สมิธฯ เอ็ม 337 คิตกัน แอร์ไลท์ ทีไอ
ลูกโม่ไทเทเนียมจิ๋วแต่ไม่สั้นจู๋ ตัวล่าสุด

ธุรกิจย่อมเป็นธุรกิจอยู่วันยังค่ำ สิ่งใดที่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงหรืออินโนเวชั่น (Innovation) ใหม่ๆที่จะนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของธุรกิจย่อมต้องได้รับการปฏิบัติ เสมอ นั่นคือหัวใจของการดำเนินธุรกิจที่ดี ทุกๆแห่งเป็นอย่างนี้ไม่ยกเว้นแม้แต่วงการ ปืนผาหน้าไม้

เอ็ม 337 คิตกัน แอร์ไลท์ บรรจุอยู่ในกล่องบุอย่างดี พร้อมกุญแจล็อกปืน กล่องบรรจุมีลักษณะสวยงาม เหมือนกับปืนในระดับมอบให้เป็น ของขวัญ (Presentation Grade)

ตอนที่สมิธฯนำปืนโครงเจยอดฮิตตลอดกาลอย่างเอ็ม 60 มาต่อลำกล้องให้ยาวอีก 1 นิ้ว และติดศูนย์หลังแบบปรับได้ลงไป พร้อมทั้งตั้งชื่อใหม่ว่า เอ็ม 60 ฟุลลัก และนำออกสู่ตลาดปืน ก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตไปต่างๆ นานา บ้างก็บอกว่า ไม่รู้ว่าสมิธฯเขา มีเจตนาอย่างไรกันแน่ เพราะปืนกระบอกดังกล่าวจะเรียกว่าปืนลำกล้องสั้นก็ไม่ใช่ จะเรียกว่าปืนลำกล้องยาวก็ไม่เชิง บ้างก็ สงสัยในวัตถุประสงค์ของการใช้ปืนนี้ว่าจะใช้เพื่อซุกซ่อนแบบปืนเหน็บพุงหรือใช้เป็น ปืนพกแบบซองพกนอก ซึ่งปืนกระบอกนี้ก็ไม่น่าจะใช้ในทั้งสองกรณี เพราะศูนย์หน้าสูงลิ่ว แบบลิ่ม และศูนย์หลังแบบปรับได้จะเกี่ยวติดกับเสื้อผ้า ไม่สะดวกเรียบลื่นในการชักเร็ว และหากใช้เป็นปืนพกนอกก็ไม่น่าจะเหมาะ นัก เพราะปืนพกนอกน่าจะเป็นปืนที่ไม่มีปัญหา ในเรื่องขนาดและน้ำหนัก ฉะนั้นปืนพกนอกจึงมักจะเป็นปืนลำกล้อง 4 นิ้วที่มีขนาดมาตรฐาน หรือที่เรียกว่าขนาดฟูลไซส์ (Full Size)

ด้ามยางแบบหัวนก ถอดด้ามยางออกจะเห็นสปริงนกสับ แบบตัวหนอน โครงปืนแบบราวด์บัทท์

อย่างไรก็ตาม เอ็ม 60 ฟุลลัก กลับพิสูจน์ให้เห็นว่าคำวิพากษ์วิจารณ์ของเกจิปืน ทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้นใช้ไม่ได้ เพราะนับตั้งแต่ปี 1994 เป็นต้นมา สมิธฯก็ยังคงผลิตปืน กระบอกนี้มาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้เปลี่ยนโม่ไปใช้ลูก .357 แม็กนั่ม อีกต่างหากใน ปี 1996 จะเห็นได้ว่าสมิธฯยังสนใจคอนเซ็พท์ ปืนโครงเล็กลำกล้องยาว 3 นิ้ว แบบมีศูนย์ หลังปรับได้ไปอีกนาน นี่เป็นคำตอบว่าการดำเนินธุรกิจในสไตล์ของสมิธฯ ที่ถือว่าหาก มีอะไรใหม่ๆ ต้องนำมาให้ชาวปืนเลือกใช้ และก็เป็นอย่างที่กล่าวจริงๆ เพราะในปีรุ่งขึ้น สมิธฯก็ผลิตปืนเอ็ม 317 แอร์ไลท์ ขนาด .22 แอลอาร์ ซึ่งเป็นปืนแบบคิตกัน ออกมาในแบบที่มีลำกล้องยาว 3 นิ้ว และศูนย์หลังปรับได้ พอถึงตรงนี้คงไม่มีใครกล้า พูดแล้วว่าปืนในลักษณะดังกล่าวจะไปไม่รอด

สกรูไซด์เพลทที่จะต้องถอดเพื่อเอาโม่ออก เป็นตัวที่อยู่ ใต้กรอบโม่ โปรดสังเกตว่าสกรูตัวนี้จะมีสปริงอัดอยู่ เวลาจะถอดโม่ ไขสกรูออก เปิดโม่เอาหัวแม่มือดันออก

เมื่อกระแสแห่ง "ไทเทเนียมลิซึ่ม" รุนแรง สมิธฯก็ออกแบบปืนที่นำโลหะชนิดนี้ มาใช้เป็นส่วนประกอบของปืน และให้ชื่อปืนประเภทนี้ว่า ชุดแอร์ไลท์ ทีไอ (AirLite Ti) โดยทำออกมา 4 แบบ คือ เอ็ม 331 กับ 332 ในขนาด .32 แม็กนั่ม และเอ็ม 337 กับเอ็ม 342 ในขนาด .38 สเปเชียล ปืนในชุดนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เพราะปืนมีน้ำหนักเบา ในขณะที่มีความแข็งแรงเป็นเลิศด้วยคุณสมบัติของโลหะไทเทเนียม จนได้รับรางวัล 1999 Handgun of the Year

สำหรับบ้านเรา ปืนในชุดนี้เข้ามาเฉพาะในแบบที่ใช้กระสุน .38 สเปเชียลเท่านั้น ได้แก่ เอ็ม 337 และเอ็ม 342 เพราะว่าข้อจำกัดในเรื่องกระสุนขนาด .32 แม็กนั่ม เมื่อปีที่แล้วพวกเราก็ได้รู้จักกับเอ็ม 337 แอร์ไลท์ทีไอ ปืนไทเทเนียมกระบอกแรก ของสมิธฯที่เข้ามาขายในบ้านเราไปแล้ว ซึ่งขอย้อนให้เห็นภาพปืนกระบอกนี้เสียนิดหน่อย ครับว่า ปืนกระบอกนั้นทำผิวเป็นอะลูมินั่มอัลลอยขาวนวลตัดกับลูกโม่สีเทา และด้ามโม่ "ไดมอนด์วูด (Dymondwood)" สวยงาม เหมือนปืนระดับมอบเป็นของขวัญประเภท "พรีเซนเตชั่น เกรด (Presentation Grade)" ด้านซ้ายมีตราโลโก้ของสมิธฯอยู่ที่โครงปืน ใต้ปุ่มปลดล็อกโม่ ตัวปุ่มปลดล็อกเป็นแบบใหม่ที่ปาดโค้งเว้าไว้อย่างสวยงามและลดโอกาส บาดมือคนยิงเมื่อปืนเตะด้านซ้ายของปืนจะเห็น ปลายสลักไทเทเนียมเป็นจุดกลมสีเทาเข้ม เหนือไกสองจุด ด้านขวาบนแผ่นไซด์เพลทมีรูปโครงสร้างอะตอมของไทเทเนียม แกะด้วย เลเซอร์ ปลอกลำกล้องปาดสองข้างแบน ด้านซ้ายสลักชื่อบริษัทผู้ผลิต Smith & Wesson ด้านขวาเป็นขนาดกระสุน .38 Special + P ตรงส้นด้ามจะมีสลักสำหรับร้อยสายคล้องมือ ที่เรียกว่า แลนยาร์ด (Lanyard)

โม่จุกระสุน .38 +P ได้ 5 นัด อย่าลืม ว่าต้องเป็นลูกหัวเคลือบแข็งเท่านั้น การถอดเพื่อทำความสะอาดเท่านี้ เพียงพอแล้ว ถ้าจะถอดดูกลไกภายในให้ละเอียด ควรมีช่างผู้ชำนาญคอยควบคุมดูแลด้วย

จุดที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งของปืนกระบอกนั้นคือลำกล้องปืนสมิธฯใช้เหล็กสเตนเลสส์ ทำเพียงแกนลำกล้อง โดยส่วนครอบภายนอกเป็นอะลูมินั่มอัลลอยเพื่อลดน้ำหนักให้ปืน เบาที่สุด จากนั้นก็มาถึงปีนี้ที่สมิธฯได้นำคอนเซ็พท์ปืนจิ๋วลำกล้อง 3 นิ้ว ศูนย์หลังปรับ ได้มาใช้อีกครั้งหนึ่ง โดยคราวนี้เป็นการนำเอ็ม 337 มาปรับปรุงใหม่เป็น เอ็ม 337-1

เอ็ม 337-1 มีชื่อเต็มๆว่า เอ็ม 337 คิตกัน ชีฟสเปเชียล แอร์ไลท์ ทีไอ ถือเป็น ปืนใหม่เอี่ยมอ่องที่เพิ่งคลอดออกมาในระยะก่อนที่ปี 2000 จะหมดลงเพียงเดือนเดียว สมิธฯถอดลำกล้องยาว 2 นิ้วออกไป และนำลำกล้องขนาด 3.2 นิ้วมาสวมแทน ลำกล้องเป็นแบบ 2 ชั้นเหมือนเดิม ปลอก ลำกล้องมีลักษณะฟุลลัก แต่เจียนเนื้อโลหะรอบๆลำกล้องออกไปแบบเล่นระดับ หากมอง จากด้านปลายลำกล้องเข้าหาตัวปืนจะมีลักษณะคล้ายๆกับรูปหกเหลี่ยม ด้านปลายของปลอก ลำกล้องยกขึ้นเป็นฐานศูนย์เพื่อรองรับศูนย์หน้า แบบใหม่เป็นศูนย์เรืองแสงที่มีหลอดเรืองแสง ทำเป็นครอบแก้วฝังอยู่บนใบศูนย์ ศูนย์ใหม่ ชนิดนี้สมิธฯ เรียกว่า "ศูนย์รวมแสง (Light Gathering)" เวลาเล็งจะเห็นจุดสีส้ม ทรงกลมเด่นชัดและเรืองแสงในขณะอยู่ในที่มืด ข้างใบศูนย์พิมพ์ชื่อยี่ห้อว่า "ไฮวิซ (HIVIZ)" ด้านขวาของลำกล้องเขียนบอกไว้ชัดเจนว่า ".38 S&W SPL +P JACKETTED" เพื่อเตือนใจเจ้าของปืนว่าต้องใช้ลูกหัวเคลือบแข็งเท่านั้น

ภาพกระสุนเซลิเออร์แอนด์เบลล็อตที่คุณอ๊อด บ้านโป่ง ผู้ทดสอบ ใช้ยิง ซึ่งลำกล้องไม่กระดกมากนัก

ตรงนี้ก็ต้องขออนุญาตบอกข้อควร ระวังสำหรับการใช้ปืนเอ็ม 337-1 สัก 2 จุด ครับ จุดแรกได้แก่ การใช้กระสุนที่บอกว่า ต้องใช้กระสุนหัวเคลือบแข็งเท่านั้นก็มีสาเหตุมาจาก การที่ปืนมีน้ำหนักเบามากหากใช้กระสุนหัวตะกั่ว ธรรมดาซึ่งผู้ผลิตมักไม่บีบปลอกให้รัดหัวกระสุนมากนัก เวลายิงนัดแรกออกไป แรงรีคอยล์จะทำให้ปืนสะบัดรุนแรงและจะมีผลให้หัวกระสุนของนัดที่ยังไม่ได้ยิง เคลื่อนออกมาจากปลอก และอาจยื่นไปขัดกับโครงปืน โม่จึงหมุนไม่ได้ ถ้า คนเชื่อในเรื่องคาถาอาคมก็จะพาลเข้าใจว่าฝ่ายตรงข้ามมีของดี ยิงฟันไม่เข้า ฉะนั้นก็ทำตาม คำแนะนำเขาเถอะครับ คงไม่ยุ่งยากมากจนเกินไป


กลุ่มกระสุนของผู้ทดสอบ กลุ่มซ้ายเป็นลูกหัวรู เคลือบแข็ง กลุ่มขวาเป็นหัวเคลือบแข็งธรรมดา

จุดที่สองที่ต้องให้ความสนใจก็คือ การทำความสะอาดปืน โดยเฉพาะในส่วนของ ผิวไทเทเนียม (ตัวโม่ทั้งด้านนอกและด้านใน) นั้น ห้ามใช้ของที่มีผิวแข็งๆเช่น กระดาษทราย หรือแปรงแข็งถู หรือขูดขีดให้เป็นรอย จะเป็นอันตรายต่อผิวปืนเพราะด้วยคุณสมบัติของไทเทเนียมนั้นมีความทนทานต่อสนิมมาก เอาเป็นว่าใช้ผ้านิ่มๆเช็ดก็พอ ใช้แส้แต่ในลำกล้องเท่านั้นเพราะเป็นเหล็กสเตนเลสส์ ไม่มีปัญหาในเรื่องนี้

ซ้าย : หมอจันทร์ ยิงทดสอบด้วย กลาง : คุณบัณฑุ บอกว่าชอบของสวยๆงามๆ จึงยิงเจ้าเอ็ม 337 ด้วย ขวา : กลุ่มกระสุนของหมอจันทร์และคุณบัณฑุ

การยิงทดสอบเราใช้ลูก 2 ประเภท (ที่ไม่ใช่ลูกหัวตะกั่วล้วนทั้งคู่) ประเภทแรกเป็น ลูก Sellier & Bellot ของสาธารณรัฐเชก ขนาด .38 สเปเชียล หัวเคลือบแข็งแบบ Full Point ซึ่งห้างฯ ปืนโอฬารพาณิชย์กรุณาให้มายิง ประเภทที่สองเป็นลูก .38 บวกพี แบบหัวตะกั่ว เคลือบแข็งเจาะรู (Jacketted Hollowpoint) ของวินเชสเตอร์ การปฏิบัติการของปืนเป็นไปอย่างเรียบลื่น ไกดับเบิลออกจะหนักไปสักหน่อย อยู่ที่ 13 ปอนด์ แต่ไกซิงเกิลดีมาก เบาเพียง 3 ปอนด์เท่านั้น คาดว่าที่เป็นลักษณะนี้คงเป็นเจตนาของสมิธฯจะให้เจ้าของ ปืนใช้ปืนดังกล่าวในการยิงซ้อมมือแบบง้างนกยิงในลักษณะซิงเกิลแอ๊คชั่นมากกว่า

ซ้าย : ดร.ผณิศวร ผู้เคยยิงทดสอบปืนกระบอกนี้ตอนที่เข้ามาครั้งแรกลำกล้องยาว 2 นิ้ว ขอลองยิงปืนลำกล้อง 3 นิ้ว ดูบ้าง ขวา : บ.ก.ตระกูลยิงแบบชักเร็ว ยิงเร็วในระยะประชิด

ผลการยิงก็เป็นไปตามที่คาดหมายกัน ว่า "ปืนเบาต้องเตะหนัก" เพราะแต่ละนัดที่ ยิงไปปืนเตะรุนแรง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ทดสอบก็เชื่อว่าไม่น่าจะหนักหนาเกินควบคุม เพราะผู้ทดสอบได้ทดลองให้ลูกชายอายุ 11 ขวบ ยิงดูยังสามารถควบคุมปืนได้ กลุ่มกระสุน ของผู้ทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามกระสุนที่ใช้คือ กระสุนหัวเคลือบแข็งธรรมดา ของ S&B จะได้กลุ่มใหญ่กว่ากระสุนหัวรูที่สามารถทำกลุ่มได้เพียง 1 นิ้วเท่านั้น ศูนย์ รวมแสงของปืนกระบอกนี้ช่วยให้การเล็งปืนเป็นไปได้อย่างดียิ่ง แม้จะเป็นที่โล่งที่มีแสง สว่างมากก็ตาม จุดกลมหลังใบศูนย์ยังเรืองแสงเห็นชัดเจน

กลุ่มกระสุนของคุณตระกูล และ ดร.ผณิศวร

เอ็ม 337 คิตกัน แอร์ไลท์ ไทเทเนียม จึงเหมาะกับการซ้อมยิงหรือเป็นปืนเฝ้าบ้าน เพราะศูนย์เรืองแสงช่วยได้ดีเหลือเกิน งานนี้ผู้จัดการโครงการอาวุธปืนของ บริษัท หลุยส์ ตี. เลียวโนเวนส์ (ประเทศไทย) จำกัด ส่งมาเองสนใจก็ถามได้ที่ โทร. 237-7040 ต่อ 102, 105.

นิตยสารอาวุธปืน ฉบับที่ 316 กุมภาพันธ์ 2544 มีวางจำหน่ายตามแผงหนังสือทั่วประเทศ

Copyright ©2000 www.gunsandgames.com Powered by eighteggs.com