เบเนลลี เอ็ม 4 ซูเปอร์ 90
ลู ก ซ อ ง อ อ โ ต ร ะ บ บ ก๊ า ซ เ ต็ ม ตั ว

ปืนลูกซองมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคปืนดินดำประจุปาก แต่เดิมในสมัยที่ปืนยัง ไม่มีเกลียวลำกล้อง ตอนนั้นยังไม่มีการแบ่งแยกปืนลูกซองกับปืนไรเฟิล ต้องการ ยิงลูกโดดก็บรรจุกระสุนโตๆลงไปเม็ดเดียว จะยิงลูกปรายก็นับหรือตวงใส่เข้าไปตาม ต้องการต่อเมื่อคิดอ่านทำเกลียวลำกล้อง ออกมาใช้แล้วจึงพบว่าเอาลูกปรายมายิงใน ปืนลำกล้องมีเกลียวก็จะโดนเหวี่ยงกระจายหายไปหมด เคยมีการลองใช้แคปซูลสำหรับ บรรจุลูกปรายซึ่งไอ้เจ้าแคปซูลที่ว่านี้ทำออกมาให้มีขนาดเล็กกว่าสันเกลียวลำกล้อง แต่ ถึงกระนั้นก็ยังยิงไม่ได้ผลดีเท่ากับยิงในลำกล้องเรียบๆ ของมันเอง มาถึงตอนนี้ปืน ลูกซองก็เลยแยกทางกับปืนไรเฟิล โดยมีการพัฒนาคู่ขนานกันตลอดมา

ภาพเต็มของเบเนลลี เอ็ม 4 ซูเปอร์ มองอีกด้านหนึ่ง คราวนี้หดพานท้าย

ลักษณะเด่นของปืนลูกซองก็คือยิงออกไปนัดเดียวได้กระสุนเป็นกลุ่มก้อน ทำให้ไม่ต้องเล็ง อย่างประณีตมากนัก แต่ข้อจำกัดก็คือมีระยะยิงใกล้และมีอำนาจทะลุทะลวงน้อย ปืนลูกซอง จึงเหมาะสำหรับใช้กับเป้าหมายขนาดย่อมๆ ประมาณว่าตัวไม่โตกว่าคนเราด้วยกันเอง

นอกจากใช้ล่าสัตว์ปีกและสัตว์ขนาดเล็กแล้ว ปืนลูกซองยังถูกนำมาใช้ในการ ป้องกันตัวรวมทั้งการควบคุมฝูงชนที่เขาหาว่า เป็นม็อบอะไรทำนองนั้น แต่เราไม่ค่อยจะได้ยินว่ามีการนำปืนลูกซองมาใช้ในกิจการ ทหารกันมากนักเนื่องจากการใช้ปืนในสงคราม มีกติกาอยู่ว่าห้ามใช้กระสุนที่ขยายตัวได้ เพราะปืนลูกซองใช้หัวกระสุนเป็นเม็ดตะกั่ว เวลายิงไปโดนอะไรเข้าหน่อยก็บี้แบน ทาง ทหารก็เลยกลัวว่าถ้าทหารที่ถือปืนลูกซอง แล้วเกิดถูกจับเป็นเชลยศึกอาจจะไม่ได้รับการ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล

การถอดปืนให้เคลียร์รังเพลิงกับ ซองกระสุนจนแน่ใจว่าไม่มีกระสุนค้างอยู่ แล้วดึงคันรั้งลูกเลื่อน พร้อมกับกดปุ่มหยุดกระสุนให้ลูกเลื่อนค้าง คลายฝาครอบซองกระสุนเพื่อปลด ล็อกลำกล้อง

ระบบกลไกของปืนลูกซองมีตั้งแต่ระบบหักลำทั้งลำกล้องเดี่ยวและลำกล้องแฝด ระบบคานเหวี่ยงและระบบลูกเลื่อน แต่ที่นิยมมากที่สุดเห็นจะเป็นระบบปั๊มกับระบบกึ่ง อัตโนมัติ สำหรับปืนลูกซองกึ่งอัตโนมัติแบบแรกๆ ที่เรารู้จักกันก็คือปืนลูกซองระบบ รีคอยล์ที่ออกแบบโดย จอห์น บราวนิง ก็บราวนิงคนเดียวกับที่ออกแบบปืนโคลท์ M 1911 นั่นละครับ

ระบบรีคอยล์ในปืนลูกซองของบราวนิง ก็คงใช้หลักการเดียวกับปืนสั้น ก็คือให้ลำกล้อง กับลูกเลื่อนถอยหลังมาด้วยกันเป็นระยะทางสั้นๆ พอให้แรงอัดในรังเพลิงลดลงมาบ้างแล้ว ถึงปล่อยให้ปลอกกระสุนผลักลูกเลื่อนถอยหลังมาอย่างเดียว อย่างเช่นในปืนสั้นแบบ M 1911 ที่เขาทำร่องล็อกเอาไว้ข้างบน ปลอกกระสุนจะดันสไลด์ถอยหลังแต่ที่โคนลำกล้องด้านบนมี ร่องเกี่ยวอยู่กับสไลด์ก็เลยต้องถอยมาด้วยกัน แล้วห่วงโตงเตงก็ดึงลำกล้องลดท้ายต่ำลง ทำให้หลุดจากสไลด์ ปล่อยให้สไลด์ถอยหลังมาตามลำพัง แต่สำหรับปืนรีคอยล์บางแบบ อย่างเช่น พาราเบลลัม, วอลเธอร์ พี 38 หรือ เบเร็ตต้า 92 จะจัดให้ลำกล้องถอยหลังมาตรงๆ แล้วก็มีหมุดกลมาตัดความสัมพันธ์ระหว่างสไลด์กับลำกล้อง

ใช้มือจับกระโจมดันไปข้างหน้า แล้วปลดกระโจมออกมา ดึงลำกล้องออกมาตรงๆ เอามือดึงคันรั้งลูกเลื่อน แล้วกดปุ่มปล่อยลูกเลื่อน ค่อยๆ ผ่อนลูกเลื่อนออกมา

ส่วนปืนลูกซองระบบรีคอยล์ก็ทำงานคล้ายกันครับ คือจะจัดให้ลำกล้องกับลูกเลื่อน ถอยหลังมาด้วยกันเป็นระยะทางสั้นๆ แล้วลำกล้องจะกระแทกกับโครงปืนปล่อยให้ปลอก กระสุนดันเฉพาะลูกเลื่อนถอยหลังมาคล้ายๆ กับปืนสั้นเหมือนกัน แต่ที่ต่างกันก็คือลำกล้อง ของลูกซองมันหนักตั้งกิโลกว่า ลำพังรีคอยล์จากกระสุนก็มากพออยู่แล้ว แถมยังมีโมเมนตั้มจากแรงที่ลำกล้องทั้งดุ้นกระแทกซ้ำเข้ามาอีก ไม่รู้ว่าร้านปืนที่ลงทุนทำป้ายไว้ที่หน้าร้านว่าปืนลูกซองระบบรีคอยล์ของเบลเยี่ยม (ทำ ในญี่ปุ่น) เป็นปืนที่ดีที่สุดในโลก เขาจะคิดถึงจุดนี้บ้างหรือเปล่า หรืออาจจะเป็นว่า "ยิ่งถีบ ก็ยิ่งดี" อะไรประมาณนั้น

จุดอ่อนของปืนระบบรีคอยล์อยู่ที่ความเชื่อถือได้ของระบบปฏิบัติการ คือถ้าใช้สปริง แข็งพอยิงลูกอ่อนปืนก็จะติดขัด แต่ถ้าใช้สปริง อ่อนคนยิงก็โดนปืนถีบหนักแถมปืนก็ยังพังเร็วกว่าที่ควรจะเป็น บราวนิงคนที่ออกแบบปืนรุ่นนี้คงจะเจอปัญหาแบบนี้มาก่อน จึงได้ออกแบบรีคอยล์ สปริงให้มี "แหวนฝืด" ใส่ไว้อีกตัวหนึ่งให้กลับหน้ากลับหลังจะได้ฝืดมากฝืดน้อยรับกับ กระสุนแรงสูงหรือแรงต่ำได้ แต่ถึงจะมีแหวนฝืดตัวนี้เพิ่มมาให้แล้วก็ตาม ปืนระบบรีคอยล์ของบราวนิงก็ยังใส่กระสุนแรงสูงแรงต่ำปนกันไปในตัวปืนไม่ได้ ถ้าปรับปืนสำหรับใช้ลูกสองแรงเอาไว้ แล้วจะเปลี่ยนมาใช้ลูกแรงเดียวก็ต้อง ถอดปืนออกมาทำการกลับแหวนเสียก่อน ปืนถึงจะทำงานได้เรียบร้อย

ดึงคันรั้งออกมาจากตัวลูกเลื่อน ต้องบิดคันรั้งช่วยเล็กน้อย วางคันรั้งไว้ใกล้ๆมือ เพราะเราต้องเอามาช่วยถอดชิ้นส่วนอื่นๆอีก ดึงลูกเลื่อนออกมาจากโครงปืน

ลูกซองออโตช่วงอายุที่สองจึงหันไปใช้การทำงานในระบบก๊าซ หลักการทำงานของ ปืนระบบนี้คือจะต้องออกแบบลูกเลื่อนเป็นสองชั้นให้ตัวลูกเลื่อนชั้นในสามารถล็อกหรือ ขัดกลอนอยู่กับท้ายลำกล้องได้ แล้วมีเสื้อลูกเลื่อนหุ้มตัวลูกเลื่อนอยู่อีกทีหนึ่ง เมื่อเสื้อ ลูกเลื่อนขยับตัวถอยหลังก็จะมีกลไกไปปลดล็อกหรือปลดกลอนตัวลูกเลื่อนออกมาจาก ท้ายลำกล้อง ระยะเวลาที่ใช้ในการปลดกลอน นี่ละครับที่เป็นการถ่วงเวลาให้แรงอัดในรังเพลิงลดต่ำลง ปืนในระบบนี้ถ้าเราเอาไม้สอดเข้าไปในลำกล้องดันลูกเลื่อนถอยหลังจะพบว่า ลูกเลื่อนยึดติดกับลำกล้องไม่ยอมขยับตัว แต่ถ้าเราขยับเสื้อลูกเลื่อนให้ขยับตัวถอยหลัง นิดหนึ่งเพื่อให้เกิดการปลดกลอนเสียก่อน ลูกเลื่อนจึงจะถอยมาได้

ลำกล้องของปืนระบบก๊าซจะเจาะรูเพื่อแบ่งก๊าซจากการจุดระเบิดส่วนหนึ่งเข้ามาใน กระบอกสูบให้ดันลูกสูบเพื่อดันเสื้อลูกเลื่อนถอยหลังและเกิดการปลดกลอน จากนั้นแรงอัด ที่ยังเหลืออยู่ในรังเพลิงก็จะดันปลอกกระสุนให้ดันลูกเลื่อนถอยหลังจนกระทั่งเกิดการคัด ปลอกกระสุน การที่ระบบของตัวปืนอาศัยแรงอัดของก๊าซมาช่วยปลดกลอนทำให้ปืนระบบนี้ มีความอ่อนตัวสามารถที่จะใช้กระสุนแรงต่างๆ กันได้สะดวกกว่าปืนระบบรีคอยล์ แล้วยังมี ชิ้นส่วนน้อยกว่าอีกด้วย แต่ข้อเสียก็คือเวลาล้างปืนจะต้องเสียเวลามาทำความสะอาด ลูกสูบกับกระบอกสูบเพิ่มขึ้นมาอีกขั้นตอนหนึ่ง


ปลดสลักเข็มแทงชนวน แล้วดึงเข็มแทงชนวนออกมา ดึงสลักลูกเลื่อน แล้วปลดลูกเลื่อน ออกมาจากโครงลูกเลื่อน สังเกตที่สลักลูกเลื่อน จะเห็นมีรอยขีดเล็กๆ อยู่ เวลาประกอบกลับ อย่าลืมให้รอยขีด อยู่ในตำแหน่งเดิมด้วย

แต่สำหรับปืนลูกซองออโตของเบเนลลี คนออกแบบคงจะไม่อยากให้คนยิงต้องมา เสียเวลาทำความสะอาดท่อก๊าซ แล้วก็ไม่อยาก ให้คนยิงโดนปืนถีบเหมือนกับปืนระบบรีคอยล์ เขาจึงไม่ใช้ทั้งระบบรีคอยล์หรือว่าระบบก๊าซ แบบที่เรารู้จักกันมาก่อน คือเขาออกแบบปืนมาคล้ายๆกับปืนระบบก๊าซโดยการให้ลำกล้อง อยู่นิ่งๆ แล้วลูกเลื่อนหมุนตัวขัดกลอนอยู่กับท้ายลำกล้องเหมือนกับปืนระบบก๊าซ เวลาดึง คันรั้งลูกเลื่อนซึ่งยึดติดอยู่กับเสื้อลูกเลื่อนจะเห็นเสื้อลูกเลื่อนขยับตัวถอยหลังพร้อมๆกับ ลูกเลื่อนหมุนตัวปลดกลอนเช่นเดียวกับปืนระบบก๊าซทุกอย่าง แต่พอถอดดูก็ไม่พบว่ามี รูก๊าซ หรือกระบอกสูบกับลูกสูบใดๆ ทั้งสิ้น


ใช้คันรั้งลูกเลื่อนกดสลัก ยึดเครื่องลั่นไกให้ขยับตัว

 


เอาคันรั้งอีกด้านหนึ่ง เกี่ยวสลักแล้ว ดึงเครื่องลั่นไกออกมา

ใช้คันรั้งอันเดิมคลายลูกสูบ

เบเนลลีใช้แรงเฉื่อยจากรีคอยล์ของปืนมาช่วยปลดกลอนให้ คือตัวเสื้อลูกเลื่อน ไม่ได้ล็อกตายตัวอยู่กับส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวปืนแต่จะถูกรีคอยล์สปริงยันเอาไว้เฉยๆ เช่นเดียวกับเสื้อลูกเลื่อนของปืนระบบก๊าซทั่วไป เมื่อปืนมีรีคอยล์เสื้อลูกเลื่อนจะถูกลูกเลื่อน ดันถอยหลังมาพร้อมๆกับตัวปืนด้วย แต่พานท้ายปืนมันกดอยู่กับบ่าคนยิงถอยมาได้ เพียง 3-4 นิ้วก็ต้องหยุด ส่วนเสื้อลูกเลื่อนจะสะสมพลังงานบางส่วนเอาไว้ทำให้มีแรงเฉื่อย ผลักดันตัวเองถอยหลังต่อไปได้อีกหน่อยหนึ่ง ซึ่ง เท่ากับเป็นการปลดกลอนให้กับลูกเลื่อนนั่นเอง


ดึงลูกสูบออกมาจากกระบอกสูบ

กระสุนลูกโดดของเฟเดอรัล ใช้หัวของ Barnes expander หนัก 1 ออนซ์

ระบบปลดกลอนด้วยแรงเฉื่อยของเบเนลลีช่วยลดชิ้นส่วนไปได้หลายชิ้น ทำให้ลด ภาระที่จะต้องทำความสะอาดกระบอกสูบกับลูกสูบไปด้วย แต่กลไกในระบบนี้ความน่าเชื่อถือของการทำงานจะขึ้นอยู่กับแรงรีคอยล์กับการ ยั้งตัวของปืน ถ้าทั้งสองอย่างนี้มีไม่เพียงพอ อย่างเช่นใช้กระสุนแรงต่ำเกินไป หรือว่าปืนมี แรงต้านน้อยอย่างเช่นยิงปืนด้วยมือข้างเดียว หรือเป็นการยิงปืนเมื่อแช่อยู่ในน้ำหรืออยู่ใน โคลนตม ปืนก็อาจจะขัดข้องได้

ดังนั้นเมื่อจะนำปืนมาใช้ในทางทหาร เบเนลลีจึงได้ปรับปรุงกลไกมาใช้ระบบก๊าซ เต็มตัวเพื่อให้ระบบการทำงานของตัวปืนเชื่อถือได้อย่างเต็มที่ และไหนๆจะใช้ระบบก๊าซกัน แล้วเบเนลลีก็เลยทำเป็นกระบอกสูบคู่เพื่อให้เชื่อถือได้ดียิ่งขึ้นไปอีก อย่างน้อยถ้ามีข้างใด ข้างหนึ่งติดขัดอีกข้างหนึ่งก็ทำงานต่อไปได้ จริงๆแล้วเท่าที่ดูจากขนาดและน้ำหนักของ เสื้อลูกเลื่อนผมว่าพอๆกับของเดิม พูดง่ายๆก็คือต่อให้ไม่มีท่อก๊าซปืนก็น่าจะยังทำงานได้ เหมือนเดิม เจ้ากระบอกสูบคู่นี้น่าจะทำออกมาเสริมให้ปืนทำงานได้แน่นอนขึ้นมากกว่า

ผู้เขียนยิงทดสอบระยะประมาณ 25 เมตรใช้กระสุนโอโอบั๊คสองแรงกับ ลูกแม็กนั่ม ของวินเชสเตอร์ รวมทั้งลูกโดดฟอสเตอร์หนัก 1 ออนซ์ของเรมิงตัน ปิดท้ายด้วยเซลเลอร์ เบลล็อทแรงครึ่งกับอีเลย์แรงเดียว เบเนลลีเคี้ยว ได้เรียบร้อยหมดจด ไม่มีติดขัดเลยแม้แต่นัดเดียว บก.ตระกูลจับภาพขณะกำลังยิงลูกโดด จะเห็นได้ว่าปืนมีรีคอยล์ต่ำมาก วันนั้นยิงไปประมาณ 30 นัด ไม่เจ็บ ไม่ขัด บ่าไม่ช้ำ ยิงปืนสั้นต่อได้สบายมาก ภาพกลาง : กลุ่มลูกโอโอบั๊ค แบบแม็กนั่มของวินฯ 5 นัด ค่อนข้างแคบ เพราะเป็นโช้กโมดิฟาย
ภาพขวา : อันนี้กลุ่มกระสุนลูกโดด 3 นัด ทำกลุ่มได้ดีเพราะเป็นปืนใช้ศูนย์รู ใครที่ชอบล้อเพื่อนๆ ว่ายิงกลุ่มบานเป็นกระด้ง อย่างกับปืนลูกซอง เห็นภาพนี้คงถอนคำพูดได้แล้ว

นอกจากนั้นแล้วเบเนลลี เอ็ม 4 กระบอกนี้ยังเป็นปืนระบบพับฐานอีกด้วย ความจริงไม่น่าเรียกจะเรียกพับฐานเพราะเป็นระบบหดพานท้ายเข้าไป ระบบหดพานท้ายของเบเนลลีทำมาแข็งแรงน่าเชื่อถือดีมาก ปุ่มล็อก มีขนาดใหญ่ใช้สปริงค่อนข้างแข็ง นอกจากนั้น การหดหรือยืดพานท้ายออกมาจะดึงตรงๆ ไม่ได้ ต้องมีการบิดพานท้ายอีกด้วย ซึ่งทำงาน ได้แน่นอนและทนทานกว่าการยืดหดเข้าไปตรง ที่แปลกอีกอย่างหนึ่งก็คือเบเนลลี กระบอกนี้เป็นปืนแบบที่ถอดเปลี่ยนโช้กได้ แล้วทางโรงงานยังประกอบโช้กแบบโมดิฟาย มาให้ ตามปกติแล้วปืนปราบจลาจลเขามักจะใช้เป็นซิลินเดอร์โช้กคือเป็นลำกล้องท่อตรงๆ หรือไม่ก็บีบเข้ามานิดเดียวเป็นอิมปรู๊ฟซิลินเดอร์ แต่การที่ปืนกระบอกนี้ติดศูนย์เปิดที่ปรับได้ละเอียดพอๆกับปืนไรเฟิล แถมยังใช้โมดิฟายโช้ก ซึ่งเป็นโช้กขนาดที่เหมาะสำหรับการยิงลูกโดด ก็น่าจะเหมาะสมกับการใช้งานทางทหารเพราะกระสุนลูกซองลูกมันโตดีครับ เอามาเล่นอะไรได้หลายอย่างตั้งแต่ใช้เป็นเครื่องยิงลูกระเบิดขนาดจิ๋ว กระสุนเคมี หรือ กระสุนลูกดอกมีครีบหางใส่ได้ตั้งสิบกว่าลูกแบบที่เคยใช้ในเวียดนาม

หมอจันทร์ ยิงทดสอบลูกโดดเฟเดอรัล ที่ใช้หัวของ Barnes ขนาดครึ่งนิ้ว หนักหนึ่งออนซ์ หรือ 437.5 เกรน วัดความเร็วได้ 1,282 ฟุต/วินาที คิดเป็นพลังงานก็ 1,597 ฟุต-ปอนด์ เจอเป้าเป็นสมุดโทรศัพท์แห้งๆ หัวกระสุนไม่บานเลย ดูว่าจะหุบลงไปด้วยซ้ำ เอาใหม่ครับ เที่ยวนี้ใช้สมุดโทรศัพท์เปียกน้ำ ถ้าเห็นคุ้นๆตา ก็ขอรับสารภาพตามตรงว่า เป็นเล่มเดียวกับที่ยิงทดสอบ กระสุน 9 มม. เมื่อเดือนก่อน แต่คราวนี้เรากลับรอยกระสุน 9 มม. ลงไปไว้ข้างล่าง

ไหนๆ เห็นเบเนลีทำปืนออกมาเป็นระบบก๊าซ "อวป." ก็เลยฉลองศรัทธาโดย เตรียมกระสุนต่างๆ มาทดสอบกันอย่างเต็มที่ นับตั้งแต่ลูกอ่อนที่สุดอย่างอีเลย์ฐานต่ำ ลูกแรงครึ่งของเซลเลอร์ เบลล็อทที่ทางห้างฯ ปืนเทเวศร์มอบให้มากับปืน ลูก OO Buck 9 เม็ดสองแรงของเรมิงตันและแบบแม็กนั่ม บรรจุ 12 เม็ดของวินเชสเตอร์ ลูกโดดแบบ ฟอสเตอร์ที่เป็นตะกั่วรูปถ้วยหนัก 1 ออนซ์ เรมิงตัน และที่สุดของที่สุดก็คือลูกโดด ซาโบต์ของเฟเดอรัลรุ่นที่ใช้หัวกระสุนของบาร์นส์ (Barnes)

ลูกโดดของบาร์นส์รุ่นนี้เป็นแบบเดียวกับหัวกระสุนไรเฟิลล่าสัตว์ใหญ่ใน อาฟริกาของบาร์นส์เอง มีลักษณะเป็นโลหะผสมเนื้อเดียวกันหมดทั้งหัว เพราะจุดอ่อน อย่างหนึ่งของหัวกระสุนทั่วๆไปก็คือเวลายิงสัตว์ใหญ่อย่างเช่นควายป่าอาฟริกา หัว กระสุนจะต้องเจาะกระดูกกับกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมาก ตะกั่วมักจะแยกตัวออกมาจาก ทองแดงทำให้ขาดอำนาจทะลุทะลวง ผู้ผลิตหัวกระสุนต่างๆ จึงได้พยายามพัฒนาหัว กระสุนเอาในตอนที่ไม่มีสัตว์จะให้ล่าแล้ว อย่างเช่นโนสเลอร์รุ่นพาร์ติชั่นทำห้องเก็บ ตะกั่วส่วนท้ายเอาไว้ ส่วนฮอร์เนดีแบบอินเตอร์ล็อกทำเป็นสันอยู่ข้างใน สำหรับ สเปียร์เปลี่ยนมาใช้แท่งทังสเตนเป็นแกนหัวกระสุนแทนตะกั่ว แต่ของบาร์นส์เลือกที่จะทำหัวกระสุนเป็นโลหะผสมน้ำหนักมากแทน

ภาพนี้รูเข้านะครับ ไม่ใช่รูออกแรงอัดข้างใน มันระเบิดสวนกลับออกมา อันนี้รูออกครับ แต่ดูไม่ยับเยิน เพราะสมุดโทรศัพท์ไปอัดกับแผ่นไม้ แล้วไม้อัดของเรา ก็พลอยรับเคราะห์ไปด้วย ทะลุรูโตพอๆกับเหรียญห้าบาทรุ่นเก่า

สำหรับหัวกระสุนที่นำมาใช้กับปืนลูกซองจะเป็นหัวกระสุนแบบหัวรู และเป็น กระสุนหัวรูที่ออกแบบมาชอบกลอยู่ คือถ้ายิงโดนเป้าหมายที่อ่อนชุ่มน้ำอย่างเช่นแท่ง เยลลาตินหรือสมุดโทรศัพท์แช่น้ำ หัวกระสุนจะบานออกเป็นดอกเห็ดน่ากลัวเอาเรื่อง แต่ถ้า โดนเป้าที่ค่อนข้างแข็งอย่างเช่นบานประตู หรือเสื้อเกราะกันกระสุน รูที่หัวกระสุนจะไม่ ยอมบานทำให้เจาะเข้าไปลึกมากขึ้น อย่างเช่น ในการยิงทดสอบครั้งแรกเรายิงใส่สมุด โทรศัพท์แห้งๆ ปรากฏว่าหัวกระสุนไม่มีการบานขยายตัวออกไป แถมยังทำท่าจะหุบเข้า มาเสียอีก ต่อเมื่อเราเปลี่ยนเป็นสมุดโทรศัพท์ที่ชุ่มน้ำ เที่ยวนี้ละครับถึงได้เห็นการบาน ขยายตัวของหัวกระสุน

สภาพหัวกระสุนที่เก็บมาได้ เศษพลาสติก 3 ชิ้นที่เห็นเป็นเปลือกซาโบต์ มีหมอนพลาสติกกลมๆ แยกต่างหาก

เราใช้ระยะยิงประมาณ 25 เมตร เริ่มยิงด้วยกระสุนสองแรงกับลูกโดด ฟอสเตอร์เพื่อให้ปืนสกปรกเสียก่อนแล้วค่อย มายิงด้วยลูกเซลเลอร์ เบลล็อท แล้วจึงยิงลูก ของอีเลย์ซึ่งเป็นกระสุนที่อ่อนที่สุด เพื่อจะดูว่าหลังจากยิงไประยะหนึ่งจนมีคราบเขม่า จับสะสมอยู่ในตัวปืนแล้วจะยิงลูกอ่อนๆ ผ่าน หรือไม่ ก็ปรากฏว่าปืนทำงานได้เรียบร้อยดี ปลอกกระสุนกระเด็นออกมาตกห่างจากปืน ประมาณ 2 เมตร จัดว่าเชื่อถือได้.

ผู้ส่งทดสอบ กล็อก 28 : จาก ห้างฯ ปืนเทเวศร์
โทร. 222-7537
, 226-4799, 623-7061

นิตยสารอาวุธปืน ฉบับที่ 313 ตุลาคม 2543 มีวางจำหน่ายตามแผงหนังสือทั่วประเทศ

Copyright ©2000 www.gunsandgames.com Powered by eighteggs.com