๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
พฤษภาคม 05, 2024, 03:26:12 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รู้ทันร่างกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ  (อ่าน 2701 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« เมื่อ: สิงหาคม 08, 2006, 02:47:05 PM »

คู่มือภาคประชาชนเพื่อการเรียนรู้นโยบายสาธารณะ รู้ทันร่างกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ

































บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2006, 04:34:02 PM »

2-02 เขตศก.พิเศษ-1

ร่างพรบ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ ฉบับ ประเทศไทย จำกัดมหาชน

เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างกฎหมายฉบับหนึ่ง เป็นร่างกฎหมายฉบับใหญ่
ที่มีความยาวถึง 110 มาตรา! เนื้อหามีผลให้เป็นการยกเว้นการบังคับใชกฎหมายหลายฉบับ!

เนื้อหาในร่างดังกล่าว สัก กอแสงเรือง สมาชิกวุฒิสภา อดีตนายกสภาทนายความ ถึงขั้นกล่าวว่า
ผมยกย่องคนร่างจริงๆ คนธรรมดาอย่างพวกเรานี่คิดไม่ได้หรอก

ร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้น คือ ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ.......
และต่อไปนี้ คือเนื้อหาของกฎหมาย ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ

เขตเศรษฐกิจพิเศษ คืออะไร
 
หลักการและเหตุผลของกฎหมายฉบับนี้ มาจากความต้องการที่จะเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น
พัฒนาการให้บริการของภาครัฐโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน แต่กฎหมายเดิม
ซึ่งคือพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2522 ไม่เอื้อต่อการพัฒนาดังกล่าว เพราะเน้นเพียงการพัฒนาพื้นที่ให้เป็น
เขตอุตสาหกรรมส่งออกเท่านั้น แต่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการ “ใหบริการ” ของภาครัฐ จึงจะยกเลิกกฎหมาย
ดังกล่าวและใหมีกฎหมายว่าด้วย “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ขึ้น

เขตเศรษฐกิจพิเศษ คือพื้นที่ที่จัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวก และ “ให้สิทธิพิเศษบางประการ”
ในการดำเนินกิจการต่างๆ เช่น การอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม การท่องเที่ยว การบริการ การผังเมือง
การอยู่อาศัย ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือ “การอื่นใด” อันครอบคลุมกว้างขวาง

คณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ประกอบด้วย “นายกรัฐมนตรี” เป็นประธานผู้มีอำนาจสูงสุด
รองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ มีเลขาธิการ
คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่น้อยกว่าเจ็ด
แต่ไม่เกินสิบคน เป็นกรรมการ

แต่ทว่า คณะกรรมการนโยบาย จะเชิญรัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวงใดๆ ใหมาเข้าร่วมประชุมเป็นครั้งคราวได้แล้ว
รัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวงผู้มาประชุมนั้น มีฐานะเป็น “กรรมการ” ทันที แสดงว่า สัดส่วนของกรรมการนโยบาย
เขตเศรษฐกิจพิเศษในภาครัฐ ภาครัฐมนตรีมีจำนวนไม่แน่นอนสามารถที่จะยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นได้ ตามความเห็นของ
คณะกรรมการนโยบาย โดยทั้งหมดอยู่ในความดูแลของนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจสูงสุด

ฐานะของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ มีฐานะเป็น “องค์การมหาชน”
แต่เขตเศรษฐกิจพิเศษมีฐานะเป็น “นิติบุคคล” ไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎระเบียบข้อบังคับ หรือมติใด ๆ ที่ใช้บังคับแก่
รัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชน อีกนัยหนึ่งคือ เป็นองค์กรมหาชนแต่ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายองค์กรมหาชน
มันอยู่เหนือกฎหมายมีอำนาจ แต่ไม่มีหน้าที่ไม่มีภาคบังคับให้อยู่ในกรอบของกฎหมายใดๆ สัก  กอแสงเรือง
กล่าวถึงร่างพรบ.ดังกล่าวในที่ประชุมร่วมกันของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
และ คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา

คณะกรรมการนโยบาย สามารถดำเนินการใดๆ ผ่านสำนักงานคณะกรรมการนโยบาย ซึ่งมีหน้าที่ทั้งเป็นธุรการศึกษา
เสนอแนะกิจการต่าง ๆ รวมทั้งมีหน้าที่ในการ “ร่วมประกอบการงาน” หรือ “ร่วมลงทุน” กับเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ในกิจการทั้งปวงของเขตเศรษฐกิจพิเศษ


ในเรื่องนี้ นายสัก กอแสงเรืองกล่าวว่า สำนักงานทำหน้าที่ธุรการตามมาตรา 12 แตสำนักงานยังไปร่วมประกอบการ
หรือร่วมลงทุนกับเศรษฐกิจพิเศษได้เลยทำให้สงสัยว่าอำนาจของสำนักงาน มันบริหารจัดการทำหน้าที่ธุรการจริงหรือเปล่า
พอไปประกอบการหรือร่วมลงทุน มันเป็นพ่อค้าไปแล้ว เป็นนักลงทุนไปแล้ว เป็นผู้ประกอบการไปแล้ว ตกลงสำนักงาน
มีฐานะเป็นสำนักงานตามอำนาจหน้าที่จริงหรือเปล่า
 
การจัดตั้งเปลี่ยนแปลงเขต หรือยุบเลิกเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาก่อนที่ครม.จะให้ความเห็นชอบ
ใหครม.ส่งร่างพระราชกฤษฎีกาต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อ “ทราบ” นั่นคือ สภาไม่มีอำนาจพิจารณา
ไม่มีอำนาจทักท้วง ทบทวน ส่งคืน หรือทำให้ พระราชกฤษฎีกาตกไป นอกจากเป็นสภาตรายาง อำนาจทั้งหมดถูกรวบไว้
ที่ฝ่ายบริหารอย่างชัดเจน

ให้ฝ่ายบริหารออกพระราชกฤษฎีกาซึ่งเป็นกฎหมายลูก ยกเว้นกฎหมายในรูปแบบของพระราชบัญญัติ
ที่ออกโดยสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติได้มากมาย
 
ตอนต่อไป มีเนื้อหาว่าด้วยอำนาจของเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่ดูแลโดยฝ่ายบริหารของประเทศ

มาตรา 6   :  เมื่อมีกรณีสมควรส่งเสริม สนับสนุน และอำนวยความสะดวก รวมตลอดทั้งใหสิทธิพิเศษบางประการ
ภายในเขตพื้นที่เฉพาะเพื่อประโยชนในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น  การอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม
การท่องเที่ยว การบริการ การผังเมือง การอยู่อาศัยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือการอื่นใด รวมทั้งการพัฒนาต้นแบบ
การบริหารจัดการที่ดี และการจัดให้เป็นเขตประกอบการเสรีอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างให้ดำเนินการจัดตั้ง
เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 7 วรรคสี่  : ในการประชุมพิจารณาเรื่องใด คณะกรรมการนโยบายจะเชิญรัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
กับเรื่องนั้นให้เข้าร่วมประชุมในฐานะเป็นกรรมการเป็นครั้งคราวด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนั้น ให้รัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวง
ซึ่งได้รับเชิญและมาประชุมมีฐานะเป็นกรรมการตามวรรคหนึ่งสำหรับการประชุมครั้งที่ไดรับเชิญนั้น

มาตรา 11 : ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ
มีฐานะเป็นองค์การมหาชน

การใดที่มิไดบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน
เพื่อประโยชนแห่งการนี้ ให้ถือว่าคณะกรรมการนโยบายมีฐานะเป็นคณะกรรมการซึ่งทำหน้าที่บริหารสำนักงาน
และนายกรัฐมนตรีเป็นรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน

มาตรา 12 : สำนักงานมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
   (๑) ทำหน้าที่ธุรการของคณะกรรมการนโยบาย
   (๒) ศึกษาเตรียมการ เสนอแนะกิจการต่าง ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบาย
   (๓) ศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ที่จะกำหนดใหเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเฉพาะในเรื่องความเป็นไปได้
ในทางเศรษฐกิจและการเงินในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่ละเขต ผลกระทบและความคุ้มค่าในประโยชน์
ที่ประชาชนในพื้นที่จะได้รับเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบาย
   (๓ / ๑) ให้ข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เพื่อประกอบการศึกษาวิเคราะหและเสนอแนะ
แนวทางป้องกันหรือแก้ไขผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ทั้งก่อนและหลังการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ
   (๔) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของเขตเศรษฐกิจพิเศษ
   (๕) ร่วมประกอบการงานหรือร่วมลงทุนกับเขตเศรษฐกิจพิเศษในกิจการทั้งปวงของเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ตามหลักเกณฑที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดหรือตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบาย
   (๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือที่คณะกรรมการนโยบายมอบหมาย

มาตรา 16  :  การจัดตั้งเปลี่ยนแปลงเขต และการยุบเลิกเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ก่อนที่คณะรัฐมนตรี
จะให้ความเห็นชอบในร่างพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้คณะรัฐมนตรีส่งร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภาเพื่อทราบ

มาตรา 16 วรรค 3 :ให้เขตเศรษฐกิจพิเศษ มีฐานะเป็นนิติบุคคล  ไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎระเบียบข้อบังคับ หรือมติใด ๆ
ที่ใช้บังคับแกรัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชน เว้นแตในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดตั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ
ใหถือว่าพนักงานและลูกจ้างของเขตเศรษฐกิจพิเศษ  เป็นพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ








บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.097 วินาที กับ 21 คำสั่ง