๏ฟฝ๏ฟฝ็บบ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาปืน
พฤษภาคม 06, 2024, 04:38:21 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: @@@@เฉลยแล้วครับ@@@@ ภาพเงากระสุนปริศนา@@@@  (อ่าน 12968 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดร.ธนาสิทธิ์
Full Member
***

คะแนน 117
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


« ตอบ #30 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2011, 11:50:58 AM »

สำหรับพวกบังคับวิทยุ ถ้าใช้ที่บังคับอย่างดี ๆ เราสามารถลด PIO ได้โดยการตั้ง exponential curve เป็นติดลบสัก 20-30% ดังนั้น บริเวณกลาง ๆ ของแกนบังคับจะ sensitive น้อยกว่าปกติ  พอเก่งแล้วจึงค่อยลดค่าได้
บันทึกการเข้า
pehtor
เลือกปืนก็เหมือนเลือกแฟน นอกจากนิสัยดี ยังต้องหน้าตาดี เข้ากับเราได้
Full Member
***

คะแนน 1201
ออฟไลน์

กระทู้: 265


โอกาสเป็นของคนที่เตรียมพร้อม


« ตอบ #31 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2011, 01:04:27 PM »

ขอกลับไปเรื่องภาพนิดนึง สรุปว่าเกิดจากความเร็วในการกวาด ของแผ่นม่านชัตเตอร์ งั้นก็หมายความว่าถ้าหากใช้ความไวชัตเตอร์ B แล้วตั้งตัวกระตุ้นแฟลชแทน ก็จะไม่เกิดภาพเงาแบบเหลื่อมกันใช่มั้ยครับ
บันทึกการเข้า

มีชีวิตให้กว้างขวาง ดีกว่ามีชีวิตให้ยืนยาว
sitta.
Hero Member
*****

คะแนน 488
ออฟไลน์

กระทู้: 7275


« ตอบ #32 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2011, 02:38:26 PM »

ขอกลับไปเรื่องภาพนิดนึง สรุปว่าเกิดจากความเร็วในการกวาด ของแผ่นม่านชัตเตอร์ งั้นก็หมายความว่าถ้าหากใช้ความไวชัตเตอร์ B แล้วตั้งตัวกระตุ้นแฟลชแทน ก็จะไม่เกิดภาพเงาแบบเหลื่อมกันใช่มั้ยครับ

น่าจะเกิดเหมือนเดิมครับ เพราะปัญหามันอยู่ที่ชัตเตอร์ต้องใช้เวลาในการเลื่อนตัวกันแสง
สมมุติว่ากล้องที่ใช้ชัตเตอร์เลื่อนจากซ้ายไปขวา  แล้วถ่ายรถไฟขบวนเดียวกัน
จะพบว่ารถไฟที่วิ่งจากซ้ายไปขวาขบวนยาวกว่า รถไฟที่วิ่งจากขวาไปซ้าย
บันทึกการเข้า
circle
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 24
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 184


« ตอบ #33 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2011, 04:28:57 PM »

อย่างนี้ถ้าใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ (สูงกว่าความเร็วกระสุนเลย  ถ้าเป็นไปได้นะครับ)  ก็น่าจะลดการเกิดปรากฎการณ์แบบนี้ได้ใช่ไหมครับ

ในทำนองเดียวกันถ้าถ่ายด้วยกล้องวีดีโอก็จะเกิดปรากฎการณ์แบบนี้หรือเปล่าครับ   เพราะผมมองว่ากล้องวีดีโอ  ไม่ได้ใช้ชัตเตอร์ในการถ่ายภาพ  แต่ใช้ระบบฟิล์มเลื่อนจากบนลงล่าง  หรือซ้ายไปขวา  ก็น่าจะมีผลเหมือนกันใช่ไหมครับ   แต่ถ้าเป็นกล้องวีดีโอระบบดิจิตอลละครับจะเป็นยังไง....   ยิ่งคิดก็ยิ่งงง... แฮะ...   Huh Huh Huh
บันทึกการเข้า
ผณิศวร เกิดในรัชกาลที่ ๙
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 1437
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6038



« ตอบ #34 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 04:10:27 PM »

ขอกลับไปเรื่องภาพนิดนึง สรุปว่าเกิดจากความเร็วในการกวาด ของแผ่นม่านชัตเตอร์ งั้นก็หมายความว่าถ้าหากใช้ความไวชัตเตอร์ B แล้วตั้งตัวกระตุ้นแฟลชแทน ก็จะไม่เกิดภาพเงาแบบเหลื่อมกันใช่มั้ยครับ

น่าจะเกิดเหมือนเดิมครับ เพราะปัญหามันอยู่ที่ชัตเตอร์ต้องใช้เวลาในการเลื่อนตัวกันแสง
สมมุติว่ากล้องที่ใช้ชัตเตอร์เลื่อนจากซ้ายไปขวา  แล้วถ่ายรถไฟขบวนเดียวกัน
จะพบว่ารถไฟที่วิ่งจากซ้ายไปขวาขบวนยาวกว่า รถไฟที่วิ่งจากขวาไปซ้าย

ใช้ B ร่วมกับตัวกระตุ้นแฟลช  แบบนี้มีปัญหาเรื่องชัตเตอร์กวาดครับ  เพราะเปิดชัตเตอร์ตลอดเวลาโดยห้องต้องมืดสนิท
ภาพที่ได้เกิดจากแสงแฟลชตัวเดียว พร้อมๆ กันทุกส่วนของภาพ
บันทึกการเข้า

ผมเป็นลูกหลานจีนอพยพ  ทวดแซ่อิ๊ว ตาแซ่เล้า ปู่แซ่อึ๊ง   
เมืองไทยให้โอกาสทุกอย่าง  ไม่มีข้ออ้างเรื่องชนชั้น
ผมได้กราบแทบพระบาทในหลวงเป็นมงคลสูงสุดของชีวิต
I Love My King (AkNaRiN~*)
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 129
ออฟไลน์

กระทู้: 1670



« ตอบ #35 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 04:49:39 PM »

บทความนี้มีไปลงไว้ในเวบไหนหรือเปล่าครับ
อยากให้เพื่อนๆผมได้อ่านด้วย
ถ้ามีรบกวนขอลิงค์ด้วยครับ

หากยัง ถ้าจะคัดลอกไปให้เพื่อนได้อ่านจะได้ไหมครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ที่น่าสนใจ ไหว้
บันทึกการเข้า
AJ_6080
พระราม2 กทม.
Hero Member
*****

คะแนน 1600
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5415


บารมี-มีได้เพราะความดี...


« ตอบ #36 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 06:12:29 PM »

ผมคิดว่า อาจารย์ไม่หวงความรู้อยู่แล้วครับ... หลงรัก หลงรัก
บันทึกการเข้า

  ผมรักในหลวง...ครับ
ดร.ธนาสิทธิ์
Full Member
***

คะแนน 117
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


« ตอบ #37 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 06:04:51 AM »

อย่างนี้ถ้าใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ (สูงกว่าความเร็วกระสุนเลย  ถ้าเป็นไปได้นะครับ)  ก็น่าจะลดการเกิดปรากฎการณ์แบบนี้ได้ใช่ไหมครับ

ในทำนองเดียวกันถ้าถ่ายด้วยกล้องวีดีโอก็จะเกิดปรากฎการณ์แบบนี้หรือเปล่าครับ   เพราะผมมองว่ากล้องวีดีโอ  ไม่ได้ใช้ชัตเตอร์ในการถ่ายภาพ  แต่ใช้ระบบฟิล์มเลื่อนจากบนลงล่าง  หรือซ้ายไปขวา  ก็น่าจะมีผลเหมือนกันใช่ไหมครับ   แต่ถ้าเป็นกล้องวีดีโอระบบดิจิตอลละครับจะเป็นยังไง....   ยิ่งคิดก็ยิ่งงง... แฮะ...   Huh Huh Huh



ในกรณีที่เราตั้งชัตเตอร์แบบ B (ย่อมาจากคำว่า Bulb ซึ่งหมายถึงหลอดไฟแฟลชสมัยก่อน เราต้องตั้งชัตเตอร์แบบ B เท่านั้น เพราะแสงไฟจากแฟลชชนิดหลอดจะออกมาช้ามาก ขืนใช้ชัตเตอร์ธรรมดา หน้ากล้องจะปิดไปเสียก่อน ยังไม่มีเวลาให้แฟลชได้ส่องพอ  บางกล้องใช้อักษร T = Time คือกดชัตเตอร์ครั้งแรก มันจะเปิดหน้ากล้องค้างไว้ กดครั้งที่สองหน้ากล้องจะปิด) นั้น หมายถึงว่าพอเรากดชัตเตอร์ค้างไว้ หน้ากล้องก็จะเปิดเต็มที่ หรือม่านก็จะเปิดจนหมด แต่ด้วยที่ว่าเราจัดห้องที่มืดสนิท ฟีล์มจึงไม่ได้บันทึกอะไรลงไป จนกว่าเราจะปล่อยแฟลช แสงแฟลชไปกระทบวัตถุใดก็จะสะท้อนให้ภาพวัตถุนั้น ไปตกกระทบบนแผ่นฟีล์ม (สมัยนี้กลายเป็น sensor ไปแล้ว) ด้วยกระบวนการเช่นนี้ จึงไม่มีผลทำให้เกิดภาพและเงาที่ต่างกันได้ ที่จริงนอกจากห้องต้องมืดแล้ว เรายังควรต้องจัดฉากหลังเป็นผ้าดำที่ไม่สะท้อนแสงด้วย ไม่งั้นแสงสะท้อนจะทำให้ไม่ได้ภาพวัตถุหรือสิ่งของที่ต้องการออกมาสวยงาม
อนึ่ง วิธีแบบนี้มักต้องตั้งแฟลชที่ความเร็วสูง ๆ เพื่อจับภาพวัตถุซึ่งมักจะเป็นของที่เคลื่อนไหวเร็วมากอยู่แล้ว

Flash sync speed กับ flash speed นั้นไม่เหมือนกัน  Flash sync speed หมายถึงความเร็วสูงสุดที่กล้องจะใช้ได้กับแฟลชตัวนั้น โดยที่จะยังคงให้ภาพที่แสงแฟลชส่องเต็มกรอบ  กล้องที่ใช้ leaf shutter อาจมี Flash sync speed สูงถึง 1/1000 วินาที แต่โดยทั่วไปเราอาจใช้ 1/250 วินาที แต่กล้องแบบที่เป็น Two-curtain shutters มี Flash sync speed สูงราว 1/125 วินาทีเท่านั้น ถ้าเราตั้งชัตเตอร์เร็วกว่านี้ รูปออกมาจะมืดไปด้านหนึ่ง  ส่วน flash speed นั้น หมายถึงช่วงเวลาที่แฟลชส่องแสงออกมา หรือบางทีเรียกว่า flash ratio คือในกรณีที่เราจะไม่ใช้ความสว่างของแฟลชเต็ม 100 % เช่นการใช้แฟลชร่วมกันหลายตัว เพื่อให้ได้รูปที่มีเงางดงามลงตัวเป็นต้น เราก็ต้องตั้งความสว่างของแฟลชให้น้อยลง ซึ่งก็คือการลดเวลา หรือ duration ของแฟลช ผลก็คือ แสงแฟลชจะส่องออกมาเพียงเวลาสั้น ๆ เช่น 1/20000 หรือ 1/60000 วินาที

ส่วนกล้องวิดีโอนั้น ไม่มีกลไกของชัตเตอร์แต่ใช้กระบวนการทางอีเล็คโทรนิคแทน คือถ้าเราตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/60 ก็หมายความว่า ทุก ๆ 1/60 วินาที ระบบจะเก็บค่าหรือข้อมูลภาพบนตัวรับภาพหรือ sensor ไปประมวลผลเพื่อเก็บบันทึกลงในแผ่นความจำ  ดังนั้นจึงไม่มีผลทำให้เกิดภาพและเงาที่ต่างกันได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 06:52:39 AM โดย ดร.ธนาสิทธิ์ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 23 คำสั่ง