๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน

สนทนาภาษาปืน => สนทนาภาษาปืน => ข้อความที่เริ่มโดย: ban.cha ที่ สิงหาคม 04, 2010, 11:57:13 AM



หัวข้อ: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: ban.cha ที่ สิงหาคม 04, 2010, 11:57:13 AM
สวัสดีครับ
               สงสัยเรื่องเหล็กน้ำพี้โบราณของไทย ที่ใช้ทำดาบ หอก  แหลน  เหลา
กับเหล็กปัจจุบันที่ใช้ทำอาวุธดังกล่าว  มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร
                ขอท่านผู้รู้ ช่วยตอบให้หายสงสัยด้วยครับ
                                        ขอขอบคุณครับ ::014::


หัวข้อ: Re: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: meethai ที่ สิงหาคม 04, 2010, 12:24:32 PM
เหล็กปัจจุบันแข็งกว่าครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเบอร์เหล็กด้วยนะครับ เหล็กปัจจุบันที่แข็งจริงๆ จะไม่บิ่นหรือยุบง่าย ลองดูแค่บันไดจักรยานก็ได้ (เสือภูเขา) หรือไม่ก็ดูจอบตราจรเข้ก็ได้


หัวข้อ: Re: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ ที่ สิงหาคม 04, 2010, 12:46:08 PM
ผมว่าเหล็กปัจจุบันนี้แข็งมากนะ  ขนาดลูกกระสุน .๕๐ bmg ยังยิงไม่หักเลย  (นัดเดียว)   :D

http://atcloud.com/stories/17015 (http://atcloud.com/stories/17015)


หัวข้อ: Re: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: ไก่เฮง รักในหลวง ที่ สิงหาคม 04, 2010, 12:58:39 PM
...อันนี้ไม่ทราบจริงๆๆครับคุณบัญชา..แต่ว่าผมเคยซื้อดาบที่ทำจากเหล็กน้ำพี้
เอาแบบไปให้เขาทำให้ที่อุตรดิตถ์ครับ..สวยมาก..มีคุณค่าทางจิตใจครับ


หัวข้อ: Re: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: LadySmith ที่ สิงหาคม 04, 2010, 02:03:12 PM
สวัสดีครับ
               สงสัยเรื่องเหล็กน้ำพี้โบราณของไทย ที่ใช้ทำดาบ หอก  แหลน  เหลา
กับเหล็กปัจจุบันที่ใช้ทำอาวุธดังกล่าว  มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร
                ขอท่านผู้รู้ ช่วยตอบให้หายสงสัยด้วยครับ
                                        ขอขอบคุณครับ ::014::


อ้างถึง
บทความของ  เด็กอยากเล่นมีด  (โทรไปขออนุญาตผู้เขียนแล้ว)

ข้อสรุปผลงานวิจัยการศึกษาเหล็กน้ำพี้ ของ วท.
1.เหล็กน้ำพี้ที่มีความแข็งเหนียว ไม่ได้มีผลมาจากธาตุคาร์บอนเพียงธาตุเดียวเหมือนอย่างเหล็กกล้าคาร์บอนที่รู้จักกันในปัจจุบัน
2.โครงสร้างที่ทำให้ความแข็งแรงสูง จะมาจากผลของธาตุแมงกานีส เพราะพบแมงกานีสในเหล็กน้ำพี้ทุกตัวอย่าง
3.การตกผลึก(precipitation) ทั้งในสภาพขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ที่ปรากฏเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เหล็กน้ำพี้มีความแข็ง อยู่ในเกณฑ์สูง
4.ความแข็งคมของดาบเหล็กน้ำพี้ น่าจะเป็นไปในลักษณะการชุบแข็งผิว อันเกิดจากการเผาด้วยถ่านไม้ และนำออกมาตีซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยธาตุคาร์บอนจะแพร่ซึมเข้าตามบริเวณผิว และมีผลทำให้เหล็กน้ำพี้มีความแข็ง ภายหลังการอบชุบความร้อน
5.ผลของธาตุบางตัว เช่น โบรอน และไททาเนียม เชื่อว่ามีบทบาทในการทำให้เหล็กมีความแข็งแรงสูง แต่เนื่องจากการศึกษาในด้านนี้ยังก้าวไปไม่ถึง เพราะขาดข้อมูลทางวิชาการ จึงไม่สามารถกล่าวยืนยันในที่นี้ได้
6.คุณสมบัติไม่เป็นสนิมของเหล็กน้ำพี้ และมีสีเขียวเหมือนปีกแมลงทับ เชื่อว่ามาจากการเกิดออกไซด์ของเหล็ก และธาตุบางตัวในเหล็กในขณะเผาแล้วตี เกิดผิวออกไซด์ที่หนาและป้องกันไม่ให้เกิดสนิมต่อไปได้อีก เช่น อะลูมิเนียมออกไซด์ และโครเมียมออกไซด์ เป็นต้น
7.ธาตุโครเมียม ทองแดง และนิเกิล ไม่ปรากฏพบในแร่เหล็กตัวอย่าง แต่ปรากฏพบในเหล็กน้ำพี้ตัวอย่าง อาจเป็นไปได้ที่การเก็บตัวอย่างแร่เหล็ก กระทำในขอบเขตไม่กว้างขวางเพียงพอ หรือไม่ก็อาจเป็นไปได้ที่การถลุงแร่เหล็กน้ำพี้โบราณ ได้มีการนำเอาแร่เหล็กจากบริเวณอื่นมาผสมรวมกันก็เป็นไปได้
8.ข้อสรุปอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวกับวิชาการ เรื่องของ Composite steel ที่กล่าวว่าเป็นเหล็กที่ประกอบด้วยโครงสร้างของเหล็กอ่อน ร่วมกับโครงสร้างของเหล็กแข็ง แทรกตัวอยู่ร่วมกันมีผลทำให้เหล็กมีคุณสมบัติแข็งแรง และมีความเหนียว ซึ่งในปัจจุบันนี้ ได้อาศัยหลักการที่กล่าวมานี้ ผลิตเหล็กกล้าที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยกรรมวิธีโลหะผง ( powder metallurgy technique ) เช่นที่ปรากฏชื่อทางการค้าว่า Ferro-Titanit จากบริษัท ไทเซ่น ของเยอรมันตะวันตก โดยเอาผงเหล็กกล้าผสมกับผงไททาเนียมคาร์ไบด์ มาอัดด้วยแรงยึดเหนี่ยวระหว่างผงโลหะเหล้กกล้ากับผงไททาเนียมคาร์ไบด์เป็นการเสริมความแข็งแรง ลักษณะเช่นนี้ อาจกล่าวได้ว่า เหล็กน้ำพี้โบราณของไทย ก็เป็น Composite steel ได้เช่นเดียวกัน เพราะประกอบไปด้วย เนื้อเหล็กอ่อน ผสมกับ ผงผลึกเล็กๆ ของ อินคลัสชัน ที่ประกอบด้วย แมงกานีส กับโครเมียม ดังปรากฏในตัวอย่างเหล้กน้ำพี้ที่หนึ่งกับที่สามและสี่
9.จากคุณลักษณะของดาบเหล็กน้ำพี้ ปรากฏมีลวดลายกระจัดกระจายอยู่ตามบริเวณผิวและภายในเนื้อเหล็ก ซึ่งปรากฏร่องรอยฝังอยู่ แม้จะขัดเนื้อเหล็กให้ลึกลงไป ที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็นผลมาจากการมีอินคลัสชันขนาดโตแทรกอยู่ในเนื้อเหล็ก ซึ่งอินคลัสชันนี้ มาจากกรรมวิธีในการถลุงเหล็กแบบโบราณ


ข้อมูลเกี่ยวกับตังอย่างชิ้นงานที่ศึกษาจากงานวิจัย
"สำหรับตัวอย่างเหล็กน้ำพี้ ได้เสาะแสวงหาจากบุคคลที่เก็บเศษเหล็กน้ำพี้โบราณไว้ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเก็บรักษาไว้ในลักษณะวัตถุมงคล ตามความเชื่อถือแบบโบราณ มีความหวงแหน ยิ่งอยู่ในลักษณะเป็นดาบแล้ว ยิ่งไม่ยอมให้คณะผู้ศึกษาเหล็กน้ำพี้ขอยืมมาได้โดยง่าย แต่อย่างไรก็ตาม คณะผู้ทำงาน สามารถเก็บตัวอย่างได้ไม่มากนัก ประมาณ 4 ตัวอย่าง ที่ได้รับการคัดเลือกมาว่าเชื่อถือได้"

ผลการวิเคราะทางเคมี
"จากตัวอย่างหมายเลข 1 เป็นเหล็กที่มีคาร์บอนต่ำ 0.13 % ซิลิกอน 0.63% แมงกานีส 0.175% ฟอสฟอรัส 0.136% นอกจากนั้น มีธาตุทังสเตน ติดมาด้วย 0.275%
ตัวอย่างหมายเลข 2 เป็นเหล็กมีคาร์บอนสูง 0.83% แต่มีซิลิกอนสูงถึง 6.329% ธาตุอื่นๆปริมาณต่ำ นอกจากธาตุโบรอน ซึ่งมี 0.0156% ซึ่งถือได้ว่ามีผลในด้านคุณสมบัติเชิงกลเป็นอันมาก
ตัวอย่างหมายเลข 3 เป็นเหล็กคาร์บอนต่ำ 0.08% แต่มีแมงกานีสสูง 2.678% นอกจากนั้นยังมีทองแดง 0.32% และนิเกิล 0.15% ส่วนธาตุอื่นๆนั้นอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ซึ่งทั้งทองแดงและนิเกิล จะไม่พบในแร่เหล็กน้ำพี้เลย
ตัวอย่างหมายเลข 4 เป็นเหล็กกล้าคาร์บอน 0.105% แมงกานีส 0.58% ทองแดง 0.26% นิเกิล 0.13% นอกจากนั้น ยังมีธาตุอื่นๆอีกมากแต่มีปริมาณต่ำ"

จะเห็นว่า ในแง่ทางสถิติถือว่าจำนวนตัวอย่างน้อยเกินไป ไม่น่าจะถือเป็นตัวแทนของกลู่มข้อมูลของเหล็กน้ำพี้ทั้งหมดได้ แต่ก็ถือว่าเป็นงานวิจัยที่ทรงคุณค่าและเป็นการศึกษาเหล็กน้ำพี้ในแง่วิชาการที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ส่วนตัวอยากเห็นการวิจัยและอนุรักษณ์ภูมิปัญญาเรื่องการาผลืตเหล็กน้ำพี้ให้มากกว่านี้ ท้ายนี้ขอขอบพระคุณ คุณกุ้งที่นำงานวิจัยมาเผยแพร่ให้ได้ทราบกันครับ อยากให้เราสนใจเหล็กน้ำพี้ในแง่โลหะกรรมพื้นบ้านที่เป็นปรีชาญาณของบรรพบุรุษไทย(เหล็กคาร์บอนต่ำยังสร้างให้มีความเนียวความแข็งเหมาะสมกับการใช้งานได้ น่าทึ่งๆจริงครับ ยิ่งเทคโนโลยีบางอย่างเพิ่งได้รับการศึกษาไม่ถึง100ปีมานี้เอง แต่ช่างพื้นบ้านเราสามารถทำได้ตั้งหลายร้อยปีก่อนหน้าประเทศตะวันตกเสียอีก)ไม่อยากให้สนใจในแง่วัตถุมงคลมากจนเกินไป



บัญชา 
- ในความเห็นผม เหล็กน้ำพี้ ก็คือแร่เหล็กที่มีคุณสมบัติที่ดีโดยธรรมชาติในการทำอาวุธมาตั้งแต่โบราณ(อยุธยาก็นิยมแล้ว)ในสมัยที่วิทยาการโลหะยังไม่ก้าวหน้านัก มีคุณค่าทางภูมิปัญญาไทย ไม่ใช่ว่าทำดาบแล้วจะดีกว่าเหล็กฝรั่งหรืออะไรทำนองนั้น
- ปัจจุบันทราบว่า ภายในปีนี้เขาจะตั้งสหกรณ์ขายเหล็กกันแล้ว ดีที่จะมีการรับรองว่าแท้ อีกหน่อยเตรียมค่าเหล็กประมาณ 2xxx ก็ได้ของแล้ว พวกหลอกลวงคงโดนระบบที่ดีกันออกไปเอง

- เหล็กน้ำพี้ ในความรู้ความเข้าใจของผม แร่เหล็กตามสายแร่ใกล้ลำน้ำพี้ ใน อ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ มีคุณสมบัติที่ดีในการทำอาวุธ คือ เหนียว  ชุบแข็งได้ น้ำหนักเบา

- สมัยก่อนเหล็กดีๆหาไม่ง่าย เทคโนโลยีที่จะปรับปรุงคุณภาพให้ได้ตามต้องการ ยังไม่ดีเท่าไร เมื่อมีของดีตามธรรมชาติก็นิยมกัน
แต่ก่อนเหล็กน้ำพี้ส่งมาขายที่อยุธยา มีบันทึกในคำให้การชาวกรุงเก่าด้วย ดังนี้ครับ
"พ่อค้าแม่ค้าเมืองตาก เพชรบูรณ์ บรรทุกสินค้าพวกครั่ง เหล็กหางกุ้ง เหล็กน้ำพี้ ไต้ หวาย นำมันยาง ยาสูบ เขาหนัง หนังงา มาขายแถวปากคลองสวนพลูและหน้าวัดพนัญเชิง"

- ส่วนเหล็กอ้างว่าเป็นเหล็กน้ำพี้ โดยใช้กระบวนการเป่าไฟ(ทำกันมากว่า 10 ปีแล้ว)หรืออื่นๆมันเยอะมากเหมือนพวกทำพระปลอมน่ะ ถ้าไม่สร้างเรื่องของก็ขายไม่ได้ แต่ไม่ได้ชุบแข็งนี่แย่จัง

อ้างอิงจากบทความที่อาจารย์บัญชาแห่งเว็บคนรักมีดได้ลงไว้ค่ะ ::014::
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=3955&hl=\เหล็กน้ำพี้ (http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=3955&hl=\เหล็กน้ำพี้)


หัวข้อ: Re: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: Glock Jumper ที่ สิงหาคม 04, 2010, 02:09:12 PM
ความแข็งผมไม่แน่ใจครับแต่ที่แน่ๆผมได้ยินว่าข้อดีของเหล็กน้ำพี้คือเป็นเหล็กที่เหนียวครับ


หัวข้อ: Re: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: jane1 ที่ สิงหาคม 04, 2010, 03:39:29 PM
มีดหรือดาบที่ดี มีความเหนียวและความแข็งต่างกันนะครับ
ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้
ถ้าแข็งมากเกินไปก็ใช่ว่าจะดีเสมอไปนะครับ( เพราะทำให้มีดเปราะเกินไป)
ช่างมีดปัจจุบัน ก็เลยคิดค้น นำเหล็ก 2 ชนิดที่มีคุณสมบัติต่างกัน (เหนียวกับแข็ง)
นำเหล็กมาตีรวมกันเป็นภูมิปัญญา ของช่างทำมีดครับ(เหมือนกับ มีดฝรั่ง ดามัสกัส
และซามูไรญี่ปุ่น  ไงครับ)
ส่วนเหล็กนำ้พี้ ตามข้อสัณนิษฐานของผม เหล็กที่มาจากบ่อนี้ น่าจะมีคุณสมบัติ
ที่ลงตัวของแร่ ธาตุต่างๆ ที่เหมาะสมแก่การนำมาตีดาบครับ เสียดายที่มีผู้สืบทอด
การตีดาบ เหล็กน้ำพี้ น้อยมากทำให้เราเพิ่มมูลค่าทางทรัพยากร  และภูมิปัญญาได้ไม่เต็มที่ครับ
ดาบเหล็กนำ้พี้ ไม่เป็นรองซามูไร เลยนะจะบอกให้  ::002:: (แต่ผมก็ยังไม่มีกะเขาสักเล่ม  ::005::)


หัวข้อ: Re: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: คนซ่อมทางรถไฟ--->trackmam 52 ที่ สิงหาคม 04, 2010, 07:16:56 PM
 ::002:: ::002::

ต้องไปเที่ยวดูเองเลยครับ มีตีดาบโชว์ด้วย ออกตัวเมืองไป 10 กว่าโลเอง ;D ;D


หัวข้อ: Re: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: ban.cha ที่ สิงหาคม 04, 2010, 07:54:22 PM
Lady Smith ขอบคุณมากครับที่นำบทความมาเผยแพร่เป็นวิทยาทาน
               + ให้ทุกท่านแทนคำขอบคุณ  ::014::
                         และรักทุกๆคน ครับ :VOV:


หัวข้อ: Re: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: super x ที่ สิงหาคม 04, 2010, 08:20:50 PM
ไม่มีข้อมูลครับแต่ก็อยากได้ดาบที่ตีจากเหล็กน้ำพี้ไว้สะสมเหมือนกัน :D~  ไปไม่ถูกครับ


หัวข้อ: Re: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: quick-รักในหลวง ที่ สิงหาคม 04, 2010, 08:46:54 PM
ได้ความรู้เรื่องธาตุของเหล็กน้ำพี้อีกเยอะเลยครับ

ผมมีดาบเหล็กน้ำพี้ แต่เป็นเล่มเล็กๆ นะครับซื้อมาจากสหกรณ์ที่อุตรดิตถ์  มีสีปีกแมลงทับสวยมากครับ

ดาบซามูไรผมก็มีแต่ถึงแม้จะไม่ใช่ของแท้ๆ แต่ก็คล้ายๆ ครับ

ดาบของโกเนี๊ยวก็มีครับ

ผมว่าดาบแต่ละชนิดแต่ละสำนักต่างมีจุดดี จุดเด่นกันไปคนละอย่างนะครับ  ::014::


หัวข้อ: Re: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: ban.cha ที่ สิงหาคม 04, 2010, 09:41:41 PM
ได้ความรู้เรื่องธาตุของเหล็กน้ำพี้อีกเยอะเลยครับ

ผมมีดาบเหล็กน้ำพี้ แต่เป็นเล่มเล็กๆ นะครับซื้อมาจากสหกรณ์ที่อุตรดิตถ์  มีสีปีกแมลงทับสวยมากครับ

ดาบซามูไรผมก็มีแต่ถึงแม้จะไม่ใช่ของแท้ๆ แต่ก็คล้ายๆ ครับ

ดาบของโกเนี๊ยวก็มีครับ

ผมว่าดาบแต่ละชนิดแต่ละสำนักต่างมีจุดดี จุดเด่นกันไปคนละอย่างนะครับ  ::014::
ดาบที่ตีจากเหล็กน้ำพี้ มีจุดเด่นด้านไสยศาสตร์ ตามคำเล่าลือว่า
ป้องกันภูตผี ปีศาจ ได้ เพราะแต่ละเล่มจะลงอักขระ คาถา อาคม กำกับไว้ครับ



หัวข้อ: Re: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: Nikoboy ที่ สิงหาคม 04, 2010, 09:45:05 PM
แล้วทำไมพระยาพิชัยดาบหัก ???


หัวข้อ: Re: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: Yut64 ที่ สิงหาคม 05, 2010, 12:42:31 AM
มีหน่วยงานหนึ่งวิจัยและทำสูตรไว้แล้วทำสารเจือในเนื้อได้เหมือนเลยรอผู้สนใจซื้อไปผลิตทำพวกเครื่องมือน่ะจำได้ว่าเป็น วท. นะเขาเผยแพร่ออกทีวีเมื่อหลายปีมาแล้ว
ลองไปซื้อเหล็กเบอร์ D8 แถวโอเดียนไปให้เข้าตีก็ได้เคยมีคนนำไปให้ช่างแถวอุทัยทำมีดมาแล้ว


หัวข้อ: Re: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: spada702 ที่ สิงหาคม 05, 2010, 07:48:18 AM
เหล็ก ยิ่งแข็ง ยิ่งแกร่ง ก็เปาะง่ายครับ  เช่น เหล็กไฮคาร์บอน  ใบมีดกลึงเหล็กที่ใช้ในเครื่องกลึง 
เหล็กที่เหนียว มีการอ่อนตัว มัน จะมีการยืดยุ่น เช่นเหล็กเส้น  เคเบิลสะพานแขวน   เหล็กโคงสร้างอาคาร   


หัวข้อ: Re: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: super x ที่ สิงหาคม 05, 2010, 05:30:29 PM
แล้วทำไมพระยาพิชัยดาบหัก ???


เท่าที่เคยดูในสารคดีเหล็กน้ำพี้  ตอน  ดาบที่ใหญ่ที่สุดในโลก   เขาบอกว่าดาบที่พระยาพิชัยถือข้างหนึ่งเป็นดาบน้ำพี้  ส่วนข้างที่หักเป็นเหล็กธรรมดา  เหล็กน้ำพี้เป็นเหล็กที่มีคาร์บอนที่สูง เหนียวและแข็ง  แต่สนิมจะขึ้นง่าย  (ตามที่ดูในสารคดีนะครับ) ::014::


หัวข้อ: Re: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: shongsiri ที่ สิงหาคม 05, 2010, 05:59:43 PM
เหล็กน้ำพี้ มีคุณค่าทางจิตใจ  คนไทยส่วนมากนับถือศาสนาพุทธจึงผูกพันกับเรื่องไสยศาสตร์
และเฃื่อว่าเหล็กน้ำพี้สามารถป้องกันคุณไสย์และภูตผีปีศาจได้  ผมว่าต่างกันตรงนี้แหละ
ถ้าให้เลือก หมอผีคงไม่เลือกพกดาบซามูไรแน่นอน ถึงแม้ว่าคุณภาพเหล็กจะดีปานใดก็ตาม


หัวข้อ: Re: เหล็กน้ำพี้ที่ใช้ทำมีดดาบต่างจากเหล็กปัจจุบันอย่างไร..?
เริ่มหัวข้อโดย: kutingtong ที่ สิงหาคม 07, 2010, 09:36:40 AM
ดาบเหล็กน้ำพี้ เป็นดาบที่ตีขึ้นจากเหล็กหลายชนิดนะครับ ไม่ใช่เหล็กจากบ่อน้ำพี้อย่างเดียว มีว่าไว้เป็นกลอนครับ ผมจำไม่ได้ แต่จะมีหลายตัว เช่น เหล็กน้ำพี้ เหล็กยอดเจดีย์หัก(เหล็กโดนฟ้าผ่า) เหล็กปักธงชัย ตะปูตอกโลงผี(ที่เอามาจากกองฟอนที่เผาศพ) เอาของดีๆมารวมกัน ตำนานดาบฟ้าฟื้นของขุนแผนก็คงทำนองเดียวกัน จึงเป็นอัลลอยคือมีส่วนผสมหลายอย่างครับ เป็นวิทยาการสมัยโบราณครับ  เทียบได้กับเหล็กดามัสกัส หรือการตีเหล็กทบกันแบบซามูไรของญี่ปุ่นครับ