๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
พฤษภาคม 03, 2024, 02:58:11 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 58 จำเลยคดีตากใบกับ“ความจริง”ที่ต้องพิสูจน์  (อ่าน 3224 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2005, 01:01:08 AM »

   เรื่องโดย ........ รอมฎอน ปันจอร์ / ทีมข่าวพิเศษ
       
       การเกลี้ยกล่อมผู้ต้องหาคดีตากใบให้รับสารภาพเพื่อแลกกับโทษรอลงอาญาโดยผู้ว่าฯ นราธิวาส มีอันเป็นหมันเมื่อผู้ต้องหาทั้ง 58 คน ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาในวันที่ศาลจังหวัดนราธิวาส อ่านคำฟ้องที่อัยการยื่นฟ้อง กลุ่มผู้ต้องหาทั้งหมดยืนกรานขอต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์และพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่แกนนำชุมชนในอำเภอตากใบหนุนเตรียมจัดงานเลี้ยงน้ำชาระดมทุนสู้คดี
       
       .................................
       
       เหตุการณ์สลายการชุมนุมหน้า สภ.อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อเดือนต.ค. ปีที่ผ่านมา ที่นำไปสู่การจับกุมคุมขังและดำเนินคดีผู้ต้องหา จำนวน 58 คน ได้ดำเนินมาถึงขั้นตอนที่ศาลจังหวัดนราธิวาสนัดพร้อมจำเลยและอ่านข้อกล่าวหาที่ทางอัยการยื่นฟ้อง เมื่อ 21 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยระบุข้อหา คือ
       
       “ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญจะใช้กำลังประทุษร้าย ให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิกเสีย แต่ผู้ที่มั่วสุมไม่เลิก ร่วมกันข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย และร่วมกันต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่ขวัญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย โดยร่วมกันกรนะทำความผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และร่วมกันทำให้เสียงทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์”
       
       ทั้งนี้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 83, 91, 138, 139, 140, 215, 216,358, 360 คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ต.ค. 2519 ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พ.ย. 2514 และฉบับที่ 303 ลงวันที่ 13 ธ.ค. 2515 และสุดท้ายตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457
       ในวันดังกล่าว จำเลยทั้ง 58 คน ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาและยืนยันจะสู้คดีต่อไป ในขณะที่ศาลได้เลื่อนนัดพร้อมออกไปเป็นวันที่ 11 เม.ย. 2548 เนื่องจากอัยการโจทก์ไม่ได้ส่งบัญชีพยานต่อศาล
       
       ในวันเดียวกันนั้น ระหว่างการสัมมนา “โครงการปฏิสัมพันธ์กับสื่อมวลชน” ของกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) ที่โรงแรมตันหยง จ.นราธิวาส นายประชา เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า ตนได้เรียกจำเลยทั้ง 58 ราย มาเจรจาที่ศาลากลางจังหวัดให้ทำสัญญาลงชื่อเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อสัญญาว่าจะกลับตัวเป็นคนดี ร่วมกันพัฒนาหมู่บ้าน พร้อมกันนี้ตนจะเจรจากับอัยการให้เขียนสำนวนยื่นฟ้องระบุโทษรอลงอาญาไว้
       
       นายประชา ให้เหตุผลว่า หากจะต้องพิจารณาคดีดังกล่าวตามกระบวนการ การไต่สวนของศาลจะทำให้ผู้ต้องหาส่วนใหญ่ที่เป็นวัยรุ่นจะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากกระบวนการของศาลจะใช้ระยะเวลานานในการไต่สวนพยานทั้งฝ่ายโจทย์และ รวมทั้งจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดด้วย
       
       ข้อเท็จจริงในส่วนนี้ได้รับการขยายความจาก “นายแม” หนึ่งในจำเลยผ่านการรายงานข่าวในเวลาต่อมาว่า เมื่อวันที่ 3 ก.พ. ที่ผ่านมา ผู้ใหญ่บ้านได้มาตามให้ไปประชุมที่ศาลากลางจังหวัดกับผู้ว่าฯ ซึ่งใช้เวลานานประมาณ 2 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ผู้ว่าฯต้องการให้ร่วมมือกันพลิกฟื้นนราธิวาสกลับคืนมา และมีการเปิด-ปิดไมค์เป็นช่วงๆ คือเรื่องไหนที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนก็จะปิดไมค์ เช่น ตอนที่ผู้ว่าฯขอให้พวกตนรับสารภาพ โดยบอกว่า จะเสนอให้ศาลรอลงอาญา 2 ปี
       
       นอกจากนี้ นายโมหะมะ ปูเต๊ะ อายุ 48 ปี กรรมการชุมชนแห่งหนึ่งใน ต.เจะเห อ.ตากใบ พ่อตาของจำเลยอีกราย ระบุว่า ลูกเขยของตนเป็นหนึ่งในหลายคนที่เข้าไปมุงดูในเหตุการณ์ที่หน้า สภ.อ. ตากใบ และไม่มีเจตนาที่จะไปชุมนุมหรือกระทำการใดๆ ทั้งสิ้น แต่ต้องถูกจับกุมตัวไปด้วยเนื่องจากเจ้าหน้าที่ล้อมกวาดจับหมด โชคดีที่ไม่ได้รับบาดเจ็บมากจากการขนย้าย
       
       ส่วนกรณีที่ลูกเขยของนายโมหะมะ ตกเป็นจำเลยนั้น เขา เชื่อว่ามาจากลงชื่อระหว่างถูกควบคุมตัวที่ค่ายอิงคยุทธ จ.ปัตตานี พร้อมกับคนอื่นๆ ที่มาจาก อ.ตากใบ จำนวน 58 คน มีจากหมู่บ้านเดียวกัน 13 คน เพื่อยืนยันสิทธิที่เจ้าหน้าที่อ้างว่าจะได้รับการปล่อยตัวกลับบ้าน แต่ในท้ายที่สุด ก็ไม่ได้รับการปล่อยตัวและกลายเป็นว่า ต้องตกเป็นจำเลย ขณะที่คนอื่นๆ ที่ไม่ได้ลงชื่อได้รับการปล่อยตัว ตนและชาวบ้านต้องนำต้องรวบรวมหลักทรัพย์ที่ดินมาประกันตัวตกคนละ 250,000 บาทต่อคน
       
       ส่วนการเจรจากับผู้ว่าฯ นราธิวาส ลูกเขยของตน เล่าให้ฟังว่า ผู้ว่าฯ มีท่าทีต้องการให้คดีความจบโดยเร็วที่สุด โดยจำเลยจะต้องเสียค่าปรับที่เกิดจากความเสียหายของทรัพย์สินสาธารณะรวมกันราว 187,000 บาท เฉลี่ยตกคนละสามพันกว่าบาท และได้รับโทษเพียงรอลงอาญา เรื่องราวถือเป็นอันยุติ ทั้งนี้ผู้ว่าฯ ไม่ได้ระบุข้อหาตามที่อัยการจะยื่นฟ้องอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในตอนท้ายของการประชุมในวันนั้นผู้ว่าฯ ก็ให้จำเลยที่เข้าร่วมประชุมเซ็นชื่อในเอกสาร
       
       ทั้งนี้”ผู้จัดการรายวัน”พยายามติดต่อเพื่อสัมภาษณ์จำเลยคนดังกล่าว แต่ได้รับการปฏิเสธเนื่องจากเป็นห่วงต่อความมั่นคงปลอดภัยของตน โดยระบุให้นายโมหะมะ เป็นคนให้ข้อมูลแทน
       
       ทนายความในพื้นที่ซึ่งเป็น 1 ใน 34 ทนายของคณะทำงานที่แก้ต่างให้กับจำเลย 58 ราย ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมา พนักงานอัยการโจทก์ได้แถลงต่อศาลโดยแจ้งว่าได้รับแจ้งจาก ผู้ว่าฯ นราธิวาสว่า จำเลยทั้งหมดรับสารภาพ พร้อมทั้งส่งเอกสารดังกล่าวให้ศาล ซึ่งศาลได้อ่านคำฟ้องโดยละเอียดให้ทั้ง 58 คนฟัง และจำเลยทั้งหมดได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด ศาลจึงส่งมอบเอกสารดังกล่าวคืนเจ้าพนักงานอัยการ ซึ่งคณะทำงานฯ จะหารือกันต่อไปว่าจะยื่นหนังสือกับอัยการเพื่อขอเอกสารชิ้นดังกล่าว
       
       แหล่งข่าวรายเดิมยังให้ความเห็นว่า ท่าทีของฝ่ายบริหารต้องการยุติการสืบพยานและหลักฐานในคดีนี้ให้เร็วที่สุด โดยให้ฝ่ายจำเลยรับสารภาพเพื่อแลกกับโทษรอลงอาญา สะท้อนว่าแนวโน้มของคดีนี้จะคล้ายคลึงกับคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมา คือจะมีการสืบพยานหลักฐานที่ใช้เวลานาน รวมทั้งอาจมีการย้ายศาลพิจารณาคดีไปกรุงเทพฯ หรือศาลสงขลา โดยอ้างความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลให้เสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก
       
       ด้านแหล่งข่าวคณะทำงานจากสภาทนายความแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า ท่าทีดังกล่าวของผู้ว่าฯนราธิวาส ถือเป็นสิทธิที่จะแนะนำจำเลยแต่ต้องอยู่บนพื้นฐานการให้ข้อเท็จจริงแก่จำเลยอย่างละเอียด ถึงคำฟ้องและอัตราโทษที่กำหนดไว้ในแต่ละข้อกล่าวหาซึ่งมีต่างกรรมต่างวาระ การเซ็นชื่อรับสารภาพดังกล่าวได้ระบุหรือไม่ว่าจะเป็นการตัดสิทธิหรือยืนยันสิทธิใดๆ แก่จำเลย เพราะจะมีผลต่อการตัดสินใจของจำเลย หากพวกเขาเชื่อตามคำแนะนำ พวกเขาควรได้รู้ด้วยว่าจะมีผลอย่างไรกับอนาคต
       
       แหล่งข่าวรายเดิม ชี้ว่า การพิจารณาคดีของ 58 จำเลยมีความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อเท็จจริงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหน้า สภ.อ.ตากใบ เพราะจะเป็นการค้นหาความจริงผ่านการสืบพยานและหลักฐาน ซึ่งจะส่งผลต่อความชอบธรรมในการชุมนุมของคนเป็นพัน ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ อันป็นกฎหมายหลักเหนือกฎหมายกฎอัยการศึก ที่สำคัญคือผลการตัดสินของศาลจะส่งผลต่อการพิจารณาการเสียชีวิตของผู้อยู่ในเหตุการณ์ 78 รายจากการขนย้าย หากจำเลยทั้ง 58 รายรับสารภาพจะถือว่ามีส่วนให้เกิดการเสียชีวิตของบุคคลดังกล่าวด้วย
       
       แหล่งข่าวทนายความคนเดิม ตั้งข้อสังเกตอีกว่า ท้ายที่สุดการตั้งข้อหาก็สะท้อนข้อเท็จจริงบางประการ เนื่องจากข้อหาที่ศาลอ่านให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมานั้น ไม่ได้ระบุถึงข้อหาร้ายแรงถึงขั้นเป็นกบฎ อั้งยี่ และ ครอบครองอาวุธสงครามผิดกฎหมายที่อ้างว่าตรวจสอบพบในที่เกิดเหตุและงมพบในแม่น้ำตากใบ ตามที่ระบุอยู่ในคำร้องฝากขังครั้งที่ 1 ลงวันที่ 2 พ.ย.2547 ว่าพบหลักฐาน 16 รายการ เช่น ปืนเล็กยาว เอ็ม 16 จำนวน 4 กระบอก พร้อมซองกระสุนแบบยาว 4 ซอง แบบสั้น 6 ซอง และกระสุน 26 นัด ปืนเล็กยาว เอเค 47 จำนวน 3 กระบอก พร้อมซองกระสุนแบบยาว 7 ซอง แบบสั้น 2 ซอง และกระสุน 109 นัด ลูกระเบิดแบบ เอ็ม 26 จำนวน 3 ลูก แบบ เอ็ม 67 3 ลูก เป็นต้น
       
       นายสมชาย หอมละออ ประธานคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สภาทนายความแห่งประเทศ ให้ความเห็นถึงท่าทีดังกล่าวของผู้ว่าฯนราธิวาส ว่าเป็นการกระทำที่ไม่โปร่งใส เพราะไม่อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย แต่ถ้าต้องการช่วยผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหา น่าจะใช้วิธีการขอให้อัยการถอนฟ้องมากกว่า
       
       ……………
       
       นายโมหะมะ ปูเต๊ะ ยืนยันกับ ”ผู้จัดการรายวัน”ว่า การยืนยันให้การปฏิเสธของลูกเขยตนและจำเลยคนอื่นๆ ในวันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมานั้น เป็นการยืนยันว่าเขาเหล่านั้นเป็นผู้บริสุทธิและประสงค์จะสู้คดีต่อไป และที่สำคัญเป็นสิ่งที่ชาวบ้านในอำเภอตากใบเห็นด้วยและพร้อมให้การสนับสนุน
       
       “หากเรายอมรับสารภาพ ก็เท่ากับว่าเรายอมรับผิด เราจะยอมรับผิดได้อย่างไรในเมื่อเราไม่ได้เป็นอย่างที่เขากล่าวหา”
       
       ส่วนจังหวะก้าวในการต่อสู้คดีนั้น นายมะนอ ดอเลาะ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาใหม่ อ.ตากใบ เปิดเผยว่า จะทำการเร่งหารือกับแกนนำชุมชนต่างๆ เพื่อระดมทุนใช้ในการต่อสู้คดี ในเบื้องต้นคาดว่าจะมีการจัดงานเลี้ยงน้ำชาและรับบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการต่อสู้ในคดีดังกล่าว

บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.138 วินาที กับ 22 คำสั่ง