๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: attohi ที่ กุมภาพันธ์ 29, 2008, 07:26:19 PM



หัวข้อ: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: attohi ที่ กุมภาพันธ์ 29, 2008, 07:26:19 PM
คือว่าผมอยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด ไม่ทราบว่าสมาชิกท่านใดมีวิธีการใดๆบ้างครับ คือไปตรวจร่างกายประจำปี หมอบอกว่าผมมีไขมัน และ ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด สูง ไขมันประมาณ 240 กว่าๆ ส่วน ไทรกรีเซอร์ไรค์ ก็ 200 กว่าๆ นำหนักผมก็ 80 กว่าๆปลาย สูง 170 อายุก็ 54 เหตุผล อยากอยู่จนเห็นลูกสาวแต่งงาน  ::004::ตอนนี้ยิ่งเครียดหลักเลย  ::004::ถ้ามีสูตรยาสมุนไพรก็ดีนะครับผมแพ้ยาจำพวกสารเคมี  ผมก็เลยขอขอบคุณท่านสมาชิกล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้ด้วย ::014::


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: yod - รักในหลวง ครับ ที่ กุมภาพันธ์ 29, 2008, 07:52:44 PM
ไตรกลีเซอไรด์ที่สูงส่วนใหญ่ได้จากการที่ร่างกายสร้างขึ้นเองจาก 2 แหล่ง คือ
1) เหล้า เบียร์ แอลกอฮอล์
2) น้ำตาล ของหวาน ทั้งจากเครื่องดื่ม ผลไม้ ขนมหวาน
ไตรกลีเซอไรด์จะลดง่ายกว่าโคเลสเตอรอล ควบคุมอาหารดีๆ 2-3 สัปดาห์ก็จะลดลงแล้ว
ของมัน มัน  ก็ควรลดครับ
แต่ทำหน้ามัน มัน  คงจะไม่เป็นไร............    ::007::


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: Audy452 ♥ รักในหลวง ที่ กุมภาพันธ์ 29, 2008, 08:18:14 PM
ตามท่านยอดเลยครับ

เพิ่มทานข้าวกล้องและออกกำลังกายด้วยครับ


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: RroamD ที่ กุมภาพันธ์ 29, 2008, 09:15:48 PM
สาเหตของการเกิดไตรกลีเซอไรด์สูง
1. กินอาหารไม่ถูกส่วน โดยเฉพาะกินอาหารที่มีไขมันมากกินน้ำตาลทรายหรือขนมหวานเป็นปริมาณมากเกินไป
2. เกิดจากโรคภัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความผิดปกติของระดับไขมันในร่างกาย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไต การดื่มเหล้าเป็นประจำ และขาดการออกกำลังกาย
3. เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับไลโปโปรตีน เช่น ร่างกายขาดเอนไซด์ที่จะย่อย
ไตรกลีเซอไรด์

การตรวจ
1. งดอาหารทุกชนิด ก่อนเจาะเลือดอย่างน้อย 12 ช.ม.
2. ในคนปกติจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดไม่เกิน 150 มิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มิลลิลิตร
แหล่งอาหารที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
1. อาหารทุกชนิดที่มีปริมาณไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันสัตว์
2. น้ำตาล อาหารรสหวานจัด ขนมหวานทุกชนิด เนื่องจากร่างกายสามารถนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์

การป้องกันและบำบัดรักษา
1. ลดปริมาณอาหารไขมันที่รับประทานให้น้อยลง โดยโดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ เน้นรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหาร
2. ลดปริมาณการกินข้าว แป้ง น้ำตาลทราย หรือขนมของหวานต่าง ๆ ให้น้อยลง กินในปริมาณที่พอควรแก่ความต้องการของ
ร่างกายเท่านั้น รับประทานให้ครบอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่
3. ควรลดน้ำหนักตัวในรายที่อ้วนมากเกินไป แต่ไม่ควรใช้ยาหรืออดอาหาร แต่ควรใช้วิธีโภชนาการบำบัด
4. หมั่นออกกำลังกายทุกวันอย่างสม่ำเสมอ หรือว่าทานชาเขียวเพื่อทดแทนการออกกำลัง
5. งดดื่มเหล้า เนื่องจากเหล้าจะกระตุ้นให้มีการสร้างไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น
6. แพทย์จะให้ยาลดไตรกลีเซอไรด์ รับประทานในรายที่จำเป็นควบคู่กับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง

เมื่อไตรกลีเซอร์ไรด์สูงแล้ว คาดว่าคลอเรสเตอรอลรวมก็น่าจะสูงด้วย (เพราะมันเกี่ยวข้องกัน) .... ถ้าเวลาตรวจเลือดเขาตรวจ LDL ให้ ให้ระวังค่านั้นด้วย... ไม่ควรเกิน 130 mg/l


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ กุมภาพันธ์ 29, 2008, 10:45:23 PM
คือว่าผมอยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด ไม่ทราบว่าสมาชิกท่านใดมีวิธีการใดๆบ้างครับ คือไปตรวจร่างกายประจำปี หมอบอกว่าผมมีไขมัน และ ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด สูง ไขมันประมาณ 240 กว่าๆ ส่วน ไทรกรีเซอร์ไรค์ ก็ 200 กว่าๆ นำหนักผมก็ 80 กว่าๆปลาย สูง 170 อายุก็ 54 เหตุผล อยากอยู่จนเห็นลูกสาวแต่งงาน  ::004::ตอนนี้ยิ่งเครียดหลักเลย  ::004::ถ้ามีสูตรยาสมุนไพรก็ดีนะครับผมแพ้ยาจำพวกสารเคมี  ผมก็เลยขอขอบคุณท่านสมาชิกล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้ด้วย ::014::

สเปคใกล้เคียงกันครับพี่ ...... ผมสูงกว่านิดหน่อย น้ำหนักน้อยกว่านิดนึง ไขมัน 245 ไอ้อะไรตาลายๆ ปกติ
หมอนัดเจาะอีกทีเดือนพฤษภาคม มีความดันพอยันเพดานตามอายุ ดื่มเป็นปกติวันนี้ก็ล่อกับน้องๆตั้งกะ 10 โมง
ยันบ่าย 3 ........ รอแต่งลูกสาวเช่นกัน เดี๋ยวหลังเจาะฯจะมารายงานผลอีกที

ขอบคุณน้ายอด ครับ ข้อ 1 ต้องขอไว้ก่อน    ข้อ 2 ไม่จัดหาเป็นปกติวิสัยอยู่แล้ว (ชอบของขมมากกว่า แต่ไม่ชมใคร)

ขอบคุณน้าไก่อู  ครับ .......... งั้นช่วยส่งข้าวแบบว่าให้ชิมสัก 5 โลก่อนนะ

ขอบคุณน้าอารมณ์ดี ครับ .......... เสริมข้อ 4 ในการป้องกันหน่อย ชาแบบว่าไม่ใช่บรรจุขวดขายนะครับ
                                                               พวกนั้นน้ำตาลทั้งเพ อะไรที่ชื่อออกญี่ปุ่นๆน่ะ


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: Desperado ที่ กุมภาพันธ์ 29, 2008, 10:54:36 PM
ผมมีเครื่องวัดความดันโลหิต ญาติซื้อมาฝาก แต่ไม่รู้ว่า ค่าตัวเลขที่เครื่องบอก ว่า ดันสูง ดันต่ำ ค่าเท่าไหร่
พอทราบบ้างไหมครับ คำอธิบายดันเป็นภาษาญี่ปุ่น เลยไปกันใหญ่
ผมกลายเป็นคุณหมอประจำบ้าน วัดให้กับทุกคน
แต่บอกไม่ได้ว่า ใครสูงใครต่ำ
แม่ยายเลยเรียก หมอ หมาๆ       ;D


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กุมภาพันธ์ 29, 2008, 11:12:17 PM
ตามที่พี่ RroamD ได้กรุณาบอกไว้ถูกต้องแล้วครับ...

ผมขอแนะนำอีกนิดครับ...

ในการป้องกันและบำบัดรักษา ข้อ 4 นั้น รวมไปถึงเบียร์ ไวน์ แชมเปญ กระแช่ อุ สาโท สาระพัดแอลกอออล์นั่นแหละครับตัวร้ายเลย...

ผมไม่ทราบความดันโลหิตของท่าน จขกท. แต่ที่ทราบแน่ๆคือน้ำหนักตัวมากเกินไปครับ...

ไม่ควรให้เกิน 72.25 กิโลกรัม ครับ...

อนึ่ง ในปัจจุบันมียาลดไขมันดีๆหลายตัวครับ ถ้าหากเป็นตัวผม จะไม่รังเกียจที่จะใช้ยาแผนปัจจุบันช่วยครับ...

หวังว่าท่าน จขกท.จะมีสุขภาพที่แข็งแรงครับ...:D


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: yod - รักในหลวง ครับ ที่ กุมภาพันธ์ 29, 2008, 11:13:30 PM
ความดันโลหิต หมายถึง แรงดันของกระแสเลือดที่ กระทบต่อผนังหลอดเลือดแดง อันเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ
(คล้าย แรงลมที่ดันผนังยางรถเวลาสูบลมเข้า) ซึ่งสามารถวัดโดยใช้เครื่องวัด ความดัน (sphygmomanometer) วัดที่แขน และมีค่าที่วัดได้ 2 ค่าคือ
1. ความดันช่วงบน หรือความดันซิสโตลี (systolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะสูงตาม อายุ
ความดันช่วงบนในคนคนเดียวกัน อาจมีค่าแตกต่างกันบ้างเล็ก น้อย ตามท่าของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และปริมาณ ของการออกกำลัง
2. ความดันช่วงล่าง หรือความดันไดแอสโตลี (diastolic blood pressure ) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว ในปัจจุบัน
ได้มีการกำหนดค่าความดันโลหิตปกติและระดับความ รุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
(โดยการวัดในท่านั่ง วัดอย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป แล้วคิดเป็นค่าเฉลี่ย)
ดังตาราง ความดันโลหิตสูง (ความดันเลือดสูง ความดันสูง ก็เรียก) หมายถึง ความดันช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
หรือความดัน ช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
ตาราง การแบ่งระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูง ความดันช่วงบน -ปกติ มีค่าต่ำกว่า 130 มิลลิเมตรปรอท -ปกติแต่ค่อนไปทางสูง มีค่าระหว่าง 130-139 มิลลิเมตรปรอท -ความดันโลหิตสูงเล็กน้อยมีค่าระหว่าง140-159 มิลลิเมตรปรอท -ความดันโลหิตสูงปานกลาง มีค่าระหว่าง 160-179 มิลลิเมตร ปรอท - ความดันโลหิตสูงรุนแรง มีค่าระหว่าง 180-209 มิลลิเมตรปรอท -ความดันโลหิตสูงรุนแรงมาก มีค่าตั้งแต่ ? 210 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป
ความดันช่วงล่าง - ปกติ มีค่าต่ำกว่า 85 มิลลิเมตรปรอท - ปกติแต่ค่อนไปทางสูง มีค่าระหว่าง 85-89 มิลลิเมตรปรอท - ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย มีค่าระหว่าง 90-99 มิลลิเมตรปรอท - ความดันโลหิตสูงปานกลาง มีค่าระหว่าง 100-109 มิลลิเมตร ปรอท - ความดันโลหิตสูงรุนแรง มีค่าระหว่าง 110-119 มิลลิเมตรปรอท - ความดันโลหิตสูงรุนแรงมาก มีค่าตั้งแต่มากกว่า หรือเท่ากับ 120 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป
โดยมากผู้ป่วยจะมีความดันช่วงล่างสูง (diastolic hypertension) โดยความดันช่วงบนจะสูงหรือไม่ก็ได้ บางรายอาจมีความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว
(มีค่าตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป) แต่ความดันช่วงล่างไม่สูง (มีค่าต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท) เรียกว่า ความดันช่วงบนสูงเดี่ยว (isolated systolic hypertension)
ซึ่งมักจะพบในผู้สูงอายุ (ยิ่งอายุมาก ก็ยิ่งมีโอกาสพบ ได้มากขึ้น), โรคคอพอกเป็นพิษ, ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ (coartation of aorta)
ในการวินิจฉัยโรคนี้ ควรทำการวัดความดันแต่ละคราวอย่างน้อย 2 ครั้ง (ห่างกัน 1 นาที) แล้วหาค่าเฉลี่ยของความดัน ถ้าพบว่าค่า ความดันเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติ
ควรนัดมาวัดซ้ำอีกอย่างน้อย 1-2 คราว ภายใน 1 สัปดาห์ หากยังพบว่ามีค่าความดันเฉลี่ยสูงกว่า ปกติ จึงจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ในการวัดแต่ละคราว
ควรให้ผู้ป่วยนั่งพักสัก 5-10 นาทีเสียก่อน การอ่านค่าความดัน ควรอ่านค่าตัวเลขตามที่วัดได้จริง ห้ามปัดตัว เลขตัวท้ายให้ลงเป็น 0 หรือ 5
อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการ แปลผลได้
โรคความดันโลหิตสูง พบได้ประมาณร้อยละ 10 ของคนทั่วไป ส่วน มากจะเริ่มเป็นในคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป และเป็น "ความดัน โลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ" เป็นส่วนใหญ่ ส่วนน้อยที่อาจพบในคนอายุน้อย ซึ่งอาจเป็น "ความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ" ร่วมด้วย (http://enter.chandra.ac.th/Student/Health/diease.php?diease=48)


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: Audy452 ♥ รักในหลวง ที่ กุมภาพันธ์ 29, 2008, 11:27:48 PM

ขอบคุณน้าไก่อู  ครับ .......... งั้นช่วยส่งข้าวแบบว่าให้ชิมสัก 5 โลก่อนนะ


ส่งไปให้แล้วครับลุงปู...ข้าวกล้องหอมมะลิไปรับได้ที่โลตุ๊สใกล้บ้านนะครับ อิ อิ


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ กุมภาพันธ์ 29, 2008, 11:31:11 PM

    ว้า ....... ส่งไปร้านที่ผมไม่ย่างกรายซะนี่



หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: Audy452 ♥ รักในหลวง ที่ กุมภาพันธ์ 29, 2008, 11:38:21 PM

    ว้า ....... ส่งไปร้านที่ผมไม่ย่างกรายซะนี่

พวกข้าวกล้องนี่หาซื้อตามศูนย์วิจัยข้าวใกล้บ้า้่นก็ได้นะครับลุงปู...ราคาถูกมากครับ

ผมถ้าซื้อแก้ขัดก็ยี่ห้อที่ว่าแหล่ะครับ...ปกติผมจะซื้อจากโรงสีของศูนย์วิจัยข้าวครับ


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: Ramsjai ที่ มีนาคม 01, 2008, 04:26:15 AM
คำตอบที่พี่ๆได้ให้ ครอบคลุมเยอะแล้วล่ะค่ะ

เมื่อวานเพิ่งเจาะเลือดมา ค่อยยังชั่วที่ไม่มีตัวไหนสูงเกินพิกัด มีเพียงแต่น้ำตาลในเลือดต่ำ เพราะว่าต้องงดน้ำงดอาหารหลังสองทุ่ม นี่ก็ว่าคงต้องรีเช็คอีกที...


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ มีนาคม 01, 2008, 08:17:17 AM
คำตอบที่พี่ๆได้ให้ ครอบคลุมเยอะแล้วล่ะค่ะ

เมื่อวานเพิ่งเจาะเลือดมา ค่อยยังชั่วที่ไม่มีตัวไหนสูงเกินพิกัด มีเพียงแต่น้ำตาลในเลือดต่ำ เพราะว่าต้องงดน้ำงดอาหารหลังสองทุ่ม นี่ก็ว่าคงต้องรีเช็คอีกที...

       แบบนี้ป้าหน่อยต้องเพิ่มปริมาณการกรึ๊บขึ้นอีกสเตปนึงจ้ะ


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: (( สองคุง )) ที่ มีนาคม 01, 2008, 08:26:50 AM
 ;D ;Dพี่ๆครับ...  โรคไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือดอะไรเนี่ย!...  การร่างการประจำปี  ตรวจเจอด้วยหรอครับ ???  หรือว่าเป็นโปรแกรมของคนสูงวัย :D  แล้วถ้า อายุ 26 อย่างผม  มีโอกาสเป็นได้ไหมครับ...  เพราะแต่ก่อน ผมก็ สูง 170  หนัก ประมาณ 72 เอง  แต่แป๊บเดียวก็ขึ้นพรวดเลยอ่ะครับ...  ไปตรวจร่างการ  หมอก็บอกแค่ว่า ไขมันเริ่มเยอะแล้วนะ :~)  เนี่ย!  ขนาดออกกำลังกายอย่างอย่างต่ำ  สัปดาห์ละ 3 วันแล้วนะครับ :~) :~)


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: flyingkob-รักในหลวง ที่ มีนาคม 01, 2008, 08:50:11 AM
;D ;Dพี่ๆครับ...  โรคไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือดอะไรเนี่ย!...  การร่างการประจำปี  ตรวจเจอด้วยหรอครับ ???  หรือว่าเป็นโปรแกรมของคนสูงวัย :D  แล้วถ้า อายุ 26 อย่างผม  มีโอกาสเป็นได้ไหมครับ...  เพราะแต่ก่อน ผมก็ สูง 170  หนัก ประมาณ 72 เอง  แต่แป๊บเดียวก็ขึ้นพรวดเลยอ่ะครับ...  ไปตรวจร่างการ  หมอก็บอกแค่ว่า ไขมันเริ่มเยอะแล้วนะ :~)  เนี่ย!  ขนาดออกกำลังกายอย่างอย่างต่ำ  สัปดาห์ละ 3 วันแล้วนะครับ :~) :~)

อย่าประมาทครับ...........
เคยเจอน้องนักบินอายุประมาณสามสิบ...........ไปตรวจร่างกาย....ผลออกมา....ต้องเปลี่ยนอาชีพครับ....
ปัจจุบันเราทานอาหาร "ขยะ" กันเยอะโดยอ้างว่าไม่มีเวลา....เจ้าอาหารขยะนี่หละ...คือต้อเหตุของบรรดาโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย เพราะส่วนประกอบที่นำมาทำนั้นล้วนแต่ใส่สารเร่งการเจริญเติบโต เพราะต้องผลิตให้ได้ตามขนาดมาตรฐานของบริษัทขายอาหารขยะทั้งหลาย ไม่อย่างนั้นไม่ผ่านขายไม่ได้............ดังนั้นหลีกเลี่ยงได้เป็นดีที่สุด.....
และออกกำลังกายอย่างน้อยอาทิยต์ละสามสิบนาทีเป็นอย่างน้อย.....ดื่มเหล้าเบียร์ให้น้อยลง.....พักผ่อนร่างกายให้เพียงพอ...หากิจกรรมทำเพื่อลดความเครียด....สุขภาพจะดีเองครับ


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: attohi ที่ มีนาคม 01, 2008, 10:40:04 AM
ขอบคุณเพื่อนๆสมาชิกทุกๆคนเลยครับที่ให้คำแนะนำ ::014:: คงต้องทำอย่างที่ทุกคนแนะนำครับผมปริ๊นเก็บไว้แล้ว อ้อแล้วขอบอกน้องๆที่อายุยังน้อยอยู่อย่าประมาทนะครับรักษาสุขภาพให้ดีๆอย่าดื่มอย่าเที่ยวมากเดียวเป็นแล้วแก้ยาก..ส่วนผมคงได้แค่ทรงตัวนี่แหละ ขอบคุณอีกครั้งครับ ::014::


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: carrera ที่ มีนาคม 01, 2008, 11:19:28 AM
ควบคุมอาหารช่วยได้เยอะเลยครับ ;D ;D ;D แต่ก็คงอดอร่อยไปเยอะ


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: สหายเล็กน้อย ที่ มีนาคม 01, 2008, 02:09:03 PM
 :D :D :D

...  ::014::  ... ขอบพระคุณครับ ... สำหรับข้อมูล ... และคำแนะนำทั้งหลาย ...

... ผมเอง ... ก็สงสัยว่าจะหนีไม่พ้นกรณีนี้เหมือนกัน ... ปวดหัว ... มึนหัว ... บ่อย ๆ ... เป็นมาได้ 2 - 3 เดือนแล้ว ... บริเวณที่เป็นคือ ... กลางหัวค่อนไปด้านหลัง ... แต่แปลก ... ถ้าดื่มเหล้าในปริมาณหนึ่ง(พอมึน ๆ ) ... แล้วพักผ่อน ... อาการจะหายไป ... อ้อ ... บางที ... ออกกำลังกายหนัก ๆ ก็หายเหมือนกันครับ ...

... อ้อ ... สัดส่วนของผมนะครับ ...  ;D ... ส่วนสูง 175 ... น้ำหนัก 100 ... คงที่ ... ไม่เพิ่ม ... ไม่ลด ... ออกกำลังกายทุกวัน ... วันละประมาณ 30 - 90 นาที ...

... ท่านใดพอจะแจงลักษณะอาการของ 1. ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง  2. คลอเรสเตอรอลสูง เป็นวิทยาทาน ... ให้ผมทราบได้บ้าง ... ขอความกรุณาด้วยครับ ...  ::014::


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: coda ที่ มีนาคม 01, 2008, 02:45:13 PM
:D :D :D

...  ::014::  ... ขอบพระคุณครับ ... สำหรับข้อมูล ... และคำแนะนำทั้งหลาย ...

... ผมเอง ... ก็สงสัยว่าจะหนีไม่พ้นกรณีนี้เหมือนกัน ... ปวดหัว ... มึนหัว ... บ่อย ๆ ... เป็นมาได้ 2 - 3 เดือนแล้ว ... บริเวณที่เป็นคือ ... กลางหัวค่อนไปด้านหลัง ... แต่แปลก ... ถ้าดื่มเหล้าในปริมาณหนึ่ง(พอมึน ๆ ) ... แล้วพักผ่อน ... อาการจะหายไป ... อ้อ ... บางที ... ออกกำลังกายหนัก ๆ ก็หายเหมือนกันครับ ...

... อ้อ ... สัดส่วนของผมนะครับ ...  ;D ... ส่วนสูง 175 ... น้ำหนัก 100 ... คงที่ ... ไม่เพิ่ม ... ไม่ลด ... ออกกำลังกายทุกวัน ... วันละประมาณ 30 - 90 นาที ...

... ท่านใดพอจะแจงลักษณะอาการของ 1. ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง  2. คลอเรสเตอรอลสูง เป็นวิทยาทาน ... ให้ผมทราบได้บ้าง ... ขอความกรุณาด้วยครับ ...  ::014::

...คุณสหายเล็กน้อย  น้ำหนักไม่เล็กน้อยครับ   :OO


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: สหายเล็กน้อย ที่ มีนาคม 01, 2008, 02:52:00 PM
...คุณสหายเล็กน้อย  น้ำหนักไม่เล็กน้อยครับ   ...

... เดิมที่ ... น้ำหนักจะวิ่งอยู่ที่ ... 78 - 82 ... ครับ ... มา 2 - 3 ปีหลัง ... เอาไม่อยู่ ... มาหยุดที่ 100 พอดีเป๊ะ ๆ ๆ ... ช่วงนี้ ... พยายามจะกลับคืน ... แต่รู้สึกว่า ... เป็นเรื่องยากเหลือเกิน ... แต่กำลังพยายามอยู่ครับ ... (พูดแล้วน่าขายหน้าตัวเอง   ::005::   ) ...


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: RroamD ที่ มีนาคม 01, 2008, 03:05:08 PM
:D :D :D

...  ::014::  ... ขอบพระคุณครับ ... สำหรับข้อมูล ... และคำแนะนำทั้งหลาย ...

... ผมเอง ... ก็สงสัยว่าจะหนีไม่พ้นกรณีนี้เหมือนกัน ... ปวดหัว ... มึนหัว ... บ่อย ๆ ... เป็นมาได้ 2 - 3 เดือนแล้ว ... บริเวณที่เป็นคือ ... กลางหัวค่อนไปด้านหลัง ... แต่แปลก ... ถ้าดื่มเหล้าในปริมาณหนึ่ง(พอมึน ๆ ) ... แล้วพักผ่อน ... อาการจะหายไป ... อ้อ ... บางที ... ออกกำลังกายหนัก ๆ ก็หายเหมือนกันครับ ...

... อ้อ ... สัดส่วนของผมนะครับ ...  ;D ... ส่วนสูง 175 ... น้ำหนัก 100 ... คงที่ ... ไม่เพิ่ม ... ไม่ลด ... ออกกำลังกายทุกวัน ... วันละประมาณ 30 - 90 นาที ...

... ท่านใดพอจะแจงลักษณะอาการของ 1. ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง  2. คลอเรสเตอรอลสูง เป็นวิทยาทาน ... ให้ผมทราบได้บ้าง ... ขอความกรุณาด้วยครับ ...  ::014::

อ่านหลาย website แล้วไม่พบอาการที่เกิดจากค่าทั้งสองตัวสูง จะพบอาการต่อเมื่อเกิดโรคแล้ว
ลองอ่านตรงนี้ดูครับพี่

โรค จากน้ำตาล
น้ำตาลที่เมื่อบริโภคมากก็เป็น สาเหตุของโรคอ้วน เบาหวาน ไขมันอุดตันในเส้นเลือดและโรคต่างๆต่อไปนี้

ไฮโปไกลซีเมีย หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
อาการของโรค คือ อ่อนเพลีย ปวดหัวบ่อย เวียนหัว ปวดกล้ามเนื้อ มือและเท้าเย็น ปวดหลัง หายใจไม่ออก ทนแดดจ้า หรืเสียงดังมากๆไม่ได้ กามตายด้าน

ระบบภูมิชีวิตเสื่อมประสิทธิภาพ
หายจากการติดเชื้อได้ช้าลง

เกิดปัญหาในช่องปาก
เหงือกและฟันมีปัญหา มีกลิ่นปาก

เร่งการเกิดอนุมูลอิสระ
การเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายบ่อยๆนั้น เป็นการเร่งการเกิดอนุมูลอิสระ ที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้

ระดับไขมัน หรือ ไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดสูง
อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดอุดตันได้

กรดอะมิโนบางตัวถูกเร่งมากเกินไป
กรดอะมิโนชื่อ ทริปโตฟาน ถ้าถูกเร่งเข้าสู่สมองมากเกินไป ฮอร์โมนในสมองจะเสียสมดุล เกิดภาวะเซื่องซึม ไม่กระฉับกระเฉง


ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือ ภาวะไขมันสูง ไขมันที่สูงส่วนใหญ่จะเป็นไขมันกลุ่มคอเลสเตอรอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอเลสเตอรอลในส่วนที่เรียกว่า "แอลดีแอล" รองลงมาจากคอเลสเตอรอลสูงคือ ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง

แต่ก่อนนี้เขาใช้คอเลสเตอรอลเป็นดัชนีวัดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดเพียงตัวเดียว ใครมีคอเลสเตอรอลสูงในเลือด อย่างเช่น สูงเกินกว่า 240 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร นับว่าเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ปัจจุบันเขาไม่ใช้คอเลสเตอรอลเป็นดัชนีเพียงตัวเดียวอีกแล้ว แต่ใช้พารามิเตอร์ไขมันรวมกันถึงสามตัว

พารามิเตอร์ไขมันที่ว่านี้คือ คอเลสเตอรอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ คอเลสเตอรอลในส่วนของแอลดีแอล อีกสองพารามิเตอร์คือ ไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอลในส่วนของ "เอชดีแอล" วิธีพิจารณาง่ายๆ คือ คอเลสเตอรอลกับไตรกลีเซอไรด์ ไม่ควรสูงเกินค่าปกติ และเอชดีแอลไม่ควรจะต่ำกว่าค่าปกติ ส่วนค่าปกติจะเป็นเท่าไรนั้น ค่อยๆ ติดตามไปก็แล้วกันครับ

พวกเราคงรู้จักคอเลสเตอรอลกันดีอยู่แล้ว และรู้ว่าคอเลสเตอรอลในเลือด หากมีสูงเกินไปจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้จักไตรกลีเซอไรด์ ดังนั้น จะขออธิบายเรื่องไตรกลีเซอไรด์ให้ฟังกันสักหน่อย

ไขมันที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันนี้ ทั้งไขมันในรูปของน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ ไขมันที่ซ่อนอยู่ในเนื้อ ในนม หรือในอาหารอื่นๆ ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด จะเป็นไขมันกลุ่มที่เรียกว่าไตรกลีเซอไรด์นี่แหละ ไขมันในรูปของคอเลสเตอรอลในอาหาร มีอยู่ประมาณร้อยละ 2-4 เท่านั้น

คนเราในแต่ละวันบริโภคไขมันประมาณ 50-100 กรัม หรือเท่ากับห้าหมื่นถึงแสนมิลลิกรัม ขณะที่บริโภคคอเลสเตอรอลวันละเพียง 2-3 ร้อยมิลลิกรัมเท่านั้น ต่างกันหลายร้อยเท่า โดยสรุปคือ ไขมันที่เรารับประทานเกือบทั้งหมดคือไตรกลีเซอไรด์นั่นเอง

ร่างกายดูดซึมไตรกลีเซอไรด์เข้าสู่ร่างกายแล้วก็ขนส่งไตรกลีเซอไรด์ ผ่านเลือดในรูปของสารแขวนลอย ส่งไปยังเซลล์ต่างๆ ที่ต้องการพลังงาน มีไตรกลีเซอไรด์จำนวนไม่น้อยที่ถูกส่งไปเก็บไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน ใครที่กินไขมันมาก จนอ้วน ก็เพราะไขมันถูกส่งผ่านไปพอกพูน ตามบริเวณเนื้อเยื่อไขมัน อย่างนี้นี่เอง

เหตุที่ไตรกลีเซอไรด์แม้จะบริโภคเข้าไปมาก ขณะที่คอเลสเตอรอลบริโภคเข้าไปน้อย แต่ในเลือดกลับมีไขมันไตรกลีเซอไรด์น้อยกว่าคอเลสเตอรอล เป็นเพราะร่างกายขจัดไตรกลีเซอไรด์ออกจากเลือดได้เร็ว เพียงแค่สองสามชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร ไขมันไตรกลีเซอไรด์ส่วนใหญ่ ก็ถูกขจัดออกจากเลือดเข้าสู่เซลล์ได้แล้ว

คนทั่วไปจึงมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดไม่สูงมากนัก อย่างเช่น มีสูงประมาณ 50-150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรของพลาสม่าของเลือด ใครที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น แม้ว่าจะอดอาหารมาแล้วตั้ง 8-12 ชั่วโมง แต่ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป แสดงว่าร่างกายมีปัญหาในการขจัดไตรกลีเซอไรด์ และเจ้าไตรกลีเซอไรด์ ที่ขจัดได้ช้ากระทั่งสะสมอยู่ในเลือดนี่แหละ ที่จะเข้าไปสร้างปัญหาให้กับสุขภาพ

ไตรกลีเซอไรด์ที่สูงขึ้นมากในเลือดในบางคน อาจสูงได้ถึง 800-1,000 มิลลิกรัม ทำให้พลาสม่าขาวขุ่นไปเลย คนกลุ่มนี้มักจะเป็นกลุ่มคนที่มีปัญหาทางด้านพันธุกรรม ร่างกายขจัดไตรกลีเซอไรด์ได้ช้าผิดปกติอยู่แล้ว

ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ร่างกายขจัดไตรกลีเซอไรด์ได้ช้าเช่นกัน เป็นผลมาจากร่างกายสร้างไตรกลีเซอไรด์แล้วขับเข้าสู่เลือดมากไปหน่อย คนกลุ่มหลังนี้มักจะเป็นพวกที่ร่างกายเคยชินอยู่กับการบริโภคที่ผิดปกติ อย่างเช่น ดื่มเหล้าบ่อย บริโภคของหวานบ่อย ซึ่งน้ำตาลในปริมาณที่มากจนเกินไป จะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ในตับได้ค่อนข้างดี

คนอีกประเภทหนึ่งที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือด คือคนที่สุขภาพร่างกายไม่ปกตินัก ทำให้กลไกการย่อยสลายไตรกลีเซอไรด์ในเลือด เปลี่ยนแปลงไป คนประเภทหลังนี้ ได้แก่ คนที่เป็นเบาหวานชนิดที่สอง หรือชนิดไม่พึ่งอินสุลิน คนอีกกลุ่มหนึ่งที่พบบ่อยคือ คนอ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทที่อ้วนบริเวณพุงกะทิ

ปัจจุบันพบแล้วว่าคนที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงเป็นเวลานาน จะทำให้ระดับเอชดีแอลในเลือดลดต่ำลง ทั้งปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูง รวมถึงเอชดีแอลต่ำล้วนแต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ทั้งสิ้น ปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดที่แต่ก่อนไม่มีใครให้ความสนใจมากนัก ปัจจุบันเห็นทีจะต้องให้ความระมัดระวังแล้วละครับ

ไตรกลีเซอไรด์สูงอีกกลุ่มหนึ่ง เกิดจากการใช้ยาและฮอร์โมนบางชนิด ปัญหาในกลุ่มหลังนี้ หายได้หากเลิกใช้ยาหรือฮอร์โมน จึงจะไม่ขอกล่าวถึง ไตรกลีเซอไรด์สูงมากๆ ที่เกิดจากพันธุกรรมก็จะไม่ขอกล่าวถึงเช่นกัน คนกลุ่มนี้ต้องรักษาด้วยการใช้ยา จึงจำเป็นต้องพบแพทย์ เรามาดูปัญหาของไตรกลีเซอไรด์สูงประเภทที่เกิดจากการกินที่ไม่ถูกต้อง หรือเกิดจากเบาหวานหรือโรคอ้วน ซึ่งเป็นผลมาจากโภชนาการเหมือนกันดีกว่า

ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง มักจะเกิดร่วมกับ โรคอ้วนหรือเบาหวาน มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยเหมือนกัน ที่มีน้ำหนักตัวปกติ คนกลุ่มหลังนี้ ส่วนหนึ่ง เป็นกลุ่มที่มีปัญหาทางพันธุกรรมที่ทำให้การ ขจัดไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดช้ากว่าปกติ

คนที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงที่มีน้ำหนักตัวปกติอาจจะเป็นผลมาจากการดื่มสุรา หรือดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ ยังอาจจะเป็นผลมาจาก การได้รับยาประเภทฮอร์โมนก็ได้ อย่างเช่น การได้เอสโตรเจนเพื่อรักษาโรคบางโรค

การลดภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงด้วยวิธีการทางโภชนาการหรือการควบคุมอาหารนั้น วิธีแรกให้ทำโดยการลดปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูง ก็อย่างที่บอกนั่นแหละครับว่า หากเป็นคนอ้วนหรือมีโรคอ้วน จำเป็นจะต้องลดน้ำหนักตัวให้ได้เสียก่อน ไม่ได้หมายความว่าจะต้องลดน้ำหนัก จนกระทั่งได้น้ำหนักตัวที่ปกติ เพียงแต่พยายามลดน้ำหนักตัวให้ได้บ้าง ก็น่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้บ้างแล้ว

วิธีการลดน้ำหนัก ได้เคยเขียนไว้ในหลายตอน หลักการลดน้ำหนักคือ การลดพลังงานที่ได้จากอาหาร ขณะเดียวกัน ทำการลดปริมาณเนื้อเยื่อไขมันในร่างกาย และการเพิ่มกล้ามเนื้อ ซึ่งทำได้โดยการออกกำลังกล้ามเนื้อ วิธีง่ายๆ คือ การยกน้ำหนักหรือโดยการออกกำลังให้ได้เหงื่อ การเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อ จะทำให้ร่างกายใช้พลังงานได้มากขึ้น โดยต้องไม่ลืมว่าการทำงานของกล้ามเนื้อ ใช้พลังงานมากกว่าการทำงานของเนื้อเยื่อไขมันที่มีน้ำหนักเท่ากันถึง 25 เท่า

หากเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อและลดปริมาณไขมันได้ จะทำให้ความสำเร็จของการลดน้ำหนักเป็นไปได้มากขึ้น การลดน้ำหนักด้วยการลดอาหารอย่างเดียว มักไม่ใคร่ได้ผล เพราะคนอ้วนที่ร่างกายเต็มไปด้วยเนื้อเยื่อไขมันนั้น ถึงรับประทานอาหารน้อย ความอ้วนก็ไม่ลดลง เพราะร่างกายใช้พลังงานน้อยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เหตุที่ใช้พลังงานน้อย ก็เพราะร่างกายที่เต็มไปด้วยเนื้อเยื่อไขมันนั้น ใช้พลังงานน้อยมากอย่างที่บอกไว้แต่แรก

เมื่อลดน้ำหนักได้ การสร้างไลโปโปรตีนชนิดวีแอลดีแอลในตับจะลดลง ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดจะลดลงโดยอัตโนมัติ ดังนั้น การลดไตรกลีเซอไรด์ของคนที่มีน้ำหนักตัวสูง ควรเริ่มด้วยการลดน้ำหนัก ส่วนคนที่มีปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูงเพราะดื่มเหล้า หรือไม่ทราบว่าเป็นผลมาจาก การดื่มเหล้าหรือเปล่า วิธีการง่ายๆ ในการตรวจสอบก็คือ ลองลดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มลง เมื่อลดเหล้าได้ ไตรกลีเซอไรด์จะค่อยๆ ลดลงได้เอง

ในกรณีที่ไตรกลีเซอไรด์สูงจากผลของโรค อย่างเช่น ไตรกลีเซอไรด์สูง จากภาวะเบาหวานประเภทที่สอง การลดไตรกลีเซอไรด์ทำได้โดยการคุมน้ำตาล ให้เป็นปกตินานที่สุด ในกรณีที่เกิดปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูงจากภาวะฮอร์โมนธัยรอยด์ต่ำ การลดไตรกลีเซอไรด์ทำได้โดยการรักษาด้วยฮอร์โมนธัยรอยด์ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูงจากความผิดปกติของฮอร์โมน การรักษาด้วยฮอร์โมนอย่างเดียวโดยไม่แก้ไขปัญหาอื่นๆ อย่างเช่น ความอ้วน หรืออาการแทรกซ้อนอื่น อาจจะไม่ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ก็ได้

วิธีการขั้นต่อไปในการลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดคือ การดูแลด้านอาหาร ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของอาหารคือ การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติให้ได้ วิธีดูน้ำหนักตัวปกติแบบง่ายๆ คือ การลบส่วนสูงคิดเป็นเซนติเมตรด้วย 100 สำหรับผู้ชาย หรือ 110 สำหรับผู้หญิง เป็นต้นว่า ผู้ชายที่มีส่วนสูง 170 เซนติเมตร น่าจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 70 กิโลกรัม หากเกิน 84 กิโลกรัม หรือเกินน้ำหนักตัวที่น่าจะปกติสักร้อยละยี่สิบแสดงว่าเป็นโรคอ้วนแล้ว

วัตถุประสงค์หลักของการใช้อาหารและโภชนาการก็เพื่อควบคุมน้ำหนัก ดังนั้น หากรู้ตัวว่าน้ำหนักน่าจะเกินปกติ ก็ควรลดพลังงานที่ได้รับจากอาหารลง หากคิดว่าน้ำหนักน้อยกว่าปกติ ก็น่าจะเพิ่มพลังงานขึ้นสักหน่อย แต่ปัญหาของไตรกลีเซอไรด์สูงส่วนใหญ่มักจะมาจากน้ำหนักตัวสูง โดยจะพบค่อนข้างน้อยที่มีน้ำหนักตัวต่ำ

วัตถุประสงค์รองของการใช้อาหารและโภชนาการก็เพื่อลดพลังงานที่ได้จากไขมันลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดพลังงานที่ได้จากสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นไขมันจากเนื้อสัตว์ หรือนม เนย ก็ตามที ทดแทนด้วยไขมันจากน้ำมันพืช ยกเว้นกะทิ น้ำมันพืชที่แนะนำกันค่อนข้างมากคือ น้ำมันประเภทกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ดังเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันงา น้ำมันปาล์มโอเลอิน ไขมันอิ่มตัวที่ได้จากสัตว์จะเพิ่มคอเลสเตอรอลในเลือดได้ง่าย ขณะเดียวกัน อาหารที่มีน้ำตาลสูง ดังเช่น น้ำตาลทราย ก็เพิ่มไตรกลีเซอไรด์ได้ง่ายเช่นเดียวกัน ดังนั้น ควรลดอาหารหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความหวานที่ได้มาจากน้ำตาลทรายลงด้วย

มีไขมันสัตว์อยู่ชนิดหนึ่งที่ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ค่อนข้างดีคือ ไขมันจากปลาทะเล ไขมันประเภทนี้มีกรดไขมันโอเมก้าสามในปริมาณสูง ช่วยลดการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ในตับได้ ดังนั้น ใครที่มีปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูง หากได้รับประทานปลาทะเลประเภทที่มีไขมันสูง ปรุงด้วยวิธีการนึ่งอย่างน้อยสักสองสามมื้อต่อสัปดาห์ จะช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ได้ค่อนข้างดี แต่ทั้งนี้ ต้องลดการรับประทานไขมันโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันที่ได้จากสัตว์บกลงด้วย

การแบ่งมื้ออาหารที่รับประทาน เป็นเรื่องที่จำเป็นเช่นกัน สิ่งสำคัญประการแรก คือ ไม่ควรงดอาหารเช้า แต่ควรแบ่งพลังงานทั้งวันออกเป็นสี่ส่วน โดยสามส่วนเป็นพลังงานอาหารจากอาหารสามมื้อ ให้อาหารมื้อกลางวันหนักที่สุด โดยให้พลังงานประมาณร้อยละ 35-40 ของพลังงานทั้งวัน

อีกสองมื้อคือมื้อเช้า และมื้อเย็น ให้พลังงานมื้อละประมาณร้อยละ 20 และ 30 พลังงานอีกประมาณร้อยละ 10-15 ให้เป็นพลังงานที่ได้จากอาหารว่างเล็กๆ สองมื้อ ซึ่งอาจจะเป็นมื้อสายและมื้อบ่าย ไม่ควรเป็นหลังมื้อเย็น

หากแบ่งพลังงานทั้งวันให้ได้อย่างนี้ การใช้พลังงานของร่างกายจะเป็นไปได้ค่อนข้างดี ไม่นำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์ให้เป็นปัญหา ลองปฏิบัติดูให้ได้ตามนี้เถิดครับ


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: สหายเล็กน้อย ที่ มีนาคม 01, 2008, 03:45:10 PM
ไฮโปไกลซีเมีย หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
อาการของโรค คือ อ่อนเพลีย ปวดหัวบ่อย เวียนหัว  ปวดกล้ามเนื้อ มือและเท้าเย็น ปวดหลัง  หายใจไม่ออก ทนแดดจ้า หรืเสียงดังมากๆไม่ได้ กามตายด้าน  

... อันนี้ใกล้เคียงครับ (ตัวหนังสือสีน้ำเงิน) ... แต่ผมว่ายังไม่ใช่ ... ตัวหนังสือสีแดง ... ยิ่งไม่ใช่ใหญ่เลยครับ ...  ;D ... งานนี้สงสัยคงต้องพึ่ง ... คุณหมอแล้ว ... คงจะต้องตรวจสุขภาพเสียที ... ครั้งแรกในรอบ 15 ปี ...  (ตัวผมเอง ... ยังไม่เคยเจ็บไข้ได้ป่วย ... ถึงขนาดต้องนอนโรงพยาบาลมานานแล้ว) ...

... มีเรื่องตลกเล่าให้ฟังครับ ...

... ครั้งสุดท้ายที่นอนโรงพยาบาล ... ผมถูกตะขาบ ... ตัวเท่านิ้วชี้ ... ยาวประมาณ 15 - 20 ซ.ม. กัด ... คือว่า ... มันวิ่งมุดเข้าในขากางเกงยีนส์ ... กว่าจะถอดกางเกงออกได้ ... ลำบากมากครับ ... มันไต่ขึ้นไปถึงขอบกางเกงใน(เร็วมาก) ... ผมต้องใช้มือข้างหนึ่ง ... กดมันไว้กับขาตัวเอง ... อีกมือหนึ่งพยายามถอดเข็มขัด ... ถอดกางเกง ... กว่าจะถอดออกได้ ... มันล่อผมไปสามแผล ... เลือดซิบ ๆ ... พอจับตัวมันออกมาได้ ... โยนมันลงพื้น ... กะจะกระทืบให้ตาย ... มันนอนนิ่งเลย ... ตัวมันกระดุกกระดิกได้เบา ๆ ... สงสัยปล่อยพิษเยอะจนเหนื่อย ... ผมเลยปล่อยมันไป ... จากนั้นประมาณ 20-30 นาที ... พิษมันออก ... เหงื่อผมออกโชกทั้งตัว ... และเริ่มปวดแผล ... แบบปวดแสบปวดร้อน ... จี๊ดขึ้นทีหนึ่ง ... ต้องบิดตัวทีหนึ่ง ... ต้องนอนอยู่ประมาณ 3 ช.ม. ...(นอนรอหมอ) ... หมอมาถึง ... เปิดดูแผล ... แล้วพูดว่า ... เบื่อจริง ๆ ไอ้พวกชอบลองของ ... เสร็จแล้วแกก็ให้พยาบาล ... ฉีดเซรุ่มให้ 1 เข็ม ... พร้อมทั้งจ่ายยาแก้ปวด ... และยาแก้อักเสบ ...  ไล่ผมกลับบ้านไป ... แต่ ... ยังมีแถมท้ายให้ได้ยินอีกว่า ... ทีหลังถ้าจะลองของ ... ก็ไม่ต้องให้รักษา ...  ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: Ramsjai ที่ มีนาคม 01, 2008, 03:55:29 PM
คำตอบที่พี่ๆได้ให้ ครอบคลุมเยอะแล้วล่ะค่ะ

เมื่อวานเพิ่งเจาะเลือดมา ค่อยยังชั่วที่ไม่มีตัวไหนสูงเกินพิกัด มีเพียงแต่น้ำตาลในเลือดต่ำ เพราะว่าต้องงดน้ำงดอาหารหลังสองทุ่ม นี่ก็ว่าคงต้องรีเช็คอีกที...

       แบบนี้ป้าหน่อยต้องเพิ่มปริมาณการกรึ๊บขึ้นอีกสเตปนึงจ้ะ


 ;D ;D ;D

เวลาน้ำตาลในเลือดต่ำจะหวิวๆ อาการคล้ายๆเหมือนกันนะคะเนี่ย พี่ปู


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: ป้อมทอง พรานชุมไพร ที่ มีนาคม 02, 2008, 01:10:36 PM
อ่านแล้วไม่กล้าไปวัด



หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: วัฒน์ ที่ มีนาคม 02, 2008, 02:08:50 PM
 :) ขอบคุณครับ เป็นกระทู้ที่มีประโยชน์มาก


อ่านแล้วไม่กล้าไปวัด



 ;D วัดโพ...(poseidon) ไปได้ครับพี่ ไม่น่ากลัว


หัวข้อ: Re: อยากรู้วิธีลด ไทรกรีเซอร์ไรค์ในเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: Nakin ที่ มีนาคม 02, 2008, 02:14:55 PM


ข้อมูลดี  ๆ  เพียบ    ...............    ขอบคุณมากครับ         ::002:: ::002:: ::002:: ::002::