบนี้ได้ เพราะนาฬิกามันเดินช้าครับ... แต่ยุคใหม่แล้วกระบวนการผลิตมันไม่เหมือนเดิม ตั้งแต่มีระบบคอมพิวเตอร์แยกย่อยกระบวนการผลิตออกเป็นจิ๊กซอว์แผ่นเล็กๆ ทำให้กระบวนการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมขึ้นอยู่กับองค์ความรู้การออกแบบกระบวนการผลิตครับ โดยพูดแบบสรุปก็คือคนออกแบบสามารถถือแบบแปลน เอาไปให้โรงงานมาตรฐานที่มีอุปกรณ์ฯ เครื่องมือและวัตถุดิบจำเป็นที่ต้องการ แล้วก็สามารถผลิตได้ทุกแห่งในโลก(ที่มีโรงงานเทคโนโลยีมาตรฐาน)ครับ...

หรือพูดแบบให้ตื่นเต้นสักหน่อย ก็คือสามารถถือแบบแปลนผลิตปืนเล็กกลจู่โจมฯ เอาไปให้โรงงานผลิตรถยนต์ผลิตก็ยังไหว โดยอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนสายการผลิต ปรับเปลี่ยนเครื่องมือบ้าง แต่ใช้เวลาไม่นานนัก โรงงานผลิตรถยนต์นั้นก็สามารถผลิตปืนเล็กกลได้ครับ... หรือหากจะยกตัวอย่างให้เห็นชัดก็คือ เครื่องกัดโลหะที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์(CNC - Computer Numerical Control) ที่เคยใช้ผลิดอะไหล่รถยนต์นั้น หากเปลี่ยนโปรแกรมข้างในใหม่ ก็เปลี่ยนเป็นผลิดลำเลื่อนปืนสั้นได้ไม่ยากครับ...

ดังนั้นการที่จะผลิตอะไรในยุคปัจจุบัน มองที่ความคุ้มค่าก่อนครับ(โดยเฉพาะขนาดตลาด)... เรื่องเทคโนโลยีนั้นเป็นเรื่องรอง เพราะหากเทคโนโลยีไม่ถึง ก็ซื้อก็โนฮาวนด์เขายังไหวครับ จะได้ไม่ต้องมานั่งนับหนึ่งไงครับ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #39 เมื่อ: เมษายน 16, 2012, 03:54:14 PM »

พอพูดถึงเรื่องผลิตปืนด้วยเครื่อง CNC ตัวอย่างเช่นปืนยี่ห้อคิมเบอร์... ก็เลยนึกถึงช่างปืนแทงตะไบ ที่เคยผลิตปืนเถื่อนแบบหอบเครื่องมือใส่กระสอบ/ถุงปุ๋ยวิ่งหนีเจ้าหน้าที่น่ะครับ, โรงงานแบบคิมเบอร์นั้น ความชำนาญของช่างปืนแทงตะไบจะไม่มีความสำคัญครับ...
บันทึกการเข้า
boilerman
Sr. Member
****

คะแนน 28
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 576


« ตอบ #40 เมื่อ: เมษายน 16, 2012, 05:34:32 PM »

ยิ่งท่านสมชายให้เหตุผลมา ผมว่ายิ่งใช่เลย

ประเทศไทย มี CNC กี่เครื่อง แต่กฎหมายอนุญาตให้เอกชนหรือหน่วยราชการผลิตปืน โดยให้ปืนเป็นส่วนหนึ่งของสายการผลิต (หมายถึงโรงงานก็ผลิตสินค้าอืนด้วยเพื่อเฉลี่ยต้นทุนให้ต้นทุนปืนไม่สูง จนสู้ต้นทุนปืนของ ตปท.) ซึ่งจะซื้อแบบปืนจาก ตปท. มาผลิตก็ยังได้ หากไม่ต้องการเริ่มต้นจากศูนย์

เจ้าหน้าที่ราชการที่เกี่ยวข้อง ก็ควบคุมไปอย่าให้ชิ้นส่วนหลุดไปเป็นปืนเถื่อน ถ้าทำไม่ได้ก็สงสารประเทศไทย ที่มีข้าราชการแบบนี้

ถ้าคนไทยที่เป็นประชาชนทั่วไปไม่เชื่อฝีมือคนไทยไม่เป็นไร ก็ขายให้หน่ายราชการทหาร , ตำรวจไทย ส่วนถ้าทหารตำรวจไทยบอกว่าไม่อยากใช้ปืนไทย ผมก็คนต้องร้องให้ หัวเราะร่าน้ำตาริน ให้กับประเทศไทยจงเจริญครับ

 ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า
TA881
Hero Member
*****

คะแนน 157
ออฟไลน์

กระทู้: 1486



« ตอบ #41 เมื่อ: เมษายน 16, 2012, 06:03:54 PM »

เรื่องปืนก็เหมือนเรื่อง นิวเคลียร์ครับ (เฉพาะเรื่องปืนของประเทศไทยนะครับ)  มีทั้งด้านดีและด้านเสี่ยง   ผู้มีอำนาจเค้าไม่อยากเสี่ยงครับ  เกิดความคิดแตกแยกเป็น 2 กลุ่มก้อนใหญ่ๆ หากอาวุธปืนหยิบหาง่าย  ผู้ดูแลเค้าก็ลำบากครับ ยิ้มีเลศนัย   ส่วนปืนเถื่อนและความคุ้มค่าการลงทุนเป็นปลายๆสาเหตุของการไม่ผลิตแล้วล่ะครับ  ให้ลูกน้องวิ่งไล่จับทุกวันก็ยังไหว หรือตั้งด่านตรวจไปเรื่อยๆจะได้มีงานทำ  ดูได้จากผู้มีอำนาจยังคงมีรถนำขบวน มีบอดี้การ์ด แล้วทำไมเค้าไม่กวาดล้างปืนเถื่อนให้หมดไป  หากผลิตปืนเองสงสัยจะปิดถนนรัศมีเป็น 50 กม

มุมผมคนเดียวนะครับ  แล้วแต่จะเห็นด้วยหรือไม่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 16, 2012, 06:10:39 PM โดย TA881 » บันทึกการเข้า
boilerman
Sr. Member
****

คะแนน 28
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 576


« ตอบ #42 เมื่อ: เมษายน 16, 2012, 06:18:43 PM »

ถกกันให้ตาย ก็เท่านั้นแหละ ผมรู้คำตอบของประเทศไทยอยู่แล้ว
ก็ยินดีด้วยที่เราถกกันแบบเห็นต่างแต่ไม่ใช่ด่ากัน อยากให้ประเทศไทยเป็นแบบนี้ครับ

ประชาชนฉลาด ผู้สวมหัวโขนทำหน้าที่ปกครอง(ไม่ใช่ผู้ปกครอง) เหนื่อย ไหว้
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #43 เมื่อ: เมษายน 16, 2012, 10:31:04 PM »

ยิ่งท่านสมชายให้เหตุผลมา ผมว่ายิ่งใช่เลย

ประเทศไทย มี CNC กี่เครื่อง แต่กฎหมายอนุญาตให้เอกชนหรือหน่วยราชการผลิตปืน โดยให้ปืนเป็นส่วนหนึ่งของสายการผลิต (หมายถึงโรงงานก็ผลิตสินค้าอืนด้วยเพื่อเฉลี่ยต้นทุนให้ต้นทุนปืนไม่สูง จนสู้ต้นทุนปืนของ ตปท.) ซึ่งจะซื้อแบบปืนจาก ตปท. มาผลิตก็ยังได้ หากไม่ต้องการเริ่มต้นจากศูนย์

เจ้าหน้าที่ราชการที่เกี่ยวข้อง ก็ควบคุมไปอย่าให้ชิ้นส่วนหลุดไปเป็นปืนเถื่อน ถ้าทำไม่ได้ก็สงสารประเทศไทย ที่มีข้าราชการแบบนี้

ถ้าคนไทยที่เป็นประชาชนทั่วไปไม่เชื่อฝีมือคนไทยไม่เป็นไร ก็ขายให้หน่ายราชการทหาร , ตำรวจไทย ส่วนถ้าทหารตำรวจไทยบอกว่าไม่อยากใช้ปืนไทย ผมก็คนต้องร้องให้ หัวเราะร่าน้ำตาริน ให้กับประเทศไทยจงเจริญครับ

 ไหว้ ไหว้ ไหว้

ปืนแพงเพราะดีมานด์สูงเกินซับพลายด์ครับ... การจำกัดโควต้าทำให้เส้นซับพลายด์ชีฟต์ฯ, ไม่ใช่เรื่องต้นทุนสูงครับ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 16, 2012, 10:41:03 PM โดย นายสมชาย(ฮา) - รักในหลวง » บันทึกการเข้า
Daimyo
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 924
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9043



« ตอบ #44 เมื่อ: เมษายน 16, 2012, 11:30:36 PM »

เมื่อ 40 ปี ก่อน ประเทศไทย ไม่เหมาะที่จะเป็นแหล่งผลิตรถยนต์ แต่หลายรัฐบาลก่อนได้ดันทุรังทูซี้ส่งเสริมอยู่เรื่อยๆ (ตามตำราเขาเรียกว่า อุตสาหกรรมซับน้ำตา คือทำไป ซับน้ำตาไป เพราะหากำไรยากมาก ถ้ารัฐบาลไม่ตั้งกำแพงภาษีกีดกันรถยนต์นำเข้าจาก ตปท.) จน40 ปีผ่านไป ประเทศไทยก็เหมาะที่จะเป็นแหล่งผลิตรถยนต์แหล่งสำคัญของโลกได้

เมื่อ 30 ปีก่อน ประเทศไทย ไม่เห็นทางว่าจะเป็นศูนย์กลางการเดินเรือได้อย่างประเทศสิงคโปร์ แต่หลายรัฐบาล ได้ดันทุรังทู่ซี้ส่งเสริมอยู่เรื่อยๆ ตอนนี้ถึงยังไม่เทียบชั้นสิงคโปร์ แต่ถ้าดันทุรังทู่ซี้ส่งเสริมอีกสัก 20 ปี ก็แซงหน้าสิงคโปร์ได้ เพราะเราสามารถเชื่อมโยงการขนส่งทางเรือ กับทางบกได้ดีกว่าสิงคโปร์ (สิงคโปร์อาจได้เปรียบเรื่องน้ำทะเล แต่เสียเปรียบไทยเรื่องถนนทางบก ที่จะเชื่อมต่อกับอินโดจีน

เขาเรียกว่า นโยบายการส่งเสริมนะครับ ไหว้

เอาเรื่องศูนย์กลางยานยนต์นะครับ... ตรงนี้เกิดเพราะค่าแรงถูก และรัฐบาลไทยสมัยนั้น(โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนช่วงนายสมพงษ์ วนาภาฯ - ที่จริงต่อเนื่องจากสถาพรฯ โดยมีนายยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์เป็นมือทำรายงานสรุปฯ) โดย BOI แค่ตามน้ำในช่วงที่ญี่ปุ่นกำลังหาทางย้านฐานการผลิตไปที่ใหม่ที่ไหนก็ได้ ที่ต้นทุนค่าแรงต่ำ สาธารณูปโภคพื้นฐานพอไหว และมีท่าเรือสำหรับส่งออกได้เหมาะๆ และโควต้าส่งออกไปตลาดใหญ่คือ USA. นั่นเป็นของแถมครับ...

ปัจจุบันนี้สิ่งได้เปรียบตามข้างบนนั่นไม่ได้จูงใจเหมือนเดิมครับ ที่ยังทนอยู่ในไทย ก็เพราะมันมีค่าใช้จ่ายในการ Relocation แต่พอน้ำท่วมใหญ่ปุ๊บ... Honda ประกาศแล้วว่าจะยังไม่ย้ายไปที่อื่น แต่จะไม่ขยายแพลนท์, ส่วนยี่ห้ออื่นยังไม่ได้บอกอะไร แต่กลัวจะย้ายหนี(สำหรับออโต้อัลลายแอนซ์ - ต้องถามคุณไดเมียวในเว็บนี้ครับ)...ทีนี้เอาเรื่องศูนย์การการเดินเรือ... ยูนิไทย ชิปยาร์ดคือบริษัทเดียวของไทยที่มีศักยภาพต่อเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ได้ แล้วปัจจุบันเมื่อหมดสิทธิประโยชน์ BOI ก้ไม่ได้เปิดโครงการใหม่ หรือขอขยายสิทธิประโยชน์อีกเลย, แล้วยิ่งไปกว่านั้น เมื่อยูนิไทยฯ ต่อเรือให้กองทัพเรือเสร็จเรียบร้อยแล้วก็เกือบปิดอู่แห้ง เหลือแต่บริการซ่อมแซมครับ, ปัจจุบันธุรกิจขนส่งทางเรืออยู่ในช่วงขาลง จะเห็นได้ว่าราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ทั้ง TTA, PSL, และ RCL อยู่ในขาลงได้นานแล้วครับ ทั้งกองเรือเทกอง และกองเรือขนตู้คอนเทนเนอร์(ทำให้ยูนิไทยมองไม่เห็นศักยภาพตลาดฯ)...

สำหรับยูนิไทยฯ ก็หันไปขยายตลาดด้านทำแท่นขุดเจาะน้ำมันได้นานแล้วครับ โดยร่วมทุนกับเชฟร่อน เป็นบริษัม CUEL เพิ่งได้งานที่ญี่ปุ่น แล้วเอาพื้นที่ของยูนิไทยที่แหลมฉบังไปผลิตแท่นฯ เต็มพื้นที่ เต็มกำลังการผลิตไปอย่างน้อย 3 ปีครับ... บริษัทอื่นของไทยที่มีศักยภาพได้ระดับนี้มองไม่เห็นเลยครับ...

แหะๆ.....Ford กะ Mazda...คู่แข่งผมครับ......

ตลาดรถยนต์บ้านเรา...ขับเคลื่อนโดยความต้องการของรถกระบะเป็นหลักครับ....

เมืองไทย ถือเป็นตลาดกระบะที่ใหญ่เป็นที่2ของโลก รองจากอเมริกา....

และเพราะรัฐบาลในอดีต...ให้สิทธิภาษีพิเศษกับรถกระบะ ทําให้มีราคาขายได้ถูกกว่ารถเก๋ง.....( ไปดูราคารถกระบะ 1ตันในต่างประเทศได้ว่า แพงกว่าเก๋งเยอะ...) แถม ตั้งกําแพงภาษีรถยนต์นําเข้าไว้สูงลิบ กีดกันสมบูรณ์แบบ ซึ่งแนวคิดนี้ ส่วนตัวผมถือว่าเป็นคุโนปการกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเราครับ....

เพราะรถกระบะเป็นรถอเนกประสงค์ ประเทศเกษตรกรรมแบบบ้านเรา...สามารถใช้บรรทุกพืชผลการเกษตร ใช้ขนส่งคน อุปกรณ์เล็กๆน้อยๆ ปุ๋ย ฯลฯ.....ขณะเดียวกัน ก็ทําให้อุตสาหกรรมรถยนต์บ้านเราเติบโต....

การย้ายฐานการผลิต...อาจจะเกิดขึ้นได้ครับ...กับรถเก๋ง หรือ รถยนต์นั่ง....เพราะตลาดบ้านเราเล็ก.....มาเลเซีย กับ อินโดฯ ถือเป็นตลาดใหญ่ของรถเก๋งครับ....( เมืองไทย 60-65% เป็นกระบะ).....

สังเกตุง่ายๆครับ.....โฟลค์ กรุ๊ป.....แทนที่จะมาตั้งโรงงานผลิตในไทย กลับประกาศลงทุนในมาเลเซียไปเรียบร้อยแล้ว....เพราะเน้นรถยนต์นั่งเป็นหลัก.....

บันทึกการเข้า

ดังสายลมที่พัดผ่านลานป่า..พาใบไม้พลัดถิ่น..ดั่งสายน้ำที่ไหลรินพัดพา..นำดวงใจฉันมาใกล้เธอ..
"ความหวังดีที่เธอให้สังคม ฉันชื่นชมเธอเสมอ"
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.139 วินาที กับ 21 คำสั่ง