๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
พฤษภาคม 05, 2024, 10:19:58 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 1376 1377 1378 [1379] 1380 1381 1382 ... 1487
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เครื่องบินขับไล่ใหม่ กองทัพอากาศไทย  (อ่าน 3967339 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7670
ออฟไลน์

กระทู้: 10061



« ตอบ #20670 เมื่อ: กันยายน 13, 2015, 11:46:28 AM »

เอานักบินที่ไหนมาบินกันนี่ยังมีทีมช่างอีก ประเทศที่คนน้อยน่าจะใช้ Gripen ใช้คนน้อยเครื่องมือน้อย
บันทึกการเข้า
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1870
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10361



« ตอบ #20671 เมื่อ: กันยายน 14, 2015, 12:32:36 PM »

พลุบๆโผล่ๆกลางซอกเหวแบบนี้ ระวังตอลิบันเอายำหัวปลีให้กินนะจ๊ะ โดนเข้าให้ละก็ ซากชั่งกิโลขายเท่านั้น//แต่ก็มีนักบินของเครื่องนี้พูดข่มขวัญศัตรูว่า "คุณวิ่งหนีได้ แต่จะตายแบบเหนื่อยๆ" Grin คิก คิก


ดูแซมที่ถือ ต้องมีใครอยู่เบื้องหลัง(ที่ไม่ใช่ขี้กลากและเกลื้อน)ของคนกลุ่มนี้แน่นอน Grin

เครดิตรูป http://www.lockheedmartin.com/us/products/longbow_uta.html

บันทึกการเข้า

..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing..
"สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #20672 เมื่อ: กันยายน 14, 2015, 08:39:21 PM »



บีบีซีไทย - BBC Thai

สงครามที่ใช้โดรนเป็นอาวุธ

การโจมตีโดยใช้โดรนหรืออากาศยานไร้คนขับที่บังคับจากระยะไกล เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมาก

ดูเหมือนว่าชาติที่ส่งโดรนออกไปโจมตีในการสู้รบ มีข้อได้เปรียบหลายด้าน ซึ่งรวมถึงไม่ต้องส่งทหาร

ของตนออกไปเสี่ยงตาย แต่โจนาธาน มาร์คัส ผู้สื่อข่าวสายการทูตของบีบีซีรายงานว่า การใช้โดรนได้

ทำให้เส้นแบ่งระหว่างการบังคับใช้กฎหมาย กับการทำสงครามและปราบปรามการก่อการร้ายคลุมเครือ

ไม่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น กรณีการใช้โดรนของกองทัพอากาศอังกฤษ ซึ่งทำให้พลเมืองอังกฤษ

คนหนึ่ง ที่ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกกลุ่มรัฐอิสลามเสียชีวิตในซีเรียนั้น ได้กลายเป็นเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์

กันอย่างมาก


ผู้สื่อข่าวบีบีซีบอกว่า จริง ๆ แล้วเครื่องบินรบและโดรนของอังกฤษ ไม่ได้เข้าร่วมปฏิบัติการโจมตีเป้าหมาย

ในซีเรีย เนื่องจากอังกฤษไม่ได้เป็นคู่สงครามกับซีเรีย เพียงแต่ว่าผู้เสียชีวิตเป็นคนอังกฤษ ซึ่งส่งผลให้มี

หลายกลุ่มออกมาวิจารณ์รัฐบาลนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ผู้นำอังกฤษ ว่ากำลังดำเนินนโยบายแบบ

เดียวกับสหรัฐฯ เพราะนำโดรนมาใช้เป็นอาวุธในการปราบปรามผู้ก่อการร้าย ขณะที่รัฐบาลอังกฤษยืนยันว่า

บุคคลที่เสียชีวิตกำลังเตรียมก่อเหตุก่อการร้ายโจมตีอังกฤษ และไม่มีทางอื่นในการทำลายแผนการดังกล่าว


ผู้สื่อข่าวชี้ว่า ตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่ามีการใช้โดรนทหาร เพื่อเป้าหมายที่หลากหลายแบบนึกไม่ถึง ขณะเดียว

กันก็มีประเด็นเรื่องข้อกฎหมายและศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกรณีการขยายขอบข่ายการใช้โดรนออกไป โดย

ขณะนี้มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้น ที่มีศักยภาพด้านเทคโนโลยีและการสอดแนมจนถึงขั้นที่สามารถใช้โดรน

ในลักษณะแบบนี้ได้ ดูเหมือนว่าสหรัฐฯ กับอิสราเอลเป็นชาติที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ และชาติ

พันธมิตรต่างก็ใช้ระบบโดรนขั้นสูงของสหรัฐฯ กับอิสราเอล


ส่วนในประเทศอื่นนั้น มีรายงานว่าการใช้โดรนทหารมีเพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อต้นเดือนนี้ ปากีสถานใช้โดรนที่

ผลิตขึ้นเองเพื่อโจมตีเป้าหมายในวาซิริสถานเหนือ ผู้สื่อข่าวบอกว่าประสิทธิภาพเรื่องความแม่นยำของโดรน

ทำให้ผู้เชี่ยวชาญในโลกตะวันตกหลายคนทึ่ง และต่างวิจารณ์ว่าปากีสถานน่าจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี

มาจากจีน นักวิเคราะห์ประเมินว่า จีนกับอิหร่านต่างนำโดรนทหารของตนออกปฏิบัติงานจริง และมีหลาย

ประเทศได้แสดงความสนใจที่จะซื้อโดรนดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ ผลการศึกษาเมื่อเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา ของศูนย์

เพื่อความมั่นคงแนวใหม่ของสหรัฐฯ ระบุว่า มีราว 90 ประเทศทั่วโลกใช้โดรนไม่ก็ทางใดทางหนึ่ง และอย่างน้อย

30 ประเทศใช้หรือพัฒนาโดรน หรือซื้อโดรนเพื่อนำมาใช้ในเป้าหมายทางทหาร


ผู้สื่อข่าวบอกว่า โดรนทหารรุ่นต่าง ๆ ที่ใช้กันในขณะนี้มีลักษณะคล้ายกัน ทั้งนี้อาจมาจากการถ่ายทอด

เทคโนโลยีหรือลอกเลียนแบบโดยตรง เช่น โดรนรุ่นเอ็มคิว-9 รีเปอร์ ของสหรัฐฯ เป็นรุ่นที่มีเพดานบินในระดับ

ปานกลางหรือสูงมาก บินได้เร็วและสูงกว่ารุ่นที่ออกมาก่อนหน้านี้ คือรุ่น เอ็มคิว-1 พรีเดเตอร์ ส่วนโดรนเฮอร์เมส

900 ของอิสราเอล มีเพดานบินในระดับปานกลาง บินได้ในระยะไกล ขณะที่โดรนวิง หลุง ของจีน ที่เริ่มผลิต

ออกมาตั้งแต่เมื่อราว 10 ปีที่แล้วนั้น นักวิเคราะห์มองว่ามีลักษณะคล้ายกับรุ่นเอ็มคิว-1 พรีเดเตอร์ของสหรัฐฯ


แม้หลายคนเห็นว่าการใช้โดรนทหารเป็นรูปแบบการต่อสู้ที่ไม่ยุติธรรม เพราะชาติที่ส่งโดรนออกไป ไม่ต้องให้

ทหารของตนออกไปเสี่ยงภัย อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ไม่ได้เป็นประเด็นที่ฝ่ายวางแผนเป็นห่วงตั้งแต่ต้นแล้ว

เนื่องจากในการทำสงคราม หากจะยึดถือคำว่า “ยุติธรรม” ก็มองได้ว่าเป็นเรื่องที่ผิดประเด็น เพราะหลักสำคัญ

ของการทำสงครามคือลดความเสี่ยงของฝ่ายตนให้ได้มากที่สุดและก่อให้เกิดความสูญเสียต่อศัตรูมากที่สุด

ซึ่งโดรนก็ได้กลายเป็นอาวุธที่สั่นคลอนเสถียรภาพและความมั่นคงของฝ่ายตรงข้ามได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ผู้สื่อข่าวชี้ว่า เนื่องจากโดรนเป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้ตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว บินสอดแนมเหนือน่านฟ้า

ได้เป็นเวลานาน ให้ผลแม่นยำในการโจมตีเป้าหมายที่มีขนาดเล็ก ทั้งไม่ต้องเสี่ยงส่งทหารออกไปรบ ทำให้เชื่อ

ได้ว่าจะมีการนำโดรนมาใช้บ่อยขึ้น ทั้งนี้สภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชนในสหรัฐฯ

ได้เสนอว่า ควรจัดให้โดรนเป็นอาวุธประเภทหนึ่ง ควรมีการควบคุมและกำหนดบรรทัดฐานการใช้ โดยฝ่าย

วิจารณ์ชี้ว่า การใช้โดรนของรัฐบาลสหรัฐฯ นับตั้งแต่หลังเหตุการณ์โจมตีตึกเวิร์ดเทรดเมื่อปี 2544 เป็นการใช้

ที่ผิดบรรทัดฐานไปมาก


เห็นได้ชัดว่าโดรนไม่ได้เป็นเพียงอาวุธสงครามเท่านั้น เพราะสหรัฐฯ ใช้โดรนโจมตีเป้าหมายมาเป็นร้อย ๆ ครั้ง

โดยเฉพาะในประเทศที่ในทางเทคนิคแล้ว ไม่ได้เป็นคู่สงครามกับสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของโดรน

ที่สหรัฐฯ ใช้ในการโจมตี ก็ยังคงเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายตั้งคำถาม เช่น ได้ทำลายเป้าหมายตามที่ตั้งเป้าไว้หรือไม่

และมีพลเรือนบาดเจ็บล้มตายไปเท่าไร


เส้นแบ่งที่ไม่ชัดเจนระหว่างการใช้โดรนเพื่อทำสงครามกับใช้เพื่อการปราบปรามการก่อการร้าย ทำให้ฝ่ายวิจารณ์

บอกว่า การใช้โดรนของรัฐบาลหลายชาติมีลักษณะที่ไม่ต่างไปจากการทำวิสามัญฆาตกรรม ขณะที่รัฐบาลชาติต่าง ๆ

แย้งแบบเดียวกับที่รัฐบาลอังกฤษแย้งในกรณีการใช้โดรนในซีเรียว่า เป็นการใช้ภายใต้กฎหมายและถูกต้องตามหลัก

กฎหมายระหว่างประเทศ


ปัญหาเชิงความมั่นคงที่เกี่ยวกับการใช้โดรนยังพอกพูนมากขึ้น จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีโดรนพลเรือน

โดยทุกวันนี้ คนทั่วไปสามารถหาซื้อโดรนที่ทันสมัยได้ตามท้องตลาดทั่วไป และสักวันหนึ่งกลุ่มอาชญากรรมหรือ

ก่อการร้ายจะนำโดรนในลักษณะนี้ไปใช้เป็นอาวุธ ทั้งที่ปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ กฎหมายและจริยธรรมในเรื่องการใช้

โดรนทหารก็มีมากพออยู่แล้ว และนับวันจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น หากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกหันมาใช้โดรนเป็นอาวุธกัน

มากขึ้น มีหลายฝ่ายที่ต้องการให้มีสนธิสัญญาหรือข้อบังคับระหว่างประเทศเรื่องการใช้โดรน รวมถึงเรื่องการถ่ายทอด

เทคโนโลยีโดรนทหาร เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับการใช้โดรนในลักษณะที่จัดเป็นอาวุธพิเศษ

ภาพประกอบ – เรียงตามเข็มนาฬิกา จากบนซ้าย เอ็มคิว-9 รีเปอร์, เอ็มคิว-1 พรีเดเตอร์, เฮอร์เมส 900, วิง หลุง
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1870
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10361



« ตอบ #20673 เมื่อ: กันยายน 15, 2015, 10:02:11 AM »


เมื่อวานนี้(14กย58) ทอ.สหรัฐฯส่งมอบ F-16A/B ที่ถูกกักไว้(embargoed)จำนวน2ลำ(รุ่น A หมายเลข 92731และรุ่น B หมายเลข 92622 ให้กับ ทอ.ปากีฯ เครดิต:TEJ
//เป็น Block15 OCU รุ่นสุดท้ายที่ผลิตต่อจากฝูง403 ตาคลี ไอ้กันแสบ ไม่พอใจที่ปากีสฯที่ไม่เชื่อฟังว่าห้ามสร้างนิวเคลียร์อะไรนั้น ประกอบเสร็จตรูไม่มอบให้ เอาให้ ทร ของตัวเองฝึกบิน แล้วก็เอาไปเก็บไว้ที่ฐานทัพอากาศ Davis Monthan Arizona เฉยๆ ให้หนูแมลงสาบมาทำรังซะ Grin
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 15, 2015, 10:12:12 AM โดย พญาจงอาง +รักในหลวง+ » บันทึกการเข้า

..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing..
"สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7670
ออฟไลน์

กระทู้: 10061



« ตอบ #20674 เมื่อ: กันยายน 15, 2015, 11:12:12 AM »

ปากีพัฒนาร่วมกับจีนได้ JF-17  ก็พอใช้ได้ดีแค่เลี้ยวช้ากว่า F-16 ประมาณ 1-2 วิ
บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #20675 เมื่อ: กันยายน 15, 2015, 07:35:46 PM »

SAAB สวีเดนได้รับสัญญาปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ MiG-29 โปแลนด์



Polish Air Force Mikoyan MiG-29(wikipedia.org)

Saab Signs Teaming Agreement With Wojskowe Zaklady Lotnicze Nr 2 S.A
http://saabgroup.com/Media/news-press/news/2015-09/saab-signs-teaming-agreement-with-wojskowe-zaklady-lotnicze-nr-2-s.a/

บริษัท SAAB สวีเดนได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับ Wojskowe Zaklady Lotnicze Nr 2 S.A. (WZL No.2)

โรงงานอุตสาหกรรมอากาศยานของโปแลนด์ใน Bydgoszcz โดย SAAB และ WZL2 จะทำร่วมกันในการปรับปรุง

เครื่องบินขับไล่ MiG-29 ของกองทัพอากาศโปแลนด์ ด้วยการบูรณาการติดตั้งระบบป้องกันตนเองสงคราม

Electronic ของ SAAB ซึ่ง MiG-29 ของกองทัพอากาศโปแลนด์ที่ได้รับการปรับปรุงระบบปล่อยเป้าลวง Chaff

แบบ SAAB BOL ได้เคยมีการจัดแสดงในงานแสดงทางทหารที่ Bydgoszcz โปแลนด์มาแล้ว ระบบสงคราม

Electronic (EW:Electronic Warfare) ของ SAAB ถูกออกแบบให้เพิ่มการหยั่งรู้สถานการณ์ของนักบินมากขึ้น

ในสมรภูมิที่เต็มไปภัยคุกคามจากข้าศึก เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จและกลับฐานได้อย่างปลอดภัย


กองทัพอากาศโปแลนด์ยังคงมี MiG-29A รุ่นที่นั่งเดี่ยว(9.12A รุ่นส่งออกในกลุ่ม Warsaw Pact ที่ลดสมรรถนะ

ลง) และ MiG-29UB รุ่นฝึกสองที่นั่งประจำการอยู่ราว 34 เครื่อง ประจำการในฝูงบินที่ 1 ฐานทัพอากาศที่ 23

Minsk Mazowiecki และฝูงบินที่ 41 ฐานทัพอากาศที่ 22 Malbork สำหรับภารกิจป้องกันภัยทางอากาศเหนือ

น่านฟ้าโปแลนด์  จึงมีความจำเป็นที่ต้องการระบบสงคราม Electronic แบบใหม่ ทั้งนี้กองทัพอากาศโปแลนด์

เป็นผู้ใช้ MiG-29 รายใหญ่ที่สุดใน NATO ซึ่งมีแผนจะใช้งานจนถึงราวปี 2020-2025


โดยที่ผ่านมาโปแลนด์มีขีดความสามารถในการทำการซ่อมบำรุง ปรับปรุง และคืนสภาพ MiG-29 ได้ในระดับ

หนึ่งโดยโรงงาน WZL No.2 หลังจากเกิดความตึงเครียดระหว่าง NATO กับรัสเซียหลังวิกฤตการณ์ในยูเครน

ทำให้รัสเซียไม่จัดส่งชิ้นส่วนอะไหล่ MiG-29 ที่ยังคงประจำการในยุโรปตะวันออกบางประเทศที่เคยอยู่ในกลุ่ม

Warsaw Pact ที่ปัจจุบันเป็นสมาชิก NATO แล้ว ทำให้ประเทศเหล่านั้่นต้องหาทางการซ่อมบำรุง MiG-29

ของตนจากแหล่งอื่นซึ่งโรงงาน WZL No.2 ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกนั้น เช่นในกรณีของ MiG-29 กองทัพอากาศ

บัลแกเรีย ก่อนที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ทดแทนต่อไป


"ในฐานะผู้จัดจำหน่ายระบบสงคราม Electronic ระดับนานาชาติ SAAB ตระหนักอย่างเต็มที่ถึงความสำคัญของ

การหาหุ้นส่วนที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมผลงานของเรา  ด้วยความร่วมมือพร้อมกับ WZL2 เราสามารถใช้องค์

ความรู้ของเราในการพัฒนาโครงการนี้อย่างเป็นที่น่าพอใจกับกองทัพอากาศโปแลนด์และอุตสาหกรรมของ

โปแลนด์" Carl-Johan Bergholmหัวหน้าฝ่ายธุรกิจระบบสงคราม Electronic ของ SAAB กล่าว


"เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีร่วมมือของเรากับผู้จัดจำหน่ายที่มีความน่าเชื่อถือกับกองทัพโปแลนด์คือ

WZL No.2 SAAB ได้เสนอทางทางเลือกที่นำสมัยจำนวนมากเพื่อให้แน่ใจได้ว่าเครื่องบินขับไล่ยุคใหม่จะมี

ขีดความสามารถในกาปฏิบัติการที่เหนือกว่าและมีความอยู่รอดสูงได้ทุกสถานะการณ์ ระบบสงคราม Electronic

เหล่านี้ได้พิสูจน์ตนเองในตลาดส่งออกและการใช้งานในหลายประเทศทั่วโลกมาแล้ว" Jason Howard ผู้จัดการ

ของ SAAB ในประเทศโปแลนด์กล่าว


WZL No.2 เป็นหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรมอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโปแลนด์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมด้าน

ความมั่นคงในเครือ Polska Grupa Zbrojeniowa (PGZ) โปแลนด์  ที่ได้สะสมประสบการณ์การทำงานกับอากาศ

ยานทางทหารมากว่า 65 ปี เช่น เครื่องบินขับไล่ MiG-29 และเครื่องบินโจมตี Su-22 ของกองทัพอากาศโปแลนด์

ซึ่ง WZL No.2 มีข้อมูลทาง Technic ที่จำเป็นต่อการตอบสนองความร่วมมือกับ SAAB ในโครงการปรับปรุง MiG-29

ของกองทัพอากาศโปแลนด์ครับ

http://aagth1.blogspot.com/2015/09/saab-mig-29.html
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7670
ออฟไลน์

กระทู้: 10061



« ตอบ #20676 เมื่อ: กันยายน 15, 2015, 09:28:39 PM »

เห็นยิวทำ Mig-21 ไปเยอะเลยเอามั่ง
บันทึกการเข้า
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1870
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10361



« ตอบ #20677 เมื่อ: กันยายน 16, 2015, 10:39:25 AM »


สหรัฐฯฉุน! บีบอิรักปิดน่านฟ้าห้ามรัสเซียบินผ่านไปยังซีเรีย
วันอาทิตย์ที่13 กย 58 ที่ผ่านมา เครื่องบินขนส่งทางทหารของรัสเซียลงแตะที่สนามบิน Latakia ในเมือง Jableh ของซีเรีย พร้อมสัมภาระกว่า 80 ตัน เป็นสิ่งของเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่จำเป็นสำหรับการสร้างค่ายผู้ลี้ภัยที่อพยพหนีภัยสงครามในซีเรีย ขณะที่หลายประเทศรวมถึงบัลแกเรียได้ประกาศปิดน่านฟ้าของตนเพื่อตอบสนองต่อแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกา แต่รัสเซียยังคงเดินหน้าส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเข้าไปในซีเรีย ผ่านน่านฟ้าของอิรักและอิหร่าน สร้างความไม่พอใจให้กับสหรัฐฯ และว่าเป็นการแทรกแซงทางทหารของมอสโก โดยนักการฑูตได้เรียกร้องให้ Haider Al Abadi นายกรัฐมนตรีของอิรักปฏิบัติตามแนวทางเดียวกับบัลแกเรีย ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย Sergei Lavrov กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า เสบียงและอุปกรณ์ทางทหารที่ส่งมาเพื่อเป็นการช่วยเหลือซีเรียในการต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อการร้ายติดอาวุธ ISIS และหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารของรัสเซียจะเข้ามาช่วยในการฝึกอบรม และสอนการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ ขณะที่มีรายงานว่าที่ปรึกษาของสหรัฐฯในอิรักซึ่งมีจำนวนเกือบ 3,500 นาย ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางทหาร คอยช่วยเหลือรัฐบาลแบกแดดในการต่อสู้กับกลุ่ม ISIS และได้รับอาวุธสนับสนุนที่จัดส่งตรงจากวอชิงตัน ซึ่งอาวุธในคลังหลายแห่งได้ลดลงและตกไปอยู่ในมือของสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายโดยไม่ทราบสาเหตุ
เครดิต: สมาคมนิยมอาวุธรัสเซีย Russia military fanclub
//ลองเข้าไปอ่านที่ เสธ น้ำเงิน แกมโนเกี่ยวกับ Hollywood ISIS ว่าใครกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังกลุ่มรัฐอิสลามกลุ่มนี้ ยังไงอิรัคต้องทำตามที่ไอ้กันสั่งอยู่แล้ว ไม่งั้น F-16IQ Block52 คงถูกไอ้กันระงับการส่งมอบ(embargoed)เหมือนอย่างที่เคยทำกับปากีสถานมาแล้วก่อนหน้า แบร่

บันทึกการเข้า

..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing..
"สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7670
ออฟไลน์

กระทู้: 10061



« ตอบ #20678 เมื่อ: กันยายน 16, 2015, 11:09:12 AM »

คงจะวิเคราะห์จากที่เห็นไม่ได้หรอกสำหรับคู่นี้ รัสเซียอเมริกา
หลังไมค์คุยอะไรกันบ้างก็ไม่รู้ที่รู้ๆขายของได้ทั้งคู่ เห็นหลายคน in กันเหลือเกิน
บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #20679 เมื่อ: กันยายน 16, 2015, 12:32:56 PM »

คูเวตจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Typhoon 28 เครื่อง


Italian Air Force Eurofighter Typhoon(wikipedia.org)

Kuwait To Purchase 28 Typhoons
http://www.defensenews.com/story/breaking-news/2015/09/11/kuwait-purchase-28-typhoons/72059404/

คูเวตได้ลงนามข้อตกลงกับรัฐบาลอิตาลีแบบรัฐต่อรัฐในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon

จำนวน 28 เครื่อง โดยแบ่งเป็นรุ่นที่นั่งเดี่ยว 22 เครื่อง และรุ่นสองที่นั่ง 6 เครื่อง โดยบริษัท Alenia Aermacchi

ในเครือ Finmeccanica อิตาลี ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานที่ร่วมพัฒนา บ.Typhoon นั้นจะผู้รับ

สัญญาหลักของโครงการจัดหาของคูเวต


ทั้งนี้เครื่องบินขับไล่ Typhoon ของคูเวตนั้นจะเป็นเครื่องรุ่นส่งออกแบบแรกที่ได้รับการติดตั้ง AESA radar

ของ Selex ES อิตาลี-อังกฤษด้วย(น่าจะเป็น radar แบบ CAPTOR-E) อาจรวมถึงระบบอาวุธขั้นสูงที่จะจัดหา

มาพร้อมกัน เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Meteor และอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนอากาศสู่พื้น

Storm Shadow (เป็นเครื่องสร้างใหม่จากโรงงานมาตรฐานรุ่น Tranche 3) มีการประเมินว่าวงเงินของ

โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Typhoon ของคูเวตจะอยู่ที่ราว 7-8 billion Euros จะมีการเจรจาเสร็จสิ้นใน

ปีนี้ และจะสามารถเริ่มส่งมอบเครื่องได้ในปี 2019 โดยนักบินคูเวตน่าจะทำการฝึกบินที่ฐานทัพอากาศ

Grosseto อิตาลี กองทัพอากาศคูเวตเป็นประเทศที่สามในตะวันกลางที่เลือกจัดหาเครื่องบินขับไล่ Typhoon

เข้าประจำการ ต่อจากกองทัพอากาศซาอุดิอาระเบียที่จัดหารวม 72 เครื่อง และกองทัพอากาศโอมานที่สั่ง

จัดหา 12 เครื่อง ซึ่งยังมีบาห์เรนอีกประเทศที่ให้ความสนใจ ขณะที่อีกหลายประเทศในตะวันออกกลาง เช่น

กองทัพอากาศกาตาร์ และกองทัพอากาศอียิปต์ได้เลือกจัดหาเครื่องขับไล่ Dassault Rafale จากฝรั่งเศส

ซึ่งได้เคยรายงานการรับมอบเครื่อง Rafale ชุดแรกของอียิปต์ไปแล้ว


ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคมมีรายงานว่าคูเวตให้ความสนใจที่ต้องการจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Boeing

F/A-18E/F Super Hornet จากสหรัฐฯจำนวน 40 เครื่อง โดยปฏิเสธข้อเสนอการจัดหาเครื่องขับไล่

Typhoon ของอังกฤษ แต่ต่อมารัฐบาลคูเวตได้ลงนามข้อตกลงสัญญาจัดหา Typhoon กับรัฐบาลอิตาลี

ทำให้มีข้อ สังเกตุว่าโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Super Hornet ของคูเวตนั้นจะถูกยกเลิกไปหรือไม่  

อย่างไรก็ตาม  โฆษกหญิงของบริษัท Boeing ได้ออกมาแถลงว่าทางบริษัทและรัฐบาลสหรัฐฯกำลังอยู่ใน

ขั้นตอนการเจรจาข้อตกลงความเป็นไปได้ในการขาย Super Hornet ให้มิตรประเทศแถบตะวันออกกลางอยู่

โดยทาง Boeing ปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลโดยตรงว่าประเทศดังกล่าวคือคูเวตหรือไม่ รวมถึงยังไม่มีราย

ละเอียดความคืบหน้าของการเจรจาออกมาในขณะนี้นอกจากว่ากำลังอยู่ในขั้นการดำเนินการอยู่ แต่มี

นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า ดูเหมือนทางกองทัพอากาศคูเวตจะแยกโครงการจัดหา Typhoon กับ

Super Hornet ออกจากกันเป็นสองส่วนครับ

http://aagth1.blogspot.com/2015/09/typhoon-28.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2015, 12:45:43 PM โดย ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ » บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7670
ออฟไลน์

กระทู้: 10061



« ตอบ #20680 เมื่อ: กันยายน 16, 2015, 01:09:30 PM »

Typhoon อิตาลีถูกว่าของอังฤษมั้ง
บันทึกการเข้า
Nero Angel01
Hero Member
*****

คะแนน 275
ออฟไลน์

กระทู้: 3048


« ตอบ #20681 เมื่อ: กันยายน 16, 2015, 05:42:51 PM »

Rafaelสรุปขายได้แค่อินเดียสินะ
บันทึกการเข้า
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7670
ออฟไลน์

กระทู้: 10061



« ตอบ #20682 เมื่อ: กันยายน 16, 2015, 11:29:45 PM »

เกิดอะไรขึ้นสมัย Mirage 2000 ขายดีมาก หรือลูกค้าเข็ด
บันทึกการเข้า
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1870
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10361



« ตอบ #20683 เมื่อ: กันยายน 17, 2015, 10:14:02 AM »

พูดถึง Mirage2000 มิราจก็มาทันที  ฐานล้อหลัก(main gear) และฐานล้อหน้า(nose gear)กางแบบนี้ เครื่องไม่วิ่งขึ้นก็วิ่งลง จะว่าสะดุดหลุมเหมือนถนนบ้านผมก็ไม่น่าใช่ สงสัยจะมีหมูป่าวิ่งตัดหน้าบนทางวิ่งแล้วเครื่องชนเข้าให้(F-16ปากีฯประสบอุบัติเหตุจากกรณีแบบนี้มาแล้ว เครื่องเสียหายถึงขั้นจำหน่าย) สังเกตุเห็นเก้าอี้ดีดตัวออกหรือเปล่า ถ้าดีดออกน่าจะเป็นอุบัติเหตุ ถ้าไม่ถูกดีดออกคงเป็นพายุพัดจนเครื่องพลิก


เครดิตรูปMirage2000 (ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม)และรูปสองจากเว็บเพจวัดป่ามณีกาญจน์ นนทบุรี Grin
บันทึกการเข้า

..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing..
"สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
maxgti
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 47


« ตอบ #20684 เมื่อ: กันยายน 17, 2015, 10:49:32 AM »

ในภาพถ้าจำไม่ผิดคือมิราจ3 ยิ้มีเลศนัย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 1376 1377 1378 [1379] 1380 1381 1382 ... 1487
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.104 วินาที กับ 21 คำสั่ง