๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน

สนทนาภาษาปืน => สนทนาภาษาปืน => ข้อความที่เริ่มโดย: peerayotk ที่ มิถุนายน 22, 2007, 11:34:10 AM



หัวข้อ: spec กล้องติดปืนยาว
เริ่มหัวข้อโดย: peerayotk ที่ มิถุนายน 22, 2007, 11:34:10 AM
พอดีในระยะเวลา 1-2 เดิอนข้างหน้าผมอาจจะได้ปืนยาวมา 1 กระบอกครับ ก็เลยมีความจำเป็นต้องหากล้องติดปืนที่ดีสักอัน ที่เล็งไว้อันดับ 1 คือ  bsa อันดับ สองคือ  bushnell ครับ แต่มีข้ออสงสัยตรง spec กล้องเนื่องจากเป็นศัพท์ technic  พอเข้าใจบางคำแต่ไม่ทั้งหมด จึงเรยนถามพี่ดังนี้ครับ
TECHNICAL SPECIFICATION DIMENSIONS 
Magnification 8 - 32X - อันนี้คือกำลังขยายสามารถขยายได้ 8-32 เท่า
Obj. Lens Diameter(mm) 40 -เลนท์วัถตถุ มีขนาด 40 มม.
Exit Pupil Range(mm) 5.2 - 1.6 -?????
Field of View @100 Yds 9.4 - 3.7 -????
Optimum Eye Relief (in) 3 -????
Paralax Setting 15 to ∞ -????
Click Adjustment Value 1/8 -เข้าใจว่าปรับละเอียด focus ได้ครั้งละ 1/8 ?????
Adjustment Range 30 - 30 -???ฦ
Weight (ounces) 20.80 -น้ำหนัก 20.80 ออนซ์
 
ที่ผมตามด้วย  ???? อันนี้ไม่ทราบเลยครับ ฝากเรียนถามผู้รู้ช่วยตอบหน่อยนะครับ ผมอาจจะซื้อครั้งเดียวจบเนื่องจากงบจำกัด แนะนำรุ่นไหนบ้างต้องการกำลังขยายมากกว่า 9 เท่า-18 เท่าครับ กันผฝุ่น กันความชื้น ติดปืน 10/22 hammerforge ครับ
ขอบพระคุณมากครับ


หัวข้อ: Re: spec กล้องติดปืนยาว
เริ่มหัวข้อโดย: yod - รักในหลวง ครับ ที่ มิถุนายน 22, 2007, 11:45:54 AM
หลักการคำนวณหา exit pupil คือ diameterของobjective lens หารด้วยกำลังขยาย จะมีค่าเป็นมม.

Image Brightness
ในเรื่องความสามารถในการใช้กล้องส่องหรือกล้องเล็งในสภาวะแสงน้อย จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องการทำงานรวมกันของexit pupil กับ ม่านตาของเรา(eye pupil) สิ่งหนึ่งที่เราสามารถทราบเกี่ยวกับ exit pupil ก็คือขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของexit pupil ซึ่งเส้นผ่าศูนย์กลางดังกล่าวยกกำลังสอง จะได้ค่าความสามารถในการรับแสงและส่งผ่านของแสงของ exit pupilได้  ซึ่งเรียกว่า Relative brightness หรือ Geometrical luminosity
ตัวอย่างเช่น กล้องแบบ binocular 8x40 จะมี exit pupil อยู่ที่ 5 มม. ซึ่ง (40หาร8 เท่ากับ 5) ค่าความสามารถในการรับแสงและส่งผ่านของแสง Relative brightnessจะอยู่ที่ 25 ในขณะที่ binocular 10x40 จะมี exit pupil อยู่ที่ 4 มม. ซึ่ง (40หาร10 เท่ากับ 4) ค่าความสามารถในการรับแสงและส่งผ่านของแสง relative brightnessจะอยู่ที่ 16  สำหรับกล้องเล็งแบบปรับกำลังขยายได้ 3-9x40 ที่กำลังขยายสามเท่า exit pupil อยู่ที่ 13.33 มม. ค่าความสามารถในการรับแสงและส่งผ่านของแสง relative brightnessจะอยู่ที่ 13.33 ยกกำลังสอง และ ที่กำลังขยายเก้าเท่า exit pupil อยู่ที่ 4.44 มม. และค่าความสามารถในการรับแสงและส่งผ่านของแสง Relative brightnessจะอยู่ที่ 4.44 ยกกำลังสอง
อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดในเรื่องความสว่าง และ ความสามารถในการรับแสงและส่งผ่านของแสง ซึ่งได้แก่
1.   ภาพขยายที่เกิดจากการมองวัตถุผ่านกล้องส่อง หรือกล้องเล็งไม่สามารถมีความสว่างเกินกว่าความสว่างธรรมชาติที่มองผ่านด้วยตาเปล่าได้ (ซึ่งไม่มีกำลังขยายได้)  ในบางครั้งความรู้สึกของเราจะบอกว่าเมื่อมองผ่านกล้องส่อง หรือกล้องเล็งแล้ว ภาพที่ได้ชัดเจนมากกว่า และดูเหมือนว่าจะสว่างกว่าด้วย สาเหตุเป็นเพราะดวงตาเราไม่สามารถขยายภาพที่เห็นได้  และดวงตาเราไม่สามารถสะท้อนหรือกรองเส้นแสงสะท้อน Light rays
2.   จำนวนของแสงที่ผ่านเลนส์ตาเข้าสู่ดวงตาของเราและไปถึง retinaของควงตาของเรา ในส่วนนี้จะใช้ปัจจัยเรื่องเส้นผ่าศูนย์กลางของ exit pupil กับ รูม่านตาของเราว่าอะไรมีขนาดใหญ่กว่ากัน ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางของ exit pupil เล็กกว่ารูม่านตา รูม่านตาจะรับแสงที่ส่งมาได้น้อยลง ซึ่งจะทำให้การมองเห็นวัตถุที่ปรากฏมืด  แต่ในทางกลับกันถ้า เส้นผ่าศูนย์กลางของ exit pupil ใหญ่กว่ารูม่านตา แสงที่มากจนเกินไปจะถูกกันโดยม่านตาในส่วนของตาดำที่สามารถเคลื่อนเปิดปิดได้เมื่อมีแสงมากระทบ ซึ่งแสงที่มากเกินไปก็จะไม่ได้ช่วยเรื่องการรับแสงของรูม่านตา
สิ่งหนึ่งที่เราควรทราบคือรูม่านตาของคนเราจะขยายได้เต็มที่ในเวลากลางคืนที่มืดประมาณ 7 มม. และหดได้เล็กที่สุดประมาณ 1.5 มม. ในเวลากลางวันแสงแดดจัด

Easier Eye Alignment
หนึ่งในข้อดีของการมี exit pupil ที่ใหญ่กว่ารูม่านตาก็คือ เราสามารถมองผ่านกล้องเล็งได้สบายตาขึ้นเพราะรูม่านตาของเราไม่จำเป็นต้องพยายามให้อยู่ตรงกับexit pupil

Room for eye rotation
ในเรื่องนี้เหมือนกันกับเรื่อง easier eye alignment ก็คือถ้า exit pupil ที่ใหญ่กว่ารูม่านตา ดวงตาของเราจะมีพื้นที่ในการขยับเพื่อมองจุดต่างๆได้มากกว่า

เรื่องต่อไปที่จำเป็นต้องกล่าวถึงคือเลนส์
คุณภาพของเลนส์มีผลต่อการส่งผ่านของแสง (Light transmission) มาก เลนส์ที่ใช้ในกล้องส่องหรือกล้องเล็งจะแบ่งเป็นสี่ชนิดคือ
Uncoated lens จะเป็นเลนส์ที่ไม่ได้ผ่านการเคลือบผิวเลนส์ ซึ่งการสูญเสียของแสงในการส่งผ่านของเลนส์
จะอยู่ที่ประมาณ 4%
Coated lens จะเป็นเลนส์ที่ผ่านการเคลือบผิวเลนส์แต่จำนวนชั้นของการเคลือบไม่มาก การสูญเสียของแสงในการส่งผ่านของเลนส์จะอยู่ที่ประมาณ 1%
Multi-coated lens จะเป็นเลนส์ที่ผ่านการเคลือบผิวเลนส์ที่ดี การสูญเสียของแสงในการส่งผ่านของเลนส์
จะอยู่ที่ประมาณ 0.4%
Swarotop lens จะเป็นเลนส์ที่ผ่านการเคลือบผิวในแบบของโรงงาน Swarovski ซึ่งการสูญเสียของแสงในการส่งผ่านของเลนส์จะอยู่ที่ประมาณ 0.2%
ในเรื่องการสูญเสียของแสงในการส่งผ่านของเลนส์ จากข้อมูลในเบื้องต้น เราอาจจะดูว่าน้อย แต่จริงๆแล้วค่าที่บอกจะเป็นค่าสูญเสียต่อหนึ่งเลนส์ ซึ่งหมายความว่า ภายในกล้องเล็งหรือกล้องส่องซึ่งมีจำนวนเลนส์ที่ใช้จำนวนประมาณ 8-12 เลนส์ในกล้องส่องแบบ Binocular หรือประมาณ 8 เลนส์ในกล้องเล็ง Rifle Scope ซึ่งจำนวนของเปอร์เซนต์ของแสงที่สูญเสียไปในระหว่างการส่งผ่าน มากพอสมควรคือ
32-48% Loss - Uncoated Lens
8-12% Loss - Coated Lens
3.2-4.8% Loss - Multi-coated Lens
1.6-2.4% Loss - Swarotop Lens

Lens ในกล้องเล็ง Rifle Scope จะมี  1.objective lens 2.Erector Lens และ 3.Ocular Lens ซึ่งจำนวนของแต่ละเลนส์จะขึ้นอยู่กับรุ่น ยี่ห้อ และ  กำลังขยายของกล้อง
Objective Lens คือเลนส์ที่อยู่หน้าสุดของกล้องเล็ง จะทำหน้าที่สร้างจุดโฟกัสแรกของการรับภาพของวัตถุ ซึ่งภาพดังกล่าวจะอยู่ในลักษณะกลับหัว และ เลนส์นี้จะเกี่ยวข้องกับ Exit pupil ในเรื่องความสว่างโดยตรงจากที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว และ ภาพที่ได้จะไม่ใช่ภาพที่ขยาย

Erector Lens จะทำหน้าที่กลับภาพที่กลับหัวในอยู่ในลักษณะที่ควรจะเป็น

Ocular Lens จะทำหน้าที่ขยายภาพ รวมทั้งกลับภาพที่ได้ให้ปรากฏกลับหัวตรงบริเวณ retinaภายในกระบอกตาของเรา   ...     โจ  


หัวข้อ: Re: spec กล้องติดปืนยาว
เริ่มหัวข้อโดย: peerayotk ที่ มิถุนายน 23, 2007, 01:21:51 PM
ขอขอบคูณพี่ yod มากเลยครับ ไความรู้อีกมากเลยครับ