๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
พฤษภาคม 15, 2024, 02:07:48 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 16 17 18 [19] 20
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน  (อ่าน 58020 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
yod - รักในหลวง ครับ
ความรัก - เริ่ม - จากความรู้สึก หรือ ความคิด กันแน่นะ ..... ประวัติศาสตร์อาจจะย้อนรอยเดิม แต่คนไม่อาจย้อนอดีตได้
Hero Member
*****

คะแนน 1630
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 18179



« ตอบ #270 เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 04:39:44 PM »





เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก

ปัญหาคือการจัดการและเงินทุนในการหมุนเวียน
บันทึกการเข้า

..สิ่งสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า...วันนี้เขาอยู่หรือจากไป
สำคัญที่ว่า...ช่วงที่เรามีเวลาอยู่ด้วยกัน
ขอให้มีความทรงจำที่ดี...ก็เพียงพอแล้ว
อย่างน้อย เราก็ยังมีอะไรดีดีให้นึกถึง
และยิ้มให้ความทรงจำนั้นได้ ...

..กรอบใดกักขังแค่กาย แต่ใจอย่าหมายกั้นได้
โซ่ตรวนรัดรึงตรึงไว้  แต่ใจนั้นใฝ่เสรี..
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6128
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #271 เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 04:44:58 PM »

เพิ่งถามอาจารย์ ดร. ด้านการตลาดมาครับ ว่าทำไมสินค้าเกษตรของเราเราคุมราคาไม่ได้เลย

ท่านบอกว่าต้องสร้าง "คุณค่าเพิ่ม" ให้กับสินค้า

ท่านยกตัวอย่างเราส่งข้าวโพดไปเป็นอาหารสัตว์  คิดราคาเป็นตัน 

แต่เขาเอาไปแปรรูปเป็นข้าวโพดคั่วบรรจุถุง ราคาแพง

หลังจากท่านอาจารย์ยกตัวอย่าง ผมเลยตั้งใจว่าอนาคตผมจะเป็นนักการตลาดให้ได้  Grin

็Ha  Ha  ฮา  พี่เหล็กขร๊า  อย่าไปเป็น Marketing Man  เลยน๊ะคร๊า  ฮา

แล้วถ้าเกิดจะทำ เมล็ดข้าวโพดคั่ว  ใส่กระป๋องมาขาย   ยายก็ไม่ซื้อ  อ่ะคร๊า  ฮา

อิอิ  มันคนละ 1000 กันน๊ะคร๊า  ข้าวโพดคั่ว  กะ  ข้าวโพดที่ใช้ทำอาหารสัตว์  อ่ะ คร๊า  ฮา

ใช่ครับ ข้าวโพดอาหารสัตว์ ถ้าท่านเอาไปแทะก็น้องๆแทะไม้กระบอก เหมือนเอาอ้อยแบบส่งโรงงาน
หีบเอาน้ำอ้อยมาทำน้ำตาล ถ้าเอามากินเล่นแบบอ้อยกินเล่น อาจฟันหักหมดปาก  ยิ่งถ้าเอาข้าวโพด
อาหารสัตว์ไปคั่วนี่ คิดไปได้แท้ๆน้อ...
บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6923


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #272 เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 05:29:39 PM »


เก็บไถขึ้นลาน - เกษม คมสันต์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 25, 2011, 05:44:15 PM โดย pasta » บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
pehtor
เลือกปืนก็เหมือนเลือกแฟน นอกจากนิสัยดี ยังต้องหน้าตาดี เข้ากับเราได้
Full Member
***

คะแนน 1201
ออฟไลน์

กระทู้: 265


โอกาสเป็นของคนที่เตรียมพร้อม


« ตอบ #273 เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 07:33:48 PM »


สงสัยนิดนึง ชาวนาขายข้าวเปลือก โรงสีก็รับสีข้าว พ่อค้าก็ขายข้าวสาร ความหมายของ ดร คงหมายถึงการสร้างมูลค่าจากการบริหารช่องทางการจัดจำหน่ายของแต่ละขั้นตอนมั้ง ผมมองไม่ออกจริงว่าชาวนาจะสร้างมูลค่าให้ข้างเปลือกได้อย่างไรในเมื่อชาวนาไม่มีโรงสีเป็นของตัวเอง หากชาวนารวมตัวกันเองด้วยการสนับสนุนในรูปสหกรณ์แล้วชาวนาแปรรูปข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารได้เมื่อไรมูลค่าก็จะเพิ่มทันทีครับ พูดง่ายๆก็คือตัดโรงสีออกจากวงจร
อันนี้พอเดาคำตอบได้นะครับ การสร้างมูลค่าของชาวนาคือ การแปลง แรงงาน ปุ๋ย น้ำมัน ที่ดิน และก็เวลาให้ผลิตออกมาเป็นข้าวเปลือกไงครับ ยกตัวอย่าง ต้นทุนในการทำนา รวมค่าไถ ค่าเกี่ยว ค่าปุ๋ย ค่ายา รวม 3500 บาทต่อไร่ แต่ผลิตข้าวได้ 1000 กก. ขายได้เงิน  7000 บาท แปลว่าชาวนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าแล้ว  จริงๆแล้วถ้าให้ถูกต้องรวมค่าแรงงาน ค่าเสียโอกาสจากการใช้ที่ดิน  และค่าน้ำด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่ได้จ่ายออกมาเป็นเงินก็ตาม แต่การที่จะมีน้ำปล่อยออกมาเพื่อทำนา มันต้องมีการสร้างเขื่อน ต้องยอมเสียพื้นที่ป่า ต้องมีบางคนที่ยอมเสียพื้นที่ทำกินไป ต้องมีการลงทุน มีค่าบำรุงรักษา เพราะฉะนั้นน้ำที่ใช้ทำนาหรือทำการเกษตร มันมีต้นทุนครับ แต่ชาวนาไม่ได้จ่ายเท่านั้นเอง  รัฐบาลเอาเงินภาษีมาจ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้ซึ่งคนจ่ายภาษีก็คือชาวไทยทุกคน บางครั้งการช่วยเหลือเกษตรกรมันไม่ได้มาในรูปของเงินเสมอไป
บันทึกการเข้า

มีชีวิตให้กว้างขวาง ดีกว่ามีชีวิตให้ยืนยาว
วีระศักดิ์ รักในหลวงครับ
Website Sponsor
Full Member
****

คะแนน 43
ออฟไลน์

กระทู้: 221



« ตอบ #274 เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 09:25:09 PM »

ขออนุญาตเล่าอะไรให้ฟังสักนิดนะครับ    ผมทำนา 30 กว่าไร่   มีอยู่แปลงนึง  ผมใช้ข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2  เนื้อที่ 12.5 ไร่ หว่าน ข้าว 12 กระสอบ  กระสอบละ 25 กิโลกรัม  พอข้าว 5-7 วันหว่าน 46-0-0 (ยูเรีย) 10 กิโลกรัมต่อไร่  700/กระสอบ 50 โล    พออายุ25 วัน ใช้ขี้นกกระทา อัดเม็ด 25 โล/กระสอบ /170 บาท/ไร่     พออายุ  45-50 วัน 16-0-0  /6 กระสอบ/ประมาณ 780 บาท/12.5 ไร่    ได้ข้าวที่  11 ตันครับ   และลดปัญหาเรื่องโรคและแมลงด้วยครับ  ลดต้นทุน  และดินไม่เสื่อมโทรมด้วยครับ  ลองอ่านดูเล่นๆนะครับ    อ้อ ข้าวพิษณุโลก 2 ควร ใช้หน้าแล้งและใช้ยูเรียไม่มากครับ  ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
วีระศักดิ์ รักในหลวงครับ
Website Sponsor
Full Member
****

คะแนน 43
ออฟไลน์

กระทู้: 221



« ตอบ #275 เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 09:31:23 PM »

จากเดิมที่เคยทำกัน  5-7 วันหว่าน 46-0-0 10 โลต่อไร่โดยประมาณ    25-30  วัน  46-0-0   25 โลต่อไร่  ก็ปรับมาใช้ขี้นกกระทาแทน  ลดต้นทุนได้ 325- 2075 ต่อไร่ครับ  ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
นายกระจง
Cement For Life.....
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2938
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 31463


ช่างมันเถอะ


« ตอบ #276 เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 03:41:22 PM »

วันนี้เห็นช่วงเช้ามีการประชุมระหว่างนายกกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ไม่ได้ดูรายละเอียด ไม่ทราบว่าผลเป็นอย่างไรบ้างครับ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นคนต้องอดทน ไม่อดทนก็อดตาย
 
renold
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #277 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 02:30:56 PM »

ดีใจจัง ราคาข้าวจะขึ้นเป็นตันละ 20,000 แล้ว.... ตกใจ
ทีนี้ ชาวนาคงไม่จนแล้วครับ ขำก๊าก ขำก๊าก
บันทึกการเข้า
นายกระจง
Cement For Life.....
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2938
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 31463


ช่างมันเถอะ


« ตอบ #278 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 02:43:22 PM »

ดีใจจัง ราคาข้าวจะขึ้นเป็นตันละ 20,000 แล้ว.... ตกใจ
ทีนี้ ชาวนาคงไม่จนแล้วครับ ขำก๊าก ขำก๊าก



ขอให้ชาวนาไทยสมหวังทุกท่านครับ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นคนต้องอดทน ไม่อดทนก็อดตาย
 
renold
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #279 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 03:48:47 PM »

แต่คงจะดีใจได้แค่ไม่กี่อึดใจหรอกครับ เพราะราคาปุ๋ยกะสารเคมี มันรอจะขึ้นราคาอยู่แล้ว
สินค้าอุปโภค บริโภค คงจะจ่อคิวขึ้นราคาอีกเพียบ
ถึงตอนนั้น คงจะมีใครหลายๆคนมานั่งเสียดายคะแนนที่กาให้พรรค........จังเลย
บันทึกการเข้า
prawin -รักในหลวง-
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 273
ออฟไลน์

กระทู้: 1218



« ตอบ #280 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2012, 01:35:11 PM »

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/reader-opinion/20120803/464395/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7-:-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-(1).html

ปัญหาข้าว : ความจริงที่ประชาชนต้องรู้ (1)

ถ้ามีรัฐบาลชุดใด มาขอเงินภาษีของประชาชน 120,000 ล้านบาท โดยอ้างว่าจะนำไปช่วยชาวนา ประชาชนคงตกใจกับจำนวนเงินที่มหาศาล

แล้วก็ทำใจได้ เพราะจำนนต่อเหตุผลที่อ้าง แต่ประชาชนก็มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะถามรัฐบาลเพื่อให้ได้รู้ความจริงว่า จะช่วยชาวนาอย่างไร และเงินทุกบาททุกสตางค์ได้นำไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมคุ้มค่า มีประสิทธิภาพและจะมีการทุจริตคอร์รัปชันหรือไม่ ในประการสำคัญจะมีส่วนใดที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพการผลิตและคุณภาพชีวิตของชาวนาให้ดีขึ้น เพื่อที่ในอนาคตชาวนาจะได้เข้มแข็งสามารถช่วยตัวเองได้ การที่ต้องใช้เงินอุดหนุนในลักษณะอุปถัมภ์ก็จะลดน้อย ประชาชนก็จะมีเงินเหลือไปใช้เพื่อการศึกษาของลูกหลานและการรักษาพยาบาลให้กับคนที่มีรายได้น้อย ได้มีคุณภาพสูงขึ้นกว่าปัจจุบัน
 

ตลอดเวลากว่า 2 ทศวรรษ ปัญหาชาวนายังคงมีอยู่ซ้ำๆ และต่อเนื่อง กล่าวคือ ความยากจน หนี้สิน คุณภาพชีวิต และปัญหากรรมสิทธิ์ในที่ดินและน้ำ บางปีราคาข้าวเปลือกตกต่ำกว่าต้นทุนการผลิต หรือภัยธรรมชาติ  ได้แก่ น้ำท่วม ฝนแล้ง โรคหรือแมลงระบาด ทำให้ประสบการขาดทุน
 

สังคมไทยถูกทำให้เชื่อด้วยวาทกรรมว่าข้าวเป็นพืชการเมือง นักการเมืองจึงมาเล่นกับชาวนาในเรื่องของการแข่งกัน แจกเงิน โดยใช้เงินภาษีของประชาชนเป็นเครื่องมือ ใครแจกได้มากกว่าผู้นั้นจะชนะการเลือกตั้ง เราจึงพบว่ามีการใช้เงินของรัฐสูงขึ้นทุกยุค จากการแทรกแซงราคาข้าวด้วยเงิน 20,000-30,000 ล้านบาท มาเป็น 40,000 ล้านบาท ในโครงการประกันรายได้ของรัฐบาลชุดที่แล้ว และในรัฐบาลชุดนี้ ที่ใช้โครงการจำนำข้าวเปลือกทุกเม็ด ที่คาดว่าจะต้องสูญเสียเงินอีกประมาณ 120,000 ล้านบาท ซึ่งในแต่ละวิธีการที่นักการเมืองนำมาใช้แก้ปัญหานั้น ได้สร้างผลเสียหายให้กับประเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
 

โครงการที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดในขณะนี้ คือ โครงการจำนำข้าวทุกเม็ด และประชาชนก็ถูกวาทกรรมต่างๆ ทำให้หลงไปว่า โครงการที่กล่าวมา คือ การจำนำข้าวในความหมายที่แท้จริง แต่ความจริงแล้ววิธีการจำนำเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งของการรักษาเสถียรภาพกลไกตลาดและราคา โดยเฉพาะกับพืชเกษตรเช่นข้าว ที่มีการเก็บเกี่ยวเป็นฤดูกาล ชาวนาก็จะเก็บเกี่ยวพร้อมๆ กัน ปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดก็จะมีจำนวนมาก  เป็นเหตุให้ราคาตกต่ำ การปล่อยให้ชาวนาต่างคนต่างช่วยเหลือตนเอง ด้วยการเก็บเกี่ยวข้าวไว้รอเวลาให้ราคาสูงทำไม่ได้ เพราะชาวนาทุกคนต้องใช้เงิน การทำให้ปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดสมดุลกับความต้องการ จึงต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่จะรักษาเสถียรภาพของราคาข้าวเปลือก ด้วยการดึงปริมาณข้าวออกจากตลาดในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ประมาณร้อยละ 20-30 โดยการรับจำนำข้าวเปลือกจากชาวนาและจ่ายเงินให้ชาวนาไปก่อน ร้อยละ 80-90 ของราคาตลาด เพื่อให้ชาวนามีเงินไว้ใช้จ่าย
 

ต่อเมื่อใดที่ราคาตลาดสูงขึ้นกว่าราคาจำนำ ชาวนาก็จะมาไถ่ถอนจากรัฐบาลและนำไปขายในตลาดปกติ ทั้งนี้ รัฐบาลอาจคิดดอกเบี้ยเล็กน้อย หรือไม่คิดดอกเบี้ยก็ได้ ส่วนอายุการไถ่ถอนจะในเวลา 3-4 เดือน วิธีการที่ถูกต้องเช่นนี้ ทั่วโลกก็ใช้กันเป็นปกติ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ก็ได้ใช้โครงการจำนำยุ้งฉางของชาวนากับลูกค้าของธนาคารมากว่า 15 ปีแล้ว และประสบความสำเร็จด้วยดีมาตลอด
 

ดังนั้น การที่รัฐบาลประกาศโครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเม็ด โดยให้ราคาสูงกว่าตลาดปกติเกือบร้อยละ 60 เช่นนี้ จึงไม่ใช่การจำนำ แต่เป็นการที่รัฐบาลซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา ข้อยืนยัน คือ ในจำนวนข้าวเปลือกที่จำนำ 17 ล้านตัน ไม่มีการไถ่ถอนของชาวนาแม้แต่ 1 ตัน และโดยผลของโครงการ คือ รัฐบาลต้องเป็นผู้ขายข้าวสารแต่ผู้เดียวด้วย มิไยที่เสียงท้วงติงจากผู้รู้ว่า นี่ไม่ใช้การพัฒนาข้าวและชาวนา แต่จะทำให้คุณภาพข้าวต่ำลง และชาวนาอ่อนแอ รอคอยความช่วยเหลือตลอดเวลา กลไกตลาดข้าวถูกทำลาย ตลาดข้าวไทยในต่างประเทศจะสูญเสียให้กับคู่แข่ง เพราะราคาข้าวไทยแพงที่สุด จนไม่มีผู้ซื้อ จะขาดทุนจำนวนมหาศาล และการสร้างวงจรการทุจริตอย่างมโหฬารในทุกจุด ตั้งแต่เริ่มจำนำข้าวเปลือก ข้าวสารส่งคลังรัฐบาล และการขายข้าวสารจากคลังรัฐบาล สุดท้ายวินัยทางการเงินจะก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการคลังของประเทศในอนาคตอันไม่ไกล แต่เสียงเตือนเหล่านั้น ก็ถูกผู้รับผิดชอบโครงการโจมตีกลับว่า เป็นเรื่องของผู้สูญเสียประโยชน์ หรือพวกเห็นแก่ตัว
 

ในประเด็นเรื่องจำนำหรือซื้อ มีเสียงสะท้อนจากสื่อมวลชนด้านข้าวของโลก เช่น ORYZA  และ BLOOMBERG กลับไม่เชื่ออย่างที่คนไทยถูกทำให้เชื่อ เพราะในทันทีที่รัฐบาลประกาศนโยบายเดินหน้าโครงการจำนำข้าวเปลือกทุกเม็ด ในราคาที่สูงกว่าตลาดปกติร้อยละ 60 ORYZA ก็รายงานไปทั่วโลกว่า มันไม่ใช่การจำนำ (PLEDGE) แต่เป็นการที่รัฐบาลไทยซื้อข้าวจากชาวนา (GOVERNMENT BUY) ในข่าวก็มีคำถามต่อไปว่า การที่รัฐบาลทำให้ข้าวไทยมีราคาแพงที่สุดในตลาดแล้ว ข้าวนี้ก็จะไม่มีคนซื้อแล้วจะทำอย่างไร คำตอบแบบยิ้มๆ มีว่า รัฐบาลก็ต้องเก็บไว้กินเอง (EAT AT HOME) คนไทยที่อ่านข่าวนี้ต้องรู้สึกเลือดขึ้นหน้าทันที ไม่ได้เจ็บใจผู้สื่อข่าวต่างประเทศ แต่เจ็บใจที่ว่าเรื่องตลกเล็กๆ นี้ ทำไมประเทศไทยถึงต้องสูญเสียเงินไปกับโครงการนี้กว่า 100,000 ล้านบาทด้วย
 

บัดนี้โครงการจำนำข้าวเปลือกทุกเม็ด ได้เดินทางมาใกล้จะจบลงในวันที่ 15 กันยายน 2555 แล้ว แต่ตลอดเส้นทางที่ผ่าน ผลลัพธ์ที่ออกมามีมากมาย และเป็นคำตอบให้กับประชาชนได้รู้ว่า คำวิจารณ์และข้อเสนอแนะของผู้รู้ทุกภาคส่วนนั้นถูกหรือผิด และใครได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ แต่ที่แน่นอน ก็คือ ประเทศได้รับความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ข้าวไทย
 

ข้อมูลที่ปรากฏ คือ  รัฐบาลซื้อข้าวเปลือกนาปีจากชาวนาจำนวน 6,799,284 ตัน  ใช้เงิน 112,826 ล้านบาท ในส่วนนี้เมื่อคำนวณตัวเลขจากราคาที่รัฐบาลซื้อ ลบด้วยราคาข้าวเปลือกในตลาดภายในประเทศ ณ ปัจจุบัน จะขาดทุนจากข้าวทุกชนิดตั้งแต่ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมปทุมธานี  ข้าวเหนียว  ข้าวเจ้า  รวมกันประมาณ 36,730 ล้านบาท (ถ้าคำนวณโดยใช้ราคา  FOB ในราคาที่ข้าวเปลือกไทยจะขายได้ในตลาดโลก ก็จะมีตัวเลขขาดทุนมากกว่านี้)
 

สำหรับข้าวนาปรัง เมื่อสิ้นโครงการประมาณว่าจะมีข้าวเปลือก 10.6 ล้านตัน จะใช้เงิน 167,174 ล้านบาท โดยวิธีการคำนวณเช่นเดียวกัน คาดว่าจะขาดทุน 70,669 ล้านบาท รวมโครงการทั้งนาปี นาปรัง จะใช้เงิน 280,000 ล้านบาท และขาดทุน 107,399 ล้านบาท (สถาบัน TDRI ได้เคยวิจัยพบว่าในโครงการจำนำเงินจะตกถึงมือชาวนาจะได้รับไม่เกินร้อยละ 50) ทั้งนี้ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายโครงการ ค่าเสียหายจากข้าวเสื่อมหรือปลอมปน  ที่สำคัญ จากการทุจริตคอร์รัปชันทุกขั้นตอนอีกนับหมื่นล้านบาท
 

คำตอบที่ประชาชนอยากรู้ คือ อะไรเป็นแรงจูงใจให้เกิดโครงการมหาภัยต่อประเทศเช่นนี้ จากข่าวที่ปรากฏตามสื่อมวลชนทุกแขนงและการรับรู้ของคนในวงการค้าข้าว เราสามารถวิเคราะห์หาคำตอบว่า มีแรงจูงใจ 3 ประการ คือ
 

ประการที่ 1 การประกาศนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง เมื่อกรกฎาคม 2554 อ้างว่าจะช่วยชาวนาได้มากกว่าพรรคการเมืองอื่น โดยจะให้ราคาข้าวหอมมะลิตันละ 20,000 บาท ข้าวเจ้าตันละ 15,000 บาท จนได้คะแนนเสียงมาเป็นรัฐบาล อุปมาก็เหมือนกับ เอามือซ้ายจับชาวนาเป็นตัวประกัน ส่วนมือขวาจ่ายค่าไถ่ด้วยเงินภาษีของประชาชน
 

ประการที่ 2 มีแนวคิดที่จะผูกขาดการค้าข้าวโดยรัฐบาล โดยอ้างผลดีต่างๆ นานา แต่ภายใต้นโยบายนี้ก็มีวาระในการแสวงหาผลประโยชน์จากข้าวของโครงการ โดยกลุ่มธุรกิจที่เป็นพรรคพวกและบริวารของนักการเมือง
 

ประการที่ 3 เป็นที่รู้กันในวงการค้าข้าวว่า การซื้อข้าวจากโกดังของรัฐบาล ต้องจ่ายใต้โต๊ะให้กับการเมือง ไม่ต่ำกว่าตันละ 500-1,000 บาท สุดแต่จังหวะและโอกาสจะอำนวย ดังนั้น ข้าว 1 ล้านตัน เท่ากับการเมืองได้รับไป 500-1,000 ล้านบาท และเป็นที่รู้กันในวงการเมืองของทุกพรรคการเมืองว่านี่คือแหล่งขุมทรัพย์ที่นักการเมืองใช้หาเงิน และก็จะอ้างเพื่อลดความละอายในจิตใจของตนเองว่า การเมืองต้องใช้เงิน เพื่อไปซื้อเสียง และสร้างอิทธิพล จึงจะสามารถชนะการเลือกตั้งมาเป็นรัฐบาลปกครองประเทศได้
 

ดังนั้น ถึงเวลาหรือยังที่ประชาชนจะตื่นรู้ และลุกขึ้นมาบอกกับนักการเมือง ว่า พอกันทีความเป็นรัฐบาล ไม่ได้หมายความว่าจะมีความชอบธรรมที่จะกำหนดนโยบายอะไรก็ได้ ทั้งๆ ที่เห็นชัดเจนว่ามันสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ ตรงกันข้าม ประชาชนต่างหากที่มีความชอบธรรมที่จะต่อต้านนโยบายที่เลวร้ายนั้น

Tags : ปราโมทย์ วานิชานนท์
บันทึกการเข้า

คนดีไม่มีคำว่าเป็นกลาง เพราะคนดีแยกแยะความผิด ความชั่ว และความดีออกจากกันได้
เมื่อเราเป็นคนดี และเราเห็นอยู่แล้วว่าอะไรดี อะไรชั่ว  แล้วเราจะยืนอยู่เป็นกลางได้อย่างไร
การเป็นกลางในสภาวะที่แข่งกันระหว่างความดีและความชั่ว เรียกว่าความกลัวแห่งคนขี้ขลาด
หยุดกลัว หยุดขี้ขลาด

อ.เสรี วงษ์มณฑา 18/11/5
prawin -รักในหลวง-
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 273
ออฟไลน์

กระทู้: 1218



« ตอบ #281 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2012, 01:37:39 PM »

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/reader-opinion/20120809/465211/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7-:-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-(2).html

ปัญหาข้าว : ความจริงที่ประชาชนต้องรู้ (2)

ในอดีตปัญหาข้าวและชาวนา ได้สร้างวาทกรรมไว้มากมาย ที่เด่นที่สุดได้แก่ วาทกรรมของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

ที่กล่าวไว้ว่า “ทุกข์ของชาวนาคือทุกข์ของแผ่นดิน” เป็นถ้อยคำที่สะท้อนความเป็นจริงของชีวิตเรื่อยมาตราบเท่าทุกวันนี้
 

ปัจจุบัน เมื่อปัญหาข้าวและชาวนาถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ในการหาเสียงจากชาวนา เราจึงได้ยินโวหารว่าช่วยเหลือชาวนาพรั่งพรูออกมา โดยเฉพาะในช่วงเวลาเลือกตั้ง  เมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลแล้วก็ยังต้องสร้างวาทกรรมบอกประชาชนเพื่อให้ประชาชนเชื่อว่า โครงการที่รัฐบาลช่วยชาวนานั้นดี และรัฐบาลสามารถบริหารจัดการได้ ดังนั้น เพื่อมิให้ประชาชนเกิดความสับสน จึงมีความจำเป็นที่ประชาชนต้องรู้ว่า ภายใต้โวหารหรือวาทกรรมที่แลดูดีนั้น มีความจริง และมีความเป็นไปได้อย่างที่พูดหรือไม่อย่างไร เรามาเริ่มต้นกันตั้งแต่
 

วาทกรรมกลุ่มที่ 1 ประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก ดังนั้น เราต้องชี้นำราคาข้าวในตลาดโลกได้ และหากเราร่วมมือกับประเทศส่งออกข้าวอื่น เช่น เวียดนาม พม่า เขมร เป็น RICE POOL เหมือนกลุ่ม OPEC เราก็สามารถกำหนดราคาข้าวในตลาดโลกได้
 

ความจริงก็คือ
 

1. ประเทศไทยผลิตข้าวเป็นอันดับ 6 ของโลก ปริมาณ 17-18 ล้านตันข้าวสาร ผู้ผลิตมากที่สุดในโลกคือ จีน จำนวน 137 ล้านตัน แต่คนจีน 1,300 ล้านคน บริโภคข้าวเกือบทั้งหมด มีเหลือส่งออกเล็กน้อยเท่านั้น ในแต่ละปีไทยเราบริโภคภายในประเทศครึ่งหนึ่ง ที่เหลือส่งออกได้ประมาณ 8 ล้านตัน โดยปกติตัวเลขนี้ก็เป็นอันดับ 1 ของโลกมาตลอดอยู่แล้ว การที่ปี 2554 ส่งออกถึง 10.8 ล้านตัน ก็เพราะรัฐบาลขายข้าวในสต็อกให้กับพ่อค้าส่งออก ตัวเลขจึงเพิ่มขึ้น ดังนั้นการเป็นห่วงกันมากว่าจะเสียแชมป์ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพียงแต่มันได้สะท้อนว่าโครงการจำนำของรัฐบาล ทำให้ราคาข้าวไทยสูงจนหาผู้ซื้อยาก ตัวเลขครึ่งปีนี้ข้าวส่งออกจึงลดลงกว่าร้อยละ 50  ต่อเมื่อรัฐบาลจำเป็นต้องระบายข้าวในสต็อก 12 ล้านตันให้ผู้ส่งออก ตัวเลขการส่งออกก็จะกลับมาเป็นที่ 1 อีก มันเป็นเรื่องธรรมดาตามสภาพการผลิตและสต็อก
 

2. ราคาข้าวในตลาดโลก เปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงตลอดเวลา ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเศรษฐศาสตร์ในเรื่องของอุปสงค์และอุปทาน ไม่มีประเทศใดที่สามารถไปชี้นำหรือกำหนดราคาข้าวในตลาดโลกได้ แม้แต่ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ก็ยังต้องขายข้าวตามราคาตลาดโลก มีบางคนพยายามทำให้หลายคนเชื่อว่า ข้าว 5%  ที่รัฐบาลจำนำราคาตันละ 800 ดอลลาร์  เราน่าจะขายได้  เพราะในปี 2551 ราคาข้าวยังขึ้นไปถึง, 1000  ดอลลาร์ แต่ความจริงก็คือ ในปี 2551 ได้เกิดวิกฤติครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี ราคาน้ำมันขึ้นสูงไปถึงบาร์เรลละ 147 ดอลลาร์ พร้อมกับปรากฏการณ์เอลนีโญ (ความแห้งแล้ง) ในจีน อินเดียและเวียดนาม ทำให้ผลผลิตเสียหายมาก  จีนต้องซื้อข้าวเพิ่มจำนวนมาก เวียดนามและอินเดียหยุดการส่งออกข้าว เหลือแต่ประเทศไทยที่ไม่ได้รับความเสียหายและมีข้าวเหลือส่งออก ราคาข้าวจึงได้พุ่งขึ้นไปถึง 1,000 ดอลลาร์ ในช่วงเวลา 3 เดือน  หลังจากนั้นราคาค่อยๆ ปรับตัวลดลง 
 

3. แนวคิดที่จะทำ RICE POOL ได้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี 2547 ในสมัย ดร.อดิศัย โพธารามิก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในนามพรรคไทยรักไทย ด้วยความปรารถนาดีที่จะทำให้เกิดการรวมตัวของประเทศผู้ส่งออกข้าวเพื่อไม่ให้เกิดการแข่งขันตัดราคา จึงได้จัดให้มีการประชุมที่กรุงเทพฯ โดยมีรัฐมนตรีจากอินเดีย พม่า เขมรและเวียดนาม มาร่วมหารือ เมื่อรัฐมนตรีอินเดียกลับไปก็แถลงข่าวกับรอยเตอร์ว่า อินเดียจะไม่มีส่วนร่วมกระบวนการในลักษณะที่เป็น CARTEL คือ จับมือกันกำหนดราคาข้าวโลก  ซึ่งอาจจะขัดต่อหลักการของสหประชาชาติ ผลก็เลยจบแบบไม่มีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรม หลังจากนั้นทุกปี หลายรัฐมนตรีให้ข่าวว่าไปเจรจากับเวียดนามเพื่อจับมือการขายข้าวระหว่าง 2 ประเทศ    แต่ทุกครั้งก็ได้คำตอบกลับมาให้คนไทยได้ยินเพียงภาษาทางการทูต โดยไม่มีผลของการปฏิบัติเกิดขึ้น  ข้อสังเกตก็คือ แม้ว่าเป็นความคิดที่ดีแต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นเป็นจริงนั้นแทบเป็นไปไม่ได้ เพราะไปขัดแย้งกับกลยุทธ์การค้าข้าวของเวียดนาม ที่จะตั้งราคาข้าวต่ำกว่าไทยตลอดมา การที่ไทยขายข้าวราคาสูงขึ้นก็ทำให้เวียดนามขายได้ราคาสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว เปรียบได้กับไทยกางร่มให้เวียดนาม  ฝนตกก็ไม่เปียก แดดออกก็ไม่ร้อน  และภายในเวลา 5 ปี  เวียดนามก็ได้แย่งตลาดข้าวในฟิลิปปินส์  อินโดนีเซีย  และอีกหลายตลาดไปจากไทย
 

ข้อสังเกตนี้ที่เป็นการบอกคนไทยด้วยกันให้เข้าใจว่า การค้าก็คือ สงครามแต่เป็นสงครามที่ไม่ต้องใช้ปืนเป็นอาวุธ การจะไป ตื๊อเวียดนามจนเป็นข่าวประจำปี  เขาจะหัวเราะเอาได้ว่าไทยเราจนตรอกหาตลาดไม่ได้ ต้องมาขอเวียดนามให้เกิดการฮั้วขายข้าว 
 

วาทกรรมกลุ่มที่ 2 การขายข้าวในสต็อกรัฐบาลจะระบายผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ขายแบบ G to G ขายให้กับพ่อค้าทั่วไป เราจะขายให้ได้ ราคาสูงกว่าราคาตลาด  เพราะข้าวไทยดีที่สุด เราจะรอให้ประเทศอื่น เช่น เวียดนาม อินเดีย ขายข้าวให้หมดก่อนไทย  จึงขายทีหลังจะได้เรียกราคาให้สูงขึ้นได้  และการขายแบบลับๆ ไม่เปิดเผยจะทำให้ผู้ซื้อต่างประเทศไม่รู้ว่าเรามีข้าวเท่าไร  ขายไปจำนวนเท่าไรและในราคาใด  เพื่อผู้ซื้อจะได้ไม่กดราคาข้าวไทยให้ต่ำลง
 

ความจริงก็คือ คนไทยทุกคนต้องการให้ข้าวไทยขายได้ราคาสูง เท่าที่จะทำได้ แต่ต้องมีการซื้อขายจริงไม่ใช่เพียงการตั้งราคาตามที่อยากได้
 

1. ในอดีตตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) ได้ถูกใช้เป็นช่องทางระบายข้าวในสต็อกของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะโดยหลักการของตลาด  การประมูลจะเปิดเผยโปร่งใส กฎกติกาเป็นธรรมทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่สำคัญไม่ต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะให้นักการเมือง แต่ที่ผ่านมาเกือบปี ทั้งๆ ที่รัฐบาลมีข้าวในสต็อกจำนวนมาก แต่ก็ไม่ได้นำมาขายผ่านตลาด AFET เลย  เท่ากับว่าไม่ได้ทำตาม ที่ได้เคยพูดไว้ เราสามารถใช้ประโยชน์จากตลาด AFET เป็นช่องทางระบายข้าวได้เดือนละ 2-300,000 ตัน ปีละ 2-3 ล้านตัน ได้ไม่ยาก
 

2. การขายข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) นั้น  โดยหลักการเป็นช่องทางที่ดี และสามารถระบายข้าวได้ในปริมาณมาก  เป็นประโยชน์ในแง่ของความช่วยเหลือและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  หรือช่องทางซื้อขายสินค้าอื่นๆ  อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย  แต่ต้องยอมรับความจริงว่าการซื้อขาย G to G  ฝ่ายผู้ขายแทบไม่มีโอกาสเรียกร้องราคาให้สูงกว่าราคาตลาดได้เลย  ตรงกันข้ามฝ่ายผู้ซื้อจะได้ประโยชน์ในเรื่องราคา  เพราะถ้าต้องซื้อในราคาตลาดแล้ว  เขาก็สามารถจะเลือกซื้อจากแหล่งอื่นใดก็ได้ ประชาชนมักได้ยินวาทกรรมบ่อยๆ ว่า  รัฐบาลได้ทำ MOU กับประเทศนั้น  1 ล้านตัน  ประเทศนี้ 2 ล้านตัน  นั่นเป็นเพียงการลงนามในบันทึกความเข้าใจในเบื้องต้นว่า  จะให้มีการซื้อขายข้าวเท่านั้น  ไม่มีความผูกพันว่าจะซื้อขายกันจริงตามจำนวนใน MOU จนกว่าจะมีสัญญาซื้อขายจริงที่กำหนดจำนวนราคา  วันส่งมอบและวิธีการชำระเงิน  จึงนับได้ว่าเป็นตัวเลขส่งออกที่แท้จริง
 

3. การคอยให้เวียดนามหรืออินเดียขายข้าวให้หมดก่อนแล้วไทยขายทีหลัง จะได้เรียกราคาสูงได้ แนวคิดนี้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงทางการค้าข้าว กล่าวคือ เนื่องจากเวียดนามมีข้อจำกัดในเรื่องโกดังเก็บข้าว  นโยบายเวียดนามจึงต้องมีสัญญาขายล่วงหน้าประมาณ 2 ล้านตันก่อนฤดูเก็บเกี่ยว  จากนั้นจะทยอยขายข้าวอย่างต่อเนื่องไปตลอดทั้งปี  เพราะทางตอนใต้เขตลุ่มน้ำโขง (Mekong Delta) สามารถทำนาได้ปีละ 3 ครั้ง ส่วนอินเดีย 2 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตอุดมสมบูรณ์  มีปริมาณข้าวในสต็อกกว่า 30 ล้านตันพร้อมจะขายในตลาดได้ตลอดเวลาเมื่อมีผู้ซื้อ จึงเป็นการยากที่ไทยจะมีจังหวะและโอกาสอย่างที่คาดหวัง ดังนั้นการขายข้าวอย่างต่อเนื่องจึงเป็นกลยุทธ์การระบายข้าวที่ดีที่สุด
 

4. การขายข้าวแบบไม่เปิดเผยเป็นความลับ อ้างว่าผู้ซื้อต่างประเทศจะได้ไม่รู้ข้อมูล  มิฉะนั้นจะกดราคาข้าวไทยได้  ซึ่งฟังดูดี แต่ความเป็นจริงก็คือ  ข้อมูลข้าวในสต็อกรัฐบาลมีอยู่ที่ไหน จำนวนเท่าไร และรัฐบาลได้ขายให้ใครไปแล้ว จำนวนเท่าไร ราคาเท่าไร เหล่านี้เป็นข้อมูลปกติทางการค้า ที่คนในวงการค้าข้าวรู้กันทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ซื้อข้าวระหว่างประเทศที่ซื้อข้าวไทยในแต่ละปีจำนวนหลายพันล้านบาท ย่อมต้องขวนขวายหาข้อมูลมาโดยง่าย จะมีก็เพียงแต่ประชาชนคนไทยเท่านั้นที่ไม่รู้และตามไม่ทัน และวิธีขายข้าวแบบลับๆ นี้  มิใช่หรือที่ ส.ส. พรรคเพื่อไทย  ร้องเรียนไปยัง ป.ป.ช. ให้สอบสวนรัฐบาลชุดที่แล้วว่า การขายข้าวที่เป็นทรัพย์สินของทางราชการ มีมูลค่าเป็นแสนล้านบาท จะทำลับๆ ได้หรือ พฤติกรรมนี้ไม่โปร่งใสและส่อไปในทางทุจริต ซึ่ง ป.ป.ช. กำลังดำเนินการสอบสวนอยู่ในขณะนี้
 

วาทกรรมสุดท้าย โครงการจำนำข้าวไม่ได้ขาดทุนมากอย่างที่นักวิชาการพูด แต่ก็เป็นการขาดทุนเพื่อช่วยให้ชาวนามีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
 

ความจริงก็คือ ประชาชนทุกคนต้องการช่วยชาวนา แต่ก็ข้องใจว่า โครงการจำนำข้าวลักษณะนี้เป็นการที่รัฐบาลนำเงินภาษีของประชาชนไปแจกชาวนาให้มีเงินมากขึ้นชั่วคราว โดยมิได้คำนึงถึงผลเสียที่เกิดขึ้นแก่ประเทศชาติในหลายด้าน และข้องใจต่อไปว่ามีส่วนใดที่นำไปใช้ในการพัฒนาชาวนาให้มีความสามารถในการผลิตสูงขึ้น มีความรู้ทันคนและรู้ทันตลาด มุ่งให้ชาวนาเข้มแข็ง สามารถช่วยเหลือตนเองได้ไม่ต้องรอคอยการอุปถัมภ์อย่างไม่มีวันสิ้นสุด แนวทางพัฒนาเช่นนี้จึงจะเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตของชาวนาให้ดีขึ้นอย่างแท้จริง   
 

กล่าวโดยสรุป การที่นักการเมืองหรือข้าราชการใช้วาทกรรมในเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หรือเรื่องที่มีความจริงไม่ครบถ้วน ก็เหมือนกับการดูถูกประชาชนว่า ถูกหลอกง่าย เรื่องอย่างนี้ประชาชนคนไทยรับไม่ได้ ต่อไปอนาคตข้าวไทยจะไปในทิศทางไหนและเราจะออกจากกับดักที่สร้างขึ้นเองนี้อย่างไร บทความหน้าตอนสุดท้ายจะมีคำตอบ

 Tags : ปราโมทย์ วานิชานนท์ • ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช • ปัญหาข้าว
บันทึกการเข้า

คนดีไม่มีคำว่าเป็นกลาง เพราะคนดีแยกแยะความผิด ความชั่ว และความดีออกจากกันได้
เมื่อเราเป็นคนดี และเราเห็นอยู่แล้วว่าอะไรดี อะไรชั่ว  แล้วเราจะยืนอยู่เป็นกลางได้อย่างไร
การเป็นกลางในสภาวะที่แข่งกันระหว่างความดีและความชั่ว เรียกว่าความกลัวแห่งคนขี้ขลาด
หยุดกลัว หยุดขี้ขลาด

อ.เสรี วงษ์มณฑา 18/11/5
prawin -รักในหลวง-
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 273
ออฟไลน์

กระทู้: 1218



« ตอบ #282 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2012, 01:39:18 PM »

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/reader-opinion/20110628/397570/%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B3---%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-:-%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2--.html

จำนำ - ประกันรายได้ : ทางออกของข้าวและชาวนา ?

ท่ามกลางการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอย่างดุเดือดของพรรคการเมือง แต่ละพรรคต่างก็ชูนโยบายช่วยชาวนาด้วยการแจกและแถมอย่างสุดสุด

เพื่อให้เกิดกระแสประชานิยมอันมีผลต่อคะแนนเสียงที่จะนำไปใช้จัดตั้งรัฐบาล จนผู้มีสิทธิลงคะแนนเคลิบเคลิ้ม ลืมไปว่าเงินทุกบาทที่นักการเมืองนำไปใช้ทำนโยบายนั้น มาจากภาษีของประชาชนทุกคน ไม่ใช่เงินส่วนตัวของนักการเมืองหรือพรรคการเมือง นอกจากนั้น นโยบายที่จะนำมาใช้บริหารราชการแผ่นดินจะต้องสามารถสร้างแต่ผลดีให้เกิดกับบ้านเมืองเท่านั้น
 

โครงการจำนำข้าวเปลือก ได้ถูกนำมาใช้โดยรัฐบาลไทยรักไทย (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเพื่อไทย) เป็นเวลา 6 ปี ตั้งแต่ปี 2546 ส่วนโครงการประกันรายได้ของรัฐบาลประชาธิปัตย์ได้นำมาใช้ตั้งแต่ปี 2552 เป็นเวลาเกือบ 3 ปี ทั้ง 2 โครงการมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงในฐานความคิด แต่ผลของโครงการก็ได้ปรากฏให้เห็นทั้งข้อดี ข้อเสีย ที่มีนัยสำคัญต่อการนำไปทบทวนนโยบายของผู้ที่จะมาเป็นรัฐบาลต่อจากนี้ไป
 

นโยบายประกันรายได้ แม้จะมีจุดเด่นเป็นต้นว่าไม่กระทบต่อกลไกตลาดการค้าข้าวเสรี เป็นหลักประกันให้กับชาวนาว่าทำนาแล้วไม่ขาดทุน มีกำไรร้อยละ 40 ถ้าชาวนาขายข้าวเปลือกได้ไม่ถึงราคาเป้าหมาย รัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายส่วนต่างให้ชาวนา นอกจากนี้โครงการยังช่วยเหลือชาวนาได้จำนวนรายมากกว่าคือ จำนำมีชาวนาได้ประโยชน์ประมาณเจ็ดแสนราย แต่ประกันรายได้ชาวนาได้ประโยชน์โดยตรงเกือบ 2 ล้านราย ปัญหาการทุจริตของการประกันรายได้ก็มี เช่น ชาวนาปลอมเข้าร่วมโครงการ ทำให้จำนวนรายครอบครัวของชาวนาและพื้นที่ทำนาสูงเกินความเป็นจริง ส่วนพ่อค้า โรงสี โกดัง ข้าราชการ หรือนักการเมือง ไม่มีโอกาสเข้าไปร่วมทุจริตได้
 

แต่ประกันรายได้ที่ผ่านมาก็มีจุดด้อย กล่าวคือ ใช้เงินภาษีของประชาชนสูงมากเป็นประวัติการ โดยในปี 2553/2554 คาดว่าต้องใช้เงินถึง 65,000-70,000 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นเพราะมาตรการในการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวทำน้อยไปและไม่ได้ผล รวมทั้งการขายข้าวในโกดังของรัฐบาลอีก 5.6 ล้านตัน อย่างไม่มีประสิทธิภาพไม่โปร่งใสและมีข้อครหา ในประการสำคัญชาวนาที่ปลูกข้าวเหนียวในภาคเหนือและอีสานประมาณ 1 ล้านราย ซึ่งอยู่ในกลุ่มชาวนาที่ยากจนและด้อยโอกาสที่สุด
 

ส่วนนโยบายจำนำข้าวเปลือก โดยหลักการของความหมายจำนำที่ถูกต้อง คือ เป็นการชะลอปริมาณข้าวเปลือกในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว เพราะโดยปกติที่พืชผลเกษตรออกสู่ตลาด ราคามักจะต่ำ จึงเปิดโอกาสให้ชาวนานำข้าวเปลือกมาจำนำกับรัฐบาลและมาไถ่ถอนเมื่อราคาสูงขึ้น ปริมาณที่จำนำก็ทำเพียงร้อยละ 20-30 จากปริมาณผลผลิตที่ออกมาทั้งหมดเท่านั้น วิธีการเช่นนี้หากนำมาใช้อย่างสุจริตแล้วก็จะเป็นเครื่องมือของรัฐที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพของราคาข้าวและช่วยชาวนาได้ด้วย
 

แต่ที่ผ่านมาเราพบว่ารัฐบาลได้ใช้โครงการจำนำข้าวเปลือกอย่างบิดเบือนไปจนกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อหาเสียงกับชาวนา โดยเพิ่มราคาจำนำที่สูงกว่าราคาตลาดมาก จนเป็นการบิดเบือนกลไกตลาดข้าวของประเทศ และถ้าราคาจำนำยิ่งสูงมากเท่าไรก็จะยิ่งทำลายกลไกตลาดมากขึ้นเท่านั้น เราพบต่อไปว่าการปลูกข้าวของชาวนาในโครงการจำนำคิดถึงแต่ปริมาณรอบการปลูกข้าวให้มากครั้งที่สุด โดยไม่สนใจคุณภาพของข้าวเปลือก ทำให้ภาพรวมของคุณภาพข้าวลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนการใช้เงินในโครงการจำนำเมื่อเปรียบเทียบในเชิงปริมาณแล้วก็ไม่ได้มีความแตกต่างจากโครงการประกันรายได้อย่างมีนัยสำคัญแต่ประมาณใด ที่เลวร้ายที่สุด ก็คือ โครงการจำนำก่อให้เกิดข้อหาการทุจริตคอร์รัปชันของตัวละครครบทุกตัวที่อยู่ในวงจรจำนำ โดยมีตั้งแต่ชาวนา พ่อค้า ข้าวเปลือก โรงสี โกดัง เซอร์เวเยอร์ ผู้ส่งออก ข้าราชการและนักการเมือง ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ทำลายจริยธรรมของสังคมการเมืองของประเทศไทย
 

ล่าสุด นโยบายจำนำได้ถูกขยายความให้ชัดขึ้นว่าจะจำนำข้าวเจ้าในราคาตันละ 15,000 บาท ข้าวหอมมะลิตันละ 20,000 บาท และจะจำนำข้าวเปลือกทุกเม็ด ถ้าเป็นเช่นนี้ เมื่อคำนวณเปรียบเทียบกับราคาข้าว ณ ปัจจุบัน เช่น ราคาข้าวเปลือกเจ้าตันละ 8,500 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาตลาดที่ไม่สูงและไม่ต่ำเกินไป ดังนั้น ราคาจำนำ 15,000 บาท จะมีความแตกต่างระหว่างราคาจำนำกับราคาตลาดถึงตันละ 6,500 บาท คิดเป็นร้อยละ 76 เช่นนี้เราจะเรียกว่าจำนำไม่ได้ ต้องเรียกว่ารัฐบาลซื้อขาดจากชาวนา จึงประเมินได้ว่าต้องใช้เงินทั้งหมดประมาณ 527,000 ล้านบาท โดยจะมีผลขาดทุนทันที 188,300 ล้านบาท ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะกลายเป็นว่ารัฐบาลเป็นผู้ซื้อข้าวเปลือกแต่ผู้เดียว แล้วจ้างโรงสีข้าวแปรสภาพเป็นข้าวสารส่งเข้าโกดัง สุดท้ายรัฐบาลก็จะขายข้าวในโกดังในราคาถูกให้กับผู้ส่งออกอีกทีหนึ่ง ผลก็คือการขาดทุนอย่างมโหฬาร ดังที่ได้กล่าวมาจึงอุปมาอุปไมยเสมือนยกก้อนหินทุ่มใส่ขาตัวเอง สุดท้ายกลไกตลาดที่เชื่อกันทั่วโลกว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในระบบเศรษฐกิจ เพราะสามารถสร้างความเจริญและการพัฒนาได้ตลอดเวลา ก็จะถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง โดยน้ำมือของรัฐบาลเอง
 

ตามความเป็นจริง หลักคิดในเรื่องของการจำนำและประกันรายได้นั้นเป็นวิธีการสากลที่หลายประเทศทั่วโลกได้นำมาใช้เป็นมาตรการแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตร ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าโครงการจำนำและประกันรายได้ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของพรรคเพื่อไทยหรือพรรคประชาธิปัตย์ จึงชอบที่ใครเมื่อมาเป็นรัฐบาลจะได้นำวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้องมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชาวนาและข้าวของประเทศ เช่นใช้หลักการจำนำในราคาที่ไม่สูงกว่าราคาตลาดและไม่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต (ราคา Floor price) เพื่อเป็นมาตรการในการรักษาเสถียรภาพของราคาข้าว และใช้ร่วมกับโครงการประกันรายได้ที่กำหนดให้ชาวนามีผลกำไรที่เหมาะสมและแน่นอน เช่นนี้จึงจะเป็นแรงจูงใจให้ชาวนามีความหวังและมองเห็นอนาคตที่มั่นคงได้
 

จุดอ่อนของชาวไทยที่สำคัญ คือ ตลอดเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา ทุกรัฐบาลได้หมกมุ่นและวนเวียนอยู่แต่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องราคาข้าวเปลือกของชาวนาเท่านั้น ไม่ว่าจะเรียกชื่อโครงการว่าอะไรก็ตาม ทุกรัฐบาลได้ละเลยในมิติของ การพัฒนาข้าวและชาวนา เราจึงพบว่าผลิตภาพการผลิต (Productivity) ของข้าวไทย ในภาคการผลิตต้นน้ำ (ชาวนาปลูกข้าว) นั้น ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งและต่ำลงทุกขณะ รัฐบาลก็ต้องช่วยเหลือชาวนาด้วยงบประมาณที่สูงขึ้นๆ ทุกปี เพราะโดยนัยของผลิตภาพของการผลิตของชาวนา คือการลดต้นทุนการผลิตและการเพิ่มผลผลิตกับเพิ่มคุณภาพข้าวเปลือกหรือที่เรียกว่าโครงการ 1 ลด 2 เพิ่ม ผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาก็จะทำให้ชาวนาเข้มแข็งมีความสามารถในการผลิตสูงขึ้น เราก็สามารถลดรายจ่ายของงบประมาณที่ใช้ในการแทรกแซงลงได้
 

ทางออกของข้าวและชาวนาในอนาคต จึงต้องเดินคู่ขนานกันไประหว่างมิติรายได้ของชาวนากับมิติการพัฒนาการผลิตของชาวนาอย่างเป็นระบบภายใต้ยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติที่สามารถมองไปสู่อนาคตว่าอีก 5 - 20 ปี ว่าข้าวไทยและชาวนาไทยจะพัฒนาไปในทิศทางใดและอย่างไร ดังนั้น จึงเป็นภารกิจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือร่วมใจให้เป็นเอกภาพ  มุ่งมั่นทำหน้าที่ให้เต็มศักยภาพ เพื่อให้ชีวิตของชาวนาดีขึ้นและข้าวไทยประสบความสำเร็จในตลาดโลก

Tags : ปราโมทย์ วานิชานนท์
บันทึกการเข้า

คนดีไม่มีคำว่าเป็นกลาง เพราะคนดีแยกแยะความผิด ความชั่ว และความดีออกจากกันได้
เมื่อเราเป็นคนดี และเราเห็นอยู่แล้วว่าอะไรดี อะไรชั่ว  แล้วเราจะยืนอยู่เป็นกลางได้อย่างไร
การเป็นกลางในสภาวะที่แข่งกันระหว่างความดีและความชั่ว เรียกว่าความกลัวแห่งคนขี้ขลาด
หยุดกลัว หยุดขี้ขลาด

อ.เสรี วงษ์มณฑา 18/11/5
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7670
ออฟไลน์

กระทู้: 10061



« ตอบ #283 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2012, 02:12:43 PM »

เดิมๆชาวนาก็คือผู้ทีมีนาและปลูกข้าว เดี๋ยวนี้ก็มีชาวนาที่ไปเช่าที่เขาปลูกข้าว กลุ่มหลังนี่แหละมีปัญหาเรื่องเศรษกิจมากที่สุด เมื่อก่อนเราไม่ได้ส่งข้าวออก ที่ส่งออกเป็นพวกอ้อยน้ำตาล มันน่าจะผิดพลาดตั้งแต่การขยายการปลูกข้าวเพื่อส่งออกแทนที่จะบริโภคในประเทศอย่างเดียวแล้ว ส่งออกเป็นแสนล้านรัฐก็ต้องลงทุนระบบชลประทานเป็นแสนล้านเหมือนกันนะ ส่งออกเป็นแชมป์แต่คนปลูกข้าวลำบากนี่มันแปลกนะ

บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23203



« ตอบ #284 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2012, 02:33:28 PM »

ไทยเสียแชมป์ส่งออกข้าวแล้วครับ   Grin
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
หน้า: 1 ... 16 17 18 [19] 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.228 วินาที กับ 21 คำสั่ง