๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน

สนทนาภาษาปืน => สนทนาภาษาปืน => ข้อความที่เริ่มโดย: M629 ที่ กันยายน 01, 2005, 09:34:26 PM



หัวข้อ: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: M629 ที่ กันยายน 01, 2005, 09:34:26 PM
ทัพฟ้าเรามีโครงการจัดซื้อ SU 27 หรือ SU 30 จริงหรือเปล่าครับ
 


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 20, 2005, 07:38:07 PM
ได้ข่าวว่า กำลังอยู่ในการเจรจาครับ ว่า จะเอา JAS 39 Gripen หรือ SU 30 ขึ้นอยู่กับการตกลงแลกกับสินค้าทางการ เกษตร

เรียกว่า แลกข้าวกับเครื่องบินรบ อะไรทำนองนั้นครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: BADBOY ที่ กันยายน 20, 2005, 07:56:03 PM
ภาวนาขอให้ ใช้การได้ดีทุกลำนะครับ


หัวข้อ: hidden
เริ่มหัวข้อโดย: CT_Pro4 ที่ กันยายน 20, 2005, 08:50:42 PM
...ผม ไม่ค่อย เข้า ใจน โยบายประ เภทนี้ซัก เท่า ไหร่ และ ไม่ แน่ ใจว่ารัฐบาล ได้ศึกษาผลดีผล เสียดี แล้วหรือ ไม่ หรือว่ารัฐบาล และ ข้าราชการบางคนของกองทัพ ได้คำ นวณรายรับ ( เพื่อ เข้ากระ เป๋า ใครบางคน)  ไว้ เรียบร้อย แล้ว...

... โดยส่วนตัว แล้วผมคิดว่าหลักการ barter trade  ไม่ ได้มีอะ ไรน่าสงสัย  แต่การที่กองทัพอากาศจะ ต้อง เตรียมความพร้อม ในการบำ รุงรักษา เครื่องบิน (maintenance) ที่ ไม่ เคยมีทั้งด้าน เทคนิคหรืออะ ไหล่ที่จำ เป็น หรือ ใช้ เทค โน โลยีที่ เรียก ได้ว่า เคยอยู่คนละ ขั้วกัน จะ ทำ ให้ เป็นการ เพิ่มภาระ ด้านกำ ลังพล และ งบประ มาณของกองทัพฯ หรือ ไม่...

... เมื่อประ มาณปี 1996  ผม เคยมี โอกาส ไปดูงานของ DASA ( ไม่ ใช่ NASA) ที่ประ เทศ เยอรมันนี องค์ กรนี้ ( ในสมัยนั้น) มีส่วนร่วม ในการสร้าง Euro Fighter ซึ่ง เป็น เครื่องบินรบสมรรถนะ สูงของยุ โรป ซึ่ง ในการดูงานครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ของ DASA  ได้พาชมศูนย์ ซ่อมบำ รุง เครื่องบินรบของประ เทศ เยอรมันนีด้วย นอกจากจะ มี โอกาสชม เครื่อง Euro Fighter  แล้วผมยัง ได้ เห็น เครื่องบิน Mig-25 ซ่อมบำ รุงอยู่ด้วย ทาง เจ้าหน้าที่ของ DASA  ได้สรุป ให้ฟังว่า หลังจากการรวมประ เทศ เยอรมันนีตะ วันตกกับตะ วันออก แล้ว ทำ ให้ เครื่องบิน Mig-25 จากฝั่งตะ วันออกถูกรวม เข้ามาอยู่ภาย ใต้กองทัพ เดียวกัน ซึ่ง เครื่องบิน Mig-25  เป็น เครื่องบินที่มีสมรรถนะ สูงมากๆ   เครื่องหนึ่ง ในยุคนั้น  แต่สิ่งที่ เป็นปัญหาสำ หรับ เขาอย่างมากก็คือการซ่อมบำ รุง  เพราะ เทค โน โลยีที่ ใช้ต่างกับทาง โลกฝั่งตะ วันตกมาก (ถึง แม้จะ มีความก้าวหน้า ใกล้ เคียงกัน) อีกทั้งยัง ใช้ค่า ใช้จ่ายสูงมาก ในการ stock อะ ไหล่ เพื่อการซ่อมบำ รุง...

...ผม ไม่มีข้อมูลสำ หรับ เครื่อง SU  เท่า ไหร่รวมถึงว่าปัจจุบันรัส เซีย ได้มีระ บบการจัดการ ในการขายอาวุธยุท โธปกรณ์ ของ เค้าดีมากน้อย แค่ ไหน แล้ว  แต่ โดยส่วนตัว แล้วผม เชื่อว่า เมื่อประ มวลผล ได้ผล เสีย ให้ดี งานนี้ เราอาจ เสีย เปรียบ ในระ ยะ ยาวก็ เป็น ได้...



หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 20, 2005, 10:56:23 PM
อีกไม่นานนี้ ประเทศไทยจะได้มี ฮ. จากรัสเซียใช้จริง ๆ แล้วครับ เพราะ เอามาหักหนี้สินค้า เกษตร ที่ รัสเซีย ติดไทยอยู่หลายพันล้าน  :~) :~) :~)

ไม่รู้จะดีใจหรือเสียใจดี  ??? ??? ???


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 20, 2005, 11:14:22 PM
มีรูป 3 วิว ให้ดูครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 20, 2005, 11:15:27 PM
 ;D รู้สึกว่าจะแลกกับไก่แช่แข็งนะครับ ไม่รู้เหมือนกันว่าใครเป็นผู้ส่งออกไก่แช่แข็งรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ??? :-\
 ;D ฮ. ที่ว่ากำลังจะได้มานี้ถ้าจำไม่ผิดเป็น Mi17 นะครับ เรื่องปัญหาการซ่อมบำรุงเครื่องบินจากรัสเซียนั้น ต้องดูตัวอย่าง Mig29 ของมาเลย์ฯครับ เพราะข่าวมากว่าตอนนี้บินไม่ได้เกือบครึ่ง เพราะขาดการบริการหลังการขายครับ ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 20, 2005, 11:16:39 PM
JAS 39 Gripen

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: มะขิ่น ที่ กันยายน 20, 2005, 11:19:04 PM
;D รู้สึกว่า ฮ. ที่ว่านี้เป็น Mi17 นะครับ เรื่องปัญหาการซ่อมบำรุงเครื่องบินจากรัสเซียนั้น ต้องดูตัวอย่าง Mig29 ของมาเลย์ฯครับ เพราะข่าวมากว่าตอนนี้บินไม่ได้เกือบครึ่ง เพราะขาดการบริการหลังการขายครับ ;D

สงสัยไม่ถูกกับอินเดียมั๊ง :D

เพราะศูนย์ซ่อมของ มิคโกยัน ในภาคพื้นเอเซีย อยู่ที่อินเดียครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: เหน่ง ที่ กันยายน 20, 2005, 11:19:59 PM
JAS 39 Gripen รู้สึกจะเป็นของสวีเดนร่วมมือกับอังกฤษทำใช่ป่าวครับ  ถ้าจำไม่ผิด  :VOV:


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 20, 2005, 11:23:17 PM
อีกตัวเลือกที่น่าสนครับ :D~ :D~ :D~ แต่ รัฐบาลชุดนี้ไม่สน เพราะ หักหนี้สินค้าเกษตรไม่ได้  :~) :~) :~)

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 20, 2005, 11:26:30 PM
ส่วนตัวนี้ต้องรออีกสิบกว่าปีถึงจะเริ่มฝันถึงได้

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 20, 2005, 11:30:23 PM
ตอนนี้ต้องหัดใช้เจ้านี่ให้คล่องก่อน

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 20, 2005, 11:33:13 PM
เป็นตัวที่น่าจะมีตั้งนานแล้ว

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 20, 2005, 11:38:10 PM
นี่ก็เป็นอีกตัวครับ ที่ ท.ร. ไทยน่ามี

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 20, 2005, 11:41:37 PM
ตัวนี้ เมืองไทยน่าจะมีตั้ง 20 ปีที่แล้ว

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 20, 2005, 11:42:59 PM
เป็นเครื่องบินที่ผมชอบที่สุดตั้งแต่เด็ก ๆ แล้วครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 20, 2005, 11:43:50 PM
 :P ลืมรูปไป

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: มะขิ่น ที่ กันยายน 20, 2005, 11:44:39 PM
A10 Thunderbolt อเมริกาไม่ขายให้ชาติใดครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 20, 2005, 11:47:29 PM
ไม่มี A10 ได้ SU 25/39 ก็ยังดีครับ พี่มะขิ่น

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 20, 2005, 11:48:38 PM
JAS 39 Gripen รู้สึกจะเป็นของสวีเดนร่วมมือกับอังกฤษทำใช่ป่าวครับ ถ้าจำไม่ผิด :VOV:

 ;D ไม่ใช่ครับ เป็นโครงการของสวีเดนโดยตรงครับ แต่มีเทคโนโลยีจากอเมริกาเข้ามาบ้าง เช่นเครื่องยนต์ที่ใช้โนฮาวน์จากแพรตแอนด์วิทนีย์แต่ผลิตโดยซาบ ส่วนระบบอิเลคโทรนิคต่าง ๆ จากอีริคสันครับ ระบบอาวุธ ปญอ. จากเมาเซอร์ อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศใช้ได้ทั้งจากอเมริกาและยุโรป แต่อาวุธปล่อยอากาศสู่พื้นใช้เพนกวินครับ ;D


ส่วนตัวนี้ต้องรออีกสิบกว่าปีถึงจะเริ่มฝันถึงได้

 ;D ผมว่ากว่านั้นครับ เพราะอีกสิบปีประเทศเราจะเหลือเงินให้ซื้อหรือเปล่านี่สิครับ ถ้ารัฐบาลนี้ยังครองนำนาจอยู่ :-\


อีกตัวเลือกที่น่าสนครับ :D~ :D~ :D~ แต่ รัฐบาลชุดนี้ไม่สน เพราะ หักหนี้สินค้าเกษตรไม่ได้ :~) :~) :~)

 :~) F/A-18 C/D (ท่อแอร์อินเทคยังโค้งอยู่ ในรูปท่อเหลี่ยมเป็นรุ่น E/F) ที่ไทยสั่งซื้อไปครึ่งฝูงแล้วยกเลิกเพราะไม่มีเงินจ่าย น่าเสียดายมากครับ :~)


นี่ก็เป็นอีกตัวครับ ที่ ท.ร. ไทยน่ามี

 ;D ไวกิ้ง อเมริกาปลดประจำการไปหลังจากหมดสงครามพายุทะเลทรายแล้วครับ ตอนนี้ผมว่า ทร. น่าหางบมาซ่อมเครื่องที่ซื้อมาแล้วบินไม่ได้ก่อนดีกว่า และเพิ่มอาวุธด้วย เพราะตอนนี้มีแค่ระเบิดกับ ปญอ. :-\ ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 20, 2005, 11:49:10 PM
ใส่รูปผิด  :P :P :P :P :P

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 20, 2005, 11:51:21 PM
A10 Thunderbolt อเมริกาไม่ขายให้ชาติใดครับ

 ;D เคยมีข่าวเกือบขายให้ไทยนะครับ ช่วงก่อนจะซื้อ F-16 แต่รัฐบาลตอนนั้นเลือก F-16 ด้วยเหตุผลว่า ใช้เป็นเครื่องขับไล่ก็ได้ โจมตีก็ได้ ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 20, 2005, 11:56:51 PM
ผมก็ได้ข่าวอย่าที่นายใหม่ ทราบมาเหมือนกันครับ

 :~) :~) :~) เครื่องบินไทย ต่อจากนี้ไปจะมีหน้าตาอย่างนี้  :~) :~) :~)

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: มะขิ่น ที่ กันยายน 21, 2005, 12:03:02 AM
SU25  เป็นเครื่องโจมตีที่น่ากลัวของโซเวียตครับ...............ได้มาใช้น่าจะดี

ส่วน MI 8 เป็น ฮ.ใช้งานทั่วไป ขนาดกลาง แบบม้างานที่มีลูกอึดดีมาก ..............ผมเคยนั่งตัว UN เข้าไปที่ปอยเปต................เป็น ฮ.MI 8 ของ ทอ.อินเดีย..........ระหว่างนั่งอยู่ มีน้ำมันใสแบบน้ำมันไฮโดรลิค หยดจากท่อบนเพดานลงมาที่พื้น................เลยสะกิด Door Gunner ที่เป็นช่างเครื่องด้วยให้ดูรอยหยดน้ำมัน...............

พวกก้มดูแล้วเงยหน้ามายิ้มฟันขาวพร้อมพ่นภาษาอังกฤษเร็วปรื๋อ.............ฟังออกว่า เป็นการ Error แบบปกติที่ยอมรับได้................ผมงี้อยากให้ ฮ. มันถึงปอยเปตเร็วๆจัง


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 12:04:43 AM
เครื่องบินของ รัสเซีย( Mig 29)มี รอบ ชั่วโมงบิน/การซ่อมบำรุงต่ำกว่าของทาง ยุโรป และ อเมริกาครับ และ กินน้ำมันมากกว่าด้วย ส่วนอะไหล่ ทาง รัสเซีย จะเปลี่ยนเป็นชิ้น ไม่ได้นับชั่วโมงการเปลี่ยน/ซ่อมบำรุงอย่างทาง ยุโรป และ อเมริกาครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 12:06:50 AM
อีกมุมของ มิก 29 ครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 12:12:14 AM
ซู 30 มีข้อได้เปรียบ เครื่องบินที่อยู่ในตลาดค้าอาวุธของโลก อยู่ 2 อย่างครับ

1. เป็นเครื่องบินที่มี พิศัยการบิน ไกล

2. เรด้า เป็นเรด้ามีครอบคลุม รัศมีได้ไกล (อเมริกามี F 14 แต่ไม่ได้ขายให้ใคร นอกจาก อิหร่าน)

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 12:14:34 AM
ท.ร. ไทย น่าจะมีเจ้าตัวนี้ครับ

ผมว่า น่าจะลงบน ร.ล. จักรกรีณฤเบต ได้

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Enruoblem ที่ กันยายน 21, 2005, 12:15:30 AM
A10 Thunderbolt อเมริกาไม่ขายให้ชาติใดครับ

 ;D เคยมีข่าวเกือบขายให้ไทยนะครับ ช่วงก่อนจะซื้อ F-16 แต่รัฐบาลตอนนั้นเลือก F-16 ด้วยเหตุผลว่า ใช้เป็นเครื่องขับไล่ก็ได้ โจมตีก็ได้ ;D
เพิ่งเอะใจครับ "ขับไล่ก็ได้ โจมตีก็ได้" รบกวนอธิบายเพิ่มครับ เคยได้ยินมานานแต่ไม่เคยรู้ถึงข้อแตกต่างครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 12:29:22 AM
ที่จริง SU 39 ก็คือ SU 25T หรือ SU 25TM ส่วนที่นูนหลัง ที่นั่งนักบิน เป็นที่เก็บอุกรณ์อีเล็กทรอนิก กับ น้ำมันเพิ่มเติม ทำให้ขยายพิศัยการบิน ได้ไกลกว่า SU 25 เดิม ส่วน กระเปาะ เรด้าติดตั้งอยู่นอกลำตัวเครื่องบิน

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 12:43:17 AM

อ้างถึง
เพิ่งเอะใจครับ "ขับไล่ก็ได้ โจมตีก็ได้" รบกวนอธิบายเพิ่มครับ เคยได้ยินมานานแต่ไม่เคยรู้ถึงข้อแตกต่างครับ
อ้างถึง

เครื่องบิน สมัยก่อน จะแยกหน้าที่กันครับ อย่างสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินโจมตี จะมีปืนเอาใว้ปัองกันตัว กับยิงเป้าหมายภาคพื้นดิน กับระเบิดใว้โจมตี ส่วน เครื่องบินขับไล่ จะไม่มีระเบิด มีแต่ปืนกล อย่างเดียวจะเห็นได้ว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จะมีเครื่องบินหลายรูปแบบ ต่อมา ได้มีการพัฒนาเครื่องบินให้มีขีดความสามารถทำการรบได้หลาย ๆ ภารกิจ จึงได้มีความคิดที่จะ ยุบรวมภารกิจ ของเครื่องบิน หลาย ๆ รูปแบบให้เหลือรูปแบบน้อยที่สุด เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และขยายกำลังทางอากาศ โดยที่ไม่ต้องเพิ่มจำนวนเครื่องบินไงครับ

อย่าง เครื่องบิน F/A 18 Hornet ที่มีอักษร F/A คือ Fighter/ Attack เวลาจะเปลี่ยนภาระกิจก็เพียงแค่กดปุ่มบนแผงหน้าปัดเท่านั้น

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 12:47:02 AM
F18 E Super Hornet

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 12:49:30 AM
FA 18 E

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 01:02:15 AM
เครื่องบิน รัสเซีย ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องการจัดหา อะไหล่ แล้วหล่ะก็ มีอีกหลายรุ่นที่น่าสนใจครับ รวมทั้ง ฮ. ด้วย อย่า คา 52 โฮคุม ก็เป็นอีกตัว เพราะ เป็นตัวที่พัฒนามาจาก คา 50 โฮคุม แต่ คา 50 เป็นรุ่น ที่นั่งเดี่ยว ทำให้นักบินต้องทำงานหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน

คา 50/52 โฮคุม มีจุดเด่นหลายอย่างครับ ทั้ง ให้แรงยกมากกว่า ในขนาดเครื่องยนต์ ที่เท่ากัน เพราะ มี โรเตอร์ 2 ชุดวิ่งสวนทางกัน กับมีระบบดีดตัวนักบิน เหมือนกับเครื่องบินขับไล่ โดย กลีบโรเตอร์ จะระเบิดหลุดออกก่อนที่นั่งนักบินจะถูกดีดตัวออก และอีกหลายอย่างครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 01:38:04 AM
อีกไม่นาน ม้าแก่อย่าง F5 A/B และ E/F ก็คงได้ปลดประจำการเสียที เพราะ ประจำการมานาน แสนนานเหลือเกิน

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 01:49:01 AM
มิก 35 ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ไม่เลวนักครับ เหมือน Euro Fighter เลย  :~)

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 01:59:02 AM
Mig 35 เป็นเครื่องบินยุคใหม่ของ รัสเซีย ครับ แต่โครงการได้ถูกยืดการพัฒนาออกไป เพราะ งบประมาณจำกัดของรัฐบาล รัสเซีย ครับจุดเด่นของเครื่อง Mig 35 คือ มี thrust vectoring system หรือ กรวยหางสามารถเปลี่ยนทิศได้ เหมือน F22 แต่ F22 ปรับได้แค่ ขึ้นลง ส่วน Mig 35 ปรับได้ทุกทิศทาง

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 02:02:15 AM
ตัวอย่าง thrust vectoring system ของ SU 37

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 21, 2005, 04:11:33 AM
 ;D จริง ๆ ผมชอบ Su37 นะ อยากให้ไทยมีไว้ประจำการเหมือนกัน ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: naiyoksot-รักในหลวง ที่ กันยายน 21, 2005, 08:05:31 AM
;D จริง ๆ ผมชอบ Su37 นะ อยากให้ไทยมีไว้ประจำการเหมือนกัน ;D


 ไม่ต้องอะไรมากตอนนี้ แฮริเออร์ บนเรือจักรีฯ ที่สมบูรณ์สามารถบินได้มีอยู่แค่ 2 ลำ ที่เหลือเอาไว้เปลี่ยนอะไหล่ทดแทน ;D ;D ;D ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NAPALM ที่ กันยายน 21, 2005, 08:28:42 AM
คุณ  NaiMai  ครับ  ตามความเข้าใจของผม  เพนกวิน  น่าจะเป็นของนอรเวร์


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 08:57:02 AM
;D จริง ๆ ผมชอบ Su37 นะ อยากให้ไทยมีไว้ประจำการเหมือนกัน ;D


 ไม่ต้องอะไรมากตอนนี้ แฮริเออร์ บนเรือจักรีฯ ที่สมบูรณ์สามารถบินได้มีอยู่แค่ 2 ลำ ที่เหลือเอาไว้เปลี่ยนอะไหล่ทดแทน ;D ;D ;D ;D ;D ;D

แฮริเออร์ ที่กองทัพเรือไทยมี เป็นเครื่องบินAV 8 เก่าจาก สเปนครับ ไม่ได้เป็นเครื่องบินใหม่จาก อเมริกา


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 09:17:52 AM
รัสเซีย ก็มีเครื่องบินปีกลู่หน้าครับ ใหญ่กว่า X29 ของ อเมริกามาก มีระหัสว่า S-37'berkut'

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 09:24:06 AM
S 37 ของรัสเซีย ใหญ่กว่า X 29 ของ อเมริกา เพราะ โครงสร้างของ S 37 มาจาก SU 27 ส่วน X 29 มาจาก F5 ครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 09:37:23 AM
อันนี้ แฮริเออร์ ครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: สีอำพัน-รักในหลวง ที่ กันยายน 21, 2005, 09:44:28 AM
แนะนำเวปครับ  เผื่อสนใจ
http://www.wing21.rtaf.mi.th/webboard/webboard.php?Category=wing21


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 09:46:13 AM
ตัวนี้  EF2000 Eurofighter " Typhoon" คล้าย ๆ กับ Mig 35 อย่างกับพี่น้องกันยังไงก็ไม่รู้ครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Zeus-รักในหลวง ที่ กันยายน 21, 2005, 09:47:37 AM
 ;Dใจจริงผมก็ชอบน้องหมีครับแต่เป็นห่วงแต่ก็เพียงเรื่องอะไหล่และความชำนาญในการดูแลรักษาซะมากกว่า ;Dแต่ถ้าได้มาลองซัก 6-8 เครืองก็ไม่เสียหลายครับให้นักบินมีโอกาศได้ฝึกกับไฟต์เตอร์แท้ ๆ ก็ถือสะว่าเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักบินและจะได้เอาไว้ให้ซ้อมกับ F16 ของเราเพื่อมีเหตุต้องไปเจอกับน้องหมีของชาติอื่นจะได้รู้ขีดความสามารถและจุดอ่อนของตัวเครืองครับ ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 10:33:22 AM
มีภาพ JAS 39 gripen มาฝากครับ

Jas 39 เป็นเครื่องบินขนาดเล็ก ที่มีความคล่องตัวสูง สามารถใช้ถนนหลวงแทนสนามบินได้ทันที เป็นข้อได้เปรียบครับ


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 10:35:15 AM
JAS 39 รุ่น 2 ที่นั่งครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: physics teacher ที่ กันยายน 21, 2005, 11:12:11 AM
..เพื่อนๆสมาชิิกครับ ถ้าสังเกตุข่าวที่ท่าน รมต.กลาโหมจะมี Body guardข้างๆท่าน คนๆนั้นคืออดีด ผบ.ฝูง102 F-16 ADF ท่าน  น.ท.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ(กราบขออภัยที่เอ่ยนาม) ท่านไม่ขับเจ้าเหยี่ยวแล้วหรือ หรือว่าเลือกตั้งครั้งต่อไปท่านจะลงเล่นการเมืองเหมือนท่าน น.ต.ศิธา..ไม่เกี่ยวกับเรื่องSu30Su27ซักเท่าไหร่ ขออภัยด้วยครับ ;D..


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: JC ที่ กันยายน 21, 2005, 11:38:44 AM
ถนนกับพื้นสนามบินต่างกันยังไงครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 92FS ที่ กันยายน 21, 2005, 11:56:44 AM
...ที่ว่ามาทั้งหมดผมก็ว่าดีกว่า Alfa Jet นะครับ..


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 21, 2005, 12:08:00 PM
คุณ NaiMai ครับ ตามความเข้าใจของผม เพนกวิน น่าจะเป็นของนอรเวร์

 :~) จ๊าก! ผมปล่อยเพนกวิ้น (ไก่) หลุดออกไปได้ไงเนี่ย :~)
 ;D ขอบคุณคุณนาปาล์มครับ ;D


ถนนกับพื้นสนามบินต่างกันยังไงครับ

 ;D รายละเอียดไม่ทราบครับ แต่เห็นตอนที่เค้าซ่อมรันเวย์กองบิน 4 ใหม่ เห็นว่าปูนมันหนากว่าถนนหลวงเยอะครับ ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ กันยายน 21, 2005, 12:20:43 PM
มีระบบดีดตัวนักบิน เหมือนกับเครื่องบินขับไล่ โดย กลีบโรเตอร์ จะระเบิดหลุดออกก่อนที่นั่งนักบินจะถูกดีดตัวออก และอีกหลายอย่างครับ
ทำให้นึกถึง เจมส์ บอนด์ ตอนที่007โดน008หักหลัง จับล็อคติดกะ เครื่องบินปีกหมุนอาปาเช่(หรือคอบบร้า)
ต้องพยายามดีดตัวออกมาจากเครื่อง ก็มีใบโรเตอร์หลุดมาก่อนเหมือนกัน แต่ลักษณะการหลุดจะเป็นคล้ายๆ มีเชฟชาร์จ
ดีดออกมาแล้วที่นั่งนักบินจะหลุดออกมาทั้งห้องโดยสารเลย

ไม่ทราบว่าคา 50/52 โฮคุม จะถูกดีดมาในลักษณะหลุดมาทั้งห้องโดยสารเหมือนคอบบร้า หรือดีดออกมาเฉพาะที่นั่งนักบินครับ



หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 21, 2005, 12:37:06 PM
ไม่ทราบว่าคา 50/52 โฮคุม จะถูกดีดมาในลักษณะหลุดมาทั้งห้องโดยสารเหมือนคอบบร้า หรือดีดออกมาเฉพาะที่นั่งนักบินครับ

 ;D ดีดเฉพาะที่นั่งครับ แต่ลองทายซิครับ ว่ามีเครื่องบินแบบไหนบ้างที่ใช้การดีดตัวแบบแคปซูลหรือโมดุล คือการออกแบบให้ห้องนักบินเป็นโมดูลสามารถแยกตัวออกมาจากตัวเครื่องเลย ไม่ได้ดีดตัวออกมาเฉพาะที่นั่งนักบิน ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ กันยายน 21, 2005, 12:39:16 PM
อ้า....งั้นเอาเลย
1.คอบบร้า
2.อาปาเช่
:D~ :D~ :D~


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 21, 2005, 12:48:12 PM
 ;D สำหรับ ฮ. ผมไม่ค่อยมีข้อมูลครับตาซับ เลยตอบไม่ถูก ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NAPALM ที่ กันยายน 21, 2005, 12:54:10 PM
ผมว่าแห้วทั้ง  JAS  39  และ  SU30  ถ้าการเมืองแหวกเข้ามา   อาจจะเสร็จ  F-16  ใช้แล้วจากไอ้กัน  ได้ตัวเก่าอีกตามเคย  ข้ออ้างเรามีอยู่แล้วไม่ต้องฝึกกันใหม่ทั้งช่างและนักบิน  ข้อแย่ของพี่  US  เค้าชอบกักอุปกรณ์อื่น ๆ   ทำนอง  ขายปืนลูกซองให้เรา  แต่กระสุนให้มาเฉพาะลูกปราย  ลูกโดดไม่ขายให้  หรือถ้าขายให้ก็เก็บไว้ที่บ้านผมก่อน  คุณมีเรื่องวันไหนค่อยวิ่งมาเอา


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: jakrit97 - รักในหลวง - ที่ กันยายน 21, 2005, 02:03:53 PM
ไม่ทราบว่าคา 50/52 โฮคุม จะถูกดีดมาในลักษณะหลุดมาทั้งห้องโดยสารเหมือนคอบบร้า หรือดีดออกมาเฉพาะที่นั่งนักบินครับ
;D ดีดเฉพาะที่นั่งครับ แต่ลองทายซิครับ ว่ามีเครื่องบินแบบไหนบ้างที่ใช้การดีดตัวแบบแคปซูลหรือโมดุล คือการออกแบบให้ห้องนักบินเป็นโมดูลสามารถแยกตัวออกมาจากตัวเครื่องเลย ไม่ได้ดีดตัวออกมาเฉพาะที่นั่งนักบิน ;D

เคยได้ยิน แต่จำไม่ได้ เลยเดาแบบสุ่มว่า ... B-1B, B-2, SR71, U2 ... ใกล้เคียงไหม .... ;D ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: น้าเสก คนเดิม ที่ กันยายน 21, 2005, 02:35:38 PM
A10 Thunderbolt อเมริกาไม่ขายให้ชาติใดครับ

เป็นเครื่องบินสำหรับล่ารถถังหรือโจมตีภาคพื้นดินโดยเฉพาะครับ ;D ใช้กระสุน 30 มม.ที่มีแกนเป็นยูเรเนียม ;D ได้ข่าวว่าพวกที่ไปรบอิรักมีผลกระทบเรื่องนี้หลายคน  ;D
บ้านเรามีคุยกันเรื่องนี้พอสมควรเนื่องจากต้องการเครื่องบินโจมตีเพิ่มอีก 1 ฝูง เพื่อแทนเครื่องบินฝูงที่มอบให้ฟิลิปปินส์  ;D
ส่วนเครื่องขับไล่ก็ยังต้องการอีก 1 ฝูงก็มีให้เลือก ทั้งแจส 39 และซู 30 แต่เห็นว่ารัสเซียไม่คุยด้วยเนื่องจากเขาต้องการเงินสดเข้าประเทศ ก็เหลือแต่ แจส ของสวีเดน แต่ทางอเมริกาก็ออกมาเบรคเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน โดยให้ผู้หลักผู้ใหญ่ของเขามาเยี่ยมท่านนายกฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้  ;D
รถถังก็มีครับ แลกลำใย เป็นของจีน เป็นรุ่น type 80 อะไรนี่แหละ เห็นว่าจะได้มาหนึ่งกองพัน  ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ กันยายน 21, 2005, 03:12:53 PM
ผลกระทบจากยูเรเนียมมีอะไรมั่งครับ เพราะยูเรเนี่ยมนี่เค้าใช้ทำนิวเคลียร์ไม่ใช่เหรอ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ กันยายน 21, 2005, 03:22:06 PM
กริพเพนกับซู32-35จัดเป็นสุดยอดทั้งคู่นะครับ กริพเพนสุดด้านความคล่องตัว แต่ซู32-35เป็นเครื่องบินรบขนาดหนักที่ความคล่องตัวสูงสุดคือมีทั้งคานาดด้านหน้าและท่อท้ายปรับทิศทางแรงขับได้รอบตัวมีเรดาร์มองหลังอีกต่างหากพิสัยบินก็ไกลในความคิดผมนะซู35คือสุดยอดของยุคนี้ครับยืนยันได้เพราะขับมาแล้ว ( Ace Combat ทั้ง5ภาค )555    แต่ถ้าให้เลือก2ตัวนี้กริพเพนน่าสนกว่าครับเพราะประเทศเราไม่ใหญ่นักเครื่องบินรบพิสัยไกลไม่น่าจำเป็นเท่าไหร่แต่เอาเครื่องบินขนาดกลางแต่ประสิทธิภาพสูงาใช้งานดีกว่า ที่สำคัญกริพเพนใช้ระบบอาวุธร่วมกับ F16ได้เกือบหมด ส่วนพี่ๆทีชอบ โฮคั่ม(แบลคช๊าคตัวเดียวกัน)เปิดสายการพัฒนาใหม่แล้วครับเป็น
คา50-2เออโดแกน ห้องนักบินนั่งตามกันโดยพัฒนาร่วมกับอิสราเอลเพื่อขายให้กับตุรกีทำให้ใช้อาวุธร่วมกับนาโต้ได้ราคาประมาณ30ล้านเหรียญถูกกว่า Viper AH-1Z เยอะครับ   ส่วนS37นี้น่าจะเริ่มเข้าสายการผลิตแล้วเป็นวัตกรรมใหม่เลยนอกจากใช้วัดุดูกกลืนเรดาร์แล้วยังใช้คลื่นแม่เหล็กมาคลุมตัวเครื่องเอาไว้ทำให้ตรวจจับยากขึ้นไปอีกตัวปล่อยคลื่นอยู่ที่แท่งข้างๆท่อท้ายที่มันยาวไม่เท่ากันนั่นแหละเห็นทีแรกเล่นเอางงทำไมไม่ทำให้เท่ากันหว่า ??? ??? ;D ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ปืนเล็กยาว ที่ กันยายน 21, 2005, 03:26:51 PM
ต้องนี่ครับ AC-130 ฐานยิงลอยฟ้าอันเกรียงไกร มีทั้งตั้งแต่ ปืนกล 7.62 6ลำกล้อง ไปจนถึง ปืนใหญ่ 105 มม. เลยครับ เอามาปราบผู้ก่อการร้ายให้อยู่หมัดไปเลย...

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Iamshootinghere ที่ กันยายน 21, 2005, 03:37:17 PM
มีระบบดีดตัวนักบิน เหมือนกับเครื่องบินขับไล่ โดย กลีบโรเตอร์ จะระเบิดหลุดออกก่อนที่นั่งนักบินจะถูกดีดตัวออก และอีกหลายอย่างครับ
ทำให้นึกถึง เจมส์ บอนด์ ตอนที่007โดน008หักหลัง จับล็อคติดกะ เครื่องบินปีกหมุนอาปาเช่(หรือคอบบร้า)
ต้องพยายามดีดตัวออกมาจากเครื่อง ก็มีใบโรเตอร์หลุดมาก่อนเหมือนกัน แต่ลักษณะการหลุดจะเป็นคล้ายๆ มีเชฟชาร์จ
ดีดออกมาแล้วที่นั่งนักบินจะหลุดออกมาทั้งห้องโดยสารเลย

ไม่ทราบว่าคา 50/52 โฮคุม จะถูกดีดมาในลักษณะหลุดมาทั้งห้องโดยสารเหมือนคอบบร้า หรือดีดออกมาเฉพาะที่นั่งนักบินครับ



ถ้าจำไม่ผิดจะเป็น 006 นะครับ แล้วก็ตรงนู้น ฮ. เป็น ไทเกอร์


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ กันยายน 21, 2005, 03:38:59 PM
ต้องนี่ครับ AC-130 ฐานยิงลอยฟ้าอันเกรียงไกร มีทั้งตั้งแต่ ปืนกล 7.62 6ลำกล้อง ไปจนถึง ปืนใหญ่ 105 มม. เลยครับ เอามาปราบผู้ก่อการร้ายให้อยู่หมัดไปเลย.
โอ้ววว สเป็กเตอร็กันชิพ :o :oดุดันแต่เสี่ยงนะครับเพราะต้องบินวนรอบยุทธบริเวณเสี่งต่อการถูกยิง


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Iamshootinghere ที่ กันยายน 21, 2005, 03:44:36 PM
ผลกระทบจากยูเรเนียมมีอะไรมั่งครับ เพราะยูเรเนี่ยมนี่เค้าใช้ทำนิวเคลียร์ไม่ใช่เหรอ

ปกติก็ไม่น่าจะเป็นอะไรนะครับ เพราะว่าที่ใช้ทำกระสุน+เกราะมักจะเป็น ยูเรเนียมแห้ง (depleted Uranium) ซึ่งจะมี 235 อยู่น้อยมากๆครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: pimuk ที่ กันยายน 21, 2005, 03:45:20 PM
ผลกระทบจากยูเรเนียมมีอะไรมั่งครับ เพราะยูเรเนี่ยมนี่เค้าใช้ทำนิวเคลียร์ไม่ใช่เหรอ


Depleted Uranium หมดสภาวะที่เป็นสารกัมมันตรังสีแล้วครับ แข็งกว่าแกนทังสเตน แต่ดูเหมือนยังมีพิษภัย
ต่อผิวหนังหรือทางเดินหายใจมะเร็ง มะรืน มะเรื่อง อะไรทำนองนั้นครับ จำได้ไม่ถนัดครับ มั่วให้ท่านซับฟังพอเป็นกระษัย... ครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ กันยายน 21, 2005, 03:51:21 PM
ผลกระทบจากยูเรเนียมมีอะไรมั่งครับ เพราะยูเรเนี่ยมนี่เค้าใช้ทำนิวเคลียร์ไม่ใช่เหรอ
มีปริมาณรังสีต่ำมากครับแต่ทหารที่กลับมาจากพายุทะเลทรายมีอาการแพ้พิษกัมมันตรังสีกันเยอะครับส่วนใหญ่เป็นทหารยานเกราะ M1A1ครับเพราะรถถังรุ่นนี้ใช้กระสุนลูกดอกยูเรเนียม


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กันยายน 21, 2005, 04:48:49 PM
  ;D ดีดเฉพาะที่นั่งครับ แต่ลองทายซิครับ ว่ามีเครื่องบินแบบไหนบ้างที่ใช้การดีดตัวแบบแคปซูลหรือโมดุล คือการออกแบบให้ห้องนักบินเป็นโมดูลสามารถแยกตัวออกมาจากตัวเครื่องเลย ไม่ได้ดีดตัวออกมาเฉพาะที่นั่งนักบิน ;D

 ;D F 111 คับ...  ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: mb154cm ที่ กันยายน 21, 2005, 04:52:26 PM
ไม่ทราบว่าคา 50/52 โฮคุม จะถูกดีดมาในลักษณะหลุดมาทั้งห้องโดยสารเหมือนคอบบร้า หรือดีดออกมาเฉพาะที่นั่งนักบินครับ

 ;D ดีดเฉพาะที่นั่งครับ แต่ลองทายซิครับ ว่ามีเครื่องบินแบบไหนบ้างที่ใช้การดีดตัวแบบแคปซูลหรือโมดุล คือการออกแบบให้ห้องนักบินเป็นโมดูลสามารถแยกตัวออกมาจากตัวเครื่องเลย ไม่ได้ดีดตัวออกมาเฉพาะที่นั่งนักบิน ;D
จะใช่ F111 มั้ยครับ :)
รู้สึกว่ากระทู้นี้จะเข้าทางคุณM686นะครับ :)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 05:09:25 PM
เครื่องบินที่ดีดทั้ห้องนักบิน หรือ โมดุล มี B70 Valkiri, B1 A

เครื่องบิน B1 สมัยประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์ ได้สั่งให้ระงับการผลิต แต่ยังคงให้มีการพัฒนาต่อ แต่ได้มีการสั่งให้ลดราคาลงมาด้วย ดังนั้น B1 A เป็นเครื่องบินที่มีการดีดตัวแบบ โมดุล ส่วน B1 b  ใช้แบบที่นั่งดีดตัวครับ เพราะ ดีดทั้ง โมดุลมันแพง และ B1 B เป็นเครื่องบินที่บรรทุกระเบิดได้มากที่สุด ของกองทัพอากาศ สหรัฐ ฯ เลยทีเดียว

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 05:17:57 PM
ภาพ เปรียบเทียบการบรรทุกระเบิด Jdam ระหว่าง B1, B2 and B52

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 05:24:50 PM
เครื่องบิน B1 มีห้องเก็บระเบิดขนาดใหญ่ 3 ห้อง ภายในลำตัว และลูกระเบิดถูกบรรจุในแม็กกาซีน ทำให้โหลดได้เร็วกว่า การโหลดทีละลูก และ ปลอดภัยกว่าด้วย

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 05:45:56 PM
ใครว่า อเมริกา ยอมรับแนวคิดในการสร้าง เครื่องบินของรัสเซีย ไม่ได้ อย่าง โครงการ JSF  ผู้ชนะการแข่งขัน Lockheed Martin ใด้ใช้ทางลัด โดย ซื้อสิทธิบัตรการเปลี่ยนกระแส เจ็ท มาจาก Yakolav ซึ่งเป็นสำนักออกแบบของ รัสเซีย โดยได้สร้างต้นแบบ YAK 141 และ ได้ขึ้นบินทดสอบสำเร็จ มาใส่ในเครื่องบินของตน

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 06:00:00 PM
ต้นตำหรับ Yak 141

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 07:23:30 PM
MI 28 Havoc เป็นนคู่ปรับกับ AH 64 Apache และ PAH-2 Tiger

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 07:35:15 PM
ตัวนี้ PAH-2 Tiger ครับ

Tiger เป็น helicopter ที่มาจากความร่วมมือกันระหว่าง ฝรั่งเศษ กับ เยอรมัน จะผิดกับ AH 64 Apache ตรงตำแหน่งนักบินกับพลอาวุธ ที่นักบินของ Tiger นั่งหน้า พลอาวุธนั่งหลัง ส่วน Apache ตรงกันข้าม

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: วายุ - รักในหลวง ที่ กันยายน 21, 2005, 07:37:15 PM
โห......มีแต่ท่านที่เก่งและรอบรู้เรื่องเครื่องบินรบจริง ๆ นับถือ ๆ ;D

ผมไม่ได้อ่านหนังสือสมรภูมิมาหลายปีแล้ว ตอนเด็ก ๆ ก็ชอบอ่านมากเหมือนกัน สงสัยอ่าน อวป. จนติด....... ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Recoillism ที่ กันยายน 21, 2005, 07:40:48 PM
มีท่านใดต่อโมเดลเครื่องบินบ้างครับ   8)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 07:49:23 PM
ของ อเมริกัน มาหลังสุด ครับ

AH 64 Apache

จากข้อมูลขอ Fas.org Apache บรรทุกอาวุธได้หลากหลายที่สุดใน 1 เที่ยวบิน แต่ในสงครามอ่าว ปี 1991 อาปาเช่ มีปัญหาเรื่องฝุ่นทรายทำให้ชั่วโมงซ่อมบำรุง/ชั่วโมงบินสูง คือ จอดซ่อมมากกว่าบิน แต่ อาปาเช่ ก็เป็นหน่วยแรกที่ถูกส่งข้ามพรมแดนไปถล่มฐานปืนใหญ่ อิรัค

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 07:57:17 PM
ตัวนี้ AH-64D Longbow ครับ เป็น AH-64 รุ่นติดเรด้า เลยเรียกให้ต่างไปว่า Longbow

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 08:51:16 PM
Rafale ของ ฝรั่งเศษครับ เป็นเครื่องบินปีก สามเหลี่ยม 2 เครื่องยนต์ ที่มี ปีกเล็กอยู่ด้านหน้า คล้ายกับ Eurofighter และ มิก 35 รวมถึง JAS 39 Gripen ด้วย ฝรั่งเศษ ไม่ยอมร่วมมือกับประเทศในยุโรปอื่น ๆ ในการพัฒนา Eurofigter แต่ Rafle กลับได้ขี้นบิน และ ส่งมอบได้ก่อน Eurofighter เสียอีก

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 09:04:03 PM
เครื่องบิน rafale เข้าประจำการมา 7 ปีแต่ส่งมอบได้เพียง 61 ลำ ทั้งโครงการมีโครงการบรรจุเข้าประจำการ 294 ลำ ส่วนเรื่อง ขายให้กับต่างประเทศ คงยาก เพราะต้องแข่งกับ Eurofighter, เครื่องบินจากทั้ง รัสเซีย และ อเมริกา ที่สำคัญ อาวุธที่ติอยูกับ ราฟาล ก็ไม่เหมือนกับ Eurofighter กับ เครื่องบินจาก อเมริกา

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: van-เรารักในหลวง ที่ กันยายน 21, 2005, 09:31:07 PM
ซื้อไว้เถอะครับเผื่อจะได้รบกับไอ้หมาเล(มาเลเซีย)เพื่อนทรยศ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 21, 2005, 09:35:19 PM
ตัวอย่างของชาติเล็ก ๆ ที่มีศตรูรอบด้านต้องพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่ F21 Kfir จึงเป็นตัวอย่างที่ดี

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: มะขิ่น ที่ กันยายน 22, 2005, 06:51:03 AM
Kfir F 21 เครื่องบินขับไล่ของอิสราเอล ที่มีแผนแบบมาจาก มิราจ ของฝรั่งเศส.........

คุณ686 เคยอ่านบทความที่ อิสราเอล ได้แผนแบบมิราจมาจากฝรั่งเศสอย่างไร?ไหมครับ...............สนุกเหมือนนิยายเลย


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: JC ที่ กันยายน 22, 2005, 07:46:28 AM
Kfir F 21 เครื่องบินขับไล่ของอิสราเอล ที่มีแผนแบบมาจาก มิราจ ของฝรั่งเศส.........

คุณ686 เคยอ่านบทความที่ อิสราเอล ได้แผนแบบมิราจมาจากฝรั่งเศสอย่างไร?ไหมครับ...............สนุกเหมือนนิยายเลย

ท่านผู้การเล่าให้ฟังหน่อยครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: vichai01++รักในหลวง++ ที่ กันยายน 22, 2005, 08:05:47 AM
Kfir F 21 เครื่องบินขับไล่ของอิสราเอล ที่มีแผนแบบมาจาก มิราจ ของฝรั่งเศส.........

คุณ686 เคยอ่านบทความที่ อิสราเอล ได้แผนแบบมิราจมาจากฝรั่งเศสอย่างไร?ไหมครับ...............สนุกเหมือนนิยายเลย

ท่านผู้การเล่าให้ฟังหน่อยครับ

...ยกมืออยากฟังอีกหนึ่งเสียงครับ...


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: น้าเสก คนเดิม ที่ กันยายน 22, 2005, 08:18:15 AM
ผลกระทบจากยูเรเนียมมีอะไรมั่งครับ เพราะยูเรเนี่ยมนี่เค้าใช้ทำนิวเคลียร์ไม่ใช่เหรอ


เท่าที่ผมได้อ่านในบทความนะครับ ท่านซับ  ;D

คือ พวกทหารเหล่านั้นกลับไปอเมริกาแล้ว ไม่ยอมทำการบ้านครับ  ;D นกเขาหลับไม่ตื่น  ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Army - รักในหลวงครับ ที่ กันยายน 22, 2005, 08:46:05 AM
ผลกระทบจากยูเรเนียมมีอะไรมั่งครับ เพราะยูเรเนี่ยมนี่เค้าใช้ทำนิวเคลียร์ไม่ใช่เหรอ
เท่าที่ผมได้อ่านในบทความนะครับ ท่านซับ ;D
คือ พวกทหารเหล่านั้นกลับไปอเมริกาแล้ว ไม่ยอมทำการบ้านครับ ;D นกเขาหลับไม่ตื่น ;D

อย่างนี้ขอต้านการนำยูเรเนียมเข้าเมืองไทยสุดชีวิตเลยครับ  :)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 11:01:00 AM
Kfir F 21 เครื่องบินขับไล่ของอิสราเอล ที่มีแผนแบบมาจาก มิราจ ของฝรั่งเศส.........

คุณ686 เคยอ่านบทความที่ อิสราเอล ได้แผนแบบมิราจมาจากฝรั่งเศสอย่างไร?ไหมครับ...............สนุกเหมือนนิยายเลย

ไม่เคยครับพี่ มะขิ่น แต่เคยอ่านเรื่องที่ อิสราเอล ลอบนำ ยูเรเนี่ยม เข้าประเทศเพื่อทำ ระเบิดนิวเคลียส์  เหมือนนิยายเหมือนกัน อีกเรื่องคือ ตอนชิงตัวประกันที่สนามบิน เอนเทบเบ้ เรื่องนี้ยิ่งกว่าอีก เพราะ หัวหน้าทีม ตายคนเดียว ทุกคนรอดหมด

ชุดนี้เป็น มิราจ 2000 ครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 11:15:26 AM
ภาพ 3 วิว ของ มิราจ 3/5 กับ คเฟอร์ คล้ายกันมาก ยกเว้น ปีกเล็ก (คาร์นาด) ที่เพิ่มเข้ามา

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: srimalai_รักในหลวง ที่ กันยายน 22, 2005, 11:34:47 AM
น่าจะเอาผี เต ซาวแปด โทรจาน บ่ย่านไผ มาปลุกให้ฟื้นคืนชีพ แล้วติดปืนแก็ปอากาศ แล้วก็ระเบิด นมม. หรือถ้ามีเงินเพิ่มขึ้นอีกหน่วยก็ซื้อ ซิงกัว จากญาติของเราครับ อิอิ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 11:41:14 AM
เครื่อบิน F20 Tigershark เป็นเครื่องบินที่ไม่เคยบรรจุเข้าประจำการในกองทัพของชาติใดในโลก แต่ก็เป็นเครื่องบินที่โด่งดังมากเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เพราะ ใต้หวัน เสนอขอซื้อแผนแบบไปผลิตเอง กับซื้อชุด คิด ไปปรับปรุง F5 ที่มีประจำการอยู่เป็นจำนวนมาก (มากที่สุดในโลก) แต่ถูกคัดค้านจาก จีนแผ่นดินใหญ่ เลยทำให้ เครื่องบินรุ่นนี้ไม่เคยเข้าสู่สายการผลิต

F 20 เป็นการพัฒนาโดยบริษัท นอร์ธอป เพื่อทดแทน F5 และยังรับปรับปรุง F5 ของชาติพันธมิตรเพื่อให้เป็น F20 อีกด้วย แต่ไม่เคยมีชาติใดแสดงความสนใจในโครงการนี้ นอกจาก ใต้หวัน ดังนั้นโครงการนี้จึงล้มไป แต่ นาซ่าก็ได้นำแผนแบบของ F20 ไปใช้ในโครการ X29 ซึ่งเป็นเครื่องบินทดลอง ปีกลู่หน้า แบบแรกของโลก

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 11:44:23 AM
F5, F20 กับ X29

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 03:04:42 PM
helicopter KA-32 Helix เป็น ฮ. ที่น่าสนใจมากสำหรับสำหรับกองทัพเรือ เพราะ ใบพัด 2 ชั้นของ เฮลิกสามารถประหยัดพื้นที่จอดบนเรือได้

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 03:25:49 PM
ฮ. KA27, KA29, KA32 มี nick name ว่า Helix  เหมือนกัน โดย คา 32 เป็นรุ่นล่าสุด เฮลิก เป็นเครื่องบินลำเลียงที่ประสพความสำเร็จสูงแบบหนึ่งของ รัสเซีย ทั้งทางทหาร และ พลเรือน จากรูปแบบของ ฮ. เอง ทำให้เหมาะกับการส่งกลับทางการแพทย์ (medevac)และ ฐานขุดเจาะน้ำมัน อีกด้วย

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 05:05:46 PM
เครื่องบิน มิก ที่มีการกล่าวขานน้อยที่สุด ทั้ง ๆ ที่มีขีดความสามารถสูงที่สุดของเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นในยุคของมัน คือ เครื่องบิน Mig 31 Foxhound อาวุธที่ร้ายกาจที่สุดของ มิก 31 คือ เรด้า ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาเครื่องบินรบด้วยกัน และบินได้ด้วยความเร็ว เกือบ 3 มัค โดย สามารถสกัดเป้าหมายได้ถึง 24 เป้าหมาได้ในเวลาเดียวกัน

จีนแผ่นดินใหญ่ได้ซื้อ มิก 31 ถึง 24 ลำ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 05:08:15 PM
อีกมุมของ มิก 31

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ กันยายน 22, 2005, 05:14:58 PM
โซเวียตนำ มิก 31 เข้ามาประจำการตอนไหนครับ รู้สุกว่า 10 ปีนิดๆ แล้วใช่ไหมครับ?


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 05:37:05 PM
โซเวียตนำ มิก 31 เข้ามาประจำการตอนไหนครับ รู้สุกว่า 10 ปีนิดๆ แล้วใช่ไหมครับ?

20 ปีนิด ๆ หล่ะไม่ว่า  ;D ;D ;D

Mig 31 Foxhound เป็นเครื่องบินยุคเดียวกับ Mig 25 Foxbat ครับ แต่ยังคงสายการผลิตอยู่จนถึงปัจจุบัน และยังคงอยู่ต่อไปจนถึงปี 2010 โดยจีนเพิ่งสั่งซื้อ 24 เครื่อง ไปเมื่อปี 19992

Countries of Origin  CIS (formerly USSR) 
Similar Aircraft  MiG-25 Foxbat
F-14 Tomcat
F-15 Eagle
 
Crew  Two
Role  interceptor
air superiority
 
Length  70 ft, 5 in (21.5 m)
Span  45 ft, 9 in (14 m)
Height:  6.60 m 
Wing span:  14.02 m     
Wing area: 61.41 sq m
Maximum speed:  Mach 2.83
Weight: (empty) 22,000 kg 
Weight: (normal) 36,720 kg
Powerplant:  Two Tumanski R-15BD-300
afterburning turbojets rated at
49.78kN each
Maximum Range:  1,250 km
Service ceiling:  20,700 m 
Rate of climb: 8 min 54 sec to 20,000 m
Ceiling 24400 meters
Cruise range 1620 nm
In-Flight Refueling No
Internal Fuel 14200kg
Drop Tanks 2000L drop tank with 1600kg of fuel for 91 nm range
Sensors LD/SD TWS radar, possible IRST, RWR
Armament  cannon
R-33 AA-9 Amos
AA-11 Archer
Typically

two R-40 missiles
Four R-60 missiles
 


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ กันยายน 22, 2005, 05:50:03 PM
Wow คุณภาพเยี่ยมจิงๆ ขอบคุณมากครับ

ถ้าการตลาดเก่ง เส้นสายดีๆ น่าจะขายดี ถ้าขายเป็นลำสู้เมกันไม่ได้ก็ขายแบบไปเลย หุ หุ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: สีอำพัน-รักในหลวง ที่ กันยายน 22, 2005, 06:00:22 PM
ติดตามมานานแล้ว ขอถามหน่อยครับ
ไทยเราสรุปได้หรือยังครับจะเอาอะไร ซู หรือ เอฟ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 06:18:15 PM
มาดู เรือบิน   กันบ้าง  :o :o :o

ครับ เรือบิน (amphibian plane) เป็น เรือบินรุ่นเดียวที่ยังประจำการอยู่ในกองทัพ (รุ่นอื่นเป็นของพลเรือน กับหน่วยราชการอื่นที่ไม่ไช่ทหาร)

A-40 Albatros หรือมีชื่อเล่นว่า Mermaid

A-40 เป็นเรือบิน และ เรือบิน เจ็ท ที่ครองสถิติใหญ่ที่สุดในโลกอีกตำแหน่งด้วย





[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 06:23:12 PM
ติดตามมานานแล้ว ขอถามหน่อยครับ
ไทยเราสรุปได้หรือยังครับจะเอาอะไร ซู หรือ เอฟ
ยัง ครับเพราะ ยังตกลงกันไม่เสร็จ เพราะ ความต้องการของกองทัพ ต้องมาหลังความต้องการการค้า และ ทางการเมืองครับ :~) :~) :~)

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 06:40:43 PM
Beriev A-50 Mainstay SDRLO

เป็นคำตอบของ E-3 Sentry (Awacs)** แต่ของรัสเซีย ใช้คำว่า "Long Range Detection System"

A-50 ใช้โครงเครื่องบินขนส่งของ IL - 76 เป็นฐาน แต่ไม่ทันสมัยเท่า E-3 Sentry ที่ใช้โครงเครื่องบินโดยสาร Boeing 707






**Awacs = airborne warning and control system

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 06:42:40 PM
อีกมุมของ A-50 8iy[

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 06:58:46 PM
ถ้าถามว่า เอารูปแบบของ F 16 มารวมกับ F18 แล้วจะได้เครื่องบินออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร???

คงจะได้หน้าตาเหมือนกับ  IDF (Indigenous Defense Fighter) ครับ เป็นเครื่องบินของ ใต้หวัน

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 07:09:15 PM
เครื่องบินเก่าที่ยังประจำการอยู่อย่างยาวนาน และ ออกปฎิบัติการในสงครามอ่าว เมื่อปี 1991 ด้วยคือ เครื่องบิน Jaguar

เป็นความร่วมมือกันระหว่า อังกฤษ กับ ฝรั่งเศษ เพื่อแทนเครื่องบิน T33

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 07:35:17 PM
Panavia Tornado เป็นเครื่องบินที่กำเนิดมาจากความร่วมมือกันระหว่าง 3 ชาติ โดยมี เยอรมัน, อังกฤษ และ อิตาลี โครการเริ่มแรกมาจากความต้องการของกองทัพอากาศ อังกฤษ ในปี 1969 หลังเครื่อง จากัว 4 ปี

ทั้ง Tornado และ Jaguar ต่างได้เข้าร่วมในสงครามอ่าว ในปี 1991 ด้วยกันทั้งคู่

Tornado มีอัตราการถูกยิงตก/เที่ยวบิน สูงมากจนต้องเปลี่ยนยุทธวิธีจากโจมตีระดับต่ำ มาเป็นการโจมตีระดับสูงแทน

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Zeus-รักในหลวง ที่ กันยายน 22, 2005, 07:49:01 PM
Kfir F 21 เครื่องบินขับไล่ของอิสราเอล ที่มีแผนแบบมาจาก มิราจ ของฝรั่งเศส.........

คุณ686 เคยอ่านบทความที่ อิสราเอล ได้แผนแบบมิราจมาจากฝรั่งเศสอย่างไร?ไหมครับ...............สนุกเหมือนนิยายเลย

ท่านผู้การเล่าให้ฟังหน่อยครับ

...ยกมืออยากฟังอีกหนึ่งเสียงครับ...
สนับสนุนอีก 1 เสียงครับ เล่นมาเปิดหัวเรื่องแล้วไม่เล่านี่...คนรออ่านกระวนกระวายใจนะครับพี่


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 07:54:30 PM
เครื่อง Tornado  เป็นเครื่องบินที่ได้รับความคิดในการออกแบบมาจาก F14 Tomcat ของ อเมริกา แต่ได้ถูกย่อขนาดลง เพื่อเป็นเครื่องบินขับไล่ และ โจมตีระดับต่ำทางลึก โดยคาดว่า การลดขนาดลงจะทำให้ราคาของเครื่องบินทั้งโครงการจะถูกกว่าขอให้ Grumman Aerospace Corporation เป็นผู้พัฒนา F14 Tomcat เพื่อเป็นเครื่องบินโจมตี แต่กลับเป็นว่า เครื่อง Tornado แพงกว่า F14 เสียอีก

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: mb154cm ที่ กันยายน 22, 2005, 08:12:11 PM
เอารายละเอียด บ Lightning มาให้ดูหน่อยซีครับ :)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 08:18:23 PM
มาถึงเครื่องบินขับไล่ อภิมหา อมตะของ อเมริกากันบ้างครับ F 14 Tomcat

เครื่องบินเครื่องแรกได้ทำการบินครั้งแรก เมือปี 1970 ก่อนสงครามเวียตนามจบลง 5 ปี จนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่มีแผนปลดประจำการ

แรกเริ่ม F14 Tomcat ได้ถูกแผนแบบให้เป็นเครื่องบิน ขับไล่ครองอากาศระยะไกล แต่หลังจากปลดประจำการของ A6 Intruder ทำให้กองทัพเรือไม่มีเครื่องบินโจมตีระยะไกล (F18 Hornet มีพิศัยสั้นกว่า F14 Tomcat) ทำให้กองทัพเรือหันมาพัฒนาเครื่องบิน F14 ให้มีขีดความสามารถในการโจมตีภาคพื้นดิน

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 08:26:57 PM
เอารายละเอียด บ Lightning มาให้ดูหน่อยซีครับ :)

ได้ครับ

P-38 Lightning

Manufacturer: Lockheed Aircraft Corporation 
Span: 51 ft. 3 in. 
Length: 38 ft. 1 in. 
Height:  13 ft. 8 in. 
Weight:  24,800 lbs. max. 
Armament: Six .50-cal. machine guns,
25 five-inch rockets, and
4,000 lbs. of bombs
 
Engines: Two Packard V-1650s of 1,380 hp. ea. 
Crew: Two 
Cost: $228,000 
Maximum speed: 482 mph 
Cruising speed: 280 mph 
Range: 2,200 miles 
Service Ceiling:  39,900 ft 


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: tu.trang ที่ กันยายน 22, 2005, 08:38:38 PM
สุดยอดความฝันของผมเลยที่จะเป็นนักบินขับไล่แต่คงไกลเกินฝันแล้วละ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 09:16:00 PM
Lockheed EC 130V Hercules

เป็นเครื่องบินที่ กองทัพเรือไทย น่ามีเข่าประจำการมากที่สุด อย่างน้อย 4 ลำ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 09:32:41 PM
F22 Raptor

เป็นเครื่องบินที่กองทัพไทยไม่น่าหามาประจำการ เพราะราคาแพงมาก เกือบ หมื่นล้านบาทไทย

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 22, 2005, 09:35:43 PM
อีกมุมของ แรปเตอร์ ครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Nakin ที่ กันยายน 23, 2005, 12:21:17 AM

อืมม ..... P - 38  Lightning  ไม่ใช่ลำนี้หรือครับ .....

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Nakin ที่ กันยายน 23, 2005, 12:50:17 AM

ส่วนลำนี้น่าจะเป็น  P - 82  Twin  Mustang ......

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 23, 2005, 12:56:26 AM
ต้องขอโทษด้วยครับ อย่างคุณ nakin โพสครับ

ที่ผมโพส น่ะ F82 Twin Mustang ภาพมันเล็ก เห็นเป็น 2 เครื่องยนต์เหมือนกันเลยโพสออกมา

หน้าแตกเลย  :~) :~) :~)

Specifications: 
Lockheed P-38L Lightning 
Dimensions: 
Wing span:  52 ft. 0 in (15.84 m) 12:49 PM 4/14/2000
Length:  37 ft. 10 in. (11.53 m) 
Height:  12 ft. 10 in. (3.91 m) 
Weights: 
Empty:  14,100 lb. (6,395 kg) 
Operational:  17,500 lb. (7,937 kg) 
Performance: 
Maximum Speed:  390 mph (627 km/h) @ 15,000 ft. (4,572 m) 
Service Ceiling:  40,000 ft. (12,192 m) 
Range:  900 miles (1,448 km) @ 30,000 ft. (9,144 m) 


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 23, 2005, 01:13:58 AM
อังกฤษ ก็มี Lightning ครับ คือ F6

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: มะขิ่น ที่ กันยายน 23, 2005, 07:15:43 AM
Kfir F 21 เครื่องบินขับไล่ของอิสราเอล ที่มีแผนแบบมาจาก มิราจ ของฝรั่งเศส.........

คุณ686 เคยอ่านบทความที่ อิสราเอล ได้แผนแบบมิราจมาจากฝรั่งเศสอย่างไร?ไหมครับ...............สนุกเหมือนนิยายเลย

ท่านผู้การเล่าให้ฟังหน่อยครับ

...ยกมืออยากฟังอีกหนึ่งเสียงครับ...
สนับสนุนอีก 1 เสียงครับ เล่นมาเปิดหัวเรื่องแล้วไม่เล่านี่...คนรออ่านกระวนกระวายใจนะครับพี่

เอาพอเป็นน้ำจิ้มนะครับ.............

ตอนที่อิสราเอลเริ่มรบกับชาติอาหรับหนักขึ้นๆ..................ทำให้มีความต้องการ บ.ขับไล่เป็นจำนวนมาก.............ที่ได้รับความช่วยเหลือจากลูกพี่อเมริกา ก็ได้ไม่มาก เพราะติดเรื่องการเมือง เพราะไปเอาดินแดนอาหรับที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มาหั่นแบ่งอิสราเอล โดยอ้างว่าดินแดนแห่งนี้เคยเป็นของชาวฮิบรูเมื่อสองพันปีก่อน(เป็นข้ออ้างที่จัญไรจริงๆ เราน่าเอาอย่างบ้างนะ )....................ชาติอาหรับก็ไม่ยอมสิครับ..............อังกฤษ ก็เล่นบทบาททางการเมืองกันท่าอิสราเอล แต่ก็ยอมๆอเมริกา แบบปากว่าตาขยิบ.............

อิสราเอลเลยคิดที่จะสร้าง บ.ขับไล่ เพื่อใช้เอง................เลยให้สายลับของตัวเอง ที่ทำงานอยู่ใน บ.เดสโซล เบรเกต์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิต บ.ขับไล่ตระกูลมิราจของฝรั่งเศส.................หาวิธีการโขมยแบบแปลน บ.ขับไล่ มิราจ lll (ขี้เกียจออกแบบเอง) จากบริษัท..........

สายลับกลุ่มดังกล่าว ก็ค่อยๆ สับเปลี่ยนแบบแปลนของมิราจ 3 ที่มีสำเนาหลายสำเนา ให้ไปรวมอยู่ในกองแบบแปลนที่ใช้ไม่ได้.....................แบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป.............และคอยหลีกเลี่ยงระบบการรักษาความปลอดภัยทางด้านเอกสารที่เข้มงวด ด้วยเลห์กล หลอกล่อ เจ้าหน้าที่ของบริษัทและของกลาโหมอยู่ตลอดเวลาและไม่ให้เจ้าหน้าที่เหล่านั้นรู้ตัวด้วย.................

สุดท้ายแบบแปลนมาตรฐานของมิราจ 3 ก็แทรกเข้าไปอยู่ใน กองแบบแปลนที่เสีย...................สายลับทั้งหมด ก็รอวันที่บริษัท จะดำเนินการทำลายแบบแปลนที่เสีย ด้วยการเผาเอกสาร......................โดยวางแผนการไว้เรียบร้อย.

จนวันที่รถขนแบบแปลน ที่การคุ้มกันหนาแน่น .................ขนแบบแปลนที่เสีย ไปเตาเผา เพื่อทำลาย..............สายลับกลุ่มนั้นก็ใช้ความเจ้าเล่หืแสนกล..................แยกแบบแปลนมาตรฐานที่หมกกองอยู่กับแบบแปลนที่เสีย ออกมา.................เอาขึ้นรถ หลบออกจากบริเวณไปได้ ทั้งๆที่การ รปภ.มีอย่างเข้มงวด................

แบบแปลนชุดนั้นถูกส่งมายังอิสราเอล.....................และถูกนำมาออกแบบเพิ่มเติม เช่น ระบบเรดาห์ ระบบควบคุมการใช้อาวุธ เพิ่มปีกคาร์นาด ด้านหน้า จนลงตัวตามที่ กองทัพอิสราเอลต้องการ.......................และดำเนินการผลิตออกมาเป็น KFIR บ.ขับไล่ของอิสราเอล(ใช้ชื่อว่า F21 เนื่องจากส่งไปให้อเมริกา วิจัยและอัพเกรด ตลอดจนใช้เป็น บ.ข้าศึกสมมติด้วย)................

จบข่าว ;)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: SigPro-รักในหลวง ที่ กันยายน 23, 2005, 08:15:30 AM
เดือนพฤศจิกาจะมีงาน Air Show ที่ฐานทัพอากาศ  Nellis AFB ใกล้ๆบ้าน  ผมอยากเชิญท่าน M686 มาเที่ยวจัง  ;D คิดว่าท่าน 686น่าจะชอบ  เมื่ออาทิตย์ที่แล้วเขามีฝึกกัน  ได้เห็นเครื่องแปลกๆจากยุโรปบินอยู่หลายลำเลย 


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: น้าเสก คนเดิม ที่ กันยายน 23, 2005, 08:29:42 AM
น่าจะเอาอย่างยิวบ้างน่ะ  ;D เป็นคนที่หัวดี ช่างคิด ช่างลอก ช่างปรับปรุง  ;D เค้าทำทุกวิถีทางที่จะทำให้ประเทศเขาอยู่รอดปลอดภัย
ปัจจุบันเครื่องบินและ ฮ.ของเราก็อาศัยอิสราเอลนี่แหละปรับปรุง ทั้ง เบลล์ 212 และ เอฟ-5 (กองบิน 21) ผมกำลังคอยดูเห็นว่าจะใช้อาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง+เรดาร์+ระบบการยิงติดหมวกนักบิน ฯลฯ ที่สำคัญโครงการปรับปรุง เอฟ-16 เอ
ก็มีแววว่าจะให้อิสราเอลนี่แหละปรับปรุง (ปรับปรุงเสร็จแล้วน่าจะมีประสิทธิภาพประมาณ 70-80% ของบล็อก 80)
การปรับปรุงโครงการต่าง ๆ นี้ เพื่อรอระยะเวลาที่จะนำเครื่อง JSF เข้าประจำการคงอีกประมาณ สิบกว่าปี  ;D

เรื่อง JSF นี่ประเทศออสเตรเลียก็มาเชิญไทยเราเข้าร่วมพัฒนานะครับ  ;D ถือว่าเขาเห็นความสำคัญของเราและให้เกียรติเรามาก ในอนาคตเราจะได้พัฒนาวิศวกรรมการบินของเราเองบ้าง  ;D ไม่ใช่รอให้เขาพัฒนาเสร็จแล้วไปรอเข้าแถวซื้อลำดับท้าย ๆ เหมือนโครงการเอฟ-16  ;D

จบข่าวสั้นเหมือนกัน  ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 23, 2005, 08:31:53 AM
อยากไปครับ แต่ผมกลับมาเมืองไทย เกือบ 4 ปีแล้วครับ  :~) :~) :~)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: SigPro-รักในหลวง ที่ กันยายน 23, 2005, 08:48:39 AM
 :~)  เสียดายจัง.....แต่ก็สงสัยอยู่ว่าท่าน 686 คงจะผ่าน Air Show มามากกว่าผมแน่ๆ   เพราะผมได้ดูครั้งแรกก็ตอนปี 93 ที่น้าหมีแกขนทีมโชว์ที่ใช้ มิก 29 มาโชว์ที่กำแพงแสน รู้สึกว่าจะมี มิก 31 พ่วงมาด้วยลำนึง  นั่นคือครั้งแรกในชีวิต ต่อมาก็ได้แต่ดู
Thunder Birds  ที่ Nellis นี่แหละครับ ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 23, 2005, 09:23:44 AM
กลับมาทางฝั่ง รัสเซีย อีกครั้งครับ

เครื่องบินของ รัสเซีย ไม่ได้ออแบบ และ ผลิตโดยบริษัทเดียวกันอย่างเครื่องบินของทางฝั่งตะวันตกครับ ทาง รัสเซีย จะมีสำนักแผนแบบ(bureau) ออกแบบให้โรงงานของรัฐเป็นผู้ผลิตอีกที โดยตั้งชื่อตามสำนักออกแบบ อย่าง มิก (มิกโกยัน-กูรีวิช Mikoyan-Gurevich ), ซู (ซูกคอย), ตู (ตูโปเลฟ), ยัค (ยาโกแลฟ) เป็นต้น

การพัฒนาเครื่องบินของ รัสเซีย ก็ต่างกับทางฝั่งตะวันตกเช่นกัน ซื่อเรียกขานจะเปลี่ยนไปเมื่อมีการปรับปรุงหลัก แทนที่จะเพิ่มอักษรเข้าไปข้างหลังอย่างทางฝั่ง อเมริกา อย่าง F/A 18 A Hornet กับ F/A 18 E Super Hornet ถ้าเป็นทางฝั่ง รัสเซีย คงไม่เหลือ F/A 18 เอาใว้แล้วครับ คงเปลี่ยนไปเป็นรุ่นอื่นไปแล้ว

อย่างเช่น Mig 15 Fagot กับ Mig 17 Fresco ที่เหมือนกันมาก โดยเปลี่ยนแต่ องศา ของปีกที่ลู่มากขึ้น และ บางลง กับ ปีกหางให้ทรงตัวดีขึ้นที่ความเร็วสูง (ที่ Mig 15 สู้ F-86 Saber ไม่ได้ก็เพราะ เรื่องนี้)

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 23, 2005, 09:36:21 AM
อีกคู่ครับ Mig 23 Flogger กับ Mig 27 Flogger D (ทั้งคู่ใช้นามเรียกขานเหมือนกัน)

Mig 23 จะเป็นเครื่องบินขับไล่ ครองอากาศ และ สกัดกั้น ส่วน Mig 27 ก็คือ Mig 23 รุ่นโจมตีภาคพื้นดิน


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 23, 2005, 09:50:41 AM
คราวนี้ชุดใหญ่ครับ เริ่มที่ Su-27 FLANKER (SUKHOI)

แล้วตามด้วยที่เหลือ

Su-30 (Su-27P)
Su-32
Su-33 (Su-27K)
Su-34 (Su-27IB)
Su-35 (Su-27M)
Su-37


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 23, 2005, 09:57:44 AM
ใส่รูปได้ไม่หมดครับ
ซู 35 กับ ซู 37 ภาพ 3 วิวเหมือนกัน แต่ ซู 37 มี super- maneuverable thrust vectoring

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: bobby ที่ กันยายน 23, 2005, 10:23:17 AM
 ;D

ยอดเยี่ยมครับ สาระความรู้และรูปประกอบ บทความวิเคราะห์ก็สุดยอดครับ เก่งมากๆเขียนต่อไปเรื่อยๆนะครับ ทุกๆท่าน

ช่วยเขียนถึง Black bird ด้วยครับ ผมชอบมาก ไปเห็นที่ ชีแอตเติ้ล ลำยาวเฟื้อยเลย ถ้าเลี้ยวมุมแคบคงหักกลางอากาศ ได้ข่าวว่านาซ่านำกลับมาใช้อีก


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: narongt ที่ กันยายน 23, 2005, 10:58:14 AM
ที่บ้านผมมี su 2 ลำครับแต่ขนาด 1:72


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 23, 2005, 11:47:27 AM
SENIOR CROWN SR-71

SR-71 มีนามเรียกขานอย่างไม่เป็นทางการว่า Blackbird (นกดำ) เพราะ ทุกลำจะทาด้วยสีดำ เป็นเครื่องบินที่ประจำการในกองทัพอากาศ อเมริกา มานานกว่า 30 ปี และ ยังครองสถิติโลกอีกหลายรายการที่ยังไม่มีเครื่องบินลำใดทำลายได้

การพัฒนา SR-71 เริ่มต้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 2506 หรือ เมื่อ42 ปีที่แล้ว จากแผนแบบ A11 มาเป็นเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นระยะไกล YF-12 และเริ่มบินครั้งแรกเมื่อ ธันวาคม 1964 (เพียงไม่ถึง 2 ปี)



Primary Function:      Strategic Reconnaissance 
Contractor:               Lockheed-Martin Skunkworks 
Power Plant:              2 Pratt and Whitney J-58 axial-flow turbojets with afterburners
each produces           32,500 pounds of thrust 
Length:                     107.4 feet (32.73 m) 
Height:                      l8.5 feet (5.63 m) 
Weight:                     140,000 pounds (52,250 kg)
Gross takeoff weight   80,000 pounds (30,000 kg) JP-7 fuel weight 
Wingspan:                 55.6 feet (16.94 m) 
Speed:                       over Mach 3.2 / 2,000 mph (3,200 kph) 
Range:                       over 2000 miles (3200 km) unrefueled 
Altitude:                      over 85,000 feet (26,000 m) 
Unit Cost:   
Crew                           2 


เจ้านกดำ จอมเขมือบใช้เครื่องยนต์  Pratt and Whitney J-58 axial-flow turbojets with afterburners โดยใช้เชื้อเพลิงพิเศษ JP-7 ตัวเครื่องบินเองหนัก 34 ตัน แต่สามารถบรรทุกเชื้อเพลิงได้ถึง 20 ตัน เพื่อให้เจ้านกดำนี้บินได้เพียง 2 ชั่วโมง (10 ตัน/ชั่วโมง  :DD :DD :DD)

โครงสร้างลำตัวส่วนใหญ่ ทำด้วย ไทเทเนี่ยม และโลหะผสม ไทเทเนี่ยม เพื่อให้ทนความร้อนที่เกิดขึ้นเมื่อบินด้วยความเร็ว 3 เท่าเสียงโดยที่ลำตัวเครื่องบินจะขยายตัวเพิ่มความยาวอีกหลายนิ้ว โดยถ้าจอดบนพื้นดิน ถังน้ำมันจะรั่วออกมาด้วย แต่เมื่อบินด้วยความเร็วสูง น้ำมันที่รั่วก็จะหยุดไหล

มีเรื่องแปลกอยู่ 2 เรื่องสำหรับ SR-71 ครับ  ???

เรื่องแรกคือ อเมริกา ไม่มี ไทเทเนี่ยม พอสำหรับสร้างเจ้า นกดำ แต่ รัสเซีย มีอย่างเหลือเฟือ ในช่วงสงครามเย็น อเมริกา ไม่สามารถซื้อ ไทเทเนี่ยมได้โดยตรง เลยต้องให้บริษัทเอกชนหลายบริษัทแยกย้ายกันซื้อ ไทเทเนี่ยม จาก รัสเซีย

อีกเรื่องคือ ผิวด้านนอกของ Blackbird เคลือบด้วยสารดูดกลืนเรด้า แต่ กลับเป็นว่า SR71 เป็นเป้าที่ใหญ่ที่สุดบนเรด้า  ??? ??? ??? เป็นเพราะ เรด้าจะจับ แกสร้อนที่ออกมาจากเจ้านกดำนี้ได้เป็นระยะทางนับร้อยไมล์เลยทีเดียว

ภาพข้างล่างเป็น YF12 กับ SR71 รุ่นนักบิน 2 นาย







[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 23, 2005, 01:12:26 PM
SR-71 afterburn

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ กันยายน 23, 2005, 03:12:30 PM
เรื่องที่ยิวลักลอบเอาแบบฑิมพ์เขียวของมิราจไปเนี่ยผมมีบทความอยู่ครับยาวประมาณ3-4หน้ากระดาษแต่ไม่ได้พกมาด้วยเดี๋ยวจะมาโพสลงให้นะครับ แถมด้วยเบื้องหลังสงคราม6วันว่าเหตุใดยิวจึงชนะขาด ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Army - รักในหลวงครับ ที่ กันยายน 23, 2005, 06:04:35 PM
เรื่องที่ยิวลักลอบเอาแบบฑิมพ์เขียวของมิราจไปเนี่ยผมมีบทความอยู่ครับยาวประมาณ3-4หน้ากระดาษแต่ไม่ได้พกมาด้วยเดี๋ยวจะมาโพสลงให้นะครับ แถมด้วยเบื้องหลังสงคราม6วันว่าเหตุใดยิวจึงชนะขาด ;D

ขอบคุณครับ รออ่านอย่างใจจดใจจ่อเลยครับ  :)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: mb154cm ที่ กันยายน 23, 2005, 06:19:27 PM
เรื่องที่ยิวลักลอบเอาแบบฑิมพ์เขียวของมิราจไปเนี่ยผมมีบทความอยู่ครับยาวประมาณ3-4หน้ากระดาษแต่ไม่ได้พกมาด้วยเดี๋ยวจะมาโพสลงให้นะครับ แถมด้วยเบื้องหลังสงคราม6วันว่าเหตุใดยิวจึงชนะขาด ;D
ซี้ดปากรอ เลยครับ :)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 24, 2005, 10:29:53 AM
 ;D SR-71 กับ U-2 เคยมาปฏิบัติภาระกิจที่ตาคลีด้วยครับ (ภาพ 1-2) ;D
 ;D ภาพ 3 F-86 ฝูง 43 กำลังเทคออฟ ;D
 ;D ภาพ 4 ผม (เสื้อขาว) กับน้องชาย ถ่ายคู่กับเจ้าแบร์แคท หน้าช่องทางเข้ากองบิน 4 เมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้วครับ แบร์แคทลำนี้ ทางมูลนิธิอนุรักษ์ฯ ได้ยกไป ไม่ทราบว่าเป็นลำเดียวกับที่ส่งให้ บ.กรัมมัน บูรณะกลับมาใหม่เมื่อเร็ว ๆ นี้หรือไม่ ;D

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: physics teacher ที่ กันยายน 24, 2005, 07:39:49 PM
..สงสัยว่าเราจะได้เจ้าเหยี่ยวเหมือนเดิมนะครับ ตามข่าวนี้..
.Royal Thai Air Force hopes to barter for squadron of F-16s  
   Friday, September 23, 2005 - The Royal Thai Air Force hopes to buy sixteen F-16 jets which the USAF has been using in Afghanistan, under a barter trade agreement, incoming air force chief ACM Chalit Pukpasook said yesterday.

He said the sale of the F-16 C/Ds would be at a friendly price of 20 billion baht. Thailand would offer premium agricultural produce in return. ''The planes have not been used much and still have many flying hours left,'' he said.

The air force needed the fighters to replace its 30 year-old F-5 A/B jets.

Prime Minister Thaksin Shinawatra had discussed the deal with US Defence Secretary Donald Rumsfeld, he said.

Singapore recently donated its F-16A/B fleet to Thailand at the start of 2005. Those F-16s are used by the RTAF to supplement the assets already in service with its Air Force.

Thailand has received 36 new and 16 refurbished F-16A/Bs in four previous buys delivered between 1988 and 2003. With the latest Peace Naresuan IV order, the Thai AF also ordered two F-16s for spare parts reclamation.

Thailand's has been operating F-16 for over 17 years now. :VOV:


 


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Nakin ที่ กันยายน 24, 2005, 08:47:48 PM

ที่หน้าโรงเรียนเตรียมทหาร ( เก่า ) เคยมีเครื่องบิน  F - 86  Sabre , เครื่องบิน  F - 8  Bearcat  และ  รถถังขนาดเบา M - 24  Chaffee  จอดโชว์อยู่  แต่ไม่ทราบว่าปัจจุบันไปอยู่ที่ไหนแล้ว  ?


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 25, 2005, 11:39:34 AM
ในช่วงสงครามเย็น เมื่อ อเมริกา มีเครื่องบินแบบใดออกมา ทางฝั่ง รัสเซีย จะออกเครื่องที่มีลักษณะ และ ความสามารถใกล้เคียงกันออกมา ผมจะจับมาเป็นคู่ ๆ ไปดีกว่า

คู่แรก F-111 กับ Su-24 Fencer

โดยทั้ง F111 และ Su-24 มีหลาย ๆ อย่าง ที่เหมือนกัน (มาก)

1. มีนักบิน 2 ที่นั่งเคียงกัน
2. ปีกลู่ได้
3. มีเครื่องยนต์ 2 เครื่องยนต์
4. บินได้กว่า 2 เท่าเสียง



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 25, 2005, 11:41:14 AM
อีกมุมครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ปืนเล็กยาว ที่ กันยายน 25, 2005, 03:17:14 PM
ไทยเราก็น่าจะเอาอย่างอิสราเอลนะครับ ในเรื่องทางการทหาร
เอาพวกก๊อป ซีดีผี ไปลอกเลียนแบบแบบแปลนมาให้หมดเลย ตั้งแต่รถหุ้มเกราะ เรือดำน้ำ ยัน สถานีอวกาศ

นี่แถมอีกอย่างครับ ที่ควรมีไว้ใช้ในราชการ XM-8 อาวุธประจำกายแบบใหม่ เปลี่ยนแทน M-16 ได้แล้วล่ะ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 25, 2005, 03:53:40 PM
เมื่อ ราว ๆ 30 ปีที่แล้ว มีโครงการผลิตปืนเล็กยาวใว้ใช้เองครับ แต่โครงการดได้ยกเลิกไป มีการโฆษณาใหญ่โต มีการออกต้นแบบอาวุธปืนมา โชว์ ด้วย



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 25, 2005, 04:28:01 PM
เครื่องบิน Su-24 Fencer กับ F-111 ว่า คล้ายกันแล้ว แต่ถ้าเจอ  Boeing B-29 Superfortress กับ Tu-4 BULL แล้วจะพูดไม่ออกครับ เพราะ เป็นเครื่องบินแบบเดียวกัน เพราะ เมื่อปี 1943 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะจบ เครื่องบิน Boeing B-29 Superfortress 3 ลำ ได้บินลงจอดที่ไซบีเรีย เพราะ น้ำมันหมด หลังจากบินไปทิ้งระเบิดที่ ญี่ปุ่น ทำให้ รัสเซีย (สหภาพโซเวียต สมัยนั้น) ได้ครอบครองเครื่องบิน Boeing B-29 Superfortress  ทั้ง 3 ลำ จนในปี 1945 โครงการลอกแบบจึงได้กำเนิดขึ้น จนกระทั้งปี 1947 เครื่องต้นแบบของ Su-24 Fencer ได้ทำการบินขึ้นเป็นครั้งแรก


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ กันยายน 25, 2005, 04:54:51 PM
เรื่องโซเวีตยลอกแบบ บี29 นี่เคยอ่านเจอว่าลอกกับแบบโคลนนิ่งจิงๆ คับ ทำให้เกิดโจ๊กคอมมูนิด เพราะนายสั่งให้ "ลอกให้เหมือน" สหายนายช่างก็ต้องลอกให้เหมือนจิงๆ

1. พี่แกลอกซะทุกอย่าง น๊อต/สกรู/สปริง ฯลฯ ก็ต้องเท่ากันเลย ยุ่งเกือบตายเพราะมาตราของโซเวียตไม่เหมือนเมกัน สหายนายช่างผลิต น๊อต/สกรู/สปริง ฯลฯ ใหม่ทุกตัว

2. โซเวียตยึด บี29 เครื่องแรกได้ก็ลอกแบบเครื่องแรกไป พอยึดเครื่องที่สองได้มีปัญหาโลกแตกครับ สีข้างในทาไม่เหมือนลำแรกอยู่ครึ่งลำ สหายท่านไม่รู้จะทำยังไง คอมมูนิดเอาสมองไปเป็นของชาติแล้ว คิดเองเดี่ญวท่านผู้นำรู้ว่ามีสมองจะโดนย้ายไปไซบีเรีย เลยต้องทำเรื่องเสนอไปตามสายงานจนถึง "รัฐมนตรี" เพื่อให้มีบัญชาว่าข้างในเครื่องบินที่เรากำลังสร้างลอกแบบเมกันควรพ่นสีอะไรดี? เรื่องนี้สีในโรงงานที่เมกาคงหมดพอดี พวกช่างเมกันชุ่ยๆ เลยใช้สมองตัดสินใจเอากระป๋องอื่นพ่นไปแทนเพราะไม่รู้จักทำอะไรมีเอกภาพแบบคอมมูนิด


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 25, 2005, 06:03:17 PM
ระหว่าง B-29 Superfortress กับ Tu-4 BULL เป็นการลอกการออกแบบจากต้นแบบแล้ว ต้องคู่กัดคู่นี้ครับ สะใจกว่า เพราะ เป็นการออกแบบที่เหมือนกันมาก (แต่ขนาดต่างกัน)

ระหว่าง B-1B Lancer กับ Tu-160 BLACKJACK




[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 25, 2005, 06:17:17 PM
อีกชุดครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 25, 2005, 06:23:44 PM
อีกชุดครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 25, 2005, 06:53:19 PM
ทั้ง B-1 และ Tu-160 ต่างก็เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ เพราะสามารถบินข้ามทวีปโดยไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงระหว่างทาง

Tu-160 ใหญ่กว่า B-1B ประมาณ 25% แต่เครื่องยนต์ ไม่มีประสิทธิ์ภาพเท่ากับ B-1B  (เพราะเครื่องยนต์ B-1B ให้แรงขับน้อยกว่า เกือบครึ่ง)

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 25, 2005, 07:11:54 PM
ตัวนี้เป็น B-1A เพียงแค่ 2 ลำในโลก (ตกไป 2 ลำ) ที่ห้องนักบินจะดีดออกทั้งห้อง

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 25, 2005, 07:48:02 PM
Sukhoi T4/S100 กับ B-70 Valkyrie

เป็นอีกคู่ครับ ที่ลอกกันมา แต่คราวนี้ อเมริกาใหญ่กว่าครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 25, 2005, 07:55:30 PM
B-70 Valkyrie เริ่มพัฒนาในปี 1955 เพื่อเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดข้ามทวีป ความเร็ว 3 เท่าเสียง ส่วนปลายปีกของ B-70 Valkyrie จะหักลงเพื่อการทรงตัวในความเร็วสูง

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 25, 2005, 08:03:26 PM
Sukhoi T4/S100 ได้พัฒนามาเป็น TU-144 เครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียง ของสหภาพโซเวียต (ก่อนล่มสลาย) ส่วน B-70 Valkyrie ไม่ได้มีการพัฒนาต่อ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 25, 2005, 08:32:18 PM
Nasa ได้ไปเช่า Tu 144 เพื่อเป็นเครื่องบินทดลองความเร็วเหนือเสียง A Supersonic Flying Laboratory

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ชายjirata ที่ กันยายน 25, 2005, 09:51:07 PM
น่าจะเอาอย่างยิวบ้างน่ะ ;D เป็นคนที่หัวดี ช่างคิด ช่างลอก ช่างปรับปรุง ;D เค้าทำทุกวิถีทางที่จะทำให้ประเทศเขาอยู่รอดปลอดภัย
ปัจจุบันเครื่องบินและ ฮ.ของเราก็อาศัยอิสราเอลนี่แหละปรับปรุง ทั้ง เบลล์ 212 และ เอฟ-5 (กองบิน 21) ผมกำลังคอยดูเห็นว่าจะใช้อาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง+เรดาร์+ระบบการยิงติดหมวกนักบิน ฯลฯ ที่สำคัญโครงการปรับปรุง เอฟ-16 เอ
ก็มีแววว่าจะให้อิสราเอลนี่แหละปรับปรุง (ปรับปรุงเสร็จแล้วน่าจะมีประสิทธิภาพประมาณ 70-80% ของบล็อก 80)
การปรับปรุงโครงการต่าง ๆ นี้ เพื่อรอระยะเวลาที่จะนำเครื่อง JSF เข้าประจำการคงอีกประมาณ สิบกว่าปี ;D

เรื่อง JSF นี่ประเทศออสเตรเลียก็มาเชิญไทยเราเข้าร่วมพัฒนานะครับ ;D ถือว่าเขาเห็นความสำคัญของเราและให้เกียรติเรามาก ในอนาคตเราจะได้พัฒนาวิศวกรรมการบินของเราเองบ้าง ;D ไม่ใช่รอให้เขาพัฒนาเสร็จแล้วไปรอเข้าแถวซื้อลำดับท้าย ๆ เหมือนโครงการเอฟ-16 ;D

จบข่าวสั้นเหมือนกัน ;D
ช่วยให้ความกระจ่างเรื่องโครงการ JSF หน่อยครบไทยเราได้มีส่วนร่วมแบบไหน แล้วเจ้า เอฟ- 16 ซี/ดี/เอส นี่มันเป็นบล๊อคไหนครับใช่รุ่นที่มีปีกใหญ่ขึ้นรึปล่าว


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: น้าเสก คนเดิม ที่ กันยายน 26, 2005, 09:13:59 AM
ครับ คงต้องให้คุณเอ็ม686 มาช่วยตอบน่ะครับ เนื่องจากท่านคงจะมีรูปให้พวกเราได้ชมด้วยเพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น  ;D
เบื้องต้นน่ะครับ  ;D
 เอฟ-16 จะมีเรื่องบล๊อคเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เครื่องเอฟ-16 เอ ของเราก็เป็นบล็อค 15 แต่ล่ะบล็อคออกมาก็จะมีการปรับปรุงส่วนนั้นส่วนนี่เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและเพื่อเหมาะสมกับแต่ล่ะภารกิจ เช่น ภารกิจขับไล่,สกัดกั้น,โจมตี(ระยะไกล)หรือว่าเป็นเครื่องบินภารกิจเอนกประสงค์ เป็นการปรับปรุงระบบเรดาร์ อาวุธ ระบบเชื้อเพลิง ขยายลำตัว ปีก เป็นต้น   ส่วนเรื่องรุ่นนั้นพอจะแบ่งคร่าว ๆ ได้ดังนี้
รุ่น เอ หมายถึง เครื่องบินแบบที่นั่งเดี่ยว (ในรุ่นก็จะแบ่งเป็นย่อย ๆ อีก เช่น รุ่น เอดีเอฟของไทย)
รุ่น บี หมายถึง เครื่องบินแบบสองที่นั่ง ใช้สำหรับฝึกนักบินขับไล่เพื่อไปบินกับรุ่นที่นั่งเดี่ยว แต่ก็ใช้งานจริงได้ด้วย
รุ่น ซี หมายถึง รุ่นที่นั่งเดี่ยวที่ปรับปรุงให้ทันสมัยสุด ๆ (ก็จะมีเรื่องบล็อคเข้ามาจำแนกย่อย ๆ อีกมาก)
รุ่น ดี ก็คือรุ่น ซี แต่เป็นเครื่องสองที่นั่งสำหรับฝึกนักบินที่จะไปขับเครื่องรุ่นซี
แต่ในรุ่นที่นั่งเดียวกับสองที่นั่งก็จะมีความแตกต่างกันในเรื่องอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์บ้างน่ะครับ คือรุ่นเดี่ยวจะครบทุกเรื่อง ส่วนรุ่นใช้ฝึกอาจจะตัดบางสิ่งบางอย่างออกไปบ้าง

ส่วนเรื่องเครื่อง JSF ก็เป็นความพยายามที่จะนำเครื่องบินในยุคที่ 5 เข้าประจำการ เนื่องจากปัจจุบันเครื่องบินส่วนมากตัวเครื่องเป็นเครื่องในยุคที่ 4 แต่ติดระบบอิเล็คทรอนิกศ์และเรดาร์+อาวุธยุคที่ 5 เช่นเครื่องเอฟ-16 บล็อคล่าสุด เป็นต้น  แต่เครื่อง JSF ยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนายังไม่สามารถเข้าประจำการได้ พันธมิตรบางประเทศจึงนำไปพัฒนาเอง เช่น ออสเตรเลียในอดีตก็นำเครื่อง เอฟ-18 ไปพัฒนาเอง แต่ก็จำกัดเฉพาะรุ่น (น่าจะมีเรื่องการซื้อลิขสิทธิ์เข้ามาเกี่ยวข้อง)
มาคราวนี้ออสเตรเลียจะนำเครื่อง JSF เข้ามาประจำการ(เอฟ-18 ล้าสมัยแล้ว) แต่อยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา ลำพังประเทศเขาเองก็ไม่ต้องง้อประเทศอื่นก็ได้ แต่ผลพวงจากการที่เราเข้าสู่ระบบสากลมากขึ้น เช่น การส่งทหารฯ ,เปิดระบบการค้าเสรี เป็นต้น เขาก็เลยมาชวนเราเข้าร่วมในโครงการพัฒนาดังกล่าว (ที่ผมกล่าวว่าเขาให้เกียรติเราและเห็นความสำคัญของเรานั่นแหละ) พอพัฒนาเสร็จก็อีกราว ๆ สิบกว่าปี ก็จะนำเข้าประจำการแทนเครื่องรุ่นเก่าน่ะครับ

 ;D นี่คือเหตุผลสำคัญว่าทำไมเราจึงจำเป็นต้องปรับปรุงเครื่องเก่าของเรา ก็เพื่อจะยืดอายุการใช้งานออกไปให้ถึงเวลาที่จะนำเครื่อง JSF เข้าประจำการนั่นแหละครับ ;D เครื่องเก่าสมัยสงครามเวียดนามบางส่วนยังต้องนำปรับปรุงอยู่เลย เพื่อจะรักษาจำนวนฝูงบินไว้นั่นเอง ขนาดนั้นปัจจุบันยังขาดอยู่เลย  ;D

เป็นเรื่องที่รับรู้มาส่วนตัวน่ะครับอาจจะไม่ถูกบ้างต้องขออภัย  ;D รอท่านอื่นมาตอบบ้างน่ะครับ  ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ กันยายน 26, 2005, 01:20:50 PM
เมื่อยิวขโมยแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจ
...หลังสงครามคลองสุเอช  ประเทศอาหรับรอบๆ อิสราเอลได้ซื้ออาวุธที่ทันสมัยจากเชคโกสโลวาเกีย  และรัสเซีย  ซึ่งรวมถึงเครื่องบินมิก  
ส่วนอิสราเอลได้ซื้อเครื่องบินมิราจจากฝรั่งเศส  และได้ทำการดัดแปลงปรับปรุงเครื่องบินมิราจให้เหมาะกับภูมิอากาศของตะวันออกกลาง
รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอาวุธที่ทันสมัยมีกำลังในการทำลายสูง  จึงทำให้มิราจมีสมรรถนะและอำนาจการทำลายสูงกว่ามิกของรัสเซียมาก


...ในทันทีที่สงคราม 6 วันสิ้นสุดลง  ประธานาธิบดีเดอ โกลล์ ได้สั่งให้งดขายอาวุธต่างๆรวมทั้งเครื่องบินมิราจ 3-s จำนวน 15 เครื่องให้อิสราเอล
ซึ่งอิสราเอลได้จ่ายเงินให้ไปแล้ว โดยความจริงแล้วกองทัพอากาศอิสราเอลได้ติดแน่นอยู่กับระบบต่างๆ ของเครื่องบินมิราจ
แม้ว่าอเมริกาได้ยื่นเสนอจะขายอาวุธให้ โดยจะจัดส่งเครื่องบินแฟนธอมมาให้ทันที แต่มันก็ไม่ได้แก้ปัญหาใดๆเลย
เพราะอิสราเอลได้พัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ ไว้สำหรับเครื่องบินมิราจแล้ว อิสราเอลได้ลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง
ที่มุ่งจะใช้กับระบบของมิราจไปเป็นจำนวนมหาศาล และไม่ได้พัฒนาระบบอื่นเลย


...นี่เป็นปัญหาระยะสั้นที่ทำให้รัฐบาลและกองทัพอิสราเอลต้องคิดหาทางออกอย่างหนัก  และปัญหาระยะยาวที่จะตามมาอีกเล่า  
นั่นคือการซ่อมบำรุงเครื่องบินมิราจที่มีอยู่แล้วจะทำอย่างไร ความสามารถในการป้องกันประเทศของอิสราเอล
ขึ้นอยู่กับอาวุธที่ได้รับจากประเทศเดียวเท่านั้น ถ้าประเทศนั้นเกิดเปลี่ยนใจไม่ส่งอาวุธมาให้โดยไปเข้ากับศัตรูในขณะวิกฤต
อิสราเอลจะทำอย่างไร เหมือนยืมจมูกคนอื่นหายใจฉะนั้น


...คณะรัฐมนตรีได้มีมติด่วนให้จัดหางบประมาณให้แก่อุตสาหกรรมเครื่องบินของอิสราเอลเพื่อสร้างเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด
ที่สามารถต่อกรกับเครื่องบินชั้นเยี่ยมของชาติอื่นๆ มีการตั้งคระกรรมการขึ้นมาพิจารณาปัญหาต่างๆ ที่เผชิญหน้าอยู่
...คณะกรรมการได้รายงานว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี ในการสร้างเครื่องบินสัญชาติอิสราเอลให้ขึ้นยินได้ทั้งนี้
เพราะอิสราเอลจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ ก ไก่ ขึ้นไป  นอกจากนั้นยังไม่อาจประกันได้ว่าเครื่องบินที่ผลิตออกมานั้น
จะสามารถเทียบชั้นกับเครื่องบินของรัสเซีย อังกฤษ อเมริกา หรือฝรั่งเศสได้


...วิธีแก้ปัญหานี้ให้ได้รวดเร็วคือสร้างเครื่องบินที่ลอกแบบจากมิราจซึ่งวิศวกรและเทคนิเชียนของอิสราเอลมีความชำนาญและคุ้นเคยอยู่แล้ว
แต่วิธีนี้ก็ยังมีปัญหาและอุปสรรคอยู่ดี เนื่องจากเครื่องบินขับไล่สมัยใหม่แต่ละเครื่องมีชิ้นส่วนประมาณ 1 ล้านกว่าชิ้น
และทุกชิ้นส่วนได้รับการทดสอบมาแล้วเป็นอย่างดี ถ้าจะลอกแบบจากเครื่องบินจริงย่อมไม่ได้คุณภาพเท่าของแท้
นอกเสียจากจะมีพิมพ์เขียวของวิศวกรผู้สร้างมิราจเอง ตัวอย่างที่อิสราเอลรู้ดีก็คือ สวิตเซอร์แลนด์ได้ผลิตเครื่องบินมิราจภายใต้สิทธิบัตร
ที่ได้รับอนุญาตจากฝรั่งเศส ซึ่งสามารถใช้แบบพิมพ์เขียนและเทคนิคเชียนของฝรั่งเศสอีกด้วย แม้กระนั้นยังต้องใช้เวลาถึง 6 ปี
เครื่องบินมิราจที่สร้างในสวิตเซอร์แลนด์จึงขึ้นบินได้


...เดือนธันวาคม 1967 ฝรั่งเศสได้จัดให้มีการประชุมผู้ถือสิทธิบัตรในการผลิตเครื่องบินมิราขทั้งลำหรือบางส่วนขึ้นในปารีส
โดยปกติแล้วเครื่องบินหรือเครื่องยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับเครื่องบินจะไม่ค่อยเป็นไปตามรายการประกอบแบบ (Specifications)
ที่เขียนขึ้นโดยยืนยันสมรรถนะหรือเพื่อประกันความปลอดภัยเครื่องบินมิราจมิได้มีข้อยกเว้น บริษัท ดาสโซลท์
ผู้ผลิตลำตัวเครื่องบินและบริษัทเซนิกามา ผู้ผลิตเครื่องยนต์ ATA-9 ทั้งสองบริษัทเป็นเจ้าภาพร่วมกัน
จัดให้มีการประชุมสำหรับผู้ใช้งานเครื่องบินมิราจทั้งหลายในครั้งนี้


ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจากรัฐบาลและอุตสาหกรรมสร้างเครื่องบินของชาติต่างๆ ที่เป็นลูกค้า
วัตถุประสงค์ก็เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ โดยออสเตรเลียและสวิตเซอร์แลนด์เป็นผู้ผลิตมิราจทั้งตัวเครื่องบินและเครื่องยนต์
ส่วนอิสราเอลและเบลเยี่ยมนั้น นำชิ้นส่วนไปประกอบและผลิตชิ้นส่วนบางชิ้นขึ้นเอง ทั้งหมดภายใต้สิทธิบัตรที่ได้รับอนุญาต
นอกจากนั้นก็ยังมีแอฟริกาใต้ เลบานอน และเปรู ซึ่งซื้อเครื่องบินมิราจที่ประกอบสำเร็จรูปไปใช้
ในการประชุมครั้งนี้อิสราเอลได้ส่งพลจัตวาโดฟ ไซเยี่ย (Dov Syion) แห่งกองทัพอากาศอิสราเอลเข้าร่วมประชุม  
ไซเยี่ยนไม่ได้ออกความเห็นอะไรมากนัก เพราะเขานั่งติดกับผู้แทนจากเลบานอนซึ่งถือเป็นศัตรู
และอิสราเอลยังไม่พอใจฝรั่งเศสที่ไม่ยอมส่งอาวุธให้อิสราเอล ดังนั้น ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการใช้เครื่องบินมิราจในสงคราม 6 วัน
ที่เตรียมมาจึงไม่ได้เสนอในที่ประชุมแต่อย่างใด....(ยังไม่จบนะ...ติดตามต่อในครั้งหน้า)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: สีอำพัน-รักในหลวง ที่ กันยายน 26, 2005, 01:38:42 PM
ดึงครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ กันยายน 26, 2005, 01:55:26 PM
เมื่อยิวขโมยแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจ (ตอน 2)
...ในการประชุมนั้นผู้ผลิตเครื่อยนต์ ATA-9 บริษัท เซนิกามา ได้รับความกดดันจากลูกค้าที่ใช้มิราขเป็นอันมากเพราะต่างผิดหวังกับเครื่องยนต์ ATA-9
ที่ติดตั้งอยู่ในมิราจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัลเฟรด ฟรอเอนค์เนคท์ (Alfred Frauenknecht) ผู้แทนจากบริษัทโซลเซอร์ บราเดอร์ส์ (Solzer Brothers)
แห่งสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งได้สิทธิบัตรในการสร้างมิราจ ได้วิจารณ์เครื่องยนต์ ATA-9 อย่างหนัก
สำหรับโดฟ ไซเยี่ยนแล้วทุกสิ่งที่ฟรอเอนค์เนคท์พูดนั้นได้เกิดขึ้นกับเครื่องบินมิราจของอิสราเอลเช่นเดียวกัน
หลังการประชุมไซเยี่ยนได้หาโอกาสพบและรับประทานอาหารกับฟรอเอนค์เนคท์
และได้บอกกับผู้แทนบริษัทสวิสว่าเขาจงใจที่จะไม่เสนอข้อมูลในการใช้งานมิราจของอิสราเอลเข้าที่ประชุม

...โดฟ ไซเยียน กลับอิสราเอลพร้อมกับข่าวดี ฟรอเอนค์เนคท์ได้เปิดเผยกับเขาว่ารัฐบาลสวิสได้สังชิ้นส่วนมิราจ III  จำนวน 100 เครื่อง
แต่เนื่องจากราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลสวิสขึงตัดสินใจสร้างเพียง53 เครื่อง ชิ้นส่วนที่เหลือนั้นจึงพอที่จะสร้างอีก 47 เครื่องได้อย่างสบาย
แถมยังมีแบบพิมพ์เขียวและรายการอย่างละเอียดที่อยุ่ในสวิสเซอร์แลนด์อีกด้วย ถ้าอิสราเอลได้เป็นเจ้าของชิ้นส่วนและแบบพิมพ์เขียวเหล่านั้น
ก็สามารถสร้างเครื่องบินมิราจได้อีกประมาณ 50 เครื่อง เพื่อทดแทนจำนวนที่สั่งจากฝรั่งเศส แต่ถูกรัฐบาลฝรั่งเศสกักเอาไว้

...มิตรใหม่ทั้งสองติดต่อกันทางจดหมายเรื่อยมาก แม้ว่าฟลอเอนค์เนคท์ จะไม่ใช่คนยิว แต่ก็มีความเห็นอกเห็นใจยิวอยู่เป็นอันมาก
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยิวได้หนีตายจากฮิตเลอร์เข้ามาพึงสวิตเซอร์แลนด์เหมือนหนีร้อนมาพึ่งเย็น
แต่สวิตเซอร์แลนด์กลับขับไล่ไสส่งชาวยิวเหล่านั้นให้ไปพบกับความตาย ซึ่งฟรอเอนค์เนทค์ถือว่าเป็นความผิดของสวิตเซอร์แลนด์ที่ไม่อาจล้างบาปได้
ฟรอเอนค์เนทค์เป็นวิศวกรฝ่ายพัฒนา อายุเพียง 40 ปี เขาได้ไต่เต้าขึ้นมาอยู่ในระดับสูงของบริษัทโซลเซอร์ บราเดอส์แล้ว

...อิสราเอลได้พบช่องโหว่ของการรักษาความปลอดภัยที่หนาแน่นของฝรั่งเศสเข้าแล้ว ต่อไปนี้ต้องหาทางทะลุทะลวงช่องโหว่นี้ให้กว้างขึ้น
สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือทำให้ฟรอเอนค์เนคท์จงรักภักดีให้ได้เสียก่อน โดย โดฟ ไซเยี่ยน และนายทหารอิสราเอลอื่นๆ
ได้ส่งข้อมูลในการปรับแต่งเครื่องยนต์ ATA-9 ให้ฟรอเอนค์เนทค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ฟรอเอนค์เนคท์มีความต้องการเป็นอย่างมากอยู่แล้ว
ในที่สุดการติดต่อกันทางจดหมายระหว่างฟรอเอนค์เนทค์ กับเพื่อนทหารอิสราเอลทำให้มิตรภาพแน่นแฟ้นขึ้น

...คณะกรรมการชุดหนึ่งได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อควบคุมและติดตามกรณีของอัลเฟรด ฟรอเอนค์เนคท์ โดยมี นายพลอาฮารอน ยาริฟ
หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับอิสราเอลเป็นประธาน ประกอบไปด้วยคนของกองทัพอากาศและอุตสาหกรสร้างเครื่องบินเป็นกรรมการ
ผู้ที่สมควรกล่าวถึงอีกสองคนคือ เมียร์ อมิท อดีตหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับ และ อัลชวิมเม (Al Schwimme)
อเมริกันยิวผู้ซึ่งได้วางรากฐานของอุตสาหกรรมเครื่องบินในอิสราเอลตั้งแต่ 1947 ร่วมกันรับผิดชอบในด้านปฏิบัติการ

...ตอนแรกคณะกรรมการตกลงว่าจะติดต่อกับรัฐบาลสวิสอย่างเปิดเผยผ่านทางฟรอเอนค์เนคท์ก่อน โดยอัลสวิมเม ได้เสนอกับรัฐบาลสวิสว่า
อิสราเอลจะขอซื้อส่วนประกอบของมิราจจำนวน 47 เครื่อง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนที่ทางอิสราเอลจะมอบความลับอันสำคัญ
ในการปรับแต่งเครื่องยนต์ ATA-9 ให้แก่รัฐบาลสวิสเป็นการตอบแทน
...รัฐบาลสวิสได้ติดต่อกับฝรั่งเศสและคำตอบจากฝรั่งเศสนั้นทำให้อิสราเอลผิดหวัง คือไม่ให้สวิสขายชิ้นส่วนให้กับอิสราเอล
แต่คณะกรรมการเดาว่าคำตอบน่าจะออกมาในด้านลบอยู่ก่อนแล้ว จึงได้เตรียมแผนสองเอาไว้

...ในปี 1958 ฟรอเอนค์เนทค์ ได้รับจดหมายขออนุญาตให้พันเอกซูฮาน นายทหารอิสราเอล เข้าชมโรงงานของบริษัทโซลเซอร์ บราเดอร์ส์
เพื่อนำไปดัดแปลงใช้กับโรงงานของอิสราเอล หลังจากได้รับอนุมัติจากผู้บริหารระดับสูงของบริษัทแล้ว
ฟรอเอนค์เนทค์ได้แจ้งให้ทางอิสราเอลทราบ หลังจากนั้นไม่นานสถานฑูตอิสราเอลในกรุงโรมก็ได้ติดต่อไปยังฟรอเอนค์เนทค์
แนะให้มีการพบกันก่อนเพื่อจัดเตรียมการมาเยือนของพันเอกซูซาน

...ที่ซูริค ฟรอเอนค์เนคท์ ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับชาวอิสราเอล 2 คน คือ พันเอก อเบล แห่งกองทัพอากาศอิสราเอล และนายบาเดอร์
ซึ่งเป็นตัวแทนของคณะกรรมการจัดซื้ออาวุธของกระทรวงกลาโหมอิสราเอล ซึ่งความจริงแล้วบุคคลทั้งสองก็คือ อัลชวิมเม
ที่แสดงตัวเป็นนายบาเดอร์ และพันเอกอเบลก็คือพันเอกเคน (Cain) ซึ่งเป็นสายลับที่ทำงานในยุโรปและมีฐานอยู่ที่สถานฑูตอิสราเอล ณ กรุงโรม

...บุคคลทั้งสองได้พูดตรงจุดทันที อิสราเอลจำเป็นต้องมีเครื่องบินขับไล่เพื่อป้องกันประเทศ จะมีทางใดบ้างหรือไม่ที่อิสราเอลจะติดต่อโดยตรง
กับบริษัทโซลเซอร์ บราเดอร์ส์ โดยไม่ต้องผ่านรัฐบาลสวิส? ฟรอเอนค์เนทค์แนะนำว่า เรื่องนี้อาจเป็นไปได้ ถ้าหากว่าอิสราเอลจะซื้อแบบพิมพ์เขียว
ในราคา 150 ล้านฟรังสวิส แล้วสั่งซื้อสิ่งอื่นๆ ผสมเข้าไป อาจเป็นเทอร์ไบน์หรืออะไรทำนองนั้นอีก 100 ล้านฟรังสวิส
บุคคลทั้งสองได้ขอร้องให้ฟรอเอนค์เนทค์ช่วยติดต่อบริษัทให้ด้วย

...บริษัทได้ยืนตามมติของรัฐบาล ที่จะไม่ขายชิ้นส่วนและแบบพิมพ์เขียวของเครื่องบินมิราจให้กับอิสราเอล
...อย่างไรก็ดี อัล ชวิมเม รู้ดีว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์แท้ๆ ก็เพื่อจะรู่ว่าวิศวกรสวิสผู้นี้เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
คำตอบก็คือแบบพิมพ์เขียวทุกแผ่นจะต้องผ่านสำนักงานของเขานั่นคือฟรอเอนค์เนทค์อยู่ในตำแหน่งที่จัดหาข่าวสารที่จำเป็นสำหรับอิสราเอล
ในการสร้างมิราจภายในระบะเวลาเพียง 5 ปีได้อย่างแน่นอน แทนที่จะต้องใช้เวลานานถึง 10 ปี

...ปัญหาที่บุคคลทั้งสองเผชิญอยู่ในขณะนั้นคือ แม้ว่าฟรอเอนค์เนคท์จะให้ความเป็นมิตรแก่พวกเขา
แต่คงไม่ง่ายเลยที่จะให้ฟรอเอนค์เนทค์ทรยศต่อประเทศ และบริษัทที่เขาเป็นลูกจ้างอยู่ จนกระทั่งมีการพบกันครั้งที่สาม
ภายใต้แสงสีแดงของบาร์แห่งหนึ่งในซูริค อัล ชวิมเม ได้พยายามเกลี้ยกล่อมให้ฟรอเอนค์เนทค์ช่วย เรื่องจึงได้ขมวดเกลียวสู่ความสำเร็จ

...เบื้องหลังความสำเร็จของ อัล ชวิมเม......(ติดตามต่อในตอน 3)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ กันยายน 26, 2005, 02:26:21 PM
เมื่อยิวขโมยแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจ (ตอน 3)
...เบื้องหลังความสำเร็จของอัล ชวิมเม ในครั้งนี้มีบุคคลที่อยู่เบื้องหลังพวกเขาก็คือ เมียร์ อมิท และอาฮารอน ยาริฟ
ซึ่งได้จัดหานักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งช่วยวางแผนในการโน้มน้าววิศวกรสวิสให้ร่วมมือด้วย
ในที่สุดฟรอเอนค์เนทค์ก็ตกอยู่ในภาวะที่รู้สึกว่าภาระทั้งหมดนั้นเป็นของตน และสำคัญต่อตนในการที่จะช่วยให้กองทัพอากาศอิสราเอล
มีมิราจไว้ป้องกันประเทศแน่นอนเรื่องนี้มีเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ฟรอเอนค์เนทค์รู้ว่าเขาจะได้เงินก้อนใหญ่จากการทำสำเนาของแบบพิมพ์เขียว
และส่งให้อิสราเอล ซึ่งทุกอย่างดูไม่ยากเย็นอะไร และแบบพิมพ์เขียวนั้นอยู่ในความดูแลของเขาอยู่แล้ว เพื่อเป็นการประกันกับฟรอเอนค์เนทค์
ทางอิสราเอลจะจ่ายให้ล่วงหน้า 2 แสนคอลลาห์แก่เขา

...เท่านั้นเองวิศวกรสวิส ฟรอเอนค์เนทค์ ก็เสมือนปลางับเหยื่อเข้าแล้ว  
แบบพิมพ์เขียวสำหรับการผลิตชิ้นส่วนด้วนเครื่องจักรกลมีจำนวน 45,000 แผ่น และอีก 150,000 แผ่นสำหรับเครื่องบิน
มีน้ำหนักรวมกันประมาณ 2 ตัน ฟรอเอนค์เนทค์คิดว่าเขาต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งปีจึงจะทำทุกอย่างสำเร็จ
ดังนั้น เจาจึงรายงานผุ้บังคับบัญชาว่า แบบจำนวนมากนี้สมควรถ่ายเข้าไมโครฟิล์มไว้แล้วทำลายแบบพิมพ์เขียวเสีย
จะทำให้เก็บรักษาง่ายไม่เปลืองที่และปลอดภัยกว่า เจ้านายอนุมัติตามเสนอทันที เมื่อมีแบบถึงสองชุด-แบบพิมพ์เขียวและไมโครฟิลม์
ชุดพิมพ์เขียวก็จะถูกส่งไปอิสราเอล แต่ปัญหาก็คือจะส่งอย่างไร?

...โรงงานของบริษัทโซลเซอร์ บราเดอรส์ เป็นของเอกชนก็จริง แต่การผลิตเครื่องบินมิราจภายใต้สิทธิบัตรจากฝรั่งเศสถือว่าเป็นความลับสุดยอด
ทางการสวิสจึงได้ส่งทหารมารักษาความปลอดภัย ทุกๆ การเคลื่อนไหวมีเจ้าหน้าที่คอยติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดเสมอ
การนำพิมพ์เขียวมาถ่ายลงในไมโครฟิล์มก็เช่นเดียวกัน จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำก๊อปปี้พิเศษจากการถ่ายไมโครฟิล์มสำหรับส่งให้อิสราเอล

...ภายใต้กฎหมานของสวิตเซอร์แลนด์ แบบพิมพ์เขียวที่ได้สิทธิบัตราจะต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลา 50 ปีจึงจะนำออกมาขายได้  
ฟรอเอนค์เนทค์จึงได้ใช้หลายชายที่ชื่อว่า โจเซฟ ฟรอเอนค์เนทค์ ไปติดต่อสำนักงานทะเบียนสิทธิบัตรซึ่งเก็บรักษาพิมพ์เขียวเก่าเอาไว้  
และขอซื้อพิมพ์เขียวที่อายุเกิน 50 ปีเหล่านั้น

...ฟรอเอนค์เนทค์ได้จัดการให้ตนเองเป็นผู้รับผิดชอบในการถ่ายไมโครฟิล์ม เมื่อถ่ายเสร็จแล้วเขาจะนำพิมพ์เขียวใส่กล่องกระดาษ
ทุกการเคลื่อนไหวอยู่ในสายตาของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทั้งสิ้น ต่อจากนั้นกล่องกระดาษจะถูกขนไปขึ้นรถโฟล์คตู้
ซึ่งเขาซื้อในนามของหลานชายเพื่อใช้ในการขนกล่องกระดาษเอาไปเผาที่เตาเผาเศษขยะกลางของเมือง
และจะมีเจ้าหน้าที่จดบันทึกทุกครั้งที่กล่องกระดาษที่เผานั้นบรรจุไว้ด้วยพิมพ์เขียว ฟรอเอนค์เนทค์ได้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
เพื่อความปลอดภัยของแบบพิมพ์เขียวมิให้ตกอยู่ในมือของผู้อื่น เขาจะต้องทำหน้าที่ควบคุมการขนย้ายแบบพิมพ์เขียวเพื่อนำไปเผาด้วยตนเอง  
เขาได้เช่าโกดังไว้แห่งหนึ่งระหว่างทางจากบริษัทไปยังเตาเผาที่อยู่กลางเมือง กล่องกระดาษซึ่งบรรจะไว้ด้วยพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจ
ได้ถูกนำไปไว้ที่โกดังนั้น และเขาก็คว้ากล่องกระดาษที่บรรจุพิมพ์เขียวเก่าเกิน 50 ปี ซึ่งหลานชายได้ซื่อมาจากสำนักงานทะเบียนสิทธิบัตร
และนำไปขึ้นรถตู้เพื่อนำไปเผาต่อไป กล่องที่ใช้บรรจุพิมพ์เขียวที่เก่าเกิน 50 ปีนั้นเหมือนกับกล่องที่ใช้อยู่ในบริษัททุกประการ
เมื่อกล่องถูกตรวจก่อนที่จะโยนเข้าเตาเผาจึงไม่มีใครสงสังอะไรเลย

...ฟรอเอนค์เนทค์จะนำกล่องบรรจุแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจไปให้กับเจ้าหน้าที่อิสราเอลซึ่งนัดพบกันในที่ต่างๆ
เช่นที่โฮเต็ล ร้านอาหาร หรือที่จอดรถ ซึ่งไม่ซ้ำกัน เพื่อไม่ให้เป้นที่สังเกตของคนทั่วไป
...แต่ปัญหาก็งไม่หมดไป นันคือการนำแบบพิมพ์เขียวออกจากสวิตเซอร์แลนด์ ถ้าฟรอเอนค์เนทค์จะส่งทางเครื่องบิน
ครั้งแรกๆ คงไม่เป็นที่สงสัยของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสวิส แต่ถ้าจัดส่งโดยวิธีนี้นานๆ เข้าก็อาจเป็นที่สงสัย
และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสวิสนั้นเป็นหน่วยที่มีประสิทธิภาพสูงเสียด้วย

...ในที่สุด ยาริฟก็ตกลงใจว่าแทนที่จะส่งแบบพิมพ์เขียวออกทางฝรั่งเศส เขาได้สั่งให้ส่งแบบพิมพ์เขียวผ่านชายแดนสวิสออกทางเยอรมัน
สายลับอิสราเอลสี่คนถูกส่งไปยังสะพานข้ามแม่น้ำไรน์ เพื่อคอยดูว่าเมื่อไรการจราจรจะน้อยลง กิจกรรมของเจ้าหน้าที่ศุลกากรเป็นอย่างไร
เฉพาะอย่างยิ่งจะสามารถติดสินบนเจ้าหน้าที่ได้หรือไม่ เพื่อทำให้การส่งออกง่ายขึ้น

...ยาริฟได้รับรายชื่อของผู้ที่น่าจะถูกเลือกให้ทำหน้าที่ขนแบบพิมพ์เขียวผ่านชายแดนสวิสออกไปยังเยอรมันและคนหนึ่งดูเหมือนจะเหมาะกว่าคนอื่นๆ
เขาคือ ฮานส์ สเตรคเกอร์ ซึ่งเป็นคนเยอรมันและขณะนั้นเขาทำงานอยู่กับบริษัทขนส่งสวิสขื่อบริษัท รอทซิงเจอร์ (Rotzinger)
หน้าที่ของสเตรคเกอร์คือ นำสินค้าผ่านกระบวการศุลกากร อันว่าบริษัทรอทซิงเจอร์นั้น แม้จะเป็นบริษัทขนส่งเล็กๆ
แต่ก็ได้รับความเชื่อถือมานานแล้ว จึงเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ กันยายน 26, 2005, 02:52:48 PM
เมื่อยิวขโมยแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจ(ตอนจบ)
...สายลับของอิสราเอลได้ผูกมิตรกับสเตคเกอร์ จนสเตรคเกอร์ได้กลายเป็นเพื่อนสนิทกับสายลับผู้จ่ายไม่อั้น  
ครั้นแล้วเมื่อสเตรคเกอร์เอ่ยถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ขึ้นมา เพื่อนชาวอิสราเอลได้ยื่นข้อเสนอกับสเตรคเกอร์ทันที
สเตรคเกอร์จะได้รับเงินพิเศษถ้าทำงานให้กับเพื่อนคนหนึ่งของเขา เป็นงานง่ายๆ และไม่มีอันตรายแต่อย่างใด
แค่ขนของข้ามชายแดนสวิสไปยังเยอรมันเท่านั้น เพียงแต่ต้องทำต่อเนื่องกันหลายเดือน
สเตรคเกอร์จะได้รับเงินประมาณหนึ่งแสนดอลลาห์ สเตรคเกอร์รับงานนี้ทันที

...ฟรอเอนค์เนทค์พบสเตรคเกอร์เพียงครั้งเดียวเพื่อรับกุญแจของโกดังเล็กๆ ซึ่งเป็นของบริษัทรอทซิงเจอร์ทุกๆ
วันเสาร์ฟรอเอนค์เนทค์จะขับรถโฟล์คตู้เพื่อนำกล่องกระดาษไปไว้ยังโกดัง หลังจากนั้นเขากับหลานชายก็จะไปดื่มที่บาร์ชื่อเฮอร์เช่น
ถ้าเขาสามารถนำกล่องกระดาษไปไว้ในโกดังเขาจะผงกศรีษะเป็นเชิงทักทายให้กับสเตรคเกอร์ เป็นที่รู้กันว่าทุกอย่างเรียบร้อย
สินค้าพร้อมที่สเตรคเกอร์จะไปขนย้ายได้แล้ว สเตรคเกอร์จะไปขนกล่องกระดาษที่โกดังขึ้นรถเบนซ์สีดำขับออกไป
เมื่อผ่านชายแดนสวิสแล้วสเตรคเกอร์จะต้องขึ้นเหนือผ่านแบคลฟอเรสต์เข้าสตุทท์การ์ท ที่นั่นมีสนามบินส่วนตัวแห่งหนึ่ง
กล่องกระดาษจะถูกขนขึ้นเครื่องบินเซสน่าสองเครื่องยนต์ซึ่งขึ้นทะเบียนในอิตาลีที่รออยู่ เครื่องบินเซสน่าจะบินออกจากสนามนั้นทันที
มุ่งตรงไปยังปลายส้นเท้าของบู๊ทอิตาลี ซึ่งจะมีเครื่องบินของอิสราเอลมารับกล่องกระดาษไปยังอิสราเอลอีกต่อหนึ่ง

...การขนกล่องกระดาษที่บรรจุแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจซึ่งหนัก 50 กิโลกรัมได้ถูกขนส่งไปยังอิสราเอลครั้งแรก
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 1968 ปฏิบัติการนี้ดำเนินการมาด้วยดีเป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม

...จนกระทั่งเดือนกันยายน 1969 เมื่อฮานส์ สเตรคเกอร์ ได้ทำการหละหลวม ประการแรกเขาทำให้คนเห็นขณะนำกล่องบรรจุพิมพ์เขียวขึ้นรถเบนซ์สีดำ
และประการทีสองเขาลืมกล่องอีกหนึ่งกล่องไว้ในโกดัง ซึ่งเป็นที่สังเกตของคาร์ล รอทซิงเจอร์ เจ้าของบริษัทขนส่งชื่อเดียวกับชื่อของเขา
คาร์ลจึงได้ดึงแบบออกจากกล่องหนึ่งแผ่น และได้พบกับคำว่า Solzer ซึ่งเป็นชื่อของบริษัทสวิสที่ทำธุรกิจในด้านวิจัย
และผลิตเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบิน ข้างใต้ชื่อบริษัทเขาพบคำว่า License-Senikama ซึ่งหมายถึงบริษัทโซลเซอร์
ได้รับสิทธิบัครจากบริษัทเซนิกามาของฝรั่งเศส และที่สำคัญคือ ข้อความอีกบรรทัดหนึ่งที่มีความหมายว่า
"ตามประมวลกฎหมายอาญา ให้รักษาความลับในทางทหารไว้อย่างสูง" คาร์ลได้ทราบจากคนงานที่ทำงานใกล้เคียงว่า
สเตรคเกอร์ได้เคลื่อนย้ายกล่องกระดาออกไปเป็นระยะเวลาหลายเดือนมาแล้ว  เขาจึงรายงานให้ตำรวจทราบ

...ทางฝ่ายอิสราเอลลซึ่งได้จับตามอย่ตลอดเวลา เมื่อได้ทราบถึงความหละหลวมและพลาดท่าของสเตรคเกอร์ จึงโทรศัพท์
ความว่า "ดอกไม้ได้ร่วงโรยเสียแล้ว" เพื่อให้เวลากับฟรอเอนค์เนทค์ได้หนีทัน

...ฟรอเอนค์เนทค์ตัดสินใจไม่หนี เขาติดคุกในระหว่างคดี 1 ปีเต็ม ทั้งนี้ก็เพราะว่าทางการสวิสต้องการทราบว่าความเสียหายมีขนาดแค่ไหน
จึงต้องใช้เวลาในการพิจารณาคดี และในที่สุดได้ข้อสรุปว่าฟรอเอนค์เนทค์ได้ส่งแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจไปให้อิสราเอลเป็นจำนวนดังต่อไปนี้

...2,000 แผ่น สำหรับชิ้นส่วนเครื่องยนต์  80,000-100,000 แผ่น สำหรับจิ๊ก (Jigs-เครื่องมือประกอบการผลิตชิ้นส่วน)  
35,000-40,000 แผ่น สำหรับเครื่องมือ (Tools)   80-100 แผ่น สำหรับตัวเครื่องบิน  1,500 แผ่นสำหรับรายการประกอบแบบ (Specifications)

...วันที่ 23 เมษายน 1971 ศาลสวิตเซอร์แลนด์ได้พิพากษาให้อัลเฟรด ฟรอเอนค์เนทค์ จำคุก 4 ปี 6 เดือน
จากการที่ฟรอเอนค์เนทค์ได้ถูกจองจำระหว่างการสอบสวนและประกอบกับการประพฤติตัวดีเขาจึงได้รับอิสรภาพเมื่อ 21 กันยายน 1972

...สองปีครึ่งหลังจากที่ออกจากคุกฟรอเอนค์เนทค์ได้เดินทางไปอิสราเอล เพื่อชมการบินของเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดความเร็ว 2.2 มัค
ชื่อว่า คเฟอร์ (Kfir) ซึ่งมีพื้นฐานมาจากมิราจ III และคเฟอร์ได้เป็นกำลังสำคัญของกองทัพอิสราเอลต่อมา


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: narongt ที่ กันยายน 26, 2005, 03:09:30 PM
ชอบรุ่นนี้ครับ ยังหา model สะสมไม่ได้ครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ กันยายน 26, 2005, 09:01:31 PM
ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลเรื่องยิวโจรกรรม

เป็นเรื่องที่น่าศึกษาและชื่นชมในความรักชาติของเขาถึงแม้ว่าจะผิดๆ ถูกๆ ก็ตาม เหมือนอย่างคำคนอังกฤษที่ว่า

"My country, right or wrong!" - จะผิดจะถูกก็ชาติของข้า

เท่าที่อ่านเรื่องยิวๆ มาและไปเที่ยวค่าย Auschwitz ใน Poland ที่ตอนนี้ทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ก็พอเข้าใจว่าทำไมชาติอิสราเอลถึงมีจุดยืนของตัวเองอย่างแรงกล้า อดทึ่งและชื่นชมในหลายจุดทั้งๆ ที่ไม่เป็น "เพื่อน" จริงๆ กับคนยิวที่เคยเจอมานิดหน่อย


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 26, 2005, 10:18:03 PM
JSF (Joint Strike Fighter)เป็นโครงการเฟ้นหาเครื่องบินขับไล่/โจมตี น้ำหนักเบา ทดแทนเครื่องบินที่มีประจำการอยู่ร่วมกันของ 3 เหล่าทัพ ยกเว้น ทหารบก (อเมริกา มี 4 เหล่าทัพครับ) กับของกองทัพ อังกฤษ เข้าร่วมด้วย โดยมีข้อกำหนดว่า ต้องใช้โครงอากาศยาน ร่วมกัน และ ตอบสนองต่อความต้องการของเหล่าทัพต่าง ๆ ได้ด้วย
ข้างล่างเป็นความต้องการหลักของโครงการที่ เครื่องบินของผู้เข้าร่วมแข่งขันต้องทำให้ได้

The JSF program will demonstrate two competing weapon system concepts for a tri-service family of aircraft to affordably meet these service needs:

USAF-Multi-role aircraft (primarily air-to-ground) to replace F-16 and A-10 and to complement F-22. The Air Force JSF variant poses the smallest relative engineering challenge. The aircraft has no hover criteria to satisfy, and the characteristics and handling qualities associated with carrier operations do not come into play. As the biggest customer for the JSF, the service will not accept a multirole F-16 fighter replacement that doesn't significantly improve on the original.

USN-Multi-role, stealthy strike fighter to complement F/A-18E/F. Carrier operations account for most of the differences between the Navy version and the other JSF variants. The aircraft has larger wing and tail control surfaces to better manage low-speed approaches. The internal structure of the Navy variant is strengthened up to handle the loads associated with catapult launches and arrested landings. The aircraft has a carrier-suitable tailhook. Its landing gear has a longer stroke and higher load capacity. The aircraft has almost twice the range of an F-18C on internal fuel. The design is also optimized for survivability.

USMC-Multi-role Short Take-Off & Vertical Landing (STOVL) strike fighter to replace AV-8B and F/A-18A/C/D. The Marine variant distinguishes itself from the other variants with its short takeoff/vertical landing capability.

UK-STOVL (supersonic) aircraft to replace the Sea Harrier. Britain's Royal Navy JSF will be very similar to the U.S. Marine variant.

The JSF concept is building these three highly common variants on the same production line using flexible manufacturing technology. Cost benefits result from using a flexible manufacturing approach and common subsystems to gain economies of scale. Cost commonality is projected in the range of 70-90 percent; parts commonality will be lower, but emphasis is on commonality in the higher-priced parts



เริ่มแรก มีบริษัทเข้าร่วมการเสนอต้นแบบ 3 บริษัท แต่แบบของ บริษัท Northrop Grumman  ถูกคคัดออก เหลือแค่ แบบของบริษัท Boeing กับ แบบของบริษัท Lockheed Martin คือ Boeing X-32 และ Lockheed Martin X-35 โดย แบบหลังได้รับการคัดเลือก และ ได้รับระหัดว่า F-35

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 26, 2005, 10:46:02 PM
Lockheed Martin F-35 จะมีความคล้ายกับ YAK 141 มากในระบบเครื่องยนต์ เพราะ Lockheed Martin ได้ซื้อสิทธิ์บัตรในการออกแบบเครื่องเปลี่ยนทิศทางไอพ่น และ พัดลมยกตัว

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 27, 2005, 12:01:19 AM
มาทางผู้แพ้การทดสอบบ้างครับ
Boeing X-32 การเปลี่ยนทิศทางไอพ่นอย่างเดียวในการทดสอบการยกตัวของเครื่องบิน แต่ที่แพ้เพราะ ในการทดสอบได้มีการถอดชิ้นส่วนออกหลายรายการ เพื่อลดน้ำหนัก กับไม่ได้มีการทดสอบการทำความเร็วเหนือเสียงอย่าง เครื่องต้นแบบของบริษัท Lockheed Martin

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ กันยายน 27, 2005, 09:49:07 AM
ไอพ่นหน้าที่เป่าลงล่างของ เอฟ 35 ดูน่าสนใจมากครับ อยู่หน้าขนาดนั้นต้องต่อท่อมาจากข้างหลังใช่ไหมครับ?


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Army - รักในหลวงครับ ที่ กันยายน 27, 2005, 11:19:40 AM
ขอบคุณมากครับสำหรับเรื่องการจารกรรม+โจรกรรมของอิสราเอล สนุกจริงๆ นายฟรอเอนค์เนทค์ใจถึงมากๆนะครับที่กล้ารับงานนี้ ดีที่ไม่ถูกยิงเป้าหรือจำคุกตลอดชีวิต  :)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Nakin ที่ กันยายน 27, 2005, 11:56:57 AM

เอฟ - 35  ที่ด้านหน้าของเครื่องเป็นพัดลมยกตัวครับ ..... หมุน ( พัด ) ได้โดยการต่อเพลาขับมาจากแกนกังหันอีกที ......


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ กันยายน 27, 2005, 12:27:22 PM
เบื้องหลังชัยชนะในสงคราม 6 วันของยิว
...ใครคือวีรบุรุษตัวจริงของอิสราเอลในสงคราม 6 วัน สงครามที่อิสราเอลมัชัยต่อศัครูชาติอาหรับ 3 ประเทศ
ได้แก่ อียิปต์ ซีเรีย และจอร์แดน ซึ่งมีอาวุธยุทโธปกรณ์และประชากรรวมกันมากกว่าอิสราเอลหลายเท่า
...ถ้าท่านเดาว่าวีรบุรุษตัวจริงของอิสราเอลในสงครามครั้งนี้ คือ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม นายพลโมเช่ ดายันหรือแม่ทัพอากาศ
แม่ทัพบก แม่ทัพเรือคนใดคนหนึ่งละก้อ...ท่านเดาผิดแล้วครับ

...วีรบุรุษตัวจริงที่มีบทบาททำให้อิสราเอลมีชัยต่อศัตรู โดยใช้เวลาเพียง 6 วันก็คืออาฮารอน ยาริฟ (Aharon Yariv)
หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับมอสสาด (Mossad)  ของอิสราเอลในขณะนั้น

...ก่อนที่จะเล่าเรื่องของอาฮารอน ยาริฟ ขอพูดถึงความเป็นมาของสงคราม 6 วันพอสังเขปเสียก่อน
...คลองสุเอชเปิดใช้เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 1897 ตามข้อตกลงคอนสแนดิโนเปิด 1888 คลองสุเอชจะต้องเปิดให้เรือของทุกชาติผ่านได้ไม่ว่าจะเป็นเวลาสันติหรือสงครามก็ตาม

...ประเทศอิสราเอลได้เกิดใหม่เมื่อปี 1948 ในดินแดนซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวปาเลสไตน์ ท่ามกลางความไม่พอใจของรัฐอาหรับรอบๆ
อันได้แก่อียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน อิรัก และเลบานอน จึงทำให้เกิดการรบพุ่งชิงดินแดนกันขึ้น

...อิยิปต์ ได้ห้ามเรือสัญชาติอิสราเอลผ่านคลองสุเอชในปี 1955
....ค.ศ.1965 กามาล อับเดล นาสเซอร์  ประธานาธิบดีของอียิปต์ได้ประกาศยึดคลองสุเอชเป็นของอียิปต์ทำให้ถูกคัดค้านจากประเทศตะวันตก
ที่มีผลประโยชน์โดยตรง อันได้แก่ อังกฤษและฝรั่งเศส

...กำลังของอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ายึดส่วนหนือของคลองสุเอช อิสราเอลได้โดดเข้าร่วมสงคราม และได้ยึดฉนวนกาซา และคาบสมุทรไซนาย
รวมทั้งเกาะไทรานซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญอันเป็นทางออกทะเลทางอ่าวอกาบาอีกด้วย

...ร้อนถึงสหประชาชาติต้องเข้ามาแทรกแซง  โดยสั่งให้กองกำลังของทั้งสามประเทศถอยออกจากการยึดครองดินแดนของอียิปต์  
และส่งกองกำลังนานาชาติเข้าไปแทนในนามของสหประชาชาติ

...สงคราม 6 วันได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อประธานาธิบดีนาสเซอร์แห่งอียิปต์ได้สั่งให้กองกำลังนานาชาติภายใต้การบัญชาของสหประชาชาติ
ซึ่งทำหน้าที่เป็นกันชนระหว่างอิยิปต์และอิสราเอลถอนออกจากอียิปต์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 1967 แล้วเคลื่อนกำลังของอียิปต์อันประกอบด้วยทหาร 100,000 คน
พร้อมรถถังอีก 900 คัน เข้ามายังทะเลทรายไซนาย ทางซีเรียได้ส่งทหาร 6 กองพลน้อยพร้อมด้วยรถถัง 300 คัน เข้าประชิดทางที่ราบสูงโกลาน
(ตอนแรกจอร์แดนไม่ได้ร่วมส่งครามด้วย)  เพื่อล้อมกรอบอิสราเอลให้อยู่หมัด

...หกวันต่อมา วันที่ 22 พฤษภาคม นาเซอร์ได้สั่งปิดช่องแคบไทราน ซึ่งเป็นช่องทางที่อิสราเอลใช้ออกสู่ทะเลแดง อิสราเอลถือว่าเป็นเส้นทางเดินเรืออันเป็นน่านน้ำสากล
ได้รับการประกันโดยมหาอำนาจทางทะเลได้แก่สหรัฐอังกฤษ แคนาดา และฝรั่งเศส มาตั้งแต่ 1956 แล้ว อิสราเอลจึงยอมไม่ได้

...ในบรรยากาศของสงครามเช่นนั้น เลวี เอสคอล (Levi Eskhol)  นายกรัฐมนตรีอิสราเอลลังเลที่จะให้อิสราเอลทำสงคราครั้งนี้  
ด้วยเหตุผลที่ว่านับตั้งแต่อิสราเอลได้ตั้งประเทศขึ้นมาใหม่ อิสราเอลยังไม่เคยสู้รบกับอาหรับชาติใดตัวต่อตัว และเป็นสงครามเต็มรูปแบบมาก่อนเลย
สำหรับเอสคอลแล้วสงครามมันเป็นเรื่องล้าสมัย สมควรจะลองเจรจาทางการทูตดูก่อน แต่พวกนายพลสายเหยี่ยวเห็นว่าการเสียเวลาเจรจาทางการฑูต
จะทำให้อิสราเอลสูญเสียโอกาสในการโจมตีศัตรูก่อนเอสคอลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักทั้งจากสื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป
ในที่สุดเอสคอลต้องเปลี่ยนรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม โดยแต่งตั้ง นายพล (นอกราชการ) โมเช่ ดายัน ซึ่งเป็นสายเหยี่ยวเช่นกัน ขึ้นส่าการกลาโหมแทนคนเก่า  
จึงทำให้เกิดความมั่นใจในหมู่ประชาชนและทำให้พวกนายทหารคลายกังวลลงได้.......(ไว้ต่อตอน 2 นะครับ)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ กันยายน 27, 2005, 01:24:29 PM
เบื้องหลังชัยชนะในสงคราม 6 วันของยิว (ตอน 2)
...ในกลุ่มนายทหราทั้งหลายมีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ตั้งอยู่ในความสงบท่ามกลางความสับสนของข่าวสงคราม
เขาคือหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับของอิสราเอลผู้มีนามว่า นายพลอาฮารอน ยาริฟ เขามีความมั่นใจว่าอิสราเอลจะชนะสงคราม
และทำให้โลกต้องตะลึงกับผลของสงครามคราวนี้ เขาเป็นหนึ่งในจำนวนนายทหารที่ต้องการให้อิสราเอลเข้าสู่สงคราม

...ยาริฟเกิดที่กรุงมอสโคว์ ในปี 1921 บิดาเป็นกุมารแพย์ชาวยิวผู้ซึ่งนิยมในลัทธิไซออนนิซึม (ลัทธิที่เชื่อในการรวมคนยิวและตั้งประเทศอิสราเอลขึ้นมาใหม่)  
และอิทธิพลทางความคิดของบิดาทำให้คนทั้งครอบครัวมีความคิดอย่างเดียวกันในที่สุดครอบครัวของยาริฟจึงได้ตัดสินใจอพยพมาตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ในปี 1935
เมื่อยาริฟเติบโตเป็นหนุ่มเขาอยากเป็นทหาร แต่ขณะนั้นรัฐอิสราเอลยังไม่ถือกำเนิดขึ้นจึงไม่มีหน่วยทหารที่จะรับเขา ยาริฟจึงต้องเรียนเกษตรแทน

...ยาริฟเป็นคนร่างเล็กผอมเกร็ง แม้กระนั้นคุณสมบัติความเป็นผู้นำก็ฉายแววให้เห็นตั้งแต่อายุยังน้อย ในเวลาไม่นานนักเขาก็ได้รับตำแหน่งประธานกรรมการนักเรียน
เพื่อนนักเรียนได้กล่าวถึงยาริฟว่า เขาเป็นคนที่เรียนเก่งมาก และเป็นนักฟุตบอลชั้นเยี่ยม นักเรียนทั้งหลายยอมรับในความเป็นผู้นำของเขา
...เมื่อสงครามคลองสุเอชเกิดขึ้น ยาริฟได้สมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพบกของอังกฤษทันที เขาได้รับการเลื่อนยศอย่างรวดเร็ว
และเป็นคนยิวจากปาเลสไตน์เพียงคนเดียวที่ได้เป็นผู้บังคับกองพันแห่งกองทัพบกอังกฤษ หลังจากนั้นเขาได้สมัครเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาชั้นสูง (INSTITUTE OF ADVANCED STUDIES)  
ของยิว ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกนักการพูตเป็นการเตรียมบุคลากรไว้สำหรับประเทศอิสราเอลที่จะเกิดใหม่ แต่เรียนยังไม่ทันจบหลักสูตรก็ต้องออกจากสถาบัน
เพราะกองทัพบกอิสราเอลซึ่งเกิดใหม่ต้องการตัวเขาให้เป็นเสนาธิการของประธานคณะเสนาธิการทหาร นายพลยาคอบ โดริ

...หลังสงครามเพื่อชิงดินแดนระหว่างอิสราเอลกับรัฐอาหรับที่อยุ่รอบๆ แล้ว ยาริฟได้เข้าเรียนในโรงเรียนเสนาธิการชั้นสูงของอิสราเอล ซึ่งสอนหลักสูตรผู้บังคับกองพัน
เมื่อจบหลักสูตรเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ในโรงเรียนเสนาธิการ และต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการซึ่งตั้งขึ้นใหม่
...หลักสูตรของโรงเรียนเสนาธิการทหารภายใต้ดำเนินการของยาริฟ ได้เน้นไม่เพียงแต่การศึกษาในศิลปของการทหารเท่านั้น
แต่ยาริฟได้เน้นว่าโรงเรียนเสนาธิการที่เขาเป็นผู้บุกเบิกนั้นต้องเป็นโรงเรียนแห่งการ "คิดเป็น" เป็นมหาวิทยาลัยของผู้มีวุฒิภาวะสูง ซึ่งถือว่าวิชาตรรกวิทยา
และวิชาปรัชญามีความสำคัญพอๆ กับการศึกษาเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์และกลยุทธในการทำสงครามทีเดียว  
แม้ปัจจุบันนี้หลักสูตรโรงเรียนเสนาธิการทหารของอิสราเอลก็ยังมีเนื้อหาตามหลักฐานของยาริฟเป็นอันมาก

...หลังจากที่เป็นผู้บังคับบัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารอยู่ 2 ปี ยาริฟได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปพูตฝ่ายทหารประจำ ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
เขาทำให้เพนตากอนงง เมื่อได้รับคำขอเข้าร่วมฝึกกับนาวิกโยธินอเมริกันในตอนกลางคืน โดยขอเข้าร่วมกับหน่วยเล็กๆ ระดับหมู่ทหาร แทนที่จะเป็นผู้สังเกตการ์อยู่ในที่ตั้ง
...เมื่อกลับมาอิสราเอลในปี 1960 เขาได้รับแต่งตั้งตำแหน่งที่เขาใฝ่ฝันมานาน นั่นคือ ผู้บัญชาการกองพันโกลานี แต่ก็สมหวังแค่เพียงระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น
กองทัพบกเห็นว่าคนมีฝีมืออย่างยาริฟนั้นเหมาะที่จะวางแผนมากกว่าออกรบเสียเอง  จึงได้แต่งตั้งให้ยาริฟดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับอิสราเอล
ซึ่งมีหัวหน้าชื่อ เมียร์ อมิท

...ยาริฟเกิดในรัสเซียและเติบโตขึ้นในโปแลนด์ และเคยเป็นทหารอยู่ในกองทัพบกอังกฤษ เขาจึงเป็นคนพูดเสียงเบาแบบคนอังกฤษ
แถมยังเป็นคนขี้อายอีกด้วย  เขาเป็นคนค่อนข้างจะเก็บตัวและไม่ชอบโฆษณาตนเอง

...ในปี 1967 ซึ่งเป็นยามที่อิสราเอลตกอยู่ในภาวะคับขัน ยาริฟได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน่าหน่วยสืบราชการลับอิสราเอล
อย่างไรก็ตาม อาริฟยอมรับว่าหน่วยสืบราชการลับที่เขาเพิ่งเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าหน่วยนั้น ได้พัฒนามาเป็นลำดับจนเกือบสมบูรณ์แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นอาร์กาบิ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกในการวิเคราะห์วิจัย เฮอร์ซอก ผู้ซึ่งสร้างมอสสาดขึ้นมาจนมีทุกสิ่งทุกอย่างที่หน่วยสืบราชการลับสมัยใหม่จะพึงมี
หรืออมิทผู้ซึ่งทำให้มอสสาดเป็นเครื่องมือสำคัญของกองทัพอิสราเอล และเนแมนผู้ซึ่งนำวิทยาศาสตร์มาใช้ในงานสืบราชการลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์
ยาริฟรู้สึกเป็นหนี้หัวหน้ามอสสาดผู้มาก่อนเขาและได้วางพื้นฐานการทำงานสืบราชการลับไว้อย่างดียิ่ง

...เวลา 07.30 น. วันที่ 5 มิถุนายน 1967 เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดความเร็วเหนือเสียงมิสแตร์และมิราจฝูงแรกก็ออกจากฐานบินลับภายในดินแดนอิสราเอล
มุ่งสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบินย้อนกลับเข้ามาทางตะวันตกของอียิปต์ ทำลายสนามบิน 16 แห่งพร้อมทั้งเครื่องบินทั้งหมดที่จอดอยู่บนสนามบินเหล่านั้น
ภายในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง ในเวลา 09.30 น. อิสราเอลได้ทำลายเครื่องบินจำนวน 400 เครื่องของอียิปต์และในทำนองเดียวกันอิสราเอลได้ทำลายเครื่องบิน
ของซีเรียและจอร์แดนทั้งหมดลงได้ในเวลาต่อมา ทำให้กำลังทางอากาศของพันธมิตรอาหรับทั้ง 3 ชาติ เป็นง่อยหมดฤทธิ์ลงทันที...

...กลยุทธสำคัญของอิสราเอลก็คือทำลายเครื่องบินมิกของอาหรับก่อนที่มันจะบินขึ้น และนี่เองเป็นผลงานของยาริฟผู้ที่ได้ศึกษารายละเอียด
และวางแผนในการปฏิบัติจนไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้นเลย
..."รู้จักศัตรูให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้" ยาริฟกล่าวกับหัวหน้าฝ่ายต่างๆ ในหน่วยงานของเขา และเน้นว่าการมีความรู้เรื่องบุทธศาสตร์ในภาพรวมใหญ่ๆ
เท่านั้นไม่พอ เราจะต้องรู้ถึงรายละเอียดตั้งแต่หน่วยทหารอาหรับลงไปจนถึงรายการอาหารที่จัดให้ทหารระดับนายสิบกินจึงจะใช้ได้  คือจะต้องรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับศัตรูนั่นเอง

...ประการสำคัญ อิสราเอลจำเป็นจะต้องรู้ว่าสนามบินของอาหรับอยู่ที่ไหนบ้าง  โดยใช้เครื่องบินสอดแนมซึ่งบินได้สูงเกินที่จรวดของอาหรับจะยิงถึงได้หรือใช้สายสืบธรรมดา  
แต่ยาริฟต้องการมากกว่านั้น ทุกสนามบินจะต้องได้รับการตรวจอย่างละเอียดโดยคนของอิสราเอล ตลอดระยะเวลา 18 เดือนก่อนสงคราม 6 วันจะเกิดขึ้น
ไม่มีแม้แต่สนามบินเดียวที่ยาริฟไม่ได้ส่งคนไปตรวจ บางสนามบินได้รับการตรวจมากกว่า 1 ครั้งด้วยซ้ำ บางสนามบินที่อยู่ใกล้พรมแดน
สายลับของอิสราเอลจะเข้าไปล้วงความลับได้ง่าย แต่บางสนามบินที่อยู่ลึกเข้าไปในดินแดนของข้าศึกนั้นตรวจได้ยาก
แต่ยาริฟก็สามารถยื่นมืออันยาวของเขาเข้าไปเก็บความลับของข้าศึกาได้หมด ตัวอย่างในกรณีสนามบินแห่งหนึ่งอยู่ใกล้ เอล ไคยัม ห่างจากกรุงไคโรประมาณ 150 ไมล์
เป็นที่เก็บเครื่องบินมิก 21 ซึ่งพร้อมที่จะขึ้นบินได้ทันที ยาริฟได้ส่งอดีตนายทหารคนหนึ่งเข้าไปเป็นคนรับใช้ในห้องของนายทหารระดับสูง
สายลับอิสราเอลผู้นี้ทำหน้าที่ได้อย่างดีมากจนได้รับความไว้วางใดจากนายทหารผู้บังคับบัญชาหน่วยบินของภูมิภาคนั้น
สายลับอิสราเอลได้ติดสอยห้อยตามไปด้วยเมื่อออกตรวจหน่วยบินภายใต้การบังคับบัญชาของเขา...(อ่านต่อในตอน 3)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ กันยายน 27, 2005, 02:08:31 PM
เบื้องหลังชัยชนะในสงคราม 6 วันของยิว (ตอนจบ)
…ที่สนามบินแห่งหนึ่งาของอียิปต์ซึ่งควบคุมโดยรัสเซีย สายลับอิสราเอลผู้หนึ่งได้เข้าไปฝังตัวในฐานะช่างเทคนิคจนได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้า  
วันหนึ่งได้รับทราบจากนายทหารอียิปต์ว่า รัสเซียได้ให้รายงานที่ผิดในการซ่อมบำรุงเครื่องบินมิก สายลับอิสราเอลได้รับคำสั่งให้จัดทำคู่มือสำหรับการซ่อมบำรุง
เครื่องบินทุกเครื่องในแต่ละสัปดาห์รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับตัวนักบินและข่างเทคนิคประจำเครื่องบินนั้นๆ ขึ้นมาใหม่

…สายลับอิสราเอลทุกคนที่เข้าไปทำงานในอาหรับ จะต้องเสาะหารายละเอียดเกี่ยวับชีวิตของนักบินแต่ละคน ยาริฟต้องการชื่อ สถานภาพครอบครัว
รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของนักบินภายในฐานบินนั้น  นอกจากนั้นยาริฟยังต้องการข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับผู้บังคับบัญชาการฐานบิน
โดยต้องการรู้ว่าผู้ใต้บังคับบัญชาชอบเขาหรือไม่  เป็นคนมีระเบียบวินัยหรือไม่ เขาไต่เต้าขึ้นมาจนเป็นผู้บังคับบัญชาฐานบินด้วยความสามารถหรือด้วยอิทธิพลอื่นใด
ช่วงเวลา 18 เดือน ข้อมูลต่างๆ ก็ไหลเข้ามายังสำนักงานของยาริฟที่เทลอาวิฟมากกว่าที่กองทัพอากาศอียิปต์มีอยู่เสียด้วยซ้ำ

…ข้อมูลเหล่านี้ทำให้การกำหนดเวลาที่เครื่องบินอิสราเอลจะออกไปโจมตีอียิปต์ได้แน่นอน เวลา 07.30-07.45 น.
เป็นช่วงที่ฐานบินและสถานีเรดาร์ของอียิปต์มีโอกาสได้รับอันตรายมากที่สุด เจ้าหน้าที่เรดาร์กะกลางคืนจะออกเวรเวลา 08.00 น.
หลังจากนั่งเพ่งหน้าจอเรดาร์มาตลอดทั้งคืนแล้ว ความง่วงและความเหนื่อยล้าก็เข้ามาครอบงำ สมาธิก็จะถดถอยลง ความกระตือรือร้นและจดจ่ออยู่กับงานจะลดลงด้วย
เจ้าหน้าที่จะเตรียมตัวส่งมอบงานให้เจ้าหน้าที่กะต่อไปซึ่งจะมารับช่วงงานในไม่ช้านัก

…สำหรับนักบินจะได้รับสัญญาณปลุกเมื่อเวลา 06.30 น. อาหารเช้าจะพร้อมให้บริการได้เมื่อ 07.00 น. หลังอาหาร พวกนักบินจะกลับที่พักของตนในเวลา 07.30 น.
เพื่อเตรียมสัมภาระและอุปกรณ์การบิน ส่วนพนักงานภาคพื้นดินจะยุ่งอยู่กับงานของตนในช่วงนี้  โดยปกติแล้วเครื่องบินจะอยู่ในโรงเก็บมาตลอดทั้งคืน
เพราะการอยู่นอกโรงเก็บโดยไม่ได้ติดอาวุธ ย่อมจะเป็นการเสี่ยงต่อการถูกโจมตีเป็นอย่างยิ่ง

…ในขณะเดียวกัน ในกรุงไคโร นายทหารระดับสูงของกองทัพบก ทัพเรือ และทัพอากาศก็เพิ่งจะออกจากบ้านฝ่าการจราจรอันหนาแน่นของกรุงไคโร
เพื่อมาให้ทันเวลาทำงาน 08.00 น. ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ผู้มีอำนาจตัดสินใจยังติดอยู่บนถนนของกรุงไคโรที่ใดที่หนึ่ง
การตัดสินใจในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะฉุกเฉินทุกอย่างขึ้นอยู่กับนายทหารระดับสูงเท่านั้น

…ยาริฟเป็นผู้เลือกเวลาและสถานที่ที่จะปฏิบัติการ และเขาได้เลือกอย่างถูกต้องเสียด้วย
…กำลังทางอากาศของศัตรูได้รับความเสียหายยับเยินอยู่บนพื้นสนามบินนั่นเอง  เรดาร์ของอียิปต์ไม่ได้จับภาพเครื่องบินของอิสราเอลที่กำลังบินเข้ามาทางตะวันตก  
ซึ่งเป็นทิศทางที่อียิปต์ไม่ได้คาดคิดมาก่อน  และเครื่องบินอิสราเอลก็บินเร็วมากและต่ำจนเรดาร์จับภาพไม่ได้
…เครื่องบินของอาหรับบางเครื่องเตรียมจะบินขึ้นต่อต้านอิสราเอลเหมือนกัน แต่สนามบินได้ถูกทำลายจนใช้การไม่ได้ตั้งแต่นาทีแรกของสงคราม  
โดยเครื่องบินของอิสราเอลได้ทิ้งระเบิดลงสนามบินอย่างแม่นยำเหมือนจับวาง

…สำหรับสงคราภาคพื้นดิน งานข่าวของอิสราเอลภายใต้การนำของยาริฟได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยม
ยาริฟได้เก็บข้อมูลรายละเอียดทุกหน่วยทัพของอียิปต์ ซีเรีย และจอร์แดน รวมทั้งอำนาจการยิงของศัตรู
นอกจากนั้นเขายังประเมินความสามารถในการรบของนายพลทั้งหลายของกองทัพเหล่านั้นด้วย

…หน่วยสืบราชการลับของอิสราเอลสามารถถอดรหัสระบบสื่อสารของอาหรับที่ใช้ในการรบได้มานานแล้ว เมื่อกองรถถังของอียิปต์ไม่สามารถติดต่อกับทางไคโรได้  
เนื่องจากสัญญาณวิทยุขาดหายไปชั่วคราว และหน่วยสืบราชการลับของอิสราเอลทราบเรื่องนี้จึงตีขลุมทำทีเป็นเสียงวิทยุจากไคโรเสียเอง
สั่งให้เปลี่ยนคลื่นวิทยจากไคโรเสียเอง สั่งให้เปลี่ยนคลื่นวิทยุรับส่งของกองทัพรถถังในทะเลทราบไซนาย
และควบคุมการเคลื่อนไหวของทัพรถถังอียิปต์เหมือนหุ่นยนต์เสียเอง โดยได้สั่งให้เดินหน้า ถอยหลังตามใจชอบ
เพื่อให้กองทัพรถถังของอียิปต์อยู่ห่างจากเวทีรบ และห่างจากอิสราเอล เมื่อมีการหยุดยิง อิสราเอลได้ยึดรถถังเหล่านั้นไว้หมดและปล่อยตัวทหารอียิปต์ให้กลับบ้านไป

…ขณะเดียวกันแนวรบด้านจอร์แดนและไซนาย  ผลงานของหน่วยสืบราชการลับของอิสราเอลภายใต้การนำของยาริฟได้เป็นที่ประจักษ์ถึงประสิทธิภาพอันสูง
กองทัพจอร์แดนได้วางแนวป้องกันด้วยรถถัง และแนวระเบิดบก  ซึ่งต้องใช้รหัสลับจึงจะสามารถทำลายได้ แต่กองทัพอิสราเอลได้ตีฝ่าเข้าไปเหมือนไม่มีเครื่องกีดขวางใดๆ อยู่เลย
ยังความงงงวยให้แก่กษัตริย์ฮุสเซนผู้บัญชาการกองทัพจอร์แดนเป็นอันมาก เพราะทุกแนวระเบิดบกได้ถูกสายลับอิสราเอลทำเครื่องหมายไว้หมด

…ด้านแนวรบที่ราบสูงโกลาน สายลับอิสราเอลได้แอบเข้าไปทำแผนที่ที่ตั้งของกองทัพซีเรียไว้หมด กองทัพซีเรียได้ตั้งข้อสมมติฐานไว้ว่าหากอิสราเอลโจมตีที่ราบสูงโกลาน
ต้องเจอป้อมปราการที่แข็งแรง ดังนั้น ซีเรียจึงตรึงแนวป้องกันทั้งทางกว้างและทางลึกตลอดจนที่ราบสูงโกลาน  สนับสนุนโดยทหารราบหลายกองพลน้อย

…ซีเรียเชื่อว่าตนปลอดภัยจากการโจมตีของอิสราเอลแน่  แม้แต่กลุ่มนายหมารอเมริกันที่ได้เยี่ยมอิสราเอลในปี 1961 และได้เห็นแนวป้องกันของซีเรียต่างก็มีความเห็นอย่างเดียวกัน
ใครก็ตามที่พยายามเข้ายึดที่ราบสูงโกลานจะต้องสูญเสียอย่างหนักทั้งชีวิตทหารและยุทโธปกรณ์ นายทหารอเมริกันกลุ่มนั้นเชื่อว่ารัฐบาลอิสราเอลไม่สามารถลงทุนอย่างนั้นได้

…ยาริฟได้สร้างหุ่นจำลองของที่ราบสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงบนหุ่นจำลองของแนวป้องกันของซีเรียจะเป็นไปตามข้อมูลที่ได้มาใหม่เสมอ
หุ่นจำลองนั้นได้กลายเป็นศูนย์กลางของการศึกษาของเหล่านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ในที่สุดก็พบจุดอ่อนของแนวป้องกันของซีเรีย  
ซีเรียได้เจาะลึกเข้าไปในภูเขาเพื่อซ่อมแซมปืนใหญ่ให้พ้นจากการโจมตีของเครื่องบินอิสราเอล นอกจากนั้นยังสามารถเห็นข้าศึกที่จะขึ้นมาทางเชิงเขา
ซึ่งเป็นที่ราบเทลงสู่เบื้องล่างอีกด้วย  ตอนแรกกองทัพอิสราเอลวางแผนจะใช้ทหารโดดร่มลงบนจุดที่สูงที่สุดของที่ราบสูงโกลาน  
แต่รายงานของสายลับอิสราเอลที่เข้าไปฝังตัวอยู่ในวงการทหารของซีเรีย ได้แจ้งให้ยาริฟทราบว่าซีเรียก็คาดคะเนเช่นนั้นเหมือนกัน  
จึงได้ชุมนุมทหารส่วนใหญ่ไว้บนยอดสูงสุดของที่ราบสูง  แผนนี้จึงต้องเปลี่ยนไป

…เมื่อเวลาที่กำหนดมาถึง  โมเช่  ดายัน  รัฐมนตรีกลาโหมไม่เชื่อว่าอิสราเอลจะสามารถเอาชนะซีเรียได้ แต่ยาริฟและนายทหารฝ่ายเสนาธิการเชื่อมั่นว่าอิสราเอลจะต้องชนะแน่
…อิสราเอลใช้กองทัพอากาศที่เหนือชั้นกว่าซีเรีย  โจมตียอดสูงสุดของที่ราบสูงจนซีเรียอ่อนกำลังลง  
ต่อจากนั้นอิสราเอลสามารถส่งทหารและอาวุธเข้ามาทางจุดที่อิสราเอลพบว่าเป็นจุดอ่อนของแนวป้องกันของซีเรีย  และเข้ายึดพื้นที่ได้  
หลังจากนั้นกำลังเสริมก็ติดตามเข้ามาจนซีเรียต้องยอมแพ้ และสูญเสียที่ราบสูงโกลานให้กับอิสราเอลในการรบที่ใช้เวลาไม่ถึง 1 วัน
…เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ความสำเร็จของยาริฟเป็นที่รู้จักของนายทหารทุกคนที่ผ่านสงครามคราวนี้  
ทุกหน่วยได้รับผลจากการปฏิบัติงานของหน่วยสืบราชการลับภายใต้การนำของยาริฟทำให้ภารกิจลุล่วงไปได้ดี

…ยาริฟได้กล่าวว่างานสายลับมีความจำเป็นสำหรับประเทศเล็กๆ ที่ล้อมรอบไปด้วยศัตรูซึ่งจะช่วยเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่จะถูกโจมตี
งานสายลับต้องยึดคำพูดของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการจุดระเบิดบกในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ว่า …  ความผิดครั้งแรกก็คือความผิดครั้งสุดท้าย  …


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ กันยายน 27, 2005, 03:06:04 PM
ผมว่าอิสราเอลเป็นหนึ่งในประเทศที่การข่าวแล้วสายลับดีที่สุดในโลกนะครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ กันยายน 27, 2005, 03:11:49 PM
เอฟ - 35  ที่ด้านหน้าของเครื่องเป็นพัดลมยกตัวครับ ..... หมุน ( พัด ) ได้โดยการต่อเพลาขับมาจากแกนกังหันอีกที ......

*****

ขอบคุณมากครับ อือม์ ไอเดียเยี่ยมครับ พัดลมเฉยๆ ไม่วุ่นวายอย่างท่อไอพ่น


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Zeus-รักในหลวง ที่ กันยายน 27, 2005, 03:32:35 PM
ขอบคุณท่านไฮโลเอ๊ยไฮดร้าครับ...อ่านเพลินดีครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: jakrit97 - รักในหลวง - ที่ กันยายน 27, 2005, 04:06:00 PM
ขอบคุณคุณ Hydra ครับ สำหรับเรื่องน่าอ่าน มีอีกไหมครับ

ท่านเลขาฯ Zeus ครับ เรื่องคอมฯ ว่าอย่างไรบ้าง ;)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: bobby ที่ กันยายน 27, 2005, 04:53:28 PM
 ;D

สนุกมากๆ ครับ เรื่องน่าสนใจทั้งนั้น ขออีกเยอะๆ ครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 27, 2005, 09:47:02 PM
อ่านเรื่อง อิสราเอล กับ มิราจ แล้ว ทึ่งในความอดทนของคน อิสราเอลครับ

ไช่ว่ามีแต่ ฝรั่งเศษ ที่มีเครื่องบินปีก 3 เหลี่ยม อเมริกา ก็มีเครื่องบินปีก 3 เหลี่ยมด้วยครับ

คือ CONVAIR F-102A "Delta Dagger" กับ CONVAIR F-106A "Delta Dart"



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 27, 2005, 10:57:25 PM
(http://www.military.cz/usa/air/post_war/f6/f4d_skyray.jpg)
(http://www.military.cz/usa/air/post_war/f6/f4d_infl.jpg)
(http://www.military.cz/usa/air/post_war/f6/f4d_carland.jpg)
 ;D F-4D ZF-6X Skyray ก็น่าจะเข้าข่ายปีกสามเหลี่ยมนะครับ เพียงแต่ไม่ได้ประจำการใน ทอ.อเมริกา แต่ประจำอยู่ ทร. ครับ ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 27, 2005, 11:26:59 PM
มีคู่แฝดตัวใหม่ครับ คราวนี้ระหว่าง เอเซีย กับยุโรป

Mitsubishi F1 ของ ญี่ปุ่น กับ Jaguar ของ อังกฤษ กับ ฝรั่งเศษ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 27, 2005, 11:31:22 PM
 ;D เดี๋ยวต้องมี F-16 กับ F-2 ของญี่ปุ่นแน่ ๆ :DD


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 27, 2005, 11:44:00 PM
ภาพสีครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 27, 2005, 11:47:45 PM
Jaguar ครับ ใส่  ภาพ พร้อมกันไม่ได้ มันใหญ่ไปนิ๊ดเดียวเอง  :~)

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 28, 2005, 12:11:24 AM
ถ้าเดาได้ก็ง่ายไปสิครับ
ต้องคู่นี้ครับ ในเอเซียด้วยกัน คู่ชกระหว่าง

ใต้หวันกับ เกาหลีใต้

IDF กับ T50 Golden Eagle

ด้านข้างเหมือนกันมาก

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 28, 2005, 12:26:07 AM
 :)..ขอบคุณมาก กับทุกท่าน ครับ..ที่กรุณา นำภาพ+สาระมาให้เพียบ 
    ถือเป็นตำราเรียนลัด เครื่องบินรบ ขออนุญาตเซฟไว้เลยครับ. :D  :VOV:


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 28, 2005, 12:56:45 AM
ตอนนี้ S-37 ได้ชื่อระหัสว่า SU-47 "Berkut" แล้วครับ

SU-47 เป็นเครื่องบินที่คล่องตัวมาก สามารถบินท่าพลิกแพลงอย่างเครื่องบินที่เล็กกว่าได้ ถ้า อเมริกา ไม่เอาข้อมูลที่ได้จากโครงการ X-29 มาใช้หล่ะก็ ผมว่า F-22 คงรับมือกับ SU-47ได้ยากแน่

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 28, 2005, 12:59:33 AM
อีกชุดครับ SU-47

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 28, 2005, 03:44:56 AM
ถ้าเดาได้ก็ง่ายไปสิครับ

 ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 28, 2005, 05:19:21 AM
 ;D ลำนี้สวยดีผมชอบ น่าเสียดายที่ไม่ได้รับเข้าประจำการ F-16XL สร้างขึ้นมาเพื่อแข่งขันการจัดหาเครื่องบินโจมตีทางยุทธศาสตร์เพื่อทดแทน F-111 แต่ก็พ่ายแพ้ให้กับ F-15E ไป ภายหลังนาซ่าขอเครื่องต้นแบบไปใช้บินทดสอบ ;D
(http://www.dfrc.nasa.gov/Gallery/Photo/F-16XL1/Small/EC96-43418-3.jpg)
(http://www.dfrc.nasa.gov/Gallery/Photo/F-16XL1/Small/EC96-43508-2.jpg)
(http://www.dfrc.nasa.gov/Gallery/Photo/F-16XL1/Small/EC95-47960-1.jpg)
(http://www.dfrc.nasa.gov/Gallery/Photo/F-16XL1/Small/EC95-43024-2.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 28, 2005, 05:32:03 AM
 ;D นี่ไง X-29 เหมือน Su-47 เอาแบบของ X-29 มาขยายดัดแปลงเลยมั๊ยครับ ;D

(http://www.dfrc.nasa.gov/Gallery/Photo/X-29/Small/EC91-491-07.jpg)
(http://www.dfrc.nasa.gov/Gallery/Photo/X-29/Small/EC90-357-4.jpg)
(http://www.dfrc.nasa.gov/Gallery/Photo/X-29/Small/EC88-106-1.jpg)
(http://www.dfrc.nasa.gov/Gallery/Photo/X-29/Small/EC85-33297-23.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 28, 2005, 05:36:37 AM
 ;D ก่อนจะมาเป็น F/A-18 Hornet เคยเป็น YF-17 Cobra มาก่อน ;D

(http://www.dfrc.nasa.gov/Gallery/Photo/YF-17/Small/EC76-5270.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 28, 2005, 05:38:16 AM
 ;D YF-23 ผู้พ่ายแพ้แก่ F-22 Raptor ;D

(http://www.dfrc.nasa.gov/Gallery/Photo/YF-23/Small/EC94-42454-3.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 28, 2005, 05:46:38 AM
 ;D Tu-144LL ลำที่ร่วมบินทดสอบกับนาซ่า ;D

(http://www.dfrc.nasa.gov/Gallery/Photo/TU-144LL/Small/ED96-43549-2.jpg)
(http://www.dfrc.nasa.gov/Gallery/Photo/TU-144LL/Small/ED96-43549-1.jpg)
(http://www.dfrc.nasa.gov/Gallery/Photo/TU-144LL/Small/EC97-44203-3.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 28, 2005, 05:51:17 AM
 ;D X-5 ต้นแบบเครื่องบินปีกปรับความลู่ได้ ;D

(http://www.dfrc.nasa.gov/Gallery/Photo/X-5/Small/E-810.jpg)
(http://www.dfrc.nasa.gov/Gallery/Photo/X-5/Small/EC-17351.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 28, 2005, 05:56:47 AM
 ;D X-31 เครื่องทดสอบการไม่ใช้แพนหางดิ่ง แต่ใช้ท่อท้ายปรับองศาแรงขับได้ในการบังคับเลี้ยวแทน ;D

(http://www.dfrc.nasa.gov/Gallery/Photo/X-31/Small/ED94-42734-6.jpg)
(http://www.dfrc.nasa.gov/Gallery/Photo/X-31/Small/ED93-42152-10.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ กันยายน 28, 2005, 09:38:39 AM
แล้วสมัยนี้มีโครงการทำเครื่องบินปีกลู่หน้าไหมครับ? ได้ข่าวว่าประสิทธิภาพดีกว่าลู่หน้า สมัย WWII เยอรมันล้ำยุคคิดจะทำแต่วัสดุศาสตร์ไม่ดีพอ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 28, 2005, 10:24:39 AM
แล้วสมัยนี้มีโครงการทำเครื่องบินปีกลู่หน้าไหมครับ? ได้ข่าวว่าประสิทธิภาพดีกว่าลู่หน้า สมัย WWII เยอรมันล้ำยุคคิดจะทำแต่วัสดุศาสตร์ไม่ดีพอ

เพิ่งโพสไปไงครับ >:( >:( >:( >:( >:( >:( >:( >:( >:( >:( >:( >:( >:( >:( >:( >:( >:(
สงสัยไม่ได้อ่าน  :DD :DD :DD :DD :DD :DD :DD :DD :DD :DD :DD :DD :DD :DD :DD :DD :DD :DD :DD :DD

ก็ SU-47"Berkut" ไงครับ ระหัส S-37 คือ เครื่องบินทดลอง พอเปลี่ยนระหัส คือเครื่องบินที่พร้อมที่จะเข้าสายการผลิต

เศร้าใจจัง โพสแล้วมีคนมาถามแบบนี้อีก :~) :~) :~) :~) :~) :~) :~) :~) :~) :~) :~) :~) :~) :~) :~) :~)

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ กันยายน 28, 2005, 10:34:08 AM
ฮ่า ฮ่า ฮ่า เหมือนกับที่ผมหลับตอนเรียนหนังสือ น่าสงสาร อ. จังเลย


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 28, 2005, 11:09:46 AM
ฮ่า ฮ่า ฮ่า เหมือนกับที่ผมหลับตอนเรียนหนังสือ น่าสงสาร อ. จังเลย

 ;D นักเรียนแบบนี้ต้องทำโทษป่ะครับ ครู M686 :DD ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 28, 2005, 11:19:12 AM
ช่าย ต้องลงโทษ  ??? ??? ???

เอางี๊ดีกว่า ให้  Law Enforcement  ไปหาเครื่องบินขับไล่ ที่ผม และ NaiMai ไม่เคย โพส มา 10 แบบดีมั๊ยครับ  ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 28, 2005, 11:35:12 AM
ช่าย ต้องลงโทษ ??? ??? ???

เอางี๊ดีกว่า ให้ Law Enforcement ไปหาเครื่องบินขับไล่ ที่ผม และ NaiMai ไม่เคย โพส มา 10 แบบดีมั๊ยครับ ;D ;D ;D

 :DD :DD :DD :DD


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 28, 2005, 11:57:32 AM
มาดูเครื่องบินดังในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กันดูบ้างครับ

เริ่มที่ F-4 U Corsair

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 28, 2005, 01:06:28 PM
F-16 XL เครื่องนี้ปีก 2 ข้างไม่เหมือนกันครับ ปีกข้างซ้ายโคนปีกยื่นไปข้างหน้า

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ กันยายน 28, 2005, 01:59:51 PM
S37หรือSu 47 นอกจากจะเป็นเครื่องบินปีกลู่หน้าที่เข้าสายการผลิตแบบแรกยังเป็นเครื่องบินที่มีคุณสมบัติล่องหนด้วยการออกแบบและวัสดุดูดซับคลื่นเรดาร์  แต่ที่เหนือกว่า F22ก็คือเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยการแผ่คลื่นแม่เหล็กมาจากกระเปาะที่ปลายหางท่2ข้างยาวไม่เท่ากันมาหุ้มรอบตัวเครื่องเอาไว้เพื่อลดประสิทธิภาพของเรดาร์ลงไปอีก :o :o


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ปืนเล็กยาว ที่ กันยายน 28, 2005, 03:29:08 PM
อย่าลืมคอปเตอร์ของญี่ป่นอีกลำนะครับ ลำนี้ดังไปทั่วโลก ไม่มีใครไม่รู้จักมัน เพราะมันคือ !!!

"คอปเตอร์ไม้ไผ้ ของโดเรมอน"


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ กันยายน 28, 2005, 03:29:39 PM
เครื่องบินทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในอนาคต
… ปัญหาอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังไม่ยุติแต่กลับรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทางด้านสหรัฐฯ กับคู่ปรับเก่าอย่างอิรัค สงครามอ่าวเปอร์เซียยกที่ 2
ส่อแววว่าจะเกิดขึ้นอีก เมื่อผู้นำสหรัฐฯ ออกมาประกาศว่าจะล้มรัฐบาล ซัดดัม ฮุสเซน ให้ได้ ซึ่งขณะที่ผู้เขียนกำลังเขียนต้นฉบับอยู่นี้มีข่าวว่าเครื่องบินรบของสหรัฐฯ
และกองทัพอากาศชาติอื่นๆ เริ่มมีการปฏิบัติการโจมตี ต่อเป้าหมายในอิรัคบ้างแล้ว แต่ยังไม่มีการเปิดศึกครั้งใหญ่

…การขู่ว่า จะเปิดสงครามกับอิรัค ยกที่ 2 ของสหรัฐฯ ดูเหมือนจะแตกต่างกับปี พ.ศ. 2534 โดยสิ้นเชิง ในขณะนั้นมีหลายฝ่ายออกความเห็น
ทั้งประชาชนและชาติอื่นๆ ต่างเห็นพ้องกับสหรัฐฯ ให้สหรัฐฯ โจมตีอิรัคเพื่อปลดปล่อยคูเวต แต่ในปีนี้ พ.ศ. 2545 นอกจากไม่เห็นด้วย
หลายฝ่ายยังออกมาคัดค้านเพราะเหตุผลมีไม่เพียงพอที่จะต้องใช้กำลังทหาร นอกจากนี้ เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังไม่เอื้ออำนวยที่จะนำประเทศเข้าสู่สงคราม
ถ้าหากต้องการมีชัยชนะในการรบจะต้องได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากกองทัพชาติสมาชิกนาโด   ทั้งกำลังทางทหารและทางการเงิน

…ถ้าหากสหรัฐฯ เปิดฉากโจมตีอิรัคจริงตามคำขู่ การปฏิบัติการทางทหารอาจจะใช้กำลังทางอากาศเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อวิเคราะห์ดูจากสถานการณ์แล้วจะเห็นได้ว่า
สหรัฐฯ ไม่มีการเคลื่อนกำลังทางบกมุ่งสู่ภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแต่อย่างใด การเคลื่อนย้ายกำลังทางอากาศจากสหรัฐฯ ของกองทัพอากาศ
สามารถเสริมกำลังเข้าสู่ภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียกระทำได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีกำลังอากาศยานจากเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพอากาศสหรัฐฯ
เข้าร่วมปฏิบัติการ กำลังทางอากาศหลักที่สหรัฐฯ จะนำออกปฏิบัติการน่าจะเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ซึ่งสามารถบินปฏิบัติการจากฐานบินในประเทศสหรัฐฯ
ไปโจมตีเป้าหมายในอิรัค โดยเฉพาะ บี-2 ซึ่งสามารถเล็ดลอดการตรวจจับจากเรดาร์และระบบป้องกันทางอากาศเข้าไปโจมตีเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ

…การใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดปฏิบัติการจากฐานทัพอากาศสหรัฐฯ หรือฐานทัพอากาศบนเบาะ ดิเอโกการ์เซียในมหาสมุทรอินเดีย จะมีข้อเสียคือ
การใช้ระยะเวลาบินนานในการโจมตีอัฟกานิสถานเครื่องบิน บี-2 นำระเบิด 16 ลูกไปทิ้งใส่เป้าหมาย จะต้องใช้เวลาบินไป – กลับ ถึง 40 ชั่วโมง
ถ้าหากเป็นเป้านิ่ง เช่น โรงไฟฟ้า ที่ตั้งกองบัญชาการ หรือที่ตั้งข่ายการสื่อสาร ไม่เป็นเป้าหมายแต่ถ้าหากเป็นเป้าหมายเคลื่อนที่
อาทิเช่น ฐานยิงอาวุธปล่อยนำวิถี ขบวนรถถัง เป้าหมายต้องเปลี่ยนตำแหน่งห่างจากตำแหน่งเดิมไปไกลนับ 100 กิโลเมตร แม้ว่ากองทัพอากาศสหรัฐฯ
จะแก้ปัญหาโดยนำเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบอื่นๆ เช่น บี-1 และบี-52 มาวางกำลังอยู่ที่ฐานทัพอากาศบนเกาะดิเอโกการ์เซีย เพื่อเพิ่มจำนวนเที่ยวบินให้มากขึ้น
และลดระยะทางและเวลาบิน แต่เครื่องบินทิ้งระเบิดทั้งสองแบบก็ยังต้องใช้เวลาบินหลายชั่วโมงกว่าจะถึงเป้าหมาย เนื่องจากพื้นที่ปฏิบัติการอยู่ไกล
และที่สำคัญคือเครื่องบินทิ้งระเบิดที่มีประการอยู่ในกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในปัจจุบันทั้งสามแบบสามารถทำความเร็วในการบินได้ต่ำกว่าเสียง
โดย บี-1 สามารถทำความเร็วได้สูงสุดมากกว่า 600 ไมล์ต่อชั่วโมง ในการบินปฏิบัติการโจมตีเป้าหมายในระดับความสูงต่ำส่วน ปี-2 ทำความเร็วในการบินเดินทางได้เพียง 450 ไมล์ต่อชั่วโมงเท่านั้น...
...เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ทั้งสามแบบของกองทัพอากาศสหรัฐฯ (ไว้มาต่อกันตอนหน้านะครับ)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 28, 2005, 08:43:58 PM
ระหว่างรอเรื่องของคุณ Hydra ผมมีเครื่องบินปีก 3 เหลี่ยมของ อเมริกา สมัย โบราณที่สมัยของมัน ราคาแพงกว่าทองอีก เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวมาให้ดูครับ

เครื่องบิน Convair B-58 Hustler เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดเร็วเหนือเสียงแบบแรก

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 28, 2005, 08:57:42 PM
อีกมุมครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 28, 2005, 09:11:15 PM
ลองทายสิว่า นี่เครื่องบินอะไร ???

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: mb154cm ที่ กันยายน 28, 2005, 09:31:36 PM
ต้นตระกูลของB52 :)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 28, 2005, 09:41:46 PM
ดูก็รู้  :DD

แต่ผมอยากรู้ว่า รุ่นอะไร??? ครับ



หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Recoillism ที่ กันยายน 28, 2005, 10:09:14 PM
 ???  B-47 Stratojet   Nuclear Bomber   ::)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 29, 2005, 08:55:46 AM
ผิดครับ

ใบ้ให้ก็ได้ เป็คู่แข่งกับ B-52  ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 29, 2005, 12:06:38 PM
เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ Boeing B-47 Stratojet เป็นเครื่องบิน 6 เครื่องยนต์ครับ ส่วนในภาพปริศนาเป็นเครื่องบิน 8 เครื่องยนต์ ที่เหมือนกันกับ Boeing B-52  Stratofortress แต่ B-52 มีประสิทธิ์ภาพเหนือกว่า เลยชนะการแข่งขันไป
B-47 ภาพบน

ภาพปริศนา ภาพล่างครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 29, 2005, 12:16:45 PM
B-52 Stratofortress เป็นโครงการเครื่องบินทิ้งระเบิดที่มีชื่อเสียงที่สุด และ ประจำการยาวนานที่สุดด้วย เริ่มประจำกรตั้งแต่ปี 1962 จนถึงปัจจุบัน

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 29, 2005, 12:31:48 PM
  ;D เดาครับว่า B-36 Peacemaker แต่มีผิดกันที่เครื่องยนต์ เลยไม่ฟันธงครับ ??? ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 29, 2005, 01:41:36 PM
B-36 Peacemaker เป็นเครื่องบินในพัดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นเครื่องบินรุ่นเดียวในโลกที่ปีกมีช่องทางให้ช่างเครื่องมุดเข้าใปซ่อมเครื่องยนต์ขณะบินได้ด้วย

ภาพที่ 2 เทียบขนาดกับ B-29 ด้านหลัง

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ กันยายน 29, 2005, 03:38:42 PM
เครื่องบินทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในอนาคต  (ตอนจบ)
…เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ทั้งสามแบบของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบันจะยังคงประจำการอยู่ต่อไป  บี-52 และ บี-1  ประมาณ  10  ปี  ส่วน  บี-2  จะรับราชการนานกว่านั้น  ในขณะนี้กองทัพอากาศสหรัฐฯ  เริ่มศึกษาเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบใหม่ที่จะมารับหน้าที่ต่อจาก  บี-52  และ  บี-1  ซึ่งในขณะนี้สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางการทหารของกระทรวงกลาโหม หรือ  DAPRA  ได้จีดทำโครงการเครื่องบินทิ้งระเบิดในอนาคต  หรืออาจจะเป็น  บี-3  โดยได้ว่าจ้างให้บริษัทผู้ผลิตอากาศยานในสหรัฐฯ ทำการศึกษาวิจัย  ขณะนี้ได้คัดเลือกแผนแบบของอากาศยานไว้แล้ว  2  บริษัท  เพื่อให้ทำให้การศึกษาต่อไป  เครื่องบินทิ้งระเบิดในอนาคตของกองทัพอากาศสหรัฐฯ  จะมีความเร็วในการบินเดินทางเข้าสู่เป้าหมายด้วยความเร็วสูงถึง  2.4  มัค  เพื่อลดเวลาในการเดินทางจากฐานที่ตั้งไปยังพื้นที่เป้าหมาย
…เครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วเหนือเสียงไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในอดีตเคยมีการพัฒนาขึ้นมาใช้งานแล้ว  แต่ประจำการอยู่ในช่วงเวลาอันสั้น  เพราะแนวความคิดในการปฏิบัติการใช้กำลังทางอากาศของเครื่องบินทิ้งระเบิดได้เปลี่ยนไปก่อนที่จะนำท่านไปรู้จักรูปร่างหน้าตาของเครื่องบินทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในอนาคต  และขอย้อนอดีตไปรู้จักการพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วเหนือเสียงเมื่อ  50  ปีที่ผ่านมา
…ในอดีตกองทัพอากาศสหรัฐฯ เคยมีโครงการพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วเหนือเสียงมากกว่า  2  เท่าของความเร็วเสียงขึ้นมาใช้งานเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการทางยุทธการได้อย่างรวดเร็วในปลายปี ค.ศ. 1950 บริษัท คอนแวร์  ของสหรัฐฯ ได้ทำการพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-58 ฮัสท์เลอร์  ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ไอพ่นเทอร์โบเจต เจ 58 จำนวน 4 เครื่อง สามารถทำความเร็วในการบินเดินทางเข้าสุ่เป้าหมายด้วยความเร็วสูงถึง 2.4 มัค หรือ 2.4 เท่าของความเร็วเสียง  บี-58 นับเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วเหนือเสียงแบบแรกของโลกน้ำหนักสูงสุดพร้อมบรรทุกอาวุธเต็มที่ 165,000 ปอนด์  บินได้สูงสุด  60,000  ฟุต  สามารถบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ได้  1  ลูก  และขนาดเล็กอีก  4  ลูก  และติดใหญ่อากาศขนาด  20  มิลลิเมตร  ที่ด้านท้ายเครื่องหนึ่งกระบอก  อัตรายิงสูงสุด  6,000  นัดต่อนาที  สร้างขึ้นมาจำนวน  104  เครื่อง  ประจำการอยู่ในกองทัพอากาศระหว่างปี ค.ศ. 1960-1970 ต่อมากองทัพอากาศสหรัฐฯ ให้ความนิยมชื่นชอบเครื่องบินทิ้งระเบิด  บี-70  สามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง  3  มัค  มีขนาดใหญ่กว่าและมีสมรรถนะทางการบินสูงกว่า  บี-58  โดย  บี-70  ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ไอพ่นเทอร์โบเจตขนาด 30,000  ปอนด์  ถึง  6  เครื่อง  สามารถทำความเร็วได้สูงสุดมากกว่า  3  เท่าของความเร็วเสียง  (2,056 ไมล์ต่อชั่วโมง)  ความเร็วในการบินเดินทาง  มัค  3  หรือ  2,000  ไมล์ต่อชั่วโมง  มีพิสัยบินไกล  4,288  ไมล์  แต่อย่างไรก็ตาม  บี-70  ไม่ได้รับการผลิตขึ้นมาใช้งานแม้แต่เครื่องเดียว 
…ปลายปี ค.ศ. 1960  หลักนิยมการใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วสูงมากและมากกว่าความเสียง  2  เท่า  และบินเข้าปฏิบัติการที่ระดับเพดานบินสูงได้เปลี่ยนไป  เนื่องจากกองทัพอากาศสหรัฐฯ เห็นว่าแนวความคิดในการใช้กำลังดังกล่าวทำให้เครื่องบินมีโอกาสถูกยิงตกสูงจากอาวุธต่อสู้อากาศยานที่ทันสมัย (SAM)  โอกาสอยู่รอดควรเปลี่ยนมาทำการบินที่ระดับความสูงต่ำ  และใช้ความเร็วประมาณ  0.9-1.2  มัค  จากแนวความคิดในการใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดปฏิบัติที่ระดับควาสูงต่ำทำให้โครงการเครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วสูงเหนือเสียงมากกว่า  3  เท่าของความเร็วเสียง  แบบ  อาร์เอส – 71  ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาต้องล้มเลิกไป  อาร์เอส-71  กลายมาเป็นเอสอาร์ –71 สำหรับปฏิบัติลาดตระเวนทางอากาศ  และไม่มีการผลิต  บี – 70  ที่อยู่ในระหว่างการทดสอบการบินขึ้นมาใช้งาน
…แต่อย่างไรก็ตามแนวความคิดที่จะใช้เครื่องบินเข้าโจมตีเป้าหมายด้วยระเบิดในระดับความสูงต่ำ  และบินด้วยความเร็วสูงต่ำกว่าเสียงได้พิสูจน์ให้เห็นเป็นแนวความคิดที่ผิดพลาด  เครื่องบินขับไล่/ทิ้งระเบิดแบบ  เอฟ-111  และเครื่องบินโจมตีทอร์นาโดของอังกฤษ  ซึ่งถูกนำมาใช้ในสมรภูมิจริงตามแนวความคิดในการใช้กำลังทางอากาศในการทะลวงเข้าไปโจมตีในระดับความสูงต่ำและใช้ความเร็วต่ำกว่าเสียงมีการสูญเสียสูงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้  ปัญหาที่พบก็คือ  เมื่อทำการบินต่ำจะมีพบเห็นจำนวนมาก  แม้ว่ายุทธวิธีดังกล่าวจะสามารถหลีกเลี่ยงจากการ  ถูกตรวจจับจากเรดาร์ระบบป้องกันทางอากาศและรอดพ้นจากการถูกยิงด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานประเภทนำวิถีด้วยเรดาร์  แต่การบินในระดับต่ำ จะต้องพบกับภัยคุกคามจากปืนต่อสู้อากาศยานและอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานประเภท  ประทับบ่ายิง  นักบินมีเวลาทำการสู้รบอันสั้นและไม่มีเวลาที่จะหลบหลีกให้พ้นจากการถูกยิง  เพราะมีห้วงอากาศจำกัดที่จะทำการบินหลบหลีก  ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ถูกนำมาใช้น้อยมาก  แม้แต่เครื่องบินทิ้งระเบิด บี-1  ซึ่งได้รับการออกแบบให้ทำการบิน  เข้าโจมตีเป้าหมายในระดับความสูงต่ำโดยใช้ความเร็วสูงประมาณ 600  ไมล์ต่อชั่วโมง  ยังถูกนำมาใช้ปฏิบัติการน้อยมาก  ซึ่งตั้งแต่นำเข้าประจำการนานนับ 10ปี มีการนำออกปฏิบัติภารกิจในสนามรบจริงเพียง 2 ครั้ง คือ สงครามโคโซโว และศึกถล่มอัฟกานิสถาน
...ในขณะที่สมมติฐานที่ว่าเครื่องบินทิ้งระเบิดที่บินปฏิบัติการด้วยความเร็วสูงและที่ระดับเพดานสูงจะมีโอกาสถูกยิงตกได้ง่ายกลายเป็นเรื่องสมมติฐานที่ผิดพลาด  ในการปฏิบัติจริงเครื่องบิน เอสอาร์-71 ซึ่งบินปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนสอดแนมเหนือน่านฟ้าโซเวียตจากปี ค.ศ.1968-1990 ถูกยิงมากกว่า 1,000 ครั้ง ไม่มีรายงานว่าสหรัฐฯ สูญเสียแม้แต่เครื่องเดียว เครื่องบินมิก-25 ของกองทัพอิรัคซึ่งมีความเร็วสูง 2.5 มัค บินไปทิ้งระเบิดเป้าหมายในอิหร่านก็ไม่มีรายงานว่าถูกอาวุธภาคพื้นของกองทัพอิหร่านยิงตก
...การปฏิบัติการโจมตีเป้าหมายที่ระดับเพดานบินสูงและใช้ความเร็วสูง  นักบินอาจจะมีปัญหาในการเล็งอาวุธได้ยาก  เพราะเครื่องบินบินด้วยความเร็วสูง อาทิเช่น การโจมตีทิ้งระเบิดด้วยเครื่องบิน มิก-25 แต่ไม่ใช่ปัญหาถ้าหากเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์โจมตีเป้าหมาย เพราะมีอำนาจการทำลายล้างที่รุนแรงและมีพื้นที่ทำลายเป็นบริเวณกว้างและปัจจุบันมีการพัฒนาอุปกรณ์สำหรับช่วยในการเล็งอาวุธที่ทันสมัยเช่น เรดาร์ ระบบเครือข่าย และจีพีเอส ช่วยให้การใช้อาวุธต่อเป้าหมายของเครื่องบินที่บินปฏิบัติการด้วยความเร็วสูงและบินอยู่ที่ระดับเพดานบินสูงมีความแม่นยำสูงมาก


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 29, 2005, 07:01:29 PM
อิอิ  :D ;D :VOV: บทความของคุณ Hydra ตรงกับรูปที่ผมโพสได้ไงเนี่ย  ??? ??? ??? :~)

เลยไม่ต้องอธิบายรูปมากเลย  ::)

เครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วสูงกว่าความเร็วเสียงหลายเท่า ก็ไม่ไช่สิ่งที่ดีเสมอไป อย่าง SR-71 Blackbird ที่มีการเคลือบสีลดการสะท้อนเรด้า แต่ไอความร้อนท้ายเครื่องบินทำให้เรด้าในปัจจุบันจับเส้นทางการบินของมันได้ เป็นระยะทางนับร้อยกิโลเมตร

เครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่จึงมีระบบ 'Supercruise" ทั้ง F22 และ Euro Fighter

Supercruise คือ การที่เครื่องบินบินด้วยความเร็วเหนือเสียง โดยที่ไม่ใช้สันดาปท้าย "After Burnner " เพราะ จะทำให้เกิดความร้อนเป็นแนวยาวอยู่บนเส้นทางบินจนเรด้าจับได้ อย่างที่ SR-71 โดน (เรื่องนี้คงทำให้ SR-71 ถูกปลดก็เป็นได้)

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: mb154cm ที่ กันยายน 29, 2005, 07:05:17 PM
ได้ความรู้ดี :)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 29, 2005, 07:36:02 PM
Typhoon EF-2000 Eurofighter เป็นอีกรุ่นครับที่มี Supercruise

เครื่อง Typhoon มีจุดเข็งใต้ลำตัวมากถึง 13 จุด

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 29, 2005, 07:39:21 PM
ตกลงไม่มีใครทางได้เลยเหรอะครับ เครื่องบินในรูปคือ รุ่นอะไร

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 29, 2005, 08:03:04 PM
เครื่องบินที่มีระบบ "Supercruise" ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีระบบ "After Burnner" ด้วย เพราะ After Burnner จะช่วยเพิ่มอัตราเร่งของเครื่องบินได้เร็ว โดยไม่ต้องดัดแปลงอะไรมากมาย เพียงแค่ฉีดเชื้อเพลิงเข้าไปที่ท้ายเครื่องยนต์

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Nakin ที่ กันยายน 29, 2005, 08:10:34 PM

คุณ  M 686 .... อย่าเพิ่งเฉลย  นะครับ .... ผมยังไม่ยอม     ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: narongt ที่ กันยายน 29, 2005, 09:06:52 PM
เหมือน B-47 STRATOJET แต่ทำไมถึงมีแปดเครื่องยนต์?

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: M629 ที่ กันยายน 29, 2005, 09:21:37 PM
นึกไม่ออกว่า นอกจากเจ้า B52 แล้ว มีตัวไหนที่ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบเจ๊ต 8 ตัวอย่างนี้อีก


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 29, 2005, 09:23:41 PM
 อิอิ  ;D :D ;D :D ::) :<< :DD งงหล่ะสิ

ใบ้ให้อีกคำก็ได้ครับ เป็นของบริษัท Convair  คอนแวร์ ครับ

ไม่รู้จะใบ้ยังไงแล้ว เหลือแค่เฉลยแล้วหล่ะ ;)

ภาพข้างล่างเป็น B-47 Stratojet

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: M629 ที่ กันยายน 29, 2005, 09:34:33 PM
YB60 !!!


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 29, 2005, 09:38:07 PM
จ๊าก ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ



     
ถูกต้องแล้วคร๊าบ
[/color][/b]

B-60 เป็นเครื่องบินที่เอา P-36 มาติดเครื่องยนต์ไอพ่น 8 เครื่องยนต์



หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 29, 2005, 09:39:23 PM
แล้วเครื่องบินลำนี้หล่ะ รุ่นอะไร???

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: narongt ที่ กันยายน 29, 2005, 09:40:48 PM
yes!!!

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: narongt ที่ กันยายน 29, 2005, 09:43:16 PM
xb48

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 29, 2005, 09:44:12 PM
ลืมบอกไปว่า เป็นของ อเมริกาครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: narongt ที่ กันยายน 29, 2005, 09:51:51 PM
ขอตั้งโจทย์บ้างนะครับ...
เครื่องบินนี้คือ?

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Nakin ที่ กันยายน 29, 2005, 09:58:52 PM

:OO    YB - 60 .....  แหม  !   เก่งจริงๆเลยมีคนตอบได้แล้ว ( คุณ M 629 ) .......  ;)

คุณ  M 686  หารูปมาทายอีกสิครับ ......    :D




หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 30, 2005, 10:34:41 AM
B-50 เป็นคำตอบสุดท้ายครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 30, 2005, 02:05:44 PM
งั๊นลองทายดูสิว่า ฮ. ตัวนี้ชื่อว่าอะไร????

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: M629 ที่ กันยายน 30, 2005, 03:17:35 PM
Rooivalk ของ South africa ใช่มั้ยครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 30, 2005, 06:17:22 PM
ถูกต้องครับ เป็น ฮ. ที่ผสมระหว่าง ฮ. ไทเกอร์ กับ อาปาเช่

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 30, 2005, 06:26:31 PM
ยังไงผมก็ชอบ AH-64 d Longbow มากกว่า PAH-2 Tiger และ CSH-2 Rooivalk ที่วางตำแหนงนักบินใว้ที่ด้านหน้า ส่วนพลอาวุธใว้ที่ด้านหลัง


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 30, 2005, 06:42:15 PM
AH-64 D Longbow เป็นรุ่นพัฒนาของ AH-64 A Apache ที่ติดตั้ง เรด้าค้นหาเป้า ควบคุมการยิง millimeter-wave Fire Control Radar (FCR) และ ระบบการรบด้วย Digital ทำให้ Longbow  สามารถยิงเป้าหมายหลาย ๆ เป้าได้พร้อมกัน หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ยิงแล้วลืม (fire-and-forget )

ในการทดสอบระหว่าง AH-64 A Apache และ AH-64 D Longbow อาปาเช่ ทำคะแนนได้ 75 คะแนน ส่วน ลองโบว์ ทำได้กว่า 300 คะแนน

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 30, 2005, 08:12:17 PM
คราวนี้เป็น ฮ. รุ่นอะไรครับ???

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: M629 ที่ กันยายน 30, 2005, 08:45:16 PM
Italian,  A129-Mangusta ครับผม


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 30, 2005, 09:19:52 PM
ถูกอีกแล้วครับ



แล้วลำนี้หละ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Nakin ที่ กันยายน 30, 2005, 09:29:02 PM

     
ลำนี้คือ  บัคคาเนีย ...... ของอังกฤษ ......    ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 30, 2005, 10:43:13 PM
จ๊าก ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ



 
ถูกต้องแล้วคร๊าบ
[/color][/b]

B-60 เป็นเครื่องบินที่เอา P-36 มาติดเครื่องยนต์ไอพ่น 8 เครื่องยนต์



 :~) เกือบถูก :~)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ ตุลาคม 01, 2005, 12:46:28 PM
Beware of the red eye,
it will bring you down if thou don't fly high,
plunge right through and tear you apart,
shattering wings from tip to tip and rip you to the heart.
 ;D

กั๊ก กั๊ก ที่จริงผมเขียนบทนี้ใช้ประกอบภาพสตรีใส่แว่นกันแดดสีแดงครับ สองแง่สองง่ามดี

Hope this is not too violence for anyone's ......heart.


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: narongt ที่ ตุลาคม 01, 2005, 01:30:58 PM
สงสัยคุณ M686เข้าเวปเดียวกับผมแหงเลย ;)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ปืนเล็กยาว ที่ ตุลาคม 01, 2005, 01:41:58 PM
เอ้าทายครับทาย

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ ตุลาคม 01, 2005, 01:53:10 PM
 ;D จะให้ทายอะไรครับ ถ้าทายชื่อรุ่น มันก็ชื่อเดียวกับชื่อรูปนั่นแหละครับ :DD


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ปืนเล็กยาว ที่ ตุลาคม 01, 2005, 02:14:09 PM
เอ้าลืม โอย หน้าร้าวเป็นแถบ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ ตุลาคม 01, 2005, 02:41:35 PM
ทำไมเวลา หิ้วแบบนี้ เค้าถึงผูกติดกันเป็นคู่ๆ ครับ
อยากทราบมานาน

(http://www.af.mil/media/photodb/photos/041124-F-0000T-001.jpg)




แล้วปลาหลดเวหาตัวนี้ เอาไว้ทำอะไรครับ

(http://www.af.mil/media/photodb/photos/050201-F-0000W-001.jpg)





ส่วนตัวนี้ก็อยากทราบสเป็คมานานว่าทำอะไรบ้าง...
ดูๆไป คนออกแบบเขาดีไซด์ได้แปลกหูแปลกตาดี

(http://www.af.mil/media/photodb/photos/041203-F-0000T-001.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 01, 2005, 05:31:49 PM
ทำไมเวลา หิ้วแบบนี้ เค้าถึงผูกติดกันเป็นคู่ๆ ครับ
อยากทราบมานาน
(http://www.af.mil/media/photodb/photos/041124-F-0000T-001.jpg)
แล้วปลาหลดเวหาตัวนี้ เอาไว้ทำอะไรครับ
(http://www.af.mil/media/photodb/photos/050201-F-0000W-001.jpg)
ส่วนตัวนี้ก็อยากทราบสเป็คมานานว่าทำอะไรบ้าง...
ดูๆไป คนออกแบบเขาดีไซด์ได้แปลกหูแปลกตาดี
(http://www.af.mil/media/photodb/photos/041203-F-0000T-001.jpg)

คำตอบแรก ที่เป็นคู่เพราะ เอาใว้ถ่วงกัน ถ้าโหนคนเดียว เชือกจะเบี้ยวครับแล้วจะแกว่งด้วย

คำตอบที่สอง ยานที่ว่าเรียกว่า เป็นหนึ่งใน Unmanned Aerial Vehicles (UAVs) เป็นอากาศยายต์ไร้คนขับ  มีชื่อเต็มว่า X-45 Unmanned Combat Air Vehicle (UCAV) เป็นเครื่องบินทดสอบการใช้ UAV เป็น อากาศยานต์ไร้คนขับโจมตีติดอาวุธ (Unmanned Combat Air Vehicle )
 
คำตอบที่สาม เครื่องบินลำนี้เรียกว่า V-22 Osprey ครับ เป็นเครื่องบินที่ออกแบบให้เป็นเครื่องบินบรรทุก เพราะมีข้อได้เปรียบที่สามารถปรับมุมเครื่องยนต์ ทำให้ประหยัดน้ำมันในการเดินทางมากกว่า ฮ. แต่สามารถขึ้นลงทางดิ่งได้เหมือน ฮ.  ที่จริงเครื่องบินแบบนี้กำลังจะถูกยกเลิก แต่เป็นเพราะ ความต้องการของ นาวิกโยธิน ของ สหรัฐ ทำให้โครงการนี้ยังคงดำเนินต่อไป

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 01, 2005, 09:35:38 PM
เครื่องบินที่เร็วที่สุดในโลก แต่ไม่ได้นับ เพราะ ถูกนับเป็นยานอวกาศมากกว่า Speacecraft บินได้ถึง Mach 6.72 (7,297 kilometers or 4,534 miles per hour)



The North American X-15
[/color][/size][/b]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 01, 2005, 09:45:45 PM
เครื่องที่ดังมากตอนที่นักบิน โซเวียต นำเครื่องไปจอดที่ ญี่ปุ่น

Mig-25 Foxbat

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 01, 2005, 09:54:52 PM
กลับมาเป็นคู่ครับ คราวนี้ค่ายเดียวกัน (MIKOYAN-GUREVICH)


MiG-25 FOXBAT กับ MiG-31 FOXHOUND

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 01, 2005, 09:58:18 PM
ด้านล่างของทั้งคู่ครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 03, 2005, 09:43:34 AM
เมื่อมังกรผงาดฟ้า
…สถานการณ์ในภูมิภาคเอเชียความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีความขัดแย้งรุนแรงจนกระทั่งมีการใช้กำลังทางทหารเข้าปะทะกัน  หรือมีการแสดงแสนยานุภาพโดยการซ้อมรบให้ประเทศที่มีความขัดแย้งกันอยู่เกิดความยำเกรง  ที่น่าจับตามอง  คือ  อินเดียกับปากีสถาน  เกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้  และจีน-ไต้หวัน  ความขัดแย้งทั้งสามกรณีเกิดขึ้นมานานแล้วและยังคงจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต  ไม่รู้อีกนานเท่าใดจึงจะสามารถตกลงกันได้  เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศที่เกิดการขัดแย้งกันเกือบทุกประเทศที่กล่าวมา  (ยกเว้นเกาหลีเหนือ)  ต่างทุ่มงบประมาณพัฒนากองทัพเพื่อรับมือกับประเทศที่ขัดแย้งกันอยู่  โดยเฉพาะที่เห็นได้ชัดเจนคือกำลังทางอากาศ  อินเดีย  จีน  และเกาหลีใต้  หากได้ติดตามข่าวในวงการทหารของต่างประเทศจะพบว่า  กองทัพอากาศทั้งสามประเทศต่างเลือกเครื่องบินรบขนาดใหญ่  พิสัยบินไกล  บรรทุกอาวุธได้มาก  และมีขีดความสามารถเข้าประจำการในกองทัพสำหรับไต้หวันมีเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาหลายแบบ  ได้แก่  เอฟ-16  เอ/บี  บลอค  20  มิราจ  2000-5  และชิงเกา  รวมจำนวนมากกว่า  300  เครื่อง  สำหรับเกาหลีเหนือไม่มีการจัดซื้อเครื่องบินรบ  แต่มีอาวุธนิวเคลียร์ที่มีอนุภาพทำลายร้ายแรง  เมื่อ  5  ปีก่อน  กองทัพอากาศไต้หวันนับว่ามีความทันสมัยมาก  เมื่อพิจารณาทางด้านความทันสมัยของเครื่องบินที่มีประจำการ  มิราจ  2000-5  สร้างจากฝรั่งเศส  ซึ่งเป็นเครื่องบินรบที่ทันสมัยที่สุดของไต้หวัน  และอาจจะมีความทันสมัยและขีดความสามารถทางการรบทางอากาศเหนือกว่าเครื่องบินขับไล่ของจีนเกือบทุกแบบ  เมื่อพิจารณาจากระบบควบคุมการยิง  ระบบอวิโอนิกส์  และระบบอาวุธที่ติดตั้งใช้งาน  แต่  ณ ปี 2002  ปัจจุบันและในอนาคตข้างหน้า  จีนได้ก้าวล้ำหน้าไต้หวันไปแล้วหลายช่วงตัว  เมื่อเปรียบเทียบเครื่องบินขับไล่ที่ทันสมัยที่สุดประจำการอยู่ในแต่ละประเทศ  ทั้งทางด้านจำนวน  ความทันสมัยและขีดความสามารถ  เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง  ซู-30 เอ็มเคเค  ของกองทัพอากาศจีน  และมิราจ 2000-5  ของกองทัพอากาศไต้หวัน
…ในช่วงแผนพัฒนาฉบับที่9  ระยะเวลา 5 ปี  จากปี พ.ศ. 2539-2543 จีนได้ทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนากาองทัพ  58.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และในแผนพัฒนาฉบับที่ 10  คาดว่าตัวเลขงบประมาณจะเพิ่มเป็น  2  เท่า
…สำหรับกำลังทางอากาศ  กองทัพอากาศจีนได้เร่งปรับปรุงและพัฒนากำลังทางอากาศเป็นการใหญ่  มีทั้งการจัดซื้อจัดหาเครื่องบินรบจากต่างประเทศและการพัฒนาเครื่องบินรบขึ้นใช้งานเอง  แหล่งซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ที่สำคัญของกองทัพจีนคือ รัสเซีย  การปรับปรุงและพัฒนากองทัพอากาศจีนเป็นการผสมผสานอากาศยานที่มีเทคโนโลยีสูงที่สั่งซื้อจากต่างประเทศกับอากาศยานที่มีเทคโนโลยีไม่สูงนักซึ่งผลิตเองภายในประเทศซึ่งจะเป็นการลดจำนวนเครื่องบินรบที่สั่งซื้อจากต่างประเทศแต่เพียงอย่างเดียว
…เครื่องบินรบที่มีความทันสมัยมากที่สุดของกองทัพอากาศจีน คือ ซู-30 เอ็มเคเค ซึ่งนอกจากสั่งซื้อจากรัสเซียรวมจำนวนประมาณ  100  เครื่อง จีนยังมีแผนที่จะทำการผลิต ซู-30 เอ็มเคเค อีกนับร้อยเครื่อง
…เมื่อต้นปี พ.ศ. 2544 ทางการจีนได้แพร่ภาพเครื่องบินขับไล่ / โจมตี ซู-30 เอ็มเคเค  ยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ-สู่-พื้น  แบบเอ็กซ์ – 59 เอ็ม อาวุธชนิดนี้มีระยะทำการไกลถึง 105 กิโลเมตร ในการซ้อมรบ ภาพดังกล่าวสัญลักษณ์ว่าจีนมีขีดความสามารถทางอากาศที่จะกดดันไต้หวันได้
…ซู-30 เอ็มเคเค ของกองทัพอากาศจีน แตกต่างจาก ซู-30 เอ็มเคไอ ของกองทัพอากาศอินเดีย แม้ว่าเครื่องบินทั้งสองรุ่นจะเป็นรุ่นส่งออกเหมือนกัน ซู-30 เอ็มเคไอ เป็นเครื่องบินสำหรับปฏิบัติการครองอากาศ เน้นบทบาทการรบทางอากาศติดตั้งระบบอวิโอนิกส์และอาวุธของรัสเซีย ฝรั่งเศส และอิสราเอล  แต่สำหรับ ซู-30 เอ็มเคเค เป็นเครื่องบินขับไล่/โจมตีพิสัยทำการไกล สำหรับทะลวงแนวป้องกันเข้าไปโจมตีเป้าหมายลึกในดินแดนข้าศึก และสามารถป้องกันตัวเองถ้าหากถูกขัดขวางในระหว่างบินเดินทางเข้าสู่พื้นที่เป้าหมายมีขีดความสามารถทั้งการรบทางอากาศและโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน  ติดตั้งระบบอวิโอนิกส์ และระบบอาวุธจากรัสเซียทั้งหมด
…มีการเปรียบเทียบระหว่าง ซู-30 เอ็มเคไอ กับซู-30 เอ็มเคเค  แบบไหนจะเหนือกว่ากัน  ในภารกิจการรบทางอากาศ ซู-30 เอ็มเคไอ อาจจะเหนือกว่าเพราะติดตั้งเรดาร์ที่สามารถตรวจจับเป้าหมายได้ไกลถึง 350 กิโลเมตร เครื่องยนต์ติดตั้งท่อท้ายที่สามารถปรับเปลี่ยนทิศทางแรงขับได้ แต่ ซู-30 เอ็มเคเค อาจจะเหนือกว่าในบทบาทโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินเพราะติดตั้งระบบ Optronic sight Sustem 
…ซู-30 เอ็มเคเค ติดตั้งเรดาร์ควบคุมการยิง เอ็น –001 เอ็ม  มีขีดความสามารถในการตรวจจับเป้าหมายได้ไกล 250 กิโลเมตร ระบบเรดาร์สามารถใช้ในการนำวิถีให้กับอาวุธปล่อย นำวิถีอากาศ-สู่-อากาศ พิสัยปานกลาง เอเอ-12 แอดเดอร์ ซึ่งกองทัพอากาศจีนได้จัดซื้อมาติดตั้งใช้งานด้วย นอกจากนี้ ซู-30  เอ็มเคเค ยังได้รับการติดตั้งระบบศูนย์เล็ง Optronic sight System แบบ โออีพีสี-31 อี – เอ็มเค  สำหรับใช้ในการรับเป้าหาตำแหน่งทิศทาง และติดตามเป้าหมายทางอากาศได้โดยอัตโนมัติ ได้ทั้งกลางวันและกลางวันโดยใช้อินฟราเรด  สำหรับการใช้กับเป้าหมายภาคพื้น ระบบ โออีพีสี-31 อี-เอ็มเค สามารถใช้เลเซอร์เพื่อวัดระยะห่างระหว่างอากาศยานกับเป้าหมายเพื่อใช้ปืนใหญ่อากาศยิงทำลาย และใช้เลเซอร์ชี้เป้าเมื่อใช้อาวุธปล่อยนำวิถีที่ติดตั้งระบบติดตามเป้าหมาย  โดยกองทัพอากาศจีนได้จัดหาอาวุธนำวิถีอากาศ – สู่ – พื้น หลายแบบ  มาติดตั้งใช้งานกับ ซู-30 เอ็มเคเค  ประกอบด้วย อาวุธปล่อยนำวิถี เอ็ม-59 เอ็ม , เอ็กซ์ – 29 ที , อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรดาร์ เอ็กซ์ – 31 และระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ เคเอบี –500 เคอาร์
…นอกจากการเป็นเครื่องบินรบปฏิบัติการทั้งภารกิจอากาศ – สู่ – อากาศ  และอากาศ – สู่ – พื้น  แล้วเชื่อกันว่ากองทัพอากาศจีนจะนำ ซู-30  เอ็มเคเคเป็นเครื่องบินรบ ควบคุมสั่งการทางอากาศให้กับหมู่บิน เครื่องบินชับไล่ที่นั่งเดี่ยว แบบ ซู-27 อีกด้วย ซู-30 เอ็มเคเค  สามารถรับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ  โดยมีท่อรับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศด้านบริเวณด้านหน้าสามารถพับเก็บได้เมื่อไม่ใช้งาน
…สำหรับการผลิตภายใต้สิทธิบัตรจากรัสเซีย คาดว่าในปี 2005-2006  จีนจะสามารถทำการผลิต ซู-30 เอ็มเคเคได้จำนวน 80 เครื่อง


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 03, 2005, 02:21:29 PM
ถ้าเป็นพวกปีกหมุนผมชอบตัวนี้อ่ะครับ Hind(http://www.airforce-technology.com/projects/hind/images/2_mi-24_attack_helicopter.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 03, 2005, 02:23:10 PM
(http://www.airforce-technology.com/projects/hind/images/5_mi-24_attack_helicopter_drawings.jpg) ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 03, 2005, 02:31:11 PM
งั้นทายซิว่าเนี่ยชื่อรุ่นอะไร(http://www.airforce-technology.com/projects/amx/images/img1.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 03, 2005, 02:39:20 PM
สุดยอดคู่แฝดอีกคู่ F2จะใหญ่กว่าเล็กน้อยพื้นที่ปีกมีมากกว่าทำให้รัศมีเลี้ยวน้อยกว่าความคล่องตัวสูงกว่า F16 ใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อชิ้นส่วนแบบใหม่ทำให้ปีกมีน้ำหนักเบาลงมากเทคโนโลยีนี่ถูกถ่ายทอดกลับไปอเมริกาโดยนำไปใช้กับการประกอบ F22 และที่สำคัญความทันสมัยของระบบอวิโอนิคส์มีความทันสมัยกว่า F 16 อย่างเทียบกันไม่ได้  อันนี้ F2(http://www.airforce-technology.com/projects/f2/images/img5.jpg) รูปนี้ F16 (http://www.airforce-technology.com/projects/f16/images/falcon4.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 03, 2005, 03:01:44 PM
เฮลิคอปเตอร์โจมตี คา – 50 – 2  เออร์โดแกน
…กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาได้สรุปผลอนาคต โครงการเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวน/โจมตีแบบอาร์เอเอช-โคมานเช่  ออกมาแล้วว่า  ยังคงมีการพัฒนาต่อไป  แต่จำนวนที่จะผลิตขึ้นมาใช้งานจะถูกตัดลดลงเหลือเกือบเครื่องหนึ่งจากความต้องการที่กองทัพบกกำหนดไว้  1,200  เครื่อง  จะมีการผลิตขึ้นใช้งาน  819  เครื่องและอาจจะถูกตัดลงอีกเหลือ  679  เครื่อง  แต่อย่างไรก็ตาม  อนาคตอีกยาวไกลยังไม่แน่ว่าโคมานเช่ อาจจะได้รับการเพิ่มหรือลดจำนวน
…คา – 50 – 2  เออร์โดแกน  เป็นเฮลิคอปเตอร์ทางทหารอีกแบบหนึ่งที่รอการตัดสินว่าจะมีโอกาสแจ้งเกิดในทำเนียบเฮลิคอปเตอร์โจมตีหรือไม่  แต่กรณีของเออร์โดนแกนแตกต่างจาก  อาร์เอเอช –66  คือ  เออร์โดแกนรอการตัดสินใจของประเทศผู้ซื้อว่าจะเลือก  คา – 50 – 2  เออร์โดแกนหรือเฮลิคอปเตอร์แบบอื่น
…คา – 50 – 2  เออร์โดแกน  เป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตี  บริษัท คามอฟ ประเทศรัสเซียพัฒนามาจากเฮลิคอปเตอร์สนับสนุนโดยใกล้ชิดที่นั่งเดี่ยว  แบบแรกของโลก  แบบ คา – 50 โฮคั่ม  หรือ  แบลค ชาร์ค  สำหรับ  คา – 50 – 2  เออร์โดแกน  ได้รับการพัฒนาขึ้น  โดยการเป็นการร่วมมือระหว่างรัสเซียกับอิสราเอล  เพื่อเสนอคา – 50 – 2  เข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ของตุรกี  ซึ่งกำหนดความต้องการไว้  50  เครื่อง  โดย คา – 50 – 2 เออร์โดแกนมีคู่แข่งสำคัญ  คือ  เบลล์ เอเอช – 1 แซด  จากสหรัฐอเมริกา  ผลปรากฎว่าตุรกีตัดสินใจเลือก  เอเอช – 1 แซด แต่ต่อมาภายหลังบริษัท  เบลล์ผู้ผลิตและตุรกีไม่สามารถตกลงเงื่อนไขต่างๆ ได้  เช่น  ตุรกีจะซื้อเฮลิคอปเตอร์ที่ประกอบเสร็จสิ้นเพียง 7 เครื่องเท่านั้น ที่เหลืออีก 43 เครื่อง จะนำมาประกอบเอง  และกองทัพตุรกีจะติดตั้งอุปกรณ์บางระบบที่ผลิตภายในประเทศแต่  บริษัทเบลล์  ไม่ยอมรับเงื่อนไขจากตุรกี  ข้อตกลงในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีเงื่อนไขที่จะขายให้กับประเทศที่สามและที่สำคัญคือ  เบลล์ไม่ยอมลดราคาให้  ดังนั้น  ตุรกีจึงเปิดการเจรจาครั้งใหม่กับบริษัท  เบลล์  และคามอฟ  ไปพร้อมกัน  สำหรับผลการเจรจากับบริษัทเบลล์ผู้ผลิต  เอเอช – 1 แซด ยอมลดราคา  จากเครื่องละ 53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหลือ  45  ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทางด้าน คามอฟ บริษัทผู้ผลิต คา – 50 – 2  เออร์โดแกน  เสนอราคาเครื่องละ 38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถูกกว่า เอเอช – 1 แซด  ถึง  7  ล้านเหรียญสหรัฐฯ และรัสเซีย ยินดีถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตเฮลิคอปเตอร์  ขนาดเบาแบบ  คา – 115  ถึง  100%  เต็ม  การให้บริษัทในตุรกีมีส่วนร่วมมือในการผลิตและการอนุญาตให้ขายเฮลิคอปเตอร์ให้ประเทศที่สาม
…ดูจากตรงนี้ดูเหมือนว่า  คา – 50 – 2  เออร์โดแกน อยู่ในตำแหน่งได้เปรียบ  แต่อย่างไรก็ตาม  การตัดสินใจขึ้นอยู่กับตุรกีว่าจะเลือก  เอเอช – 1 แซด  หรือเปลี่ยนมาเป็น คา – 50 – 2  เออร์โดแกน  แทน  คงไม่เกินสิ้นปีนี้คงจะทราบคำตอบ
…กองทัพบกตุรกีวางแผนที่จะนำเฮลิคอปเตอร์ที่ได้รับการคัดเลือกไปใช้ปฏิบัติภารกิจต่างๆ มากมายประกอบด้วยการโจมตีภาคพื้นในพื้นที่การสู้รบ  ลาดตระเวนติดอาวุธชี้เป้าให้กับเฮลิคอปเตอร์โจมตีเครื่องอื่นๆ (กองทัพบกตุรกีมีเฮลิคอปเตอร์ โจมตี เอเอช – ดับเบิลยู  ใช้งานอยู่อีกแบบหนึ่ง)  สนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ทำการรบทางอากาศ  คุ้มกันติดอาวุธ  ค้นหาและกู้ภัยและการฝึก
…คา – 50 – 2 เออร์โดแกน  เป็นเฮลิคอปเตอร์สองที่นั่ง  ตามกัน  ซึ่งแตกต่างจาก  คา – 50   ซึ่งเป็นเครื่องต้นแบบที่มีที่นั่งเดี่ยว  ใบพัดประธาน  2  ชุด  ชุดละ  3  กลีบ  อยู่แกนเดียวกัน  การทำงานของใบพัดหมุนสวนทางกันเพื่อป้องกันการเกิดแรงบิด  อันเกิดจากการหมุนของใบพัด  ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีใบพัดหาง  โดยใบพัดชุดบนหมุนในทิศทางตามเข็มนาฬิกา  และใบพัดชุดล่างหมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา  เครื่องยนต์ที่ใช้เป็นพลังขับเคลื่อน  ตลอดจนโครงสร้างยังคงเป็นของรัสเซีย  แต่ระบบอาวุธ  อุปกรณ์อวิโอนิกส์  ระบบควบคุมการยิง  อุปกรณ์ที่ใช้กับเป้าหมาย  และการจัดระบบในห้องของนักบิน  เปลี่ยนมาใช้ระบบที่ผลิตภายในประเทศอิสราเอลแทน  สาเหตุที่รัสเซียต้องจับมือในการพัฒนาร่วมกับอิสราเอล  เนื่องจากกองทัพตุรกีไม่มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ผลิตจากรัสเซียใช้งานอยู่เลย  และตุรกีเป็นกองทัพที่ต้องปฏิบัติภารกิจร่วมกับกองทัพนาโตอยู่เสมอ  ดังนั้น อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ติดตั้งต้องสามารถเข้ากันได้กับระบบของกองทัพนาโตและสามารถใช้ร่วมกับอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีใช้งานอยู่ในกองทัพตุรกี  เป็นกองทัพลูกค้าสำคัญรายหนึ่งของอิสราเอลในการปรับปรุงอากาศยานให้มีความทันสมัยและมีขีดความสามารถสูงขึ้น  เช่น  โครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ เอฟ – 4  และ  เอฟ – 5 เอ
…ห้องนักบิน คา – 50  เดิมเป็นห้องนักบินที่นั่งเดี่ยวถูกดัดแปลงเป็นห้องนักบินสองที่นั่งตามกันห้องนักบินเป็นระบบ  Glass  Cockpit  ที่ทันสมัยและติดตั้งอุปกรณ์อวิโอนิกส์ของอิสราเอล  รวมทั้งระบบควบคุมการยิงระบบอินฟาเรด/กล้องโทรทัศน์ สำหรับใช้งานกับเป้าหมาย  เครื่องช่วยเดินอากาศระบบสื่อสารและระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ล้วนมาจากบริษัทในประเทศอิสราเอลทั้งสิ้น….(ติดตามตอน 2)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 03, 2005, 04:19:09 PM
งั้นทายซิว่าเนี่ยชื่อรุ่นอะไร(http://www.airforce-technology.com/projects/amx/images/img1.jpg)

AMX ครับ เป็นความร่วมมือของ อิตตาลี และ บราซิล (Alenia, Aermacchi and Embraer) 

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 03, 2005, 06:11:12 PM
อีกมุมครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 03, 2005, 06:19:52 PM
ถ้าเป็นพวกปีกหมุนผมชอบตัวนี้อ่ะครับ Hind(http://www.airforce-technology.com/projects/hind/images/2_mi-24_attack_helicopter.jpg)

ตัวที่คุณ Hydra post น่ะเป็น Mi -24 Hind D  ครับ Mi -24 Hind น่ะตัวนี้

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 03, 2005, 06:50:42 PM
Mi-24D Hind D เป็น ฮ.โจมตี, สนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิด และ ต่อต้านรถถัง ที่ทาง รัสเซีย รวมเอาความสามารถของ ฮ. หลาย ๆ แบบมารวมกัน โดยที่เป็น ฮ. โจมตีหนัก แบบเดียวที่สามารถบรรทุกทหารไปด้วยได้ถึง 8 นาย (AH-60 เป็น ฮ.ลำเลียงติดอาวุธ)

ฮ. Mi-24A Hind  และ Mi-24D Hind Dเป็น ฮ. ที่ถูกใช้งานอย่างหนักใน อัฟกานิสถาน เพื่อโจมตีกลุ่มต่อต้านโซเวียต และ รัฐบาล คาบูล

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 03, 2005, 10:49:24 PM
อยากให้เมืองไทยมีตัวนี้ครับ
AC-130H/U GUNSHIP
 
Armament: AC-130H/U: 40mm cannon and 105mm cannon; AC-130U: 25mm gun
Crew: AC-130U - Five officers (pilot, co-pilot, navigator, fire control officer, electronic warfare officer) and eight enlisted (flight engineer, TV operator, infrared detection set operator, loadmaster, four aerial gunners)


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 03, 2005, 11:20:05 PM
เครื่องบินที่ยืนยงอยู่บนอากาศนานที่สุด ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน


DC-3 DAKOTA (DOUGLAS) บินครั้งแรกเมื่อปี 1935 และกว่า 13,000 เครื่องได้ถูกสร้างขึ้น และมีกว่า 700 เครื่องที่ยังคงบินอยู่


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: นรกบนดิน ที่ ตุลาคม 03, 2005, 11:31:30 PM
 โดยส่วนตัว ชอบ K-50ของรัสเซียครับ แต่ในหนังก้เห็นแต่ อาปาเช่ อาปาเช่

จะหาดูความสามารถที่แท้จริงของเจ้า นี่ก้มีแต่ ดีสคัพเวอรี่เท่านั้นล่ะมั๊งครับ :-*

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 04, 2005, 12:46:30 PM
Ka-50/52 เป็นเครื่องบินต้นแบบมาสิบกว่า ปี จนบัดนี้ก็ยังคงเป็นเครื่องบินต้นแบบครับ
เพราะหวังตลาดต่างประเทศ ในการเปิดสายการผลิต รัฐบาล รัสเซีย ไม่มีโครงการที่จะนำเข้าประจำการ
ตอนนี้คงต้องรอรัฐบาล ตรุกี สั่งซื้อเพื่อที่จะเปิดสายการผลิต แต่ถ้า รัฐบาล ตรุกี เลือก AH-1 Z Viper เข้าประจำการแทนหล่ะก็ Ka-52 คงไม่ได้แจ้งเกิด

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 04, 2005, 05:28:42 PM
คู่แข่งของ AH-64 A Apache ตัวจริงครับ แต่ไม่ได้แจ้งเกิด เพราะ โซเวียตล่มสลายเสียก่อน

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 04, 2005, 05:35:59 PM
Mi-28 HAVOC

ฮาวอค เริ่มบิน ตั้งแต่ปี 1982  ทาง โซเวียต ตั้งใจให้เป็นคู่ปรับกับ อาปาเช่ โดยที่ ฮาวอค หนักกว่า อาปาเช่ 2.5 ตัน

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 04, 2005, 05:50:00 PM
การตลาดของ มิล 28 ฮาวอค ทำได้ไม่ดีนัก เพราะ ยังหาลูกค้าต่างชาติไม่ได้ ทำให้โครงการดูมืดมน

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 05, 2005, 03:14:47 PM
ลองทางสิครับว่า เครื่องบินอะไร????

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: narongt ที่ ตุลาคม 05, 2005, 04:04:41 PM
คล้าย T-38 TALON


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: narongt ที่ ตุลาคม 05, 2005, 04:07:16 PM
แล้วลำนี้ละครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sukit45 ที่ ตุลาคม 05, 2005, 05:16:00 PM
เครื่องนี้เหมือนในหนัง เลยนะครับ มีจริงหรือเปล่าไม่ทราบเหมือนกันครับใครทราบใช่บอกหน่อยครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 05, 2005, 07:46:39 PM
ไม่ไช่ T-38 TALON ครับ

ส่วนรูปนั้เป็นเครื่องบินที่ใช้ถ่ายหนังเรื่อง Stealt บินจริง ๆ ไม่ได้


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: M629 ที่ ตุลาคม 05, 2005, 07:52:21 PM
ย้อนพูดถึง บ.ขับไล่/โจมตี ของ "มิตร"ประเทศทางใต้ของเรา..
บ.รบเราก็มีน้อย..
ถามว่า เรามี มิสไซล์พื้นสู่อากาศอะไรมั่ง..
ปริมาณและคุณภาพพอจะหยุด/สกัดเจ้านกเหล็กของเพื่อนเราได้หรือไม่..
ฮอร์ค ? แพทริออต ?(ฝันไป..)




หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 05, 2005, 09:53:15 PM
ระบบต่อสู้อากาศยาน เป็นระบบที่มีรัศมีใกล้ วางใว้ป้องกันการโจมตีจุดสำคัญ ทางยุทธศาสตร์ โดยปกติจะเป็นระบบที่เคลื่อนย้ายได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นเป้าหมายเสียเอง

ระบบต่อสู้อากาศยาน ของไทยเป็นระบบย่อย ไม่ได้เป็นระบบเครือข่าย


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 05, 2005, 10:42:05 PM
คำย่อทางทหารครับ
Term                        Definition
ABL             armoured box launcher or airborne laser
ABM            anti-ballistic missile
ABT             air-breathing threats
ACTD          advanced concept technology demonstration (USA)
AD              air defence
ADAAM       air directed air-to-air missile
ADATS        air defence anti-tank system
ADKEM       Advanced kinetic energy missile
ADSAM       air directed surface-to-air missile
AEW           airborne early warning
AFB             air force base
AGM            air-to-ground missile designator (USA)
AIM             air intercept missile designator (USA)
ALCC          airborne launch control centre
ALCM          air-launched cruise missile
ALERT        attack and launch early reporting to theatre
AOC           air operations centre
APAM         anti-personnel/anti-material
API             ascent phase intercept
ARM           anti-radar missile
AS Russian air-to-surface missile designator (NATO)
ASAT          anti-satellite weapon
ASM            air-to-surface missile
ASMP          air-sol moyenne portйe (air-to-surface medium-range) (France)
ASROC        anti-submarine rocket
ASW            anti-submarine warfare or weapon 
ATACMS       army tactical missile system
ATBM          anti-tactical ballistic missile
ATL             Airborne tactical laser
ATM            anti-tactical missile
AWACS       Airborne warning and control system
BCP             Battery command post
BGM             Multiple launch environment surface attack missile designator (USA)
BITE             built-in test equipment
BM               Ballistic missile
BMC3           battle management command control and communications
BMD             Ballistic missile defence
BMDO          Ballistic Missile Defense Organization (USA)
BMEWS        Ballistic missile early warning system
BPDMS         basic point defence missile system
BPI               Boost phase interceptor
BW               Biological warfare
CAD             close in air defence
CBW            Chemical and biological weapons
CCD             Charge coupled diode (tv camera)
CCM             Conventional cruise missile
CEP             Circular error of probability
CG               Guided missile cruiser
CIWS           close in weapon system
CLOS            Command to line of sight
CLS               Capsule launch system
CM               Cruise missile or countermeasures
CMD            Cruise missile defence
CMT            Cadmium mercury telluride
COIL            Chemical oxygen iodine laser
CONUS        Continental United States
CSA-N          Chinese surface-to-air missile (navy) designator (NATO)
CSS              Chinese surface-to-surface missile designator (NATO
CSS-N          Chinese surface-to-surface (navy) missile designator(NATO)
CTBT            Comprehensive Test Ban Treaty
CV                Aircraft carrier
CW               Continuous wave or chemical warfare
CWC            Chemical Weapons Convention
CZ                Chinese space launch vehicle designator
DACS            Divert and axial control system
DDG             Guided missile destroyer
DEW             Directed energy weapons
DF                 Dong Feng (East Wind - Chinese ballistic missile designator)
DoD              Department of Defense (USA)
DOT              Designating optical tracker
DRDL            Defence Research and Development Laboratories (India)
DSMAC          Digital scene matching area correlation
DSP               Defense support programme (USA early warning satellite system)
DST               Defence and Space Talks
ECCM            Electronic counter-countermeasures
ECM              Electronic countermeasures
EFOG-M         Enhanced fibre optic guided missile
EKV               Exoatmospheric kill vehicle
EMD              Engineering and manufacturing development
EMG              Electromagnetic gun
EMI                Electromagnetic interference
EML               Electromagnetic launcher
EMP               Electromagnetic pulse
EO                 Electro-optical
EOS               Electro-optical sensor
ERINT            Extended range interceptor (PAC-3)
ESM               Electronic support measures
ESSM             Evolved Sea Sparrow missile
ETC               Electrothermal-chemical
EW                early warning
EWR              early warning radar
FAAD             Forward area air defence
FAC               fast attack craft
FAE               fuel-air explosive
FAMS             Family of air missile systems
FASAT            Future anti-satellite weapon
FBM               fleet ballistic missile
FCR               fire-control radar (engagement)
FCS               fire-control system
FEL                free electron laser
FFG               Guided missile frigate
FLIR              Forward looking infra-red
FOC              full operational capability or fibre optic cable
FOFA             Follow-on forces attack
FOG              fibre optic guidance
FOV              field of view
FPA               focal plane array
FRAS             free rocket anti-submarine
FROG            free rocket over ground
FSAF              Future surface-to-air family (Aster)
FSD               full-scale development
FY                 fiscal year
G&C              Guidance and control
GBI               Ground-based interceptor
GBL              Ground-based laser
GBR              Ground-based radar
GEO              Geostationary earth orbit or geosynchronous earth orbit
GLCM            Ground-launched cruise missile
GMLS            Guided missile launch system
GPS               Global positioning system
GTO              Geostationary transfer orbit
GWS             Guided weapon system (naval) (UK)
HARM            high-speed anti-radar missile
HAWK           Homing all the way killer
HE                 high explosive
HEL               high energy laser
HELEX           high energy laser experimental
HEO              high earth orbit
HF                 high frequency
HML               hard mobile launcher
HMMWV         high mobility multipurpose wheeled vehicle
HOE               Homing overlay experiment
HOJ                Home-on-jam
HQ                 Chinese surface-to-surface missile designator
HTK                hit-to-kill
HTKP              hard target kill probability
HTPB              Hydroxyl terminated polybutadiene (solid propellant)
HVG                Hypervelocity gun
HVM                Hypervelocity missile
ICBM               inter-continental ballistic missile
IFF                  Identification friend or foe
IFTU                in-flight target update
IHE                  Improved high explosive
IIR                   Imaging infra-red
IMU                  Inertial measurement unit
INF                   Intermediate range Nuclear Forces (Treaty)
IOC                   initial operating capability
IPP                    Impact point prediction
IR                      infra-red
IRBM                 Intermediate-range ballistic missile
IRFNA                Inhibited red fuming nitric acid
IRST                  infra-red search and track
ISD                    in-service date
JASDF               Japanese air self-defence force
JGSDF               Japanese ground self-defence force
JL                      Chinese submarine-launched ballistic missile designator
JPO                    joint programme office
JTIDS                 joint tactical information distribution system
JVC                    jet vane control
KE                     Kinetic energy
KEW                  Kinetic energy weapon
kg                      Kilogram
Kh                      air-to-surface missile designator (Russian Federation)
kJ                       Kilojoules
KKV                    Kinetic kill vehicle
km                     Kilometres
kT                      Kilotonnes
kV                      Kilovolts
kW                     Kilowatts
LACM                  land attack cruise missile
LAD                    Launch assist device
LADAR                laser detection and ranging
LAMS                   local area missile system
LATEX                  laser associй а une tourelle experimentale (laser system in experimental turret) (France)
LDS                      laser dazzle sight
LEAP                    Lightweight exoatmospheric projectile
LEO                      low earth orbit
LGB                      laser-guided bomb
LGM                     silo-launched surface attack guided missile designator (USA)
LIDAR                  laser (light) detection and ranging
LLADS                  low-level air defence system
LLTV                     low-light television
LM                       Chinese space launch vehicle designator
LORO                   lobe on receive only
LPAR                    large or long-range phased-array radar 
LPP                      launch point prediction
LTBT                    Limited Test Ban Treaty
LWIR                   long wavelength infra-red
M                         Mach number (velocity relative to speed of sound)
MAD                    mutual assured destruction
MADS                  modified air defence system
MARV                  manoeuvring re-entry vehicle
MBT                    main battle tank
MEADS               medium extended air defence system
MEZ                    missile engagement zone
MGM                   mobile surface attack guided missile designator (USA)
MHD                   magneto hydrodynamic
MHV                    miniature homing vehicle
MICA                   missile d'interception et de combat aerien (combat and air intercept missile) (France)
MIM                     mobile-launched surface-to-air missile designator (USA)
MIRACL               mid infra-red advanced chemical laser
MIRV                   multiple independently targeted re-entry vehicle
MJ                       Megajoules
MLRS                  multiple launch rocket system
MM                      Minuteman series
MMW                  millimetric wave
MoU                    Memorandum of Understanding
MRCLOS             Missile reference command to line of sight
MRV                    Multiple re-entry vehicle
MSAM                  medium-range surface-to-air missile
MSBS                  mer-sol balistique stratйgique (submarine-launched ballistic missile) (France)
MT                      Megatonnes
MTBF                  mean time between failures
MTCR                 Missile Technology Control Regime
MW                    Megawatts
MWIR                 medium wave infra-red
NAAWS NATO     anti-air warfare system
NATO                  North Atlantic Treaty Organisation
NBC                    nuclear, biological, chemical
NDB                    nuclear depth bomb
NLOS                  non-line of sight
NMD                   national missile defence
NOAH                 Norwegian adapted HAWK
NPO                   design and manufacturing facility (Russian Federation)
NPT                   Non-Proliferation Treaty
NSSMS               NATO Sea Sparrow surface missile system
NTBT                 Nuclear Test Ban Treaty
OKB                  missile design bureau (Russian Federation)
OST                  Outer Space Treaty
OTHR                over-the-horizon radar
PAC                   penetration aid carrier or Patriot advanced capability
PAL                   permissive action link
PAR                   phased-array radar
PATRIOT           phased-array tracking to intercept on target
PBV                   post-boost vehicle
PC(G)                guided missile patrol craft
PD                     point defence
PDMS                point defence missile system
PGM                  precision guided munition (guided bomb)
PIF                    pilotage in force (control by thrust)
PIP                    product improvement programme
Pk                     probability of kill
PLS                   palletised loading system
PRC                  People's Republic of China
PRF                   pulse repetition frequency
PSLV                 polar satellite launch vehicle
PVO                  Homeland Defence Force (Russian Federation)
R&D                 research and development
RAM                 radar absorbent material
RCS                 radar cross-section
RDL                 rapid deployment launcher
RF                   radio frequency
RFP                 request for proposals
RGM                ship-launched surface attack missile designator (USA)
RIM                 ship-launched surface-to-air missile designator (USA)
ROR                range only radar
ROW               rest of world
RPM                 revolutions per minute
RPV                 remotely piloted vehicle
RV                   re-entry vehicle
SA                   Russian surface-to-air missile designator (NATO)
SAAM               systиme navale d'autodйfense anti-missile (naval surface-to-air anti-missile system)
SALT                Strategic Arms Limitation Treaty
SAM                 surface-to-air missile
SAMP               systиme d'autodйfense moyenne portйe (medium-range surface-to-air missile system)
SA-N                Russian surface-to-air (navy) missile designator(NATO)
SAP                 semi-armour piercing
SAR                 synthetic aperture radar
SBI                  space-based interceptor
SBL                 space-based laser
SBR                space-based radar
SCAD              subsonic cruise armed decoy
SCC                Standing Consultative Commission (for ABM Treaty)
SDI                 Strategic Defense Initiative
SDS                strategic defense system
SH Russian      (Sary Shagan) ABM designator (NATO)
SHORAD           short-range air defence
SICBM               small intercontinental ballistic missile
SINS                 ship's inertial navigation system
SL                     space launcher
SLAM                standoff land attack missile
SLBM                submarine-launched ballistic missile
SLCM                ship- or submarine-launched cruise missile
SLV                   satellite launch vehicle
SNDV                strategic nuclear delivery vehicle
SNLE                 sous-marines nuclйaire lanceur d'engins balistique (nuclear ballistic missile submarine) (France)
SOW                 standoff weapon
SRAM                short-range attack missile
SRB                   solid rocket booster
SRBM                 short-range ballistic missile
SRHIT                short-range hit-to-kill missile
SS Russian         surface-to-surface missile designator (NATO)
SSBN                 ballistic missile nuclear-powered submarine
SSBS                  sol-sol balistique stratйgique (surface-to-surface ballistic missile) (France)
SS-C Russian      ground-launched cruise missile designator (NATO)
SSDS                  ship self-defence system
SSG                    submarine with surface-to-surface missiles
SSGN                  nuclear-powered submarine with surface-to-surface missiles
SSK                    submarine with anti-submarine weapons
SSM                    surface-to-surface missile
SSN                    submarine, attack nuclear-powered
SS-N                   Russian surface-to-surface missile (navy) designator (NATO)
START                Strategic Arms Reduction Treaty
SUBROC             submarine rocket
SWIR                  short-wave infra-red
TADIL                  tactical information datalink
TAOC                   tactial air operations centre
TBM                      theatre (or tactical) ballistic missile
TEL                       transporter-erector-launcher vehicle
TELAR                   transporter-erector-launcher and radar vehicle
TERCOM                terrain comparison or terrain contour matching
TGSM                     terminally guided submunition
THAAD                   theatre high-altitude area defence
THEL                      tactical high-energy laser
TIR                        terminal imaging radar or tracking and illuminating radar
TLAM-C                  tomahawk land attack missile conventional
TLAM-D                  tomahawk land attack missile submunitions warhead
TLAM-N                  tomahawk land attack missile nuclear
TMD                       theatre missile defence
TOM                       target object map or threat object map
TT                          torpedo tube
TTBT                      Threshold Test Ban Treaty
TV                          Television
TVC                        thrust vector control
TVM                        track-via-missile
TWS                       track-while-scan
TWT                       travelling wave tube
UAV                         unmanned aerial vehicle
UCAV                       unmanned combat air vehicle
UDMH                      unsymmetrical dimethyl hydrazine
UGM                         underwater-launched surface attack guided missile designator (USA)
UHF                          ultra-high frequency
UK                            United Kingdom
UOES                        user operational evaluation system
USA                          United States of America
USAF                        United States Air Force
USMC                       US Marine Corps
USN                          US Navy
UUM                         underwater launched underwater attack guided missile designator (USA)
UV                            ultra-violet
VBO                         velocity at burnout
VHF                          very high frequency
VLS                          vertical launch system
VSHORAD                very short range air defence
VSM                         vehicle sous-marine (underwater vehicle) (France)
WFZ                        weapons free zone
WMD                       weapons of mass destruction
XMGM                      experimental mobile-launched surface attack guided missile designator (USA)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: narongt ที่ ตุลาคม 05, 2005, 10:44:13 PM
ไม่ไช่ T-38 TALON ครับ

ส่วนรูปนั้เป็นเครื่องบินที่ใช้ถ่ายหนังเรื่อง Stealt บินจริง ๆ ไม่ได้
บอกใบ้ให้นิดนึงครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: แจ็ค ที่ ตุลาคม 05, 2005, 10:50:39 PM
อื้อหือ.....ได้กลิ่นสงครามกรุ่น ๆ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 05, 2005, 10:53:10 PM
ตกลง ทายได้หรือยังครับ ??? ??? ???

อ่ะ ให้ดูอีกรูป


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 05, 2005, 11:10:24 PM
คำใบ้ที่ 1

เป็นเครื่องบินของ ชาติในยุโรป ครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 05, 2005, 11:18:42 PM
คำใบ้ที่ 2.

มีโครงสร้างคล้ายกับ T-45 Goshawk มาก แต่ไม่ไช่


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Dhong ที่ ตุลาคม 06, 2005, 12:38:47 AM
ของสวีเดนหรือเปล่าครับ...............จำชื่อไม่ได้งะ ???


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 06, 2005, 01:35:28 AM
เครื่องบินของอิตาลี่หรือเปล่าคับ...

เอ็มบี อะไรซักอย่าง (ราวๆ ๓๓๙ หรือ ๕๕๙)... ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 06, 2005, 11:00:26 AM
ของสวีเดนหรือเปล่าครับ...............จำชื่อไม่ได้งะ ???

ผิดครับ ไม่ไช่ สวีเดน

เครื่องบินของอิตาลี่หรือเปล่าคับ...

เอ็มบี อะไรซักอย่าง (ราวๆ ๓๓๙ หรือ ๕๕๙)... ;D

ไม่ได้เป็นของ อิตาลี อีกนั่นแหล่ะ

ข้างล่าง  MB339 ครับ ผมหา 559 ไม่ได้





[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: jakrit97 - รักในหลวง - ที่ ตุลาคม 06, 2005, 11:43:53 AM
BAE Hawk 100 ของ UK หรือเปล่า ???

(http://www.airsceneuk.org.uk/airshow05/alain/hawk100.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 06, 2005, 04:39:04 PM
BAE Hawk 100 ของ UK หรือเปล่า ???

(http://www.airsceneuk.org.uk/airshow05/alain/hawk100.jpg)


ผิดครับ

hawk 100 กับ T-45 Goshawk คือ เครื่องบินรุ่นเดียวกันครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: narongt ที่ ตุลาคม 06, 2005, 09:38:39 PM
ซุปเปอร์ เอตองดาร์ด ที่ใช้ในสงครามเกาะฟอล์คแลนด์หรือเปล่า


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: narongt ที่ ตุลาคม 06, 2005, 09:51:58 PM
http://www.designation-systems.net/non-us/malaysia.html
copy link ให้ดูเล่นๆ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 06, 2005, 11:47:54 PM
(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/row/etend4.jpg)



หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Skynavy ที่ ตุลาคม 06, 2005, 11:57:53 PM
ตกลง ทายได้หรือยังครับ ??? ??? ???

อ่ะ ให้ดูอีกรูป


อัลฟ่าเจ๊ตหรือเปล่าครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 07, 2005, 12:00:03 AM
ผิดครับ ไม่ไช่ ซุปเปอร์ เอตองดาร์ด SUPER ETENDARD

สงสัย พื้นที่ของ หน้านี้คงเต็มแล้วครับ คงต้องใช้ Link แทนฝากกับ Server

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/row/etend4.jpg)

SUPER ETENDARD

ซุปเปอร์ เอตองดาร์ด เป็นเครื่องบินของ ฝรั่งเศษ ที่ขายให้กับ อาเจนติน่า เอาไปรบกับ อังกฤษ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 07, 2005, 12:05:05 AM
ไม่ไช่ อัลฟ่า เจ๊ท ครับ

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/row/alphajet01.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 07, 2005, 09:54:33 AM
ผมคงต้อง เฉลย และ ปิดกระทู้เสียแล้วครับ เพราะ ใช้พื้นที่เต็ม ต้องไปเปิดกระทู้อื่น

เครื่องบินที่ว่าคือ G-4 Super Galeb จาก ยูโกสลาเวีย ครับ
เป็นเครื่องบินฝึกขั้นสูงและ โจมตีน้ำหนักเบา

พม่าก็นำเข้าประจำการครับ

(http://www.combataircraft.com/aircraft/tg4.aspx)

(http://www.maketorama.co.yu/gallery/gallery/Soko_G-4/G-4_Jrv_25.jpg)



หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 08, 2005, 08:11:02 PM
วันนี้ได้ไปถาม วมต มาแล้วครับ เป็นเพราะ พื้นที่เต็ม ต้องขยายพื้นที่ หรือไม่ก็ ตั้ง Web Server ที่ กศท. เลยครับ แต่คงต้องใช้เวลา  ;D


(http://www.flymig.com/aircraft/Su-47/2.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 10, 2005, 03:18:58 PM
ขอโทษนะครับที่ให้รอนานไปหน่อย...พอดีว่าเน็ตมีปัญหานิดหน่อยแต่ก็ได้เอาตอนจบมาฝากกันนะครับ
เฮลิคอปเตอร์โจมตี คา – 50 – 2  เออร์โดแกน  (ตอนจบ)
…ห้องนักบิน  Glass Cockpit  ได้รับการออกแบบให้นักบินได้รับทราบสถานการณ์ทางยุทธวิธีอย่างสมบูรณ์แบบ  คา – 50 – 2  สามารถปฏิบัติภารกิจโจมตีเป้าหมายได้ทุกภารกิจรวมทั้งเพิ่มบทบาทในการปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนทางอากาศและสังเกตการณ์ได้ดีที่สุดโดยการติดตั้งอุปกรณ์  Multi-mission  Optronic  Stabilized  Payload (HMSOP)  อุปกรณ์ทั้งหมด  ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์อินฟราเรด  ทำงานในคลื่นความถี่ – 12 มิลลิเมตร  กล้องโทรทัศน์  ที่มีความคมชัดสูงและสามารถปรับความคมชัดได้อย่างต่อเนื่อง เลเซอร์สำหรับใช้ลำแสงชี้ไปยังตำบลที่ต้องการ  และระบบวัดระยะห่างบรรจุอยู่ในลูกบอลแก้วติดตั้งอยู่ใต้คาง  เพื่อให้นักบินทั้งสองคนใช้ในการรับเป้าหมายทางยุทธวิธี  ซึ่งจะประกอบด้วยการตรวจจับ  การวัดระยะ  และสามารถติดตามเป้าหมายได้โดยอัตโนมัติ  อุปกรณ์ HMSOP สามารถทำงานได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน  รวมทั้งในสภาพอากาศเลว  ภาพและข้อมูลที่ได้จากการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ สามารถนำมาวางซ้อนทับเข้ากับระบบหมวกบินรวมการ  (Integrate Helmet System : HIS)  ที่นักบินและพลยิงสวมอยู่นอกจากภาพและข้อมูลที่ได้สามารถ  แสดงผ่านจอภาพสีทำงานหลายหน้าที่  (Multi – Function Colour Display : MFCD)  ในห้องนักบิน หมวกบิน HIS ที่ทันสมัยติดตั้งระบบแสดงข้อมูลการบิน  และข้อมูลอาวุธบิน HIS ที่ทันสมัย ติดตั้งระบบแสดงข้อมูลการบินและข้อมูลอาวุธรวมทั้งภาพที่ได้จากการทำงานของอุปกรณ์อินฟราเรด  ปรากฎบนกระจกใสนักบินและพลยิงสามารถทำการเล็งอาวุธผ่านหมวกบินโดยไม่จำเป็นต้องดูข้อมูล  หรือทำการเล็งผ่านเครื่องวัดประกอบการบินในห้องนักบิน
…นักบินควบคุมการทำงานของเฮลิคอปเตอร์ผ่านคันบังคับระบบ HOCAS (Hand On Collective and Stick)  เพื่อลดภาะงานนักบินไม่จำเป็นต้องละมือไปปรับอุปกรณ์อวิโอนิกส์เพราะมีปุ่มและสวิทซ์การทำงานติดตั้งอยู่กับคันบังคับ  ตามองไปที่จอภาพสีแสดงข้อมูลการบินหรือมองผ่านกระจกหน้าหมวกบิน  ซึ่งแสดงข้อมูลการบินและสถานภาพระบบอาวุธอยู่แล้ว
…ระบบอาวุธที่ติดตั้งใช้งานกับ คา – 50 – 2 สามารถติดตั้งและใช้งานอาวุธได้หลากหลายรูปแบบ  ขึ้นอยู่กับภารกิจที่ปฏิบัติและสามารถเลือกติดตั้งระบบ  อาวุธได้ทั้งของรัสเซีย อิสราเอล และสหรัฐอเมริกา  โดยมีตำบลติดตั้งอาวุธใต้คานติดอาวุธข้างละ 3 แห่ง ตำบลติดอาวุธคู่นอกสุด สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี  อากาศ – สู่ – อากาศ  สติงเจอร์  ตำบลละ  2  นัด  ตำบลติดคู่กลางสามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ  Vikr  ได้ตำบลละ 6 นัด หรืออาวุธปล่อยสติงเจอร์ เพิ่มเติมหรือถังเชื้อเพลิงปลดทิ้งได้  สำหรับตำบลติดอาวุธคู่ในสุดติดตั้งถังเชื้อเพลิงปลดทิ้งได้หรือกระเปาะจรวด  ขนาด 80  มิลลิเมตร  นอกจากนี้ตำบลติดอาวุธคู่กลางและคู่ในสุดสามารถติดตั้งระเบิดได้หลายขนาดหรือกระเปาะจรวดเพิ่มเติม  รวมทั้งอาวุธปล่อยนำวิถีด้วยเลเซอร์  แบบ  เอ็กซ์ – 25 เอ็มแอล
…ทางด้านระบบอาวุธปืนใหญ่อากาศ 2 เอ 42 ขนาด 30 มิลลิเมตร  เดิมที่ติดตั้งกับ คา – 50 ด้านข้างลำตัว  จะเปลี่ยนเป็นปืนใหญ่อากาศ  เกียต  621  ขนาด  20  มิลลิเมตร  และเปลี่ยนตำบลติดตั้งมาบริเวณใต้ลำตัวบรรทุกกระสุน  700  นัด  ปืนใหญ่อากาศสามารถทำการส่ายยิงได้รอบตัว 360 องศา  โดยการลดระดับป้อมปืนลงจากตำแหน่งที่ติดตั้ง แต่หากไม่ทำการยิ่งปืนใหญ่หรืออยู่ระหว่างทำการบินเดินทางปืนจะพับขึ้นเก็บอยู่ด้านขวาของลำตัว
…สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถี Vikr  เป็นอาวุธนำวิถีต่อต้านรถถังติดตั้งใช้งานเฮลิคอปเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของรัสเซีย  เมื่อจะทำการใช้อาวุธนักบินสามารถปรับแท่นติดตั้งให้กดต่ำอยู่ในตำแหน่งทำมุม 12 องศา กับแนวลำตัว เพื่อให้เฮลิคอปเตอร์สามารถโจมตีรถถังด้วยความเร็วสูง  Vikr  ระยะยิงไกล 8 กิโลเมตร สามารถเจาะเกราะรถถังหนา 900 มิลลิเมตร  รวมทั้งเกราะประเภท reactive armor เมื่อปล่อยอาวุธออกไปนักบินจะต้องใช้ลำแสงเลเซอร์ชี้ไปที่เป้าตลอดเวลาเพื่อให้  Vikr บินทับลำแสงเลเซอร์จนกระทั่งกระทบเป้า  แต่ใช้เวลาเพียงสั้นๆ เท่านั้น เนื่องจาก Vikr มีความเร็วเหนือเสียง ในการเดินทางเข้าสู่เป้าหมาย นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทำการยิงต่อต้านเป้าหมายทางอากาศเพียงแค่พลยิงเปลี่ยนสวิทซ์เลือกจาก ภาคพื้น (ground)  มาเป็น อากาศ (aerial)
…จรวดขนาด 80 มิลลิเมตร เอส – 8 บรรจุอยู่ในกระเปาะบรรจุกระเปาะละ 12 นัด ติดตั้งหัวรบได้หลายแบบเช่น หัวรบเจาะเกราะและระเบิดแรงสูง  ถ้าหากใช้จรวดขนาด 70 มิลลิเมตรของสหรัฐอเมริกา  กระเปาะจรวดแต่ละกระเปาะบรรจุจรวด  19  นัด
… เฮลิคอปเตอร์ตระกูล  คา – 50 (คา – 50 / คา – 52 / คา – 50 – 2)  ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีที่มีพลังขับเคลื่อนสูงสุด  ขีดความสามารถทางการรบสูงสุด  และมีสมรรถนะทางการบินสูงสุด  เมื่อเปรียบเทียบกับเฮลิคอปเตอร์จากค่ายยุโรปและสหรัฐอเมริกา  ที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน  พลังขับเคลื่อนได้มาจากเครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์  ทีวี 3 – 117 วีเอ็ม  ให้แรงขับเครื่องละ 2,200  แรงม้า ตำแหน่งติดตั้งเครื่องยนต์ทั้งสองเครื่องถูกคั่นกลางด้วยเครื่องช่วยทำไฟฟ้ากั้นด้วยผนังกันไฟ  เครื่องช่วยทำไฟจะฉีดอากาศอัดเข้าเครื่องเทอร์โบเพื่อติดเครื่องยนต์หลักถังเชื้อเพลิง  2  ถังติดตั้งอยู่ภายในลำตัวถังเชื้อเพลิงแต่ละถังจ่ายเชื้อเพลิงให้เครื่องยนต์แต่ละเครื่อง  โดยถังเชื้อเพลิงถังหนึ่งจะจ่ายเชื้อเพลิงให้เครื่องทำไฟด้วย  ถังเชื้อเพลิงสร้างจากยางไฟเบอร์  ส่วนล่างและด้านข้างของถังเชื้อเพลิง 2 ใน 3 ส่วนหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติเพื่อป้องกันการระเบิด  นอกจากนี้ถังเชื้อเพลิงยังมีโฟมโพลิยูรีเธนที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้เพื่อใช้สำหรับอุดรูรั่วเมื่อถูกยิง
…แม้ว่าจะมีคุณลักษณะทางเทคนิคยอดเยี่ยมเพียงใดแต่จนถึงปัจจุบันนี้เฮลิคอปเตอร์ตระกูล  คา – 50  ก็ยังไม่มีกองทัพต่างประเทศจัดซื้อไปใช้งาน สำหรับกองทัพบกรัสเซียมีรายงานว่าซื้อไปใช้จำนวน  12  เครื่อง  และเคยนำไปทดสอบการใช้ ปฏิบัติรบจริงในการเชชเนีย ในอนาคต  คา – 50 – 2 มีโอกาสแจ้งเกิดหรือไม่ก็ต้องติดตามกันต่อไป


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 11, 2005, 12:20:19 AM
Ka-50-2 Erdogan

(http://www.aeronautics.ru/img001/ka502b.jpg)



Ka-50 Hokum (Black Shark)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/row/ka-50-hokum.jpg)

Ka-52 Hokum B (Werewolf)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/row/ka-52-1.jpg)


จุดต่างหลัก ๆ ของเครื่องบินทั้ง 3 รุ่นคือ ห้องนักบิน โดยที่

 Ka-50 Hokum Black Shark จะเป็นที่ ฮ. ที่นั่งเดี่ยว

Ka-52 Hokum B Werewolf  จะเป็น ฮ. ที่นั่งคู่เคียงกัน

Ka-50-2 Erdogan จะเป็น ฮ. ที่นั่งคู่เรียงตามกัน


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 11, 2005, 12:56:14 AM
ในปัจจุบัน การผลิตอาวุธของ รัสเซีย ไม่เหมือนกับตอนที่เป็น สหภาพโซเวียต เพราะ รัฐไม่มีงบประมาณสนับสนุนเหมือนกับแต่ก่อน ต้องให้ สถาบันออกแบบอากาศยาน (ไม่ไช่โรงงานผลิตอากาศยาน) ต้องรับผิดชอบต่ออนาคตของ สถาบันเอง ดังนั้น สถาบันออกแบบอากาศยาน ต่าง ๆ จึงต้องพยามหาลูกค้าเพื่อความอยู่รอดของสถาบัน โดย รัฐบาล รัสเซีย เป็นแค่ผู้ช่วยสนับสนุน และ ช่วยหาลูกค้าให้ด้วยเท่านั้น ไม่ได้เป็นผู้ออกทุนให้ทั้งหมด เหมือนอย่างกับสมัยเป็น สหภาพโซเวียต

จะเห็นได้ว่า ความสำเร็จของ F-35 ในโครงการ JSF ก็ได้มาจากการขายแบบแปลน และ เทคโนโลยี่ ของ YAK-141 ให้กับบริษัท  Lockheed Martin

ถ้าไม่ได้ เทคโนโลยี่ของ รัสเซีย บริษัท  Lockheed Martin  คงต้องใช้เงิน และ เวลา ในการพัฒนาอีกมาก อาจพ่ายแพ้แก่ บริษัท Boeing ก็เป็นได้

ที่บริษัท โบอิ้ง แพ้การแข่งขัน เพราะ การทำให้เครื่องบิน รูปแบบเดียว ตอบสนองความต้องการของ 3 เหล่าทัพ ได้เป็นเรื่องยาก และ ต้องใช้เวลาในการพัฒนาเครื่องต้นแบบนาน ทำให้ บริษัท  Lockheed Martin ซึ่งซื้อ เทคโนโลยี มามีเวลาพัฒนาด้านอื่น ๆ ทำให้ชนะการแข่งขันไป

(http://www.aeronautics.ru/yak141.jpg)






[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Army - รักในหลวงครับ ที่ ตุลาคม 11, 2005, 10:55:31 AM
เมืองไทยยุคนี้นิยมเทคโอเวอร์กิจการต่างๆ น่าจะไปเทคบริษัทผลิตอาวุธของรัสเซียแล้วนำมาผลิตในเมืองไทยส่งขายบ้างนะครับ เผื่อจะได้มีเทคโนโลยีเป็นของตนเองบ้าง ลดการพึ่งพาคนอื่นบ้าง อาวุธรัสเซียดีๆทั้งนั้น  :)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 11, 2005, 06:00:35 PM
เมืองไทยยุคนี้นิยมเทคโอเวอร์กิจการต่างๆ น่าจะไปเทคบริษัทผลิตอาวุธของรัสเซียแล้วนำมาผลิตในเมืองไทยส่งขายบ้างนะครับ เผื่อจะได้มีเทคโนโลยีเป็นของตนเองบ้าง ลดการพึ่งพาคนอื่นบ้าง อาวุธรัสเซียดีๆทั้งนั้น :)


สงสัยเข้าใจอะไรผิดแล้วกระมังครับ เพราะ โรงงานผลิตอาวุธ ของ รัสเซีย นั้นเป็นของรัฐ ส่วน สำนักแผนแบบถูกแยกออกมาให้บริหารงานกันเอง เมื่อได้มีการแผนแบบ อาวุธ หรือ เครื่องบินออกมาแล้ว ก็ส่งแบบ ที่ออกมาให้กับโรงงานของรัฐอีกที สำนักแผนแบบไม่ได้เป็นผู้ผลิต มีหน้าที่ออกแบบ และ สร้างต้นแบบเท่านั้น การซื้อ บริษัท แผนแบบ ก็ทำไม่ได้ด้วย ซื้อได้แต่ แบบ

อย่างเช่น จีน ซื้อแบบของ ซู 27 ไปผลิตเองในประเทศ หรือ บริษัท  Lockheed Martin ซื้อแบบทางเดินอากาศเปลี่ยนทิศได้ และ พัดลมยกตัวด้วยเครื่องยนต์ หลัก ของ ยัค 141  เอามาพัฒนาร่วมกับบริษัท โรสรอยด์

บริษัท ตูโปเลฟ ก็ให้ นาซ่าเช่าใช้ เครื่องบิน ตู-144 ในการวิจัยโครการเครื่องบินขนส่งความเร็วสูง ของ นาซ่า

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 11, 2005, 06:34:10 PM
อากาศยาน ไร้นักบิน Unmanned Aerial Vehicles (UAVs) เป็น อนาคตของบริษัทผลิตอาวุธ ของ สหรัฐ เลยก็ว่าได้ เพราะ เทคโนโลยีปัจจุบัน ทำให้ขีดจำกัดของ UAV ในอดีตลดลง หรือ หมดไป

การวิจัย ทดสอบ Unmanned Aerial Vehicles (UAVs) ได้ทำให้ UAV ในรุ่นติดอาวุธ เข้าใกล้สนามรบเข้าไปทุกที

บริษัทที่ครอบครอง เทคโนโลยีด้านนี้มากที่สุดได้แก่ บริษัท Boeing ที่แพ้การแข่งขันเครื่องบินต้นแบบ JSF ให้แก่บริษัท Lookheed Martin นั่นเอง โดยเฉพาะ เมื่อบริษัท Boeing ได้เข้าไปควบรวมกิจการของบริษัท McDonnell Douglas ทำให้บริษัท Boeing เป็นผู้นำทางด้าน UAV โดยไร้คู่แข่ง

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 11, 2005, 06:38:23 PM
อากาศยาน ทดสอบไร้นักบิน X-UAV เกือบทั้งหมด เป็นของบริษัท Boeing

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Enruoblem ที่ ตุลาคม 11, 2005, 06:44:21 PM
 ;D www.redbullairrace.com/ อาจจะชอบครับ แข่งAerobaticของ redbull คลิกvdoดูการแข่งได้เลยครับ :D~


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 11, 2005, 11:23:37 PM
อากาศยาน ไร้นักบิน Unmanned Aerial Vehicles (UAVs) ที่ติดอาวุธ มีชื่อเรียก สั้น ๆ ว่า Combat drone เป็นอาวุธในยุคหน้า ที่กองทัพ สหรัฐ จะนำมาประจำการอย่างกว้างขวาง ทั้งสอดแนมในสนามรบ (ปัจจุบันมีใช้แล้ว ทั้ง Predator และ Global Hawk) ยังมีอีก อากาศยาน ไร้นักบิน Unmanned Aerial Vehicles (UAVs) อีกหลายแบบ ทั้งที่ใช้ในทางทหาร และ ทางพลเรือน

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Iamshootinghere ที่ ตุลาคม 12, 2005, 07:13:46 AM
X 46 นี่ดูไม่น่าจะลงบน carrier ได้เลยนะครับ ท่าทาง approach speed จะต้องสูงน่าดู


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 12, 2005, 12:53:01 PM
เมื่อมังกรผงาดฟ้า…เครื่องบินขับไล่ตระกูล เอฟ – 7
…จีนมีการพัฒนาและสร้างเครื่องบินรบมานานเกือบ 50 ปีแล้ว นอกจากการผลิตเพื่อใช้งานเองในกองทัพอากาศและกองทัพเรือ  ยังมีการพัฒนาเพื่อส่งออกขายให้กับกองทัพต่างประเทศที่สนใจเครื่องบินรบที่มีชื่ออเสียงและนำรายได้เข้าประเทศที่สำคัญคือ เอฟ – 6  เอฟ – 7  และเครื่องบินฝึก เค – 8  ที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติทางการรบได้ในปัจจุบันจีนอยู่ระหว่างทำการพัฒนาเครื่องบินรบแบบใหม่ขึ้นมาหลายแบบเพื่อนำมาใช้งานทดแทนเครื่องบินรบเก่าที่ประจำการมาช้านานและขายให้กับกองทัพต่างประเทศ  เครื่องบินรบแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากกว่าเดิม  ติดตั้งระบบควบคุมการยิงที่สามารถเลือกใช้ระบบอาวุธได้ทั้งของจีน  รัสเวีย  และของตะวันตก  เพื่อจูงใจให้กองทัพลูกค้าจัดซื้อไปใช้งานและสามารถติดตั้งระบบอาวุธที่มีใช้งานอยู่เดิมได้โดยไม่ต้องทำการดัดแปลงเพิ่มเติม  และขอแนะนำให้รู้จักเครื่องบินรบที่มีชื่อเสียงมานานของจีน  คือ  เอฟ – 7  แม้จะพัฒนาและสร้างขึ้นมาใช้งานหลายปี  แต่ปัจจุบันยังขายได้อยู่และมีการพัฒนารุ่นใหม่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง  ทั้งใช้งานเองและส่งขายให้กองทัพอากาศต่างประเทศ
…ในปี พ.ศ.2504 จีนได้รับสิทธิบัตรจากโซเวียต (ในขณะนั้น) ให้ทำการสร้างเครื่องบินขับไล่ความเร็วเหนือเสียงปฏิบัติการได้เฉพาะในเวลากลางวัน แบบ มิก – 21  เอฟ – 13 (ฟิชเบดซี) และเครื่องยนต์เทอร์โบเจต ทูมันสกี้ อาร์ 11  เอฟ – 300  ที่ใช้เป็นพลังขับเคลื่อน  มิก – 21  ที่ทำการสร้างโดยบริษัท Shenyang และ Chengdu  มีชื่อว่า เอฟ – 7  หรือ เจ –7 (Jianjiji – 7)  ในกองทัพอากาศและกองทัพเรือ  ต่อมาเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับโซเวียตสิ้นสุดลง จีนได้พยายามพัฒนาเครื่องบินใช้งานเอง
…เจ – 7  เป็นเครื่องบินขับไล่ตระกูล  เจ – 7  รุ่นแรก  ที่เกิดความพยายามที่จะพัฒนาอากาศยานขึ้นใช้งานเองของจีน  โดยอาศัยประสบการณ์จากการสร้างเครื่องบินมิก – 21  ของโซเวียต  ดังนั้น เจ – 7  ก็คือ มิก – 21  Version ของจีนนั่นเอง สร้างโดยบริษัท Shenyang  ทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2510 และเข้าประจำการในกองทัพอากาศในปีต่อมา บริษัท Shenyang สร้าง เจ – 7 จำนวนประมาณ 60-80 เครื่อง ก่อนโครงการจะสะดุดเนื่องจากการเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติวัฒนธรรมภายในประเทศ  แต่เครื่องบินจำนวนนี้ได้รับการปรับปรุงดัดแปลง ในเวลาต่อมาอันดับแรกคือการปรับปรุงอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ให้ยาวนานขึ้น  เนื่องจากมีอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ Wopen – 7 เอ เพียง 100 ชั่วโมงบินเท่านั้น ก็ต้องเข้าทำการซ่อมบำรุงใหญ่ เครื่องยนต์ Wopen – 7 เอ ให้แรงขับเคลื่อน 9,700 ปอนด์ และเพิ่มขึ้นเป็น 11,243 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย
…เจ – 7 รุ่นแรกที่จีนสร้างขึ้นใช้งานมีข้อจำกัดและปัญหาในการใช้งานเช่นเดียวกับ มิก – 21 เอฟ ของรัสเซีย คือ พิสัยบินใกล้ และขาดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ  ที่มีประสิทธิภาพ  มีตำบลติดอาวุธใต้ปีกเพียงข้างละ 1 แห่ง อาวุธแบบอื่นๆ มีเพียงปืนใหญ่อากาศ ขนาด  30 มิลลิเมตร 1 กระบอก
…เจ – 7 I เป็น เจ – 7  รุ่นที่สองสร้างโดยบริษัท Chengdu ได้เริ่มทำการผลิตส่งมอบให้กับกองทัพอากาศในปี พ.ศ.2510 มีการปรับโครงสร้างช่องอากาศเข้าเครื่องยนต์ให้ปรับได้หลากหลาย  และเพิ่มปืนใหญ่อากาศ ขนาด 30 มิลลิเมตร อีก 1 กระบอก เจ – 7I  ไม่ได้ทำการผลิตขึ้นมาจำนวนมากนัก เนื่องจากระบบเก้าอี้สละอากาศยานไม่เป็นที่พอใจของกองทัพประทุนฝาครอบจะเปิดไปข้างหน้าซึ่งติดกับเก้าอี้สละอากาศยานทำให้ไม่สะดวกเมื่อจำเป็นต้องสละเครื่อง  สำหรับ เจ – 7I รุ่นส่งออกขายให้กับต่างประเทศมีชื่อว่า เอฟ – 7 เอ กองทัพอากาศอัลบาเนีย และทานซาเนียซื้อไปใช้งาน 12 เครื่องและ 16 เครื่องตามลำดับ
…เจ – 7 II  เป็นรุ่นที่ได้รับการพัฒนาต่อจากรุ่น เจ – 7 I ติดตั้งเครื่องยนต์ WP7 B  ให้แรงขับสูงขึ้นเป็น 13,448 ปอนด์ เมื่อใช้สันดาปท้าย ใต้ลำตัวติดถังเชื้อเพลิง  ขนาดความจุ 800 ลิตร เพื่อเพิ่มพิสัยปฏิบัติการติดร่มหน่วงความเร็วขณะทำการลงจอดเพื่อลดระยะทางให้สั้นลง ประทุนฝาครอบเปลี่ยนเป็นแบบเปิดไปด้านหลัง บริเวณจมูกติดตั้งเรดาร์วัดระยะ เจ-7II  มีขีดความสามารถเท่าเทียมกับ มิก – 21 อี ของรัสเซีย
…เอฟ – 7 บี  เป็น เจ – 7II รุ่นส่งออกขายให้กับกองทัพต่างประเทศสามารถติดตั้งและใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่  - อากาศ  อาร์ 550 มาจิคของฝรั่งเศส  โดยกองทัพอากาศอียิปต์และอิหร่าน ซื้อไปใช้งานกองทัพละ 80 เครื่องในช่วงปี พ.ศ. 2525-2526  สำหรับ เอฟ – 7 บี กองทัพอากาศอียิปต์ภายหลังได้รับการดัดแปลงเพิ่มเติมโดยการติดตั้งจอภาพตรงหน้านักบิน (HUD)  และดัดแปลงให้ติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ แบบ เอไอเอ็ม – 9 พี3/4 ที่ได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2509 ต่อมาในปี พ.ศ.2518 จีนได้พัฒนา เจ – 7II รุ่นใหม่ที่ให้พลังขับเคลื่อนมากขึ้น และได้ขายให้กับกองทัพอากาศอียิปต์และอิรักในต้นปี พ.ศ.2523...(ไว้พรุ่งนี้มาต่อ เอฟ - 7 บีเอส กันครับ)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 12, 2005, 03:06:18 PM
ภาพประกอบ บทความของ คุณ Hydra ครับ


J-7 (Jianjiji-7) / F-7


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 12, 2005, 03:32:02 PM
Mig-21 Fishbed รุ่นแรก  ฝาครอบห้องนักบินจะเปิดไปข้างหน้า ส่วนรุ่นหลัง ๆ จะเปิดออกทางด้านข้าง

ข้อเสียของ มิก 21 ที่สำคัญคือ นักบิน มีมุมมองที่แคบมาก ทั้งด้านหน้า และ ด้านข้าง ยิ่งด้านหลังจะเป็นจุดบอดเลยด้วยซ้ำ เลยต้องมีกระจกมองหลัง อยู่เหนือฝาครอบห้องนักบิน

เครื่องบินยุคใหม่ของ รัสเซีย ได้แก้ข้อบกพร่องนี้ไปหมดแล้ว เช่น มิก -29 และ ซู -27 ที่มีห้องนักบินอยู่สูง และ เครื่องเล็ง ติดตั้งที่หมวกนักบิน ทำให้นักบินสามารถ ล๊อกเป้าเข้าเครื่อง คอมพิวเตอร์ควบคุมการยิงได้รวดเร็ว และ ให้มุมในการล๊อกเป้ากว้างกว่าใช้จอภาพ HUD ล๊อกเป้า



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 12, 2005, 03:58:30 PM
ที่จริง จีนได้พัฒนาเครื่องบินรบของตนเองอีกหลายแบบ แต่การเข้าประจำการของ Su-27 ทำให้ทางกองทัพต้องยกเลิกการนำเข้าประจำการ หรือไม่ก็ปลดประจำการของเครื่องบินเหล่านั้น เพราะ SU-27 มีความน่าเชื่อถือ และ ประสิทธิภาพสูงกว่ามากนั่นเอง



JH-7 [Jian hong Fighter-Bomber] [B-7]

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/row/jh-7_12.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/row/jh-7_6.jpg)



หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 13, 2005, 01:53:08 AM
ขณะนี้นอกจาก อเมริกา แล้ว ยังมีอีกหลายชาติที่กำลังพัฒนา UAV เพื่อใช้ในกิจการต่าง ๆ มีทั้งแบบขึ้นลงทางดิ่งอย่าง ฮ. หรือขึ้นลงบนทางวิ่งอย่า เครื่องบินปีกตรึง ทั้งยังมีแบบขึ้นโดยใช้คนโยนขึ้นไป บางแบบก็ปล่อยออกจากฐานยิงคล้ายจรวด

ภาพแรก เป็น UAV ที่บินข้ามมหาสมุทร ได้เป็นแบบแรกของโลก

Aerosonde

ภาพล่าง เป็นภาพ UAV ตรวจการของ เยอร์มัน

Aladin - EMT

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 13, 2005, 01:03:44 PM
เมื่อมังกรผงาดฟ้า…เครื่องบินขับไล่ตระกูล เอฟ – 7  (ต่อ)
…เอฟ – 7 บีเอส  เป็นเจ – 7 II  รุ่นส่งออกขายให้กับกองทัพอากาศศรีลังกาซึ่งซื้อไปใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2534 จำนวน 4 เครื่อง เอฟ – 7 บีเอส เพิ่มตำบลติดอาวุธใต้ปีกข้างละ 1 แห่ง รวมเป็น 4 แห่ง ติดตั้งระบบอวิโอนิกส์ของจีนแต่ไม่ติดตั้งจอภาพตรงหน้า
…นอกจากสร้างเพื่อใช้งานเองในกองทัพเอง จีนยังได้ทำการพัฒนา เอฟ – 7  เพื่อส่งออกขายให้กับกองทัพอากาศต่างประเทศที่ต้องการเครื่องบินขับไล่ ราคาถูกและเทคโนโลยีต่ำไปใช้งา ได้แก่ กองทัพอากาศอัลบาเนีย (22 เครื่อง) อิหร่าน (30 เครื่อง) อิรัก (40 เครื่อง) ศรีลังกา (5 เครื่อง) แทนซาเนีย (11 เครื่อง) และซิมบับเว (12 เครื่อง)
…เจ – 7 II และ เอฟ – 7 บี/บีเอส  ที่สร้างขึ้นเป็นรุ่นมาตรฐานกองทัพอากาศจีน ที่ผลิตเพื่อใช้งานเองภายในกองทัพและส่งออกขายให้กับกองทัพอากาศต่างประเทศ  เป็นเครื่องบินสำหรับปฏิบัติภารกิจขับไล่สกัดกั้น และสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด มีน้ำหนักตัวเปล่า 11,649 ปอนด์ (5,275 กิโลกรัม) น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 17,967 ปอนด์ (8,150 กิโลกรัม) ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบเจต WP7BM เป็นพลังขับเคลื่อน ให้แรงขับ 9,700 ปอนด์ และ 14,550 ปอนด์ เมื่อใช้สันดาปท้ายสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 2.05 มัค หรือมากกว่า 2 เท่าของความเร็วเสียง พิสัยบินไกล 939 ไมล์ทะเล (1,740 กิโลเมตร) อาวุธที่ติดตั้งประกอบด้วยปืนใหญ่อากาศ ขนาด 30 มิลลิเมตร 2 กระบอก (สำหรับรุ่นส่งออก) กระสุนปืนกระบอกละ 60 นัด ตำบลติดอาวุธใต้ปีกข้างละ 1 แห่ง และ 2 แห่งสำหรับ เอฟ - 7 บีเอส สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ พีแอล – 2  พีแอล – 2 เอ  หรือ อาร์ 550 มาจิค  ของฝรั่งเศสในภารกิจสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดติดตั้งกระเปาะจรวดขนาด 57 มิลลิเมตร  บรรจุจรวด 18 นัด หรือลูกระเบิด ขนาด 150 กิโลกรัม และ  250 กิโลกรัม 2 ลูก (รับน้ำหนักอาวุธได้เพียง 500 กิโลกรัม) รัศมีทำการในการปฏิบัติภารกิจขัดขวางทางอากาศ 600 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกระเบิด ขนาด 150 กิโลกรัม 2 ลูก และติดถังเชื้อเพลิงภายนอกลำตัว 3 ถังในการปฏิบัติภารกิจสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดมีรัศมีทำการไกล 370 กิโลเมตร  เมื่อบรรทุกกระเปาะจรวด ขนาด 57 มิลลิเมตร 4 กระเปาะ ในภารกิจขับไล่สกัดกั้น รัศมีทำการไกล 1,490 กิโลเมตร เมื่อติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ พีแอล – 2 จำนวน 2 นัด และถังเชื้อเพลิงขนาด 800 ลิตรที่ใต้ลำตัว
…เอฟ – เอ็ม แอร์การ์ด (F – 7 M Air Guard)  เอฟ – 7 เอ็ม เป็นเครื่องบินขับไล่ตระกูล เอฟ – 7 รุ่นส่งออก พัฒนามาจาก เจ – 7II  ประเทศที่สั่งซื้อไปใช้งานได้แก่ กองทัพอากาศพม่า (30 เครื่อง) กองทัพปากีสถาน (80 เครื่อง) กองทัพอากาศซิมบับเว (22 เครื่อง) กองทัพอากาศบังคลาเทศ (16 เครื่อง) และอิหร่าน นับได้ว่า เอฟ – 7 เอ็ม เป็นรุ่นส่งออกที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับการปรับปรุงจาก เอฟ – 7II ติดตั้งเครื่องยนต์ WP – BM  ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ แต่ให้แรงขับเท่ากัน แต่ได้รับการปรับปรุงทางด้านระบบอวิโอนิกส์ให้ทันสมัย และมีขีดความสามารถสูงขึ้น โดยติดตั้งเรดาร์วัดระยะ Skyranger ของบริษัทผู้ผลิตในประเทศอังกฤษและจอภาพ HUDWAC (Head Up Display Weapon Aiming Computer) จอภาพ HUDWAC ทำให้นักบินสามารถเล็งอาวุธผ่านจอภาพตรงหน้า (HUD)  ได้ทั้งการรบทางอากาศและการโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน รวมทั้งแสดงข้อมูลเครื่องวัดประกอบการบิน เอฟ – 7เอ็ม เพิ่มตำบลติดอาวุธอีก 1 คู่ และติดตั้งปืนใหญ่อากาศ ขนาด 30 มิลลิเมตร 2 กระบอก กระสุนปืนกระบอกละ 60 นัด เพิ่มขีดความสามารถในการรบทางอากาศด้วยการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี พีแอล – 2 นอกจากนี้ยังได้รับการติดตั้ง air data computer ระบบพิสูจน์ฝ่าย เรดาร์วัดความสูง วิทยุสื่อสารใช้สำหรับการติดต่อที่เป็นความลับ เอฟ – 7 เอ็ม มีน้ำหนักตัวเปล่า 1,630 ปอนด์ (5,275 กิโลกรัม) น้ำหนักวิ่งขึ้นปกติเมื่อ ติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ 2 นัด 16,603 ปอนด์ (7,531 กิโลกรัม) สมรรถนะทางการบินทำความเร็วในการบินได้สูงสุด 2.3 มัค (2,175 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เพดานบิน 59,700 ฟุต บินได้ไกลสุด 1,203 ไมล์ทะเล (2,230 กิโลเมตร) รัศมีรบในบทบาทโจมตีภาคพื้นดินสามารถติดตั้งระเบิด ขนาด 50,150,250 และ 500 กิโลกรัม 2 ลูก และกระเปาะจรวด ขนาด 57 มิลลิเมตร และ 90 มิลลิเมตร ตำบลติดอาวุธใต้ปีกคู่นอกติดตั้งได้เฉพาะกระเปาะจรวดหรือระเบิดขนาดไม่เกิน 150 กิโลกรัม หรือถังเชื้อเพลิงปลดทิ้งได้ขนาด 500 ลิตร ตำบลใต้ลำตัวติดตั้งได้เฉพาะถังเชื้อเพลิงเท่านั้น ในบทบาทสกัดกั้นระยะไกล มีรัศมีปฏิบัติการไกล 1,740 กิโลเมตร เมื่อติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ พีแอล –7 จำนวน 2 นัด และถังเชื้อเพลิงภายนอกลำตัว 3 ถุง เอฟ – 7 เอ็ม รวมน้ำหนักอาวุธที่บรรทุกไปได้ 1 ตัน (1,000 กิโลกรัม)
…เอฟ – 7 เอ็ม  แอร์การ์ด ของกองทัพอากาศปากีสถานมีชื่อเรียกว่า เอฟ – 7 เอ็มพี สกายโบลท์ ได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรบทางอากาศ ปากีสถานได้ดำเนินการเปลี่ยนระบบเรดาร์วัดระยะ Skyranger มาเป็นระบบเรดาร์ควบคุมการยิง Grifo – 7 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการใช้อาวุธอากาศ – สู่ – อากาศ และ อากาศ – สู่ – พื้น เรดาร์ Grifo – 7 รวมทั้งเปลี่ยนระบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศมาเป็น เอไอเอ็ม – 9 ไซด์ไวน์เดอร์ และเพิ่มจำนวนติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีเป็น 4 นัด คือ เอไอเอ็ม – 9 พี 2 นัด และเอไอเอ็ม – 9 แอล 2 นัด และ เอไอเอ็ม – 9 แอล 2 นัด เรดาร์ Grifo – 7 มีขีดความสามารถติดตามเป้าหมายทางอากาศได้ไกล 30 ไมล์ ปากีสถานร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตในอิตาลีทำการพัฒนาเพื่อให้สามารถติดตั้งกับเครื่องบิน เอฟ – 7 ซึ่งมีพื้นที่ภายในจำกัด
…กองทัพอากาศปากีสถานนำ เอฟ – 7 เอ็มพี มาใช้ปฏิบัติภารกิจป้องกันภัยทางอากาศ รับผิดชอบในการสกัดกั้นข้าศึกที่ล่วงล้ำเข้ามาในน่านฟ้าปากีสถานสำหรับในบทบาทโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน เอฟ – 7 เอ็มมีขีดจำกัดที่ต้องติดตั้งถังเชื้อเพลิงภายนอกลำตัว 2 ถัง ทำให้บรรทุกอาวุธได้จำกัด
…เครื่องบินขับไล่ตระกูล เจ – 7 / เอฟ – 7 ยังมีรุ่นอื่นๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาล่าสุด  คือ เจ – 7III เจ – 7 อี และเอฟ – 7 เอ็มจี รุ่นส่งออก จะมีขีดความสามารถสูงกว่ารุ่นเก่ามากน้อยเพียงใดต้องติดตามกันต่อไป.


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 13, 2005, 06:21:52 PM
ส่งภาพให้เข้ากับกระทู้ตามเคยครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 13, 2005, 06:55:29 PM
อีกชุดครับ

 ;D ;D

การพัฒนาเครื่องบินขับไล่ที่ทันสมัย เพื่อให้มีความสามารถในการรบใกล้เคียงกับเครื่องบินขับไล่ที่มีขายอยู่ในท้องตลาดเป็นเรื่องยาก เพราะ ต้องใช้ทั้ง เงิน กำลังคน กำลังความคิด และ เวลา ในการพัฒนาเป็นจำนวนมาก โดยที่ จีน เองจำเป็นต้องใช้ปัจจัยเหล่านั้นเพื่อพัฒนาประเทศ ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ จีน เองต้องกลับไปหาการซื้อ สิทธิบัตร มาผลิตเองในประเทศ จะเป็นการคุ้มค่าว่า

การสร้างเครื่องบินต้นแบบสักลำ ต้องใช้ระบบย่อย ๆ มากมาย และ ระบบย่อย ๆ เหล่านั้นก็ต้องใช้ชิ้นส่วน เป็นล้านชิ้น ซึ่งแต่ละชิ้นต้องผ่านการพัฒนา และ ทดสอบว่า เหมาะสมกับการใช้งานบนเครื่องบิน ก่อนออกมาใช้ได้ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เล่านั้น จีน ยังมีไม่เพียงพอ แต่กับ รัสเซีย ซึ่งผลิตเครื่องบิน และ อุปกรณ์ การบินมานาน ทำให้การสร้างเครื่องบินต้นแบบสักแบบ ทำได้รวดเร็วกว่า เพราะ สามารถนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในมือ มาใช้ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาใหม่ทั้งระบบ เพียงแต่พัฒนาส่วนที่ต้องการเท่านั้น

ดูตัวอย่างง่าย ๆ อย่าง รถยนต์ โปรตรอน ซาก้า

มาเลเซีย ไม่มีความสามารถในการพัฒนารถยนต์ขึ้นมาเองได้ ต้องซื้อแบบ และ เทคโนโลยี จาก มิตซูบิชิ โดยที่ อุตสาหกรรม ยานยนต์ ของมาเลเซีย นั้นเล่าก็ไม่ได้ใหญ่โตมากมายอะไรนัก ผลิตเองทั้งคันยังทำไม่ได้ ต้องนำเข้าชิ้นส่วนของ มิตซูบิชิมาประกอบ สาเหตุที่ มาเลเซีย ยังคงผลิตรถยนต์รุ่นนี้ก็เพราะ ได้ชื่อว่า เป็นรถยนต์แห่งชาติ จึงได้ประโยชน์ทาง ภาษี และ การสนับสนุนจากรัฐ เมื่อไดที่ มาเลเซีย ยอมรับ เงื่อนไขของ FTA เกี่ยวกับ ยานยนต์ เมื่อนั้น รถยนต์ โปรตรอน ซาก้า จะเหลือเพียงตำนาน เพราะ ต้นทุนของรถรุ่นนี้ แพงกว่านำเข้าทั้งคันจากเมืองไทยมาก

เช่นเดียวกันกับ เครื่องบินรบ การพัฒนา และ ผลิตในจำนวนน้อย ย่อมแพงกว่าซื้อสำเร็จ อีกตัวอย่าง คือ ญี่ปุ่น ผลิต F15 J แพงกว่า อเมริกา แต่ญี่ปุ่น ก็ทำเพราะ ได้เรียนรู้เทคโนโลยีอากาศยานขั้นสูง และเป็นทางลัดที่จะนำมาใช้กับการพัฒนาเทคโนโลยี่ของ ญี่ปุ่น เอง

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ ตุลาคม 13, 2005, 06:56:36 PM
ท่าน M686 สันทัดเกี่ยวกับเรื่องเครื่องบินมาก ไม่ทราบว่าเป็นนักบินด้วยหรือเปล่าครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 13, 2005, 07:10:43 PM
 ;D ;D ;D
ไม่ได้เป็นครับ หาอ่านเอาบนเว็ปนี่แหละครับ

 :<< :DD :OO :VOV:


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 14, 2005, 11:20:16 AM
ภาพบน Altus-general atomics ASI

เป็นเครื่องบินทดสอบของ นาซ่า ครับ แต่ไม่มีข้อมูล

ภาพล่าง Black window - AeroVironment, Inc.

เป็นเครื่องบินเล็กขนาดแค่ 6 นิ้ว หรือ 15 เซ็นติเมตร หนักแค่ 42 กรับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 14, 2005, 11:21:57 AM
เอฟ – 35 บี STOVL เขี้ยวเล็บในอนาคตของกองทัพบินอังกฤษ
…กองทัพอังกฤษได้ตัดสินใจเลือกเครื่องบินขับไล่/โจมตี ล่องหน แบบ เอฟ – 35 บี เป็นเขี้ยวเล็บแบบใหม่ที่จะนำมาใช้งานทดแทนเครื่องบินฮาริเออร์ที่ประจำการอยู่ในปัจจุบัน  ทั้งของกองทัพเรือและกองทัพอากาศ ซึ่งปฏิบัติการอยู่ทั้งฐานบินบนบกและบนเรือบรรทุกเครื่อง โดยกองทัพอากาศได้ประกาศเลือกแบบเครื่องบินเมื่อวันที่ 30 กันยายน ที่ผ่านมา
…ก่อนที่จะทำการตัดสินใจเลือก อังกฤษให้ความสนใจเครื่องบินขับไล่/โจมตี แบบ เอฟ – 35 ที่อยู่ในระหว่างพัฒนา 2 รุ่น คือ เอฟ – 35 ซี รุ่นใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน หรือรุ่น ซีวี (Carrier Variant) และ เอฟ – 35 บี รุ่นใช้ระยะทางวิ่งขึ้นสั้นและลงแนวดิ่ง (Short Take Off and Vertical Landing : STOVL)  ซึ่งเป็นรุ่นที่จะเข้าประจำการในนาวิกโยธินสหรัฐฯ ในที่สุดอังกฤษได้ตัดสินใจเลือก เอฟ – 35 ปี เพื่อนำมาใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ จำนวน 2 ลำ ซึ่งอังกฤษกำลังออกแบบและสร้างขึ้นมาใช้งานทดแทนเรือลำเก่าที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เรือบรรทุกเครื่องบินในอนาคตของกองทัพเรืออังกฤษจะมีระวางขับน้ำอยู่ระหว่าง 55,000-60,000 ตัน
…กองทัพอังกฤษมีประสบการณ์ในการปฏิบัติการด้วยเครื่องบินขับไล่ และเครื่องบินโจมตีตระกูล ฮาริเออร์ ซึ่งเป็นเครื่องบินประเภท STOVL และเคยประกาศศักดามาแล้วในสงครามฟอล์คแลนด์ ในการรบกับกองทัพอาเจนติน่า เครื่องบินขับไล่ ซี ฮาริเออร์ เอฟ / เอ 1 ซึ่งเป็นเครื่องขับไล่สกัดกั้นประจำเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือสามารถยิงเครื่องบินของกองทัพอาเจนติน่าตกรวม 22 เครื่อง ส่วนเครื่องบินสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด แบบ ฮาริเออร์ จีอาร์ 3 ของกองทัพอากาศปฏิบัติภารกิจโจมตีกำลังข้าศึกภาคพื้น โดยปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินร่วมกับ ซี ฮาริเออร์ บนเรือบรรทุกเครื่องบิน
…ปัจจุบันกองทัพอากาศอังกฤษมีฮาริเออร์ จีอาร์ 7 และจีอาร์ 9 ส่วนกองทัพเรืออังกฤษมี ซีฮาริเออร์ เอฟ / เอ 2 ร่วมกันปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินกองทัพเรืออังกฤษกำหนดจะปลดประจำการ ซีฮาริเออร์ เอฟ / เอ 2 ในปี ค.ศ.2009 จะเหลือเฉพาะ ฮาริเออร์ จีอาร์ 9 รุ่นสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดปฏิบัติการบนเรือไปจนถึงปี ค.ศ.2015 จากนั้นกองทัพอังกฤษจะได้รับ เอฟ – 35 บี เข้าประจำการทดแทน จำนวน 160 เครื่อง มูลค่า 15.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
…เอฟ – 35 หรือรู้จักกันในนามโครงการเครื่องบินรบ เจเอสเอฟ (Joint Strike Fighter) เป็นโครงการร่วมของ 3 กองทัพ คือ กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และนาวิกโยธินสหรัฐฯ ซึ่งมีความต้องการร่วมกันในการจัดหาเครื่องบินขับไล่/โจมตีเพื่อนำมาใช้งานทดแทนเครื่องบินขับไล่/โจมตี และเครื่องบินโจมตีที่มีใช้งานใน 3 กองทัพในปัจจุบัน เป็นจำนวนรวมกัน 2,852 เครื่องกองทัพเรือมีความต้องการ เอฟ – 35 ซี รุ่น ซีวี จำนวน 480 เครื่อง เพื่อนำมาใช้งานทดแทนเครื่องบินเอฟ / เอ – 18 เอ / บี / ซี / ดี ปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน สำหรับนาวิกโยธิน มีความต้องการ เอฟ – 35 บี รุ่น STOVL จำนวน 609 เครื่อง เพื่อนำมาใช้งานทดแทนเครื่องบินขับไล่ / โจมตี เอฟ/เอ – 18 เอ/บี/ซี/ดี และเครื่องบินสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด เอบี – 8 บี ฮาริเออร์ ปฏิบัติการจากฐานบินบนบกทางด้านกองทัพอากาศมีความต้องการ เอฟ – 35 เอ รุ่นปฏิบัติการจากฐานบินบนบก (Convention Take Off and Landing : CTOL)  เป็นจำนวนมากที่สุด 1,703 เครื่อง เพื่อนำมาใช้งานทดแทนเครื่องบินโจมตี เอ – 10 และเครื่องบินขับไล่/โจมตี เอฟ – 16 ราคาของ เอฟ – 35 แต่ละรุ่นจะแตกต่างกัน โดย เอฟ – 35 เอ ของกองทัพอากาศราคาถูกสุดเครื่องละ 40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เอฟ – 35 ซี ของกองทัพเรือแพงสุด เครื่องละ 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับ เอฟ – 35 บี ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ราคาอยู่ระหว่างทั้ง 2 รุ่น ประมาณ 45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
….โครงการเครื่องบินขับไล่/โจมตี เอฟ – 35 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาในขั้นตอนการพัฒนาระบบและสาธิตเทคโนโลยี (System Development and Demonstration) อีกประมาณ 8 ปีถึงจะมีการสร้างขึ้นมาใช้งานจริง แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทผู้ผลิต ลอคฮีด มาร์ติน ได้คาดการณ์ว่า เอฟ – 35 จะมีการสร้างขึ้นมาใช้งานเป็นจำนวนมากถึง 6,000 เครื่อง โดย 3,000 เครื่อง ผลิตให้กับกองทัพสหรัฐฯ และจำนวนที่เหลือเป็นของลูกค้ากองทัพต่างประเทศ ในขณะนี้มีต่างประเทศเข้าร่วมโครงการพัฒนา เอฟ – 35 ในขั้นตอน (level) ต่างๆ แล้ว 10 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ตุรกี แคนาดา เดนมาร์ก นอร์เวย์ ออสเตรเลีย อิสราเอล และสิงค์โปร์ ทุกประเทศที่เข้าร่วมโครงการต้องจ่ายเงินเพื่อ เข้าไปดูเทคโนโลยีของโครงการ และมีสิทธิ์จัดซื้อเครื่องบินไปใช้งาน รวมเป็นเงินขณะนี้ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยอังกฤษจ่ายแพงสุด 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ…(ต่อตอน 2 )


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 14, 2005, 11:48:27 AM
ภาพประกอบบทความอีกแล้ว  ;D ;D ;D


(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/harrier5.jpg)

AV8 B harrier รุ่น 2 ที่นั่ง

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/av8back.gif)

เทียบกับ Lockheed Martin F-35

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 14, 2005, 11:52:58 AM
(http://www.globalsecurity.org/military/systems/aircraft/images/jsf-family-variants.jpg)

ภาพแผนผังของ F-35 A, B และ C



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 14, 2005, 12:03:21 PM
F- 35 B จะมีพัดลมยกตัว(Lift Fan) ที่มีแกนร่วมกับเครื่องยนต์ เจ็ท กับมี ท่อเปลี่ยนทิศทางกระแสเจ็ทที่ด้านท้าย (3-Bearing seivel duct) และท่อไอพ่นช่วยพยุงตัว(Roll Nozzle) ใว้คอยพยุงไม่ให้พลิกข้าง

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 14, 2005, 02:22:33 PM
BQM-34 Firebee - Ryan

BQM-34 ถูกออกแบบให้เป็น เป้าทดสอบอาวุธความเร็วสูง เพื่อฝึกยิง แต่ในช่วงสงครามอ่าว เมื่อปี 1991 Firebee ได้ถูกนำไปใช้เป็นเป้าลวงเพื่อให้ทางฝ่าย อิรัก เปิดเรด้า ล๊อกเป้าหมาย แล้วให้ F-4G Advanced Wild Weasel ใช้จรวตต่อต้านเรด้า เข้าโจมตี เรด้า ล๊อกเป้าที่เปิด

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 14, 2005, 02:33:34 PM
Texas Instruments AGM-45 Shrike

AGM-45 เป็นจรวตต่อต้านเรด้ายุคแรก พัฒนาในช่วงสงครามเวียตนาม

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/missile/agm-45-dvic457.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/missile/agm-45-dvic456.jpg)

ภาพ  F-4G Advanced Wild Weasel กำลังยิง Shrike


AGM-88 HARM

เป็รจรวดต่อต้านเรด้ารุ่นต่อมาที่ใช้ในสงครามอ่าว จนถึงปัจจุบัน

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/smart/agm88.jpg)


(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/smart/harm-cvn-70-2.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 14, 2005, 02:51:00 PM
เอฟ – 35 บี STOVL เขี้ยวเล็บในอนาคตของกองทัพบินอังกฤษ (ต่อ)
…ประวัติของเครื่องบินขับไล่ เอฟ – 35 ซึ่งได้รับเลือกตามโครงการ เจเอสเอฟ โดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศเป็นผู้ได้รับชัยชนะเมื่อปี พ.ศ. 2544 ที่ผ่านมา เดิมคือ เอ็กซ์ – 35 แข่งขันกับ เอ็กซ์ – 32 ของบริษัท โบอิ้ง ตามความต้องการทางยุทธการและการกำหนดคุณลักษณะของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เครื่องบินทั้งสามรุ่นที่จะเข้าประจำการทั้ง 3 กองทัพ จะต้องมีลักษณะและองค์ประกอบที่ใช้ชิ้นส่วนเดียวกันมากที่สุด โดยเริ่มจากการพัฒนาและสร้างเครื่องต้นแบบเพื่อใช้ทำการทดสอบแข่งขันกัน เป็นรุ่นที่ใช้งานสำหรับกองทัพอากาศ เมื่อทำการทดสอบตามแผนงานเสร็จสิ้น ต่อจากนั้นเครื่องบินต้นแบบทั้ง เอ็กซ์ – 32 และเอ็กซ์ – 35 ได้รับดัดแปลง เป็นรุ่นใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือ และ สุดท้ายได้ทำการดัดแปลงเครื่องต้นแบบรุ่นใช้งานสำหรับนาวิกโยธิน ซึ่งเป็นรุ่นที่มีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนมากที่สุด เพราะต้องทำการดัดแปลงเครื่องบินให้สามารถทำการบินขึ้นโดยใช้ระยะทางวิ่งขึ้นสั้นและลงจอดในแนวดิ่ง โดยที่โครงสร้างและชิ้นส่วนต่างๆ ยังคงเหมือนเดิม มีการดัดแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่มีการดัดแปลงเครื่องยนต์ เพื่อให้สามารถทำการบินขึ้นและลงจอด ที่ตามที่กองทัพกำหนดไว้ …ในระยะขั้นตอนการแข่งขันระหว่าง เอ็กซ์ – 32 และเอ็กซ์ – 35 ในรุ่นของกองทัพอากาศและกองทัพเรือ เครื่องบินต้นแบบของทั้งสองบริษัท ทำได้ตามที่กองทัพกำหนดและมีขีดความสามารถสูสีเรียกว่า เบียดกันมาโดยตลอด แต่มาถึงรุ่นใช้งานสำหรับนาวิกโยธิน ปรากฎว่า เอ็กซ์ – 35 สามารถนำห่างเข้าสู่เส้นชัยเป็นผลสำเร็จ โดยเฉพาะการแสดงสมรรถนะให้เห็นในการทดสอบที่เรียกว่า Mission X นักบินที่ทำการทดสอบคือ นาวาตรี อาร์ท โทมาสเซททิ (Maj.Art Tomasseti) นักบินลองเครื่องของนาวิกโยธิน ผู้มีชั่วโมงบินกับเครื่องบิน เอวี – 8 ฮาริเออร์ มากกว่า 1,500 ชั่วโมง กระทำการทดสอบเมื่อ 20 กรกฎาคม 2544 นักบินได้นำเอ็กซ์ – 35 ทำการวิ่งขึ้นโดยใช้ระยะทางวิ่งขึ้นสั้น จากนั้นได้เปลี่ยนโหมดการบินจาก STOVL เป็นโหมดการบินแบบธรรมดา (CTOL) ที่ระดับความสูง 5,000 ฟุต นำเครื่องบินไต่ไปที่ระดับความสูง 25,000 ฟุต แล้วเร่งเครื่องบินให้ทะยานไปข้างหน้าด้วยความเร็วเหนือเสียง จากนั้นได้เปลี่ยนมาเป็นโหมด STOVL เพื่อลดความเร็วและนำเครื่องลงจอดด้วยความปลอดภัย โดยการทดสอบทั้งหมดทำการทดสอบในเที่ยวบินเดียวกัน ทั้งที่จริงแล้วการทดสอบการบินที่ความเร็วเหนือเสียงไม่อยู่ในการทดสอบตามแผนงานที่กำหนดไว้แต่เป็นการแสดงให้เห็นว่าเอ็กซ์ – 35 บี ล้ำหน้าคู่แข่งไปแล้ว …เอ็กซ์ – 35 มีความก้าวหน้าในการบินทดสอบไปเหนือกว่า เอ็กซ์ –32 ซึ่งไม่สามารถทำการบินความเร็วเหนือเสียง เมื่อดัดแปลงเครื่องเป็นรุ่นใช้งานของนาวิกโยธิน และประสบปัญหาทางเทคนิค ไม่สามารถทำการบินได้ดังเช่น เอฟ – 35 บี ถ้าหากจะกล่าวว่า เอ็กซ์ – 35 คือผู้กำชัยชนะมาให้กับลอคฮีด มาร์ติน ก็คงไม่ผิด …จากกำหนดความต้องการทางยุทธการและงานแผนแบบของกองทัพสหรัฐฯ ที่ต้องการให้เครื่องบิน เอฟ – 35 ที่ได้รับการคัดเลือกมีคุณลักษณะและชิ้นส่วนประกอบเดียวกันมากที่สุด อาจจะแตกต่างกันบ้าง เช่น ขนาดพื้นที่ปีกและความหนาของปีก เครื่องยนต์ยี่ห้อเดียวกัน ระบบอาวุธติดตั้งใช้งานเหมือนกัน แต่ดัดแปลงเพิ่มเติมโครงสร้างภายนอกให้เหมาะสมกับเครื่องบินแต่ละรุ่นที่ใช้งาน ในแต่ละเหล่าทัพ
…เอฟ – 35 บี รุ่น STOVL มีความแตกต่างจาก เอฟ – 35 เอ และ เอฟ – 35 ซี มากที่สุด และเป็นรุ่นที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและมีคุณลักษณะทางเทคนิคที่สมบูรณ์แบบที่สุด โดยเฉพาะทางด้านเครื่องยนต์ เพื่อให้มีขีดความสามารถในการวิ่งขึ้นโดยใช้ระยะทางวิ่งขึ้นสั้นลงและลงจอดในแนวดิ่ง ในการพัฒนา เอฟ – 35 บี บริษัทลอคฮีด มาร์ติน ได้ดึงบริษัท โรลซ์รอยซ์ (Rolls – Royce) ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีประสบการณ์ในการผลิตเครื่องยนต์พักาซัสติดตั้งกับเครื่องบินฮาริเออร์เข้ามาร่วมด้วย เพื่อเข้ามารับผิดชอบงานระบบใบพัดยกตัว (lift fan system) ของเอฟ – 35 โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีบริษัท บีเออี ซิสเต็ม อีกบริษัทหนึ่งของประเทศอังกฤษเข้ามาร่วมในงานทางด้านชิ้นส่วนโครงสร้าง …สำหรับเทคโนโลยีใบพัดยกตัว เพื่อให้พลังเพิ่มแรงยกให้เครื่องบินลอยตัวขึ้นเมื่อทำการบินขึ้นและลงจอด บริษัท โรลซ์ – รอยซ์ ได้ซื้อสิทธิบัตรมาจากรัสเซียอีกต่อหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมนั้นบริษัทตูมัสกี้บริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานของรัสเซียออกแบบและสร้างเพื่อติดตั้งกับเครื่องขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน แบบ ยัค – 141 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล้ ประเภท STOVL แบบแรกของโลกที่สามารถทำความเร็วได้เหนือเสียงที่ได้รับการพัฒนาและสร้างขึ้นมาใช้งานและประสบผลสำเร็จในการบินทดสอบ แต่ทางกองทัพรัสเซียไม่ได้จัดซื้อ บริษัทผู้ผลิต ยาคอฟเลฟ จึงล้มเลิกโครงการไป …แบบแผนของ เอฟ – 35 บี มีขนาดและคุณลักษณะในการตรวจจับได้ยากเท่ากับ เอฟ – 35 เอ ของกองทัพอากาศ แต่เครื่องยนต์ขับเคลื่อนและลำตัว ได้รับการดัดแปลงเพื่อให้สามารถปฏิบัติการวิ่งขึ้นโดยใช้ระยะทางสั้นและลงจอดในแนวดิ่ง ระบบใบพัดยกตัวจะมีส่วนประกอบ 3 ส่วนใหญ่ ส่วนแรกคือชุดใบพัดยกตัวติดตั้งอยู่ด้านหลังห้องนักบิน (สำหรับ เอฟ – 35 รุ่นอื่นๆ จะติดตั้งถังเชื้อเพลิงแทน) กำลังขับเคลื่อน ครึ่งหนึ่งจะถูกใช้เมื่อเครื่องบินจะทำการวิ่งขึ้นหรือลงจอด โดยอากาศจะถูกเป่าลงสู่ข้างล่างผ่านทางประตู 2 บาน ติดตั้งอยู่หลังห้องนักบิน ซึ่งบานประตูจะเปิดขึ้นด้านบน พลังมาจากเทอร์ไบน์ของเครื่องยนต์และใบพัดยกตัวผ่านคลัตช์ ชุดใบพัดยกตัวประกอบด้วยกลีบใบพัด 2 ชุดหมุนสวนทางกัน ให้พลังยกตัวประมาณ 18,000 ปอนด์ บริเวณส่วนหน้าของเครื่องบิน การควบคุมแรงขับจากชุดในพัดยกตัวกระทำโดยการผสมผสานระหว่างรอบเครื่องยนต์กับมุมของกลีบใบพัด แรงขับจากชุดใบพัดสามารถปรับทิศทางการเป่าจาก 35 องศา ถึง 95 องศา โดยการวัดจากแนวหัวจรดท้ายของเครื่องบิน ส่วนประกอบของระบบใบพัดยกตัว ส่วนที่สองคือ ท่อท้ายเครื่องยนต์ ที่สามารถปรับทิศทางการขับให้เป่าก๊าซร้อนจากเครื่องยนต์ลงสู่พื้น และส่วนประกอบสุดท้าย คือ ปลายท่อสำหรับเป่าอากาศติดตั้งใต้ปีกข้างละ 1 ท่อ สามารถปรับหมุนขึ้น – ลง เพื่อปรับเสถียรภาพการทรงตัวเครื่องบิน ปลายท่อติดตั้งใต้ปีก ให้แรงขัยในการยกตัวท่อละประมาณ 1,500 ปอนด์ การควบคุมการทำงานของปลายท่อกระทำผ่านคันควบคุมด้านข้าง…(เดี๋ยวค่อยมาต่อกันนะ)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 14, 2005, 10:33:54 PM
ดึงภาพจากหน้าที่แล้วจะได้เห็นภาพ ไม่ต้องย้ายไปย้ายมา

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 14, 2005, 11:00:47 PM
(http://www.fas.org/irp/program/collect/mr-uav.jpg)


BQM-145A Medium Range UAV เป็นเครื่อง UAV ตรวจการระยะปานกลาง มีประจำการทั้งกองทัพอากาศ และ กองทัพเรื่อ

ภาพล่างเป็น Camcopter ของ Schiebel Technology

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 15, 2005, 04:38:19 PM
CL-227 Sentinel
CL-327 Guardian

เป็น โดรน สอดแนมขึ้นลงทางดิ่ง ที่ทันสมัยที่สุด ที่ประจำการบนเรื่อรบของ อเมริกาในปัจจุบัน เป็นความร่วมมือกันระหว่าง แคนนาดา กับ กองทัพเรือ อเมริกา


(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/row/Cl327ground.jpg)

CL-327 Guardian

ภาพล่าง CL-227 Sentinel



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 15, 2005, 06:29:13 PM
คราวนี้มาเป็ชุดเลยครับ โดนทั้งหมดเป็น UAV ลาดตระเวน ขึ้นลงทางดิ่ง
Vertical Take Off and Landing Tactical Unmanned Aerial Vehicle (VTUAV)




(http://www.fas.org/irp/program/collect/heliwin.jpg)

Heliwing

(http://www.fas.org/irp/program/collect/cypher.jpg)

Cypher

(http://www.fas.org/irp/program/collect/DragonStalker.jpg)

Dragon Stalker


(http://www.fas.org/irp/program/collect/9800321.jpg)


Free Wing Scorpion

(http://www.fas.org/irp/program/collect/micro1.jpg)

Micro Craft Lift Augmented Ducted Fan



หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ ตุลาคม 15, 2005, 06:34:14 PM
เอามาทําเป้าบินเหรอคับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 15, 2005, 06:59:38 PM
UAV ที่ผมโพสทั้งหมด มีเป้าบินอยู่เพียงตัวเดียวครับ คือ BQM-34 Firebee  ส่วนมากเป็น UAV ตวจการณ์ และ บางแบบเป็นเครื่องทดสอบ วิจัย เพื่อการพัฒนา UAV อีกต่อหนึ่ง

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 16, 2005, 12:54:20 PM
CL-289- Bomberdier

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/row/cl-289-piver2.jpg)

เป็น UAV ที่เกิดจากความร่วมมือของ เยอร์มัน และ แคนนาดา เป็น UAV ถ่ายภาพ และ สอดแนมหน้า ใช้ใน โคโซโว มาแล้ว



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 16, 2005, 01:07:37 PM
Lockheed Martin D-21B

(http://www.fas.org/irp/program/collect/d21lnch.jpg)

เป็นโดรน ยุคแรก ๆ เมื่อ 35 ปีที่แล้ว สามารถบินได้ถึง 3.3 มัค หรือ 3.3 เท่าของความเร็วเสียง ราว ๆ 4,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็น โดรนที่ออกแบบมาให้ใช้ได้ครั้งเดียว และ บรรทุกไปบนหลังของ SR-71 เมื่อถึงเป้าหมายแล้วจะปล่อย D-21 เข้าไปในดินแดนต้องห้ามของฝ่ายตรงข้าม และ เมื่อบินกลับออกมาพ้นน่านฟ้าฝ่ายตรงข้ามแล้ว กล่องเก็บข้อมูล และ ฟิมล์ถ่ยรูปจะถูกดีดตัวออก จากยาน และถูกเก็บโดย เครื่องบิน C-130 จากนั้น ตัวยานก็จะระเบิดตัวเอง

(http://www.fas.org/irp/program/collect/d-21_an11a.jpg)

(http://www.fas.org/irp/program/collect/uav-002.jpg)

(http://www.fas.org/irp/program/collect/uav-003.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 16, 2005, 01:48:53 PM
DarkStar RQ-3A Lockheed Martin

(http://www.fas.org/irp/program/collect/darkstar_ec95-43271-5.jpg)

RQ-3A หรือ อีกชื่อหนึ่งว่า DarkStar ดาวมืด เป็นความร่วมมือของ บริษัทคู่แข่งในโครงการ JSF ระหว่า บริษัท Lockheed Martin กับ บริษัท Boeing เพื่อผลิต UAV ตรวจการณ์ระยะไกลเพดานบินสูง เพื่เข้าประจำการในกองทัพ สหรัฐ แต่พ่ายแพ้ต่อ UAV RQ-4 Global Hawk ของบริษัท Northrop Grumman Corp. ที่บินที่ไกลกว่า 3 เท่า โดยที่ DarkStar ปฎิบัติการบินได้ 8 ชั่วโมง ส่วน Global Hawk ปฎิบัติการได้ถึง 24 ชั่วโมง และ บรรทุกอุปกรณ์ ตรวจจับไปได้มากกว่า 2 เท่า

ช่องสัญญานของ Global Hawk ก็มีมากกว่า DarkStar เพราะมีพื้นที่ให้ติดอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้มากกว่านั่นเอง

สิ่งที่ DarkStar มีเหนือกว่า Global Hawk คือ บินได้สูงกว่า คือบินได้สูงกว่า 45,000 ฟุต หรือ 15 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน และ ตวจจับได้ยากกว่า เพราะ DarkStar ออกแบบให้ตรวจจับได้ยากด้วย เรด้า นั่นเอง


(http://www.fas.org/irp/program/collect/darkstar-980629-O-0000T-001.jpg)

(http://www.fas.org/irp/program/collect/darkstar_04.jpg)



หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 16, 2005, 11:43:52 PM
UAV ลำต่อไปเป็นของ นาวิกโยธิน อเมริกา ครับ
Dragon Eye


เป็น UAV ที่เล็กมาก เมื่อเทียบกับคน


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 16, 2005, 11:58:05 PM
Dragonfly Canard-Rotor-Wing UAV

เป็นเครื่องของ บริษัท Boeing อีกแล้วครับ

เครื่อง UAV ลำนี้น่าสนใจมากครับ คือ โรเตอร์ สามารถหยุดหมุน แล้วทำตัวเป็นปีกเพื่อบินในแนวราบด้วยความเร็วสูง

เครื่องยนต์ ของ Drogonfly จะหมุนโรเตอร์ เมื่อจะขึ้นหรือลงทางดิ่ง เหมือน ฮ. ทั่วไป แต่เมื่อบินได้ระดับแล้ว โรเตอร์ จะหยุดหมุน แล้ว เครื่องยนต์ ก็หยุดส่งแรงไปยัง โรเตอร์ แต่จะทำงานต่อโดยใช้ ไอเสียของเครื่อง เป็นแรงดันให้เครื่อง UAV บินไปข้างหน้า


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 17, 2005, 09:23:39 AM
Eagle Eye UAV
(http://www.fas.org/irp/program/collect/TRUSground1.jpg)

โดย Bell Helicopter และ Textron Incorporation (BHTI) เป็น UAV สาธิต เทคโนโลยี่ของ โครงการ จัดหาเครื่องบิน โรเตอร์กระดก หรือ V-22 Osprey เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

(http://www.fas.org/irp/program/collect/TRUSairmount.jpg)

(http://www.fas.org/irp/program/collect/TRUSrotor.jpg)

(http://www.fas.org/irp/program/collect/TRUSground.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/V-22_Howitzer_lift-off.jpg)

V-22 Osprey กำลังยก ปืนใหญ่ 105 มม.

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/V22_air_refuel.jpg)

V-22 Osprey กำลังเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: too_muangphol ที่ ตุลาคม 17, 2005, 11:14:23 AM
ขอให้ได้จริงๆ เถอะ...สาธุ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 17, 2005, 09:16:33 PM
UAV ที่น่าสนใจอีกตัว เป็น UAV ขนาดเล็กติดที่ใต้ปีก UAV ขนาดใหญ่แล้วไปปล่อยยังพื้นที่เป้าหมายอีกต่อ

NRL's Finder UAV: A Counterproliferation Asset

Finder เป็น UAV สำหรับตรวจหาสารเคมี หรือ แกสพิษ โดยจะบินเข้าไปยังพื้นที่ต้องสงสัย และ บินกลับออกมาพร้อมตัวอย่างอากาศ และ ข้อมูลจาก เซ็นเซอร์ ในตัวยาน

Finder จะเข้าพื้นที่เป้าหมายโดยการติดใว้ใต้ปีก Predator ซึ่งเป็น UAV ขนาดใหญ่ เมื่อปล่อยแล้ว ปีกหน้าที่ตั้งอยู่บนจุดหมุน จะหมุนปีกให้ตั้งฉากกับลำตัวเครื่องบิน และ ล๊อกใว้อย่างนั้น

ภาพแรกเป็น Finder ติดตั้งใต้ปีก Predator

ภาพที่ 2 เป็น Finder เมื่อกางปีกแล้ว

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ ตุลาคม 17, 2005, 11:46:18 PM
สิ่งที่สำคัญที่สุดของสงครามคือ คน ที่ใช้อาวุธ สำคัญกว่า อาวุธมาก สำคัญอันดับรองลงมาก็เป็น การประมวลผล(intelligence)การข่าวการวางแผน จะเห็นได้ว่า อาวุธหรือเทคโนโลยีนั้นความสำคัญในการสงครามนั้น มาเป็น อันดับสาม เห็นได้จากการสงครามที่ผ่านมาเช่นสงครามยิวอาหรับ  ย้อนไปในประวัติศาสตร์ไทยก็ สมเด็จพระนเรศวร พระเจ้าตาก พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งสงครามในอดีตนั้น กำลังรบเทคโนโลยีอาวุธ ยิว เป็นรองอาหรับอย่างมาก กำลังรบ ขนาดกองทัพอาวุธไทยก็เป็นรองพม่ามาก แต่ชนะได้ด้วย การวางแผนการจัดกองทัพ การข่าวมากกว่า ถ้าจะซื้อ ซู 27,35  หรือ กริพเพน ในความคิดเห็นของผมยังไม่สมควร เนื่องจากเครื่องตระกูลซู ออกแบบมา 20 กว่าปีแล้ว  upgrade ได้มากสุดแค่เครื่องบินขับไล่ยุค4 ไม่สามารถพัฒนาได้อีกแล้ว อีก 10 กว่าปีก็จะเป็นโบราณวัตถุในสนามรบ ส่วนเครื่อง ตระกูลกริพเพนนั้น ถึงแม้ตัวเครื่องจะสามารถ พัฒนาไปได้อีก แต่ระบบอาวุธก็ยังต้องพึ่ง อเมริกัน คิดหรือว่าซื้อเครื่องสวีเดนแล้ว american จะขาย aim120 amram ให้ ทางที่ดี ปรับปรุง ยุทธวิธีในการรบดีกว่า เช่น ซื้อเครื่อง awac เพื่อ จับเป้าได้ในระยะไกล แล้ว ส่งข้อมูลเป้าไปให้ f16 โจมตีเป้าหมาย โดยที่ นักบิน f16 ยังไม่รู้เลยว่าเครื่องที่ยิงตกหน้าตาเป็นยังไง แล้ว ในอนาคต ค่อยซื้อเครื่อง f35 หรือ เครื่องยุค5 จากค่าย รัสเซียก็ยังไม่สาย ประเทศเรายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขนข้าว เป็น ล้านตัน ไปแลกกับเครื่องบินไม่ถึง 10 ลำ ส่วนศัตรูทางใต้นั้น กล้าเอาหัวเป็นประกัน ว่า ให้อีก 100 ปี ก็ไม่กล้าก่อสงครามกับเรา เนื่อง จาก รบยังไงเราก็ชนะ  แล้วที่ชนะเราชนะด้วยความเป็นมนุษย์เผ่าพันธ์ไทย ในภูมิภาคนี้ นอกจากพม่าไม่ว่าอเมริกัน หรือรัสเซียไม่กล้าทำสงครามโดยตรงในป่าฝนแถบนี้หรอกครับ กองทัพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก อย่างกองทัพมองโกล ยังไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติของป่าฝนได้และความใจเด็ดของมนุษย์แถบนี้ เทคโนโลยีนั้น ถึงจะพัฒนาขนาดไหนก็ไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้ อีกอย่างน้อยก็หลายศตวรรษ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ ตุลาคม 18, 2005, 12:13:16 AM
ขอต่ออีกนิดเรื่อง ความใจเด็ด ของมนุษย์ชาติพันธ์ไทย และอีก 2-3 ชาติในดินแดนสุวรรณภูมินี้ สิ่งที่พวกมหาอำนาจ คอเคซอยย์ กลัวมากก็ คือ ความกล้า โดยไม่มีเหตุผลรองรับ หรือ เอาอะไรมาอธิบายได้นอกจาก กล้าโดยปราศจากความกลัวเราจะเคยได้ยินคำว่า สู้จนตัวตายถึงแม้จะรู้แพ้แต่เราก็ไม่เคยที่จะแพ้โดยอยู่เฉยๆรอความตาย หรือถูกควบคุม แม้แต่มุสลิมอาหรับที่ว่ากล้านักหนา เราจะไม่เคยได้ยินในประวัติศาสตร์ว่า มีชนชาติไหนวิ่งเข้าหากำแพงความตายทั้งกองทัพ เหมือน ที่เดียนเบียนฟู  แต่เราจะได้ยินการสังหารหมู่ที่นานกิง สังหารหมู่ ที่เอาชวิท ที่คนเป็นแสนเป็นล้าน เข้าแถวรอความตาย เราจะไม่มีวันเห็นสิ่งนี้เกิดกับชนชาติไทย มนุษย์ชาติอื่นถ้ารู้ว่าแพ้กองทัพก็จะแตกหนี แต่ถ้ามนุษย์เผ่าไทย ถ้าแตก ก็หมายถึงสลายหมดกองทัพ คือ ตายเกือบหมด แต่ก็สู้จนวาระสุดท้าย สิ่งนี้แหละที่ ชาติพันธ์อื่นไม่กล้าทำสงครามกับเราโดยตรง(แต่ตอนนี้เราทำสงครามสมมุติอยู่ คือสงครามเศรษฐกิจเทคโนโลยี)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 18, 2005, 10:47:55 AM
เอฟ – 35 บี STOVL เขี้ยวเล็บในอนาคตของกองทัพบินอังกฤษ (ต่อ)
…เครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อน เอฟ – 35 คือ เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน เจเอสเอฟ 119-6 ให้แรงขับสถิต 26,000 ปอนด์ (ไม่ใช้สันดาปท้าย) เมื่อเครื่องบิน เอฟ – 35 บี ใช้โหมดการบินเหมือนเครื่องบินทั่วไป (บินไปข้างหน้า) ให้แรงขับ 18,000 ปอนด์ ในการบินโหมด STOVL สำหรับท่อท้ายเครื่องยนต์หลัก ท้ายสุดสามารถปรับท่อท้ายให้ทำมุม 95 องศา ในแนวขวาง เพื่อเป่าก๊าซร้อนลงสู่พื้น โดยกระทำผ่าน 3 bearing duct และเป่าออกด้านข้าง เป็นมุม 12 องศา จากแกนกลางลำตัวทั้งด้านซ้ายและขวา  ชุดใบพัดยกตัวที่นำมาใช้ทำให้เกิดผลดีต่อโครงสร้างเครื่องบินและสภาวะแวดล้อมภายนอกหลายประการ ประการแรกชุดใบพัดยกตัวทำให้อุณหภูมิที่เครื่องยนต์ปล่อยออกมาลดลงได้ประมาณ 200 องศา เมื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิที่เครื่องยนต์ปล่อยผ่านก๊าซร้อนออกมาโดยตรงจากเครื่องยนต์ นอกจากนี้ยังลดความเร็วต้นของก๊าซร้อนที่พวยพุ่งออกมา เมื่อก๊าซที่ปล่อยออกมามีอุณหภูมิลดลงและความเร็วลดลงย่อมส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อมภายนอก และอากาศเย็นที่พวยพุ่งออกมาจากใบพัดยังเป็นการป้องกันอากาศที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจากเครื่องยนต์ซึ่งเป็นปัญหาที่พบกับเครื่องบินแบบฮาริเออร์ เพื่อเมื่ออากาศร้อนไหลเข้าไปทำให้ชุดคอมเพรสเซอร์ของเครื่องยนต์หยุดทำงานและสมรรถนะของเครื่องยนต์ลดลง และที่สำคัญระบบใบพัดยกตัวไม่ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ เจเอสเอฟ 119-611 ลดลง แต่อย่างใด
…นาวาตรี อาร์ท โทมาสเซททิ นักบินลองเครื่อง เอฟ – 35 บี ให้ความเห็นในการเปรียบเทียบระหว่าง ฮาริเออร์ กับ เอฟ – 35 บี ว่า ฮาริเออร์ นำคอมพิวเตอร์มาช่วยน้อยมากในการลดภาระงานของนักบิน เป็นการยากที่นักบินจะเรียนรู้และดำรงความชำนาญ แต่สำหรับ เอฟ – 35 บี มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยเป็นอย่างมากเพื่อลดภาระงานของนักบิน เป็นการง่ายที่นักบินจะเรียนรู้และดำรงความชำนาญได้เป็นเวลานาน นอกจากนี้ เอฟ – 35 ยังมีพิสัยบินไกลกว่า บรรทุกอาวุธได้มากกว่า และเป็นเครื่องบินที่มีคุณลักษณะในการตรวจจับได้ยาก (stealth)
…ทางด้านขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบ เอฟ – 35 บี ได้รับการปรับปรุงให้เพิ่มขีดความสามารถในการบรรทุกอาวุธได้เป็นน้ำหนักมากกว่าเดิมเป็น 2 เท่า จากเดิมที่กำหนด เจเอสเอฟ รุ่นใช้งานในนาวิกโยธินให้บรรทุกอาวุธในห้องบรรทุกอาวุธภายในลำตัวได้เพียง 1,000 ปอนด์ แต่เมื่อ เอฟ – 35 บี ประสบความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมระบบขับเคลื่อนใบพัดยกตัว (Innovative lift – fan propulsion system)  ทำให้สามารถเพิ่มน้ำหนักอาวุธได้เป็น 2,000 ปอนด์ (907 กิโลกรัม) รัศมีรบเมื่อไม่เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ 450 ไมล์ทะเล (918 กิโลเมตร) เอฟ – 35 ทุกรุ่นสามารถติดตั้งอาวุธใต้ปีกได้เพิ่มเติม ถ้าหากไม่จำเป็นต้องออกปฏิบัติการโจมตีเป้าหมายโดยให้เครื่องบินมีคุณลักษณะตรวจจับได้ยากเพราะการติดตั้งอาวุธหรือถังเชื้อเพลิงใต้ปีกจะทำให้เรดาร์สามารถตรวจพบได้ เอฟ – 35 บี สามารถนำกลับอาวุธและบริภัณฑ์กลับสู่ที่ตั้ง เป็นน้ำหนัก 5,000 ปอนด์ นั้นหมายถึงว่า ถ้าหากเครื่องบินถูกส่งออกไปปฏิบัติการโจมตีเป้าหมาย แต่ไม่สามารถใช้อาวุธต่อเป้าหมายด้วยเหตุผลประการใดก็ตาม สามารถนำอาวุธและเชื้อเพลิงกลับสู่เรือได้ เป็นน้ำหนักรวมไม่เกิน 5,000 ปอนด์ ซึ่งแต่เดิมนั้นกองทัพเรือสหรัฐฯ ประสบปัญหา ถ้าหากเครื่องบินรบ (อาทิเช่น เอฟ/เอ – 18) ที่ถูกส่งออกไปโจมตีเป้าหมายติดตั้งอาวุธเต็มที่ แต่ไม่ได้ใช้อาวุธไปแม้แต่ลูกเดียว เมื่อจะกลับลงสู่เรือจำเป็นต้องปลดอาวุธจำนวนหนึ่งทิ้งไป เพื่อความปลอดภัยในการแล่นลงจอดบนเรือ ซึ่งอาวุธบางแบบมีราคาแพงมากต้องถูกปลดทิ้งลงสู่ทะเลหรือพื้นที่เวิ้งว้างโดยเปล่าประโยชน์
…อาวุธที่จะนำมาติดตั้งใช้งาน เอฟ – 35 ได้แก่ ปืนใหญ่อากาศขนาด 27 มิลลิเมตร โดยเอฟ – 35 จะติดตั้งภายในลำตัว สำหรับ เอฟ – 35 บี และ เอฟ – 35 ติดตั้งในรูปกระเปาะภายนอกลำตัว อาวุธอื่นๆ ได้แก่ อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ พิสัยปานกลาง แบบเอไอเอ็ม – 12 แอมแรม และระเบิดเจแดม ขนาด 1,000 ปอนด์ และ 2,000 ปอนด์
…สำหรับ เอฟ – 35 บี ที่จะนำไปใช้งานทั้งในกองทัพอากาศและกองทัพเรืออังกฤษอาจจะได้รับการติดตั้งระบบอาวุธที่แตกต่างจากรุ่นที่ใช้งานอยู่ในกองทัพสหรัฐฯ โดยอังกฤษจะนำอาวุธที่ผลิตหรือจัดซื้อเองไปติดตั้งแทนระบบอาวุธจากสหรัฐฯ ในบทบาทการรบทางอากาศระบบอาวุธที่จะนำมาติดตั้ง ได้แก่ อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ พิสัยปานกลาง แบบเมทิเออร์ (Meteor) ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แรมเจต อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ พอสัยใกล้ แบบ แอสแรม (Advanced Short Range – Air – to – Air Missile : ASRAAM) ซึ่งสามารถติดตั้งภานในห้องบรรทุกอาวุธภายในลำตัวได้อาวุธปล่อยนำวิถี แอสแรม นำวิถีด้วยอินฟราเรด สามารถทำการลอคเป้าไว้หลังจากนักบินปล่อยอาวุธออกไปแล้ว ในบทบาทการรบทางอากาศ เอฟ – 35 บี ของกองทัพอังกฤษสามารถติดตั้งอาวุธปล่อย AIM – 120 แอมแรม และแอสแรม ได้ประเภท 2 นัด  สำหรับเอไอเอ็ม – 9 เอ็กซ์ สามารถติดตั้งได้เฉพาะตำบลติดอาวุธภายนอกลำตัวในบทบาทโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน กองทัพอังกฤษอาจจะเลือกติดตั้งระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ แบบ จีบียู – 12 เพฟเวย์ 4 (pave way 4) หรือซื้อระเบิด เจแดม และอาวุธปล่อย เจโชว จากสหรัฐฯ ถ้าหากไม่จำเป็นต้องออกปฏิบัติการโดยให้เครื่องบินมีคุณลักษณะตรวจจับได้ยากตำบลติดอาวุธใต้ปีกสามารถติดตั้ง อาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยทำการไกล แบบ สตอร์ม แชดโดว์ (Storm Shadow) ซึ่งมีระยะทำการไกล 600 กิโลเมตร สำหรับการโจมตีเป้าหมายระยะใกล้อาจจะพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถี เมทิเออร์ เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีทำลายเป้าหมายภาคพื้นและอาวุธปล่อยนำวิถี เบิร์มสโตน (Birmstone) นำวิถีด้วย millimeter wave สำหรับใช้โจมตีเป้าหมายภาคพื้นที่กำลังเคลื่อนที่ ซึ่งในปัจจุบันอาวุธปล่อยนำวิถี เบิร์มสโตน (ทัดเทียมกับอาวุธปล่อยนำวิถีเฮลไฟร์ของสหรัฐฯ) ติดตั้งใช้งานกับฮาริเออร์ จีอาร์ 7 และ จีอาร์ 9 ของกองทัพอากาศอังกฤษสำหรับใช้ทำลายเป้าหมายเคลื่อนที่ อาทิเช่น รถถัง และยานเกราะ
…เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งที่อังกฤษเลือก เอฟ – 35 บี รุ่น STOVL แทนที่จะเป็น เอฟ – 35 ซี รุ่น ซีวี นอกเหนือจากความคุ้นเคยและประสบการณ์กับเครื่องบินประเภทนี้จากเครื่องบินฮาริเออร์ แล้วการเลือก เอฟ – 35 บี ยังส่งผลดีต่อ อุตสาหกรรมการบินของอังกฤษอีกด้วย เนื่องจากระบบใบพัดยกตัว เป็นความรับผิดชอบของบริษัท โรลซ์รอยซ์ ที่ถูกดึงเข้าร่วมในโครงการ เอฟ – 35 บีด้วย
…สำหรับตัวเก็งลูกค้าต่างประเทศที่จะเลือก  เอฟ – 35 บี เป็นรายต่อไปต่อจากกองทัพอังกฤษคือ กองทัพอิตาลี ซึ่งเข้าร่วมในโครงการนี้ด้วยพร้อมทั้งจ่ายเงินสมทบโครงการ 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ มากเป็นอันดับสองต่อจากอังกฤษ โดยกองทัพอากาศและกองทัพเรืออิตาลีมีความต้องการเครื่องบินขับไล่/โจมตี เอฟ – 35 จำนวน 120 เครื่อง เพื่อนำไปใช้งานทดแทนเครื่องบินโจมตี เอเอ็ม เอ็กซ์ เครื่องบินขับไล่ ทอร์นาโต และเครื่องบินขับไล่ / โจมตี เอวี – 8 บี ของกองทัพเรือที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 18, 2005, 02:20:31 PM
โพสรูปตามบทความอีกตามเคย

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/missile/asraam-2.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/missile/asraam.jpg)

AIM-132 ASRAAM

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/missile/aim-9-dvic405.jpg)

AIM-9 Sidewinder


(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/smart/gbu-12s.jpg)

F-15 E Strik Eagle กำลังทิ้งระเบิด GBU-12 Paveway












หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 18, 2005, 02:43:57 PM
เครื่องบิน มิก ที่มีการกล่าวขานน้อยที่สุด ทั้ง ๆ ที่มีขีดความสามารถสูงที่สุดของเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นในยุคของมัน คือ เครื่องบิน Mig 31 Foxhound อาวุธที่ร้ายกาจที่สุดของ มิก 31 คือ เรด้า ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาเครื่องบินรบด้วยกัน และบินได้ด้วยความเร็ว เกือบ 3 มัค โดย สามารถสกัดเป้าหมายได้ถึง 24 เป้าหมาได้ในเวลาเดียวกัน
แต่จุดด้อยที่สุดของมันที่ไม่สามารถสู้เครื่องรุ่นอื่นได้ก็คงจะเป็นความคล่องตัวในการรบระยะประชิดครับเรดาร์จับเป้าได้ไกลยิงได้ก่อนก็จริงแต่หากถูกเข้าประชิดตัวแล้วกลายเป็นจิ้งจอกหมดแรงไป ;D ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 18, 2005, 04:00:08 PM
กำหนดการเข้าประจำการ เอฟ – 35 อาจต้องเลื่อนไป 2 ปี
…กองทัพอากาศสหรัฐฯ กำลังดำเนินการปรับแผนการงบประมาณใหญ่ โดยเฉพาะในส่วนของโครงการผลิตเครื่องบินขับไล่โจมตีร่วม เจเอสเอฟ (JOINT STRIKE FIGHTER, JSF) หรือ เอฟ – 35 (F-35) อาจจะต้องถูกขยายระยะเวลาของโครงการไปอีก 2 ปี หลังจากกลาโหมสหรัฐฯ เพนตากอนได้ให้กองทัพอากาศสหรัฐฯ ปรับงบประมาณทางด้านงบประมาณการพัฒนาใหม่ โดยสภาคองเกรสสหรัฐฯ หรือที่ชาวอเมริกัน เรียกกันว่า CAPITOL HILL และกลาโหมสหรัฐฯ ได้ให้กองทัพอากาศสหรัฐฯ ไปปรับแผนการงบประมาณ 6 ปีใหม่ ระหว่างปี ค.ศ.2004 ถึง ค.ศ. 2009 ลดลงอีก 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพราะยอดงบประมาณดังกล่าวนี้กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ตั้งงบประมาณเกินมา และเมื่อ 12 กันยายน 2545 ที่ผ่านมาแหล่งข่าวในกลาโหมสหรัฐฯ ได้กล่าวว่ากองทัพอากาศได้เสนอรายงานปรับแผนงบประมาณใหม่แล้ว โดยได้ลดงบประมาณพัฒนาของโครงการ เจเอสเอฟ (JSF) ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2004 ถึง ค.ศ. 2009 ลงหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการลดงบประมาณดังกล่าวลงจะทำให้การเริ่มต้นผลิต เจเอสเอฟ จะต้องเลื่อนออกไปจากปี ค.ศ. 2008 ไปเป็น ค.ศ. 2010 โดยงบประมาณของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ที่เกินไปนั้นเกิดมาจากสาเหตุที่จะต้องนำงบประมาณไปใช้ในโครงการประกันและดูแลสุขภาพของกำลังพล โครงการอวกาศที่ต้องเพิ่มเติมบางส่วน และลงทุนในโครงการลับที่มีความจำเป็นเร่งด่วน แต่อย่างไรก็ตามกลาโหมสหรัฐฯ ได้ส่งรายงานการปรับแผนงบประมารดังกล่าวกลับมายังกองทัพอากาศสหรัฐฯ ใหม่ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2545 ที่ผ่านมาเพื่อให้แก้ไขใหม่
…วันที่ 1 ตุลาคม 2545 ที่ผ่านมา นายเจมส์ โรเซ่ส์ รัฐมนตรีทบวงทหารอากาศสหรัฐฯ จะนัดประชุมนายทหารชั้นสูงของกองทัพอากาศสหรัฐฯ เพื่อทบทวนและปรับปรุงแผนการงบประมาณในภาพรวม เพื่อให้ทุกโครงการมีความเป็นไปได้และตามนโยบายกลาโหมสหรัฐฯ  ข้อสรุปวางแผนงบประมาณ 6 ปีของกองทัพอากาศสหรัฐฯ นี้จะมีผลต่อโครงการที่สำคัญและน่าสนใจอีกหลายโครงการนอกเหนือจากโครงการผลิตเครื่องบินขับไล่ เจเอสเอฟแล้ว ก็ยังมีโครงการผลิตเครื่องบินขับไล่โจมตีล่องหน เอฟ/เอ – 22 เป็นต้น  เครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ (MULTIROLE FIGHTER) ได้รับการออกแบบให้ใช้ประจำการ เครื่องบินแบบต่างๆ หลายแบบที่ประจำการอยู่ในกองทัพสหรัฐฯ และพันธมิตรมีถึง 3 แบบ สามารถประจำการแทนเครื่องบินขับไล่ในกองทัพอากาศทั่วโลก สามารถใช้ประจำการในเรือบรรทุกเครื่องบิน และสามารถใช้ประจำการกับกองกำลังที่ปฏิบัติการนอกประเทศ  กองทัพอากาศสหรัฐฯ กองทัพเรือสหรัฐฯ และนาวิกโยธินสหรัฐ วางแผนที่จะใช้งบประมาณถึง 250,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อผลิตเครื่องบิน เจเอสเอฟ จำนวน 2,800 เครื่อง และคาดว่า เจเอสเอฟ จะเป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นสุดท้ายของสหรัฐฯ ที่ใช้นักบินที่อยู่ในสายการผลิต หลังปี ค.ศ.2013
…สำหรับโครงการผลิตเครื่องบินขับไล่เจเอสเอฟ ในปัจจุบันมีชาติพันธมิตรร่วมกับสหรัฐฯ ทั้งหมดรวม 8 ชาติ ที่ร่วมกันดำเนินการในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา หรือที่เรียกกันเป็นทางการว่า ขั้นตอนการพัฒนาระบบและการสาธิต ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณ 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจากยอดงบประมาณจำนวนนี้ บริษัท ล็อกฮีดมาร์ติน ได้รับสัญญาในการดำเนินการเป็นเงิน 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อพัฒนาเครื่องบินเจเอสเอฟ ร่วมกับบริษัท นอร์ทรอปกรัมมัน และบริษัท บี เออี ซีสเทมส์  แหล่งข่าวจากกองทัพอากาศสหรัฐฯ กล่าวว่าการปรับแผนทางด้านงบประมาณของ เอเอสเอฟ ไม่มีข้อเกี่ยวข้องกับการปรับแผนการผลิตของเครื่องบินขับไล่ โจมตีล่องหน เอฟ/เอ – 22 ซึ่งกำลังได้รับการทบทวนจำนวนการผลิตจาก 295 เครื่อง เหลือ 180 เครื่อง  แต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนาทางด้านอากาศยานนั้น จะต้องมาจากงบประมาณพ้องกันประเทศของสหรัฐฯ จึงทำให้โครงการผลิตเครื่องบิน เจเอสเอฟ เอฟ/เอ – 22 และ เอฟ/เอ – 18 อี/เอฟ จะต้องเป็นคู่แข่งกันในความเป็นจริงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
…ผู้ร่วมลงทุนจากมิตรประเทศในโครงการ เอเอสเอฟ การร่วมลงทุนของมิตรประเทศของสหรัฐฯ ในโครงการผลิตเครื่องบินขับไล่โจมตีร่วม เจเอสเอฟ นั้น ได้แบ่งระดับการร่วมลงทุนเป็น 3 ระดับ ด้วยกัน โดยโครงการในขั้นตอนการพัฒนาระบบและการสาธิต จะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 24,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศใดจะได้รับการพิจารณาอยู่ในระดับไหนของการลงทุน ส่วนใหญ่จะขึ้นกับเงินงบประมาณที่ร่วมดำเนินการ
    ระดับ (LEVEL)   ประเทศ          ปีที่เข้าร่วม (ค.ศ.)     งบประมาณการลงทุน
1      อังกฤษ         2001       2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

2      อิตาลี         2002      1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
เนเธอร์แลนด์       2002      800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

3      ตุรกี         2002      175 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
แคนาดา         2002      150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เดนมาร์ก         2002      150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ออสเตเรีย       อยู่ระหว่างการยืนยัน   150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นอร์เวย์         2002      125 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

อยู่ระหว่างการ      สิงคโปร์         -      ประมาณ 50-70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เจรจาในรายละเอียด   อิสราเอล         -      ประมาณ 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ



ระดับที่ 1 โครงการจะอนุญาตให้อังกฤษ ส่งผู้แทนเข้าร่วมในขั้นตอนการพัฒนาได้ 10 คน
ระดับที่ 2 มี 2 ประเทศ คืออิตาลีและเนเธอร์แลนด์จะอนุญาตให้ส่วนผู้แทนเข้าร่วมทำงานในโครงการ ได้ 3-5 คน
ระดับที่ 3 มี 5 ประเทศ ในขณะนี้สามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมโครงการได้ประเทศละ 1 คน


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 18, 2005, 06:58:20 PM
เครื่องบิน มิก ที่มีการกล่าวขานน้อยที่สุด ทั้ง ๆ ที่มีขีดความสามารถสูงที่สุดของเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นในยุคของมัน คือ เครื่องบิน Mig 31 Foxhound อาวุธที่ร้ายกาจที่สุดของ มิก 31 คือ เรด้า ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาเครื่องบินรบด้วยกัน และบินได้ด้วยความเร็ว เกือบ 3 มัค โดย สามารถสกัดเป้าหมายได้ถึง 24 เป้าหมาได้ในเวลาเดียวกัน
แต่จุดด้อยที่สุดของมันที่ไม่สามารถสู้เครื่องรุ่นอื่นได้ก็คงจะเป็นความคล่องตัวในการรบระยะประชิดครับเรดาร์จับเป้าได้ไกลยิงได้ก่อนก็จริงแต่หากถูกเข้าประชิดตัวแล้วกลายเป็นจิ้งจอกหมดแรงไป ;D ;D

(http://www.fas.org/nuke/guide/russia/airdef/mig-31-foxhd_p4.jpg)

(http://www.fas.org/nuke/guide/russia/airdef/mig-31-DNST9202246_JPG.jpg)

(http://www.fas.org/nuke/guide/russia/airdef/ru_monino_aircraft_mig31_01.jpg)

MiG-31 FOXHOUND (MIKOYAN-GUREVICH)


ที่จริงแล้ว MiG-31 FOXHOUND ยังอยู่ในประจำการของทั้ง รัสเซีย และ จีน โดยที่ จีนได้ซื้อ มิก 31 ถึง 24 ลำเข้าประจำการ และ นำแบบไปผลิตใน จีน เองเมื่อปี 1992 นี้เอง และ คาดว่า จีนจะผลิตถึง 700 ลำเพื่อเข้าประจำการในกองทัพ




หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 18, 2005, 07:38:05 PM
โครงสร้างทางทหารของจีนไม่เหมือนชาติทาง ยุโรป หรือ อเมริกา ดังนั้นอาวุธ และ ระบบการจัดวางจึงแตกด่างออกไปด้วยเช่นกัน จีน ยังไม่มี ระบบบังคับบัญชาทางอากาศที่เป็นระบบ อย่างของ อเมริกา ทำให้จีนจำเป็นต้องสร้าง ระบบบังคับบัญชาการรบทางอากาศส่วนหน้าขึ้นมา ประเทศจีนเป็นประเทศใหญ่ มีพื้นที่มาก ทำให้ต้องมีระบบเตือนภัย และ บัญชาการที่ครอบคลุมพื้นที่มากตามไปด้วย โดยที่ว่า เรด้าของ มิก-31 มีประสิทธิภาพสูงดังนั้น จึงเหมาะแก่การเป็นศูนย์บัญชาการส่วนหน้า แทนที่เครื่องบิน AWACS ของอเมริกา และ เป็นเครื่องบินขับไล่ครองอากาศไปด้วยในตัว


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 19, 2005, 08:44:50 AM
Mig 31 มาเป็นชุด

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 19, 2005, 08:46:57 AM
คราวนี้ชุดใหญ่ครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 19, 2005, 08:50:29 AM
อีกชุดครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 19, 2005, 08:55:05 AM
ชุดใหญ่จริง ๆ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 19, 2005, 09:01:33 AM
ห้องนักบินผู้ช่วย หรือ พลอาวุธของ มิก-31 มีมุมมองที่แคบสุด ๆ เพราะ มองออกไปได้เพียงแค่ข้าง ๆ เฉียงไปข้างหน้านิด ๆ เอง ส่วนนักบินก็มองขึ้นไปข้างบนไม่ได้ มองไปด้านหลังต้องใช้กระจกมองหลัง เหมือนกับเครื่องบิน มิก-21 เลย

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 19, 2005, 09:04:17 AM
ภาพ โดด ๆ เพราะ ไฟล์ใหญ่เต็มพิกัด

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 19, 2005, 12:48:26 PM
การพัฒนาเครื่องบินลาดตระเวน ยู – 2
ประวัติความเป็นมา
…กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้กำหนดภารกิจของเครื่องบินลาดตระเวน ยู – 2 (U-2) เป็นเครื่องบินลาดตระเวนหาข่าวทุกกาลอากาศสามารถปฏิบัติการได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ที่ระยะความสูง สูงมากโดยรายงานผลการลาดตระเวนตรงยังหน่วยปฏิบัติการภาคพื้นของสหรัฐฯ และพันธมิตร และกองทัพอากาศสหรัฐฯ เป็นการหาข่าวทั้งในยามสงครามเพื่อเป็นข้อตกลงใจในการรบ รวมทั้งการหาข่าวในยามปกติเพื่อประเมินสถานการณ์ทางการทหาร  เครื่องบิน ยู-2 สามารถทำการบินได้ที่ความสูง 70,000 ฟุต ระยะทาง 3,000 ไมล์ บรรทุกอุปกรณ์กล้องถ่ายภาพได้หนัก 700 ปอนด์ เพื่อทำการบินลาดตระเวนหาข่าวเหนือประเทศโซเวียตและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก หน่วยสืบราชการลับสหรัฐฯ ซีไอเอ (CIA) ได้จัดซื้อไว้ 20 เครื่อง รวมจำนวน ยู-2 รวม 55 เครื่อง ประจำการเมื่อปี ค.ศ.1958 นักบินของหน่วยซีไอเอ นายฟรานซิส แกรี่ ได้บิน ยู-2 และถูกขีปนาวุธพื้นสู่อากาศยิงตก เหนือแผ่นดินโซเวียต เมื่อเดือนพฤษภาคม 1960 และเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ.1962 เครื่องบินลาดตระเวนยู-2 ได้ปฏิบัติภารกิจสำคัญ โดยการถ่ายภาพฐานยิงขีปนาวุธของประเทศโซเวียตในคิวบา
…เครื่องบิน ยู-2 อาร์ เริ่มบินครั้งแรกในปี ค.ศ.1967 โดยได้รับการพัฒนาให้ใหญ่ขึ้นและมีความสามารถเพิ่มขึ้น โดยมีขนาดใหญ่ขึ้นถึง 40 เปอร์เซ็นต์ มีความยาวปีก เพิ่มขึ้นจากเดิม 80 ฟุต เป็น 105 ฟุต มีระยะการบินเพิ่มขึ้น 2 เท่า และสามารถบรรทุกอุปกรณ์หาข่าวเพิ่มขึ้นได้อีกถึง 4 เท่า เครื่องบิน ยู-2 อาร์ ได้ผลิตขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1967 – 1968 จำนวน 12 เครื่อง โดยส่งมอบให้กองทัพอากาศในปี 1969 และในขณะนี้ยังประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯ อยู่ 4 เครื่อง
…ในปี ค.ศ. 1980 กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้จัดซื้อเครื่องบิน ยู-2 อาร์ เพิ่มเติมอีก 7 เครื่อง และรุ่น ทีอาร์-1 อีก 28 เครื่อง เครื่องบิน ยู-2 รุ่น ทีอาร์-1 มีโครงสร้างเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่มีภารกิจเพื่อการลาดตระเวนทางยุทธวิธีในทวีปยุโรปเพื่อการสนับสนุนกลุ่มประเทศนาโต้และด้วยขีดความสามารถในการถ่ายภาพ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนในทุกสภาพอากาศ และภาพมีความชัดเจนสูงทำให้สงคราอ่าว (GULF WAR) ระหว่างปี 1990-1991 หน่วยรบของสหรัฐฯ ได้ใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายนี้ ในการชี้เป้าและเป็นเป้าหมายทางอากาศถึง 90 เปอร์เซ็นต์  เครื่องบิน ยู-2 อาร์ ได้รับการพัฒนาในการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ ในช่วงปี ค.ศ.1994-1998 และได้รับนามเรียกขานใหม่เป็น ยู-2 เอส จนถึงปัจจุบัน เครื่องยนต์ใหม่เป็นของบริษัทเจเนอรัลอีเล็คทริกส์ รุ่น เอฟ-118-จีอี-101 ได้รับการติดตั้งเครื่องบิน ยู-2 ที่นั่งเดี่ยว จำนวน 37 เครื่อง เครื่องยนต์ รุ่น เอฟ-118 นี้มีน้ำหนักเบาลง 12 เปอร์เซ็นต์ (1,300 ปอนด์) เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์รุ่นเดิมคือ เครื่องยนต์แพรทแอนด์วิทนี่ รุ่น เจ-75-พี-13-บี นอกจากนี้เครื่องยนต์ใหม่ รุ่น เอฟ-118 ยังมีความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยกว่า 16 เปอร์เซ็นต์ ทำให้สามารถบินเดินทางไกลขึ้นอีก 1,200 ไมล์ทะเล และสามารถบินได้สูงเพิ่มขึ้นอีก 3,500 ฟุต และสามารถบรรทุกสิ่งของได้หนักขึ้นและมีค่าใช้จ่ายในการบิน (OPERATING COST) น้อยลง กองทัพอากาศเริ่มประจำการเครื่องบิน ยู-2 เอส เมื่อเดือนตุลาคม 1994
…การพัฒนาปรับปรุง เครื่องบิน ยู-2 เอส
…เครื่องบิน ยู-2 เอส ที่ได้รับการพัฒนาในอันดับแรกคือ การเปลี่ยนเครื่องยนต์ เป็นรุ่น เอฟ-118 แล้ว ในอันดับต่อไปเครื่องบิน ยู-2 เอส ได้รับการพัฒนาระบบพลังงานและการป้องกันการรบกวนคลื่นสัญญาณไฟฟ้าแม่เหล็ก (คลื่นวิทยุ) ซึ่งเริ่มต้นดำเนินการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 เมื่อยู-2 เอส เข้าซ่อมใหญ่ตามระยะเวลา โดยการเปลี่ยนเครื่องกำเนิดพลังงาน ให้มีพลังงานมากขึ้นและเปลี่ยนระบบสายไฟในเครื่อง จากลวดทองแดงทั่วๆ ไปให้เป็นไฟเบอร์-ออบติกส์ ซึ่งจะทำให้ลดการรบกวนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะระบบส่งสัญญาณ ซิกอินท์ การพัฒนาที่สำคัญ ค่อการพัฒนาภายในห้องนักบินให้เป็นระบบที่ทันสมัยหรือที่เรียกว่า GLASS COCKPIT ซึ่งพัฒนาโดย บริษัท ล็อคฮีด มาร์ติน เช่นเคย เริ่มในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1998 โดยมีชื่อเรียกว่าการพัฒนาตามโปรแกรมแรมป์ (RAMP : RECONNAISSANCE AVIONICS MAINTAINABILITY PROGRAM) คือการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศ หรือระบบเอวิโอนิกส์ให้ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการซ่อมบำรุง และอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปเป็นแบบดิจิตอลแทนระบบเดิม ซึ่งเป็นแบบ อนาลอค ซึ่งในห้องนักบินจะได้รับการปรับปรุงใหม่ ให้สามารถอ่านค่าต่างๆ ได้สะดวกขึ้น เพื่อลดภาระของนักบิน โดยจะมีจอภาพสีที่สามารถแสดงค่าต่างๆ ได้หลายอย่าง ขนาด 6 8 นิ้ว 3 จอภาพและมีจอแสดงระบบการบินสำรองเป็นอิสระอีก 1 จอด้วยระบบการออกแบบในห้องนักบินใหม่นี้ จะทำให้นักบินรู้สึกมีความสะดวกสบายในการอ่านค่าต่างๆ ตามหลักวิชา ระบบการเดินอากาศจะอยู่ทางด้านล่างขวาของนักบิน ส่วนระบบการติดต่อสื่อสารจะอยู่ทางด้านล่างซ้ายของนักบิน
…เครื่องบิน ยู-2 เอส ที่ได้รับการพัฒนาเครื่องแรกได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้ส่งมอบให้กองทัพอากาศสหรัฐฯ เมื่อ 15 เมษายน 2545  ที่ผ่านมา  การพัฒนาระบบเอวิโอนิกส์ และห้องนักบินใหม่ ตามโปรแกรม RAMP จะดำเนินการปีละ 6 เครื่อง โดยมีกำหนดที่จะดำเนินการพัฒนาเครื่องบิน ยู-2 เอส 31 เครื่อง และเครื่องบินฝึก ยู-2 สองที่นั่งอีก 4 เครื่อง เสร็จภายในปี ค.ศ. 2007 โดยมีราคาในการพัฒนาตามโปรแกรมนี้เครื่องละ 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
…การบินกับเครื่องบิน ยู-2 เอส
…การทำการบินกับเครื่องบิน ยู-2 เอส ตามปกติจะทำการบินที่ความสูงระหว่าง 75,000 ฟุต ถึง 80,000 ฟุต นักบินต้องสวมชุดควบคุมความดันของอากาศพร้อมหมวกและถุงมือหนาๆ เหมือนนักบินอวกาศ ภารกิจส่วนใหญ่จะบินอยู่ประมาณ 9 ชั่วโมง ยู-2 เอส มีถังเชื้อเพลิงขนาดใหญ่มาก สามารถบินได้นานกว่าความสามารถของนักบินที่จะอยู่ในอากาศได้  ยู-2 เอส เป็นเครื่องบินที่ได้ชื่อว่า บินลงสนามยากที่สุด เพราะเมื่อจะลงสนามบิน นักบินจะต้องทำความเร็วให้ใกล้เคียงความเร็วล่วงหล่น (STALL) และให้ล้อหลังแตะพื้นสนามบินก่อนและจะต้องระวังลมจากทิศด้านข้าง เพราะ ยู-2 เอส มีคุณสมบัติการร่อน (GLIDER) เพราะขนาดของปีก มันจึงเป็นงานที่หนักสำหรับนักบินที่ทำการบินมาอย่างเหน็ดเหนื่อยเป็นเวบาหลายชั่วโมงแล้ว
…จะใช้ ยู-2 เอสไปอีกนานสักเท่าใด
…ในปัจจุบันมีการกล่าวขานกันมากในกองทัพอากาศและกลาโหมสหรัฐฯ ว่า อากาศยานไร้นักบิน โกลบอล ฮอร์ก (GLOBAL HOWK UAV) จะมาปฏิบัติภารกิจแทนเครื่องบิน ยู-2 ในเร็ววันนี้ แต่หากจะพิจารณาจากความสามารถในการบรรทุกอุปกรณ์แล้ว อากาศยานไร้นักบิน โกบอล ฮอร์ก สามารถบรรทุกอุปกรณ์ได้น้ำหนักเพียง 2,000 ปอนด์ (มีแผนจะเพิ่มให้เป็น 3,000 ปอนด์ ในปี ค.ศ.2006) แต่สำหรับ ยู-2 แล้วสามารถบรรทุกได้ถึง 5,000 ปอนด์ จึงเป็นไปได้ยากที่อากาศยานไร้นักบิน โกบอล ฮอร์กจะมาแทนที่เครื่องบิน ยู-2 ได้ในเร็ววันนี้
คุณสมบัติของเครื่องบิน ยู-2 เอส
ภารกิจ      บินตรวจการณ์ที่ความสูง   สูงมาก
ผู้ผลิต      บริษัท ล็อกฮีด แอร์คราฟท์
เครื่องยนต์   เจนเนอรัลอีเอ็คตริกว์ เอฟ-118-101 (GE F – 118 – 101X
แรงขับ      17,000 ปอนด์ (7,650 กิโลกรัม)
ความยาว   68 ฟุต (19.2 เมตร)
ความสูง      16 ฟุต (4.8 เมตร)
ความกว้างปีก   103 ฟุต (30.9 เมตร)
ความเร็ว    475 + ไมล์ต่อชั่วโมง (มัค 0.58)
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด      40,000 ปอนด์ (18,000 กิโลกรัม)
ระยะบิน      ไกลกว่า 6,000 ไมล์
เพดานบิน   สูงกว่า 70,000 ฟุต (21,212 เมตร)
นักบิน      1 คน (2 คน ในรุ่น 2 ที่นั่ง)
การเข้าประจำการ      ยู – 2 สิงหาคม ค.ศ.1955
         ยู-2 อาร์  ค.ศ.1967
         ยู-2 เอส ตุลาคม ค.ศ.1994
จำนวนประจำการ      35 เครื่อง (ในจำนวนนี้มีเครื่องฝึก 2 ที่นั่งอยู่ 4 เครื่อง)
ฐานบินหลัก      กองบินลาดตระเวนที่ 9 ฐานทัพอากาศ เบล มลรัฐ แคลิฟอร์เนีย


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 19, 2005, 06:23:46 PM
SENIOR YEAR / AQUATONE / U-2 / TR-1



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 19, 2005, 06:32:54 PM
(http://www.geog.ucsb.edu/~jeff/115a/history/u2tr1bucsb.jpg)

http://www.geog.ucsb.edu/~jeff/115a/history/u2_powers.jpg
Francis Gary Powers ถ่ายรูปหน้า U-2 ที่ถูก โซเวียต ยิงตก

(http://www.geog.ucsb.edu/~jeff/115a/history/u2overthegoldengate2.jpg)

U-2 เหนือ อ่าว ซานฟรานซิสโก

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ ตุลาคม 19, 2005, 06:45:34 PM
 ;D U2 and SR71 at Wing4 Takhli Airforce Base ;D

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 19, 2005, 06:54:36 PM
Northrop Grumman Global Hawk RQ-4

เป็น UAV ขนาดใหญ่ ที่มีรัศมีปฎิบัติการถึง 3,000 ไมล์ หรือ ราว ๆ 5,000 กิโลเมตร และ ปฎิบัติการบนอากาศได้นานถึง 24 ชั่วโมง (ไม่มีการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศสำหรับ UAV )



(http://www.fas.org/irp/program/collect/tier_2_1.jpg)
 
ขนาดเปรียบเทียบกับคน

(http://www.fas.org/irp/program/collect/global-hawk-1st.jpg)

(http://www.fas.org/irp/program/collect/global-hawk-0630pred.jpg)

(http://www.fas.org/irp/program/collect/991973a.jpg)

(http://www.fas.org/irp/program/collect/991973b.jpg)

(http://www.fas.org/irp/program/collect/globalhawk-art2.jpg)

(http://www.fas.org/irp/program/collect/ghdsc00399.jpg)



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 20, 2005, 06:56:02 PM
General Atomic GNAT-750 Lofty View

GNAT-750 Lofty View เป็น UAV สอดแนมที่เข้าประจำการก่อน Predator ที่ใหญ่กว่า ขึ้นบินตั้งแต่ปี 1989 และ ปฎิบัติการให้ทั้งกองทัพ อเมริกา และ CIA ทั่วโลก


(http://www.fas.org/irp/program/collect/gnat-750-hires980014.jpg)

(http://www.fas.org/irp/program/collect/gnat-750-pl-00179.jpg)



หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: salt_kit ที่ ตุลาคม 21, 2005, 08:09:18 AM
น่าจะซื้อ C-17 มาไว้ใช้ขนส่งซักครึ่งฝูงนะ C-130 ก็เก่าแล้ว ขนของมากก็ไม่ได้ ดูอย่างซึนามึ ต้องไปหลายเที่ยว มี C-17 น่าจะประหยัดเวลากว่านะครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Iamshootinghere ที่ ตุลาคม 21, 2005, 10:03:07 AM
น่าจะซื้อ C-17 มาไว้ใช้ขนส่งซักครึ่งฝูงนะ C-130 ก็เก่าแล้ว ขนของมากก็ไม่ได้ ดูอย่างซึนามึ ต้องไปหลายเที่ยว มี C-17 น่าจะประหยัดเวลากว่านะครับ

C 130 ลง unpaved ได้ครับ ไม่แน่ใจว่า C 17 ทำได้รึเปล่า


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 21, 2005, 03:16:54 PM
อ้างถึง
C 130 ลง unpaved ได้ครับ ไม่แน่ใจว่า C 17 ทำได้รึเปล่า
อ้างถึง

ได้ครับ ภาพ มันฟ้อง

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17.jpg)

C-17 Globemaster III



C-17 Globemaster III เป็นเครื่องบินขนส่งขนาดกลาง ได้มาแทนที่ C-141B Starlifter(บรรทุกได้ 30 ตัน)  แต่บรรทุกได้มากกว่า 2 เท่า และมากกว่า C-130 Hercules(บรรทุกได้ 16ตัน) กว่า 4 เท่าครึ่ง

โดย C-17 Globemaster III บรรทุกได้ 170,900 pounds หรือ 76.64 ตัน






(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c17_1.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c17_2.jpg)

ที่เห็นปีกจาง ๆ ไม่ไช่ถ่ายไม่ชัด แต่เป็นมวลอากาศเหนือปีก

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-dfst9600217.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-98105trp.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-960104-F-8754M-003.jpg)

C-130 ทำอย่างนี้ไม่ได้ครับ

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-14.jpg)

ภาพเปรียบเทียบ C-17 ซ้าย 3 ลำ กับ C-141 ขวา 2 ลำ

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/20000112-f-2171a-005.jpg)

ฝูง C-17

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-cargo.jpg)

ภายในของ C-17

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c17-5.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-22.JPG)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-image6.jpg)



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 26, 2005, 12:33:33 PM
เฮลิคอปเตอร์ขนาดกลาง เอบี 139
…เอบี 139 เป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางแบบใหม่ของวงการอากาศยานปีกหมุน ได้รับการออกแบบมาสำหรับนำมาใช้งานทั้งในการทหารและกิจการพลเรือน  โดยเป็นผลผลิตจากความร่วมมือระหว่างบริษัทผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์ยักษ์ใหญ่สองบริษัท คือ บริษัท เบลล์ เฮลิคอปเตอร์ เทกซ์ทรอน ประเทศสหรัฐอเมริกา กับบริษัท อกุสต้า เวสท์แลนด์ ประเทศอิตาลี กลายเป็น เบลล์ อกุสต้า นอกจากโครงการเฮลิคอปเตอร์ เอบี 139 ทั้งสองบริษัทยังร่วมมือกันในการพัฒนา บีเอ 609 อากาศยานใบพัดกระดกใช้งานทางพลเรือนอีกด้วย นอกจากนี้โครงการเฮลิคอปเตอร์ เอบี 139 ยังมีบริษัทต่างชาติอีกหลายประเทศร่วมในการพัฒนา
…เบลล์ เป็นผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบตระกูล เบลล์ ยูเอช – 1 และเฮลิคอปเตอร์โจมตีตระกูล เอเอช – 1 คอบร้า ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแบบหนึ่งของโลกและนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางทั่วโลก ทำการผลิตขึ้นใช้งานตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนามเบลล์ได้ทำการพัฒนาและปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์ตระกูล ยูเอช – 1 และเฮลิคอปเตอร์โจมตี เอเอช – 1 สู่รุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาหลายรุ่น แต่ทางบริษัทไม่มีการพัฒนาแบบแผนเฮลิคอปเตอร์รุ่นใหม่ขึ้นมาต่อจาก เบลล์ ยูเอช – 1 ในขณะที่ในปัจจุบัน เบลล์ ยูเอช – 1 ที่มีประจำการอยู่ในกองทัพทั่วโลกเก่าและล้าสมัยลงไป กองทัพบก เรือ อากาศ หลายประเทศที่มีใช้งานได้จัดหาเฮลิคอปเตอร์แบบอื่นๆ มาทดแทน อาทิเช่น ยูเอช – 60 แบลคฮอว์ค ของสหรัฐฯ ซูเปอร์ พูม่า ของฝรั่งเศส และมิ – 17 จากรัสเซียซึ่งเฮลิคอปเตอร์ทั้งสามแบบมีขีดความสามารถและสมรรถนะทางการบินสูงกว่า เบลล์ ยูเอช – 1
…ทางด้าน บริษัท อกุสต้า ประเทศอิตาลี มีผลงานออกแบบและทำการผลิตเฮลิคอปเตอร์ ใช้งานทั่วไป แบบ เอ 109 เฮลิคอปเตอร์โจมตี เอ 129 แมงกุสด้า และร่วมทำการผลิตเฮลิคอปเตอร์ อีเอช 101 รวมทั้งผลิตเฮลิคอปเตอร์ตระกูล เบลล์ บางรุ่นภายใต้ลิขสิทธิ์ให้กับกองทัพอิตาลี  เบลล์ อกุสต้า ได้สร้างเครื่องต้นแบบ บีเอ 139 เพื่อใช้ในการทดสอบรวม  3 เครื่อง และได้ทำการทดสอบเมื่อปี พ.ศ. 2544 ที่ผ่านโดยเครื่องต้นแบบเครื่องแรกทำการบินทดสอบครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ เครื่องต้นแบบเครื่องที่สองทำการบินเมื่อเดือนมิถุนายน  และเครื่องต้นแบบเครื่องสุดท้ายทำการบินเมื่อเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน ขณะนี้การบินทดสอบยังคงดำเนินการอยู่ และคาดว่าจะได้รับการรับรองทางการบินในสิ้นปี เอบี 139 มียอดสั่งจองทั้งสิ้นรวม 50 เครื่อง แต่จำนวนการสั่งซื้อได้เพิ่มขึ้นเป็น 80 เครื่อง โดยลูกค้ารายล่าสุด คือ หน่วยยามฝั่งของสหรัฐฯ ได้สั่งซื้อ เอบี 139 จำนวนประมาณ 30 เครื่อง โดยบริษัทที่รับสัญญาจ้างจากสหรัฐฯ จะนำ เอบี 139 ไปติดตั้งอุปกรณ์ตามโครงการ Deep Water Program เพื่อนำไปใช้ในภารกิจค้นหาและกู้ภัยการขัดขวางทางทะเล การต่อต้านยาเสพติด และภารกิจอื่นๆ หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ จะนำ เอบี 139 ไปใช้งานทดแทนเฮลิคอปเตอร์ เอชเอช-60 เจฮอว์ค ที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
…แผนแบบของ เอบี 139 เป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลาง 2 เครื่องยนต์ ลำตัวยาว 16.65 เมตร สูง 4.95 เมตร น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 6 ตัน ขนาดของห้องโดยสาร ยาว 2.7 เมตร กว้าง 2 เมตร และสูง 1.42 เมตร ใช้ระบบฐานล้อแบบสามฐานสามารถทำการพับเก็บภายในลำตัวเมื่อทำการบินเพื่อลดแรดต้าน เป็นการเพิ่มความเร็วในการบิน ชุดพวงหางอยู่สูงเพื่อลดโอกาสอันตรายใบพัดหางฟันพื้นเมื่อลงจอดหรือบินขึ้น ติดตั้งระบบป้องกันโครงสร้างเสียหายเมื่อเกิดอุบัติเหตุตกลงสู่พื้นมีเสียงดังน้อยขณะทำการบินและมีความเร็วสูงสามารถทำาการเติมเชื้อเพลิงด้านข้างลำตัวทั้งสองข้าง  พลังขับเคลื่อนได้จากเครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์ พีที 6 ซี-67ซี จำนวน 2 เครื่อง เครื่องยนต์แต่ละเครื่องให้แรงขับต่อเนื่องสูงสุด 1,531 แรงม้า (1,142 kW) ส่งกำลังไปหมุนใบพัดประธาน 5 กลีบ และใบพัดหาง 4 กลีบ การทำงานของเครื่องยนต์ควบคุมด้วยระบบดิจิตอล FADEC (Full Authority Digital Engine Control) สมรรถนะทางการบิน สามารถทำความเร็วเดินทางต่อเนื่องสูงสุด 290 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พิสัยบินไกลสุด (ไม่มีเวลาบินสำรอง) 750 กิโลเมตร และบินได้นาน 3.9 ชั่วโมง 
…เอบี 139 มีเจ้าหน้าที่ประจำเครื่อง 2 คน ห้องนักบินเป็นระบบ Glass Cockpit อันทันสมัย แผงเครื่องวัดประกอบการบินติดตั้งจอภาพแสดงข้อมูลการบิน 3-4 จอ สถาปัตยกรรมระบบ (system architecture) ติดตั้งระบบอวิโอนิกส์ Modular Avionics Unit ซึ่งมีระบบประมวลผลการทำงานของระบบต่างๆ เอาไว้ภายในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีพลังสูงสามารถนำไปใช้งานในระบบต่างๆ ได้อย่างมากมาย ติดตั้งระบบควบคุมอัตโนมัติ 4 แกน
…เอบี 139 ได้รับการออกแบบและสร้างมาสำหรับตอบสนองการใช้งานเป็นเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ ทั้งในกิจการทหารและพลเรือน การนำมาใช้งานในกิจการพลเรือน ประกอบด้วยการขนส่งผู้โดยสาร การใช้งานทั่วไปและการสนับสนุนแท่นขุดเจาะน้ำมัน และบทบาทอื่นๆ ได้แก่ การค้นหาและกู้ภัย การบรรทุกสินค้าและการดับไฟ ห้องโดยสารของ เอบี 139 สามารถจัดวางเก้าอี้สำหรับผู้โดยสารได้ 15 ที่นั่ง หรือสัมภาระหนัก 2,500 กิโลกรัม หรือสัมภาระหนัก 2,700 กิโลกรัม ถ้าหากบรรทุกภายนอกโดยการหิ้ว
…ในภารกิจค้นหาและกู้ภัย เอบี 139 จะได้รับการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเพื่อใช้ในการค้นหาและเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติได้ทั้งกลางวันและกลางคืน คืออุปกรณ์อินฟราเรดติดตั้งใต้จมูกในภารกิจค้นหาและกู้ภัย เอบี 139 ซึ่งสามารถปฏิบัติการได้ทั้งฐานบินบนบกและบนเรือผิวน้ำ มีรัศมีค้นหาผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออยู่ห่างไกลออกไป 50 ไมล์ทะเล เฮลิคอปเตอร์ใช้เวลาเดินทางจากฐานบินไปยังพื้นที่ค้นหาใช้เวลา 20 นาที มีเวลาทำการบินค้นหาเหนือบริเวณพื้นที่ได้นาน 3 ชั่วโมง ช่วยชีวิตคนได้ 6 คน โดยใช้เวลานานในการปฏิบัติการค้นหา 45 นาที (คนรอดชีวิตอาจจะอยู่ ณ จุดห่างกันเวลาบินสำรอง 30 นาที)
…บทบาททางทหาร เอบี 139 สามารถบรรทุกทหารไปได้ 15 คน หรือลำเลียงผู้ป่วย 6 เตียง พร้อมผู้ดูแล 4 คน มีคานสำหรับติดอาวุธที่สามารถถอดออกได้ โดยสามารถติดตั้งกระเปาะปืนกลอากาศ กระเปาะจรวด และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ
…เอบี 139 จะประสบความสำเร็จเหมือนกับ ยูเอช – 1 ฮิวอี้หรือไม่ต้องดูกันต่อไป แต่ต้องพบกับเฮลิคอปเตอร์คู่แข่งขันกับเฮลิคอปเตอร์ขนาดเดียวกันมากมายหลายแบบทั้ง ยูเอช – 60 แบลคฮอว์ค ซูเปอร์ พูม่า มิ – 17 และใหม่ล่าสุดคือ เอ็นเอช – 90   ;) ;)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: hanaga ที่ ตุลาคม 26, 2005, 02:35:45 PM
ผมอยากจะทราบเรื่องรถถังบ้างได้ไหมครับพี่ เช่น m60, stingray, scorpion หรือปืนใหญ่ ของ ทบ.ไทย  :VOV:


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 30, 2005, 04:38:16 PM
(http://www.olive-drab.com/images/id_scorpion_full.jpg)

 scorpion



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 30, 2005, 04:50:12 PM
stingray มีแต่ภาพเล็ก ๆ ครับ

M-60
(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m-60a1-dvic349.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m60-112.jpg)



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ ตุลาคม 30, 2005, 05:49:18 PM
(http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?action=dlattach;topic=6584.0;id=28092;image)
 ;D เพราะไอ้ท่านี้แหละ มันถึงได้ร้าว ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Nakin ที่ ตุลาคม 30, 2005, 10:33:58 PM
                                   
                                       ส่วนคันนี้  M - 48 A 5   Royal  Thai  Army .......

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Nakin ที่ ตุลาคม 31, 2005, 12:51:18 AM
                 คันนี้ก็คือ  M - 60 A 3  ของ  Royal  Thai  Army  ครับ ......  ( ดูรูป )     :)

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ ตุลาคม 31, 2005, 04:13:49 AM
 :DD M60 ไม่ใช่อันนี้หรอครับ :DD
(http://world.guns.ru/machine/m60.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 31, 2005, 10:10:50 AM
รถถังหลัก รุ่นใหม่ทุกรุ่นจะไม่มีป้อมปืนเล็กเหนือป้อมปืนใหญ่อย่า M60 อีกแล้วครับ แต่จะมี อุปกรณ์ค้นหาเป้าหมายมาแทน

ภาพแรก Leclerc (ลาแคล) ของ ฝรั่งเศษ

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/row/leclerc1.jpg)


ภาพล่าง M1 ของ อเมริกา

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m1a1-ftvw.jpg)


ภาพล่าง Leopard 2 (ลีโอพาด) ของ เยอรมัน


(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/row/leopard-2a4-kl5.jpg)


ภาพล่าง Challenger 2 ของ อังกฤษ


(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/row/chal2-1.jpg)


ภาพล่า T-90 จาก รัสเซีย

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/row/t-90_d01f2.jpg)







หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 31, 2005, 12:38:33 PM
M1 Abrams (เอบรัมส์) ของ อเมริกา เป็นรถถังยุคหลังเพียงไม่กี่รุ่นที่ได้ออกสงครามจริง (ยิงกระสุนจริงใส่รถถังข้าศึกจริง)

ข้อเสียของรุ่นนี้คือ กินน้ำมันมาก 1 ลิตร วิ่งได้ไม่ถึง 100 เมตร ทำให้ต้องใช้หน่วยส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่

(http://www.globalsecurity.org/military/systems/ground/images/m1-951231-F-8381L-003.jpg)

(http://www.globalsecurity.org/military/systems/ground/images/m1.jpg)

(http://www.globalsecurity.org/military/systems/ground/images/m1-tank-running-left.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 31, 2005, 01:28:34 PM
เรื่องรถถังนี่ไม่ค่อยสันทัดเท่าไหร่ต้องให้พี่ๆช่วยตอบแล้วครับ ;D ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 03, 2005, 03:15:57 PM
เอ็กซ์-45 อากาศยานโจมตีไร้นักบิน แบบแรกของโลก
…หลังจากประสบความสำเร็จในการบินทดสอบเครื่องบินสาธิตทางเทคโนโลยี (Technology Demonstrator) เครื่องแรกเมื่อ 22 พฤษภาคม 2545 บริษัท โบอิ้ง ได้เดินหน้าทำการพัฒนา เอ็กซ์-45 อากาศยานไร้นักบินแบบแรกของโลกต่อไป ขณะเดียวกันกองทัพสหรัฐฯ ได้เริ่มวางแผนและแนวความคิดว่าจะนำ เอ็กซ์-45 ไปใช้ปฏิบัติภารกิจทางทหารอะไรบ้าง  ในการทดสอบการบินครั้งแรกเครื่องบินสาธิตทางเทคโนโลยีเอ็กซ์-45 เอ ซึ่งมีขนาดย่อส่วนมาจากเครื่องบินจริง โดยมีความยาวของลำตัว 26.3 ฟุต กว้าง 33.8 ฟุต ทำการบินเป็นเวลานาน 14 นาที บินได้สูง 7,500 ฟุต และทำความเร็วได้ 195 นอต แต่สำหรับเครื่องบิน เอ็กซ์-45 บี ของจริงที่จะทำการผลิตและนำมาใข้งานจะมีขนาดใกล้เคียงกับเครื่องบินขับไล่/โจมตี เอฟ-35 แต่ห้องบรรทุกอาวุธมีขนาดเท่ากัน สามารถติดตั้งใช้งานอาวุธชนิดเดียวกัน รัศมีการรบเท่ากัน
…สำนักงานวิจัยและพัฒนา  กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือ ดาร์พา (Defense Advance Research Projects Agency : DARPA)  ได้วางวัตถุประสงค์การสาธิตความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโครงการอากาศยานโจมตีไร้นักบินไว้ว่าเพื่อหาความเป็นไปได้ทางเทคนิค  ประโยชน์และคุณค่าในการปฏิบัติการทางการทหาร อากาศยานโจมตีไร้นักบินสามารถนำมาใช้ปฏิบัติภารกิจในการกดดันระบบป้องกันทางอากาศข้าศึก (Suppression Enemy Air Defense : SEAD) และโจมตีเป้าหมายที่คุณค่าสำคัญทางทหารด้วยอาวุธโจมตีภาคพื้นดิน
…โครงการอากาศยานโจมตีไร้นักบิน (Unmanned Combat Air Vehicle : UCAV) เป็นโครงการทั้งของกองทัพอากาศและกองทัพเรือสหรัฐฯ แต่ทั้งสองเหล่าทัพจะนำมาใช้ในภารกิจแตกต่างกัน โดยกองทัพเรือจะนำมาปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบิน อากาศยานไร้นักบินของกองทัพเรือจะมีขนาดใหญ่กว่ารุ่นที่มีใช้งานในกองทัพอากาศบินได้นานกว่า กองทัพเรือจะนำมาใช้งานในภารกิจหลักลาดตระเวนทางอากาศเหนือพื้นที่ที่มีการสู้รบอย่างหนัก สามารถบินปฏิบัติภารกิจได้เป็นเวลายาวนานกว่า 12 ชั่วโมง โดยมีภารกิจรองเป็นภารกิจบินกดดันระบบ ป้องกันทางอากาศข้าศึกสามารถปฏิบัติการบินขึ้นและลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ขณะอยู่บนเรือบรรทุกเครื่องบินอากาศยานไร้นักบินจะถูกเก็บไว้และจะนำออกมาใช้งานในบางภารกิจเท่านั้น
…ในส่วนของกองทัพอากาศยานไร้นักบินจะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจ ที่มีอันตรายและเสี่ยงต่อการสูญเสียโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้ทดแทนเครื่องบินที่ใช้ นักบินควบคุมในปัจจุบัน กองทัพอากาศได้เร่งพัฒนา โครงการอากาศยานโจมตีไร้นักบินให้เร็วขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 โดยมีเป้าหมายว่าจะให้มีเครื่องบินพร้อมใช้งาน 1 ฝูงบิน ในปี ค.ศ. 2008
…เมื่อเริ่มต้นโครงการ เอ็กซ์-45 มีเป้าหมายในการผลิตขึ้นใช้งานไว้ว่าต้องมีราคาเพียงครึ่งหนึ่งและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการเพียง 25%  ตลอดอายุการใช้งานเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 แต่ต่อมาภายหลังได้มีการเปลี่ยนวัสดุชนิดใหม่มาใช้ในการสร้างและระบบประมวลผลแบบใหม่มาติดตั้งใช้งาน  และอากาศยานมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ราคาและค่าใช้จ่ายในการบินและการซ่อมบำรุงของ เอ็กซ์-45 ขยับสูงขึ้นเป็น 65% ของราคาและ 75% ทางด้านค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการบินและซ่อมบำรุงเมื่อเทียบกับเครื่องบินรบในยุคเป้าหมาย
…แผนแบบอากาศยานโจมตีไร้นักบิน เอ็กซ์-45 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ลำตัวยาว 32 ฟุต ปีกกาง 47 ฟุต น้ำหนักตัวเปล่า 14,000 ปอนด์ น้ำหนักสูงสุด 19,000 ปอนด์ ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ไอพ่นเทอร์โบแฟน เอส 404 – จีอี – 102 ดี ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ชนิดเดียวกันที่ใช้ขับเคลื่อนของบิน เอฟ/เอ –18 กองทัพเรือสหรัฐฯ สมรรถนะทางการบินทำความเร็วในการบินเดินทางได้ 0.85 มัค หรือเกือบเท่าความเร็วเสียงเพดานบินสูง 40,000 แผนแบบ เอ็กซ์-45 มีคุณลักษณะสังเกตเห็นได้ยาก รูปร่างคล้ายว่าว ไม่มีแพนหางดิ่งใต้ลำตัวมีห้องบรรทุกอาวุธ 2 ห้อง และจะได้รับการติดตั้งอุปกรณ์เซนเซอร์ เพื่อใช้ในการรับเป้าหมาย 2 ระบบ ระบบแรก คือ ระบบ อีเอสเอ็ม (Electronic Support Measure)  เป็นอุปกรณ์สำหรับตรวจจับคลื่นสัญญาณเรดาร์ที่ปล่อยออกมาเพื่อคำนวณระยะที่ตั้งของที่ตั้งเรดาร์ ระบบที่สอง คือ เรดาร์ซาร์ (Synthetic Aperture Rader : SAR) เพื่อใช้ตรวจจับและค้นหาเป้าหมายภาคพื้นด้วยความละเอียดชัดเจนสูง สามารถตรวจจับและค้นหาเป้าหมายภาคพื้นแม้ในสภาพอากาศเลวตามแนวควมคิดในการปฏิบัติของกองทัพอากาศสหรัฐฯ จะนำอากาศยานไร้นักบินออกปฏิบัติภารกิจเป็นหมู่นักบิน 3-4 เครื่อง โดยใช้ผู้ควบคุมคนเดียวในสถานีภาคพื้นดิน  ก่อนออกปฏิบัติภารกิจ เอ็กซ์-45 จะได้รับการบันทึกข้อมูลเป้าหมายที่จะต้องทำการโจมตีไว้ล่วงหน้าในการค้นหาและไล่ล่าเป้าหมาย  อากาศยานไร้นักบินในหมู่บินจะใช้เรดาร์ประสานการปฏิบัติ เพื่อใช้กำหนดตำแหน่งเรดาร์ป้องกันภัยทางอากาศเป็นรูปสามเหลี่ยมและเชื่อมสัญญาณติดต่อสื่อสารระหว่างกัน  จากนั้นอากาศยานไร้นักบินจะส่งภาพเป้าหมายจากการทำงานของเรดาร์ซาร์กลับมายังสถานีภาคพื้นดิน เพื่อทำการพิสูจน์ทราบเป้าหมายก่อนที่ผู้บัญชาการจะอนุมัติให้อากาศยานไร้นักบินโจมตีต่อไป
…อากาศยานไร้นักบินของกองทัพอากาศจะมีรัศมีปฏิบัติการไกล 500-1,000 ไมล์ทะเล ออกแบบมาเพื่อให้สามารถบรรทุกอาวุธได้หนักสูงสุด 2,000 ปอนด์ ระบบอาวุธที่จะนำมาติดตั้งใช้งาน ประกอบด้วยระเบิดเจแดมขนาด 500 ปอนด์ 4 ลูก หรือระเบิด เจแดม ขนาด 1,000 ปอนด์ 2 ลูก หรือระเบิดขนาดเล็ก (Small Diameter Bomb)  ขนาด 250 ปอนด์ จำนวน 12 ลูก ถ้าหากบรรทุกอาวุธไม่มากนัก หรือปฏิบัติภารกิจในรัศมีใกล้ให้อากาศยานไร้นักบินจะมีเวลาบินรอคอยเหนือพื้นที่ข้าศึกเป็นเวลายาวนานขึ้น  กองทัพอากาศจะไม่นำอากาศยานไร้นักบินออกปฏิบัติในหมู่บินเดียวกันกับเครื่องบินรบ  ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย  เพื่อหลีกเลี่ยงการชนกัน  อากาศยานไร้นักบินจะบินอยู่ห่างจากเครื่องบินรบหลายไมล์ และอากาศยานไร้นักบินแต่ละเครื่องในหมู่บินก็จะบินห่างกันมากในการออกปฏิบัติภารกิจอากาศยานไร้นักบินจะเป็นหมู่นำหน้าเครื่องบินรบเพื่อปฏิบัติภารกิจกดดันระบบป้องกันทางอากาศของข้าศึก  เพื่อให้หมู่บินเครื่องบินรบปลอดภัยจากการต่อต้านจากอาวุธต่อสู้อากาศยานข้าศึก
…เมื่ออากาศยานกลับมาจากการปฏิบัติภารกิจจะถูกถอดปีกออกเพื่อบรรจุเข้าตู้คอนเทรนเนอร์ขนย้ายไปปฏิบัติภารกิจที่อื่นโดยการขนส่งไปโดยเครื่องบินลำเลียง ซี-17 หรือ ซี-5  โดย ซี-17 เครื่อง สามารถบรรทุกตู้คอนเทรนเนอร์บรรจุชิ้นส่วนของ เอ็กซ์ – 45 บี  ไปได้ 6 เครื่อง  หรือเตรียมสำหรับปฏิบัติการบินครั้งต่อไป เอ็กซ์ – 45 สามารถเก็บไว้ในตู่คอนเทรนเนอร์ไว้นานถึง 10 ปีถ้าหารกไม่มีการนำออกมาใช้งาน  แต่ต้องได้รับการตรวจซ่อมและปรับปรุงซอฟท์แวร์ตามระยะเวลา  เมื่อจะนำออกมาใช้งานจะใช้เวลาในการประกอบเครื่อง การเตรียมการบิน  เติมเชื้อเพลิง  และติดตั้งอาวุธ  60-90  นาที
…เอ็กซ์-45 ดูเหมือนว่าจะเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดไร้นักบินมากกว่า  กองทัพอากาศสหรัฐฯ สามารถปฏิบัติการจากฐานทัพอากาศเพื่อเพิ่มพิสัยปฏิบัติการเมื่อทำการโจมตีเป้าหมายเสร็จสิ้น  บินกลับมาลงยังสนามบินหน้าที่อยู่ใกล้พื้นที่ปฏิบัติการเพื่อเติมเชื้อเพลิงและติดตั้งอาวุธใหม่เพื่อปฏิบัติภารกิจครั้งต่อไป  สำหรับการผลิต เอ็กซ์-45 ขึ้นใช้งานมีการวางแผนจะทำการผลติ จำนวน 3 บลอคการผลิต บลอคแรก คือ บลอค 10 ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่จะสร้างขึ้นมาใช้งานอย่างง่ายๆ สำหรับปฏิบัติภารกิจกดดันระบบป้องกันทางอากาศข้าศึก  เอ็กซ์ – 45 บลอค 10 สามารถบรรทุกระเบิด เอสดีบี ขนาด 250 ปอนด์ ได้จำนวน 12 ลูก เท่ากับเครื่องบินขับไล่ เอฟ – 35 ถ้าหากไม่ติดตั้งอาวุธห้องบรรทุกอาวุธภายในลำตัวและสามารถติดตั้งถังเชื้อเพลิงภายนอกลำตัวได้อีกด้วย
…เอ็กซ์-45 บลอค 20 เป็นรุ่นที่สองที่จะได้รับการผลิตขึ้นมาต่อจาก บลอค 10 เอ็กซ์-45 บลอค 20 สามารถปฏิบัติารเชิงรุกในการปฏิบัติภารกิจกดดันระบบป้องกันทางอากาศข้าศึก  โดยการบินวนเหนือพื้นที่การรบและสามารถตรวจจับภัยคุกคามจากระบบป้องกันทางอากาศที่ทันสมัย  และทำการโจมตีโดยอัตโนมัติ
…เอ็กซ์-45 บลอค 30 เป็นรุ่นสุดท้ายที่วางแผนจะทำการผลิต รุ่นนี้จะมีระบบอาวุธที่ก้าวหน้ามากโดยเปลี่ยนจากระเบิดมาเป็นอาวุธลำแสงที่มีพลังสูงซึ่งกองทัพอากาศสหรัฐฯ กำลังศึกษาอยู่ว่าจะใช้แบบใดระหว่างคลื่นไมโครเวฟ หรือเลเซอร์ อาวุธลำแสงพลังสูงสามารถใช้ทำลายเป้าหมายระบบป้องกันทางอากาศข้าศึก  และทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหายจนใช้งานไม่ได้  เช่น  อุปกรณ์สื่อสารของศูนย์ควบคุมและสั่งการ
…บริษัท โบอิ้ง ทำการสร้างเครื่องต้นแบบสาธิตทางเทคโนโลยี เอ็กซ์-45 เอ จำนวน 2 เครื่อง ขณะนี้เครื่องที่สองสร้างเสร็จแล้วเตรียมนำมาทำการบินทดสอบร่วมกับเครื่องต้นแบบเครื่องแรกในปีหน้า สำหรับเครื่องสาธิตทางเทคโนโลยี เอ็กซ์ – 45 บี ซึ่งจะมีขนาดใหญ่เท่ากับของจริง กำหนดจะสร้างเสร็จและทำการบินทดสอบในปี 2005  เมื่อ  7  สิงหาคมที่ผ่านมากองทัพอากาศได้จัดสรรงบประมาณให้กับบริษัท  โบอิ้ง  จำนวน 460 ล้านเหรัยญสหรัฐ เพื่อดำเนินงานตามโครงการต่อไปจนสิ้นสุดปี 2004 ซึ่งแผนงานประกอบด้วยงานทดสอบเครื่องต้นแบบ เอ็กซ์ – 45 เอ 2 เครื่อง และสถานีควบคุมภาคพื้น ซึ่งทางบริษัทโบอิ้งได้นำงบประมาณที่ได้เกือบทั้งหมด ประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปทำการพัฒนาอากาศยานไร้นักบินแบบใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่า  เอ็กซ์-45 บี มีคุณลักษณะตรวจจับได้ยากได้ดีกว่า  และมีความทันสมัยมากกว่าซึ่งอากาศยานไร้นักบินแบบใหม่นี้จะมีขนาดเท่ากับเครื่องบินขับไล่ เอฟ – 18 มีน้ำหนักเปล่า 10,000 ปอนด์ น้ำหนักสูงสุด 19,000 ปอนด์ และบรรทุกอาวุธได้หนัก 3,600 ปอนด์
…รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เร่งโครงการอากาศยานโจมตีไร้นักบินให้เร็วขึ้นกว่ากำหนด 2 ปี โดยได้จัดสรรงบประมาณ 2003 ให้กับโครงการอากาศยานไร้นักบิน โดยตั้งเป้าไว้ว่าในปี ค.ศ.2008 จะมีเอ็กซ์-45 บี จำนวน 18 เครื่อง พร้อมใช้งาน และตั้งเป้าหมายว่าจะจัดหาอากาศยานที่ทำการผลิตใน บลอค 10 มาใช้งานทั้งหมดรวม 60 เครื่อง

เปรียบเทียบข้อมูล เอ็กซ์ – 45 เอ และ เอ็กซ์ – 45 บี

            เอ็กซ์-45 เอ      เอ็กซ์-45 บี
น้ำหนักตัวเปล่า (ปอนด์)         8,000         14,000
บรรทุกเชื้อเพลิง (ปอนด์)         2,680         5,400
บรรทุกอาวุธหรือบริภัณฑ์อื่นๆ ได้หนัก (ปอนด์)      1,500         2,000
เพดานบินปฏิบัติการ         35,000         40,000
ความเร็วในการบินเดินทาง (มัค)         0.80         0.85
เครื่องยนต์            เอฟ 124-จีเอ-100      เอฟ 404-จีอี-102 ดี


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 03, 2005, 03:48:07 PM
เอา ภาพมาประกอบบทความอีกตามเคยครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 03, 2005, 03:50:51 PM
นักบิน เครื่องบินรบ คงเป็นอดีตในไม่ช้า :~) :~) :~)

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 03, 2005, 05:22:50 PM
สงครามทางอากาศ ในอนาคต คงเป็นการทำสงครามที่นักบินไม่มีโอกาศเห็นนักบินฝ่ายตรงข้าม คงเป็นสงครามที่ต่างฝ่าย ส่งหุ่นยนต์มารบกัน ฝ่ายใหนมีเทคโนโลยี่ที่เหนือกว่า ก็เป็นฝ่ายชนะ >:( >:( >:(


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 06, 2005, 12:39:28 AM
UAV ที่น่าสนใจอีกแบบคือ เครื่อง Pathfinder เพราะ เป็นเครื่องบินไรคนขับแบบแรกที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณอีเล็กทรอนิก เฉพาะจุด โดยเครื่องสามารถบินได้เป็นเวลานาน โดยไม่จำเป็นต้องเติมเชื้อเพลิง เพราะ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์นั่นเอง



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: pira ที่ พฤศจิกายน 06, 2005, 02:53:37 PM
ขอบขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ, ภาพประกอบสวยงาม, ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับท่าน hydra, ท่าน 686, naimai, ท่าน nakin  และท่านอื่นๆ ที่
ไม่ได้เอ่ยนาม       ขออนุญาตเซพภาพอันสวยงามเก็บไว้  ขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่งสำหรับ
ความปราถาดีของทุกท่าน :D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 07, 2005, 04:10:07 PM
วันนี้จะมาเล่าเรื่อง…..……การพัฒนาการขนส่งทางอากาศของสหรัฐฯ
…เป็นเวลานานเกือบ 2 ทศวรรษแล้ว  ที่กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้หยุดการพัฒนาอากาศยานทางด้านการขนส่งเอาไว้ โดยหันไปให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ จนมีความก้าวหน้าและทันสมัยเหนือฝ่ายตรงข้ามและพันธมิตรด้วยกันอย่างสิ้นเชิง และโครงการก็กำลังดำเนินการไปด้วยดี เอฟ – 22  เจ้านกนักล่า (F-22, RAPTOR)  เป็นเครื่องบินขับไล่ล่องหนความเร็วสูง สามารถบินเดินทางได้ด้วยความเร็วเหนือเสียงมีกำหนดจะเข้าประจำการ ในปี ค.ศ.2005 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่โจมตีร่วม เพื่อผลิตขึ้นมาใช้ประจำการใน 3 เหล่าทัพของสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตร เพื่อทดแทนเครื่องบิน เอฟ-16 , เอวี – 8 ,เอฟ – 18  และ เอ – 10  มีกำหนดการเริ่มมีสายการผลิตในปี ค.ศ.2008  แต่จากบทเรียนของสงครามในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาทำให้กลาโหมสหรัฐฯ ต้องเร่งลงทุน เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งทางอากาศให้มากขึ้น โดยการพิจารณาเพิ่มงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องบินลำเลียง (TRANSPORT AIRPLANES) และเครื่องบินเติมน้ำมันในอากาศ (TANKERS) เพิ่มขึ้นรวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับกิจการดังกล่าวด้วย โดยบทเรียนที่สำคัญที่ได้รับจากการทำสงครามในอัฟกานิสถานที่เพิ่งจะผ่านมาไม่ถึงปีนี้ ได้บ่งบอกถึงความต้องการเครื่องบินลำเลียงและเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศที่เพิ่มขึ้นเพื่อการปฏิบัติการรบที่มีระยะทางครึ่งโลก อย่างสงครามอัฟกานิสถานและทำให้ได้รับบทเรียนว่า การทำสงคราในอนาคต หน่วยทหารของสหรัฐมีความต้องการที่จะต้องเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว และมีจำนวนมาก
…กองทัพอากาศสหรัฐฯ กำลังพิจารณาอย่างรีบเร่งในการจัดหาเครื่องบินลำเลียงรุ่นใหม่ ซี-17 เพิ่มขึ้นกำลังดำเนินการในโปรแกรมการประเมินค่าการต่ออายุประจำการของเครื่องบินลำเลียง ซี-5 และกำลังพิจารณาที่จะพัฒนาปรับปรุงเครื่องบินลำเลีบง ซี-130 หรือจัดหาทดแทนโดยเครื่องบินรุ่นใหม่ ซี-130 เจ นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาเกี่ยวกับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศ ว่าจะตัดสินใจดำเนินการอย่างไร
เครื่องบินลำเลียงรุ่นใหม่ ซี-17
…การปฏิบัติการทางทหารในสงครามอัฟกานิสถานที่ผ่านมา ต้องอาศัยการสนับสนุนทางอากาศเท่านั้น การสนับสนุนการเคลื่อนย้ายกำลังพลอาวุธยุทโธปกรณ์และอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ต้องใช้บริการเครื่องบินลำเลียง ซี –17 เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากเป็นเครื่องบินลำเลียงแบบเดียวที่มีขีดความสามารถเดินทางระยะไกลระหว่างทวีปได้ (INTERCONTINENTAL DISTANCE) โดยมีระวางบรรทุกขนาดใหญ่และสามารถบินลงได้ในเขตพื้นที่การรบบททางวิ่งที่ไม่ดีนัก
…ซี – 17 เป็นเครื่องบินลำเลียงหนัก ที่มีบทบาทตั้งแต่ช่วงแรกของการทำสงครามอัฟกานิสถาน เริ่มต้นด้วยการบินส่งอาหารเพื่อการปฏิบัติการทางมนุษยธรรมในพื้นที่การรบ โดยการบินคุ้มกันของเครื่องบินขับไล่ ในช่วงแรกของสงครามก่อนที่กำลังต่อต้านทางอากาศของกำลังฝ่ายตาลีบันจะถูกทำลายในช่วง 2 เดือนแรกของสงคราม ซี-17 ได้ทิ้งส่ง (AIR DROP) อาหารเป็นจำนวนมากถึงกว่า 2 ล้าน ชุดปันอาหาร (RATION) ในช่วงการพัฒนาและเริ่มผลิต ซี-17 กองทัพอากาศสหรัฐ ได้สังซื้อ ซี-17 ไปแล้วจำนวน 120 เครื่อง โดยเริ่มเข้าประจำการตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ.1993 ในกองทัพอากาศสหรัฐ ปัจจุบันได้ส่งมอบแล้วจำนวน 89 เครื่อง และเมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2545 ที่ผ่านมา กองทัพอากาศสหรัฐได้เซ็นสัญญากับบริษัทโบอิ้งซื้อ ซี-17 เพิ่มเติมอีก 60 เครื่อง มูลค่า 9.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะส่งให้ครบจำนวนทั้งหมด 2 สัญญา รวม 180 เครื่อง ในปี ค.ศ.2008
…ราคาต่อเครื่องของ ซี-17 ในสัญญาใหม่นี้มีราคาถูกลงเนื่องมาจากประสิทธิภาพการผลิต โดยมีราคาเครื่องละประมาณ 152 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 6500 ล้านบาท) โดยสัญญาเก่าที่ซื้อครั้งแรก 120 เครื่องราคาเครื่องละ 198 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 8500 ล้านบาท) นอกจากเครื่อง ซี-17 ในสัญญาใหม่จะถูกลงมากกว่าแล้วยังได้รับการพัฒนาติดตั้งถังน้ำมัน (FUEL TANK) ให้สามารถบินได้ระยะทางไกลขึ้น การผลิต ซี-17 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถส่งเครื่องบินได้เร็วกว่ากำหนด 3 เดือน
…ในปัจจุบัน ซี-17 มีความต้องการทางยุทธการสูงมากกองทัพอากาศได้กำหนดให้มีนักบินประจำเครื่องจำนวน 3 คน เพื่อ ซี –17 สามารถสนองภารกิจและบินได้ตลอดเวลา อัตราการใช้อะไหล่และชั่วโมงบินของ ซี-17 ในปัจจุบันสูงกว่าแผนที่วางไว้มาก
ประสบการณ์จากสงครามอัฟกานิสถาน
…ประสบการณ์จากสงครามอัฟกานิสถานได้บอกให้ทราบถึงความต้องการการบินลำเลียงทางอากาศในสงครามสมัยใหม่ที่แท้จริง คือต้องการเครื่องบินลำเลียงที่มีขนาดใหญ่สามารถบินได้ไกลและที่สำคัญ สามารถบินลงในเขตพื้นที่การรบได้ ซี-17 สามารถตอบสนองภารกิจได้ แต่ความต้องการตามจำนวนเที่ยวบินยังมีองค์ประกอบอื่นที่ต้องพิจารณา  การปฏิบัติการเพื่อเสรีภาพอันยาวนาน (OPERATION ENDURING FREEDOM)  ในสงครามอัฟกานิสถาน ยังไม่ใช่สนามรบใหญ่ (MAJOR THRATER WAR , MTW)  ที่แท้จริงเพราะหากเป็นสนามรบใหญ่ที่แท้จริงแล้ว จะมีการขนส่งสิ่งของอุปกรณ์การรบ การส่งกำลังทางทหารมากมายมหาศาลกว่านี้จะต้องมีการจัดตั้งฐานปฏิบัติการส่วนตัว (FORWARD OPERATING LOCATION , FOL)  อีกหลายฐานจะต้องมีการเคลื่อนย้ายกองทหาร (TROOP)  พาหนะ และเฮลิคอปเตอร์ตลอดจนอุปกรณ์สนับสนุนมากมายมหาศาล….(ไว้มาต่อวันพรุ่งนี้ครับ) ;D ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 07, 2005, 09:14:08 PM
ภาพตามบทความครับ

เคยลงไปแล้ว แต่ลงใหม่ให้ครับ

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c17_1.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c17_2.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c_17.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-dfst9502330.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-dfst9600217.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-dvic590.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-dvic592.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-dvic593.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-dvic594.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-98105trp.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-dfst9600219.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-960104-F-8754M-008.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-130921.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-10.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-14.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/20000112-f-2171a-005.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-15.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-2.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-9.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/19991022-f-5772h-518.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-990789b.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-1999415c17.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-20.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-5.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17-cargo.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/C-17-art.JPG)




[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 09, 2005, 03:21:29 PM
  ทีแรกก้ว่าจะมาโพสให้เข้ากับรูปแหละครับพี่แต่เอาเรื่องอื่นที่น่าตื่นเต้นกว่ามาโพสก่อน ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: nogun ที่ พฤศจิกายน 09, 2005, 03:33:53 PM
   สวยจริงๆนะ พวกเครื่องลำเลียงเนี่ย  ดูยิ่งใหญ่น่าเกรงขามดี  บินหลายๆลำยิ่งสวย  ลงจอดทีหนึ่ง  ศัตรูแทบหมดกำลังใจ  ทหารวิ่งลงเป็นร้อย  อาวุธอีกเต็มลำ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: nogun ที่ พฤศจิกายน 09, 2005, 03:51:26 PM
      โอ้โห เห็นรูปสวย และบทความเด็ดๆ จากระทู้นี้เยอะเลย   ผมว่าบินรบอาจจะเงียบไปอีกแล้วก็ได้   รัฐบาลน่าจะแสดงความจริงจังจริงใจ  ด้วยการจัดหาอย่างเร่งด่วน ซื้อ little bird พร้อมกล้องมองกลางคืน อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ปืนกลเล็ก ติดมาพร้อมกับเฮลิคอปเตอร์  ซื้อมาสัก สี่เครื่องเอาไปใช้กับโจรใต้หน่อย    ;D   :D~


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: สมพงษ์ ที่ พฤศจิกายน 09, 2005, 03:54:36 PM
ที่ว่ามาทั้งหมดไม่ขัอคอ  ดีทั้งนั้น  แต่การจัดหาอาวุธของกองทัพ  น่าจะพิจารณาจากภัยคุกคาม(ความจำเป็นที่ต้องมี)  เงินในกระเป๋า  ระบบอาวุธนั้นๆ  การซ่อมบำรุง  และ การสนับสนุนจากพันธมิตรเมื่อต้องการขอการสนับสนุน  เพราะมิฉะนั้นแล้วเราจะเป็นเหมือนคนมีรายได้ต่ำ  แต่อยากมีรถเบนซ์  ซึ่งอาจมีได้  แต่เกิดปัญหาตอนเข้าศูนย์เช็คเครื่อง  ยังไงยังงั้นแหละครับ.


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: สีอำพัน-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 09, 2005, 04:17:19 PM
เครื่องบินรบใหม่ ของทัพฟ้าไทย สรุปได้หรือยังครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 09, 2005, 04:28:43 PM
55555  ยังไม่ได้ครับ  แต่ปีหน้าจะได้ Black Hawk มือ2มา4ลำ ครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 10, 2005, 03:14:32 PM
……การพัฒนาการขนส่งทางอากาศของสหรัฐฯ  (ต่อ)
กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เร่งศึกษาความต้องการการบินลำเลียงใหม่
…กลาโหมสหรัฐฯ ได้พยายามศึกษาบทเรียนจากการปฏิบัติการต่างๆ ในยุคใหม่ ตั้งแต่การปฏิบัติการพายุทะเลทราย (OPERATION DESERT STROM) ในปี ค.ศ.1991 การปฏิบัติการกองกำลังพันธมิตร (OPERATION ALLIED FORCE)  ในปี ค.ศ. 1999 รวมทั้งการทำสงครามในอัฟกานิสถานที่ผ่านมาโดยพยายามกำหนดความต้องการการบินลำเลียงในการทำสงครามใหญ่ (MTW) ที่แท้จริง
…ข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษา คือ ซี-17 จำนวน 180 เครื่อง จะไม่พอกับความต้องการในการทำสงครามใหญ่ ถ้าพิจารณาเป็นเครื่องต่อเครื่องในการทดแทนเครื่องบินลำเลียง ซี-141 ถึงแม้ว่า ซี-17 จะมีขีดความสามารถในการบรรทุกได้มากกว่าและบินได้ไกลกว่าก็ตาม เพราะด้วยเหตุผลว่าเครื่องบิน 1 เครื่อง ไม่สามารถบินไปในจุดจุดเดียวได้ในเวลาเดียวกัน เหตุผลนี้จึงเป็นส่วนสำคัญให้กองทัพอากาศสหรัฐฯ ขยายการปลดประจำการของเครื่องบิน ซี-141 จำนวน 63 เครื่อง ออกไปก่อน
…จากการศึกษาและกำหนดความต้องการของกองทัพสหรัฐฯ ในเรื่องการบินลำเลียงในการทำสงครามใหญ่ (MTW) 2 สนามรบนั้น กองทัพอากาศสหรัฐฯ จะต้องมีขีดความสามารถอย่างต่ำในการลำเลียง 51.1 ล้านตันไมล์ต่อวัน และหากบวกเพิ่มความต้องการอื่นๆ เช่น การสนับสนุนการปฏิบัติการพิเศษหรือการสนับสนุนอุปกรณ์ที่ไม่ใช้ในสนามรบ จะต้องมีขีดความสามารถ 67 ล้านตันไมล์ต่อวัน
…เครื่องบินลำเลียง ซี-17 จำนวน 180 เครื่องความสามารถมีขีดความสามารถสนองความต้องการที่ 54.5 ล้านตัน โดยเป็นเครื่องสำรอง 4 เครื่อง อย่างไรก็ตามขีดความสามารถในการสนับสนุนการบินลำเลียงของ ซี-5 จะเป็นตัวสนับสนุนและกำหนดความน่าเชื่อถือ (RELIABILITY) ในการปฏิบัติการ หา ซี-5 ทำไม่ได้ กองทัพอากาศสหรัฐฯ ก็มีความต้องการ ซี-17 เพิ่ม เพื่ออุดช่องโหว่นั้น
ความต้องการ ซี-17 ที่แท้จริง
…ในปัจจุบันกองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้เซ็นสัญญาในการซื้อ ซี-17 จากบริษัทโบอิ้งแล้ว รวมจำนวนทั้งสิ้น 180 เครื่องส่งมอบภายในปี ค.ศ.2008 แต่เมื่อดูจากความต้องการแท้จริงแล้วคงยังไม่พอ แต่อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศสหรัฐฯ มีแนวความคิดที่จะพัฒนาเครื่องบินลำเลียง ซี-5 เพื่อยืดอายุการใช้งานในกองทัพ ในปัจจุบัน ซี-5 มีอัตราความพร้อมปฏิบัติการต่ำมากเพียง 60 เปอร์เซ็นต์ กองทัพอากาศสหรัฐฯ มีโปรแกรมที่จะดำเนินการพัฒนาปรับปรุง ซี-5 เอ จำนวน 1 เครื่อง และ ซี-5 บี (ซึ่งใหม่กว่า ซี-5 เอ –14 ปี) จำนวน 2 เครื่อง โดยมีเกณฑ์ว่า ซี-5 ที่พัฒนาเครื่องยนต์และความน่าเชื่อถือในระบบอื่นจะต้องมีอัตราความพร้อมปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ สามารถที่จะทำการบินได้ 11 ชั่วโมง ต่อวัน และจะต้องมีความน่าเชื่อถือและระบบการซ่อมบำรุงที่มีประสิทธิภาพ โดยจะทำการสรุปผลการวิเคราะห์ใน ปี ค.ศ.2007 ซึ่งบริษัทล็อคฮีดมาร์ติน คงจะต้องดำเนินการอย่างเต็มความสามารถในโอกาสที่ยังมีอยู่นี้ และหาก ซี-5 ไม่ผ่านการทดสอบก็คาดว่า กองทัพอากาศสหรัฐฯ คงต้องมี ซี-17 ทั้งหมดรวม 222 เครื่อง
ความต้องการเครื่องบิน ซี-130
…ถึงแม้ว่า ซี-17 จะสามารถตอบสนองบางส่วนของ ซี-130 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ซี-130 จะหมดความจำเป็นในสงครามอาฟกานิสถาน ซี-130 จำนวน 30 เครื่อง ประจำการรบอยู่ในแนวหน้าของสมรภูมิทำหน้าที่เคลื่อนย้ายกองทหาร และอุปกรณ์สงครามในสนามรบหากกล่าวโดยรวมก็คือ สนับสนุนภารกิจที่มีความจำเป็นเร่งด่วนหรือกล่าวอย่างชาวบ้านก็คือ สนองภารกิจการบินลำเลียงท้องถิ่น (DOMESTICAL)
…กองทัพอากาศสหรัฐฯ มีแผนจะทดแทนเครื่องบิน ซี-130 แบบเก่าด้วย ซี-130 เจ (C-130 J) ซึ่งเป็นรุ่นใหม่จำนวน 168 เครื่อง และในขณะเดียวกัน ซี-130 เอช (C-130 H)  ที่เหลือจะได้รับการพัฒนาปรับปรุงระบบต่างๆ เช่น ระบบเดินอากาศ (NAVIGATION SYSTEM) ระบบในห้องนักบินรวมทั้งพัฒนาโครงสร้างเครื่องบินเป็นรุ่น ซี-130 เอ็กซ์ (C-130 X) โดนจะแล้วเสร็จในประมาณ ปี ค.ศ. 2015….(ไว้มาต่อกันครับ)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 11, 2005, 12:45:04 AM
C-5A/B Galaxy เป็นเครื่องบินขนส่งทางทหารที่ใหญ่ที่สุดของ อเมริกา แต่เข้าประจำการตั้งแต่ปี 1970 หรือ กว่า 30 ปีมาแล้ว เริ่มนำเข้าประจำการในกองทัพอากาศ สหรัฐ ตั้งแต่ก่อนสงครามเวียตนามจบ จนถึงปัจจุบันก็ยังคงประจำการอยู่ ในอดีต C-5A/B Galaxy เคยเป็นเครื่องบินขนส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก จนกระทั่ง Antonov An-225 Mryia (ที่บินมาส่งหัวรถไฟใต้ดิน 2 ตู้ที่ดอนเมือง) ชิงตำแหน่งไป

C-5A/B Galaxy ใหญ่กว่า C-17 Globemaster III มาก เพราะ C-17 Globemaster III  บรรทุกใด้เพียงครึ่งเดียวของ C-5A/B Galaxy เท่านั้น C-17 Globemaster III บรรทุกน้ำหนักได้ 76.64 ตัน กับ บรรทุกทหารได้ 102 นายพร้อมอาวุธ ถ้าในปฎิบัติการลำเลียงผู้ป่วย ได้ 48 เตียง พร้อมกับ แพทย์ และ พยาบาล (102 troops/paratroops; 48 litter and 54 ambulatory patients and attendants; 170,900 pounds (76,644 kilos) of cargo (18 pallet positions)

ส่วน C-5A/B Galaxy บรรทุกได้กว่า 130 ตัน กับมีที่นั่งชั้นบน ( C-5 มี 2 ชั้น ชั้นล่างใช้บรรทุกของ ส่วนขั้นบนมีที่นั่ง) มีถึง 79 ที่

C-5A/B Galaxy  ไม่มีความสามารถลงในสนามบินที่ไม่ได้มีการเตียมการได้เหมือนกับ C-17 Globemaster III  ทำให้ความสำคัญทางยุทธศาสตร์ลดค่าลงไป แต่ยังคงความสำคัญในการลำเลียงสำภาระของกองทัพ สหรัฐ ต่อไปอีกหลายปี

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-5b-19990422-f-0024f-004.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-5.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c5_1.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c5_2.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c5_3.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-5-dfst8403706.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-5-dfst9303036.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-5-dfst9303040.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-5-dfst9010232.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-5-dfst9010235.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-5-21.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-5b-19990422-f-0024f-001.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-5-dfst8210036.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-5-9.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-5b-19990422-f-0024f-009.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 11, 2005, 01:15:48 PM
เครื่องบินลำเลียงที่มีชื่อเสียงที่สุดอีกแบบของ สหรัฐ ก็คือ เครื่องบิน C-130 Hercules เพราะ เริ่มเข้าประจำการตั้งแต่ปี 1955 หรือเมื่อ 50 ปีที่แล้ว

C-130 Hercules เป็นเครื่องบินลำเลียงทางทหารขนาดเบาที่ใช้งานแพร่หลายมากที่สุดในโลก เพราะ ด้วยความสามารถสนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิดกับแนวหน้าของมันนั่นเอง โดยที่ C-130 Hercules สามารถขึ้นและลงในทางที่เครื่องบินโดยทั่วไป และ เครื่องบินลำเลียงขนาดใหญ่ เข้าไปไม่ถึง ทั้งยังดัดแปลงตัวเครื่องเพื่อนำไปใช้ในภาระกิจพิเศษได้อย่างมากมาย

C-130 Hercules แยกรุ่นได้ตามภาระกิจดังนี้

Missions                               Specialized Variant

Tactical Airlift                         All
Aerial Tanker                         KC-130B, KC-130F, KC-13H, HC-130H(N), HC-130N, HC-130P, KC-130R, KC-130T
Command & Control             EC-130E (ABCCC), EC-130G, & EC-130Q
Maritime Patrol                      C-130H-NP/PC-130H
Special Operations                 MC-130E & MC-130H
Search & Rescue                   HC-130B/HC-130B, HC-130E, HA-130H, HC-130H(N), HC-130N, & HC-130P
Humanitarian Relief                All
Staff/VIP Transport               VC-130B & VC-130H
Reconnaissance                    RC-130B
Airborne Hospital                   C-130E (AEH)
Arctic & Anarctic Support      C-130BL/LC-130F, C-130D, LC-130H, & LC-130R
Drone Control                       GC-130A/DC-130A, DC-130E, & DC-130H
Electronic Warfare                 EC-130E (CL), EC-130E (RR), EC-130H
Space & Missile Operations     JC-130A, JC-130B, & NC-130H
Test & Evaluation                  NC-13A, NC-130B, JC-130E, NC-130E, JC-130H, & RC-130S
Weather Reconnaissance      WC-130B, WC-130E, WC-130H
Gunship                                AC-130A, AC-130E, AC-130H, & AC-130U

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-130-dvic199.jpg)

ในภาพ เครื่อง KC-130 กำลังเติมเชื้อเพลิงให้กับเครื่อง A-4

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-130-dvic200.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c130_1.jpg)

ภาพ EC-130H ที่ชนกับเครื่องบินจีน แล้วต้องร่อนลงฉุกเฉินที่เกาะไหหลำ

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c130_2.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/hc-130-dvic193.jpg)

ภาพ KC-130 กำลังเตรียมการเติมเชื้อเพลิงให้กับ CH-53



(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-130-jato.jpg)

ภาพ เครื่อง C-130 ติดจรวตขับข้างเครื่องเพื่อให้ Take off ได้ในระยะทางที่สั้นมาก

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-130-dfst9110084.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c130_5.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-130-18.jpg)

รถถัง เชอริแดน กำลังส่งลงจาก เครื่อง C-130 ด้วยร่มชูชีพ

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-130-lapes-2.jpg)

วิธีการส่งสัมภาระ ด้วยร่มชูชีพที่ระดับต่ำ เป็นวิธีที่พัฒนาในระหว่างสงครามเวียตนาม เพื่อความแม่นยำในการส่ง และ ป้องกันไม่ให้ฝ่ายข้าศึกเข้ามาแย่งชิงยุทธภัณท์ ในขณะที่ยังไม่ถึงพื้นเหมือนอย่างที่ฝรั่งเศษทำที่เดียนเบียนฟู กลายเป็นส่งกำลังบำรุงให้เวียตกงแทนทหารของตน

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-130_J_40.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-130-29.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/ac130_04.jpg)

ภาพ AC-130 กำลัง taxy บน runway

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/ac-130-0210ac130.jpg)

AC-130

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/ac-130h-19990803ac130a.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/ac-130-spectre-44.jpg)

ภาพ AC-130 กำลังระดมยิงภาคพื้นดิน

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/ac-130-0430-2.jpg)

ภาพ AC- 130 ด้านหน้า



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 11, 2005, 01:58:53 PM
ภาพ EC-130H ที่ชนกับเครื่องบินจีน แล้วต้องร่อนลงฉุกเฉินที่เกาะไหหลำ

 ;D ขอทักท้วงข้อมูลครับ เครื่องที่บินไปชน F-8 ของจีน เป็นเครื่อง P-3 Orion ของนาวิกฯ สหรัฐครับ ;D

(http://www.vpnavy.org/travel/vq1p3_02_27jan2003.jpg)



หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 11, 2005, 07:23:13 PM
ภาพ EC-130H ที่ชนกับเครื่องบินจีน แล้วต้องร่อนลงฉุกเฉินที่เกาะไหหลำ

 ;D ขอทักท้วงข้อมูลครับ เครื่องที่บินไปชน F-8 ของจีน เป็นเครื่อง P-3 Orion ของนาวิกฯ สหรัฐครับ ;D

(http://www.vpnavy.org/travel/vq1p3_02_27jan2003.jpg)


ผมขอท้วงพี่NaiMai อีกทีที่ชนกับ F8 IIM ของจีนเป็นบ.จารกรรมข่าวสาร EP3C ไม่ใช่เหรอครับพี่ ???


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 11, 2005, 10:13:28 PM
ว่า จะกลับมาแก้แต่ไม่ทันโดนคุณ Hydra ตัดหน้าซ่ะก่อน   :<< :<< :<< :<<   :~) :~) :~)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: M629 ที่ พฤศจิกายน 11, 2005, 11:52:03 PM
ขออนุญาต safe "ความรู้" เก็บไว้อ้างอิง(เล่าให้หลานฟัง)นะครับ

ขอเพิ่มเติมเรื่อง อากาศยานไทยทำบ้างสิครับ
ตั้งแต่ แบบบริพัตร ?บริพัทร ??(เขียนผิดแน่เลย)
จนล่าสุด แฟนเทรนเนอร์ ที่หายจ้อยไปเลย

ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Nakin ที่ พฤศจิกายน 12, 2005, 12:04:29 AM

พ.ศ. 2457   สร้างเครื่องบินแบบ " เบรเกต์ " ใช้ในราชการ
พ.ศ. 2465   สร้างเครื่องบินแบบ  ข.2  ( นิออร์ปอรต์ )
พ.ศ. 2466   สร้างเครื่องบินแบบ  ข.3  ( สปัดแบบ 7 )
พ.ศ. 2467   สร้างเครื่องบินแบบ  ข.4  ( นิเออปอรต์  เดอลาจ )
พ.ศ. 2470   ออกแบบและสร้างเครื่องบินแบบ  ท.2  ( บริพัตร )  ซึ่งนับเป็นเครื่องบินแบบแรกที่ออกแบบ  และ  สร้างโดยคนไทย
เครื่องบินแบบนี้ได้ถูกสร้างเป็นจำนวนมาก  และ  ใช้เพื่อไปเจริญสัมพันธไมตรีกับเพื่อนบ้านหลายประเทศ
พ.ศ. 2472   ออกแบบเครื่องบินแบบ  ข.5  ( ประชาธิปก )
พ.ศ. 2479   สร้างเครื่องบินโจมตี - ตรวจการแบบ  จ.1  ( คอร์แซร์  อี  93 )  จำนวน 25 เครื่อง
พ.ศ. 2480   สร้างเครื่องบินโจมตี - ตรวจการแบบ  จ.1  อีก 25 เครื่อง  และ  สร้างเครื่องบินขับไล่แบบ  ข.10 รุ่นแรก
พ.ศ. 2482   สร้างเครื่องบินขับไล่แบบ  ข.10  รุ่นที่  2  จำนวน  25  เครื่อง
พ.ศ. 2515   สรางเครื่องบินฝึกแบบ  ทอ.4  ( จันทรา )  จำนวน  25  เครื่อง
พ.ศ. 2518   สร้างเครื่องบินแบบ  ทอ.5  จำนวน  1  เครื่อง
พ.ศ. 2525   ซื้อเครื่องบิน  และ  ลิขสิทธิ์การสร้างเครื่องบินฝึกแบบ   แฟนเทรนเนอร์   จากประเทศเยอรมันจำนวน  25  เครื่อง


ผมเอามาจากที่นี่ครับ ..... ลองไปดูได้ครับ       ;)


http://www.satitcmu.ac.th/student/2542/2/tour/p2.html


***********************************************************************************************


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 12, 2005, 05:58:29 PM
ผมขอท้วงพี่NaiMai อีกทีที่ชนกับ F8 IIM ของจีนเป็นบ.จารกรรมข่าวสาร EP3C ไม่ใช่เหรอครับพี่ ???

 ;D EP3C โครง P3 เดียวกัน นั่นแหละครับ ต่างกันแค่รหัสเรียกในแต่ละรุ่นครับ ผมเลยท้วงกลับอีกทีว่าเป็น EP3-E ครับ และท้วงตัวเองว่า จีนเปลี่ยนชื่อเรียก F-8 เป็น J-8 แล้ว :DD ;D

(http://www.pacom.mil/ep3photos/02-ep-3-h.jpg)

 ;D ภาพ EP3-E ลำเกิดเหตุ และสถานที่เกิดเหตุเลยครับ ;D
   ;D On April 1, 2001, an EP-3E was intercepted by Chinese J-8 fighter jets about 70 miles (110 km) off the Chinese island of Hainan. The Chinese later claimed that this plane was spying on Chinese military facilities. One of the Chinese jets bumped the wing of the EP-3E, which was forced to make an emergency landing on Hainan. The Chinese pilot, Wang Wei, was missing and presumed dead following the incident.

The crew of 24 was detained and released April 11 after the U.S. issued the letter of the two sorries. The plane was airlifted to Dobbins Air Force Base in Georgia on July 3, 2001 ;D

(http://www.nationmaster.com/wikimir/images/upload.wikimedia.org/wikipedia/en/0/07/J-8_4.jpg) J-8 IIM Finback ;D

 ;D รูปและข้อมูลของ หวาง เว่ย นักบิน J-8 ที่บินไปชนกับ EP3 ครับ หวาง เว่ย นี่จากหนังสือสมรภูมิเล่มที่ลงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ (พอดีเพิ่งเอาหนังสือเก่ามาอ่านเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว) บอกว่า เป็น Maverick ของ ทอ. จีนเลยทีเดียว เป็นที่รู้จักของนักบินจะวันตก เพราะมักจะบินเข้ามา intercep เครื่องบินของอเมริกาบ่อย ๆ และมีอยู่ครั้งหนึ่งที่หวางบินเข้ามาใกล้เครื่องบินอเมริกันมาก จนคนในเครื่องบินของอเมริกันสามารถเห็นอีเมล์ของหวางที่แปะอยู่ในคอกพิตได้ด้วยตาเปล่าเลย ;D

(http://edition.cnn.com/2001/WORLD/asiapcf/east/04/12/china.pilot/story.wang.pilot.jpg)
Wang Wei (王伟/王偉 1968/1969 - April 1, 2001) was a pilot in the People's Liberation Army Air Force whose J-8 fighter jet hit the wing of an American EP-3E surveillance plane about 70 miles off the coast of the Chinese island of Hainan. Wang ejected from the plane and was lost. 1968 was a leap year starting on Monday (the link is to a full 1968 calendar). ... 1969 was a common year starting on Wednesday (the link is to a full 1969 calendar). ... April 1 is the 91st day of the year (92nd in leap years) in the Gregorian calendar, with 274 days remaining. ... 2001: A Space Odyssey Dr. Dre 2001 2001 is a common year starting on Monday of the Gregorian calendar. ... The Peoples Liberation Army Air Force (PLAAF) (simplified Chinese: &egrave;&sect;&pound;&aelig;”&frac34;&aring;†›&ccedil;&copy;&ordm;&aring;†›; pinyin: Ji&Auml;›f&Atilde; ng J&Aring;&laquo;nk&Aring;ng J&Aring;&laquo;n) is the aviation branch of the Peoples Liberation Army, the military of the Peoples Republic of China. ... J-8IIM J-8 or Jian-8 (NATO reporting name Finback) is a Peoples Republic of China-built fighter aircraft. ... The Lockheed EP-3E Orion Aries II is a turboprop-based signals reconnaissance aircraft, operated by the United States Navy. ... Hainan (Chinese: 海南; pinyin: ) is a province of the Peoples Republic of China, located at the southern end of the country. ...

The Chinese claimed the U.S. surveillance plane rammed Wang's fighter, while the Americans claimed Wang flew dangerously close to the much larger, slower, and less maneuverable surveillance plane. That day, J-8s approached the EP-3 with less than 10 meters to spare six times, and twice came within three meters before Wang's fighter hit the plane on the 44th intercept. Crew members claimed they had on previous flights seen Wang fly so close that when he held up a piece of paper containing an e-mail address, it was readable. U.S. Secretary of Defense Donald Rumsfeld later showed a video of a J-8 pilot flying dangerously close and nearly hitting another EP-3E two weeks earlier, saying the pilot may have been Wang. Donald Rumsfeld Donald Henry Rumsfeld (born July 9, 1932) has been the Secretary of Defense of the United States since January 20, 2001, under President George W. Bush. ...

On April 14, the Chinese ended their search, which covered an area of 83,000 square kilometers, for the 32-year-old pilot, declaring him missing and presumed dead. Later that day, a Navy Committee of the Communist Party of China declared him a martyr. April 14 is the 104th day of the year in the Gregorian calendar (105th in leap years). ... ;D

 ;D ได้ข้อมูลจาก http://www.nationmaster.com/encyclopedia/EP_3E ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: M629 ที่ พฤศจิกายน 12, 2005, 06:25:49 PM
เพื่อนที่อยู่ ทอ.เล่าให้ฟังว่า..
ระหว่างที่รอ น้องซูจากรัสเซีย..
เราอาจจะได้เห็น บล.CN235-220 จากอินโดบินเหนือน่านฟ้าไทยก่อนนะครับ.
และอาจจะเป็นการร่วมมือกันผลิตเสียด้วย





หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 12, 2005, 08:43:57 PM
ภาพประกอบอีกตามเคยครับ

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/row/cn235_frontal.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/row/cn235_m_lat.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/row/cn235-26_24_G_gal_fotos_cn235.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/row/cn235-26_4_g_gal_fotos_cn235.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/row/cn235-5_10_g_gal_fotos_cn235.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/row/cn235-7_3_g_gal_fotos_cn235.jpg)


CN235-220 เป็นเครื่องบินลำเลียงขนาดเบา บรรทุกสูงสุดได้ 6 ตัน แค่ 1 ใน 3 ของ C-130 รัศมีทำการได้ไกล 1300 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกเต็มอัตรา หรือ 5000 กิโลเมตร เมื่อบินตัวเปล่า

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 14, 2005, 09:50:07 AM
……การพัฒนาการขนส่งทางอากาศของสหรัฐฯ  (ต่อ)
ความต้องการเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศ
…ปฏิบัติการทางทหารในประเทศอาฟกานิสถานได้ให้บทเรียนในการที่ต้องให้ความสำคัญกับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศ ซึ่งช่วยในการปฏิบัติการทางทหารหลายอย่างให้เป็นไปได้
…เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศได้ช่วยให้เครื่องบินขับไล่โจมตีจากเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯ ที่ลอยลำอยู่ในทะเลอาราเบียน ซึ่งอยู่ห่างจากเป้าหมายในอาฟกานิสถานถึง 7 ชั่วโมงบิน สามารถบินไปทำลายเป้าหมาย และบินกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังทำให้การส่งกำลังบำรุงทางอากาศ (AIR BRIDGE)  และการทำลายเป้าหมายภาคพื้นของเครื่องบินทิ้งระเบิดจากฐานทัพอากาศ ดีโกกลาเชีย (DIEGOGARCIA)  และจากแผ่นดินใหญ่ของประเทศสหรัฐฯ เป็นไปได้อย่างได้ผลดี การปฏิบัติการทางทหารในสงครามอัฟกานิสถานที่ผ่านมา จะเป็นไปไม่ได้เลยหากปราศจากเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศ
…การปฏิบัติการเติมเชื้อเพลิงในอากาศที่ผ่านมาจะใช้เครื่องบิน เคซี-135 ซึ่งแม้จะประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมากก็ตาม แต่เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศถึงจำนวนหนึ่งในสี่ต้องเข้าโรงงาน เพื่อรอการซ่อมบำรุง ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาทั้งหมดในการซ่อมประมาณ 400 วัน ซึ่งปัญหาการซ่อมบำรุงของ เคซี-135 ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสนิมและการผุกร่อนของโครงสร้าง (CORROSION)  ซึ่งเครื่องบินเคซี-135 มีอายุถึงกว่า 40 ปีแล้ว
…ในช่วงเดือนเมษายน ที่ผ่านมาจากจำนวนเครื่องบิน เคซี-135 ทั้งหมดในกองทัพสหรัฐฯ มีจำนวนทั้งหมด 546 เครื่อง ต้องรอการซ่อมบำรุงอยู่ในโรงงานถึง 131 เครื่องในช่วงเวลาที่ผ่านมาเครื่องบิน เคซี-135 ได้รับการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศ (AVIONICS) มาโดยตลอด แต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาทางด้านโครงสร้งเลย
…กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้เตรียมการสำหรับการบริหาร และจัดการกับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศเป็น 2 แผนงาน คือ การจัดหาใหม่และการเช่ากองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้วางแผนงานสำหรับการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางอากาศ เพื่อทดแทนเครื่องบิน เคซี-135 ด้วยเครื่องบิน เคซี-เอ็กซ์ ในช่วงปี ค.ศ. 2012-2015 โดยหน่วยบัญชาการการเคลื่อนย้ายทางอากาศกองทัพอากาศสหรัฐฯ (AIR MOBILITY COMMAND : AMC)  ได้วางแผนงานเพื่อจัดหาเครื่องบิน เคซี-เอ็กซ์ จำนวน 276 เครื่อง ระหว่างปี ค.ศ.2012-2014 สำหรับกองทัพอากาศได้วางแผนงานงบประมาณเพื่อการจัดซื้อเครื่องบิน เคซี-เอ็กซ์ ในช่วงปี ค.ศ. 2005-2009 ไว้เป็นจำนวนเงิน 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศสหรัฐฯ ยังมีคำถามว่าจะสามารถซ่อมบำรุงเครื่องบิน เคซี-135 อี ได้อย่างสมบูรณ์เพื่อปฏิบัติภารกิจในช่วงนี้ได้หรือไม่ เพราะ เคซี-135 อี ถ้าเปรียบเสมือนรถยนต์เก่าที่ต้องเสียบ่อย อะไหล่แพงและหายากโดยกองทัพอากาศมีแผนที่จะปลดประจำการเครื่องบิน เคซี-135 อี และจะใช้เครื่องบิน เคซี-135 อาร์ ซึ่งได้รับการพัฒนาติดตั้งเครื่องยนต์ใหม่ ในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมาใช้งานร่วมกับเครื่องบินที่จะจัดหาหรือเช่ามาใหม่
…สำหรับแผนการเช่าเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศนั้นกองทัพอากาศสหรัฐฯ มีแผนที่จะขอเช่าเครื่องบินโบอิ้ง 767 จากบริษัท โบอิ้ง เพื่อสร้างเป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศเพื่อให้ทันต่อการสนับสนุนภารกิจที่เพิ่มมากขึ้น หลังจากเหตุการณ์การก่อการร้ายเมื่อ 11 กันยายน 2544 ที่ผ่านมาโดยสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้กองทัพอากาศสามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม โดยใช้งบประมาณปี ค.ศ.2002 การเช่าเครื่องบินโบอิ้ง 767 นี้จะทำให้กองทัพอากาศสหรัฐฯ มีเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศสนับสนุนภารกิจได้ ตั้งแต่ปี ค.ศ.2005 ซึ่งจะเร็วขึ้นกว่ากำหนดการเดิม 10 ปี
…จำนวนการจะเช่าหรือซื้อเพิ่มของเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศของกองทัพอากาศสหรัฐฯ คงจะต้องมีการวิเคราะห์ในรายละเอียดเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพเหมาะสมกับราคา ซึ่งคงจะตัดสินใจได้ข้อสรุปภายในปี ค.ศ.2005
การบินลำเลียงในสงครามในอนาคต
…ในการทำสงครามในปัจจุบันและอนาคตของกองทัพสหรัฐฯ ที่มีแนวทางว่า สามารถที่จะทำสงครามได้ทุกที่ในโลกใบนี้เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนทางด้านการเมืองของสหรัฐฯ (GLOBAL REACH AND GLOBAL POWER)  โดยข้อมูลการศึกษาของกลาโหมสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้วได้กำหนดเป้าหมายของการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ว่าจะต้องสามารถควบคุมสถานการณ์ทางการทหารและปฏิบัติการ ได้ทุกแห่งในโลกภายนอกในเวลา 24 ชั่วโมง และจะต้องชนะสงครามใหญ่ (MTW) ภายในเวลา 30 วัน โดยเหล่าทัพต่างๆ จะต้องปรับตัววางแนวทางปฏิบัติตามให้ได้ โดยตัวอย่างเช่น กองทัพบกสหรัฐฯ จะต้องมีขีดความสามารถที่จะเคลื่อนย้ายกองกำลังทหารระดับกองพัน (BRIGADE) ได้ภายใน 96 ชั่วโมง นอกจากนั้นกองทัพบกสหรัฐฯ พร้อมที่จะพัฒนาขนาดของสิ่งของอุปกรณ์การรบให้สามารถเคลื่อนย้ายได้ด้วย เครื่องบิน ซี-130 กองทัพอากาศสหรัฐฯ จะต้องสรุปวางแผนเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศได้ภายในปี ค.ศ.2005 และสามารถสรุปวางแผนเกี่ยวกับจำนวนของเครื่องบินลำเลียง ซี-17 ได้ภายในปี ค.ศ.2007

รายละเอียดเครื่องบิน ซี-17
ภารกิจ   :    เครื่องบินลำเลียง
บริษัทผู้ผลิต   :   โบอิ้ง
เครื่องยนต์   :   เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรตแอนด์วิทบี่ เอฟ-117-พีดับบลิว-100 4 เครื่อง (PRATT &
WHITNEY F 117 – PW – 100 TURBOFANX
แรงขับ   :   40,400 ปอนด์  (แต่ละเครื่อง)
ความยาวปีก   :   169 ฟุต 10 นิ้ว (51.75 เมตร)
ความยาว    :   174 ฟุต (53 เมตร)
ความสูง      :   55 ฟุต 1 นิ้ว (16.79 เมตร)
ขนาดของระวางบรรทุก   :   ยาว 88 ฟุต (26.82 เมตร
         กว้าง 18 ฟุต (5.48 เมตร)
         สูง 12 ฟุต 4 นิ้ว (3.76 เมตร)
ความเร็ว   :   450 น็อต ที่ความสูง 28,000 ฟุต (8,534 เมตร) (0.74 มัค)
เพดาบิน   :   45,000 ฟุต ที่ความเร็วเดินทาง (13,716 เมตร)
ระยะทางบิน   :   รอบโลกโดยการเติมเชื้อเพลิงในอากาศ
จำนวนเจ้าหน้าที่   :   นักบิน 2 คน เจ้าหน้าที่ระวางบรรทุก 1 คน
น้ำหนักวิ่งขึ้น    :   585,000 ปอนด์ (265,352 กิโลกรัม)
การบรรทุก   :   ทหาร 102 คน
      เตียงทหารคนไข้ 36 เตียง พร้อมเจ้าหน้าที่ 54 คน
วันเข้าประจำการ   :   มิถุนายน ค.ศ.1993


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 14, 2005, 12:39:00 PM
KC-135 Stratotanker เป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ ที่พัฒนามาจากเครื่องบิน Boeing 707 ต่อมาได้เปลี่ยเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิ์ภาพมากขึ้นในรุ่น หลัง

ภาพ KC-135R Stratotanker

(http://www.fas.org/nuke/guide/usa/bomber/kc135r_line.gif)


(http://www.fas.org/nuke/guide/usa/bomber/kc-135r-22-1.jpg)


(http://www.fas.org/nuke/guide/usa/bomber/kc-135r-1999048-f-8138f-001.jpg)


(http://www.fas.org/nuke/guide/usa/bomber/kc-135r-22-2.jpg)


(http://www.fas.org/nuke/guide/usa/bomber/kc-135r_3.jpg)

(http://www.fas.org/nuke/guide/usa/bomber/kc-135r-1999416hkc10f15.jpg)

(http://www.fas.org/nuke/guide/usa/bomber/kc-135-dvic251.jpg)

(http://www.fas.org/nuke/guide/usa/bomber/kc-135r-990961a.jpg)

(http://www.fas.org/nuke/guide/usa/bomber/kc-135r-990917a.jpg)

ภาพ เจ้าหน้าที่กำลังควบคุมท่อเติมเชื้อเพลิงกำลังปฎิบัติงาน

(http://www.fas.org/nuke/guide/usa/bomber/kc-135r_0.jpg)



หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: -Joke- ที่ พฤศจิกายน 14, 2005, 01:14:25 PM
เจ้า บล จากแดนอิเหนาเข้าประจำการแล้วครับสองลำในกองบินของกระทรวงเกษตร หมายเลข 2221 กับ 2222

ส่วนซู แจ๊ส นั้น ผมว่าโอกาสมาท่าจะยากครับ ยิ่ง แจ๊ส น่าจะมายากกว่าซูซะอีก
แต่โดยความเห็นผมแล้วผมว่าเจ้าทั้งสองแบบนี้ไม่เหมาะกับเราหรอกครับถึงมันจะเป็นเครื่องขับไล่ยุค 4 อันทันสมัยแบบใครๆเขาบอกกัน เนื่องจากว่า

ซู 30 ใหญ่เกินความจำเป็น มีเรื่องจุบจิบเยอะทั้งระบบอาวุธ อวิโอนิกส์ ซอฟแวร์ การซ่อมบำรุง และอายุการใช้งานอันแสนสั้น
แจ๊ส นั้นผมว่าก็จะมีปัญหาด้านซอฟแวร์ ระบบอวิโอนิกส์ ระบบอาวุธจากค่ายยุโรป อะไหล่

ที่สำคัญคือ บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับเจ้าวิหกทั้งสองนางนี้ครับ ต้องเทรนนิ่งใหม่ยกชุด มีอะไรตอมิอะไรเพิ่มอีกมากมายครับ ไม่ได้วื้อเครื่อง ซื้อจรวดมาแล้วก็จบ

ดังนั้นที่เหมาะสมกับบ้านเราที่สุดก็คือเจ้าเหยี่ยวประจัญบาน เอฟ 16 นี่แหละครับ แต่ขอเป็นรุ่น C/D 50/52 จะได้มีความสามารถที่หลากหลาย เช่นการรบแบบ BVR(นอกระยะสายตา) การใช้จรวดนำวิถีแบบต่างๆ เช่น ฮาร์ม ป๊อปอาย ฮาร์พูน ฯลฯ หรือจะอัพเกรดที่เรามีอยู่ให้เป็น A/B MLU ก็ได้ครับเพราะจะได้สามารถรบแบบ BVR ได้เช่นกัน ถึงมันจะตัวเล็ก ไม่ทันสมัยแบบยุค 4 แต่ในปัจจุบันมันก็ยังทำหน้าที่ได้ดีที่สุดในเวทีต่างๆของโลกครับ ช่วงสงครามยูโกสลาเวีย เอฟ 16 ดัชท์ใช้ดาต้าลิงค์สอย มิก 29 ยูโกซะเป็นว่าเล่น ดังนั้นเครื่องทันสมัยกว่าก็ไม่จำเป็นว่าจะชนะครับ อยู่ที่ยุทธวิธีมากกว่า

ดังนั้นพอมาถึงยุทธวิธี สิ่งจำเป็นอีกอย่างที่ต้องมีคือ เครื่องบินแอแวคส์ ครับ เพื่อที่จะได้อำนวยการรบ และเป็นตัวควบคุมการปฏิบัติการต่างๆของเครื่องขับไล่ของฝ่ายเรา ยกตัวอย่างง่ายๆครับ เครื่องบินรบ เขาไม่ได้เห็นภาพทั้ง 360 องศารอบตัวนะครับ แต่จะเห็นเท่าที่เรดาร์หัวเครื่องของเขากวาด(เป็นรูปกรวย) ดังนั้นถ้ามีแอแวคส์ และมีการควบคุมการเข้าทำดีๆ พญาอินทรีเวหาอย่างซู 30 ก็อาจจะเจอนกน้อยอย่างเอฟ 5 จิกร่วงลงมาง่ายๆครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: aot ที่ พฤศจิกายน 14, 2005, 02:30:58 PM
เรียนถามคุณ686 ครับ การส่งรถถัง เชอริแดน ลงจาก เครื่อง C-130 ด้วยร่มชูชีพ นั้นพลขับรถถังอยู่ในตัวรถถังขณะส่งลงเลยหรือไม่ ถ้าอยู่ในตัวรถถังด้วยเขาทนแรงกระแทกได้อย่างไร


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 14, 2005, 07:08:14 PM
เรียนถามคุณ686 ครับ การส่งรถถัง เชอริแดน ลงจาก เครื่อง C-130 ด้วยร่มชูชีพ นั้นพลขับรถถังอยู่ในตัวรถถังขณะส่งลงเลยหรือไม่ ถ้าอยู่ในตัวรถถังด้วยเขาทนแรงกระแทกได้อย่างไร


(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-130-18.jpg)

ไม่มีคนอยู่ครับ  รถถัง Sheridan มีชื่อเต็ม ๆ ว่า M551A1 Armored Reconnaissance Airborne Assault Vehicle (Sheridan)

เข้าประจำการในกองทัพบก สหรัฐ ตั้งแต่ปี 1966 จนถึงปัจุบัน เป็นรถถังแบบเดียวที่สามารถส่งไปยังแนวหน้าที่มีการสู้รบด้วยเครื่อง C-130 ได้ หน้าที่หลักของรถถัง Sheridan คือ สนับสนุนอำนาจการยิงของหน่วยพลร่ม ปัจจุบันมีเพียงกองพลร่มที่ 82 เพียงกองพลเดียวที่มีรถถังชนิดนี้ประจำการ


ในสงครามเวียตนาม รถถัง เชอริแดน ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก เพราะ แรงรีคอยล์ ของปืน 152 มม. นั่นเอง ถึงแม้ว่า จะเป็นรถถัง ขนาดเบา แต่กลับมีปืนใหญ่หลักที่มีขนาด คาริเบอร์ ถึง 152 มม. และเลือกยิงได้ทั้ง กระสุนไร้ปลอก และ จรวตนำวิถี

ปืน 152 มม. ที่ติดตั้งในรถถัง เชอร์ริแดนนี้ เคยนำไปติดตั้งบนตัวรถถัง M60 และได้ชื่อใหม่ว่า M-60A2


(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m-551-dvic346.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m-551-dvic347.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m-551-dvic348.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/M551_1a.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/M551_2a.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/xm551-001.jpg)

ในภาพ เป็นรถถังเชอร์ริแดนที่ผลิตในปี 1964


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 14, 2005, 07:18:43 PM
Link ที่ผมทำใว้มีปัญหาเรื่อง Server ไม่ให้เข้า เลยต้องใช้วิธี ก๊อปมาใส่เครื่องก่อนโพสครับ

(http://www.bragg.army.mil/18abn/images/m551.jpg)

(http://www.bragg.army.mil/18abn/images/m551-2.jpg)

ภาพล่าง รถถัง เชอริแดน กำลังยิงจรวต MGM-51


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 14, 2005, 07:18:50 PM
ผมเคยได้ยินมาว่าเชอร์ริเดนมีกระสุนลูกซองใช้ด้วยครับยิงทีเวียดกงตายเกือบหมดหมวด


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: M629 ที่ พฤศจิกายน 14, 2005, 07:30:56 PM
เจ้า บล จากแดนอิเหนาเข้าประจำการแล้วครับสองลำในกองบินของกระทรวงเกษตร หมายเลข 2221 กับ 2222

โอ้..มีใช้แล้วหรือครับ ไม่ทราบว่าเสียงตอบรับจากผู้ใช้งานเป็นอย่างไรบ้างนะครับ
ถึงคุณภาพและความสามารถอาจจะไม่ทัดเทียม บล.มาตรฐานอื่นๆ
แต่หากคำนึงถึงจุดที่ว่า
เราจะได้มีส่วนร่วมในการผลิต/ประกอบด้วย
ก็น่าจะโอเคนะครับ


พ.ศ. 2457   สร้างเครื่องบินแบบ " เบรเกต์ " ใช้ในราชการ
พ.ศ. 2465   สร้างเครื่องบินแบบ  ข.2  ( นิออร์ปอรต์ )
พ.ศ. 2466   สร้างเครื่องบินแบบ  ข.3  ( สปัดแบบ 7 )
พ.ศ. 2467   สร้างเครื่องบินแบบ  ข.4  ( นิเออปอรต์  เดอลาจ )
พ.ศ. 2470   ออกแบบและสร้างเครื่องบินแบบ  ท.2  ( บริพัตร )  ซึ่งนับเป็นเครื่องบินแบบแรกที่ออกแบบ  และ  สร้างโดยคนไทย
เครื่องบินแบบนี้ได้ถูกสร้างเป็นจำนวนมาก  และ  ใช้เพื่อไปเจริญสัมพันธไมตรีกับเพื่อนบ้านหลายประเทศ
พ.ศ. 2472   ออกแบบเครื่องบินแบบ  ข.5  ( ประชาธิปก )
พ.ศ. 2479   สร้างเครื่องบินโจมตี - ตรวจการแบบ  จ.1  ( คอร์แซร์  อี  93 )  จำนวน 25 เครื่อง
พ.ศ. 2480   สร้างเครื่องบินโจมตี - ตรวจการแบบ  จ.1  อีก 25 เครื่อง  และ  สร้างเครื่องบินขับไล่แบบ  ข.10 รุ่นแรก
พ.ศ. 2482   สร้างเครื่องบินขับไล่แบบ  ข.10  รุ่นที่  2  จำนวน  25  เครื่อง
พ.ศ. 2515   สรางเครื่องบินฝึกแบบ  ทอ.4 ( จันทรา )  จำนวน  25  เครื่อง
พ.ศ. 2518   สร้างเครื่องบินแบบ  ทอ.5  จำนวน  1  เครื่อง
พ.ศ. 2525   ซื้อเครื่องบิน  และ  ลิขสิทธิ์การสร้างเครื่องบินฝึกแบบ   แฟนเทรนเนอร์   จากประเทศเยอรมันจำนวน  25  เครื่อง


ผมเอามาจากที่นี่ครับ ..... ลองไปดูได้ครับ       ;)


http://www.satitcmu.ac.th/student/2542/2/tour/p2.html


***********************************************************************************************


หวังว่าประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการผลิตเครื่องบินของเรา จะเริ่มต้นใหม่อีกครั้งนะครับ
 


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 15, 2005, 10:41:01 AM
รถถังเป็นเสมือน ราชินี ในสนามรบ ส่วนปืนใหญ่ เป็นเสมือน ราชา แต่ถ้าขาดรถถังลำเลียงพล การรบก็จะยึดเยื้อ เพราะ ชัยชนะที่เด็ดขาดคือ การให้ทหารราบเข้ายึดพื้นที่

หากเป็นการรบสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารราบต้องวิ่งตามรถถัง โดยมีปืนใหญ่สนามยิงสนับสนุน การเคลื่อนพลเข้าตีทำได้ช้า หน่วยส่งกำลังบำรุง ก็ทำได้ลำบาก เพราะ แนวรบกินพื้นที่กว้าง และ อันตราย ทหารราบเอง ก็เหนื่อยอ่อน เพราะ นอกจากต้องเคลื่อนพลด้วยเท้าตามรถถังแล้ว ยังต้องทำการสู้รบไปด้วยระหว่างทาง รถลำเลียงพลส่วนใหญ่ก็ไม่มีเกราะคุ้มกัน เป็นเพียงรถบรรทุกธรรมดา  รถลำเลียงพลที่มีเกราะคุ้มกันก็มีใช้ในวงจำกัด ทหารบางส่วนจึงนั่งไปบนหลังของรถถัง เมื่อต้องผ่านพื้นที่ ๆ ไม่มีการสู้รบ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีแนวความคิดที่จะเคลื่อนกำลังพลที่อยู่ในเขตสู้รบด้วยความรวดเร็ว และ ปลอดภัยจากการซุ่มโจมตีจากการลอบยิง แนวคิดดังกล่าวจึงออกมาในรูป ยานยนต์ลำเลียงพลหุ้มเกราะ (Armored Personnel Carrier) ที่มีทั้งล้อยาง และ ล้อ สายพาน

แนวคิดที่ใช้ ยานยนต์ลำเลียงพลหุ้มเกราะ ขนส่งทหารในแนวหน้าเป็นแนวคิดที่นำไปใช้ทั้งฝ่าย ซีกโลกเสรี และ ซีกโลกคอมมิวนิส ในช่วงสงครามเย็น และยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน

รถถังลำเลียงพลของ สหรัฐ ที่มีชื่อเสียงและ แพร่หลายมากที่สุด คือ M113 Gavin เนื่องจาก รถถังอีก 13 รุ่นใช้โครงฐานตัวถัง และ ระบบสายพานเดียวกัน


M58         Wolf Smoke Generator Carrier
M106       Self-propelled 107mm Mortar
M113       Armored Medical Evacuation Vehicle AMEV
M125       Self-propelled 81mm Mortar
M548       Cargo Carrier
M577       Command Post Carrier
M730       Guided Missile Equipment Carrier (Chaparral)
M901       Improved TOW Vehicle
M981       Fire Support Team Vehicle (FISTV)
M1059     Lynx Smoke Generator Carrier
M1064 Self-propelled 120mm Mortar
M1068 Standard Integrated Command Post System (SICPS) Carrier
M1108 Universal Carrier

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m113a2-981020-A-6207H-545.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m-113a2-dvic341.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m-113a2-dvic342.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m113a1-981025-F-4116M-505.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m113-960510-A-4901L-003.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m113_imgt_001.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m113_imgt_021.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m113-001.jpg)

ภาพ นี่ก็เป็นอีก เวอร์ชั่นของ M113

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m113-fov1.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m113-fov2.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m2-960104-F-8754M-008.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m113-approach-ship-ramp.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m113-marshalled-pierside.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: -Joke- ที่ พฤศจิกายน 15, 2005, 12:48:30 PM
ขออนุญาตแก้นิดหนึ่งครับ

ราชินีแห่งสนามรบ คือทหารราบครับ ดังคำกล่าวที่ว่า

"ยามที่ข้าย่างกรายไปทางใด ผู้คนต่างสดับฟังเสียงของข้า ดุจดังข้าแผ่นดินเฝ้ารอคอยข่าวจาก ราชินีแห่งสนามรบ"


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 15, 2005, 03:20:32 PM
รถถัง หรือ ทหารราบ ผมก็ไม่แน่ใจครับ เพราะ ผมไม่ได้เป็นทหาร

รถถังในตระกูล M113 มีหลายรูปแบบแล้วแต่จะดัดแปลงไปตามความต้องการของหน่วยปฎิบัติการนั้น ๆ เช่น

รถสร้างควัน M58 Wolf Smoke Generator System

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m58wolf2.jpg)

ภาพ M58 ด้านข้าง

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m58wolf1.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/smoke17.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/smoke18.jpg)

3 ภาพข้างบน เป็น M58 ขณะกำลังสร้างม่านควัน


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 15, 2005, 06:32:19 PM
อีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจของ M113 คือ เป็นฐานของ ระบบจรวตต่อสู้อากาศยาน ชาพาเรล  (Chaparral Aerial Intercept Guided Missile pallet) ถ้าผมจำไม่ผิด หน่วย ปตอ. ของไทย มีประจำการด้วย

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/chaparral-dvic413.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/chaparral-dvic414.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/chaparral-dvic415.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/chaparral_03.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ พฤศจิกายน 15, 2005, 09:21:06 PM
   เห็นด้วยกับคุณ helldiver ครับ f16 block 50/52 เหมาะกับไทยที่สุดแล้ว(เนื่องจากไม่ต้องสร้างบุคลากรขึ้นใหม่ทั้งหมด แต่ใช้เจ้าหน้าที่สนับสนุนภาคพื้น และ อะไหล่ เกือบเหมือนเดิม) หรือจะ เป็นรุ่นล่าสุดที่ UAE สั่งต่อ เป็น block 60/62 ด้วยก็ไม่เลว block 60/62 ใช้เรดาร์APG80 (block50/52ใช้ เรดาห์ APG 63 สามารถใช้จรวดต่อต้านเรือผิวน้ำ harpoon ได้ด้วย) และเครื่องยนต์มีกำลังขับถึง3200ปอนด์ซึ่งจะมีความสามารถสูงกว่า block50/52  ก็ดีเหมือนกันนะครับ
ประกอบกับปรับปรุง  f16a/b ให้เป็นรุ่นที่ใช้อาวุธนำวิถีแบบ aim120 ได้นี่แหละเหมาะที่สุดแล้ว แถมเครื่อง awac อีกซักลำสอง ด้วยจะยิ่งดี
แต่ขอเรียนถามจำนวนเครือง f16  และ f5 ที่เรามีหน่อยสิครับ และประจำการที่ฐานบินไหนบ้าง


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: jakrit97 - รักในหลวง - ที่ พฤศจิกายน 16, 2005, 10:28:24 AM
ราชินีแห่งสนามรบ คือ ทหารราบ แน่ครับ

ส่วน ราชา ก็ต้องยกให้ทหารปืนใหญ่ (ก็ปืนโตกว่านี่)

... แล้ว ทหารม้า มีสมญานามไหมนี่ ...

... จะว่าไป ไม่ว่าราชาหรือราชินี ก็ต้องขี่ม้าเหมือนกันทั้งคู่ ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 16, 2005, 02:25:13 PM
ยานเบาะอากาศ ซุปร์
…อุทกภัยเป็นภัยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มนุษย์คงไม่สามารถไปห้ามหรือขัดขวางไม่ให้เกิดขึ้นได้ ทำได้แต่เพียงบรรเทาความสูญเสียให้น้อยลงและช่วยเหลือผู้ที่ประสบอุทกภัยให้รอดพ้นจากภยันตรายที่เกิดขึ้น เมื่อมีอุทกภัยเกิดขึ้นครั้งใด ทางราชการจะจัดส่งหน่วยช่วยเหลือ เช่น ไปรับคนมายังพื้นที่ปลอดภัย หรือจัดส่งสิ่งของบรรทุกทุกข็ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน หรือแต่ถ้าหากมีอุทกภัยเกิดขึ้นในพื้นที่ห่างไกลถูกตัดขาดจากโลกภายนอก การคมนาคมทางบกถูกกระแสน้ำพัดขาดหายไปเป็นช่วง รถยนต์ข้ามไม่ได้ หรือเป็นเกาะอยู่ห่างไกลจากชายฝั่งการช่วยเหลือก็ทำได้ลำบากอาจจะกระทำได้เฉพาะทางอากาศเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามอุทกภัยจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีพายุดีเปรสชั่นหรือมรสุมพันผ่านเข้ามายังพื้นที่ทำให้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน อากาศเลวร้ายและลมแรงอากาศยานก็ไม่สามารถทำการบินได้ ถ้าหากพื้นที่ประสบภัยเป็นเกาะหรือติดกับแม่น้ำสายไหมอาจส่งเรือไปช่วยเหลือได้ แต่เรือก็ต้องจอดอยู่ห่างจากฝั่งมาก เพราะอาจจะชนกับหินโสโครก ถ้าหากเป็นแม่น้ำเรือลำใหญ่ก็คงไม่กล้าเสี่ยงเพราะแม่น้ำอาจจะตื้นเกินไปที่เรือจะแล่นผ่านไปได้
…มีเรือประเภทหนึ่งซึ่งเหมาะสำหรับการนำมาใช้ในการช่วยเหลือผู้ประสบภันพิบัติจากอุทกภัย ที่ถูกโดดเดี่ยวอยู่กลางทะเลหรือใกล้ริมฝั่งแม่น้ำ เรือแม้แต่บนบก เรือที่ว่านี้เรียกว่า ยานเบาะอากาศ หรือ Air Cushion Vehicle ที่ว่าเหมาะสำหรับภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่อยู่บริเวณพื้นที่ดังกล่าว เพราะเรือประเภทนี้ลำตัวจะจมลงไปใต้น้ำเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าหากเป็นเรือขนาดเล็กอาจจะเรียกว่าแล่นไปบนผิวน้ำ และมีความเร็วสูง สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที และที่สำคัญสามารถแล่นบนพื้นหญ้า บนถนน หรือแม้แต่แล่นทับไปบนเศษซากปรักหักพังของต้นไม้ อิฐ หิน ที่เกิดจากกระแสน้ำ โดยไม่ต้องกลัวว่าเรือจะเสียหายหรือคนจะได้รับอันตราย ถ้าเป็นเรือขนาดใหญ่ภายในตัวเรือสามารถบรรทุกเวชภัณฑ์หรือสิ่งของไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือเป็นโรงพยาบาลสำหรับทำการรักษาผู้บาดเจ็บขณะนำตัวออกจากพื้นที่มายังบนฝั่งหรือบริเวณที่ปลอดภัย
…แต่อย่างไรก็ตาม ยานเบาะอากาศไม่เป็นที่นิยมมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับเรือทั่วๆ ไป ในการนำมาใช้งานทางทะเลทั้งทางทหารและทางพลเรือน เนื่องจากเรือประเภทนี้มีข้อเสียหลายประการ อาทิเช่น เสียงดังมาก เพราะมีใบพัดขนาดใหญ่อยู่ด้านหลัง สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมาก และต้องมีเครื่องยนต์มากกว่า 1 เครื่อง ใช้สำหรับยกตัวเรือขึ้นและแล่นไปข้างหน้ารวมทั้งมีอายุการใช้งานไม่ยาวนานเมื่อเปรียบเทียบกับเรือทั่วๆ ไป เพราะวัสดุที่ใช้ทำ Skirt มีอายุการใช้งานสั้น แต่ในปัจจุบันนี้เรือประเภทนี้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าถูกนำมาใช้กับเรือประเภทนี้ ข้อเสียที่มีได้รับการแก้ไขให้ลดลงหรือหมดไป เสียงที่ดังมากถูกทำให้เบาลงด้วยการติดตั้งระบบกรองเสียง ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง แก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ดีเซล อายุการใช้งานแก้ไขโดยการใช้วัสดุผสมมาใช้ในการสร้างตัวเรือ ซึ่งนอกจากจะคงทนแล้ว ยังมีน้ำหนักเบาอีกด้วย สำหรับการนำมาใช้งานในภารกิจทางทหารเรือประเภทนี้สามารถรอดพ้นจากอันตรายจากทุ่นระเบิดที่ขึงอยู่ใต้น้ำเพราะลำตัวเรือกินน้ำตื้นมาก  ยานเบาะอากาศเท่าที่มีการสร้างขึ้นมาใช้งานจากอดีตถึงปัจจุบัน เรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือยานเบาะอากาศชั้น ซุปร์ ของรัสเซีย (Subr) สร้างขึ้นมาใช้งานทางทหารนาโตเรียกว่าชั้น โพโมนิค (Pomonik) มีประจำการอยู่ในกองทัพเรือรัสเซียและกองทัพเรือยูเครน เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมากองทัพเรือกรีกได้สั่งซื้อไปใช้งาน 4 เครื่อง เป็นเรือสร้างใหม่จากรัสเซีย 1 ลำ อีกหนึ่งลำเป็นเรือเก่าใช้งานอยู่ในกองทัพเรือรัสเซีย และอีก 2 ลำ เป็นเรือที่ใช้งานอยู่ในกองทัพเรือยูเครน เนื่องจากกรีกมีข้อขัดแย้งเรื่องอาณาเขตในทะเลอีเจียนกับตรุกี กองทัพเรือกรีกวางแผนใช้เรือชั้นซุปร์ ในการขนส่งกำลังทหารและยุทโธปกรณ์ไปยังพื้นที่ที่เกิดกรณีพิพาทได้อย่างรวดเร็ว (เกาะในทะเล) สามารถส่งทหารพร้อมกับยุทโธปกรณ์ไปได้คราวละมากๆ นอกจากนี้เรือซุปร์ ยังสามารถใช้อาวุธประจำเรือยิงสนับสนุนทหารที่กำลังเคลื่อนที่ยกพลขึ้นหาด และสามารถวางทุ่นระเบิดได้อีกด้วย
…คุณลักษณะของเรือชั้น ซุปร์ ตัวเรือเป็นรูปสี่เหลี่ยม ลำตัวยาว 56.2 เมตร กว้าง 22.3 เมตร ระวางขับน้ำมาตรฐาน 480 ตัน ระวางขับน้ำเต็มที่ 535 ตัน กินน้ำลึก 1.6 เมตร ออกแบบให้มีเสถียรภาพและคงทนต่อการอยู่ในทะเล ภายในตัวเรือกั้นแบ่งเป็น 3 ส่วน ตรงกลางจะเป็นส่วนที่ใช้สำหรับบรรทุกรถเกราะ อีกส่วนหนึ่งจะเป็นพื้นที่สำหรับติดตั้งเครื่องยนต์หลักและเครื่องยนต์สำรอง ซึ่งมีทั้งหมด 5 เครื่อง เป็นเครื่องยนต์แกสเทอร์ไบน์ ขนาด 10,000 แรงม้า และพื้นที่อีกส่วนจะเป็นส่วนที่อยู่พักอาศัยของพลประจำเรือจำนวน 27 คน และที่พักทหาร ซึ่งในพื้นที่ส่วนนี้ได้รับการติดตั้งทั้งเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความร้อน ระบบป้องกันสงครามนิวเคลียร์ เคมี และชีวะ ระบบกำจัดความดังของเสียง และระบบป้องกันการสั่นสะเทือน ตัวเรือติดตั้งแผ่นเกราะเพื่อป้องกันกระสุนปืนและสะเก็ดระเบิดทะลุเข้าไปทำอันตรายทหารที่อยู่ภายใน
…ขีดความสามารถในการบรรทุกเรือชั้น ซุปร์ สามารถบรรทุกรถถังหลัก ที-80 บี ไปได้ 3 คัน หรือรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ บีเอ็มพี –2 จำนวน 6 คัน หรือ บีทีอาร์ –70 จำนวน 10 คัน หรือทหารพร้อมรบ 360 คน หรือบรรทุกผสมผสาน ระหว่างทหาร 140 คนกับสัมภาระหนัก 130 ตัน ยานเบาะอากาศขนาดยักษ์ สามารถแล่นไปเกยตื้นบนชายหาดเพื่อส่งทหารและยุทโธปกรณ์ขึ้นฝั่งได้เลยซึ่งแตกต่างจากเรือยกพลขึ้นบก หรือเรือรบธรรมดาที่ต้องส่งทหารห่างจากหาด ทำให้ทหารเคลื่อนที่ไปได้ช้ามีความเสี่ยงจากการถูกยิงจากฝ่ายตรงข้ามที่ซุ่มอยู่ตามชายหาด และเสี่ยงต่อกับระเบิดและทุ่นระเบิดที่ฝังอยู่ใต้พื้นทราบ และใต้น้ำ
…เมื่อเรือเกยชายหาด เรือชั้น ซุปร์ จะเปิดประตูด้านหน้าขนาดใหญ่เพื่อให้การขนถ่ายสัมภาระรถถังหลัก รถเกราะ และทหารออกจากเรือได้อย่างรวดเร็ว
…พลังขับเคลื่อนจำนวน 5 เครื่อง ของเรือชั้น ซุปร์ เครื่องยนต์ 3 เครื่อง จะใช้เป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อให้เรือแล่นไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูง โดยมีใบพัด 3 ชุด ติดอยู่สูงด้านท้ายเรือ ใบพัดแต่ละชุดมี 4 กลีบ ติดตั้งอยู่ในวงแหวน ใบพัดสามารถปรับมุมใบพัดได้ เครื่องยนต์อีก 2 เครื่อง จะใช้สำหรับยกตัวเรือขึ้น และใบพัดทั้งสามชุดจะผลักให้เรือแล่นไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูง เรือยักษ์ ขนาดระวางขับน้ำสูงสุดมากกว่า 500 ตัน สามารถเคลื่อนที่ไปได้ด้วยความเร็วสูงสุด 60 นอต ระยะทำการไกลกว่า 300 ไมล์ แต่ถ้าลดความเร็วเหลือประมาณ 50 นอต จะเพิ่มระยะทำการไกลเป็น 1,000 ไมล์ อยู่ในทะเลได้นาน 5 วัน
…เรือชั้น ซุปร์ ติดตั้งระบบอาวุธเพื่อป้องกันตนเองและยิงสนับสนุนการยกพลขึ้นบกของทหารอาวุธที่ติดตั้ง ประกอบด้วยระบบจรวดต่อสู้อากาศยาน อิกล่า (Igla) 4 ชุด จรวดหลายลำกล้องขนาด 30 มิลลิเมตร 2 กระบอก อัตรายิงกระบอกละ 5,000 นัดนาที มีกระสุนปืน 6,000 นัด ระบบปืนทำงานโดยอัตโนมัติ สำหรับใช้ยิงต่อต้านบุคคล อากาศยานทั้งที่มีนักบินและไร้นักบินบังคับ ยิงทำลายอาวุธนำวิถี ต่อต้านเรือผิวน้ำที่เข้ามาในระดับที่เรี่ยผิวน้ำ ยิงทำลายเป้าหมายในทะเลขนาดเล็ก ยิงทำลายเป้าหมายบนฝั่ง และทำลายทุ่นระเบิดลอยน้ำ
…กองทัพเรือไทยมียานเบาะอากาศใช้งาน 3 ลำ แต่เป็นขนาดเล็ก ไม่ทราบจะสนใจมีเรือยักษ์ชั้น ซุปร์ เอาไว้ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทางภาคใต้หรือประชาชนที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่างๆ หรือผู้ที่อยู่ในพื้นที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซัก 1-2 ลำบ้างหรือเปล่า……..


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 16, 2005, 03:00:51 PM
เอารูปประกอบ บทความ ตามเคยครับ แต่เป็นของ อเมริกา  ส่วนของ ฝ่าย รัสเซีย จะตามมาครับ

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ship/lcac_lsd-44_990829-N-9593R-002.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ship/lsd-44_990829-N-9593R-002.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ship/lcac-kearsarge.jpg)

เรือ จักรกรีนฤเบจ น่าจะทำได้อย่างเรือชั้น คาราวา อย่าในภาพ


(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ship/lcac-navy671.jpg)

ลงน้ำก็ได้ ขึ้นบกก็ได้

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ship/lcac-40-2.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ship/lcac12.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ship/lcac-dvic076.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 16, 2005, 09:01:55 PM
ZUBR CLASS (POMORNIK) AIR CUSHIONED LANDING CRAFT, RUSSIA



หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 16, 2005, 09:32:23 PM
ยาน Hovercraft เป็นยาน สะเทินน้ำสะเทิ้นบก (Amphibian) แบบหนึ่ง ที่ใช้ในการยกพลขึ้นบกของกองทัพขนาดใหญ่ ส่วนกองทัพที่มีขนาดเล็กอย่างกองทัพ ไทย ยังต้องพึ่งยาน ยกพลขึ้นบก อย่าง AAVP7A1 (Assault Amphibian Vehicle Personnel)

AAVP7A1 ใช้ระบบขับเคลื่อนด้วย กระแสเจ๊ต เมื่ออยู่ในน้ำ และ ใช้ระบบสายพานเมื่อ วิ่งบนบก

ในสงครามอ่าวเมื่อปี 1991 กองทัพ สหรัฐ ไม่ได้มีการยกพลขึ้นบกจริง แต่ทำทีลวงว่าจะทำการยกพลขึ้นบกเท่านั้น AAVP7A1 ก็เลยต้องทำหน้าที่ลำเลียงพลบนพื้นเท่านั้น หน่วย นาวิกโยธิน ของ สหรัฐ ต้องทำหน้าที่ ควบคุมเชลยศึกชาว อิรัค มากกว่า การรบ

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/am04.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/am05.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/amphib.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/N0024SPD9505013-UN.JPG)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/aav-c3fkb4.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/aav-c3fkb5.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/aavp7a1-dvic381.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/aavp7a1-dvic386.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/docs/AMTRACK.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: -Joke- ที่ พฤศจิกายน 17, 2005, 03:47:33 AM
เหยี่ยวเวหาบ้านเรามีประจำการ 52 ลำครับ โดยแบ่งเป็น 3 ฝูง
คือ
103 เป็น F-16 A/B ครับ
102 เป็น F-16 ADF ครับ แต่จะเป็นฝูงขับไล่สกัดกั้นด้วย
สองฝูงนี้จะอยู่ที่โคราช
403 ก็ F- 16 A/B ครับ แต่ที่พิเศษคือรับหน้าที่เป็นฝูงโจมตีกลางคืนด้วยครับ เพราะมีกระเปาะเดินอากาศ รู้สึกว่า แอตลิส และมีกระเปาะชี้เป้าแบบรูบิส ครับ ฝูงนี้อยู่ที่ ตาคลี ครับ

ส่วน เอฟ 5 เรามีสองฝูง ราวๆ 32 ตัวครับ
ประจำที่

ฝูง 211 ที่อุบล เป็น F-5T ไทกริส ปรับปรุงใหม่ โดยเพิ่มจอสี ซอฟแวร์ และขีดความสามารถในการใช้จรวดนำวิถี อากาศสู่อากาศแบบ ไพธอน 4 ร่วมกับหมวกบินติดศูนย์เล็งครับ แบบ่ว่าหันไปล็อคเป้าแล้วยิงโดยไม่ต้องหันหัวเครื่องจี้ตูดเลย

ฝูง 701 ที่สุราษ ก็เป็น F-5 B/E/F และ RF-5A ครับ

ส่วนจำขวนเครื่องที่พร้อมบิน เครื่องเข้า alert บอกไม่ได้ครับ แต่บอกได้ว่าเตะปิ๊บดัง ไม่เป็นสองรองใครแน่นอนครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 17, 2005, 05:40:06 AM
ฝูง 211 ที่อุบล เป็น F-5T ไทกริส ปรับปรุงใหม่ โดยเพิ่มจอสี ซอฟแวร์ และขีดความสามารถในการใช้จรวดนำวิถี อากาศสู่อากาศแบบ ไพธอน 4 ร่วมกับหมวกบินติดศูนย์เล็งครับ แบบ่ว่าหันไปล็อคเป้าแล้วยิงโดยไม่ต้องหันหัวเครื่องจี้ตูดเลย

 ??? F-5T ติดแค่ Python 3 ไม่ใช่หรอครับ ???


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: -Joke- ที่ พฤศจิกายน 17, 2005, 12:46:52 PM
ฝูง 211 ที่อุบล เป็น F-5T ไทกริส ปรับปรุงใหม่ โดยเพิ่มจอสี ซอฟแวร์ และขีดความสามารถในการใช้จรวดนำวิถี อากาศสู่อากาศแบบ ไพธอน 4 ร่วมกับหมวกบินติดศูนย์เล็งครับ แบบ่ว่าหันไปล็อคเป้าแล้วยิงโดยไม่ต้องหันหัวเครื่องจี้ตูดเลย


 ??? F-5T ติดแค่ Python 3 ไม่ใช่หรอครับ ???

ไพธอน 3 หมดอายุการใช้งาน และยิงทิ้งเล่นไปหมดแล้วครับ แถมผมว่าไม่เหมาะด้วยเพราะลำพังตัวจรวด + รางปล่อย(ไพธอนสามต้องมารางปล่อยของมันต่างหาก) น้ำหนักรวมๆแล้วก็ประมาณระเบิด 500 ปอนด์แล้วครับ จากการที่คุยกับคนที่ลองยิงนั้นเขาบอกว่า "แหม ยังกะยิงรถเบนซ์ทิ้งทะเลเลย ของมันแพงครับ"

ตอนนี้เจ้าเอฟ 5 ฝูง 211 เราถูกส่งไปปรับปรุงใหม่ โดยอิสราเอลครับ จะมีสิ่งที่เห็นได้ชัดคือเสาอากาศ VHF ที่เป็นกระโดงหลังเครื่อง แถมยังติดเทคโนโลยีหมวกเล็ง(Helmet mounted display) เพื่อใช้ร่วมกับไพธอน 4 ของใหม่ครับ
หลังจากการปรับปรุงแล้วทำให้ยืดอายุออกไปราวๆ 15 ปีครับ รายละเอียดการปรับปรุงบอกได้เท่านี้ ลงลึกกว่านี้ไม่ได้ฮะ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: -Joke- ที่ พฤศจิกายน 17, 2005, 12:55:58 PM
ลองดูที่หลังเครื่องครับจะมีเสา VHF เป็นกระโดงหลังอยู่

ส่วนอีกภาพลองดูหมวกนักบินครับ

ตอนนี้สายการ mod ปิดลงแล้วครับด้วยจำนวน 1 ฝูง ของฝูง 211

ทำให้ฝูงนี้ใช้เอฟ 5 ต่อไปอีกราวๆ 15 ปี


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 17, 2005, 01:48:30 PM
 ;D ขอบคุณครับ ชัดเจน ผมนึกว่ายังเป็นแค่โครงการ ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: soveat ชุมไพร ที่ พฤศจิกายน 17, 2005, 02:35:28 PM
แล้วรถถังเบา สกอร์เปี้ยน  ประจำการอยู่หน่วยไหนครับ   เพราะจำได้ว่าตอนฝึก ร.ด. ปี 5  มีการสาธิตทางยุธวิธีที่เขาตระกรุดรังโคราช  เห็นเขาว่าใชปืนประจำรถเป็นขนาด 72 ม.ม.นำวิถีด้วยเลเซอร์  ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า  ประสิทธิภาพผมว่าเอาเรื่องอยู่เหมือนกันนะครับ


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 17, 2005, 03:52:12 PM
แล้วรถถังเบา สกอร์เปี้ยน ประจำการอยู่หน่วยไหนครับ เพราะจำได้ว่าตอนฝึก ร.ด. ปี 5 มีการสาธิตทางยุธวิธีที่เขาตระกรุดรังโคราช เห็นเขาว่าใชปืนประจำรถเป็นขนาด 72 ม.ม.นำวิถีด้วยเลเซอร์ ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า ประสิทธิภาพผมว่าเอาเรื่องอยู่เหมือนกันนะครับ

รถถัง สกอร์เปี้ยน FV 101 CVR(T) Scorpion เป็นรถถังลาดตระเวนตรวจการหน้าครับ ไม่ได้มีเอาใว้รบแบบประจันบานกับใคร ส่วนปืนใหญ่ก็เป็นปืนขนาด 76 มม. ไม่ไช่ 72 มม.

อาวุธหลักของรถถังรุ่นนี้ไม่ไช่ปืนใหญ่ ขนาด 76มม.ของมัน แต่เป็นขนาดที่เล็กคล่องตัว และ ระบบค้นหาตรวจจับ ที่ทำให้มันหลบออกจากพื้นที่เสี่ยงได้หากเมื่อถูกค้นพบ

รถถัง สกอร์เปี้ยน ถูกลดบทบาทลงเมื่อการเข้ามาของ เครื่องบินไร้คนขับ (UAV) เนื่องจากให้ข้อมูลของสนามรบ ได้ในเวลาจริง (Real time) ไม่ต้องรอให้รถถังถ่ายทอดสัญญาน หรือ รอให้กลับมาฐานเสียก่อน

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/row/scorpion-ie.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 18, 2005, 01:07:08 AM
สหรัฐ อเมริกา ได้พัฒนาการรบทางบกโดยใช้บทเรียนที่ผ่านมาในอดีต โดยใช้การเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วในสนามรบเป็นหลัก และ กับการเข้าประจำการของรถถังหลัก M1 แทนที่รถถัง M60 ทำให้ รถถังลำเลียงพล M113 จำเป็นต้องปลดประจำการไปโดยปริยาย เพราะ M113 ไม่สามารถติดตามรถถัง M1 ไปในสนามรบได้ จึงเป็นต้นกำเนิดของรถถัง M2 แบรดลี่ ซึ่งเป็นรถถังลำเลียงพลเคลื่อนที่เร็ว และ รถถัง M3 แบรดลี่ ที่เป็นรถถังสอดแนม

M2A3 and M3A3 Bradley Fighting Vehicle Systems (BFVS)

M2 และ M3 เป็นรถถังที่ดูภายนอกคล้ายกันมาก ส่วนที่ต่างกันจริง ๆ อยู่ภายในตัวรถที่ M2 ลำเลียงทหารไปได้ 6 นาย ส่วน M3 ลำเลียงทหารสอดแนมไปได้เพียง 2 นายเท่านั้น

รถถัง M2/M3 Bradley มีอาวุธหลักคือ ปืนใหญ่ขนาด 25 มม.  M242 25mm "Bushmaster" ที่มีอัตตรายิงถึง 200 นัด/นาที และมีปืนกลร่วมแกน 7.62 มม. แต่อาวุธหลักที่ทำให้รถถังหลักของฝ่ายข้าศึกเกรงขามรถลำเลียงพลรุ่นนี้คือ จรวต TOW Anti-Tank Missile ที่ควบคุมด้วยเส้นลวด

อุปกรณ์ อีเล็กโทรนิคใน M2/M3 มีระยะตรวจจับที่ไกลมากถึง 4 กิโลเมตร ทำให้ได้เปรียบฝ่ายข้าศึกในระยะยิง เพราะ จรวต TOW Anti-Tank Missile ก็มีระยะยิงหวังผลที่เกือบ 4 กิโลเมตรเช่นกัน

M2/M3 ใช้เครื่องยนต์ VTA-903T ที่ให้กำลังสูงถึง 600 แรงม้า ทำให้ ม้าเหล็กตัวนี้วิ่งในสภาพภูมิประเทศได้เกือบ 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง เลยทีเดียว

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/bradley_reactive_armor.jpg)

M2 ติดเกราะปฎิกริยากำลังเตรียมยิงจรวต TOW

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/m2-001.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/m2-002.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/m2-003.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/m2-bradley-ds.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/m2-bradleymoving.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/m2-lookout-trench.jpg)

ภาพ M2 ติดเกราะเสริมฝังตัวในดิน พร้อมยิงจรวต TOW

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/m2-951231-F-8381L-001.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/m2-981022-F-4116M-532.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/m2a2-980120-A-0000B-002.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/m3-981025-F-2171A-508.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/brad5.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/m-2-bfv-dvic338.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/m-2-bfv-dvic339.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/m-2-bfv-dvic340.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/m2_imgt_010.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/bushmaster-dvic482.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/bushmaster-dvic483.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/bushmaster-dvic484.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/bm2-2.jpg)

(http://fas.org/man/dod-101/sys/land/bm2-3.jpg)

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Gun228 ที่ พฤศจิกายน 18, 2005, 01:00:48 PM
 :)ผมชอบหัวเรื่องนี้มากๆเลยครับ : ท่านสมาชิกหามาให้ชมเยี่ยมมากๆครับผมขอสนันสนุนครับเพราะได้ความรู้+ได้เห็นของดีๆทั้งนั้นเลยครับผม :D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 19, 2005, 07:02:59 PM
อาวุธปืนที่มีประจำการในกองทัพของโลกเสรียาวนานที่สุดในโลกคือ ปืน M2 .50 Caliber [12.7mm] Machine Gun ที่มีชื่อเล่นว่า "Ma Duce"

M2 เป็นปืนที่ออกแบบโดย จอนท์ บราวนิ่ง (John Moses Browning ผู้ออกแบบปืน 1911 ที่โด่งดังนั่นเอง) ตั้งแต่ปี 1921 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จบลงได้ไม่นาน กระสุนที่ใช้กับ M2 ก็ออกแบบใหม่ให้ใช้กับปืนรุ่นนี้โดยเฉพาะ แต่ในปัจจุบันปืน sniper บางแบบก็ใช้กระสุนขนาดนี้เช่นกัน กระสุน .50 นิ้ว หรือ 12.7 มม. ออกแบบให้มีความเร็วต้นที่สูงเกือบ 3 เท่าเสียง (3,050 ft/s หรือ 930 m/s) เลยทีเดียว กับอัตรายิง 550 นัด/นาที ทำให้มีอำนาจการยิงที่สูงมาก กับ ระยะหวังผล ถึง 2 กิโลเมตร และ มีความเชื่อถือได้สูงทำให้ปืน M2 ไม่เคยถูกปลดออกจากปืนกลหลักของกองทัพ สหรัฐ

ด้วยน้ำหนักตัวถึง 38 กิโลกรัม กับ ขาตั้งที่หนัก 20 กิโลกรัม ทำให้ปืนกลหนัก  M2 ต้องใช้ทหารถึง 3 นายในการเคลื่อนย้าย (ปืน, ขาตั้ง และ กระสุน) ในสนาม การรบช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปืนกลหนัก M2 ได้ถูกติดตั้งในยานยนต์หลากหลายประเภท ทั้งรถจี๊พ (สิงทะเลทราย) เรือรบ และ เครื่องบินแบบต่าง ๆ ในปัจจุบันปืนกล M2 ยังคงประจำการอยู่ในหน่วยรบหน่วยต่าง ๆ รวมถึงหน่วยปฎิบัติการพิเศษอีกด้วย

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m2-mg-large.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m2_50_wpn_010.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m-2-50cal-dvic552.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m-2-50cal-dvic551.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/land/m-2-50cal-dvic550.jpg)



หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 19, 2005, 10:47:37 PM
ต่ออีกรูปครับ เพราะ ใหญ่ ใส่พร้อมกันไม่ได้


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 20, 2005, 03:57:52 PM
ปืนกลหนัก M2 เป็นปืนกลที่ประจำการในกองทัพ สหรัฐ นานที่สุดคือ เกือบ 90 ปี แต่ M2 ไม่ได้เป็นปืนกลที่มีอำนาจยิงสูงสุด เพราะ ปืน M2 เทียบอำนาจการยิงกับปืน GAU-8 "Avenger" ไม่ได้เลย ทั้งขนาด น้ำหนัก และ ความเร็วในการยิง

ปืนกล GAU-8 "Avenger" เป็นปืนที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อติดตั้งกับเครื่องบิน A-10/OA-10 Thunderbolt II โดยเฉพาะ กระสุนปืนก็ออกแบบเพื่อใช้กับปืนรุ่นนี้โดยเฉพาะเช่นกัน

GAU-8 "Avenger" มีขนาดคาลิเบอร์ 30 มม. 7 ลำกล้องบนแกนหมุนหรือที่เรียกว่า ปืน แกตทริ่ง (gatling gun) ปฎิ บัติการด้วย ไฟฟ้า มีอัตตรายิงสูงสุดถึง 4,200 นัด/นาที และ อัตตรายิงต่ำที่ 1,800 นัด/นาที แต่อัตตรายิงสูงสุดถูกลดลงเหลือ 3,900 นัด/นาที ส่วนอัตตรายิงต่ำได้ถูกยกเลิกไป เพราะ เครื่องต้องใช้เวลาในการยิงนานกว่าโดยให้ผลที่เท่าเทียมกัน

กระสุน ขนาด 30 มม. มีขนาดยาว 30 เซนติเมตร หัวกระสุนหนัก 300 กรัม หรือ 4,650 grains มีความเร็ว 3 เท่าเสียงหรือ 1067 เมตร/วินาที มี 2 ชนิด ผสมกันคือ กระสุนหัวระเบิดแรงสูง High Explosive Incendiary (HEI) และ หัวกระสุนที่มีแกนเป็นยูเรเนี่ยมหมดสภาพ Depleted Uranium (DU) โดยกระสุนหัวระเบิดแรงสูง1 นัดสลับกับ กระสุน DU 4 นัด ในสงครามอ่าวเมื่อปี 1991 กองทัพสหรัฐ ยิงกระสุน 30 มมไป 783,514 นัด คิดเป็นน้ำหนัก กระสุน DU ถึง 259 ตัน

ตัวปืนมีน้ำหนัก 281 กิโลกรัม
ยาว 6.4 เมตร


(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/equip/gau-8-990566a.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/equip/a-10-142479.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/equip/a-10-142524.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/equip/a-10-0415a10-2.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/equip/gau-8-99112f.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/equip/gau-8-990837b.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 27, 2005, 03:16:23 PM
หลายคนอาจสงสัยว่า gatling gun คือ อะไร และ มาจากไหน??

ปืน gatling คือปืนที่มีหลายลำกล้องหมุนบนแกนหมุน เป็นปืนกลแบบแรก  ออกแบบโดย Richard Jordan Gatling จึงได้ชื่อ Gatling มาจากผู้ออกแบบนั่นเอง

Richard Jordan Gatling เป็นหมอสมัยสงครามกลางเมือง ของ อเมริกา เห็นผู้คนล้มตายในสงครามเป็นจำนวนมาก เลยคิดค้นปืนที่ยิงได้เร็วขึ้นมา เริ่มแรก ปืน แกตริ่ง มี 6 ลำกล้อง และ ยิงได้ด้วยอัตตรา 320 นัด/นาที และ ติดตั้งบนลอ ต้องลากไป

(http://www.leverguns.com/desktop/Gatling-gun.jpg)

ในปัจจุบัน ปืน แกตริ่ง มีการพัฒนาไปมากมีทั้งแบบปฎิบัติการได้ด้วยคน ๆ เดียว และใหญ่ขนาด รถโฟล์คเต่าเลยทีเดียว


(http://image.www.rakuten.co.jp/tokyo-maniacs/img1004441391.jpeg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/equip/m61pod.jpg)

M 61 ขนาด 20 มม.

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/equip/m21m158.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ship/weaps/ciws11.jpg)

(http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ship/weaps/mk-15-dvic515.jpg)


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: minicooper ที่ พฤศจิกายน 28, 2005, 06:45:12 AM
น่าจะจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศใหม่ด้วยนะ  ที่ใช้อยู่ปัจจุบันล้าสมัยแระ
โดน มือสมัครเล่น ECM แบบเด็กๆ ก็พินาศแล่ว


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ พฤศจิกายน 30, 2005, 10:57:09 PM
น่าจะจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศใหม่ด้วยนะ ที่ใช้อยู่ปัจจุบันล้าสมัยแระ
โดน มือสมัครเล่น ECM แบบเด็กๆ ก็พินาศแล่ว

ระบบป้องกันภัยทางอากาศ ที่ดีที่สุดคือ เครื่องบินขับไล่ครับ เพราะ ประเทศไทยเป็นอ่าว การติดตั้งกลางทะเลทำได้ลำบาก ส่วนภัยคุกคามจากทางเหนือ ก็ไม่ได้น่ากลัว เพราะ ประเทศรอบข้างไทยต้องอาศัยไทยเป็นแหล่งทำมาหากิน ส่วนภัยคุกคามที่น่ากลัวน่าจะมาจากทางใต้มากกว่า ส่วนประเทศเวียตนาม ก็เกรงกลัวจีน เพราะ ไทยเป็นมิตรที่สนิดกับจีนมากกว่าเวียตนามเสียอีก


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Southlander ที่ พฤศจิกายน 14, 2009, 09:29:35 PM
ขอยก มันน่าสนใจมาก
+ให้คุณอรชุนในเรื่องสงครามหกวันและการขโมยพิมพ์เขียวเครื่องบินรบมิราจ
อิสราเอลนี่ชาตินักรบจริงๆ

ประมาณหน้าที่ 10-12


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 14, 2009, 11:14:38 PM
ขอยก มันน่าสนใจมาก
+ให้คุณอรชุนในเรื่องสงครามหกวันและการขโมยพิมพ์เขียวเครื่องบินรบมิราจ
อิสราเอลนี่ชาตินักรบจริงๆ

ประมาณหน้าที่ 10-12
ขอบคุณครับพี่ ทอนครับ  ;D ;D

กระทู้นี้ที่เงียบๆลงไปเพราะ มีกระทู้เครื่องบินขับไล่เข้ามาครับ แต่กระทู้นี้ พี่ใหม่ กับ พี่686 ก็ลงข้อมูลดีๆ ไว้เยอะมากครับ  ::014:: ::014::


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: prawin -รักในหลวง- ที่ พฤศจิกายน 15, 2009, 10:42:50 PM
[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

ถ้าขึ้นแบบนี้ผมจะสามารถดูรูปเก่าๆยังไงครับ

ขอบคุณครับ

ปล.  อู้ฮู้ ตั้งแต่ปี 2005 แนะ  :OO   :OO   :OO


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 15, 2009, 11:27:42 PM
[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

ถ้าขึ้นแบบนี้ผมจะสามารถดูรูปเก่าๆยังไงครับ

ขอบคุณครับ

ปล.  อู้ฮู้ ตั้งแต่ปี 2005 แนะ  :OO   :OO   :OO
อดดูครับ แต่เอาชื่อ ไปถามกูเกิ้ลก็ได้รูปมาดูแล้วครับ  ;D ;D


หัวข้อ: Re: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย
เริ่มหัวข้อโดย: gt4nfs3 ที่ กุมภาพันธ์ 13, 2010, 10:00:31 PM
หัวกระสุนที่มีแกนเป็นยูเรเนี่ยมหมดสภาพ Depleted Uranium (DU) โดยกระสุนหัวระเบิดแรงสูง1 นัดสลับกับ กระสุน DU 4 นัด ในสงครามอ่าวเมื่อปี 1991 กองทัพสหรัฐ ยิงกระสุน 30 มมไป 783,514 นัด คิดเป็นน้ำหนัก กระสุน DU ถึง 259 ตัน
ปืนกลหนัก M2 เป็นปืนกลที่ประจำการในกองทัพ สหรัฐ นานที่สุดคือ เกือบ 90 ปี แต่ M2 ไม่ได้เป็นปืนกลที่มีอำนาจยิงสูงสุด เพราะ ปืน M2 เทียบอำนาจการยิงกับปืน GAU-8 "Avenger" ไม่ได้เลย ทั้งขนาด น้ำหนัก และ ความเร็วในการยิง

"ยูเรเนี่ยมหมดสภาพ "...ทำไมเค้าเอามาทำแกนเพื่ออะไรครับ
มีประโยชน์อะไรครับ....ขอบคุณครับ