เครื่องบินขับไล่ใหม่ กองทัพอากาศไทย

<< < (4085/4459) > >>

พญาจงอาง +รักในหลวง+:
https://www.youtube.com/watch?v=SdWBjhUrw5U&feature=youtu.be
คลิปเครื่องบินขับไล่ F-16AM ทอ.เดนมารค์ ทดสอบยิง AIM-120 AMRAAM โจมตียานโดรน Banshee 600 Maldrone มีพิสัยทำการกว่า 100 กม.ควบคุมด้วยรีโมท ยานรุ่นนี้พัฒนาโดย บริษัท Meggitt Defence Systems จากอังกฤษ ผลทดสอบครั้งเป็นที่น่าพอใจของ ทอ.เดนมาร์ค//AMRAAM ลูกละ Unit cost
• $300,000–$400,000 for 120C variants
• $1,786,000(FY2014) for 120D
 ยิงโดรนได้จากระยะไกลก็ OK ครับ ตามสเต๊ป AMRAAM ยิงก่อน พอเกิดไฟจากการระเบิดก็ได้ความร้อน ที่นี้ก็ปล่อย AIM-9 Sidewinder ตาม เพราะตัวนี้นำวิถีด้วยความร้อน  ;D

เครดิตรูป US Air Force

Yut64:
300,000 กว่าเหรียญนี่ถ้าขึ้นไปฝึกยิงแล้วไม่โดนลงมานักบินถูกสอบแน่

พญาจงอาง +รักในหลวง+:
ต้องเหมือนไต้หวันครับ ทดสอบอาวุธประจำปีเมื่อหลายปีก่อน เหมือนกับทุกๆประเทศที่ซ้อมรบด้วยกระสุนจริง เครื่อง Mirage2000 ยิงจรวดไม่รู้รุ่นไหน ไม่ MICA ก็น่าจะเป็น MAGIC ผลปรากฎว่าไม่โดนเป้าซักลูก เป็นเหตุให้ผู้นำตอนนั้น(น่าจะ ปธน เสิ่น สุย เปี่ยน)โกรธมาก ด่ากองทัพอากาศตัวเองออกสื่อ แค่นั้นยังไม่พอ แกด่าไปถึงบริษัทที่ผลิตจรวดรุ่นนี้ เห็นว่าฝรั่งเศสรีบเอามาเปลี่ยนให้ฟรีๆ(กลัวจะเสียลูกค้า ยิ่งลูกค้าหายาก)แทนลูกที่ยิงแล้วไม่โดนเป้า แต่ข่าวไม่ได้บอกต่อว่าปีต่อมา จรวดที่เอามาเปลี่ยนให้ยิงโดนเป้าไหม แต่น่าจะโดน เพราะไต้หวันเงียบ ไม่ออกมาโวยวายอีก หุหุ  ;D ::005::
รูปประกอบแรกเป็นจรวดรุ่น MICA เป็นจรวดพิสัยกลาง เหมือนรุ่น AMRAAM ของไอ้กัน ยิงจากเครื่อง Rafale

เครื่องจากัวร์ของฝรั่งเศสติดจรวด MAGIC ด้านบนของปีก นึกว่าจะมีเฉพาะจากัวร์ของอังกฤษเท่านั้นที่ติดอาวุธไว้บนปีก ซึ่งเป็นจรวดรุ่น AIM-9 Sidewinder

เครดิตรูปWikipedia ::014::

แปจีหล่อ คนสันขวาน:
มันจะเป็นไปได้เหรอเนี่ย ???หรือว่าจะเป็นเรืออากาศเอกปลอมตัวมา ::005::
https://www.facebook.com/doomovieshd/videos/vb.613853695410768/694076864055117/?type=2&theater

พญาจงอาง +รักในหลวง+:

ตามคาด//แพนตากอนออกมาตอบโต้ทันที่ หลังจากนักบินทดสอบเครื่องบินขับไล่ F-35 เปิดเผยว่าเครื่องรบแบบ Dogfight ไม่ได้ โดย Pentagon ปฏิเสธรายงานดังกล่าว
นักบินทดสอบของเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II JSF(Joint Strike Fighter) ที่ไม่เปิดเผยชื่อได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลผ่านเอกสารจำนวน5หน้าซึ่งถูกถอดชั้นความลับเพื่อใช้ในการอ้างอิงอย่างเป็นทางการว่า
F-35 นั้นเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ไม่สามารถทำการรบทางอากาศแบบพันตูหรือ Dogfight ได้ โดยเครื่องมีข้อด้อยด้านพลังงานที่ไม่สามารถไต่ระดับหรือเลี้ยวในการหัวหัวเข้าหาหรือหลบการยิงปืนใหญ่อากาศของเครื่องบินขับไล่ข้าศึกได้
โดยผลการทดสอบนี้มาจากการเก็บข้อมูลการจำลองการรบทางอากาศบริเวณสนามฝึกกลางทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้ฐานทัพอากาศ Edwards มลรัฐ California วันที่ 14 มกราคม 2015
ระหว่าง F-35A AF-02 ซึ่งเป็นเครื่อง F-35A CTOL เครื่องต้นแบบของกองทัพอากาศสหรัฐฯที่อายุมากที่สุดเครื่องหนึ่ง กับ F-16D Block 40
การทดสอบการจำลองการรบทางอากาศระยะประชิดในหลายสถานการณ์ทั้งรุกและรับมีการเก็บข้อมูลของเครื่องหลายด้าน เช่น มุมปะทะ(AoA: Angles of Attack คือมุมห่างระหว่างหัวเครื่องที่ชี้กับทิศทางที่เครื่องเคลื่อนที่ไปจริงในอากาศ)
นักบินทดสอบ F-35 พบว่าเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้มีความคล่องตัวในการเลี้ยวฉวัดเฉวียนไม่ดีพอที่จะเข้าโจมตีหรือหลบการเข้าโจมตีของ F-16 นักบินทดสอบยังได้รายงานว่าข้อได้เปรียบของ F-35 ตรงที่คุณสมบัติการตรวจจับได้ยาก Stealth ต่อ F-16 ในการรบทางอากาศระยะประชิดนั้นไม่ได้มีความน่าเชื่อถือมากพอเพื่อทำการบินทดสอบจริงแต่อย่างใด
ซึ่ง F-16 ที่มีขนาดเล็กกว่าสามารถหักเลี้ยวเข้าวางตัวในตำแหน่งยิงโจมตี หรือเลี้ยวฉากออกจากแนวยิงโจมตีของ F-35 ที่มีขนาดใหญ่และอุ้ยอ้ายได้ง่ายกว่า ทั้งนี้ F-35 จะบินได้ดีที่สุดเมื่อปราศจากการติดตั้งอาวุธใดๆในห้องติดอาวุธภายในลำตัวหรือใต้ปีก เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ยุคก่อนอย่าง F-16 เมื่อติดอาวุธหรืออุปกรณ์เสริมที่มีน้ำหนักมากใต้ปีกเช่นถังเชื้อเพลิงสำรอง แต่นั้นก็ดูจะเป็นข้อผิดพลาดในการออกแบบทางอากาศพลศาสตร์ของโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ที่ยาวนานกว่าสิบปีและใช้งบประมาณไปแล้วหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตามแนวโน้มของการรบทางอากาศในยุคอนาคตนั้นจะเป็นการรบแบบนอกระยะสายตาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็เป็นที่พิสูจน์มาในปฏิบัติการทางอากาศในหลายสงครามที่ผ่านมาแล้วว่า "เครื่องบินขับไล่ครองอากาศที่มีขนาดใหญ่และมีความคล่องตัวไม่สูงนักอย่าง F-15E จะเป็นฝ่ายมีชัยในการรบทางอากาศในการทำลายภัยคุกคามทางอากาศจากระยะไกล Radar และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาสสู่อากาศสมรรถนะสูง โดยคุณสมบัติของเครื่องบินไล่ยุคที่ที่5 อย่าง F-35 ซึ่งตรวจจับได้ยากและติดตั่งระบบตรวจจับขั้นสูงหลายระบบจะเป็นการเพิ่มความได้เปรียบมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามสำหรับการรบทางอากาศระยะประชิดแล้ว F-35 ยังมีจุดอ่อนมาก ซึ่งก็เป็นที่น่ากังวลสำหรับประเทศที่ร่วมโครงการ JSF ที่จะนำ F-35 มาทดแทนเครื่องบินขับไล่เก่าในกองทัพอากาศของตน"
หลังจากที่บทความนี้ได้ออกมาเผยแพร่ทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯหรือ Pentagon ได้ออกมาปฏิเสธรายงานของนักบินทดลองเครื่องรายนี้ โดยโฆษกของสำนักงานโครงการร่วม F-35(F-35 Joint Program Office) ได้กล่าวว่า "F-35A AF-2 นั้นเป็นเครื่องต้นแบบสำหรับทดสอบสมรรถนะทางการบิน ซึ่งระบบ Software และอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเครื่องหมายเลขนี้นั้นยังมีการพัฒนาไม่เสร็จสมบูรณ์ดี เช่น หมวกนักบินที่นักบินทดสอบใช้ก็ไม่ได้เป็นหมวกนักบินติดศูนย์เล็ง(HMDS:Helmet Mounted Display System)ที่จะใช้จริงซึ่งทำงานรวมกับระบบตรวจับของเครื่องอย่าง EOTS(Electro-Optical Targeting System)ในการเล็งอาวุธด้วย"
ทั้งนี้ทาง Pentagon เองได้กล่าวว่าผลการทดสอบการจำลองบินการต่อสู้ระยะประชิดในครั้งนั้นเป็นการทดสอบตามขั้นตอนซึ่งประสบความสำเร็จดี และสามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้พัฒนาเครื่องในสายการผลิตจำนวนมากที่จะนำเข้าประจำการจริง
โดย F-35A รุ่นที่จะเข้าประจำการจริงนั้นจะมีความสมบูรณ์พร้อมในการปฏิบัติรบทางอากาศทั้งระยะนอกสายตาและระยะประชิด รวมถึงใช้โจมตีภาคพื้นดินที่สูงกว่า F-16 อย่างมาก ซึ่งทางโฆษกได้กล่าวว่าถ้าเป็นสถานการณ์การรบจริง F-35 จะเป็นฝ่ายมีชัยจาก Technology ที่เหนือกว่า โดยเฉพาะการรบนอกระยะสายตาที่จะเกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ของการรบทางอากาศในปัจจุบันและอนาคตมากกว่าการรบระยะประชิด
อ้างอิง Pentagon Defends F-35 After Report Says it Can't Dogfight
http://www.military.com/daily-news/2015/07/01/pentagon-defends-f35-after-report-says-it-cant-dogfight.html

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว