๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
พฤษภาคม 14, 2024, 12:58:04 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 3 4 5 [6]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไทยมีก๊าชธรรมชาติอันดับ 24ของโลก ... จริงหรือ ???  (อ่าน 13783 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
prawin -รักในหลวง-
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 273
ออฟไลน์

กระทู้: 1218



« ตอบ #75 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2012, 11:33:00 AM »

แต่ละฝั่ง เสนอเฉพาะข้อมูลที่อยากให้ประชาชนรู้

เพื่อ.......

พูดไปเรื่อย... ไม่อ่านให้ดีก่อนวิจารณ์นะครับ(ยายบ๊าบประกาศตัวเองว่าแกเสื้อแดงเสียด้วยซ้ำ)...

ลองดูข้อสรุปของ วปอ. ตามที่ยายบ๊าบเอามาให้อ่าน จะเห็นว่าเงินที่สมควรได้จากน้ำมันดิบนั้นเกินงบประมาณของรัฐบาลทุกปีรวมกัน แล้วแถมยังปลดหนี้ตูมเดียวหมด... มิหนำซ้ำยังเหลือพอจัดการกับนโยบายรัฐสวัสดิการได้อีกด้วย...

ดังนั้นตอบตามตัวแดงครับว่าเพื่อให้ทั้งประเทศโชติช่วงชัชชวาล... เหมือนในเพลงคาราบาวไง "เอาไหมเอาไหม เอา..."...

บอกตรงๆว่าเบื่อพวกที่บอกว่า"เป็นกลาง"แต่ลืมอ่านเนื้อหาครับ...

พี่สมชายครับ ผมว่ายายแกเป็นแดงเทียมครับ อิอิ   หลงรัก

ยายจะไม่ค่อยบอกเราตรงๆ แต่มักพูดเฉฉัยเพื่อให้เราหาข้อมูลมาแย้ง

ผมว่า มันเป็นการสอนเราอีกวิธีหนึ่งครับ ให้เราหัดค้นคว้าหาข้อมูลเอง ไม่หลงเชื่อใครง่ายๆ

เหมือนล่าสุดเรื่องทุน พ.ก. ผมไปไม่เป็นเลย 5555   ตกใจ   ตกใจ   ยิ้มีเลศนัย
บันทึกการเข้า

คนดีไม่มีคำว่าเป็นกลาง เพราะคนดีแยกแยะความผิด ความชั่ว และความดีออกจากกันได้
เมื่อเราเป็นคนดี และเราเห็นอยู่แล้วว่าอะไรดี อะไรชั่ว  แล้วเราจะยืนอยู่เป็นกลางได้อย่างไร
การเป็นกลางในสภาวะที่แข่งกันระหว่างความดีและความชั่ว เรียกว่าความกลัวแห่งคนขี้ขลาด
หยุดกลัว หยุดขี้ขลาด

อ.เสรี วงษ์มณฑา 18/11/5
prawin -รักในหลวง-
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 273
ออฟไลน์

กระทู้: 1218



« ตอบ #76 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 01:41:01 PM »



Uploaded with ImageShack.us



Uploaded with ImageShack.us
บันทึกการเข้า

คนดีไม่มีคำว่าเป็นกลาง เพราะคนดีแยกแยะความผิด ความชั่ว และความดีออกจากกันได้
เมื่อเราเป็นคนดี และเราเห็นอยู่แล้วว่าอะไรดี อะไรชั่ว  แล้วเราจะยืนอยู่เป็นกลางได้อย่างไร
การเป็นกลางในสภาวะที่แข่งกันระหว่างความดีและความชั่ว เรียกว่าความกลัวแห่งคนขี้ขลาด
หยุดกลัว หยุดขี้ขลาด

อ.เสรี วงษ์มณฑา 18/11/5
prawin -รักในหลวง-
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 273
ออฟไลน์

กระทู้: 1218



« ตอบ #77 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 01:56:00 PM »

ไหนบอกว่า "ให้สัมปทานปิโตรเลียมเพื่อทดแทนการนำเข้า"
โดย ประสาท มีแต้ม เมื่อ 1 สิงหาคม 2012 เวลา 14:18 น.

กระทรวงพลังงานคุยว่า
ให้สัมปทานครั้งที่ 21 เพื่อทดแทนการนำเข้าปิโตรเลียม
แต่ความเป็นจริงคือ หกเดือนแรกของปีนี้ส่งออกไปแล้ว
2.8 หมื่นล้านบาท
มันอะไรกัน
ดูหลักฐาน



Uploaded with ImageShack.us

และส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเป็นอันดับสาม



Uploaded with ImageShack.us

ขอย้อนอดีต เราเคยส่งดีบุกออกเป็นอันดับสามของโลก
หลักฐาน
"จากข้อมูลที่ผมค้นได้พบว่า จากปี 2450-2541 เราได้ส่งดีบุกออกรวมกัน 1.5 ล้านตัน โดยที่ในปี 2523 ส่งออกถึง 34,700 ตันแร่ 
เราอาจจะไม่รู้ว่าดีบุกจำนวนนี้มันมากน้อยขนาดไหน แต่ข้อมูลต่อไปนี้จะตอบคำถามนี้ได้   ปัจจุบันนี้ 2555 ทั่วทั้งโลกมีการใช้ดีบุกเพียงปีละ 3.2 แสนตันเท่านั้น 
ดังนั้นถ้าแหล่งดีบุกของไทยยังอยู่ แร่ดีบุกของไทยสามารถป้อนให้คนทั้งโลกใช้ได้นานถึง 5 ปี  มันยิ่งใหญ่ขนาดไหนประเทศไทยเรา"
วันนี้เราเหลืออะไร
ทำไมเราไม่ทบทวนบทเรียน
ทำไมคนรุ่นปัจจุบันตื่นช้าจัง
ผมเรียกร้องเกินไปหรือเปล่า
ปี 18 ทำไมพลังรักชาติ รักประชาธิปไตย เข้มแข็ง แพร่เร็ว
 
เรา "เหื้อย" กันเกือบหมดแล้ว!

อ.ประสาท มีแต้ม
บันทึกการเข้า

คนดีไม่มีคำว่าเป็นกลาง เพราะคนดีแยกแยะความผิด ความชั่ว และความดีออกจากกันได้
เมื่อเราเป็นคนดี และเราเห็นอยู่แล้วว่าอะไรดี อะไรชั่ว  แล้วเราจะยืนอยู่เป็นกลางได้อย่างไร
การเป็นกลางในสภาวะที่แข่งกันระหว่างความดีและความชั่ว เรียกว่าความกลัวแห่งคนขี้ขลาด
หยุดกลัว หยุดขี้ขลาด

อ.เสรี วงษ์มณฑา 18/11/5
prawin -รักในหลวง-
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 273
ออฟไลน์

กระทู้: 1218



« ตอบ #78 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2012, 10:32:14 AM »

ร่วมแสดงความยินดีกับ ปตท. กันครับ   เยี่ยม

http://thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=134459%3A-2-&catid=165%3A2009-03-19-03-51-23&Itemid=414#.UB83KZimgE4.facebook

ปตท.ทำลายสถิติ ไม่ใช่งานวิ่ง 100 เมตรในกีฬาโอลิมปิก ลอนดอน 2012  แต่เป็นการทำลายสถิติตัวเอง 2 รายการ
รายการแรกก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วที่ นิตยสาร ฟอร์จูน จัดอันดับให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ติดอันดับที่ 95
ในรายชื่อ 500 บริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลกประจำปี 2555 จากสถิติเดิม เมื่อปีที่แล้วอยู่ในอันดับ 128  และทำได้ดีกว่าที่วางแผนไว้เสียอีก
 คือ เดิมตั้งเป้าเอาไว้ว่า จะขึ้นอันดับ 1 ใน 100 ให้ได้ภายในปี 2561 แต่ก็ทำได้สำเร็จดังที่นิตยสาร ฟอร์จูนตีพิมพ์เผยแพร่ออกมา
เรียกว่าทุบสถิติและเร็วกว่ากำหนด 5-6 ปีเลยทีเดียว
 คุณไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ของปตท. บอกว่า  ปตท. เป็นบริษัทไทยเพียงบริษัทเดียวที่ติดอันดับในครั้งนี้
ทั้งนี้ Fortune Global 500 ซึ่งเป็นนิตยสารด้านเศรษฐกิจการเงิน ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ได้พิจารณาข้อมูลผลประกอบการและผลกำไร
รวมถึงสำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์และนักธุรกิจชั้นนำทั่วโลกเพื่อประกอบการจัดอันดับ
 โดยในปี 2554  ที่ผ่านมา ปตท. มีรายได้จากผลประกอบการ รวม 79,690 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 33% และผลกำไร รวม 3,456 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เพิ่มขึ้น 31.9% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ ซึ่งผลประกอบการและอันดับที่ดีขึ้นแสดงถึงศักยภาพของ ปตท. ที่สร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน
และสร้างความมั่นใจในระบบเศรษฐกิจของไทยให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่า ปตท.
ได้ก้าวไปสู่การเป็นบริษัทไทยข้ามชาติในระดับสากลอย่างแท้จริง
 ขณะที่ คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บอกว่า จากการจัดอันดับครั้งนี้  ทำให้ปตท. ตั้งเป้าหมายใหม่
ว่าจะพัฒนาธุรกิจให้ติดอันดับ ดาวโจนส์ ด้วย เพราะนิตยสารฟอร์จูน จัดอันดับ  จากขนาดของธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่ของดาวโจนส์ 
จะจัดอันดับจากปัจจัยเรื่องอื่น ๆ  เช่น การบริหารที่เป็นธรรมาภิบาล การดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

 อีกรายการหนึ่งที่ปตท.ทำลายสถิติตัวเอง คือ ผ่านการประเมินความยั่งยืน  ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์  โดย SAM Corporate Sustainability .sment 
จากการวัดผลในปี 2555 นี้ ขณะที่แผนงานเดิมได้วางเป้าหมายไว้ว่า จะทำให้ได้ภายในปี 2556 หรือปีหน้า แต่สามารถทำได้สำเร็จในปีนี้นั่นเอง
 ผลจากการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลสังคมชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ทำให้ ปตท. บรรลุหนึ่งในเป้าหมายความสำเร็จขององค์กรในครั้งแรก
ที่เข้าร่วมและผ่านการประเมินความยั่งยืน โดย SAM Corporate Sustainability .sment ที่ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
และมีรายชื่อในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ กลุ่มผู้ผลิตนํ้ามันและก๊าซ (The Sustainability Yearbook 2012) ก่อนเป้าหมายที่กำหนด
 ปตท. มุ่งมั่นดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบอย่างจริงจังในทุกกระบวนการ ตลอดเส้นทางการพัฒนาองค์กรต้องประสบกับความท้าทายและความยากลำบาก ทำให้เกิดการเรียนรู้ สะท้อนให้เห็นโอกาส และความจำเป็นที่ต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในทุกรูปแบบได้อย่างมั่นใจ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,762  5-8  สิงหาคม พ.ศ. 2555

 
บันทึกการเข้า

คนดีไม่มีคำว่าเป็นกลาง เพราะคนดีแยกแยะความผิด ความชั่ว และความดีออกจากกันได้
เมื่อเราเป็นคนดี และเราเห็นอยู่แล้วว่าอะไรดี อะไรชั่ว  แล้วเราจะยืนอยู่เป็นกลางได้อย่างไร
การเป็นกลางในสภาวะที่แข่งกันระหว่างความดีและความชั่ว เรียกว่าความกลัวแห่งคนขี้ขลาด
หยุดกลัว หยุดขี้ขลาด

อ.เสรี วงษ์มณฑา 18/11/5
prawin -รักในหลวง-
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 273
ออฟไลน์

กระทู้: 1218



« ตอบ #79 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2012, 10:31:49 AM »

เรามาหยุดว่าคนนั้นเลวมาก คนนี้เลวน้อย แล้วมาหาทางออกของปัญหาว่าจะทำให้สังคมดีขึ้นได้อย่างไรดีกว่ามั้ย?


อยากให้ประเทศสามารถเอากิจการที่สำคัญที่เคยเป็น"รัฐวิสาหกิจ" ที่ถูกแปรรูปไปเป็นของเอกชน เหมือนอย่างประเทศ โบลิเวีย และ อาร์เจนติน่า
ที่สามารถยึดเอากิจการไฟฟ้า และ น้ำมัน กลับมาเป็นของรัฐได้ ก็ต้องช่วยกันศึกษา ว่าประเทศเหล่านั้นเขาเคยโดนอะไรมาอย่างไรบ้างแล้ว
แม้กระทั่ง โบลิเวีย ที่ถูกแย่งกิจการ"น้ำ" ไป จนประชาชนต้องลุกสู้ เป็น "สงตนามน้ำ" ( Water War) และ อาร์เจนติน่า ที่โดนแปรรูปจนไม่เหลืออะไร
และเขาต้องสู้กันอย่างไร ... แล้วเราล่ะ จะคิดได้-จะทำได้หรือไม่ ?

 http://democracyctr.org/corporate/focus-on-strategy/

Cr.Ananta Boonsopon


-ผมไม่อยากให้เกิดความรู้สึกด้านลบกับภาคเอกชนมากจนเกินไป เพราะในหลายประเทศได้ privatise บริการสาธารณะหลายด้านและประสบความสำเร็จ
แต่ประสบการณ์ของประเทศเหล่านั้น บอกเราว่า การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนก็ต่อเมื่อรัฐต้องทำเรื่องสำคัญ 2 เรื่องก่อน

เรื่องแรก คือ การเข้ามาของเอกชนต้องโปร่งใสและภายใต้การแข่งขันที่เป็นธรรม
เรื่องที่สอง คือ การกำกับดูแลของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่สำคัญกว่านั้น รัฐต้องระลึกเสมอว่า กิจการบางด้านที่รัฐเคยผูกขาด เมื่อต้องการให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมย่อมหมายถึงการยกการผูกขาดนั้นไปให้เอกชน
ซึ่งหากเกิดความผิดพลาดประชาชนจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและเป็นเวลายาวนานจนกว่าสัญญาจะสิ้นสุด



-2 ข้อนั้น ประเทศที่เขาเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงของประชาชน-เพื่อประชาชน เขาจะทำอย่างนั้น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ
รัฐวิสาหกิจอันไหนที่ไม่สำคัญ หรือเอกชนทำได้-รัฐมีความสามารถควบคุม - ถ่วงดุลย์ไม่ให้มีการผูกขาดเอารัดเอาเปรียบประชาชนให้เดือดร้อนได้ เขาก็ให้เอกชนทำไป
ธุรกิจเอกชนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและอยู่ในกรอบของความเป็นธรรมเป็นสิ่งที่ดี
มีแต่รัฐที่มีอำนาจการบริหารประเทศอยู่ในมือของกลุ่มทุนชั่ว-อิทธิพลผลประโยชน์ชั่วๆเท่านั้น ที่คิดจะโอนรัฐวิสาหกิจที่สำคัญๆของชาติให้กับเอกชนกลุ่มผลประโยชน์ของพวกตเท่านั้นผูกขาดเป็นเจ้าของ
เอาผลประโยชน์ของชาติและประชาชนไปเป็นของพวกตน ... เป็นเรื่องที่เราจะต้องช่วยกันเข้าใจ และระดมความคิดและช่วยกันสร้างระบบสังคมที่ดีขึ้นมาแก้ไขปัญหาเหล่านี ...
และดีใจที่มีแต่คนห่วงใยบ้านเมือง


-ผมอยากเห็นท้องถิ่นเข้าใจการมีส่วนร่วมของเอกชน ซึ่งในความหมายแล้ว เอกชนครอบคลุมถึง NGO, สถาบันการศึกษา, ชุมชนรวมถึงปัจเจก
อยากเห็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขนาดเล็กลงแต่มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น งานหลายด้านสามารถแบ่งให้เอกชนทำได้โดยเฉพาะการสร้างงานขึ้นในท้องถิ่น
แต่นั่นแหละครับ อย่างที่อาจารย์หมอให้ความเห็นไว้ เราจะหารัฐหรือท้องถิ่นที่เห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนได้อย่างไร



-การมีส่วนร่วมของประชาชนหรือจะเรียกเอกชนก็ตาม เป็นสิ่งที่ดี เพราะจะได้ระดมความคิดในการทำสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกัน
และช่วยกันตรวจสอบให้โปร่งใสมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ... นี้เป็นอุดมคติที่ดี ทุกคนก็คงอยากได้
แต่เราต้องมองสภาพที่เป็นอยู่จริงในขณะนี้ด้วยว่าเป็นอย่างไร เรามีระบบการปกครองตั้งแต่ระดับรัฐ และระดับท้องถิ่นสะอาดบริสุทธิ์ยุติธรรมเพื่อประชาชนแล้วหรือไม่ ?
หากไม่ ก็เป็นคำตอบในตัวแล้วว่า การมีส่วนร่วมตามอุดมคติที่เราต้องการในทุกระดับนั้น มันจะเป็นไปได้แค่ไหน ...
สรุปแล้วมันก็จะไปติดที่อำนาจการปกครองระดับต่าง ๆ ทั้งหมดนั่นเอง ... หากแก้จุดนี้ได้ จุดอื่น ๆ ก็จะแก้ได้ตาม ...
ฟังดูว่ายาก แต่ของใหญ่ ๆ ไม่มีอะไรง่าย แต่ก็ไม่มีอะไรที่จะยากจนคนเราแก้ไม่ได้ ผมจึงอยากให้มีการคุยกันว่า การทำอะไรให้เป็นไปได้ มันต้องเริ่มที่ไหน ๆ ตามลำดับ


-อยู่ที่ผู้นำล้วนๆว่าจะเอาไหม


-เมื่อผู้ที่เราเลือกมาทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเรา ทำตัวเป็นผู้นำผูกขาดอำนาจไปจากเราจนเราควบคุมเขาไม่ได้ เขาก็จะวางตัวเป็นผู้นำทำตามใจเขา ( Power tends to corrupt )
เราต้องวางระบบให้พรรคการเมืองที่จะมาเป็นตัวแทนของประชาชนต้องขึ้นกับประชาชน มีกฎเกณฑ์ให้ประชาชนบังคับได้ เลือกผู้จะเสนอตัวเป็นผู้แทนได้ และถอดถอนได้
( ซึ่งเรายังไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ชาติไทย)



-พอดีไปเจอมาครับ เลยขอฝากแชร์หน่อยครับ http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2002q4/article2002dec18p1.htm

วิกฤตการณ์เวเนซุเอลา
www.nidambe11.net



-ประชาชน หรือ เอกชน ผมขอเรียนปรึกษาที่จะใช้คำว่า"สาธารณชน"จะเหมาะสมกว่าไหมครับ..?
ตามมาด้วยเหตุผลของคุณAnanta Boonsopon"..เพราะจะได้ระดมความคิดในการทำสิ่งที่จะเป็น"ประโยชน์สาธารณะ"(สาธารณประโยชน์)ร่วมกัน"


-ที่คุณ  นำมา Link ให้ ช่วยเสริมกันดีครับ ในช่วงปี 2545 เป็นช่วงที่อาร์เจนติน่า กำลังแย่มาก ๆ จากการถูก WB และ IMF บีบบังคับให้ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่สำคัญ ๆ แทบทุกอย่าง
จากประเทศที่เคยมีเศรษฐกิจดีเป็นอันดับ 3 ของโลก กลายเป็นประเทศที่ล้มละลายทางเศรษฐกิจจากมาตรการของ WB และ IMF เป็นเรื่องที่นักวิชาการและผู้ที่สนใจสังคมในบ้านเราก็ได้นำมาพูดผ่านสื่อกันมาก
( เรื่องมาตรการของ WB และ IMF ที่บังมีนโยบายบีบบังคับให้ประเทศต่าง ๆ แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งประเทศไทยก็ยังถูกบีบอยู่ แต่รัฐบาลและผู้มีอำนาจและได้เปรียบในสังคมก็กำลังต้องการผลประโยชน์ร่วมด้วยนี้ เป็นเรื่องที่น่านำมาคุยปรึกษากันเป็นอย่างยิ่ง )


-คือโดยส่วนตัวคิดว่าถ้าแปรรูปแล้วมันส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวม มันก้อน่าจะเป็นผลดีกว่าปล่อยให้รัฐบวมมาบริหารงานแล้วส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ผมไม่ได้บอกว่าการแปรรูปนั้นดี แต่ถ้าแปรรูปแล้วมันก็เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียม ราคาต่างๆ สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง มันก้อน่าจะดีกว่าให้เจ้าใดเจ้าหนึ่งผูกขาดทางการค้า
ราคาพลังงานที่ขึ้นลงขึ้นลง ยังไงมันก้อเป็นทั้งระบบอยู่แล้ว ผมว่าสิ่งสำคัญน่าจะหันมารู้จักคุณค่าของมันน่าจะดีกว่ามาบอกแต่ว่า พลังงานกำมือใคร กรรมของใคร มันก้อกรรมของทุกคนนั่นแหละครับ


-เกี่ยวกับการใช้คำว่า เอกชน ประชาชน และ สาธารณชน ก็เป็นความละเอียดในการใช้คำพูด ซึ่งดีครับ สำหรับผม เข้าใจว่า เอกชน หมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเป็นราย ๆ ตรงกับ Individual
ส่วน ประชาชน น่าจะหมายถึงรวม ๆ ไม่เจาะจง ตรงกับคำว่า People ส่วน สาธารณชน ก็เป็นโดยทั่วไป ไม่จำกัด ตรงกับคำว่า Public เรื่องนี้ ถ้ามีใครเป็นนักภาษาศษสตร์ช่วยอธิบายเพิ่มเติมก็จะดีครับ


-ความเห็นของ คุณ เกี่ยวกับข้อดีของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ในแง่ดี และมันก็จะดีจริง ๆด้วยในประเทศที่ระบอบการปกครองของเขาเป็นประชาธิปไตยของประชาชน-เพื่อประชาชน
ที่สะอาด บริสุทธิ์ ยุติธรรม โปร่งใส มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง และมีประสิทธิภาพในการควบคุมการผูกขาด เอารัดเอาเปรียบประชาชน
แต่ในประเทศที่ระบอบการปกครองยังไม่เป็นอย่างที่ว่านี้ กลุ่มทุนชั่วผลประโยชน์และอิทธิพลต่าง ๆ สามารถฉวยโอกาสเอาเปรียบประชาชนได้
และอาจร่วมมือกับนายทุนต่างชาติเสียด้วยซ้ำ ( แม้แต่ประเทศที่การปกครองอยู่ในระดับดี เช่น อังกฤษ เมื่อแปรรูปน้ำประปาแล้ว ประชาชนก็ยังเดือดร้อน )
ดังนั้น ผมจึงคิดว่า การจะพิจารณาเรื่องนี้ในระดับชาติ จะต้องพิจารณาเรื่องเหล่านี้ประกอบด้วย โดยเอาผลประโยชน์ของประชาชน ( หรือจะเรียกสาธารณชนก็ได้ ) เป็นสำคัญ
หรืออย่างมากก็แค่ให้เอกชนทำธุรกิจประเภทเดียวกันนั้นได้ แต่รัฐต้องมีรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ ได้ถ่วงดุลย์ด้วย
( ถ้าเอกชนไม่มีอคติ ก็ต้องให้รัฐ-ในนามประชาชนซึ่งเป็นมหาชน แข่งขันกันตัวได้ด้วย ไม่ใช่เอกชนนั้น ๆ คิดแต่จะผูกขาดเสียเองอีก )


-เรียนคุณAnanta Boonsopon
ผมเองไม่ไม่ใช่นักภาษาศาสตร์หรืออะไรทำนองนั้นนะครับ แต่จะขออนุญาตเอาความรู้สึก (ซึ่งไม่น่าจะเกี่ยวกับวิชาการครับ อารมณ์แท้ๆเลย..555)ของผมเองมาสนับสนุนเรื่องที่เรียนปรึกษานิดหน่อยว่าทำไมผมถึงได้รู้สึกอะไรอย่างนั้น

สำหรับเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองนั้น ผมได้ยินว่าเป็นเรื่องการปกครองโดยประชาชนเพื่อประชาชนมาตลอด
เป็นการปกครองโดยใช้เสียงข้างมากเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารประเทศ เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ การเอาชนะกันรัฐสภาก็ใช้การลงมติโดยเสียงส่วนใหญ่เพื่อคนส่วนใหญ่
ผมได้ยินคำว่าคนส่วนใหญ่บ้าง เสียงส่วนมากบ้าง มันทำให้ผมรู้สึกว่ามันพิลึกๆยังไงอยู่

เพราะสำหรับผมแล้ว ผมคิดว่ารัฐบาลมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลคนไทยทั้งประเทศ ไม่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ว่าจะเป็นส่วนใหญ่หรือส่วนน้อย
คือทุกๆคนควรจะต้องได้รับประโยชน์จากการบริหารนั้นโดยเสมอหน้าทั่วถึงกัน
ถ้าพ่อค้าขายไข่ได้ราคา เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ก็ขายข้าวโพดได้ราคา กระบวนการทั้งหมดไล่มาจากโรงงานผลิตอาหารไก่ คนงานในโรงงาน จนถึงคนเลี้ยงไก่ไข่
คนขายไข่ไก่ ย่อมได้ประโยชน์ทั้งสิ้น แต่ประชาชนทั่วไปต้องซื้อไข่ในราคาแพง
ถ้าเป็นเช่นนี้ถ้าจะว่ามันเป็นประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ มันก็ใหญ่อยู่ แต่ประชาชนทั่วไปต้องเดือดร้อนเพราะไข่แพง
รัฐมีหน้าที่จะต้องดูแลให้ราคาไข่อยู่ในระดับที่ประชาชนทั่วไปได้รับผลในการบริหารจัดการของรัฐด้วย ไม่ใช่จะเอาแต่ผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นที่ตั้ง
ซึ่งประโยชน์ของคนทั่วไปก็คือสาธารณประโยชน์นั่นเอง คนในกระบวนการผลิตไข่ทั้งหมดก็ได้รับประโยชน์จากการได้บริโภคไข่ในราคาถูกด้วย เพราะพวกเขาก็คือสาธารณะชนนั่นเอง

นี่คือความรู้สึกของผมต่อคำว่า สาธารณะชน และ สาธารณะประโยชน์ ครับ

[/font]
บันทึกการเข้า

คนดีไม่มีคำว่าเป็นกลาง เพราะคนดีแยกแยะความผิด ความชั่ว และความดีออกจากกันได้
เมื่อเราเป็นคนดี และเราเห็นอยู่แล้วว่าอะไรดี อะไรชั่ว  แล้วเราจะยืนอยู่เป็นกลางได้อย่างไร
การเป็นกลางในสภาวะที่แข่งกันระหว่างความดีและความชั่ว เรียกว่าความกลัวแห่งคนขี้ขลาด
หยุดกลัว หยุดขี้ขลาด

อ.เสรี วงษ์มณฑา 18/11/5
หน้า: 1 ... 3 4 5 [6]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.24 วินาที กับ 22 คำสั่ง